สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ งานสร้างสุข ปี59
ภายใต้โครงการ แผนงานสร้างสุข
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ -
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2559 - 5 ตุลาคม 2559
งบประมาณ 4,000,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.เพ็ญ สุขมาก
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.0017115791398,100.50527500949place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2559 30 พ.ย. 2559 4,000,000.00
รวมงบประมาณ 4,000,000.00
stars
3. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(สจรส.ม.อ.) เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานความร่วมมือกับองค์กร ภาคี เครือข่ายต่าง ๆ เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.)กระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายภาคประชาสังคม เครือข่ายสื่อสารมวลชน และภาคประชาชน ในการจัดงาน “สร้างสุขภาคใต้” ปีละครั้ง โดยครั้งล่าสุดจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ไปเมื่อวันที่-3-5 ตุลาคม กันยายน 2559ภายใต้หัวข้อเรื่อง “นวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ” (Innovation of Health Promotion)มีความประสงค์ที่จะขยายเครือข่ายการทำงาน และเพิ่มความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ ในการผลักดัน ยกระดับผลการดำเนินงานปฏิบัติการด้านสุขภาวะในพื้นที่ไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะมากขึ้น โดยใช้กลไกและเครื่องมือทางวิชาการเป็นฐานในการทำงานร่วมกัน จึงได้บูรณาการการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ร่วมกับการประชุมวิชาการระดับชาติ กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายหัวข้อที่หลากหลาย โดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในระดับประเทศมาเป็นวิทยากรนอกจากนี้ภายในงาน ยังมีการจัดนิทรรศการ การประชุมห้องย่อยตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ มีการประชุมวิชาการ นำเสนอผลงานวิจัยของบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และบุคคลสนใจทั่วไปโดยคาดหวังว่า ผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ เผยแพร่ผลงานวิจัย หรือผลการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะในระดับพื้นที่ และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ต่อไป โดยมีกลุ่มเป้าหมายจากภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมงานประมาณ 1,800 คน

รูปแบบ การแสดงปฐกถาการสัมนาทางวิชาการ ลานปัญญาเสวนา ลานนิทรรศการ ลานสื่อสร้างสุข การนำเสนอผลงานวิชาการ และเรื่องเล่าเร้าพลัง

ภาคีพันธมิตรสุขภาพจาก ภาคีภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสื่อสารมวลชน ภาควิชาการ ที่มีบทบาท มีหน้าที่ มีศักยภาพ และสนใจในการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นปัญหาหลักของภาคใต้ ตลอดจนหน่วยงานที่มีหน้าที่กำหนดหรือเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐ และท้องถิ่นตลอดจนนักการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

ดาว์นโหลด ไฟล์สรุปงานสร้างสุข ปี 2560 https://drive.google.com/file/d/0B7m9M4TDDEa6aTFiNkR4aXRCLWc/view?usp=sharing

stars
4. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

Input การประชุมวิชาการครั้งที่ 2 เรื่อง “นวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ” (งานสร้างสุขภาคใต้) 1 ทีมผู้จัด -ทีมผู้จัดงาน -ทีมวิชาการ 2 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม -หน่วยงานภาครัฐ -นักวิชาการ -นักศึกษา -องค์กรพัฒนาเอกชน -ภาคประชาสังคม -ผู้พูดคนสำคัญ (Keynote speaker) -คนสนใจทั่วไป -อื่น ๆ

stars
5. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อนำเสนอผลการประเมิน รวบรวมสถานการณ์ และการจัดการความรู้ด้านระบบสุขภาพของภาคใต้ สู่ภาคีเครือข่ายพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงนโยบาย

 

2 เพื่อสร้างกลไกระดับภาค การเชื่อมประสาน บูรณาการงาน และขยายเครือข่ายภาคีพันธมิตรสร้างเสริมสุขภาพในภาคใต้

 

3 เพื่อขยายผล ยกระดับงานสร้างเสริมสุขภาพ การจัดการด้านสุขภาวะของพื้นที่ จนนำไปสู่การพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

 

4 เพื่อสนับสนุนให้บุคคลทั่วไปได้ผลิต เผยแพร่และนำเสนอผลงานวิชาการ  งานวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ในเวทีสาธารณะ เพื่อประโยชน์ต่อหน่วยงานและเพื่อความก้าวหน้าต่อไป

 

stars
6. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2559 11:09 น.