ประชุมจัดทำข้อมูลถอดบทเรียนชุมชนสีเขียว |
10 ก.ย. 2567 |
10 ก.ย. 2567 |
|
ประชุมร่วมกับ อ.พงค์เทพ หารือการจัดทำข้อมูลประเมินผลชุมชนสีเขียว เพื่อเตรียมเข้าที่ประชุมทำแผนชุมชนสีเขียว
|
|
จัดเตรียมข้อมูลดังนี้
- ทบทวนผลการประเมินพื้นที่นำร่องชุมชนสีเขียว 5 พื้นที่
|
ไม่มี
|
ประชุมวางแผนขับเคลื่อนสมัชชาชุมชนสีเขียวร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพ |
11 ก.ย. 2567 |
11 ก.ย. 2567 |
|
ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สสส. สช.ทีมประเมิน และทีมขับเคลื่อนระดับพื้นที่ ออกแบบการขับเคลื่อนงานสมัชชาชุมชนสีเขียว
|
|
แนวทางการหารือ
- การเคลื่อนเรื่องชุมชนสีเขียวทั้งประเทศไปไม่รอด กลับมาเคลื่อนทีละประเด็น โพกัสเชิงประเด็น หรือเชิงพื้นที่ ทำเฉพาะภาคใต้ ต่อยอดจากมติงานสร้างสุขภาคใต้ เรื่องชุมชนสีเขียว จัดเป็นสมัชชาเชิงพื้นที่ หรือ สมัชชาเชิงประเด็น เฉพาะภาคใต้ จะจัดแยกหรือจัดร่วมกับงานสร้างสุขในปีหน้า
- พื้นที่ปฏิบัติการ 5 พื้นที่ มีข้อเสนอเชิงนโยบายอะไรบ้าง ทบทวนข้อเสนอ ข้อมูล ให้เครือข่ายในพื้นที่ดูอีกครั้ง
- ทั้ง 5 พื้นที่ บูรณาการความมั่นคงในประเด็นอื่นด้วย โดยใช้อาหารเป็นตัวนำเชื่อมกับประเด็นอื่น
- เอาข้อเสนอไปขับเคลื่อนต่อ หรือเอาข้อเสนอเดิมมาเคลื่อนในเชิงนโยบาย ถอดบทเรียนการขับเคลื่อน
- ในเวทีงานสร้างสุขภาคใต้ทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เข้ามติ คสช.อีกครั้ง
- ใช้งบของโครงการงานสร้างสุขภาคใต้ และงบของ ศวนส.
- การเชื่อมกับเครือข่าย/องค์กร : กยท. สปก. เครือข่ายลุ่มน้ำ สภาพัฒน์ และ TPLab เพื่อจับประเด็นชุมชนสีเขียวเข้าแผนชาติ
- จัดตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย พี่เผือก อ.ชุมพล อ.อนิรุต บังรอซีดี และเครือข่ายอาหารภาคใต้ ร่วมทั้งสำนักงานสภาพัฒน์ และ สช.
|
ไม่มี
|
ประชุมจัดทำแผนขับเคลื่อนชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหาร |
23 ก.ย. 2567 |
23 ก.ย. 2567 |
|
ประชุมทีมวิชาการ และตัวแทนพื้นที่ชุมชนสีเขียว 5 พื้นที่
|
|
- เป้าหมายและวัตถุประสงค์การทำแผนชุมชนสีเขียว
- เพื่อทบทวนข้อมูลผลการขับเคลื่อนงานชุมชนสีเขียว 5 พื้นที่ และข้อเสนอเชิงนโยบายระดับพื้นที่ ได้แก่ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านไหนหนัง จ.กระบี่ ชุมชนเกษตรอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธ์มานิ ชุมชนการจัดการลุ่มน้ำจะรังตาดง จ.ยะลา ชุมชนประมงยั่งยืน จ.สุราษฎร์ธานี และชุมชนสวนยางยั่งยืน จ.พัทลุง
- เพื่อจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนงานชุมชนสีเขียวและ และจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนสมัชชาเชิงประเด็นชุมชนสีเขียวในระดับภาคใต้
- แนวทางการขับเคลื่อนงานชุมชนสีเขียว
จัดตั้งทีมคณะทำงานระดับภาคใต้และระดับพื้นที่
พัฒนาข้อมูล สถานการณ์ ทบทวนเกณฑ์ ตัวชี้วัด นิยาม ขอบเขต คุณลักษณะ ชุมชนสีเขียวแต่ละประเภท ต้นแบบแต่ละพื้นที่ โดยใช้คุณลักษณะเป็นกรอบ วิเคราะห์ปัจจัยเสริม ปัจจัยอุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จ และจุดเด่นแต่ละประเภท Mapping เครือข่าย ผลการดำเนินงาน
Mapping พื้นที่ งานภาคีเครือข่าย เพิ่มจำนวนพื้นที่ต้นแบบชุมชนสีเขียว จาก 5 พื้นที่ ขยายเป็น 20 พื้นที่ ให้มีพื้นที่ต้นแบบอย่างน้อยจังหวัดละ 1 พื้นที่ (ตัวแบบตามกรอบ BCG ความมั่นคงทางอาหาร และ เกษตรอัตลักษณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นข้อมูลต้นแบบของพื้นที่อาหารในภาคใต้ และเป็นข้อมูลสำหรับนำเข้าในงานสมัชชาสุขภาพเชิงประเด็น
เชื่อมโยงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานเชิงนโยบายและแหล่งทุน (สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ UNDP)
คณะทำงาน/ทีมวิชาการ สังเคราะห์ข้อมูลยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย จัดทำยุทธศาสตร์ แผนการขับเคลื่อน และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในแต่ละประเด็น
เวทีทบทวนข้อมูล สถานการณ์ และจัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย
จัดงานสมัชชาเชิงประเด็นชุมชนสีเขียว บูรณาการจัดร่วมกับงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 14
|
ไม่มี
|
ประชุมจัดทำแผนขับเคลื่อนชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมผ่านทาง Zoom ออนไลน์ |
23 ก.ย. 2567 |
23 ก.ย. 2567 |
|
ประชุมทาง Zoom
|
|
- ผลการดำเนินงานพื้นที่ชุมชนสีเขียว 5 พื้นที่
- แผนการขับเคลื่อนงานชุมชนสีเขียว
|
ไม่มี
|
ประชุมทีมวิชาการการจัดทำเครื่องมือการเลือกพื้นที่ต้นแบบชุมชนสีเขียว |
6 ต.ค. 2567 |
6 ต.ค. 2567 |
|
ประชุมคณะทำงาน ทีมวิชาการ วางแผนรูปแบบการขับเคลื่อนงานชุมชนสีเขียว
|
|
- ทบทวนนิยามและคุณลักษณะชุมชนสีเขียว และกรอบ BCG โมเดล
- การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย
- แนวทางการขับเคลื่อน
- แนวทางการถอดบทเรียนพื้นที่
- แผนการดำเนินงานชุมชนสีเขียว
|
*
|
ประชุมเครือข่ายเกษตรและอาหารภาคใต้ จัดทำแนวทางการยกระดับพื้นที่นำร่องสู่ชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหาร (เตรียมเวทีสมัชชาเชิงประเด็น) |
7 ต.ค. 2567 |
7 ต.ค. 2567 |
|
ออกแบบการดำเนินงานยกระดับพื้นที่ชุมชนสีเขียวสู่การจัดทำเป็นมติสมัชชาสุขภาพเชิงประเด็น
|
|
ได้ข้อสรุปดังนี้
1.ตัวแบบการขับเคลื่อนชุมชนสีเขียว
2.การจัดทำข้อมูลพื้นที่ชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย
1) ข้อมูลสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร ข้อมูลจุดเด่นการเป็นพื้นที่ชุมชนสีเขียว
2) ความสอดคล้องของพื้นที่กับนิยามคุณลักษณะและตัวชี้วัดของชุมชนสีเขียวฯ
3) วิเคราะห์ปัจจัยเสริม ปัจจัยอุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จ และจุดเด่นของแต่ละประเภท
4) Mapping เครือข่าย ผลการดำเนินกิจกรรม
5) กลไกและวิธีการจัดการการขับเคลื่อนชุมชนสีเขียว
3.กิจกรรมการขับเคลื่อนชุมชนสีเขียวฯ
1) จัดตั้งคณะทำงาน
2) เลือกพื้นที่ต้นแบบที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนชุมชนสีเขียว เพื่อประเมินพื้นที่ ถอดบทเรียนพื้นที่ และยกระดับเป็นพื้นที่ชุมชนสีเขียว จำนวน 20 พื้นที่ เกณฑ์การเลือกพื้นที่ต้องเป็นพื้นที่ที่มีต้นทุนการหนุนเสริมการโครงการ สสส. หรือหน่วยงานอยู่แล้ว เพื่ดลดเวลาการดำเนินงาน และใช้กลไกชุมชนสีเขียวยกระดับเป็นพื้นที่ชุมชนสีเขียว
3) พัฒนาเครื่องมือการประเมินพื้นที่ชุมชนสีเขียวใน 5 ประเภท คือ ชุมชนสวนยางยั่งยืน ชุมชนประมงสีเขียว ชุมชนท่องเที่ยวยั่งยืน ชุมชนเกษตรอัตลักษณ์ และชุมชนลุ่มน้ำสีเขียว
4) พัฒนาศักยภาพทีมประเมินและถอดบทเรียนพื้นที่
5) ดำเนินการโพกัสกรุ๊ป เก็บข้อมูล 20 พื้นที่
6) เวทีสานพลังเครือข่ายพื้นที่ชุมชนสีเขียว
7) สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล
8) จัดทำร่างยกระดับข้อเสนอเชิงนโยบาย
9) ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับนโยบาย (UNDP/สภาพัฒนาเศรษฐกิจฯภาคใต้ และหน่วยงานอื่น ๆ )
10) จัดเวทีสมัชชาเชิงประเด็น
4.การเลือกพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 20 พื้นที่
|
*
|
ประชุมพัฒนากรอบและเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์รูปแบบชุมชนสีเขียว |
13 ต.ค. 2567 |
13 ต.ค. 2567 |
|
ประชุมร่วมกับทีมวิชาการออกแบบการเก็บเครื่องมือการขับเคลื่อนพื้นที่ชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหาร
|
|
ได้ข้อสรุปและประเด็นหารือในการพัฒนาเครื่องมือ ดังนี้
- เครื่องมือชุดที่ 1 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนชุมชนสีเขียว ดังนี้
1.รูปแบบชุมชนสีเขียว
2.พื้นที่ตั้ง
3.สถานการณ์พื้นที่
4.การขับเคลื่อนชุมชนสีเขียว
5.ปัญหาอุปสรรค
6.แนวทางแก้ไข
7.ปัจจัยหนุนเสริมความสำเร็จ
8.โอกาสและความท้าทาย
|
*
|