สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

task_alt

โครงการการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยใน ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยใน ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

ชุมชน ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 61-ข-067

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2561 ถึง 14 มิถุนายน 2562

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2561 ถึงเดือน สิงหาคม 2562

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงาน1 สร้างความเข้าใจแผนงาน

วันที่ 27 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจแผนงาน การขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิตที่ได้
- เกิดคณะทำงานผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 9 คน มาจากภาคส่วน เทศบาล รพสต อสม ปกครอง ภาคประชาชนทำงานร่วมกัน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
-ได้มีข้อตกลงเปิดกลุ่มไลน์เพื่อการสื่อสาร และมีข้อตกลงควรออกแบบกิจกรรมก่อนดำเนินการทุกครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน 10 คน ที่มาจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมกัน ขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม
โดยมีวัตถุประสงค์   - เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการอาหารที่ปลอดภัยในชุมชนบ้านหูยาน (โมเดลหูยาน) และขยายผลสู่พื้นที่อื่น ๆ ในตำบลนาท่อม   - เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ใช้พื้นที่ดำเนินงาน บ้านหูยาน และขยายผลสู่บ้านใกล้เคียง ทั้ง 8 หมู่บ้าน แนวทางการดำเนินงาน
  - ศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานระบบอาหารในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในระดับหมู่บ้าน และ ระดับตำบล โดยใช้เครื่องมือตัวชี้วัดที่ระบุถึงระบบอาหารในพื้นที่ จำนวน 16 ข้อ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมสร้างความเข้าใจกับคณะทำงาน แผนงาน การขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม  ประเด็นในการประชุม เพื่อสร้างข้อตกลงร่วมกันของคณะทำงานถึงการขับเคลื่อน  ควรมีการประชุมออกแบบกิจกรรการดำเนินงานก่อนทุกคร้ง ครั้งนี้เป็นครั้งก่อตัวคณะทำงานชุดขับเคลื่อนตำบลนาท่อม สร้างกลุ่มline เพื่อการสื่อสารของคณะทำงาน ชื่อ กลุ่มอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม สรุปความคืบหน้าตัวโครงการ ซึ่งโครงการการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม ได้รับการอนุมัติแล้วและกำลังรองเงินโอนเข้าบัญชีทำกิจกรรม สำหรับรายละเอียดต้องปรับกิจกรรมเล็กน้อย

 

10 9

2. ประชุมคณะทำงาน 2

วันที่ 3 กันยายน 2561 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อออกแบบศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานระบบอาหาร  ในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในระดับหมู่บ้าน และ ระดับตำบล 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การประชุมคณะทำงานได้ข้อสรุป คือ

  • คณะทำงานได้แนวทางในการจัดเก็บข้อมูล 3 ประเด็น คือ อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และ โภชนาการสมวัย ตามสถานการณ์ที่ข้อมูลมี
  • ตัววิทยากรร่วมให้ข้อมูล จาก รพสต คือ หมอสุวรรณา ทองเที่ยง และหมอสมนึก นุ่นด้วง ส่วนโรงเรียน ให้เรียนผู้อำนวยการ และเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล
  • สำหรับชุมชนต้นแบบบ้านหูยานใช้สภาแกนนำกับครัวเรือนต้นแบบ ในการมาให้ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลนำไปใช้ในการทำแผนการขับเคลื่อนเต็มพื้นที่ 8  หมู่บ้านในตำบลนาท่อม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 เพื่อออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ 3 ประเด็น คือ อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และ โภชนาการสมวัย ในตำบลนาท่อม 16 ตัวชี้วัด

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นายพีรพงค์ บาลทิพย์ นายกเทศมนตรี ประธานคณะทำงานดำเนินการเปิดประชุม โดยมี นายถาวร คงศรีผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงการประชุมคณะทำงานเพื่อออกแบบวางแผนเก็บข้อมูลจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ รพสต โรงเรียนในชุมชน เกษตรตำบล และให้คณะทำงานได้ร่วมกันคิดออกแบบ ชี้เป้าให้ข้อมูลหรือเสนอชื่อผู้ให้ข้อมูลความรู้ในเรื่องเหล่านั้น
  • คณะทำงานได้แนวทางในการศึกษา จัดเก็บข้อมูล 3 ประเด็น โดยเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ 3 ประเด็น คือ อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และ โภชนาการสมวัย ในตำบลนาท่อมตาม 16 ตัวชี้วัด การเก็บข้อมูลตามสถานการณ์ที่ข้อมูลมี
  • การหาตัววิทยากรมาร่วมให้ข้อมูล จาก รพสต คือ หมอสุวรรณา ทองเที่ยง และหมอสมนึก นุ่นด้วง ส่วนโรงเรียน ให้เรียนผู้อำนวยการ และเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล สำหรับพื้นที่ชุมชนต้นแบบให้ใช้สภาแกนนำกับครัวเรือนต้นแบบ เพื่อต้องการเก็บข้อมูลนำไปใช้ในการทำแผนการขับเคลื่อนเต็มพื้นที่ตำบลนาท่อม

 

10 10

3. ประชุมคณะทำงาน 3

วันที่ 30 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output) - ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 25 คน มีความรู้เรื่องระบบอาหาร 3 ประเด็น  คือ ด้านอาหารปลอดภัย  โภชนาการสมวัย และความมั่นคงทางอาหาร ของตำบลนาท่อม จากผู้เข้าร่วมในภาพรวมใหญ่ - มีความรู้สถานการณ์ อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย และความมั่นคงทางอาหารชุมชนบ้านหูยาน จากการให้ข้อมูลของสภาแกนนำบ้านหูยาน - คณะทำงานและสภาแกนนำร่วมกันออกแบบการเก็บข้อมูล ตาม 16 ตัวชีวัดเพื่อนำข้อมูลมาทำแผนบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม ทั้ง 3 ประเด็น ผลลัพธ์ (Outcome) -คณะทำงานและสภาแกนนำร่วมกันออกแบบการเก็บข้อมูล ตามกรอบ 16 ตัวชีวัดทั้ง 3 ประเด็น เพื่อนำข้อมูลมาทำแผนบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม
-คณะทำงานได้จัดรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลทั้ง 3 ประเด็นง่ายต่อการนำเสนอ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารตำบลนาท่อม 3 ประเด็น คือ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย  โดยการเชิญบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในงานปกติให้ความรู้ หรือ คืนข้อมูลที่องค์กรได้เก็บไว้  ได้แก่ ผอ.โรงเรียนทั้ง 3 โรง คือ โรงเรียนวัดนาท่อม  โรงเรียนวัดโคกแย้ม  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง  เทศบาลตำบลนาท่อม โดย หัวหน้าสำนักปลัด และ เจ้าหน้าที่จาก รพสต.บ้านนาท่อม     สำหรับสภาแกนนำชุมชนบ้านหูยาน ให้ข้อมูลสถานการณ์อาหารปลอดภัย  และความั่นคงทางอาหารของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ตัวแทนจาก3 โรงเรียน รายงานสถานการณ์อาหารปลอดภัย และโภชนการสมวัย  โดยแต่ละโรงเรียนรายงานสถานการณ์ปัญหา เด็กเตี้ย  ผม  อ้วน  และพัฒนาการช้า  แนะแนวทางแก้ไข  สำหรับเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน  แต่ละโรงเรียน มีแม่ครัวที่ชื้ออาหารพืชผัก ปลาและเนื้อมาปรุงอาหาร  โดยมีแหล่งที่มาจากตลาดสด ไม่รู้แหล่งที่มาว่าอาหารปลอดภัยหรือไม่  บางครั้งซื้อพืชผักในชุมชน มีบ้างไม่มีบ้าง ขาดความต่อเนื่อง
  • สภาแกนนำบ้านหูยาน จาก 4 กลุ่มบ้าน ช่วยกันรายงานข้อมูลสถานการณ์และให้ข้อมูล 3 ด้าน เรื่องอาหารปลอดภัย ปลูกผักปลอดสารพิษ ไว้กิน เหลือกินรวบรวบไปจำหน่าย ในตลาดและร้านค้าทั้งภายในและนอกชุมชน  เรื่องความมั่นคงทางอาหาร สะท้อนข้อมูลชุมชนชนรณรงค์ปลูกพืช-ผักปลอดสารพิษครัวเรือนละ 20 ชนิด ลดรายจ่าย ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทุกชนิด  นำภูมิปัญญาการเลี้ยงผึ้งเสริมรายได้  มีการใช้ปิ่นโตสุขภาพเน้นอาหารที่ทำอาหารเองจากพืชผักข้างบ้าน  ทำตลาดสีเขียว ร่วมคิด แยกกันทำข้างบ้านตนเอง รวมกันขาย(ตลาดหูยานสะพานคนเดิน) เหลือนำไปจำหน่ายตลาดเกษตรในเมือง  ตลาดนัดธกส.ในเมือง  และมีการเลี้ยงสัตว์เช่น ไก่  วัว  หมู่ ไว้บริโภคเป็นอาหารในชุมชนหรือขายเป็นรายได้บ้าง ไม่ได้ทำเชิงธุกิจ
  • หมอจาก รพสต รายงานสถานการณ์ เรื่องอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ของตำบลนาท่อม เน้นการเก็บข้อมูลจากรายงาน 3 เดือนจากโรงเรียนในชุมชน ทั้ง 3 แหล่ง เพื่อนำมาประมวลเป็นภาพโภชนาการสมวัย ของเด็กทุกช่วงวัย และนำข้อมูลที่ได้จากแหล่งการศึกษา นำมาวิเคราะห์สู่การแก้ปัญญา อ้วน  เตี้ย ผอม
  • เทศบาล โดยปลัดและหัวหน้าสำนัก รายงานสถานการ เรื่องอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย และความมั่นคงทางอาหาร ของตำบลนาท่อม

 

10 25

4. ประชุมคณะทำงาน 4

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชุมชนบ้านหูยาน เป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่มีอัตลักษณ์ การจัดการอาหารปลอดภัย โดยใช้มัสคอสผึ้ง สะท้อนการเป็นชุมชนที่ปลอดสารเคมี มีอาหารที่ปลอดภัย เป็นชุมชนที่น่าอยู่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  • ชุมชนหูยานมีสื่อสารการเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการอาหารปลอดภัย ในระดับตำบล ที่มีการสื่อสารด้วย เพลง ด้วย VCD ด้วยแผ่นพับ ด้วยสื่อทางเฟสบุก ผ่านช่องทางไลน์ 5 วัน ระว่างวันที่ 7- 11 พ.ย 2560  สถานที่ เซ็นต์ทรัลเฟสติเวล หาดใหญ่
  • เทศบาลตำบลนาท่อมตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนที่ใช้ กิจกรรม ผึ้งจะรักษ์นาท่อมสื่อสาร ขยายผลการเลี้ยงผึ้งทั้งตำบลและร่วมกันประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพตำบลนาท่อมที่มุ่งเน้นเรื่องการจัดการอาหารปลอดภัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

หารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม
    ศึกษานโยบายของเทศบาลตำบลนาท่อม      ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน  โดยเทศบาลตำบลนาท่อม ใช้วิสัยทัศน์ตำบล “ วัฒนธรรมเลิศล้ำ เกษตรกรรมยั่งยืน ชุมชนน่าอยู่ สู่ตำบลสุขภาวะ เป็นโมเดล ขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยของตำบลนาท่อม โดยใช้ตลาดของดีนาท่อมเป็นตัวเชื่อมกิจกรรมของตำบล ตาม 6 ยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาผ่านแผนพัฒนาตำบล เช่น ใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมนำ เช่น ใช้มัสคอสผึ้งสื่อสารอาหารปลอดภัย

กิจกรรมที่ทำจริง

            กลุ่มผู้เข้าร่วมประชุม คุยประเด็นแผนงานอาหารปลอดภัยของตำบลนาท่อมกับสภาแกนนำ ที่ได้นำเสนองานตัวเองจนได้รับการคัดเลือกให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่มีอัตลักษณ์ การจัดการอาหารปลอดภัยโดดเด่น  โดยใช้สัญลักษณ์ มัสคอสผึ้งยิ้มหิ้วปิ่นโต  สะท้อนการเป็นชุมชนที่ปลอดสารเคมี  มีอาหารที่ปลอดภัย เป็นชุมชนที่น่าอยู่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
          คณะทำงาน ร่วมกับ สภาแกนนำ สื่อสารการเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการอาหารปลอดภัย ในระดับตำบล ที่มีการสื่อสารด้วย เพลง  ด้วย VCD  ด้วยแผ่นพับ  ด้วยสื่อทางเฟสบุก ผ่านช่องทางไลน์  5  วัน ระว่างวันที่ 7- 11  พ.ย 2560  สถานที่ เซ็นต์ทรัลเฟสติเวล หาดใหญ่ โดยการแนะนำชุมชนให้เป็นที่รู้จัก สร้างเครือข่ายโดยมีเป้าประสงค์ให้ชุมชนเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีผลผลิตอาหารที่ปลอดภัย มีกิจกรรมปั่นจักรยานโดดเด่นสะท้อนให้เห็นคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  อยากเชิญชวนให้คนมาท่องเที่ยว จับจ่ายชื้อของผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยของชุมชน

 

10 12

5. ประชุมคณะทำงาน 5

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต ตำบลนาท่อมประชาชนทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างกระบวนการเพื่อให้ได้มาของธรรมนุญสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
  • ผลลัพธ์ ตำบลนาท่อมประกาศใช้ธรรมนูญธรรมสุขภาพ ผ่านการรับรู้และปฏิบัติจริงโดยชุมชน ในวันที่ 22 พย 2560 และธรรมนูญสุขภาพตำบลนาท่อมก็มีกติการในการร่วมกันสร้างให้ตำบลนาท่อมเป็นแหล่งอาหารปลอดภัย โดย ชุมชนมีกติกา เลิกใช้สารเคมี มีระบบตรวจสอบอาหาร ร่วมกันคัดแยกขยะ รักษา ดิน นำ ป่า โดยใช้โครงการสืบชะตาคลองนาท่อมเป็นการขับเคลื่อน ขยะในแหล่งน้ำลดลงจากกติกาสืบชะตาคลองนาท่อม  1252 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ ส่วนที่เหลือ 525  ครัวเรือนจ่ายค่าจัดเก็บให้เทศบาลจัดเก็บแต่ละหมู่บ้านตามตารางเวลา ทำให้ขยะในชุมชนลดลง  พื้นที่ทำการเกษตรลดการใช้ยาฆ่าแมลง ฉีดหญ้าและหันมาเลี้ยงผึ้ง โดยการสนับสนุนจากเทศบาล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

            สื่อสารสาธารณะกับชุมชน  ประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพ ตำบลนาท่อม มีประเด็น  รูปแบบและแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลของตำบลนาท่อม  ใช้งบประมาณ วัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง  สมัชชาชาติ สสส  สปสช ทำงานร่วมกันมาในกระบวนการพัฒนาขาขึ้นธรรมนูญสุขภาพตำบลนาท่อม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ให้ความรู้ธรรมนุญสุขภาพ ผ่านเวทีเสวนา โดยมี นายกเทศมนตรี  กำนันตำบลนาท่อม เจ้าหน้าที่จาก รพสต และวิทยากร นักวิชาการอิสระ นายสมคิด ทองสง
  • ร่วมประกาศธรรมนูญสุขภาพของประชาชน โดย นายกเทศมนตรีตำบลนาท่อม

 

12 300

6. ประชุมคณะทำงาน 6

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต แกนนำตำบลนาท่อม 30 คน มีความรู้ตำบลจัดการตนเอง ในเรื่องน้ำ ตำบลเกาะขั้นจัดการน้ำ เป็นเรื่องเด่น เป็นฐานที่มาของการจัดการภาคเกษตร พืช ผัก ผลไม้ ทุกอย่างในตำบล มาจากการจัดการน้ำ
  • ผลลัพธ์ แกนนำ 30 คนเป็นแกนนำขยายผล นำความรู้มาปรับใช้กับชุมชนต้นแบบ บ้านหูยาน ที่มีการจัดการตนเองเรื่องอาหารปลอดภัย ที่ขยายผลไปสู่ทั้ง 8 หมู่บ้าน เกิดขึ้นจริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • แกนนำ จำนวน 30 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตำบลเกาะขันธ์ ตำบลจัดการตนเอง หนึ่งในประเด็นการขับเคลื่อนหลักคือ การเป็นตำบลการจัดการน้ำเรื่องเด่น เป็นต้นแบบจัดการอาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร

กิจกรรมที่ทำจริง

เรียนรู้กิจกรรมของตำบลจัดการตนเอง ของเกาะขันธ์ จำนวน 5 วัน ตามหลักสูตรที่ทางตำบลเกาะขันธ์จัดขึ้น มีรายละเอียดขึ้นตอน ดังนี้

  • วันแรกของการพบกันเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์เป้าหมายของการมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตำบลแม่ข่าย และลงเยี่ยมพื้นที่ แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในตำบล เพื่อศึกษาทุกศักยภาพในการจัดการตนเอง เมื่อศึกษาจบแต่ละวัน ในตอนเช้าได้สรุปและเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้และจะไปศึกษาและเรียนรู้อื่นๆ ต่อไป
  • วันที่ 2 3 4 5 เรียนรู้เสร็จวันสุดท้ายก็ได้แลกเปลี่ยนกันตามอัตยาสัย และในวันสุดท้ายประธานก็ได้สรุปผลการดำเนินงาน
  • ใช้งบประมาณ สสส

 

30 30

7. ประชุมคณะทำงาน 7

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริงจากการออกบูท ให้ความรู้
  • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงเจ้าหน้าที่จากสมัชชาชาติได้นำข้อมูลไปเพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่ โดยใช้งบประมาณ จาก สสส.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบลนาท่อม
  • วิธีการ บูรณาการร่วมกับงานสมัชชาคนพัทลุงหิ้วชั้นมาชันชี ตำบลนาท่อมนำธรรมนูญสุขภาพมาจัดนิทรรศการ ให้ความรู้ สื่อสารให้สังคมภายนอกเห็นว่าตำบลนาท่อมประกาศใช้ธรรมนูสุขภาพ โดยมีเป้าประสงค์ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนของตำบล และนอกตำบลที่อยู่ร่วมกัน  โดยคณะทำงานขยายผลรูปแบบบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยตำบล 3 คน และต้วแทนจากเทศบาล 2 คน มาร่วมสื่อสารให้ความรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดบูทธ นิทรรศการ ให้ความรู้กับผู้ร่วมงานสมัชชาคนเมืองลุง หิ้วชั้นมาชันชีและแจกธรรมนูญสุขภาพตำบลนาท่อมให้กับผู้ร่วมงาน และนำเสนอผลการขับเคลื่อนกับสาธารณะสุขจังหวัดพัทลุง และรองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง

 

5 5

8. ประชุมคณะทำงาน 8

วันที่ 2 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต คณะทำงานเสนอแผนขยายผลรูปแบบการดำเนินงานแบบบูรณาการ ได้จัดทำข้อเสนอโครงการผลิตข้าวเมล็ดพันธ์บ้านโคกแย้มใช้กับชุมชนเหลือขายให้ศูนย์  เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ตำบลนาท่อม
  • ผลลัพธ์  สภาเทศบาลตำบลนาท่อมได้ผ่านโครงการอนุมัติให้บ้านโคกแย้มขับเคลื่อนเพิ่มการผลิตข้าวผลลิตข้าวอินทรีย์ โดยการสนับสนุนเมล็ดพันธ์ข้าวสำหรับเกษตรที่ขึ้นทะเบียนทำนาข้าวในปี 2563 และสภาเทศบาลได้สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการทำนาอินทรีย์ชุมชนบ้านโคกแย้ม โดยการปรับปรุงระบบน้ำให้เกษตรกรผู้ทำนา ทำให้เกษตรกรมีปัจจัยเอื้อสนับสนุนการทำนาเพิ่มขึ้น ตลาดจนระบบการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ทำนา ได้ถึง 3  ครั้งต่อปี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะทำงาน 5 คน ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้ม เพื่อออกแบบวางแผนขับเคลื่อน ประเด็นอาหารปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหาร โดย รวมเกษตรกรทำนา รวมกลุ่มทำนาผลิตเมล็ดพันธ์ร่วมกับศูนย์แมล็ดพันธ์ข้าวพัทลุง ร่วมกับศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี่ เป็นกลไกของเทศบาลร่วมสนับสนุน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะทำงานทั้ง 5 คน ร่วมคิดออกแบบ การผลิตเมล็ดพันธ์ข้าวร่วมกับเทศบาล ร่วมกับคณะทำงานศูนย์ถ่ายทอดฯ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 เสนอของงบประมาณเพื่อดำเนินการผลิตเมล็ดพันธ์ไว้ใช้เองและผลิตให้กับศูนย์เมล็ดพันธ์ และชุมชนได้มีเมล็ดพันข้าวใช้เพียงพอ เหลือขายพันธ์ข้าวในราคาที่ดีกว่าแก่เกษตรชาวนา ในการสนับสนุนให้เกษตรกรชาวนาของตำบลนาท่อมและตำบลใกล้เคียงได้ใช้เมล็ดพันธ์ที่ผลิตเอง
  • ไม่ใช้งบประมาณ

 

12 5

9. เก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย บ้านหูยาน

วันที่ 12 มกราคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย บ้านหูยานและของตำบลนาท่อม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ข้อมูลสถานการณ์การดำเนินงานระบบอาหาร ในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในบ้านหูยาน  ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลลิต คือ ได้ข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหารของตำบลนาท่อมตามกรอบ 16 ตัวชี้วัด 3 ประเด็น  ความมั่นคงทางอาหาร  อาหารปลอดภัย  โภชนาการสมวัย
  • ผลลัพธ์ ข้อมูลสถานการณ์ ระบบอาหารตำบลนาท่อมทั้ง 3 ประเด็นคณะทำงานได้นำมาเรียบเรียงเพื่อนำเสนอต่อ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อมในการประชุมแต่ละครั้งเพื่อรอการเติมเต็ม
  • ผลกระทบ ต่อการทำงานขับเคลื่อนแผนงานขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารในตำบลนาท่อม ทั้ง 3 ประเด็น เนื่องจากคณะทำงานได้มองเห็นร่วมกัน จำเป็นต้องมีกลไกระดับตำบลในการขับเคลื่อนระบบอาหารปลอดภัย  โภชนาการสมวัย และความั่นคงทางอาหาร เพราะการกลไกระดับชุมชน ได้แก่ กลไกระดับชุมชนของบ้านหูยาน หมู่ที่ 8 ตำบลนาท่อม จะทำงานและขยายตัวได้ช้า และงบประมาณที่นำมาใช้จะมาก  ทางคณะทำงานได้เสนอ กลไก พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล หรือ พชต เป็นกลไกขับเคลือนงานเชิงประเด็น โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นประธาน  ผอ.รพสต.เป็นเลขา ส่วนกำนันเป็นคณะทำงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ทำให้การทำงานของ พชต.ที่มีผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านเป็นกรรมการได้มีการประชุมพูดคุยกันต่อเนื่อง สามารถคุยงาน ติดตามได้ทุกเดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กิจกรรมเก็บข้อมูลโครงการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม ดำเนินการทั้ง 3 ด้าน ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ทั้ง 8 หมู่บ้าน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ข้อมูลตามกรอบตัวชี้วัด 16 ตัว 3 ด้าน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์นำมาสู่การปรับแผนพัฒนาตำบล  ปรับแผนการศึกษาของหน่วยงาน 

กิจกรรมที่ทำจริง

วิธีการดำเนินงาน 1.แต่งตั้งคณะทำงาน 1 ชุด จำนวน 5 คน เป็นพี่เลี้ยงให้ทีมนักศึกษาสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลตามแบบฟร์อม 2.เก็บข้อมูลจากแผน ชุมชนทั้ง 8 หมู่บ้าน 3.เก็บข้อมูลจากแผนพัฒนาตำบลนาท่อม 4.เก็บข้อมูลจากพัฒนาที่ดิน จังหวัดพัทลุง 5.เก็บข้อมูลจากเกษตรตำบลนาท่อม 6.เก็บข้อมูลจาก รพสต.บ้านนาท่อม 7.เก็บข้อมูลจากพัฒนาชุมชน อำเภอเมือง     นำข้อมูลที่ได้จากทุกหน่วยงานมารวบรวบสู่การวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม TCNAP และ การวิจัยชุมชนด้วยวิธีวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่งด่วนหรือ RECAP
เป็นกระบวนการศึกษาุถึงกระบวนการค้นห้าทำความเข้าใจศักยภาพชุมชนท้องถิ่นผ่านการรวบรวมข้อมูบงานและกิจกรรมของทุนทางสังคม 6 ระดับ ระดับบุคคลและครอบครัว  ระดับกลุ่มทางสังคม  องค์กรชุมชน  ระดับหน่วยงาน  ระดับชุมชน ระดับตำบล และระดับเครือข่าย

 

10 10

10. ประชุมคณะทำงาน 9

วันที่ 19 มกราคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output) เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานทั้ง 5 คน ที่เข้าร่วมมีความรู้ เข้าใจยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง เป็นจังหวัดเกษตรอินทรีย์ 1.3 ล้านไร่

ผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดขึ้นจริง

  • นโยบายหรือยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ เป็นนโยบายที่เอื้อต่อการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม

ผลกระทบ

  • การประกาศยุทธศาสตร์ของผู้ว่าเรื่องเกษตรอินทรีย์ 1.3 ล้านไร้จะนำมากำหนดยุทธศาสตร์ หรือแผนกิจกรรมเพื่อขยายผลเกิดความตื่นตัวของของพัฒลุงเรื่องเกตรอินทรีย์  อาหารปลอดภัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะทำงานแผนงานการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และงานสมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืนภาคใต้ -9.00  รับชมวีดีทัศน์คนไทยหัวใจเกษตร  เกษตรกรตััวอย่างของจังหวัดพัทลุง
  • รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิวัฒน์  ศัลย์กำธร กล่วยเปิดงานและบรรยายพิเศษ เรื่อง การกู้วิกฤตชาติด้วยศาสตร์พระราชาและเกษตรกรรมยั่งยืน -เสนวนา หัวข้อ  ยุทธวิธีขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพัทลุง โดย นายกู้เกียรติ  วงศ์กระพันธุ์  ประกาศขับเคลื่อน  1.3  ล้านไร่จังหวัดพัทลุง เป็นเกษตรอินทรีย์

 

10 5

11. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลและลงนามร่วมกับนายอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมสร้างความเข้าใจและลงนามความร่วมมือ(MOU)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต (Output) นายกเทศมนตรีและผอ.รพสต.นาท่อม ตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 3 คนร่วมลงนามความร่วมมือเป็นนคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม
  • ผลลัพธ์ (Outcome) การลงนามเข้าร่วมโครงการ เช็น MOUโดยนายก ใช 2 ประเด็นขับเคลื่อน คือ  การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม และการจัดการระบอาหารปลอดภัย ดังนั้นการดำเนินการทั้ง 2 ประเด็นในการขับเคลื่อน ใช้ คณะ พชต. ตำบลนาท่อมนี้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ส่วนวิธีการนั้น โดย แต่งตั้งคณะทำงานที่มาจากทุกภาคส่วน และต้องมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในครั้งถัดไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ลงนามความร่วมมือเข้าร่วมโครงการเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ โดยนายกเทศมนตรี เช็น MOU ร่วมกับนายอำเภอเมือง จ.พัทลุงมีการขับเคลื่อนงานเชิงประเด็น  2 ประเด็นขับเคลื่อน คือ  การจัดการสิ่งแวดล้อมขยะแบบมีส่วนร่วม และการจัดการระบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม
  • รายงานความก้าวหน้าต่อการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเดือนละ 1 ครั้งนายอำเภอเป็นประธาน โดยนำความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลมารายงานผล

กิจกรรมที่ทำจริง

-ลงนามเข้าร่วมโครงการ เช็น MOUโดยนายก (ไม่ใช้งบประมาณ)มี 2 ประเด็นขับเคลื่อน คือ  การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม และการจัดการระบอาหารปลอดภัย -ฟังคำชี้แจงและและเขียนแผนดำเนินงานทั้ง 2 ประเด็นโดยนายกเป็นประธานและ ผอ.รพสตงเป็นเลขานุการ

 

21 10

12. กิจกรรมขยะอันตรายแลกไข่

วันที่ 1 มีนาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ความรู้สร้างความตระหนักในการนำขยะอันตรายที่อยู่ในดิน น้ำ และที่ทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางมารวบรวมนำไปจัดการถูกต้องตามหลักวิชาการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. ข้อมูล Mapping ระบบอาหารทั้งตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง
  2. ผลการบทเรียนและสังเคราะห์ Model ระบบอาหารทั้ง 8 หมุ่บ้านในตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output) - ชุมชนเกิดความตระหนักนำขยะอันตรายมาแลกไข่ทุกหมู่บ้านทั้ง 8 ชุมชน

ผลลัพธ์ (Outcome) - ขยะอันตรายในชุมชนลดลงและมีการจัดการเป็นระบบมากขึ้น ชุมชนมีพื้นที่ปลูกผักเพิ่มขึ้นทำให้ลดสารเคมีปนเบื้นในดิน - สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น ขยะอันตราบลดลงและมีที่เก็บทุกศาลาหมู่บ้าน ครัวเรือนมีการคัดแยกเพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กิจกรรมสร้างความตระหนักในการนำขยะอันตรายที่อยู่ในดินและที่ทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางมารวบรวมนำไปจัดการถูกต้องตามหลักวิชาการโดยวิธีเอาขยะอันตรายแลกไข่
  • เพื่อปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนลดสารเคมีปนเปื้อนในดิน น้ำ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ โดยใช้กิจกรรมขยะอันตรายแลกไข่ทุกหมู่บ้านชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชาสัมพันธ์ก่อนล่วงหน้าว่ามีกิจกรรมขยะแลกไข่ในวันประชุมหมู่บ้าน
  2. เจ้าหน้าที่เทศบาลนำไข่มาแลกขยะอันตราย
  3. ทำอย่างนี้ทุกหมู่บ้าน ทั้ง8 หมู่บ้าน
  4. เมื่อได้ขยะมาจำนวนมากๆ รวบร วมส่ง อบจ.

 

4 50

13. เก็บและรวบรวมข้อมูล

วันที่ 20 มีนาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์ระบบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)

  • คณะทำงานจัดเก็บข้อมูล 10 คนได้รวบรวมเรีบยเรียงข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ได้ทราบและมีความรู้สถานการณ์ 3 ประเด็นงาน เรื่องความปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และสมโภชนาการ ทั้ง3 โรงเรียน

ผลลัพธ์ (Outcome)
- ได้ผลการวิเคราะห์ ตามกรอบ 16 ตัวชี้วัด (ตามเอกสารแนบ) -  ได้เอกสารที่ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนโดย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล เติ่มเต็มเพื่อนำกลุับไปใช้ในการปรับแผนของตำบล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เก็บรวบรวมข้อมูล 3 ประเด็นตามกรอบ 16 ตัวชี้วัด(เอกสารแนบ) -ประเด็นความปลอดภัย -ประเด็นความมั่นคง -ประเด็นโภชนาการสมวัย

กิจกรรมที่ทำจริง

การเก็บข้อมูลเพิ่มเติม 1. ประเด็นอาหารปลอดภัย การเก็บข้อมูล โดยการปฎิบัติการจริง ตรวจสารเคมีปนเปื้อน/ตกค้าง 7 ชนิดในตลาดสด 2 ตลาด และ ตรวจสารเคมีตกค้างในร่างกาย ทั้ง ตำบล 2. ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร เก็บข้อมลจาก เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์ กรมพัฒนาที่ดิน เทศบาล ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง โดยใช้ข้อมูลมือสอง 3. โภชนาการสมวัย เก็บข้อมูลจากการจัดเวทีรายงานผลการดำเนินงานแต่ละโรงเรียน 3 โรง 4. นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงง่ายต่อการนำเสนอ

 

10 10

14. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 26 มีนาคม 2562 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทบทวนเติมเต็มข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหารในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร  อาหารปลอดภัย  และโภชนการสมวัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)

  • คณะทำงาน 9 คน เข้าร่วมประชุม ร่วมเรียนรู้ร่วมกันประเด็น การจัดการอาหารปลอดภัยจาก สื่อเรื่อง อาหารปลอดภัยเปลี่ยนชุมชน และ ทำการช่วยกันดูและสะท้อนข้อมูลที่คณะทำงานเก็บมาเป็นร่างระบบอาหารของตำบลนาท่อม
  • คณะทำงานมีความรู้ในการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย 3 ประเด็น  ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย พร้อมคืนข้อมูลให้ คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม(กลไกการทำงานเรื่องอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม) ผลลัพธ์ (Outcome) -ได้ร่างแผนระบบอาหารตำบลนาท่อม ที่มีกิจกรรมพร้อมนำเสนอกรรมการพัฒนาแผนตำบลนาท่อม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

วิธีการทบทวน - คณะทำงานได้ร่วมกันศึกษา VCD อาหารเปลี่ยนชุมชน เป็นข้อมูลตั้งต้นก่อนเข้าสู่กระบวนการชวนคุย - สะท้อนเติมเต็มข้อมูลสถานการณ์ที่คณะทำงานนำเสนอเพื่อใช้ในการวิเคราะห์การดำเนินงานระบบอาหารปลอดภัยของตำบลนาท่อมในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย หน่วยงานหลักที่เข้าร่วม  จากข้อมูลที่คณะทำงานได้รวบรวมเก็บมาเพื่อนำมาใช้ในการในการวิเคราะห์ทำแผน
- ผอ.รพสต ปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม หัวหน้าส่วนสำนักปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม กำนันตำบลนาท่อม อดีต นักวิชาการรพสต.ตำบลนาท่อม หัวหน้ากลุ่มส่วนผักบ้านหูยาน ตัวแทนชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • กำนันประธานโครงการ นายอนุชา เฉลาชัย เปิดการประชุม โดยชี้แจงวัตุประสงค์ โครงการและวัตถุประสงค์กิจกรรมนี้
  • เพื่อทบทวนข้อมูลที่คณะทำงานเก็บเพื่อทบทวน เติมเต็มข้อมูลก่อนการวิเคราะห์
  • เพื่อเตรียมจัดทำข้อมูลเพื่อการคืนข้อมูลให้คณะทำงานที่เป็นกลไกของตำบล คือ คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม ที่ขับเคลื่อน เรื่อง อาหารปลอดภัยและการจัดการสิ่งแวดล้อมประเด็นขยะ
  • เพื่อนำข้อมูลที่ผ่าน กลไก พชต.ยกร่างเป็นแผนอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในวันที่ 19 เมษายน 2562

 

21 9

15. วิเคราะห์ข้อมูลและยกร่างแผนระบบอาหารตำบลนาท่อม

วันที่ 19 เมษายน 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อวิเคราะห์และยกร่างแผนการขยายผลอาหารปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)

  • คณะทำงานที่รับผิดชอบหลักจากหน่วยงาน รพสต.บ้านนาท่อม ปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม หัวหน้าสำนักเทศบาลตำบลนาท่อม และคณะทำงานโครงการ มีความรู้ เข้าใจ สถานการณ์ปัญหาประเด็นอาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนการสมวัย ของตำบลนาท่อม

ผลลัพธ์ (Outcome)

  • เกิดการทบทวนแผนงานของเทศบาล ทั้ง 3 ประเด็น ได้แก่
  1. เรื่องอาหารปลอดภัย ทางเทศบาลมีการดำเนินการตามกิจกรรมในเทศบัญญัติ ในระดับปฏิบัติการการให้ความรู้เป็นหลัก ไม่ได้ตรวจสารเคมีตกค้าง 6 ชนิด
  2. เรื่องความมั่นคงทางอาหาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังขาดความมรู้ และการสื่อสาร ยังจำเป็นต้องอบรมให้ความรู้กับคณะทำงานผู้เกี่ยวข้อง
  3. เรื่องโภชนาการสมวัย มีการดำเนินงานปกติ ยังขาดการทำงานเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม ถ้านำร่อง ด้วย ระบบอาหาร Thai school lunch
  • เกิดการร่วมกันของ รพสต.บ้านนาท่อม เทศบาลตำบลนาท่อม และคณะทำงานจากภาคส่วนอื่น ร่วมกันเสนอแนวทางแก้ปัญหาทั้ง 3 ประเด็น โดยการเสนอเข้าสู่แผนของตำบลในปี 2563 ด้วยการจัดทำเป็นร่างแผนการจัดการระบบอาหารปลอดภัย ที่มีแผนกิจกรรมอาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการสมวัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. เพื่อเสนอข้อมูล สถานการณ์ อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนการสมวัย ของตำบลนาท่อม ต่อคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เทศบาลตำบลนาท่อม รพสต.นาท่อม ต้วแทนของโรงเรียน ช่วยยืนยันข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

ลำดับขั้นตอนกระบวนการ

  1. ทบทวนคืนข้อมูลแก่หน่วยงานเพื่อยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เทศบาลตำบลนาท่อม รพสต.บ้านนาท่อม
  2. จัดระบบเรียบเรียงข้อมูล เป็นหมวดหมู่ ประเด็นอาหารปลอดภัย ประเด็นความมั่นคง และ โภชนาการสมวัย ที่ได้รับการยืนยัน เพื่อใช้อ้างอิงและคืนข้อมูลแก่คณะทำงาน พชต.และชุมชน
  3. ผู้เกี่ยวข้อง รพสต.บ้านนาท่อม โดย ผอ.รพสต  เทศบาลตำบลนาท่อม โดย ปลัด  และตัวแทน ผอ.กองการศึกษาของเทศบาลตำบลนาท่อม ได้เสนอแผนเพื่อนำเข้า แผนของเทศบาลในปีงบประมาณ 2563 ส่วนปีงบประมาณ 2562 ที่กำลังดำเนินการ ให้ปรับแผนกิจกรรมให้สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการขยายผลอหารปลอดภัยของตำบลนาท่อม

 

11 8

16. นำเสนอโครงการขับเคลื่อนงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ)

วันที่ 26 เมษายน 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลนาท่อม(พชต)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. ข้อมูล Mapping ระบบอาหารทั้งตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง
  2. ผลการบทเรียนและสังเคราะห์ Model ระบบอาหารทั้ง 8 หมุ่บ้านในตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต (Output) คณะทำงาน พชต 2 ท่าน รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการงานร่วมกับ พชอ.
  • ผลลัพธ์ (Outcome) นำเสนอแผนอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม โดยขยายผลโมเดลบ้านหูยาย และนำเสนอแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม(ประเด็นขยะ) โดยใช้ชุมชนบ้านนากวดและชุมชนบ้านหูยาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำเสนอการขับเคลื่อนกิจกรรมเด็นอาหารปลอดภัยและประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมตำบลนาท่อม(การจัดการขยะ)

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นำเสนอแผน การขยายผลอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม โดยใช้ อาหารปลอดภัยบ้านหูยานเป็นต้นแบบและแผนการกำจัดขยะแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนบ้านนากวด และชุมชนบ้านหูยาน
  • รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนระบบอาหารตำบลนาท่อม 3  ประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร  อาหารปลอดภัย  และโภชนาการสมวัย

 

4 2

17. ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการศวสตรายงานความก้าวหน้า

วันที่ 5 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานความก้าว หน้าการดำเนินงานโครงการต่อหน่วยจัดการกลาง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต (Output) คณะทำงานได้ผลการวิเคราะห์ทำให้รู้สถานการณ์อาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม ทั้ง 3 ประเด็น อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการสมวัย
  • ผลลัพธ์ (Outcome) นำผลการวิเคราะห์สถานการณ์ไปใช้ในการออกแบบวางแผนกับคณะทำงานเพื่อยกร่างทำแผนยุทธศาสตร์อาหารของเทศบาลตำบลนาท่อม และผลักดันกิจกรรมที่สนับสนุนกิจกรรมอาหารปลอดภัยเข้าสู่แผนกิจกรรมโครงการให้งานงานอาหารปลอดภัยของเทศบาลสำเร็จ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการต่อหน่วยจัดการกลาง เป็นไปตามแผน หรือช้ากว่าแผน
  • ผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรม
  • เกิดผลกระทบอะไรบ้าง
  • ปัญหาและอุปสรรค์ข้อเสนอแนะ

กิจกรรมที่ทำจริง

การนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ตาม 16 ตัวชี้วัด(เอกสารตามแนบ)

 

1 1

18. เวทีเสวนาสร้างการรับรู้ เกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อเพิ่มเกษตรอินทรีย์(Mobile Unit)

วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 - 16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและสร้างการรับรู้การขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์อาหารปลอดภัยจังหวัดพัทลุง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. ข้อมูล Mapping ระบบอาหารทั้งตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง
  2. ผลการบทเรียนและสังเคราะห์ Model ระบบอาหารทั้ง 8 หมุ่บ้านในตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต (Output) แกนนำขับเคลื่อนตำบลนาท่อม จำนวน 5 คนมีความรู้ การขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์จังหวัดพัทลุงโดยผู้ว่าราชการจังหวัด
  • ผลลัพธ์ (Outcome) แกนนำจำนวน 5 คน มีผลการตรวจเลือด ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องอาหารปลอดภัย(เกษตรอินทรีย์)เพิ่มขึ้นและเป็นแกนนำกลับไปขยายผลในตำบลนาท่อม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ขยายโมเดลสู่ตำบลนาท่อมและปฏิบัติการทั้งตำบล

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวทีสร้างการรับรู้ การขยายผล เพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์จังหวัดพัทลุง กระบวนการ เริ่มด้วยการลงทะเบียน ตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้างในร่างกายของผู้เข้าร่วม สร้างความเข้าใจโดยเกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดโครงการเสวนา โดย นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง  เสวนาเรื่อง เกษตรกรรมยังยืนเพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์

 

5 5

19. เพื่อหนุนเสริมครัวเรือนต้นแบบขับเคลื่อนโมเดลบ้านหูยาน

วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนครัวเรือนขยายผลรูปแบบบ้านหูยาน (ครูข)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต (Output) จำนวน 50 ครัวเรือนครู ข ขยายผล ผ่านหลักสูตรดูงานควนรู และครัวเรือนตันแบบบ้านหูยาน และได้กล่องผึ้ง 1 กล่อง กระถาง 10 ใบ พันธ์ไส้เดือน 3 กก
  • ผลลัพธ์ (Outcome) ที่ตั้งไว้ เกิดครัวเรือนต้นแบขยายผล ทั้งง 8 หมู่บ้านปลูกผัก เลี้ยงผึ้ง ผลิตปุ๋ยใช้เอง ทุกหมู่บ้าน ทั้ง 8 หมู่บ้านอย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 ครัวในระยะเริ่มต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • หนุนเสริมครัวเรือนนำร่องขยายผลให้เป็นครู ข ขยายผลโมเดลบ้านหูยาน จำนวนหมู่บ้านละ 5 ครัวเรือน 8 หมู่บ้าน โดยมีกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล( พชต.)เป็นตัวเชื่อม
  • สนับสนุนการเรียนรู้ดูงาน ประเด็นอาหารปลอดภัย  โภชนาการสมวัย  ความมั่นคงทางอาหาร ที่ อบต.ควนรู และมาดูครัวเรือนต้นแบบ การจัดการอาหารปลอดภัยที่สอดคล้องกับ 3 ประเด็น  โดยใช้ สวนป้าหนุน (นางจริยา  ฮั่นพิพัฒน์)ในการเรียนรู้ของครัวเรือนต้นแบบครู ข.

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ครัวเรือนต้นแบบครู ข ต้องเก็บข้อมูล พืช ผัก กินได้ที่ปลูก ขจำนวนชนิดที่ปลูกขั้นตำ 20 ชนิด นำมาส่ง
  2. ต้องผ่านการดูงานครัวเรือนต้นแบบบ้านหูยาน
  3. ครัวเรือนต้นแบบบ้านหูยานต้งเล่าเรื่องที่ตัวเองทำ และมีสื่อในการประชาสัมพันตัวเอง
  4. แลกเปลี่ยนสอบถาม

 

50 48

20. อบรมเชิงปฎิบัติการการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร

วันที่ 16 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลนาท่อม ให้สามาถตรวจค้นหาสารเคมีปนเปื้อน ในอาหารสด  เนื้อและผักผลไม้สดในตลาดได้ด้วยตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต (Output) จำนวน คคบ ตำบลนาท่อม 14 คน ได้ผ่านการฝึกอบรม มีความรู้สามารถตรวจพืช ผ้ก เนื้อสัตว์ในตลาด
  • ผลลัพธ์ (Outcome) คคบ.ตำบลนาท่อมดำเนินการตรวจตลาด ตามโครงการตลาดนัดน่าซื้อ และยังให้ความรู้กับคนซื้อและคนขาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • อบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อตรวจอาหาร ทั้งผักผลไม้ และอาหารสดในตลาดสดในชุมชน เพื่อสร้างผู้ตรวจหรือ คคบ.ตำบลนาท่อม ในการตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารในตำบลนาท่อม 7 ชนิดและให้ความรู้แก่ผู้ชื้อและผู้ขายในการนำเข้าผักผลไม้ อาหารสดจากภายนอกมาจำหน่ายในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

คคบ.ตำบลนาท่อม 14 คน ประกอบด้วย เทศบาลตำบลนาท่อม รพสต.บ้านนาท่อม สาธารสุขอำเภอเมือง พัทลุง และตัวแทนจากภาคประชาชน ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติเพื่อออกตรวจร้านค้าและตลาดในพื้นที่ตำบลนาท่อมเเพื่อหาสารปนเปื้อนในอาหาร

 

14 14

21. กิจกรรมตลาดนัดน่าซื้อครั้งที่1(ตลาดม่วงลูกดำ)

วันที่ 21 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเก็บข้อมูลสารปนเปื้อนในผักสดและอาหารสดมาสู่การวิเคราะห์อาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ข้อมูลสถานการณ์การดำเนินงานระบบอาหาร ในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในบ้านหูยาน  ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
-  คคบ.ตำบลนาท่อมจำนวน 14 คน  ที่ประกอบไปด้วย 3  ภาคส่วน  คือ  เทศบาล  รพสต.บ้านนาท่อม  สสอ.พัทลุง  และอสม เป็นตัวแทนภาคประชาสังคม สามารถดำเนินการตรวจอาหารเพื่อหาสารปนเปื้อนได้เอง ผลลัพธ์ (Outcome)
- คคบ.ตำบลนาท่อม  มีความรู้และสามารถดำเนินการตรวจหาสารปนเปื้อนในพืช  ผัก  ผลไม้  เนื้อสัตว์และอาหารสดในตลาด ได้เอง - คคบ  ที่มาจากภาคส่วนต่างๆ  มีความรู้และได้ให้ความรู้แก่ผู้ผู้ประกอบการหรือแม่ค้า ที่เป็นผู้จำหน่าย  และได้ให้ความรู้แกผู้บริโภคหรือลูกค้า  เพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย - เก็บตัวอย่าง จำนวน 44 ตัวอย่าง ในวันที่ 21 และ 23 พฤษภาคม 2562 ผลปรากฏว่า ไม่พบ 36 ตัวอย่าง และ พบ จำนวน 8 ตัวอย่าง โดยจำแนกตามชนิดสารปนเปื้อน ดังนี้ - สารตกค้างยาฆ่าแมลง(TvKit) 2 ตัวอย่าง พบ 1 ตัวอย่าง (ผักกาดขาว) - บอแรกซ์ 7 ตัวอย่าง พบ 1ตัวอย่าง
- สารกันรา 7 ตัวอย่าง พบ 3 ตัวอย่าง - ฟอร์มาลิน 9 ตัวอย่าง ไม่พบ
- สารฟอกขาว 11 ตัวอย่าง พบ 1ตัวอย่าง - น้ำมันทอดซ้ำ 5 ตัวอย่าง พบ 2 ตัวอย่าง - สารเร่งเนื้อแดง 3 ตัวอย่าง ไม่พบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ตรวจสารเคมีปนเปื้อนในผัก ผลไม้  เนื้อสัตว์ อาหารสดในตลาด  จำนวน 7 ชนิด
  • ให้ความรู้ผู้ชื้อและผู้ขาย  เป้าหมายตลาดอาหารปลอดภัยถูกสุขลักษณะ

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงาน คคบ  ช่วยกันเก็บตัวอย่าง พืชผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์อาหารสอดจากแม่ค้าในตลาด  มาทำการตรวจค้าหาสาริคมีตกค้างโดยใช้น้ำยาทางเคมีในการตรวจชุดตรวจหายาฆ่าแมลง(Tv Kit) ชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหาร  ชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร  ชุดทดสอบสารกันรา(ซาลิซิลิค)ในอาหาร  ชุดทดสอบสารฟอกขาวในอาหาร  ชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ  ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดง

 

14 14

22. ตรวจสารปนเปื้อนในผัก ผลไม้ เนื้อสัตร์อาหารสดในตลาดนัดโคกม่วง และรวบรวมข้อมูลอาหารปลอดภัย 3 ประเด็น

วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์ระบบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ข้อมูลสถานการณ์การดำเนินงานระบบอาหาร ในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในบ้านหูยาน  ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
  - คคบ.ต.นาท่อม 14 คนมีความรู้ลงพื้นทีตลาดโคกม่วงตรวจหาสารเคมีตกค้างในอาหารในตลาดและให้ความรู้แก่ผู้ชื้อและผู้ขาย   -ผู้ผลิต ผู้ชื้อ ผู้ขาย ได้ความรู้จาก คคบ.ในการระมัดระวังในการเลือกชื้อของในตลาดอย่างมีความรู้ ปัจจุบัน 2562 มีการตรวจสารปนเปื้อน 7  ชนิด  ยาฆ่าแมลง(Tv Kit)  ฟอร์มาลินในอาหาร สารบอแรกซ์ในอาหาร  สารกันรา(ซาลิซิลิค)ในอาหาร สารฟอกขาวในอาหาร  น้ำมันทอดซ้ำ  สารเร่งเนื้อแดง จากการเก็บตัวอย่าง จำนวน 44 ตัวอย่าง100 % ผลลัพธ์ (Outcome)
  -  ผู้ผลิต ผู้ชื้อ ผู้ขาย ได้ความรู้จาก คคบ.ในการระมัดระวังในการเลือกชื้อของในตลาดอย่างมีความรู้ในปัจจุบัน 2562 มีการตรวจสารปนเปื้อน 7  ชนิด  ยาฆ่าแมลง(Tv Kit)  ฟอร์มาลินในอาหาร สารบอแรกซ์ในอาหาร  สารกันรา(ซาลิซิลิค)ในอาหาร สารฟอกขาวในอาหาร  น้ำมันทอดซ้ำ  สารเร่งเนื้อแดง     - จากการเก็บตัวอย่าง จำนวน 44 ตัวอย่าง100 %  ในวันที่ 21 และ 23 พฤษภาคม 2562 ผลการตรวจสารปนเปื้อน 7 ชนิดในอาหารในตลาดสดตำบลนาท่อม 2 ตลาด ไม่พบ 36 ตัวอย่าง คิดเป็น 81.81% และ พบ จำนวน 8 ตัวอย่าง 18%  โดยจำแนกตามชนิดสารปนเปื้อน ดังนี้  สารตกค้างยาฆ่าแมลง(TvKit) 2 ตัวอย่าง พบ 1 ตัวอย่าง 50% (ผักกาดขาว)  บอแรกซ์ 7 ตัวอย่าง พบ 1ตัวอย่าง 14.28% (ขนามซั้ง)  สารกันรา 7 ตัวอย่าง พบ 3 ตัวอย่าง  42.85%(ผักกาดดอง,กระเทียมดอง,มะม่วงดอง)  ฟอร์มาลิน 9 ตัวอย่าง ไม่พบ    สารฟอกขาว 11 ตัวอย่าง พบ 1ตัวอย่าง 9%(มันขี้หนู)- น้ำมันทอดซ้ำ 5 ตัวอย่าง พบ 2 ตัวอย่าง 40%(ร้านไก่ทอด.ร้านปลาหมึกทอด)    สารเร่งเนื้อแดง 3 ตัวอย่าง ไม่พบ     -กิจกรรมรณรงค์การพัฒนาตลาดไปสู่มาตรฐานตลาดนัดน่าซื้อ  การจัดเวทีประชาสัมพันธ์ในตลาด เพื่อให้ความรู้ในการจัดตลาดนัดน่าซื้อ และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลแก่ผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้า ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป และจัดจัดกิจกรรมรณรงค์ในชุมชนผ่านหลายช่องทาง เช่น  งานตลาดนัดของดีนาท่อม มีการเปิดบูทสาธิต  เมนูอาหารแข่งขัน  เสวนาของผู้เกี่ยวข้อง  และในกิจกรรมงานอื่นในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ตรวจสารเคมีปนเปื้อนในผัก ผลไม้  เนื้อสัตว์ อาหารสดในตลาด  จำนวน 7 ชนิด ในตลาดชุมชน ตลาดโคกม่วง
  • เทศบาลและสสอ ให้ความรู้ผู้ชื้อและผู้ขาย  เป้าหมายตลาดอาหารปลอดภัยถูกสุขลักษณะ

กิจกรรมที่ทำจริง

คคบ.เก็บ ตัวอย่างอาหารในตลาด ตรวจสารเคมีปนเปื้อนในผัก ผลไม้  เนื้อสัตว์ อาหารสดในตลาด  จำนวน 7 ชนิด ในตลาดชุมชน ตลาดโคกม่วง

 

14 14

23. ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการศวสต.

วันที่ 25 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output) -คณะทำงานและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม จำนวน 25  คน มีชุดข้อมูลความรู้สถานการณ์ อาหารปลอดภัย  ความมั่นคงทางอาหาร  โภชนาการสมวัย ของพื้นที่ตำบลนาท่อม  แนะร่วมกันกำนหนดแนวทางแก้ปัญหา ผลลัพธ์ (Outcome) -คณะทำงานและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม ยกร่างแผนระบบอาหาร แต่ละภาคส่วนร่วมกันเสนอกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา ทั้ง 3  ประเด็นในร่างแผนยุทศาสตร์
-คณะทำงานที่เป็นคณะกรรมการปรับแผนพัฒนาตำบลได้ร่วมกันนำข้อเสนอจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตไปปรับในแผนพัฒนาตำบล สู่การผลักสู่เทศบัญญัติปี 2563

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานสรุปผลการดำเนินงานแผนงานและร่างแผนการทำงานในปี 3

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปผลการดำเนินกิจกรรมมีปัจจัยเอื้อปัจจัยเอื้อต่อการขับเคลื่อนระบบอาหาร 3 ประเด็น - การขับเคลื่อนจังหวัดพัทลุง สู่เมือง เกษตรอินทรีย์  วิถียังยืน อยู่ในกระบวนการสร้างการรับรู้และขยายผล - การท่องเที่ยวเมืองรองของจังหวัดพัทลุง ประเด็นเกษตรอาหารปลอดภัยที่มีความโดดเด่น - เทศบาลตำบลนาท่อม มีวิสัยทัศน์ในการบริหาร  วัฒนธรรมเลิศล้ำ เกษตรกรรมยังยืน ชุมชนน่าอยู่ สู่สุขภาวะ - การขับเคลื่อนระบบอาหารระดับตำบลนาท่อม ใช้กลไก พชต เชื่อมงานสู่ความสำเร็จได้เร็จขึ้น โดยมีพื้นที่บ้านหูยานเป็นต้นแบบการจัดการอาหารปลอดภัย - โครงการผึ้งจะรักษ์นาท่อม เทศบาลตำบลนาท่อมส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งทุกหมู่บ้านทั้งตำบล โดยผ่านแผนตำบล - ชุมชนบ้านหูยานเชื่อมการท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี พัฒนา 10 กลุ่มผลิตภัณฑ์โดยพัฒนาชุมชน

การสนับสนุนเชื่อมโยงเครือข่าย โดยมีสื่อ เพลง มาสคอร์ดผึ้ง ฯลฯ

อุปสรรคที่พบ   - ผู้นำ  คณะทำงาน ประชาชนขาดความรู้ ระบบอาหารปลอดภัย ทำให้ขับเคลื่อนงานได้ช้า
แนวทางการแก้ปัญหาร     -ศึกษาดูงานควนรู

 

1 1

24. ประชุมจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น กิจกรรมทบทวนแผนตำบล ปี 2561 - 2565

วันที่ 4 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ทบทวนปรับปรุงกิจกรรมแผนกการพัฒนาท้องถิ่นตำบลนาท่อม 5 ปี 2551-2565

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. ข้อมูล Mapping ระบบอาหารทั้งตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง
  2. ผลการบทเรียนและสังเคราะห์ Model ระบบอาหารทั้ง 8 หมุ่บ้านในตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต (Output) กลไกคณะทำงานพชต.และคณะทำงานขยายผลอาหารปลอดภัย จำนวน 7 คนและผู้ใหญ่ กำนัน อสม ผอ.โรงเรียนทั้ง 3 ตัวแทนหัวหน้ากลุ่มองค์กรในตำบล 33 คน ร่วมกันทบทวนเพื่อปรับ ร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่ปฏิบัติ
  • ผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดขึ้นจริง กลไกคณะทำงานพชต.และคณะทำงานขยายผลอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อมร่วมกันกรุ๊ปกิจกรรม3 ประเด็นความปลอดภัย ประเด็นความม่ั่นคง และโภชนาการสมวัยให้ตรงกับยุทศาสตร์ สู่การนำไปตั้งงบประมาณในปีงบประมาณ 2562

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กิจกรรมทบทวนแผนพัฒนาตำบลนาท่อม 5 ปี 2551-2565

  • โดยมีพชต.และคณะทำงานโครงการชยายผลรูปแบบการดำเนินการอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อมซึ่งเป็นคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิในการทบทวนแผนพัฒนาตำบล โดยมี นายถาวร คงศรี นายอนุชา เฉลาชัย นายสุวรรรชัย นิยมสกุล นายสมนึกนุนด้วง นายกเทศมนตรีตำบลนาท่อม นางวิภา พรหมแทนหัวหน้าสำนัก นางกชการ คงชู ปลัดเทศบาล สมพร พวงพวา นางประภาพรรณ ศรีราม เข้าร่วมประชุมเพื่อปรับปรุงแผนพัฒนาตำบล 9 คน
  • ผู้ใหญ่ กำนัน อสม ผอ.โรงเรียนทั้ง 3 ตัวแทนหัวหน้ากลุ่มองค์กรในตำบล 41 คน

วัตถุประสงค์

  • ทบทวนปรับเพิ่ม-ลดแผนกิจกรรมทีบรรจุไว้ในแผนเดิมและได้ดำเดินการไปแล้ว
  • กรุ๊ปกิจกรรม ระบบอาหารปลอดภัย 3 ประเด็น ประเด็นอาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการสมวัย เพื่อนำมาสู่การทำยุทธศาตร์อาหารตำบลนาท่อม

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันพิจารณาร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลนาท่อม พ.ศ. 2561-2565 ในส่วนที่ 3 การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีไปสู่การปฏิบัติ ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนงาน

  1. การพัฒนาสุ่การท่องเที่ยวเชิงอนุนักษณ์และเชิงวัฒนธรรม ด้านบริการชุมชนและสังคม
  2. การเพิ่มขีดความสามารถภาคเกษตรอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ด้านบริการชุมชนและสังคมด้านการเศรษฐกิจ
  3. การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านบริการชุมชนและสังคม
  4. ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของรัฐบาล ด้านบริหารทั่วไปด้านบริการชุมชนและสังคม
  5. การพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ ด้านบริหารทั่วไปด้านบริการชุมชน
  6. ด้านการสร้างความเข้มแข็งและการบริหารจัดการที่ดี ด้านบริหารทั่วไป

 

50 40

25. ประชุมออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้การจัดการอาหารปลอดภัย อบต.ควนรู

วันที่ 11 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อดูแนวคิดและพื้นที่รูปธรรมการจัดการอาหารปลอดภัย อบต.ควนรู 3 ประเด็น ความปลอดภัย ความมั่นคง และโภชนาการสมวัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต (Output) คณะทำงานแผนงานและตัวแทนหมู่บ้าน 12 รู้และเข้าใจพร้อมดำเนินการ
  • ผลลัพธ์ (Outcome) ได้แผนแนวทางพร้อมดำเนินการในการดูพื้นที่ต้นแบบจัดการอาหารปลอดภัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประสานรองนายก อบต.ควนรู แจ้งความประสงค์การศึกษาดูงานของกลุ่มเป้าหมายและแจ้งความต้องการดูงาน เรื่อง  อาหารปลอดภัย 3 ประเด็น คือ ความปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการสมวัย
  • ดูรูปธรรมแหล่งปฎิบัติการ โรงเรียน เพราะตำบลนาท่อมต้องนำร่องที่โรงเรียนและ ครัวเรือนต้นแบบ 1 พื้นที่
  • ต้องการบรรยายสรุปจากผู้บริหาร ถึง นโยบายการขับเคลื่อนระบบอาหาร ของ อบต ควนรู

กิจกรรมที่ทำจริง

  • แบ่งการประสานงานในระดับหมู่บ้าน ๆ ละ 1 คน เป็นผู้ประสานคนประสานกิจกรรม 5 คน
  • คัดเลือกดูกิจกรรมระดับดับโรงเรียน ดูอาหารปลอดภัยในโรงเรียนบ้านโคกค่าย  ดู การจัดการอาหารปลอดภัย ความมั่นคง  โภชนาการสมวัยในโรงเรียน
  • ดูกิจกรรมของครัวเรือนต้นแบบ 1 ครอบครัว ของ คุณนุสร  รุ่งพรหม  ดูการจัดการอาหารปลอดภัย ความมั่นคง  โภชนาการสมวัยในระดับครัวเรือน
  • ฟังการสรุประบบอาหารปลอดภัยในระดับตำบล ของ อบต.ควนรู เส้นทางการขับเคลื่อนและทิศทางการดำเนินงานของอบต.ควนรู

 

12 12

26. พัฒนาศักยภาพครัวเรือนต้นแบบขยายผลรูปแบบการจัดการอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม

วันที่ 19 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้พื้นที่รูปธรรม ระบบอาหารปลอดภัย ใน 3 ประเด็น คือ ความปลอดภัย ความมั่นคง โภชนการสมวัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต (Output) ครัวเรือนต้นแบบตำบลนาท่อม จำนวน 48 คน มีความรู้ เข้าใจ ระบบอาหารปลอดภัย ที่ทำ 3 ประเด็น ความปลอดภัย ความมั่นคง และโภชนาการสมวัย เพิ่มขึ้น
  • ผลลัพธ์ (Outcome) ครัวเรือนต้นแบบขยายผลระบบอาหารปลอดภัยมีความมั่นใจสามารถกลับมาดำเนินการในแต่ละหมู่บ้าน ทั้ง 8 หมู่บ้านโดยการเป็นครู ข ขยายผลในระดับพื้นที่ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สืบเนื่อง

  • การขับเคลื่อนโครงการขยายผลระบบอาหารปลอดภัย 3 ประเด็น ปลอดภัย มั่นคง โภชนาการสมวัย มีปัญหา คณะทำงานที่มาจากภาคส่วนต่างๆยังขาดความรู้มองไม่ชัดประเด็น รวมถึงตัวแทนครัวเรือนต้นแบบสู่การขยายผล ทำให้เกิดกิจกรรมนี้ขึ้นมาเพื่อ

    1. เรียนรู้กรอบแนวคิดอาหารปลอดภัยที่ควนรู โดย นายก.อบต ควนรู
    2. เรียนรู้พื้นที่รูปธรรม ต้นแบบ 2 พื้นที่ เพื่อยำปรับใช้กับตำบลนาท่อม คือ อาหารปลอดภัยในโรงเรียนโคกค่าย  และ ระดับบุคคลต้นแบบ นุสร รุ่งพรหม คนต้นแบบพอเพียง
    3. เพื่อนำกรอบแนวคิดจาก การจัดการอาหารปลอดภัย อบต.ควนรู สู่การมองเห็นการจัดการอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อมที่มีชุมชนบ้านหูยานเป็นต้นแบบ สู่การขยายผลในระดับตำบล

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ครัวเรือนต้นแบบต้องส่งทะเบียนผัก 20 ชนิด
  • ครัวเรือนต้นแบบเรียนรู้โรงเรียนต้นแบบ คือ โรงเรียนโคกค่าย ดู 3 ประเด็น อาหารปลอดภัย  โภชนาการสมวัย ความมั่นคง คือ ผลิตเอง เหลือกินขาย เป็นรายได้ของโรงเรียน
  • ครัวเรือนต้นแบบเรียนรู้ครัวเรือนต้นแบบรูปธรรมของตำบลควนรู คือ คุณนุสร พรหมรุ่ง ครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง
  • ครัวเรือนต้นแบบของตำบลนาท่อมรับฟังบรรยายสรุป จาก นายกอบต.ควนรู  บรรยายสรุปการดำเนินการอาหารปลอดภัย อบต.ควนรู ทั้ง 3 ประเด็นใช้เวลามาหลายปี

 

50 48

27. ประชุมพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมือง

วันที่ 26 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)

  - คคบ. คณะคุมครองผู้บริโภค จำนวน 14  คน มีความรู้ ความสามารถ ในการลงพื้นที่ตรวจตลาดเพื่อหาสารปนเปื้อนในตลาดสดและคณะทำงานในส่วนของเทศบาลและ รพสต ได้ให้ความรู้เมื่อตรวจพบ

ผลลัพธ์ (Outcome)

  - คคบ.คณะคุมครอบผู้บริโภคและชุมชนเกิดความตระหนักในความปลอดภัยอาหารที่บริโภค นำขยะอันตรายมาแลกไขและนำมาฝากไว้ที่ศาลาทุกหมู่บ้านจำนวนเพิ่มขึ้น
  - ผู้ขายอาหารสดและผัก ผลไม้ มีความรู้ ความเข้าใจ  มีความเป็นมิตรเพิ่มมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ตัวแทนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม (พชต) รายงานความก้าวหน้าตามแผน พชต แต่ละเดือน ต่อ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ)

กิจกรรมที่ทำจริง

รายงานความก้าวหน้า 2 เรื่อง  คือ

  • การดำเนินงานระบบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม  มีความก้าวหน้าดังนี้  เทศบาลตำบลนาท่อม  ร่วมกับ รพสต.และ สสอ  ร่วมกับ ตัวแทนภาคประชาสังคม  เป็น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  จัดอบรม การตรวจหาสารปนเปื้อนอาหารสด  ผักสด ในตลาด 2  แห่ง คือ ตลาดนัดบ้านม่วงลูกดำ และตลาดสดโคกม่วง  เพื่อตรวจสารปนเปื้อน 7  ชนิด  อบรมเสร็จดำเนินการลงพื้นที่ทั้ง 2 ตลาด เพื่อหารสารปนเปื้อนทั้ง 2 ตลาด
  • เทศบาลจัดกิจกรรมรณรงคทุกหมู่บ้านให้มีการนำขยะอันตรายมาแลกไข่  เป้าหมาย ให้ชุมชนเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญดินน้ำที่ปนเปื้อนไปด้วยขยะอันตรายให้เก็บมาแลกไข่ ป้องกันขยะปนเปื้อนในแหล่งน้ำและดินที่ปลูกพืชผัก

 

3 15

28. ถอดบทเรียนชุมชนหูยาน โดยใช้ ครัวเรือนต้นแบบ สวนป้าหนุน

วันที่ 30 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อนำบทเรียนไปกำหนดรูปแบบสู่การขยายผล เป็น หูยานโมเดล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต (Output)
          ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 48 คน มีความรู้และเข้าใจรูปแบบการจัดการระบบอาหารปลอดภัยในระดับชุมชน ใช้สภาแกนนำทำงานขับเคลื่อนชุมชนโดยใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการพัฒนา โดยชุมชนมีกติกา ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี  ปลูกผักปลอดสารพิษ 20 ชนิดลดรายจ่ายครัวเรือน นำภูมิปัญญาการเลี้ยงผึ้งเสริมรายได้แก่ครัวเรือน    และระดับครัวเรือนต้นแบบบ้านหูยาน ใช้สวนป้าหนุน มีกิจกรรมเด่นที่ ครอบครัวป้าหนุนดำรงเป็นอาชีพอยู่ได้ร่วมกับครอบครัวคือสามี เลี้ยงผึ้ง ผลิตรังผึ้งจำหน่ายเพิ่มรายได้
  • ผลลัพธ์ (Outcome) ครัวเรือนต้นแบบสมารถนำความรู้ไปขยายผล ในชุมชนของตนเองแต่ละหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ดูกิจกรรมครัวเรือนต้นแบบบ้านหูยาน บ้านนางจริยา ฮั่นพิพัฒน์ ที่มีกิจกรรมในครัวเรือน ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ มากกว่า 20 ชนิด ์แปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตที่มีในชุมชน รวบรวมผลผลิตจากสมาชิกในชุมชนเพื่อนำไปจำหน่ายในตลาดเขียว หน้าเกษตรสหกรณ์พัทลุง หน้าธนาคารธกส.พัทลุง และตลาดนัดสุขภาพอื่น ๆในจังหวัดพัทลุง

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจกับครัวเรือนต้นแบบ ที่มีการ ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ 20 ชนิด เลี้ยงผึ้งเพิ่มรายได้ ผลิตปุ๋ยใช้เองลดต้นทุน และกิจกรรมอื่น
  2. หนุนเสริมการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยไส้เดือน  ภาชนะปลูก 20 ชนิด กล่องเลี้ยงผึ้ง
  3. ดูกิจกรรมเด่นสวนป้าหนุน (นางจริยา ฮั่นพิพัฒน์) และคุณสมชาย  ฮั่นพิพัฒน์ เลี้ยงผึ้ง และผลิตรังผึ้งจำหน่ายเพิ่มรายได้/รวบรวบผลผลิตออกไปจำหน่วยเป็นรายได้เสริม /แปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบในชุมชน

 

48 48

29. หนุนเสริมครัวเรือนต้นแบบขับเคลื่อนโมเดลบ้านหูยาน

วันที่ 30 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหนุนเสริมให้เกิดครัวเรือนขยายผลโมเดลบ้านหูยาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

Model บ้านหูยาน เพื่อขยายผลให้ครอบคลุมทั้ง 8 หมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กรุณาระบุเนื้อหา ข้อสรุปสำคัญต่าง ๆ จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้  กระบวานการทำงานของชุมชนบ้านหูยาน และครัวเรือนต้นแบบ คือ สวนป้าหนุน(นางจริยา  ฮั่นพิพัฒน์) ผลลิต ครัวเรือนขยายผลจำนวน 50 คน มีความรู้ สามารเป็นกลุ่มแกนนำขยายผลในแต่ละหมู่บ้านทั้ 8 หมู่ ผลลัพธ์ ที่ได้จากกิจกรรม อาทิ กลับไปดำเนินการต่อยอดขยายผลกิจกรรมที่ทำเป็นทุนเดิมอยู่  และสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง จากการติดตามประเมินผลของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ถอดบทเรียนการสร้างความมั่นคงทางอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย รู้สถานการณ์ของบ้านหูยาน โดยใช้ ชช.หูยานเป็นต้นแบบ

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50  คน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานกระบวนการจัดการอาหารปลอดภัยกับชุมชนบ้านหูยาน  โดยการสรุป ขั้นตอนกระบวนการโดย  นายถาวร  คงศรี ผู้รับผิดชอบโครงการ  ตามลำดับขั้นตอนดังนี้  1.  ชม VDO  สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการการจัดการอาหารปลอดภัยบ้านหูยาน  จากนั้น นายถาวร คงศรี ดำเนินการสรุป  ประเด็นอาหารปลอดภัยที่ดำเนินการในปัจจุบัน  เป็นงานเชิงวิชาการ เก็บข้อมูลเปรียบเที่ยบให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชุมชนบ้านหูยาน  หลังจากนั้นก็ให้สภาแกนนำบ้านหูยาน ได้สะท้อนคนละ 3-5 นาที โดยเริ่มจาก  กำนันอนุชา  นางสุมาลี  จิราภรณ์  และนางจริยา  ฮั่นพิพัฒน์  ได้เป็นตัวแทนครัวเรือนต้นแบบในเรื่องการจัดการอาหารปลอดภัยของชุมชนบ้านหูยาน

 

50 50

30. เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลนาท่อมโดยคระทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม

วันที่ 8 กรกฎาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรับฟังคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม(พชต.)ข้อเสนอแนะในแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลนาท่อม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต (Output) พชต. (คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของตำบลนาท่อม )  14 คน ที่มาจากทุกภาคส่วนในชุมชน มีความรู้เรื่องการจัดการอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อมที่มีชุมชนบ้านหูยานเป็นชุมชนต้นแบบ
  • ผลลัพธ์ (Outcome) คณะทำงาน พชต. ได้ร่วมกันสะท้อน รับฟัง และได้ร่วมกันเสนอเป็นกิจกรรมเพื่อนำไปขับเคลือนในโรงเรียน ส่วนเกษตรอำเภอเมืองให้เสนอแนะให้ชุมชนหรือผู้นำให้ไปส่งเสริมกิจกรรมการรวมกลุ่มเพื่อทางหน่วยงานการเกษตรจะได้ส่งเสริมต่อให้กลุ่มเกษตรในชุมช ทำเกษตรที่ได้ เครื่อง หมาย GAP / เครื่่องหมาย Q ส่วนหน่วยงาน พัฒนาชุมชนได้นำเสนอแน่ะให้ยกระดับกลุ่มที่ยังดำเนินการต่อยอดให้เข้าถึงมาตรฐาน อย  ส่วนครูทั้งสองโรงเรียนแห่ง คือ โรงเรียนวัดนาท่อม และโรงเรียนวัดโคกแย้ม ต้องการนำโรงเรียนเข้าระบบ Thai school launch สำหรับผู้สูงอายุต้องการให้ส่งเสริมการปลูกผัก 20 ชนิด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมกลไกขับเคลื่อนระบบอาหารตำบลนาท่อม คือ คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม(พชต) ที่มีนายกเป็นประธานโดยมีเลขา พชต.ที่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลนาท่อม (รพสต.นาท่อม) นายสุวรรณชัย นิยมสกุล ผอ.รพสต.นาท่อม กล่าวรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 หลังจากได้รายงานกับ พชอ. ประจำเดือน 2 เรื่อง คือ อาหารปลอดภัยและการจัดการสิ่งแวดล้อมขยะ ในตำบลนาท่อม  โดยวิธี
  1. รายงานความก้าวหน้าเรื่องการดำเนินงานเรื่องอาหารปลอดภัยในระดับตำบลนาท่อม
  2. รายงานความก้าวหน้าเรื่องการการจัดการสิ่งแวดล้อมขยะ 3.รับฟังข้อเสนอแนะจกคณะก

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม พชต.ตัวแทนนายกเทศมนตรี ประธาน คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม ได้ได้แนะนำ คณะทำงาน พชต และคณะทำงานโครงการแผนงานการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม ซึ่งบางคนก็เป็นคนเดียวกันในจำนวนนี้ โดยเริ่มต้นดังนี้
  • นายสุวรรณชัย นิยมสกุล ผอ.รพสต.นาท่อม ได้เกรินที่มาของคณะทำงาน พชต.ตำบลนาท่อมได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ ซึ่งตำบลนาท่อมดำเนินการตามแผน 2 เรื่อง อาหารปลอดภัยและเรื่องขยะ ซึ่งทั้งสองได้ดำเนินการไปหลายกิจกรรม เช่น ประเด็นอาหารปลอดภัย การตรวจเลือดในร่างกาย การตรวจสารเคมีปนเปื้อนในพืชผักในตลาด และการให้ความรู้แก่ผู้ซื้อและผู้ขาย ส่วนในประเด็นขยะ ทางตำบลนาท่อมมีการรณรงค์คัดแยก การนำไปใช้ประโยชน ได้แก่ จัดกิจกรรมนำขยะอินทรีย์มาแลกไข่ การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ย
  • กำนันอนุชา เฉลาชัย กำนันตำบลนาท่อมในฐานะประธานโครงการ ได้เปิดการพูดคุยในภาพรวมที่มีการขับเคลื่อนในรูปของต่างคนต่างทำ การดำเนินการในลักษณะต่างคนต่างทำ หรือต่างหน่วยงานต่างทำเช่นเดียวกัน สุดท้ายมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ระบบอาหารตำบลนาท่อม ความปลอดภัย ความมั่นคง โภชนาการสมวัย ให้ร่วมหารือโดย ขอคำเสนอแนะจากคณะทำงาน พชต ที่มาจากต่างหน่วยงานก็เสนอความคิด ได้แก่
  • ทาง ผอ.โรงเรียนท่อม โรงเรียนวัดดโคกแย้ง เกษตรอำเภอ พช. ผอ.โรงเรียนประภัสสรรังสิต ได้มีข้อเสนอแลกเปลี่ยน ครูทั้งสองโรงเรียนมีความสนใจในโปรแกรมอาหาร thai school launch สำหรับศูนย์เด็กเล็กบ้านหนองปรางครูกำลังอบรมและกำลังอยู่ในช่วงเรียนรู้
  • สำหรับเกษตรตำบล ให้ความเห็นและมีข้อเสนอแนะ เรื่อง การตรวจสอบมาตรฐานให้เครื่องหมาย Q,GAP รับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย และได้เสนอแนะสร้างการรับรู้ เรียนรู้ การรวมกลุ่ม การพัฒนาผลผลิตเข้าสู่มาตรฐานอาหารปลอดภัย
  • พัฒนาชุมชน และนำการสร้างและเพิ่มผู้ประกอบการรายไหม่ให้ได้ มาตรฐาน อย และการรวมกลุ่มพัฒนาเป็นOTOP

 

25 16

31. ติดตามและเยี่ยมเสริมพลังคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมือง

วันที่ 10 กรกฎาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • นิเทศน์เสริมพลังกลไกคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต (Output) กลไกคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อมและคณะทำงานแผนงานขยายผล จำนวน 10 คน รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนระบบอาหารปลอดภัยและการจัดการขยะของตำบลนาท่อม
  • ผลลัพธ์ (Outcome) กิจกรรมขยะอันตรายแลกไข่ถือเป็นนวัตกรรม ทำ 1 เรื่องได้หลายเรื่อง คือ ใช้ไข่แลกขยะอันตราย จากดิน น้ำ ลดสารปนเปื้อน คนแลกได้ไข่เป็นประโยชย์ต่อสุขภาพ ทำให้คนกินไข่ทำให้ร่างกายเติบโตสมส่วน ตามหลักโภชนาการสมวัย และการนำเอาโภชนาการสมวัยมาใช้กับโรงเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามผลการรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนระบบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม และประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมขยะ  ของตำบลนาท่อม โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ต้อนรับคณะพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมืองโดยนายกเทศมนตรี
  • ปลัดกล่าวรายงานสรุปประเด็นการจัดการขยะและการจัดการอาหารปลอดภัย
  • ผอ.รพ.สต ตำบลนาท่อมกล่าวเสริมประเด็นกิจกรรมที่ เทศบาล โรงเรียนและ รพ.สตได้ดำเนินการ
  • นายถาวร คงศรี ผู้รับผิดชอบแผนงานการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม รายงานผลลัพธ์การเก็บข้อมูลสถานการณ์อาหารปลอดภัยกับการดำเนินการของทุกภาคส่วนว่ามีความก้าวหน้าไปอย่างไรทั้ง 3  ด้าน  คือ ด้านความปลอดภัย  ด้านความมั่นคง  ด้านสมโภชนาการสมวัย
  • นายกำนันอนุชาห่วหน้าโครงการได้รายงานความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค์ ตลอดแนวทางในการดำเนินงานต่อไป

 

24 10

32. สื่อสารรณรงค์ในงานตลาดนัดของดีนาท่อมประจำปี 2562

วันที่ 11 กรกฎาคม 2562 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสื่อสาร คืนข้อมูลการขับเคลื่อนระบบอาหารตำบลนาท่อม 3  เรื่อง อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการสมวัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. ข้อมูล Mapping ระบบอาหารทั้งตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง
  2. ผลการบทเรียนและสังเคราะห์ Model ระบบอาหารทั้ง 8 หมุ่บ้านในตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)  จำนวนประชาชนและผู้เข้าร่วมกิจกรรมตลาดนัดของดีตำบลนาท่อม จำนวน  300  คน มีความรู้  ในกิจกรรมโครงการการจัดการอาหารปลอดภัยของตำบลนาท่อม เพิ่มขึ้น จากการคืนข้อมูลผ่านนิทรรศการ  บูทแสดงสินค้า การเสวนาของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ (Outcome) กลไกพชอ.พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ โดยมีนายอำเภอ นายพงษ์เทพ ประทุมสุวรรณ ประธานเข้าร่วมรับฟังการเสนวนา รู้และเข้าใจผลการดำเนินงานระบบอาหารปลอดภัยของตำบลนาท่อม  และมีสาธารณะสุขอำเภอเมืองเข้าร่วมเสวนาทำให้ตำบลนาท่อมสะท้อนผลการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย และประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมขยะ  มีปัญหาลดลงจากการที่คนในชุมชนมีความรู้และลงมีจัดการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

วันที่ 11  กรกฎาคม 2562 กิจกรรมตลาดนัดสีเขียว ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ กลุ่มองค์กร จัดบูทจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน  ช่วงบ่ายประกวดทำอาหารพื้นบ้าน กิจกรรมตลาดนัดความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านและกิจกรรมตลาดนัดวัฒนธรรม ก่อนเปิดงาน เสวนาการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับการจัดการด้านอาหารปลอดภัย วันที่ 12  กรกฎาคม 2562 กิจกรรมสาธิต เรียนรู้แต่ละบูธ เกี่ยวกับของดีนาท่อมแต่ละหมู่บ้านกับการจัดการอาหารปลอดภัย กิจกรรมจากครัวเรือนขยายผลโมเดลหูยาย ร่วมกันทำอาหารมาร่วมรับประทาน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 11  กรกฎาคม 2562 - กิจกรรมตลาดนัดสีเขียว ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ กลุ่มองค์กร จัดบูทจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน  ช่วงบ่ายประกวดทำอาหารพื้นบ้าน กิจกรรมตลาดนัดความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านและกิจกรรมตลาดนัดวัฒนธรรม
-เสวนาการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับการจัดการด้านอาหารปลอดภัย โดยวิทยาการเสวนา  คนที่ 1 สาธารณะสุขอำเภอเมืองนายจากฤกธิ์  ปิยะวาจานุสรณ์  2 นายอนุชา เฉลาชัย กำนันตำบลนาท่อมและผู้จัดการโครงการอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม  3.นายถาวร  คงศรี  ผู้รับผิดชอบโครงการ  4.นางกชกาน  คงชู ปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม เลขากองทุนสปสช. และคณะทำงานอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม วันที่ 12  กรกฎาคม 2562 -กิจกรรมสาธิต เรียนรู้แต่ละบูธ เกี่ยวกับของดีนาท่อมแต่ละหมู่บ้านกับการจัดการอาหารปลอดภัย กิจกรรมจากครัวเรือนขยายผลโมเดลหูยาน ร่วมกันทำอาหารมาร่วมรับประทานของเครื่อข่ายอาหารปลอดภัยใน 8 หมู่บ้าน -กิจกรรมเสวนา  เรื่อง แนวทางการจัดการอาหารปลอดภัยสำหรับครอบครัวและชุมชน ดำเนินรายการโดย นายฤทธิชัย พลนุ้ย วิทยากรเครือข่ายศูนย์พัฒนาครอบครัวจังหวัดพัทลุง  ผู้เสวนา คือ นายสมนึก  นุ่นด้วง คณะทำงาน  นางสุมาลี  ศรีโดน  หัวหน้ากลุ่ม สวนผักชุมชนคนหูยาน  และนางกชกาน  คงชู  ปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม

 

300 300

33. ประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม

วันที่ 13 สิงหาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อคืนข้อมูลระบบอาหารตำบลนาท่อม 3  ประด็น  อาหารปลอดภัย  ความมั่นคงทางอาหาร  และโภชนาการสมวัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

รายงานฉบับสมบูรณ์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
    การพิจรารณาได้โครงการตามข้อเสนอของคณะทำงาน จำนวน      แผนงาน โดยแยกเป็น       1  กิจกรรมโครงการด้านอาหารปลอดภัย        โครง       2. กิจกรรมโครงการด้านความมั่นคงทางอาหาร      โครง       3. กิจกรรมโครงการด้านโภชนาการสมวัย        โครง ผลลัพธ์ (Outcome)       เกษตรตำบล  ได้มีข้อเสนอแนะเรื่องการส่งเสริมสนับสนุนเกษตรให้มีมาตรฐานรับรอง เช่น  Q  GAP โดยการส่งเสริมการรวมกลุ่ม โดยการปรับแผนให้ตำบลนาท่อม       พัฒนาชุมชน  ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในตำบลนาท่อมมีเครื่องหมาย อย โดยสนับสนุนชุมชนหมู่ที่ 1 นำร่อง และส่งเสริมการรวมกลุ่มทำเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัย คืนข้อมูลแก่ คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม และคณะทำงานรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อมเพื่อนำมาปรับแผนร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลนาท่อม

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงนแผนงานโครงการ  นำเสนอข้อมูลจากการสำรวจและนำมาเรียบเรียงเสนอต่อคณะทำงานพัฒนาชีวิตตำบลนาท่อมได้พิจารณา  สะท้อนผลและเสนอแนะเพิ่มเติม

 

11 11

34. ประชุมเตรียมกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่โซนใต้กล่าง ประเด็นระบบอาหาร(ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย)

วันที่ 20 สิงหาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเตรียมนำเสนอผลการดำเนินงานประเด็นระบบอาหาร(ความมั่นคงทางอาหาร  อาหารปลอดภัย  โภชนาการสมวัย)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดวางแผนงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)  เอกสารสำหรับใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 1 เล่ม ผลลัพธ์ (Outcome) เอกสารได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เติมเต็ม เพื่อการแก้ไขให้เป็นฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การออกแบบนำเสนอ ผลการดำเนินงาน เรื่องการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อมอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันออกแบบนำเสนอเป็นเอกสารประกอบด้วย -พ้อยนำเสนอ -เอกสารที่จัดเรียง -แนวทางในการดำเนินงาน   เพื่อเป็นเอกสารให้กับผู้ที่มาเข้าร่วมกับฟัง

 

12 6

35. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่โซนกลางประเด็นระบบอาหาร(ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย)

วันที่ 22 สิงหาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่โซนกลางประเด็นระบบอาหาร(ความมั่นคงทางอาหาร  อาหารปลอดภัย  และโภชนาการสมวัย) ในพื้นที่ชุมชนบ้านหูยาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

รายงานฉบับสมบูรณ์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)           จำนวนผู้เข้าร่วมการแลกเลี่ยน จำนวน 40 คน รับรู้ผลการดำเนินการขยายผลการระบบอาหารตำบลนาท่อม ประกอบด้วย อาหารปลอดภัย  ความมั่นคงทางอาหาร  โภชนาการสมวัย โดยสะท้อนข้อมูลสถานการณ์ตามตัวชี้วัด ทั้ง 3  ประเด็น (อาหารปลอดภัย  ความมั่นคงทางอาหาร  โภชนาการสมวัย) 16 ตัวชีวัต(รายละเอียดแนบ)

ผลลัพธ์ (Outcome)           เกิดกลไก คณะทำงานอาหารปลอดภัย พชต (คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม)ดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นอาหารปลอดภัยและประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมประเด็นขยะ ระดับตำบล โดยใช้รูปแบบการจัดการของชุมชนหูยานเป็นต้นแบบขยายผลทั้งตำบล โดย พชต.เป็นคณะทำงานที่ร่วมกันยกร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลนาท่อมและกำหนดกิจกรรมในแผนยุทธศาศาตร์และแผนปฎิบัติการทั้ง 3 ประเด็น  อาหารปลอดภัย  ความมั่นคงทางอาหาร  โภชนาการสมวัย
          คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อมได้ผลักดันแผนเข้าสู่คณะกรรมการพัฒนาแผนตำบลเพื่อปรับแผนกิจกรรมในแผนปฏิบัติการทั้ง 3  ประเด็น เข้าสู่เทศบัญญัติในปีงบประมาณ ปี 2563           เกิดข้อเสนอแนะจากพัฒนาชุมชนและเกษตรตำบล ในการส่งเสริมการรวมกลุ่่ม ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัยโดยร่วมปรับแผนให้เกิดการผลิตอาหารปลอดภัยที่มีมาตรฐาน Q  GAP  และเครื่องหมาย อย.           เกิดข้อเสนอแนะจากโรงเรียนวัดนาท่อม และ โรงเรียนวัดโคกแย้ม  สนใจสมัตรเข้าร่วมโปรแกรมอาหารกลางวันเด็ก Thai school  launch
          ศพด.ศูนย์เด็กของเทศบาลเป็นศูนย์นำร่องThai school  launch ระยะก่อตัวเรียนรู้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่โซนกลางประเด็นระบบอาหาร(ความมั่นคงทางอาหาร  อาหารปลอดภัย  และโภชนาการสมวัย) โดยการนำเสนอผลการดำเนินงาน เรื่อง การขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง โดย นายถาวร  คงศรีและคณะ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. การกล่าวต้อนรับของกำนันอนุชา  เฉลาชัย ผู้จัดการแผนงานการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม
  2. นายถาวร  คงศรี ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอ ผลการดำเนินงานระบบอาหาร(ความมั่นคงทางอาหาร  อาหารปลอดภัย  และโภชนาการสมวัย) ในพื้นที่ชุมชนบ้านหูยานขยายผลทั้งตำบล  ผลการดำเนินงาน  เกิดผลผลิต  ผลลัพธ์  ผลกระทบ ปัญหาและข้อเสนอแนะ

 

40 40

36. ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการของศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้(ศวสต.)ปีที่ 2 พ.ศ.2561 - 2562 ครั้งที่ 5

วันที่ 23 สิงหาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมประชุมกับคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการของศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

รายงานฉบับสมบูรณ์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)     ผู้รับผิดชอบแผนงาน มีความรู้ เข้าใจเพิ่มขึ้น ในการทำงานที่มุ่งเน้นข้อมูลเป็นฐานในการขับเคลื่อน ในการจะขยายผลอย่างไร  การเชื่อมต่อ สานต่อ การต่อยอด ให้เข้าสู่กิจกรรมปกติของหน่วยงาน  โดยกลไกล พชอ(คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ)โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์มากขึ้น ผลลัพธ์ (Outcome) เป็นการนำ โมเดลบูรณาการเข้าสู่งานปกติ  และทำงานปกติไปสู่ผลลัพธ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รับฟังขอเสนอแนะจากการลงพื้นที่ ชุมชนบ้านหูยาน ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง และและชุมชนบ้านทุ่งยาว ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

กิจกรรมที่ทำจริง

รับฟังข้อเสนอแนะ และการสะท้อนจากคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการ

 

1 0

37. ประชุมคณะทำงานสรุปผลการดำเนินงาน

วันที่ 31 สิงหาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปิดกิจกรรมโครงการปีที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลการบทเรียนและสังเคราะห์ Model ระบบอาหารทั้ง 8 หมุ่บ้านในตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)   -คณะทำงาน12 คนได้รวบรวมข้อมูลสถานการณ์เป็นชุดความรู้นำไปใช้ในการยกระดับงาน  ขยายผล ขยายพื้นที่การดำเนินงานที่ใหญ่ขั้น  1 ชุด ที่สะท้อนผลผลิต  ผลลัพธ์ ผลกระทบในการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมกรรม ผลลัพธ์ (Outcome)   -คณะทำงาน 12 คนได้ชุดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหารหารปลอดภัยรูปแบบของชุมชนบ้านหูยาน  รูปแบบระบบอาหารตำบลนาท่อมที่ใช้พื้นที่ต้นแบบบ้านหูยานขยายผลทั้งตำบลโดยใช้กลไก คณะพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลขับเคลื่อน โดยใช้แผนชุมชนที่ปรับแล้วมาสู่ปรับแผนพัฒนาตำบลที่ผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบล   

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานสรุปผลการดำเนินงาน ระยะเวลา 1 ปี
ชิ้นงานสรุปบทเรียนการขยายผลการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

กิจกรรมที่ทำจริง

1.สรุปกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ 2.จัดทำเอกสารการเงิน 3. รวบรวบเอกสารนำเสนอเพื่อรวบรวมเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์

 

12 8

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 37 37                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 150,000.00 151,440.00                    
คุณภาพกิจกรรม 148 113                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. เก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย บ้านหูยาน ( 12 ม.ค. 2562 )
  2. ประชุมคณะทำงาน 9 ( 19 ม.ค. 2562 )
  3. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลและลงนามร่วมกับนายอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ( 8 ก.พ. 2562 )
  4. กิจกรรมขยะอันตรายแลกไข่ ( 1 มี.ค. 2562 )
  5. เก็บและรวบรวมข้อมูล ( 20 มี.ค. 2562 )
  6. ประชุมคณะทำงาน ( 26 มี.ค. 2562 )
  7. วิเคราะห์ข้อมูลและยกร่างแผนระบบอาหารตำบลนาท่อม ( 19 เม.ย. 2562 )
  8. นำเสนอโครงการขับเคลื่อนงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ) ( 26 เม.ย. 2562 )

(................................)
นายถาวร คงศรี
ผู้รับผิดชอบโครงการ