ชุมชนสีเขียว
-
messageImage_1728276634661.jpg
-
messageImage_1728276562931.jpg
-
messageImage_1728269437809.jpg
-
messageImage_1728269183391.jpg
เพื่อออกแบบการขับเคลื่อนพื้นที่ชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหาร
ออกแบบการดำเนินงานยกระดับพื้นที่ชุมชนสีเขียวสู่การจัดทำเป็นมติสมัชชาสุขภาพเชิงประเด็น
ได้ข้อสรุปดังนี้
1.ตัวแบบการขับเคลื่อนชุมชนสีเขียว
2.การจัดทำข้อมูลพื้นที่ชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย
1) ข้อมูลสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร ข้อมูลจุดเด่นการเป็นพื้นที่ชุมชนสีเขียว
2) ความสอดคล้องของพื้นที่กับนิยามคุณลักษณะและตัวชี้วัดของชุมชนสีเขียวฯ
3) วิเคราะห์ปัจจัยเสริม ปัจจัยอุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จ และจุดเด่นของแต่ละประเภท
4) Mapping เครือข่าย ผลการดำเนินกิจกรรม
5) กลไกและวิธีการจัดการการขับเคลื่อนชุมชนสีเขียว
3.กิจกรรมการขับเคลื่อนชุมชนสีเขียวฯ
1) จัดตั้งคณะทำงาน
2) เลือกพื้นที่ต้นแบบที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนชุมชนสีเขียว เพื่อประเมินพื้นที่ ถอดบทเรียนพื้นที่ และยกระดับเป็นพื้นที่ชุมชนสีเขียว จำนวน 20 พื้นที่ เกณฑ์การเลือกพื้นที่ต้องเป็นพื้นที่ที่มีต้นทุนการหนุนเสริมการโครงการ สสส. หรือหน่วยงานอยู่แล้ว เพื่ดลดเวลาการดำเนินงาน และใช้กลไกชุมชนสีเขียวยกระดับเป็นพื้นที่ชุมชนสีเขียว
3) พัฒนาเครื่องมือการประเมินพื้นที่ชุมชนสีเขียวใน 5 ประเภท คือ ชุมชนสวนยางยั่งยืน ชุมชนประมงสีเขียว ชุมชนท่องเที่ยวยั่งยืน ชุมชนเกษตรอัตลักษณ์ และชุมชนลุ่มน้ำสีเขียว
4) พัฒนาศักยภาพทีมประเมินและถอดบทเรียนพื้นที่
5) ดำเนินการโพกัสกรุ๊ป เก็บข้อมูล 20 พื้นที่
6) เวทีสานพลังเครือข่ายพื้นที่ชุมชนสีเขียว
7) สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล
8) จัดทำร่างยกระดับข้อเสนอเชิงนโยบาย
9) ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับนโยบาย (UNDP/สภาพัฒนาเศรษฐกิจฯภาคใต้ และหน่วยงานอื่น ๆ )
10) จัดเวทีสมัชชาเชิงประเด็น
4.การเลือกพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 20 พื้นที่
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
เจ้าหน้าที่สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.ม.อ.) คณะทำงานชุมชนสีเขียว ผู้เข้าร่วมประชุมทาง Zoom 10 คน
*