สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการวิจัยประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวิจัยประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
ภายใต้โครงการ แผนงานโซนใต้กลาง
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2561 - 31 สิงหาคม 2562
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 150,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบุญเรือง ขาวนวล
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. พื้นที่เป้าหมาย
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
place directions
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2561 31 ธ.ค. 2561 15 มิ.ย. 2561 31 ก.ค. 2562 100,000.00
2 1 ม.ค. 2562 30 เม.ย. 2562 40,000.00
3 1 พ.ค. 2562 14 มิ.ย. 2562 10,000.00
รวมงบประมาณ 150,000.00
stars
4. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) เป็นยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร รักษาไว้ซึ่งความหลากหลายเชิงนิเวศ มีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศ ในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความ เสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม และได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยพัฒนาการเกษตรสร้างมูลค่า ให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้เล่นสำคัญด้านการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรในเวทีโลกด้วยพื้นฐานทางพืชเกษตรเขตร้อน และมีข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่สามารถพัฒนาต่อยอดโครงสร้างธุรกิจการเกษตรด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นเกษตรคุณภาพสูงและขับเคลื่อนการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพการผลิตทั้งเชิงปริมาณและมูลค่าและความหลากหลายของสินค้าเกษตร เพื่อรักษาฐานรายได้เดิมและสร้างฐานอนาคตใหม่ที่สร้างรายได้สูง ทั้งเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป และเกษตรอัจฉริยะ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น พัฒนาเกษตรปลอดภัย สร้างความตระหนักแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคทั่วโลก ในเรื่องความสำคัญของมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร จูงใจและวางกรอบให้เกษตรกรและผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับมาตรฐาน และเข้าสู่ระบบมาตรฐานการจัดการคุณภาพทางการเกษตรที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ พร้อมทั้งให้ความรู้เกษตรกรด้านกระบวนการผลิตตามมาตรฐานสากลเพื่อมุ่งสู่การเลิกใช้สารเคมีในภาคเกษตร การเพิ่มพื้นที่และปริมาณการผลิตเกษตรอินทรีย์ในระยะต่อไป โดยส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรในการทำเกษตรปลอดสาร และเปลี่ยนผ่านไปสู่การทำเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนสนับสนุนกลไกทางการตลาดแก่เกษตรกรที่ต้องการทำการเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาระบบการตรวจรับรองคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย รวมถึงระบบตรวจสอบย้อนกลับ สำหรับการตรวจสอบที่มาของสินค้าในทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ พื้นที่เกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยในปี 2558 มีพื้นที่การผลิต 284,918.45 ไร่เพิ่มขึ้นจาก 235,523.35 ไร่ ในปี 2557 หรือเพิ่มร้อยละ 20.97 โดยเฉพาะพื้นที่ของการปลูกข้าว และผัก/ผลไม้ผสมผสานอินทรีย์ มีอัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยร้อยละ 27.99 และ 187.31 ตามลำดับ สำหรับตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในปี 2557 พบว่า มูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวม 2,311.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1,914.80 ล้านบาท ในปี 2556 หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.72 โดยแบ่งเป็นตลาดส่งออก มีมูลค่า 1,817.10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 77.94 และตลาดในประเทศมีมูลค่า 514.45 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.06 ซึ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564 มีฐานคิดการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ดำเนินการภายใต้พื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง มีความสมดุลพอประมาณ มีเหตุมีผลและภูมิคุ้มกัน สอดคล้องกับภูมิสังคมแต่ละพื้นที่และวิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นการพัฒนาตามลำดับขั้น เริ่มจากการผลิตสำหรับบริโภคในครัวเรือนและ พัฒนาไปสู่การแลกเปลี่ยนการรวมกลุ่มช่วยเหลือพึ่งพากันในชุมชนให้เข้มแข็ง เน้นการส่งเสริม เกษตรกรไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และพัฒนาการผลิตในเชิงการค้า ขยายเครือข่ายเชื่อมโยงสู่การค้าระดับประเทศ/ต่างประเทศ การสร้างความเข้มแข็งในการผลิตเกษตรอินทรีย์ จะต้องมีการพัฒนาด้านต่างๆ ในกระบวนการผลิต ทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนโครงสร้างพื้นฐาน รูปแบบในการผลิต ปัจจัยการผลิต ความรู้ทางการผลิต การแปรรูป การบรรจุเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า เป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิต ให้ตรงตามมาตรฐานและความต้องการของตลาด ก่อให้เกิด การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ สำหรับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย มีปริมาณการผลิตข้าว ในปี 2559 ปริมาณ 256,913 ตัน หรือร้อยละ 13.34 โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวรวม 624,722 ไร่ และเป็นพื้นที่ให้ผลผลิตรวม 551,285 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 73.14 ของพื้นที่ให้ผลผลิตของภาคใต้ ซึ่งผลผลิตรวม 256,913 ตัน คิดเป็นร้อยละ 76.93 ของผลผลิตรวมของภาคใต้ จัดเป็น ลำดับหนึ่งของภาคใต้ ทั้งนี้ เป้าหมายการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยให้เป็นศูนย์กลางการเกษตร การค้ำ การลงทุน การท่องเที่ยวนานาชาติ โลจิสติกส์ที่สมบูรณ์ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน และสังคมคุณภาพ และได้กำหนดแนวทางการพัฒนาการเกษตร ด้านการผลิต แปรรูป การตลาดและ การบริหาร จัดการพืชเศรษฐกิจหลักอย่างครบวงจร เน้นการผลิตพืชผัก ปลอดสารพิษในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ แห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2564 สำหรับจังหวัดพัทลุง เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่การทำนาลำดับต้นๆ ของภาคใต้ อีกทั้งยังมีชื่อเสียงของพันธุ์ข้าวสังข์หยด ซึ่งเป็นข้าวที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geografical Indication: GI) และได้ประกาศและดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง พ.ศ. 256 – 2566 เพื่อขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไปสู่การปฏิบัติ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยบูรณาการกับทุกภาคส่วน การวิจัยประเมินผลครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ติดตามการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพัทลุง

stars
6. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การวิจัยประเมินผลครั้งนี้ ทีมผู้วิจัยได้กรอบการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นแนวในการดำเนินการ ร่วมกับการประเมินนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

stars
7. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วิเคราะห์สถานการณ์การพัฒนาข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพัทลุง

องค์ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพัทลุง เพื่อเสริมแนวคิดและกระบวนการในการประเมินผลเชิงนโยบาย

2 ศึกษาและประเมินผลการนำนโยบายการพัฒนาข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพัทลุงไปสู่การปฏิบัติ

องค์ความรู้และข้อมูลการนำนโยบายการพัฒนาข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพัทลุงไปสู่การปฏิบัติ

3 ประเมินประสิทธิผลยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพัทลุง

ผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพัทลุง

stars
8. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
9. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
11. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2561 11:22 น.