สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน (โรงเรียนบ้านควนโส)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน (โรงเรียนบ้านควนโส) ”

โรงเรียนบ้านควนโส หมู่ที่ 3 ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 90220

หัวหน้าโครงการ
นางสาวจำเนียร สุวรรณมณี (074510053)

ชื่อโครงการ โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน (โรงเรียนบ้านควนโส)

ที่อยู่ โรงเรียนบ้านควนโส หมู่ที่ 3 ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 90220 จังหวัด

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน (โรงเรียนบ้านควนโส) จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน โรงเรียนบ้านควนโส หมู่ที่ 3 ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 90220

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน (โรงเรียนบ้านควนโส)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน (โรงเรียนบ้านควนโส) " ดำเนินการในพื้นที่ โรงเรียนบ้านควนโส หมู่ที่ 3 ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 90220 รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 20,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ตามที่สพฐ.กำหนดนโยบายให้โรงเรียนจัดบริการอาหารกลางวันแก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีอาหารกลางวันรับประทานอย่างเพียงพอ และมีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงนั้น สำหรับการดำเนินการของโรงเรียนบ้านควนโสนั้นโรงเรียนจัดเมนูอาหารตามวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการกำหนดรายการอาหารเป็นสองส่วน คือ ในส่วนของเครื่องปรุงและอุปกรณ์งานครัว ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันเป็นผู้ดำเนินการให้มีขึ้น ในส่วนของวัตถุดิบประกอบอาหารประเภทอาหารสดโรงเรียนได้ประชุมข้อตกลงระหว่างครูวิชาการ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการงานอาชีพ ครูผู้รับผิดชอบอาหารกลางวัน และครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่ห้องเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนงานเกษตรปลูกผักปลอดสารพิษ กิจกรรมเพาะเห็ด สวนกล้วย จำหน่ายให้อาหารกลางวัน ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนแล้วยังปลอดภัยจากสารเคมีอีกด้วย นอกจากนี้โรงเรียนได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง ชุมชนที่มีผลผลิตที่สามารถนำมาใช้ในการประกอบอาหารให้นำมาจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันได้

ปัจจุบันโรงเรียนบ้านควนโสจัดการบริหารกลางวันในโรงเรียนที่ดำเนินการจัดจ้างแม่ครัวมาประกอบอาหารโดยการจัดซื้อ อาหารสดที่จำหน่ายในชุมชนและในท้องตลาดมาประกอบอาหารตามเมนูที่กำหนดไว้แล้วเป็นตารางที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปโดยเฉพาะอาหารกลางวันประเภทผักที่โรงเรียนจัดซื้อจากผลผลิตจากโครงการเศรษฐกิจพอเพียงที่โรงเรียนได้ปลูกเพื่อบริการให้อาหารกลางวันซึ่งบางครั้งก็ไม่สามารถบริโภคได้ตลอดทั้งปี จึงทำให้โรงเรียนต้องจัดซื้อผักจากตลาดชุมชน และตลาดทั่วไปซึ่งพบว่าผักบางชนิดจะมีสารเคมีตกค้าง ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน ประกอบกับภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนโสมีถึงร้อยละ 9 ดังนั้นโรงเรียนบ้านควนโสจึงได้จัดทำโครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวันขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนลงเหลือร้อยละ 2
  2. เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย
  3. เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตผักปลอดสารพิษตลอดปี
  4. เพื่อให้โรงเรียนนำผลผลิตที่ได้เพื่อโครงการอาหารกลางวัน
  5. เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน
  6. เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการ มีทักษะประกอบอาชีพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ
  2. กิจกรรมน้ำสมุนไพร
  3. กิจกรรมลดพุงลดโรค
  4. กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
นักเรียนชั้น ป. 3-ป. 6 72

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง

2.กิจกรรมอาหารกลางวันในโรงเรียนมีความปลอดภัยยั่งยืน

3.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านโภชนาการ ด้านสุขภาพ

4.นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมลดพุงลดโรค

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

นักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 149 คน คณะครู และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 10-20 คน ได้ร่วมกันออกกำลังกาย หลังเวลาเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 15.30 - 17.00 น. ในทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ตลอดปีการศึกษา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
นักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 149 คน คณะครู และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 10-20 คน ได้ร่วมกันออกกำลังกาย หลังเวลาเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 15.30 - 17.00 น. ในทุกวันจันทร์ถึงศุกร์

ผลัพธ์

1.นักเรียนร้อยละ 80 มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์

2.นักเรียนมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

40 0

2. กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.คณะครู นักเรียนและชุมชน ร่วมกันประชุมเพื่อวางแผนในการทำกิจกรรม

2.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ ซื้อก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐานจำนวน 500 ก้อน ทำการเพาะในโรงเรือน จำนวน 1โรงเรือน

3.จัดเวรนักเรียนผู้แลโรงเพาะเห็ดนางฟ้า จำนวน 5 ทีม เพื่อรดน้ำก้อนเชื้อเห็ดและจัดเก็บพร้อมทั้งจำหน่ายในแต่ละวัน เข้าสู่สหกรณ์โรงเรียนและส่งโครงการอาหารกลางวันของโรงเรือน

4.ทำแบบบัญชีรายรับ รายจ่ายในแต่ละครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผลผลิต
  • นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่4-6 ได้เรียนรู้วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน
  • ผลผลิตเห็ดนางฟ้าภูฐาน จำนวน 20-30 กิโลกรัม/สัปดาห์ ได้นำมาปรุงเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในโรงเรียน
  • นำผลผลิตที่เหลือจำหน่ายให้กับคณะครูในโรงเรียนและชาวบ้านในชุมชน
  • ผลลัพธ์
  • นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการฝึกทักษะการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐาน การเพาะปลูกเห็ดนางฟ้าภูฐาน
  • ร้อยละ 100 ผลผลิตที่ได้ ได้นำมาผลิตเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
  • ร้อยละ 100 ผลผลิตได้จำหน่ายให้กับคณะครูและชาวบ้านในชุมชน

 

60 0

3. กิจกรรมน้ำสมุนไพร

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. นำพืชที่สามารถแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพรได้ มาเพาะปลูกในโรงเรียน
  2. นำสมุนไพรในท้องถิ่น เช่น ดอกอัญชัน ดอกกระเจี๊ยบแดง ข้าวโพด มาแปรรูปเป็นน้ำดื่มสมุนไพร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผลผลิต
  • นักเรียนมีวิชาชีพในการแปรรูปน้ำดื่มสมุนไพร แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
  • นักเรียนมีทักษะในการทำงานอย่างเป็นกระบวณการ

  • ผลลัพธ์

  • นักเรียนร้อยละ 80 สามารถผลิตน้ำดื่มสมุนไพรได้
  • นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับประทานน้ำดื่มสมุนไพรทีตนเองผลิต

 

60 0

4. กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ

วันที่ 24 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

.1.ประชุมครู ,บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรม มีการแบ่งนักเรียนที่รับผิดชอบโครงการ ออกเป็นกลุ่มที่สนใจในเรื่องที่จะทำ เช่น การปลูกผัก การเพาะเห็ด จำนวน 5 ทีม จากนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาทั้งหมด 60 คน

2.มีการปลูกผักสวนครัว และผักใบ เช่น ผักบุ้ง ผักกาด จำนวน .......12......... แปลง

3.นักเรียนที่รับผิดชอบ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4-6. จำนวน.60... คน มีการเปลี่ยนเวรในการดูแล รดน้ำ ใส่ปุ๋ย และเก็บผลผลิต จากแปลงสู่โรงครัวของโรงเรียน

4.มีผลผลิตผักปลอดสารพิษ จำนวน 40 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ส่งโครงการอาหารกลางวัน

5.แม่ครัวนำผลผลิต เช่น ผักและเห็ด มาประกอบเป็นอาหารกลางวันในกับนักเรียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีผักบุ้งปลอดสารพิษ ส่งโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 40 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

2.ผลผลิตที่เหลือจากโครงการอาหารกลางวัน จำหน่ายให้กับผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน

 

250 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนลงเหลือร้อยละ 2
ตัวชี้วัด : นักเรียนร้อยละ 100 มีสุขภาพแข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูงสมวัยตามมาตรฐาน
72.00 72.00

น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ ดูจากบันทึกภาวะทางโภชนาการ

2 เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย
ตัวชี้วัด : นักเรียนร้อยละ10 ได้รับบริการอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย
72.00 72.00

น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ ดูจากบันทึกภาวะทางโภชนาการ

3 เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตผักปลอดสารพิษตลอดปี
ตัวชี้วัด : โรงเรียนให้บริการผลผลิตแก่โครงการอาหารกลางวันจากโครงการได้ร้อยละ 80 ต่อปี
72.00 72.00

นักเรียนมีผักปลอดสารพิษรับประทานเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียน

4 เพื่อให้โรงเรียนนำผลผลิตที่ได้เพื่อโครงการอาหารกลางวัน
ตัวชี้วัด :
72.00 72.00

จากผลผลิตที่ได้จากการทำกิจกรรม

5 เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน
ตัวชี้วัด : ชุมชนมีส่วนร่วมร้อยละ 80 ของกิจกรรม
72.00 72.00

จากการให้ความร่วมมือของคนในชุมชน

6 เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการ มีทักษะประกอบอาชีพ
ตัวชี้วัด : นักเรียนร้อยละ80มีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการ
72.00 72.00

นักเรียนมีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 72
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
นักเรียนชั้น ป. 3-ป. 6 72

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนลงเหลือร้อยละ 2 (2) เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย (3) เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตผักปลอดสารพิษตลอดปี (4) เพื่อให้โรงเรียนนำผลผลิตที่ได้เพื่อโครงการอาหารกลางวัน (5) เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน (6) เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการ มีทักษะประกอบอาชีพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ (2) กิจกรรมน้ำสมุนไพร (3) กิจกรรมลดพุงลดโรค (4) กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน (โรงเรียนบ้านควนโส) จังหวัด

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวจำเนียร สุวรรณมณี (074510053) )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด