โครงการการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยใน ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง
เพื่อปิดกิจกรรมโครงการปีที่ 1
1.สรุปกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ 2.จัดทำเอกสารการเงิน 3. รวบรวบเอกสารนำเสนอเพื่อรวบรวมเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์
ผลผลิต (Output) -คณะทำงาน12 คนได้รวบรวมข้อมูลสถานการณ์เป็นชุดความรู้นำไปใช้ในการยกระดับงาน ขยายผล ขยายพื้นที่การดำเนินงานที่ใหญ่ขั้น 1 ชุด ที่สะท้อนผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบในการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมกรรม ผลลัพธ์ (Outcome) -คณะทำงาน 12 คนได้ชุดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหารหารปลอดภัยรูปแบบของชุมชนบ้านหูยาน รูปแบบระบบอาหารตำบลนาท่อมที่ใช้พื้นที่ต้นแบบบ้านหูยานขยายผลทั้งตำบลโดยใช้กลไก คณะพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลขับเคลื่อน โดยใช้แผนชุมชนที่ปรับแล้วมาสู่ปรับแผนพัฒนาตำบลที่ผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบล
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะทำงานแผนงานการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัย ตำบลนาท่อม
ปัญหา - การเชื่อมแผนชุมชน สู่แผนพัฒนาตำบล และการนำเอากิจกรรมในแผนพัฒนาตำบลสู่แผนปฏิบัติการ(กิจกรรมในเทศบัญญัติ)รายจ่ายตามปีงบประมาณ แนวทางแก้ไข -การพัฒนาศักยภาพ คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม คณะทำงานพัฒนาแผนตำบล
1.ขอสนับสนุนงบพัฒนาศักยภาพแก่พื้นที่ 2.ของบสนับสนุนการขยายผล ระบบอาหารทั้ง 3 ประเด็นในระดับ อำเภอ หรือจังหวัด โดยใช้ตำบลนาท่อมเป็นต้นแบบ 3.ขอสนับสนุนการพิมพ์สรุปบทเรียนเผยแพร่ การดำเนินงานระบบอาหารของพื้นที่ตำบลนาท่อม ที่มีพื้นที่บ้านหูยานเป็นต้นแบบ
- การปรับปรุงแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วมอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
- การประสานแผนชุมชนในการแก้ปัญหาในระดับพื้นที่ไม่จำเป็นต้องเป็นแผนที่มีงบประมาณ เช่น ประสานหน่วยงานเพื่อพัฒนาศักยภาพเรื่องการให้ความรู้
เพื่อร่วมประชุมกับคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการของศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้
รับฟังข้อเสนอแนะ และการสะท้อนจากคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการ
ผลผลิต (Output) ผู้รับผิดชอบแผนงาน มีความรู้ เข้าใจเพิ่มขึ้น ในการทำงานที่มุ่งเน้นข้อมูลเป็นฐานในการขับเคลื่อน ในการจะขยายผลอย่างไร การเชื่อมต่อ สานต่อ การต่อยอด ให้เข้าสู่กิจกรรมปกติของหน่วยงาน โดยกลไกล พชอ(คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ)โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์มากขึ้น ผลลัพธ์ (Outcome) เป็นการนำ โมเดลบูรณาการเข้าสู่งานปกติ และทำงานปกติไปสู่ผลลัพธ์
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ปัญหาความเข้าใจของหน่วยงาน ความเข้าใจของผู้นำ แนวทางแก้ไข การขับเคลื่อนโมเดลด้วยกิจกรรมงานปกติ โดยการปรับแผนของชุมชน แผนองค์กร
สนับสนุนให้นำ รูปแบบของพื้นที่ที่ทำสำเร็จยกระดับให้กว้าง และขยายเต็มพื้นที่ อำเภอและจังหวัด
พื้นที่ต้องมีการประชุมอย่างต่อเนื่องและปรับแผนของชุมชนให้สอดคล้อง
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่โซนกลางประเด็นระบบอาหาร(ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย) ในพื้นที่ชุมชนบ้านหูยาน
- การกล่าวต้อนรับของกำนันอนุชา เฉลาชัย ผู้จัดการแผนงานการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม
- นายถาวร คงศรี ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอ ผลการดำเนินงานระบบอาหาร(ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย) ในพื้นที่ชุมชนบ้านหูยานขยายผลทั้งตำบล ผลการดำเนินงาน เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ ปัญหาและข้อเสนอแนะ
ผลผลิต (Output) จำนวนผู้เข้าร่วมการแลกเลี่ยน จำนวน 40 คน รับรู้ผลการดำเนินการขยายผลการระบบอาหารตำบลนาท่อม ประกอบด้วย อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการสมวัย โดยสะท้อนข้อมูลสถานการณ์ตามตัวชี้วัด ทั้ง 3 ประเด็น (อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการสมวัย) 16 ตัวชีวัต(รายละเอียดแนบ)
ผลลัพธ์ (Outcome)
เกิดกลไก คณะทำงานอาหารปลอดภัย พชต (คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม)ดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นอาหารปลอดภัยและประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมประเด็นขยะ ระดับตำบล โดยใช้รูปแบบการจัดการของชุมชนหูยานเป็นต้นแบบขยายผลทั้งตำบล โดย พชต.เป็นคณะทำงานที่ร่วมกันยกร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลนาท่อมและกำหนดกิจกรรมในแผนยุทธศาศาตร์และแผนปฎิบัติการทั้ง 3 ประเด็น อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการสมวัย
คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อมได้ผลักดันแผนเข้าสู่คณะกรรมการพัฒนาแผนตำบลเพื่อปรับแผนกิจกรรมในแผนปฏิบัติการทั้ง 3 ประเด็น เข้าสู่เทศบัญญัติในปีงบประมาณ ปี 2563
เกิดข้อเสนอแนะจากพัฒนาชุมชนและเกษตรตำบล ในการส่งเสริมการรวมกลุ่่ม ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัยโดยร่วมปรับแผนให้เกิดการผลิตอาหารปลอดภัยที่มีมาตรฐาน Q GAP และเครื่องหมาย อย.
เกิดข้อเสนอแนะจากโรงเรียนวัดนาท่อม และ โรงเรียนวัดโคกแย้ม สนใจสมัตรเข้าร่วมโปรแกรมอาหารกลางวันเด็ก Thai school launch
ศพด.ศูนย์เด็กของเทศบาลเป็นศูนย์นำร่องThai school launch ระยะก่อตัวเรียนรู้
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หน่วยงานเทศบาล สถาบันศึกษาในชุมชน พัฒนาชุมชน เกษตรตำบล ปลัดอำเภอเมือง และภาคประชาสังคม จำนวน 40 คน
-ความเข้าใจระบบอาหารตำบลนาท่อม3 ประเด็น อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการสมวัย ของครัวเรือนต้นแบบขยายผลหรือครู ข ผู้นำในชุมชน รวมทั้ง คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลบางส่วน - แนวทางแก้ไข การประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือนและมีการจัดกิจกรรมสื่อสารเพิ่มขึ้น
ส่งเสริมการทำกระบวนการยกระดับขยายผลในระดับอำเภอ และระจังหวัดตามศักยภาพ
-การประชุมประจำเดือน พชต.อย่างน้อย 1 ครั้ง ในการขับเคลื่อนระบบอาหารตำบลนาท่อม และ ประเด็น อื่น ๆ -การประชุมสภาแกนนำขยายผล หรือครู ข ของแต่ละหมู่บ้านเพื่อยกระดับขยายผลเต็มพื้นที่ รวมทั้งการรวมกลุ่มหรือจัดตั้งกลุ่มรวมผลผลิตในการต่อรองและการกระจายผลผลิตของชุมชนที่ได้รับการส่งเสริม
เพื่อเตรียมนำเสนอผลการดำเนินงานประเด็นระบบอาหาร(ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย)
ร่วมกันออกแบบนำเสนอเป็นเอกสารประกอบด้วย -พ้อยนำเสนอ -เอกสารที่จัดเรียง -แนวทางในการดำเนินงาน เพื่อเป็นเอกสารให้กับผู้ที่มาเข้าร่วมกับฟัง
ผลผลิต (Output) เอกสารสำหรับใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 1 เล่ม ผลลัพธ์ (Outcome) เอกสารได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เติมเต็ม เพื่อการแก้ไขให้เป็นฉบับสมบูรณ์
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะทำงาน แผนงานการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม จำนวน 12 คน
ไม่มี (ค้างเอกสาร)
ไม่มี
ทำเอกสารให้ง่ายต่อการเข้าใจกับพื้นที่
เพื่อคืนข้อมูลระบบอาหารตำบลนาท่อม 3 ประด็น อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการสมวัย
คณะทำงนแผนงานโครงการ นำเสนอข้อมูลจากการสำรวจและนำมาเรียบเรียงเสนอต่อคณะทำงานพัฒนาชีวิตตำบลนาท่อมได้พิจารณา สะท้อนผลและเสนอแนะเพิ่มเติม
ผลผลิต (Output)
การพิจรารณาได้โครงการตามข้อเสนอของคณะทำงาน จำนวน แผนงาน โดยแยกเป็น
1 กิจกรรมโครงการด้านอาหารปลอดภัย โครง
2. กิจกรรมโครงการด้านความมั่นคงทางอาหาร โครง
3. กิจกรรมโครงการด้านโภชนาการสมวัย โครง
ผลลัพธ์ (Outcome)
เกษตรตำบล ได้มีข้อเสนอแนะเรื่องการส่งเสริมสนับสนุนเกษตรให้มีมาตรฐานรับรอง เช่น Q GAP โดยการส่งเสริมการรวมกลุ่ม โดยการปรับแผนให้ตำบลนาท่อม
พัฒนาชุมชน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในตำบลนาท่อมมีเครื่องหมาย อย โดยสนับสนุนชุมชนหมู่ที่ 1 นำร่อง และส่งเสริมการรวมกลุ่มทำเศรษฐกิจพอเพียง
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะพัฒชนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อมและคณะทำงานแผนงานโครงการซึ่งซ้ำช้อนกัน จำนวน 11 คน
- การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ หรือของเกษตรรายย่อย ยังอ่อนแอ่
-แนวทางแก้ไข ส่งเสริมกลุ่มที่ต่อเนือ่งให้เกิดกลุ่มที่เข้มแข็ง มีมาตรฐาน -ส่งเสริมการประชุมของหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องและปรับแผนชุมชนเพื่อง่ายต่อการประสานกับหน่วยงานเพื่อสนับสนุน
สนับสนุกกระบวนการการผลิตอาหารปลอดภัย
1.เสนอให้ทุกชุมชนมีคนกลางในการรวบรวมผลผลิตไปจำหน่วยหรือประสานกับหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล แม่ค้าภายนอก หรือทำสัญญากับโรงเรียน เพื่อให้คนในชุมชนและโรงเรียนมีอาหารที่ปลอดภัย
เพื่อสื่อสาร คืนข้อมูลการขับเคลื่อนระบบอาหารตำบลนาท่อม 3 เรื่อง อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการสมวัย
วันที่ 11 กรกฎาคม 2562
- กิจกรรมตลาดนัดสีเขียว ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ กลุ่มองค์กร จัดบูทจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน ช่วงบ่ายประกวดทำอาหารพื้นบ้าน กิจกรรมตลาดนัดความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านและกิจกรรมตลาดนัดวัฒนธรรม
-เสวนาการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับการจัดการด้านอาหารปลอดภัย โดยวิทยาการเสวนา คนที่ 1 สาธารณะสุขอำเภอเมืองนายจากฤกธิ์ ปิยะวาจานุสรณ์ 2 นายอนุชา เฉลาชัย กำนันตำบลนาท่อมและผู้จัดการโครงการอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม 3.นายถาวร คงศรี ผู้รับผิดชอบโครงการ 4.นางกชกาน คงชู ปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม เลขากองทุนสปสช. และคณะทำงานอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม
วันที่ 12 กรกฎาคม 2562
-กิจกรรมสาธิต เรียนรู้แต่ละบูธ เกี่ยวกับของดีนาท่อมแต่ละหมู่บ้านกับการจัดการอาหารปลอดภัย กิจกรรมจากครัวเรือนขยายผลโมเดลหูยาน ร่วมกันทำอาหารมาร่วมรับประทานของเครื่อข่ายอาหารปลอดภัยใน 8 หมู่บ้าน
-กิจกรรมเสวนา เรื่อง แนวทางการจัดการอาหารปลอดภัยสำหรับครอบครัวและชุมชน ดำเนินรายการโดย นายฤทธิชัย พลนุ้ย วิทยากรเครือข่ายศูนย์พัฒนาครอบครัวจังหวัดพัทลุง ผู้เสวนา คือ นายสมนึก นุ่นด้วง คณะทำงาน นางสุมาลี ศรีโดน หัวหน้ากลุ่ม สวนผักชุมชนคนหูยาน และนางกชกาน คงชู ปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม
ผลผลิต (Output) จำนวนประชาชนและผู้เข้าร่วมกิจกรรมตลาดนัดของดีตำบลนาท่อม จำนวน 300 คน มีความรู้ ในกิจกรรมโครงการการจัดการอาหารปลอดภัยของตำบลนาท่อม เพิ่มขึ้น จากการคืนข้อมูลผ่านนิทรรศการ บูทแสดงสินค้า การเสวนาของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ (Outcome) กลไกพชอ.พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ โดยมีนายอำเภอ นายพงษ์เทพ ประทุมสุวรรณ ประธานเข้าร่วมรับฟังการเสนวนา รู้และเข้าใจผลการดำเนินงานระบบอาหารปลอดภัยของตำบลนาท่อม และมีสาธารณะสุขอำเภอเมืองเข้าร่วมเสวนาทำให้ตำบลนาท่อมสะท้อนผลการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย และประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมขยะ มีปัญหาลดลงจากการที่คนในชุมชนมีความรู้และลงมีจัดการ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
-คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมือง โดยนายอำเภอเมือง นายพงษ์เทพ ประทุมสุวรรณ ประธานในพิธีและหัวหน้าส่วนราชการ 30 คน -คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม โดยนายกเทศมนตรี ประธาน และรองประธานในงานพิธี 20 คน -คณะทำงานแผนงานขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม 10 คน -ประชาชน ทุกกลุ่มวัยที่เข้าร่วมงาน 240 คน
1.ปัญหาการขยายผลเฝ้าระวังในแต่ละชุมชนยังดำเนินการได้น้อยเนื่องจากยังไม่เห็นความสำคัญต่อผลที่เกิดขึ้น คือ คนในชุมชนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอยู่ในอันดับที่ 1
2.แนวทางการแก้ไข
-รพสต.ปรับแผนเรื่อง การสื่อสารรณรงค์สะท้อนข้อมูลเชิงประจักของอนามัย กับผู้ที่เสียชีวิต อันมีต้นสายปลายเหตุมาจากสิ่งใด
-คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อมควรเสนอปรับแผนพัฒนาตำบล นำมาสู่กิจกรรมโครงการขนาดย่อยส่งเสริม การเลิกใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง
-รพสต.ควรตรวจสารเคมีปนเปื้อนในร่างกายปีละ 1 ครั้งและตรวจตลาดผักสด และอาหารสดในตลาดเพื่อเป็นสัญญานกำหนดทิศทางการแก้ปัญหาโดยการปรับแผนตำบลของเทศบาล
สนับสนุนกิจกรรมการทำข้อมูลเชิงประจักสู่การแก้ปัญหา
- ต้องสร้างคณะทำงานในแต่ละหมู่บ้าน หรือเรียกว่า สภาแกนนำหรือครู ข ในการแก้ไขปัญหาเชิงประเด็น
- แต่ละชุมชนควรต้องปรับแผนชุมชนในการเสนอโครงการที่มีกิจกรรมแก้ปัญหา เช่น โครงการปลูกผักปลอดสารพิษ โครงการกลุ่มแปรรูปผลิตอาหารที่ปลอดภัย เข้าไว้ในแผน เพราะแตะละชุมชนใช้แผนเป็นเครื่องมือแก้ปัญหา
- นิเทศน์เสริมพลังกลไกคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม
- ต้อนรับคณะพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมืองโดยนายกเทศมนตรี
- ปลัดกล่าวรายงานสรุปประเด็นการจัดการขยะและการจัดการอาหารปลอดภัย
- ผอ.รพ.สต ตำบลนาท่อมกล่าวเสริมประเด็นกิจกรรมที่ เทศบาล โรงเรียนและ รพ.สตได้ดำเนินการ
- นายถาวร คงศรี ผู้รับผิดชอบแผนงานการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม รายงานผลลัพธ์การเก็บข้อมูลสถานการณ์อาหารปลอดภัยกับการดำเนินการของทุกภาคส่วนว่ามีความก้าวหน้าไปอย่างไรทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความปลอดภัย ด้านความมั่นคง ด้านสมโภชนาการสมวัย
- นายกำนันอนุชาห่วหน้าโครงการได้รายงานความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค์ ตลอดแนวทางในการดำเนินงานต่อไป
- ผลผลิต (Output) กลไกคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อมและคณะทำงานแผนงานขยายผล จำนวน 10 คน รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนระบบอาหารปลอดภัยและการจัดการขยะของตำบลนาท่อม
- ผลลัพธ์ (Outcome) กิจกรรมขยะอันตรายแลกไข่ถือเป็นนวัตกรรม ทำ 1 เรื่องได้หลายเรื่อง คือ ใช้ไข่แลกขยะอันตราย จากดิน น้ำ ลดสารปนเปื้อน คนแลกได้ไข่เป็นประโยชย์ต่อสุขภาพ ทำให้คนกินไข่ทำให้ร่างกายเติบโตสมส่วน ตามหลักโภชนาการสมวัย และการนำเอาโภชนาการสมวัยมาใช้กับโรงเรียน
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
- คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบล
- ทางคณะ พชอ. เสนอให้ต่อยอดกิจกรรมสู่ตำบลจัดการตนเองแบบยังยืน แนวทาง ตำบลนาท่อมควรใช้ธรรมนูญสุขภาพในการขับเคลื่อนกติกาชุมชน
-
- การเข้าถึงงบประมาณ/ขยะแลกไข่ควรใช้งบสปสช ซึ่งเป็นงบใช้ตรงในการป้องกัน
- เพื่อรับฟังคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม(พชต.)ข้อเสนอแนะในแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลนาท่อม
- ปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม พชต.ตัวแทนนายกเทศมนตรี ประธาน คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม ได้ได้แนะนำ คณะทำงาน พชต และคณะทำงานโครงการแผนงานการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม ซึ่งบางคนก็เป็นคนเดียวกันในจำนวนนี้ โดยเริ่มต้นดังนี้
- นายสุวรรณชัย นิยมสกุล ผอ.รพสต.นาท่อม ได้เกรินที่มาของคณะทำงาน พชต.ตำบลนาท่อมได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ ซึ่งตำบลนาท่อมดำเนินการตามแผน 2 เรื่อง อาหารปลอดภัยและเรื่องขยะ ซึ่งทั้งสองได้ดำเนินการไปหลายกิจกรรม เช่น ประเด็นอาหารปลอดภัย การตรวจเลือดในร่างกาย การตรวจสารเคมีปนเปื้อนในพืชผักในตลาด และการให้ความรู้แก่ผู้ซื้อและผู้ขาย ส่วนในประเด็นขยะ ทางตำบลนาท่อมมีการรณรงค์คัดแยก การนำไปใช้ประโยชน ได้แก่ จัดกิจกรรมนำขยะอินทรีย์มาแลกไข่ การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ย
- กำนันอนุชา เฉลาชัย กำนันตำบลนาท่อมในฐานะประธานโครงการ ได้เปิดการพูดคุยในภาพรวมที่มีการขับเคลื่อนในรูปของต่างคนต่างทำ การดำเนินการในลักษณะต่างคนต่างทำ หรือต่างหน่วยงานต่างทำเช่นเดียวกัน สุดท้ายมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ระบบอาหารตำบลนาท่อม ความปลอดภัย ความมั่นคง โภชนาการสมวัย ให้ร่วมหารือโดย ขอคำเสนอแนะจากคณะทำงาน พชต ที่มาจากต่างหน่วยงานก็เสนอความคิด ได้แก่
- ทาง ผอ.โรงเรียนท่อม โรงเรียนวัดดโคกแย้ง เกษตรอำเภอ พช. ผอ.โรงเรียนประภัสสรรังสิต ได้มีข้อเสนอแลกเปลี่ยน ครูทั้งสองโรงเรียนมีความสนใจในโปรแกรมอาหาร thai school launch สำหรับศูนย์เด็กเล็กบ้านหนองปรางครูกำลังอบรมและกำลังอยู่ในช่วงเรียนรู้
- สำหรับเกษตรตำบล ให้ความเห็นและมีข้อเสนอแนะ เรื่อง การตรวจสอบมาตรฐานให้เครื่องหมาย Q,GAP รับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย และได้เสนอแนะสร้างการรับรู้ เรียนรู้ การรวมกลุ่ม การพัฒนาผลผลิตเข้าสู่มาตรฐานอาหารปลอดภัย
- พัฒนาชุมชน และนำการสร้างและเพิ่มผู้ประกอบการรายไหม่ให้ได้ มาตรฐาน อย และการรวมกลุ่มพัฒนาเป็นOTOP
- ผลผลิต (Output) พชต. (คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของตำบลนาท่อม ) 14 คน ที่มาจากทุกภาคส่วนในชุมชน มีความรู้เรื่องการจัดการอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อมที่มีชุมชนบ้านหูยานเป็นชุมชนต้นแบบ
- ผลลัพธ์ (Outcome) คณะทำงาน พชต. ได้ร่วมกันสะท้อน รับฟัง และได้ร่วมกันเสนอเป็นกิจกรรมเพื่อนำไปขับเคลือนในโรงเรียน ส่วนเกษตรอำเภอเมืองให้เสนอแนะให้ชุมชนหรือผู้นำให้ไปส่งเสริมกิจกรรมการรวมกลุ่มเพื่อทางหน่วยงานการเกษตรจะได้ส่งเสริมต่อให้กลุ่มเกษตรในชุมช ทำเกษตรที่ได้ เครื่อง หมาย GAP / เครื่่องหมาย Q ส่วนหน่วยงาน พัฒนาชุมชนได้นำเสนอแน่ะให้ยกระดับกลุ่มที่ยังดำเนินการต่อยอดให้เข้าถึงมาตรฐาน อย ส่วนครูทั้งสองโรงเรียนแห่ง คือ โรงเรียนวัดนาท่อม และโรงเรียนวัดโคกแย้ม ต้องการนำโรงเรียนเข้าระบบ Thai school launch สำหรับผู้สูงอายุต้องการให้ส่งเสริมการปลูกผัก 20 ชนิด
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต 14คน ผู้เกี่ยวข้องขับเคลื่อนโครงการ 2 คน
คณะทำงาน พชต ในส่วนที่เป็นผู้ใหญ่บ้านขาดความสนใจในการเข้าร่วมกับคณะทำงาน พชต
แนวทางแก้ไข ประสานให้ปลัดอำเภอเข้าร่วมประชุมประจำเดือนทุกครั้ง จะทำให้ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น
ไม่มี
1.การประชุม พชต อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง มีวาระการประชุม โดยพชตแต่ละภาคส่วนรับผิดชอบต้องรายงานความก้าวหน้าที่ตั วเองได้รับมอบหมาย 2.เสนอให้ พชต. เป็นกลไกขับเคลื่อนตำบล โดยมีวาระการประชุมร่วม ทั้งตำบล เชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าร่วม โดยมีกำนันเป็นประธานใหญ่ เป็นวาระตำบล
เพื่อหนุนเสริมให้เกิดครัวเรือนขยายผลโมเดลบ้านหูยาน
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานกระบวนการจัดการอาหารปลอดภัยกับชุมชนบ้านหูยาน โดยการสรุป ขั้นตอนกระบวนการโดย นายถาวร คงศรี ผู้รับผิดชอบโครงการ ตามลำดับขั้นตอนดังนี้ 1. ชม VDO สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการการจัดการอาหารปลอดภัยบ้านหูยาน จากนั้น นายถาวร คงศรี ดำเนินการสรุป ประเด็นอาหารปลอดภัยที่ดำเนินการในปัจจุบัน เป็นงานเชิงวิชาการ เก็บข้อมูลเปรียบเที่ยบให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชุมชนบ้านหูยาน หลังจากนั้นก็ให้สภาแกนนำบ้านหูยาน ได้สะท้อนคนละ 3-5 นาที โดยเริ่มจาก กำนันอนุชา นางสุมาลี จิราภรณ์ และนางจริยา ฮั่นพิพัฒน์ ได้เป็นตัวแทนครัวเรือนต้นแบบในเรื่องการจัดการอาหารปลอดภัยของชุมชนบ้านหูยาน
กรุณาระบุเนื้อหา ข้อสรุปสำคัญต่าง ๆ จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้ กระบวานการทำงานของชุมชนบ้านหูยาน และครัวเรือนต้นแบบ คือ สวนป้าหนุน(นางจริยา ฮั่นพิพัฒน์) ผลลิต ครัวเรือนขยายผลจำนวน 50 คน มีความรู้ สามารเป็นกลุ่มแกนนำขยายผลในแต่ละหมู่บ้านทั้ 8 หมู่ ผลลัพธ์ ที่ได้จากกิจกรรม อาทิ กลับไปดำเนินการต่อยอดขยายผลกิจกรรมที่ทำเป็นทุนเดิมอยู่ และสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง จากการติดตามประเมินผลของโครงการ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะทำงานขยายผลโมโดลบ้านหูยาน 10 คน และตัวแทนครัวเรือนจาก 8 หมู่บ้านจำนวน 40 คน
ปัญหาการรวมกลุ่ม เนื่องจากไม่เห็นปลายทางของการรวมกลุ่ม แนวทางการแก้ปัญหา โดยการเชิญเกษตรอำเภอมาให้ความรู้ แนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรต้องมีการรวมกลุ่มก่อน ซึ่งเป็นช่องทางการเข้าถึงหน่วยงานที่จะเข้ามาส่งเสริม
1.การถอดบทเรียนยกระดับชุมชนบ้านหูยาน
1.การทำสรุปงานเป็นเอกสารการเรียนรู้และขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น ๆ 2.การพัฒนาศักยภาพสภาแกนนำ ให้มีหลักสูตรของชุมชนบ้านหูยาน
- เพื่อนำบทเรียนไปกำหนดรูปแบบสู่การขยายผล เป็น หูยานโมเดล
- ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจกับครัวเรือนต้นแบบ ที่มีการ ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ 20 ชนิด เลี้ยงผึ้งเพิ่มรายได้ ผลิตปุ๋ยใช้เองลดต้นทุน และกิจกรรมอื่น
- หนุนเสริมการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยไส้เดือน ภาชนะปลูก 20 ชนิด กล่องเลี้ยงผึ้ง
- ดูกิจกรรมเด่นสวนป้าหนุน (นางจริยา ฮั่นพิพัฒน์) และคุณสมชาย ฮั่นพิพัฒน์ เลี้ยงผึ้ง และผลิตรังผึ้งจำหน่ายเพิ่มรายได้/รวบรวบผลผลิตออกไปจำหน่วยเป็นรายได้เสริม /แปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบในชุมชน
- ผลผลิต (Output)
ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 48 คน มีความรู้และเข้าใจรูปแบบการจัดการระบบอาหารปลอดภัยในระดับชุมชน ใช้สภาแกนนำทำงานขับเคลื่อนชุมชนโดยใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการพัฒนา โดยชุมชนมีกติกา ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ปลูกผักปลอดสารพิษ 20 ชนิดลดรายจ่ายครัวเรือน นำภูมิปัญญาการเลี้ยงผึ้งเสริมรายได้แก่ครัวเรือน และระดับครัวเรือนต้นแบบบ้านหูยาน ใช้สวนป้าหนุน มีกิจกรรมเด่นที่ ครอบครัวป้าหนุนดำรงเป็นอาชีพอยู่ได้ร่วมกับครอบครัวคือสามี เลี้ยงผึ้ง ผลิตรังผึ้งจำหน่ายเพิ่มรายได้ - ผลลัพธ์ (Outcome) ครัวเรือนต้นแบบสมารถนำความรู้ไปขยายผล ในชุมชนของตนเองแต่ละหมู่บ้าน
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ครัวเรือนต้นแบบสมัครใจ หมู่บ้านละ 5 คน จำนวน 8 หมู้บ้าน จำนวน 40 คน คณะทำงานแผนงานบูรณาการอาหารปลอดภัย จำนวน 8 คน
ปัญหา ขาดการให้ความรู้เรื่องการขยายผล แนวทาง เสนอให้เทศบาลปรับแผนพัฒนาตำบลเพื่อส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษทั้งตำบล
ไม่มี (ค้างเอกสารการเงิน)
ส่งเสริมการปลูกผักเลี้ยงผึ้งในทุกชุมชนโดยการปรับแผนชุมชน
เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม
รายงานความก้าวหน้า 2 เรื่อง คือ
- การดำเนินงานระบบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม มีความก้าวหน้าดังนี้ เทศบาลตำบลนาท่อม ร่วมกับ รพสต.และ สสอ ร่วมกับ ตัวแทนภาคประชาสังคม เป็น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จัดอบรม การตรวจหาสารปนเปื้อนอาหารสด ผักสด ในตลาด 2 แห่ง คือ ตลาดนัดบ้านม่วงลูกดำ และตลาดสดโคกม่วง เพื่อตรวจสารปนเปื้อน 7 ชนิด อบรมเสร็จดำเนินการลงพื้นที่ทั้ง 2 ตลาด เพื่อหารสารปนเปื้อนทั้ง 2 ตลาด
- เทศบาลจัดกิจกรรมรณรงคทุกหมู่บ้านให้มีการนำขยะอันตรายมาแลกไข่ เป้าหมาย ให้ชุมชนเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญดินน้ำที่ปนเปื้อนไปด้วยขยะอันตรายให้เก็บมาแลกไข่ ป้องกันขยะปนเปื้อนในแหล่งน้ำและดินที่ปลูกพืชผัก
ผลผลิต (Output)
- คคบ. คณะคุมครองผู้บริโภค จำนวน 14 คน มีความรู้ ความสามารถ ในการลงพื้นที่ตรวจตลาดเพื่อหาสารปนเปื้อนในตลาดสดและคณะทำงานในส่วนของเทศบาลและ รพสต ได้ให้ความรู้เมื่อตรวจพบ
ผลลัพธ์ (Outcome)
- คคบ.คณะคุมครอบผู้บริโภคและชุมชนเกิดความตระหนักในความปลอดภัยอาหารที่บริโภค นำขยะอันตรายมาแลกไขและนำมาฝากไว้ที่ศาลาทุกหมู่บ้านจำนวนเพิ่มขึ้น
- ผู้ขายอาหารสดและผัก ผลไม้ มีความรู้ ความเข้าใจ มีความเป็นมิตรเพิ่มมากขึ้น
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
- ปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม ตัวแทนรับมอบจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่อมฝ่ายเลขาคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม(พชต) รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานการจัดการอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อมและการจัดการขยะในเทศบาลตำบลนาท่อม
- การทำงานที่ไม่ต่อเนื่อง แนวทางแก้ไข ต้องมีแผนงานการสุ่มตรวจตลาดต่อเนื่องโดย คคบ.ตำบลนาท่อม โดยการตั้งงบประมาณต่อเนื่อง
สนับสนุนองค์ความรู้แก่ชุมชน
ให้พัฒนาศักยภาพ คคบ. คุ้มครองผู้บริโภค
เพื่อเรียนรู้พื้นที่รูปธรรม ระบบอาหารปลอดภัย ใน 3 ประเด็น คือ ความปลอดภัย ความมั่นคง โภชนการสมวัย
- ครัวเรือนต้นแบบต้องส่งทะเบียนผัก 20 ชนิด
- ครัวเรือนต้นแบบเรียนรู้โรงเรียนต้นแบบ คือ โรงเรียนโคกค่าย ดู 3 ประเด็น อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย ความมั่นคง คือ ผลิตเอง เหลือกินขาย เป็นรายได้ของโรงเรียน
- ครัวเรือนต้นแบบเรียนรู้ครัวเรือนต้นแบบรูปธรรมของตำบลควนรู คือ คุณนุสร พรหมรุ่ง ครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง
- ครัวเรือนต้นแบบของตำบลนาท่อมรับฟังบรรยายสรุป จาก นายกอบต.ควนรู บรรยายสรุปการดำเนินการอาหารปลอดภัย อบต.ควนรู ทั้ง 3 ประเด็นใช้เวลามาหลายปี
- ผลผลิต (Output) ครัวเรือนต้นแบบตำบลนาท่อม จำนวน 48 คน มีความรู้ เข้าใจ ระบบอาหารปลอดภัย ที่ทำ 3 ประเด็น ความปลอดภัย ความมั่นคง และโภชนาการสมวัย เพิ่มขึ้น
- ผลลัพธ์ (Outcome) ครัวเรือนต้นแบบขยายผลระบบอาหารปลอดภัยมีความมั่นใจสามารถกลับมาดำเนินการในแต่ละหมู่บ้าน ทั้ง 8 หมู่บ้านโดยการเป็นครู ข ขยายผลในระดับพื้นที่ได้
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ครัวเรือนต้นแบบขยายรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม 48 คนประกอบด้วย
- ครัวเรือนต้นแบบที่เป็นคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 8 คน
- ครัวเรือนต้นแบบที่เป็นสมัครใจจาก 8 หมู่บ้าน ๆ ละ 5 คน จำนวน 40 คน
- เงื่อนไขครัวเรือนต้นแบบ 1 ต้องมีทะเบียนการปลูกผักปลอดสารพิษ 20 ชนิดลดรายจ่าย 2. ครัวเรือนเลี้ยงผึ้งเพิ่มรายได้ 3.ครัวเรือนผลิตปุ๋ยใช้เอง/เลี้ยงไส้เดือนผลิตปุ๋ย
ขาดการรณรงค์ที่หลากหลาย วิธีการแก้ไข จัดกิจกรรมตลาดนัดของดีนาท่อมต้องเน้นการสร้างกิจกรรมที่สะท้อนอาหารที่ปลอดภัย โดยการสร้างเมนู ประกวดเมนู การทำแปลงผักคนเมือง
ส่งเสริมการทำกิจกรรมอาหารปลอดภัยกับชุมชน และกับทุกช่วงวัย
จัดกิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจ ไม่ยาก และทุกคนเข้าถึง
เพื่อดูแนวคิดและพื้นที่รูปธรรมการจัดการอาหารปลอดภัย อบต.ควนรู 3 ประเด็น ความปลอดภัย ความมั่นคง และโภชนาการสมวัย
- แบ่งการประสานงานในระดับหมู่บ้าน ๆ ละ 1 คน เป็นผู้ประสานคนประสานกิจกรรม 5 คน
- คัดเลือกดูกิจกรรมระดับดับโรงเรียน ดูอาหารปลอดภัยในโรงเรียนบ้านโคกค่าย ดู การจัดการอาหารปลอดภัย ความมั่นคง โภชนาการสมวัยในโรงเรียน
- ดูกิจกรรมของครัวเรือนต้นแบบ 1 ครอบครัว ของ คุณนุสร รุ่งพรหม ดูการจัดการอาหารปลอดภัย ความมั่นคง โภชนาการสมวัยในระดับครัวเรือน
- ฟังการสรุประบบอาหารปลอดภัยในระดับตำบล ของ อบต.ควนรู เส้นทางการขับเคลื่อนและทิศทางการดำเนินงานของอบต.ควนรู
- ผลผลิต (Output) คณะทำงานแผนงานและตัวแทนหมู่บ้าน 12 รู้และเข้าใจพร้อมดำเนินการ
- ผลลัพธ์ (Outcome) ได้แผนแนวทางพร้อมดำเนินการในการดูพื้นที่ต้นแบบจัดการอาหารปลอดภัย
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- คณะทำงานโครงการ 4 คน ประสานและออกแบบ
- แกนนำประสาน 8 หมู่บ้าน จำนวน 8 คน
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ทบทวนปรับปรุงกิจกรรมแผนกการพัฒนาท้องถิ่นตำบลนาท่อม 5 ปี 2551-2565
ร่วมกันพิจารณาร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลนาท่อม พ.ศ. 2561-2565 ในส่วนที่ 3 การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีไปสู่การปฏิบัติ ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนงาน
- การพัฒนาสุ่การท่องเที่ยวเชิงอนุนักษณ์และเชิงวัฒนธรรม ด้านบริการชุมชนและสังคม
- การเพิ่มขีดความสามารถภาคเกษตรอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ด้านบริการชุมชนและสังคมด้านการเศรษฐกิจ
- การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านบริการชุมชนและสังคม
- ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของรัฐบาล ด้านบริหารทั่วไปด้านบริการชุมชนและสังคม
- การพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ ด้านบริหารทั่วไปด้านบริการชุมชน
- ด้านการสร้างความเข้มแข็งและการบริหารจัดการที่ดี ด้านบริหารทั่วไป
- ผลผลิต (Output) กลไกคณะทำงานพชต.และคณะทำงานขยายผลอาหารปลอดภัย จำนวน 7 คนและผู้ใหญ่ กำนัน อสม ผอ.โรงเรียนทั้ง 3 ตัวแทนหัวหน้ากลุ่มองค์กรในตำบล 33 คน ร่วมกันทบทวนเพื่อปรับ ร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่ปฏิบัติ
- ผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดขึ้นจริง กลไกคณะทำงานพชต.และคณะทำงานขยายผลอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อมร่วมกันกรุ๊ปกิจกรรม3 ประเด็นความปลอดภัย ประเด็นความม่ั่นคง และโภชนาการสมวัยให้ตรงกับยุทศาสตร์ สู่การนำไปตั้งงบประมาณในปีงบประมาณ 2562
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- พชตและคณะกรรมการโครงการขยายผลการจัดการอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อมจำนวน 7 คน
- ผู้ใหญ่ กำนัน อสม ผอ.โรงเรียนทั้ง 3 ตัวแทนหัวหน้ากลุ่มองค์กรในตำบล 33 คน
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน
สรุปผลการดำเนินกิจกรรมมีปัจจัยเอื้อปัจจัยเอื้อต่อการขับเคลื่อนระบบอาหาร 3 ประเด็น - การขับเคลื่อนจังหวัดพัทลุง สู่เมือง เกษตรอินทรีย์ วิถียังยืน อยู่ในกระบวนการสร้างการรับรู้และขยายผล - การท่องเที่ยวเมืองรองของจังหวัดพัทลุง ประเด็นเกษตรอาหารปลอดภัยที่มีความโดดเด่น - เทศบาลตำบลนาท่อม มีวิสัยทัศน์ในการบริหาร วัฒนธรรมเลิศล้ำ เกษตรกรรมยังยืน ชุมชนน่าอยู่ สู่สุขภาวะ - การขับเคลื่อนระบบอาหารระดับตำบลนาท่อม ใช้กลไก พชต เชื่อมงานสู่ความสำเร็จได้เร็จขึ้น โดยมีพื้นที่บ้านหูยานเป็นต้นแบบการจัดการอาหารปลอดภัย - โครงการผึ้งจะรักษ์นาท่อม เทศบาลตำบลนาท่อมส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งทุกหมู่บ้านทั้งตำบล โดยผ่านแผนตำบล - ชุมชนบ้านหูยานเชื่อมการท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี พัฒนา 10 กลุ่มผลิตภัณฑ์โดยพัฒนาชุมชน
การสนับสนุนเชื่อมโยงเครือข่าย โดยมีสื่อ เพลง มาสคอร์ดผึ้ง ฯลฯ
อุปสรรคที่พบ
- ผู้นำ คณะทำงาน ประชาชนขาดความรู้ ระบบอาหารปลอดภัย ทำให้ขับเคลื่อนงานได้ช้า
แนวทางการแก้ปัญหาร
-ศึกษาดูงานควนรู
ผลผลิต (Output)
-คณะทำงานและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม จำนวน 25 คน มีชุดข้อมูลความรู้สถานการณ์ อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการสมวัย ของพื้นที่ตำบลนาท่อม แนะร่วมกันกำนหนดแนวทางแก้ปัญหา
ผลลัพธ์ (Outcome)
-คณะทำงานและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม ยกร่างแผนระบบอาหาร แต่ละภาคส่วนร่วมกันเสนอกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา ทั้ง 3 ประเด็นในร่างแผนยุทศาสตร์
-คณะทำงานที่เป็นคณะกรรมการปรับแผนพัฒนาตำบลได้ร่วมกันนำข้อเสนอจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตไปปรับในแผนพัฒนาตำบล สู่การผลักสู่เทศบัญญัติปี 2563
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ผู่้รับผิดชอบ 1 คน
ไม่มี
ไม่ม่
เสนอให้พื้นที่แต่ละหมู่บ้านปรับแผนชุมชนในประเด็นอาหารปลอดภัยทั้ง 3 ประเด็นไว้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์ระบบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม
คคบ.เก็บ ตัวอย่างอาหารในตลาด ตรวจสารเคมีปนเปื้อนในผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารสดในตลาด จำนวน 7 ชนิด ในตลาดชุมชน ตลาดโคกม่วง
ผลผลิต (Output)
- คคบ.ต.นาท่อม 14 คนมีความรู้ลงพื้นทีตลาดโคกม่วงตรวจหาสารเคมีตกค้างในอาหารในตลาดและให้ความรู้แก่ผู้ชื้อและผู้ขาย
-ผู้ผลิต ผู้ชื้อ ผู้ขาย ได้ความรู้จาก คคบ.ในการระมัดระวังในการเลือกชื้อของในตลาดอย่างมีความรู้
ปัจจุบัน 2562 มีการตรวจสารปนเปื้อน 7 ชนิด ยาฆ่าแมลง(Tv Kit) ฟอร์มาลินในอาหาร สารบอแรกซ์ในอาหาร สารกันรา(ซาลิซิลิค)ในอาหาร สารฟอกขาวในอาหาร น้ำมันทอดซ้ำ สารเร่งเนื้อแดง
จากการเก็บตัวอย่าง จำนวน 44 ตัวอย่าง100 %
ผลลัพธ์ (Outcome)
- ผู้ผลิต ผู้ชื้อ ผู้ขาย ได้ความรู้จาก คคบ.ในการระมัดระวังในการเลือกชื้อของในตลาดอย่างมีความรู้ในปัจจุบัน 2562 มีการตรวจสารปนเปื้อน 7 ชนิด ยาฆ่าแมลง(Tv Kit) ฟอร์มาลินในอาหาร สารบอแรกซ์ในอาหาร สารกันรา(ซาลิซิลิค)ในอาหาร สารฟอกขาวในอาหาร น้ำมันทอดซ้ำ สารเร่งเนื้อแดง
- จากการเก็บตัวอย่าง จำนวน 44 ตัวอย่าง100 % ในวันที่ 21 และ 23 พฤษภาคม 2562 ผลการตรวจสารปนเปื้อน 7 ชนิดในอาหารในตลาดสดตำบลนาท่อม 2 ตลาด ไม่พบ 36 ตัวอย่าง คิดเป็น 81.81% และ พบ จำนวน 8 ตัวอย่าง 18% โดยจำแนกตามชนิดสารปนเปื้อน ดังนี้ สารตกค้างยาฆ่าแมลง(TvKit) 2 ตัวอย่าง พบ 1 ตัวอย่าง 50% (ผักกาดขาว) บอแรกซ์ 7 ตัวอย่าง พบ 1ตัวอย่าง 14.28% (ขนามซั้ง) สารกันรา 7 ตัวอย่าง พบ 3 ตัวอย่าง 42.85%(ผักกาดดอง,กระเทียมดอง,มะม่วงดอง) ฟอร์มาลิน 9 ตัวอย่าง ไม่พบ สารฟอกขาว 11 ตัวอย่าง พบ 1ตัวอย่าง 9%(มันขี้หนู)- น้ำมันทอดซ้ำ 5 ตัวอย่าง พบ 2 ตัวอย่าง 40%(ร้านไก่ทอด.ร้านปลาหมึกทอด) สารเร่งเนื้อแดง 3 ตัวอย่าง ไม่พบ
-กิจกรรมรณรงค์การพัฒนาตลาดไปสู่มาตรฐานตลาดนัดน่าซื้อ การจัดเวทีประชาสัมพันธ์ในตลาด เพื่อให้ความรู้ในการจัดตลาดนัดน่าซื้อ และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลแก่ผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้า ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป และจัดจัดกิจกรรมรณรงค์ในชุมชนผ่านหลายช่องทาง เช่น งานตลาดนัดของดีนาท่อม มีการเปิดบูทสาธิต เมนูอาหารแข่งขัน เสวนาของผู้เกี่ยวข้อง และในกิจกรรมงานอื่นในชุมชน
เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
ประกอบด้วย
คคบ.ตำบลนาท่อม จำนวน 14 คน ประกอบด้วย เทศบาลตำบลนาท่อม รพสต.นาท่อม สาธารณสุขอำเภอ เมือง จ.พัทลุงและตัวแทนภาคประชาสังคม คือ อสม.
- ผู้ชื้อและผู้ขายยังขาดความรู้ แนวทางแก้ไข เทศบาลหน่วยงานหลักในการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมเดิมให้ยกระดับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ให้เครื่องหมายมาตรฐาน
- ขาดความต่อเนื่อง แนวทางแก้ไข ควรจัดทำเป็นแผนกิจกรรมโครงการ
สนับสนุนกิจกรรมเชิงประเด็น อาหารปลอดภัย งานกินผัก งานตลาตเขียว
เสนอแนะควรปรับแผนให้อยู่ในแผนพัฒนาตำบล หรือแผนยุทธศาตร์อาหารของตำบลนาท่อม สามารถใช้งบประมาณปกติได้
เพื่อเก็บข้อมูลสารปนเปื้อนในผักสดและอาหารสดมาสู่การวิเคราะห์อาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม
คณะทำงาน คคบ ช่วยกันเก็บตัวอย่าง พืชผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์อาหารสอดจากแม่ค้าในตลาด มาทำการตรวจค้าหาสาริคมีตกค้างโดยใช้น้ำยาทางเคมีในการตรวจชุดตรวจหายาฆ่าแมลง(Tv Kit) ชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหาร ชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร ชุดทดสอบสารกันรา(ซาลิซิลิค)ในอาหาร ชุดทดสอบสารฟอกขาวในอาหาร ชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดง
ผลผลิต (Output)
- คคบ.ตำบลนาท่อมจำนวน 14 คน ที่ประกอบไปด้วย 3 ภาคส่วน คือ เทศบาล รพสต.บ้านนาท่อม สสอ.พัทลุง และอสม เป็นตัวแทนภาคประชาสังคม สามารถดำเนินการตรวจอาหารเพื่อหาสารปนเปื้อนได้เอง
ผลลัพธ์ (Outcome)
- คคบ.ตำบลนาท่อม มีความรู้และสามารถดำเนินการตรวจหาสารปนเปื้อนในพืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์และอาหารสดในตลาด ได้เอง
- คคบ ที่มาจากภาคส่วนต่างๆ มีความรู้และได้ให้ความรู้แก่ผู้ผู้ประกอบการหรือแม่ค้า ที่เป็นผู้จำหน่าย และได้ให้ความรู้แกผู้บริโภคหรือลูกค้า เพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย
- เก็บตัวอย่าง จำนวน 44 ตัวอย่าง ในวันที่ 21 และ 23 พฤษภาคม 2562 ผลปรากฏว่า ไม่พบ 36 ตัวอย่าง และ พบ จำนวน 8 ตัวอย่าง โดยจำแนกตามชนิดสารปนเปื้อน ดังนี้
- สารตกค้างยาฆ่าแมลง(TvKit) 2 ตัวอย่าง พบ 1 ตัวอย่าง (ผักกาดขาว)
- บอแรกซ์ 7 ตัวอย่าง พบ 1ตัวอย่าง
- สารกันรา 7 ตัวอย่าง พบ 3 ตัวอย่าง
- ฟอร์มาลิน 9 ตัวอย่าง ไม่พบ
- สารฟอกขาว 11 ตัวอย่าง พบ 1ตัวอย่าง
- น้ำมันทอดซ้ำ 5 ตัวอย่าง พบ 2 ตัวอย่าง
- สารเร่งเนื้อแดง 3 ตัวอย่าง ไม่พบ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม(คคบ) จำนวน 14 คน นำโดยเทศบาลตำบลนาท่อม ประกอบด้วย ปลัดเทศบาล หัวหน้าสำนักงานปลัด และเจ้าหน้าที่ ในส่วนของ รพสต.ตำบลนาท่อม นำโดย ผอ.รพสต ตัวแทนจากสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง 1 คน และจากภาคสวนภาคประชาสังคม คือ อสม ทำหน้าที่ร่วมกันตรวจหาสารเคมี 7 ชนิดที่ตกค้างในอาหารสด ในตลาด ในพืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์และอาหารสดที่วางขายในตลาด
1.ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย(แม่ค้า)และผู้บริโภค ลูกค้า ยังขาดความรู้การบิโภคที่ปลอดภัย
- แนวทางแก้ การให้ความรู้จากหน่าวยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องและจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมีความสำคัญจะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีความรู้เกิดความตระหนักสามารถยกระดับตลาดสดได้ในระยะยาว
1.สนับสนุนการจัดทำสื่อ องค์ความรู้ เผยแพร่ให้ชุมชนมีควมรู้ตระหนักเพิ่ม
เสนอเข้าสู่แผนของเทศบาลทุกปีเพื่อสาร้างและพัฒนากิจกรรมที่สอดกัน
เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลนาท่อม ให้สามาถตรวจค้นหาสารเคมีปนเปื้อน ในอาหารสด เนื้อและผักผลไม้สดในตลาดได้ด้วยตนเอง
คคบ.ตำบลนาท่อม 14 คน ประกอบด้วย เทศบาลตำบลนาท่อม รพสต.บ้านนาท่อม สาธารสุขอำเภอเมือง พัทลุง และตัวแทนจากภาคประชาชน ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติเพื่อออกตรวจร้านค้าและตลาดในพื้นที่ตำบลนาท่อมเเพื่อหาสารปนเปื้อนในอาหาร
- ผลผลิต (Output) จำนวน คคบ ตำบลนาท่อม 14 คน ได้ผ่านการฝึกอบรม มีความรู้สามารถตรวจพืช ผ้ก เนื้อสัตว์ในตลาด
- ผลลัพธ์ (Outcome) คคบ.ตำบลนาท่อมดำเนินการตรวจตลาด ตามโครงการตลาดนัดน่าซื้อ และยังให้ความรู้กับคนซื้อและคนขาย
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(คคบ.)ตำบลนาท่อม 14 คน ประกอบด้วย
- สาธารณสุขอำเภอเมือง จ.พัทลุง 3 คน
- รพสต.ตำบลนาท่อม 1 คน
- เทศบาลตำบลนาท่อม 6 คน
- อสมตัวแทนภาคประชาสังคม จำนวน 4 คน
- ใช้งบประมาณของเทศบาล
- ประชาชนยังขาดความรู้และความพิถีพิถันในการเลือกซื้อ แนวทางแก้ไข เครื่อหมายหรือสัญลักษณ์ถ้าเป็นความปลอดภัย แนวทางแก้ไข -ยังต้องดำเนินการโครงการนี้อย่างต่อเนื่องจนกว่า ผลของการตรวจไม่พบสารปนเปื้อน
สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ชุมชน ให้เกิดการตื่นตัวเรื่องปัจจัยเสี่ยงเชิงลึกมากขึ้น
-การดำเนินการที่จริงจังอย่างต่อเนื่องโดยใช้งบปกติของหน่วยงาน
-สร้างกระแส ให้เกิดความตื่นกลัวเรื่องอาหารไม่ปลอดภัยส่งผลกระทบอย่างไร
เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนครัวเรือนขยายผลรูปแบบบ้านหูยาน (ครูข)
- ครัวเรือนต้นแบบครู ข ต้องเก็บข้อมูล พืช ผัก กินได้ที่ปลูก ขจำนวนชนิดที่ปลูกขั้นตำ 20 ชนิด นำมาส่ง
- ต้องผ่านการดูงานครัวเรือนต้นแบบบ้านหูยาน
- ครัวเรือนต้นแบบบ้านหูยานต้งเล่าเรื่องที่ตัวเองทำ และมีสื่อในการประชาสัมพันตัวเอง
- แลกเปลี่ยนสอบถาม
- ผลผลิต (Output) จำนวน 50 ครัวเรือนครู ข ขยายผล ผ่านหลักสูตรดูงานควนรู และครัวเรือนตันแบบบ้านหูยาน และได้กล่องผึ้ง 1 กล่อง กระถาง 10 ใบ พันธ์ไส้เดือน 3 กก
- ผลลัพธ์ (Outcome) ที่ตั้งไว้ เกิดครัวเรือนต้นแบขยายผล ทั้งง 8 หมู่บ้านปลูกผัก เลี้ยงผึ้ง ผลิตปุ๋ยใช้เอง ทุกหมู่บ้าน ทั้ง 8 หมู่บ้านอย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 ครัวในระยะเริ่มต้น
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะทำงาน 10 คน ตัวแทนครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ หมู่บ้านละ 5 ครัว 8 หมู่บ้าน จำนวน 40 ครัวเรือน
1.ขยายผลต่อยอดกับครัวเรือนสมัครใจ ทั้งตำบล
แนวทาง ใช้แกนเดิม 1 คนขยายต่อ 2 คนเพื่อขยายผล
2.ประสานแผนชุมชนเพื่อให้ได้งบประมาณปกติต่อยอดกิจกรรม
สนับสนุนงานสังเคราะห์บทเรียนเพื่อยกระดับ
- ชุมชนปรับแผน ใช้แผนเป็นเครื่องมือขยายผล เพิ่มจำนวนครัวเรือน และเพิ่มวงกว้างขึ้นโดยการประสานแผนชุมชน
เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและสร้างการรับรู้การขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์อาหารปลอดภัยจังหวัดพัทลุง
- เวทีสร้างการรับรู้ การขยายผล เพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์จังหวัดพัทลุง กระบวนการ เริ่มด้วยการลงทะเบียน ตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้างในร่างกายของผู้เข้าร่วม สร้างความเข้าใจโดยเกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดโครงการเสวนา โดย นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เสวนาเรื่อง เกษตรกรรมยังยืนเพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์
- ผลผลิต (Output) แกนนำขับเคลื่อนตำบลนาท่อม จำนวน 5 คนมีความรู้ การขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์จังหวัดพัทลุงโดยผู้ว่าราชการจังหวัด
- ผลลัพธ์ (Outcome) แกนนำจำนวน 5 คน มีผลการตรวจเลือด ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องอาหารปลอดภัย(เกษตรอินทรีย์)เพิ่มขึ้นและเป็นแกนนำกลับไปขยายผลในตำบลนาท่อม
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- นายถาวร คงศรี
- นายอำนวย กลับสว่าง
- นางสุมาลี ศรีโดน
- นางประภาพรรณ ศรีราม
- นางไพเราะ เกตุชู
รายละเอียดผู้เข้าร่วม เป็นคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม คณะกรรมการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี่ตำบลนาท่อม
- ปัญหา การรับรู้ของประชาชนในตำบล ยังขาดความรู้ความเข้าใจอาหารปลอดภัยหรือ เกษตรอินทรีย์
- แนวทางแก้ไข การตรวจเลือดและคืนผล พร้อมให้ความรู้ จะทำให้ผู้ที่ได้รับการตรวจเกิดความตระหนักเห็นความสำคัญได้
หนุ่นเสริมสร้างครัวเรือนนำร่องหรือครัวเรือนต้นแบบ ในการ
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รพสต เทศบาล)ประชาสัมพันธ์ โฆษณา ลงพื้นที่ประชุม
- พัฒนาสร้างแกนนำหรือคณะทำงานเพิ่มเพื่อขยายคน ขยายพื้นที่กิจกรรม
เพื่อรายงานความก้าว หน้าการดำเนินงานโครงการต่อหน่วยจัดการกลาง
การนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ตาม 16 ตัวชี้วัด(เอกสารตามแนบ)
- ผลผลิต (Output) คณะทำงานได้ผลการวิเคราะห์ทำให้รู้สถานการณ์อาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม ทั้ง 3 ประเด็น อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการสมวัย
- ผลลัพธ์ (Outcome) นำผลการวิเคราะห์สถานการณ์ไปใช้ในการออกแบบวางแผนกับคณะทำงานเพื่อยกร่างทำแผนยุทธศาสตร์อาหารของเทศบาลตำบลนาท่อม และผลักดันกิจกรรมที่สนับสนุนกิจกรรมอาหารปลอดภัยเข้าสู่แผนกิจกรรมโครงการให้งานงานอาหารปลอดภัยของเทศบาลสำเร็จ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1.นำผลการวิเคราะห์เข้าสู่ คณะทำงานทำแผนและคณะทำงานยกร่าง ให้ทัน เข้าสู่แผนตามเทศบัญญัติปี 2562
-
จัดประชุมเพื่อทำแผนยุทธศาตร์อาหารปลอดภันตำบลนาท่อม
เพื่อรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลนาท่อม(พชต)
- นำเสนอแผน การขยายผลอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม โดยใช้ อาหารปลอดภัยบ้านหูยานเป็นต้นแบบและแผนการกำจัดขยะแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนบ้านนากวด และชุมชนบ้านหูยาน
- รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนระบบอาหารตำบลนาท่อม 3 ประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
- ผลผลิต (Output) คณะทำงาน พชต 2 ท่าน รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการงานร่วมกับ พชอ.
- ผลลัพธ์ (Outcome) นำเสนอแผนอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม โดยขยายผลโมเดลบ้านหูยาย และนำเสนอแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม(ประเด็นขยะ) โดยใช้ชุมชนบ้านนากวดและชุมชนบ้านหูยาน
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- นายสุวรรณชัย นิยมสกุล ผอ.รพสต.ตำบลนาท่อม เลขานุการ พชต
- นางกชกาน คงชู ปลัดเทศบาลและเลขานุการกองทุนฯ คณะทำงาน รายงานแทนนายกเทศมนตรี
ปัญหา -การสื่อสารความรู้ของ พชต/พชอ ทั้งผู้นำในชุมชนและประชาชนยังไม่มีความรู้ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล ระดับอำเภอ คืออะไร ทำหน้าที่อะไร
แนวทางแก้ไข - ควรประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลทุกเดือนร่วมกับการประชุมผู้ใหญ่กำนัน
ไม่มี
ควรมีในวาระประชุมของหมู่บ้านทุกเดือน
- เพื่อวิเคราะห์และยกร่างแผนการขยายผลอาหารปลอดภัย
ลำดับขั้นตอนกระบวนการ
- ทบทวนคืนข้อมูลแก่หน่วยงานเพื่อยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เทศบาลตำบลนาท่อม รพสต.บ้านนาท่อม
- จัดระบบเรียบเรียงข้อมูล เป็นหมวดหมู่ ประเด็นอาหารปลอดภัย ประเด็นความมั่นคง และ โภชนาการสมวัย ที่ได้รับการยืนยัน เพื่อใช้อ้างอิงและคืนข้อมูลแก่คณะทำงาน พชต.และชุมชน
- ผู้เกี่ยวข้อง รพสต.บ้านนาท่อม โดย ผอ.รพสต เทศบาลตำบลนาท่อม โดย ปลัด และตัวแทน ผอ.กองการศึกษาของเทศบาลตำบลนาท่อม ได้เสนอแผนเพื่อนำเข้า แผนของเทศบาลในปีงบประมาณ 2563 ส่วนปีงบประมาณ 2562 ที่กำลังดำเนินการ ให้ปรับแผนกิจกรรมให้สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการขยายผลอหารปลอดภัยของตำบลนาท่อม
ผลผลิต (Output)
- คณะทำงานที่รับผิดชอบหลักจากหน่วยงาน รพสต.บ้านนาท่อม ปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม หัวหน้าสำนักเทศบาลตำบลนาท่อม และคณะทำงานโครงการ มีความรู้ เข้าใจ สถานการณ์ปัญหาประเด็นอาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนการสมวัย ของตำบลนาท่อม
ผลลัพธ์ (Outcome)
- เกิดการทบทวนแผนงานของเทศบาล ทั้ง 3 ประเด็น ได้แก่
- เรื่องอาหารปลอดภัย ทางเทศบาลมีการดำเนินการตามกิจกรรมในเทศบัญญัติ ในระดับปฏิบัติการการให้ความรู้เป็นหลัก ไม่ได้ตรวจสารเคมีตกค้าง 6 ชนิด
- เรื่องความมั่นคงทางอาหาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังขาดความมรู้ และการสื่อสาร ยังจำเป็นต้องอบรมให้ความรู้กับคณะทำงานผู้เกี่ยวข้อง
- เรื่องโภชนาการสมวัย มีการดำเนินงานปกติ ยังขาดการทำงานเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม ถ้านำร่อง ด้วย ระบบอาหาร Thai school lunch
- เกิดการร่วมกันของ รพสต.บ้านนาท่อม เทศบาลตำบลนาท่อม และคณะทำงานจากภาคส่วนอื่น ร่วมกันเสนอแนวทางแก้ปัญหาทั้ง 3 ประเด็น โดยการเสนอเข้าสู่แผนของตำบลในปี 2563 ด้วยการจัดทำเป็นร่างแผนการจัดการระบบอาหารปลอดภัย ที่มีแผนกิจกรรมอาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการสมวัย
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะทำงานจากตัวแทนทุกภาคส่วน
- นายถาวร คงศรี ผู้ประสานงานหลัก ผู้รับผิดชอบโครงการ
- นางวิภา พรหมแท่น หัวหน้าสำนักเทศบาลตำบลนาท่อม รองประธาน
- นายอนุชา เฉลาชัย กำนันตำบลนาท่อม ประธานโครงการ
- นางสุมาลี ศรีโดน สมาชิกสภาเทศบาลตำบลนาท่อม เลขานุการ
- นายอำนวย กลับสว่าง ภาคประชาสังคม คณะทำงาน
- นางกชกาน คงชู ปลัดเทศบาลและเลขานุการกองทุนฯ คณะทำงาน
- นายสุวรรณชัย นิยมสกุล ผอ.รพสต.ตำบลนาท่อม คณะทำงาน
- นางประภาพรรณ ศรีราม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 คณะทำงาน
แนวทางพัฒนาต่อไป เชิญคณะทำงาน พชต. ที่มีนายกเป็นประธาน และ ผอ รพสต.เป็นเลขานุการ ประชุมร่วม เพื่อรายงานความก้าวหน้า เพื่อคืนข้อมูล เพื่อร่วมกันพิจารณารับรองแผนการขยายผลอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม
สร้างกิจกรรมเชิงประจัก ได้แก่ สื่อสารการเลี้ยงผึ้ง การเลี้ยงไส้เดือนผลิตปุ่๋ย ตลาดเขียว จะเป็นตัวกระตุ้นให้โครงการสำเร็จ
ควรสื่อสาร 3 ประเด็นการขับเคลื่อนระบบอาหารปลอดภัยของตำบล ความมั่นคง โภชนการสมวัย ผ่านการประชุมหมู่บ้านแต่ละเดือนในวันประชุมหมู่บ้าน
เพื่อทบทวนเติมเต็มข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหารในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนการสมวัย
- กำนันประธานโครงการ นายอนุชา เฉลาชัย เปิดการประชุม โดยชี้แจงวัตุประสงค์ โครงการและวัตถุประสงค์กิจกรรมนี้
- เพื่อทบทวนข้อมูลที่คณะทำงานเก็บเพื่อทบทวน เติมเต็มข้อมูลก่อนการวิเคราะห์
- เพื่อเตรียมจัดทำข้อมูลเพื่อการคืนข้อมูลให้คณะทำงานที่เป็นกลไกของตำบล คือ คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม ที่ขับเคลื่อน เรื่อง อาหารปลอดภัยและการจัดการสิ่งแวดล้อมประเด็นขยะ
- เพื่อนำข้อมูลที่ผ่าน กลไก พชต.ยกร่างเป็นแผนอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในวันที่ 19 เมษายน 2562
ผลผลิต (Output)
- คณะทำงาน 9 คน เข้าร่วมประชุม ร่วมเรียนรู้ร่วมกันประเด็น การจัดการอาหารปลอดภัยจาก สื่อเรื่อง อาหารปลอดภัยเปลี่ยนชุมชน และ ทำการช่วยกันดูและสะท้อนข้อมูลที่คณะทำงานเก็บมาเป็นร่างระบบอาหารของตำบลนาท่อม
- คณะทำงานมีความรู้ในการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย 3 ประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย พร้อมคืนข้อมูลให้ คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม(กลไกการทำงานเรื่องอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม) ผลลัพธ์ (Outcome) -ได้ร่างแผนระบบอาหารตำบลนาท่อม ที่มีกิจกรรมพร้อมนำเสนอกรรมการพัฒนาแผนตำบลนาท่อม
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- เทศบาล 2 คน หัวหน้าสำนักปลัดและปลัดเทศบาล
- ผอ.รพสต. 1 คน
- ฝ่ายท้องที่ กำนัน 1 คน
- อสม. 1 คน
- หัวหน้ากลุ่มบ้านหูยาน 1 คน
- นักวิชาการ 1 คน
- ภาคประชาชน 2 คน
ปัญหา 1. คณะทำงานยังขาดความรู้ เรื่อง ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย 2. คณะทำงานไม่มีเวลาประชุมร่วมกันเนื่องแต่ละหน่วยงานมีภาระงานมาก แนวทางแก้ไข เก็บข้อมูลโดยการทำแบบสำรวจ เพื่อสำรวจข้อมูลที่ยังไม่ครบ - กำหนดให้หลังจากคืนข้อมูลแก่คณะทำงาน พชต. ให้ทำการยกร่าง การจัดการอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อมเพื่อให้ทันการยื่นเข้าสู่แผนของตำบลในปี 2663 1. นัดล่วงหน้า สรุปประเด็นประชุมโดยการทำร่างนำเสนอ เอกสารประกอบ ใช้สื่อเรียนรู้ตรงประเด็น ใช้เวลาไม่มาก
- ชุมชนและคณะทำงานยังขาดความรู้ในประเด็นอาหารปลอดภัย ความมั่นคง และโภชนาการสมวัย เสนอแนะ ให้สสส.พัฒนาศักยภาพ คณะทำงานขับเคลื่อน แกนนำในชุมชน ด้วยการ อบรมให้ความรู้และศึกษาดูงานพื้นที่รูปธรรม
- การทำกิจกรรมในพื้นที่ มุ่งเน้นกิจกรรมในโครงการ โดยไม่ตรงประเด็น หรือเข้าประเด็นปัญหาที่ชุมชนต้องการขับเคลื่อน เสนอแนะ
- ควรสรุปทุกกิจกรรมที่ชุมชนทำตอบประเด็นปัญหาอะไร โดยใช้ข้อมูลปัญหาประเด็นตั้งต้น และสรุปให้เห็นว่าเมื่อทำกิจกรรมในโครงการแล้วข้อมูลปัญหาถูกแก้ไขไปด้วยกิจกรรมในโครงการ
เพื่อรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์ระบบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม
การเก็บข้อมูลเพิ่มเติม 1. ประเด็นอาหารปลอดภัย การเก็บข้อมูล โดยการปฎิบัติการจริง ตรวจสารเคมีปนเปื้อน/ตกค้าง 7 ชนิดในตลาดสด 2 ตลาด และ ตรวจสารเคมีตกค้างในร่างกาย ทั้ง ตำบล 2. ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร เก็บข้อมลจาก เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์ กรมพัฒนาที่ดิน เทศบาล ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง โดยใช้ข้อมูลมือสอง 3. โภชนาการสมวัย เก็บข้อมูลจากการจัดเวทีรายงานผลการดำเนินงานแต่ละโรงเรียน 3 โรง 4. นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงง่ายต่อการนำเสนอ
ผลผลิต (Output)
- คณะทำงานจัดเก็บข้อมูล 10 คนได้รวบรวมเรีบยเรียงข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ได้ทราบและมีความรู้สถานการณ์ 3 ประเด็นงาน เรื่องความปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และสมโภชนาการ ทั้ง3 โรงเรียน
ผลลัพธ์ (Outcome)
- ได้ผลการวิเคราะห์ ตามกรอบ 16 ตัวชี้วัด (ตามเอกสารแนบ)
- ได้เอกสารที่ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนโดย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล เติ่มเต็มเพื่อนำกลุับไปใช้ในการปรับแผนของตำบล
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
อสม 5 คน -แกนนำบ้านหูยาน2 คน -คณะทำงาน 3 คน
1.ข้อมูลบางตัวชี้วัดต้องมีการเก็บเพิ่มเช่น
- การตรวจสารเคมีตกค้างในร่างกาย แนวทาง รพสต.ตรวจสารเคมีตกค้างในร่างกายเพิ่ม หมู่ละ 30 คน 8 หมู่บ้าน 240 คน กำลังดำเนินการ
- การตรวจสารปนเปื้อนในพืช ผัก ผลไม้ในตลาด เนื้อสัตว์และอาหารสดในร้านค้าในตลาดนัดม่วงลูกดำและตลาดนัดโคกม่วง แนวทาง อบรม คคบ.ให้ตรวจเองได้เพื่อตรวจเองในครั้งต่อไป
การหนุนเสริมองค์ความรู้และกระบวนการให้ชุมชนได้ตระหนักเพิ่มขึ้น เช่น ความรู้ สื่อ
1.การตรวจของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ต้องทำและมีมาตรฐานรองรับเพื่อสร้างความมั่นใจและการมีส่วนร่วม 2.พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้ความประสบการณ์เพิ่มขึ้น
เพื่อให้ความรู้สร้างความตระหนักในการนำขยะอันตรายที่อยู่ในดิน น้ำ และที่ทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางมารวบรวมนำไปจัดการถูกต้องตามหลักวิชาการ
- ประชาสัมพันธ์ก่อนล่วงหน้าว่ามีกิจกรรมขยะแลกไข่ในวันประชุมหมู่บ้าน
- เจ้าหน้าที่เทศบาลนำไข่มาแลกขยะอันตราย
- ทำอย่างนี้ทุกหมู่บ้าน ทั้ง8 หมู่บ้าน
- เมื่อได้ขยะมาจำนวนมากๆ รวบร วมส่ง อบจ.
ผลผลิต (Output) - ชุมชนเกิดความตระหนักนำขยะอันตรายมาแลกไข่ทุกหมู่บ้านทั้ง 8 ชุมชน
ผลลัพธ์ (Outcome) - ขยะอันตรายในชุมชนลดลงและมีการจัดการเป็นระบบมากขึ้น ชุมชนมีพื้นที่ปลูกผักเพิ่มขึ้นทำให้ลดสารเคมีปนเบื้นในดิน - สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น ขยะอันตราบลดลงและมีที่เก็บทุกศาลาหมู่บ้าน ครัวเรือนมีการคัดแยกเพิ่มขึ้น
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
กลุ่มประชาชนทุกกลุ่มวัย ที่มีขยะอันตรายนำมาแลกไข่เพื่อลดมลภาวะและนำขยะอันตรายออกมาจากดินที่ทำให้ดินปนเปื้อนสารเคมีลดลง
ปัญหา
- โครงการขาดประชาสัมพันธ์
แนวทางแก้ไข
-การสื่อสารพูดคุย ทำกิจกรรมต่อเนื่อง จะทำให้ขยะทุกประเภทลดลง
1.องค์ความรู้ที่ชุมชนต้องรู้ร่วมกัน
1.กิจกรรมให้ความรู้ในขยะอันตรายกับการปนเปื้อนลงในธรรมชาติ ดิน น้ำ มีผลกระทบต่ออาหารปลอดภัยอย่างไร
เพื่อประชุมสร้างความเข้าใจและลงนามความร่วมมือ(MOU)
-ลงนามเข้าร่วมโครงการ เช็น MOUโดยนายก (ไม่ใช้งบประมาณ)มี 2 ประเด็นขับเคลื่อน คือ การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม และการจัดการระบอาหารปลอดภัย -ฟังคำชี้แจงและและเขียนแผนดำเนินงานทั้ง 2 ประเด็นโดยนายกเป็นประธานและ ผอ.รพสตงเป็นเลขานุการ
- ผลผลิต (Output) นายกเทศมนตรีและผอ.รพสต.นาท่อม ตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 3 คนร่วมลงนามความร่วมมือเป็นนคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อม
- ผลลัพธ์ (Outcome) การลงนามเข้าร่วมโครงการ เช็น MOUโดยนายก ใช 2 ประเด็นขับเคลื่อน คือ การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม และการจัดการระบอาหารปลอดภัย ดังนั้นการดำเนินการทั้ง 2 ประเด็นในการขับเคลื่อน ใช้ คณะ พชต. ตำบลนาท่อมนี้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ส่วนวิธีการนั้น โดย แต่งตั้งคณะทำงานที่มาจากทุกภาคส่วน และต้องมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในครั้งถัดไป
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- นายกเทศมนตรีตำบลนาท่อม
- ผอ.รพสต.ตำบลนาท่อม
- ตัวแทนผู้ใหญ่บ้านตำบลนาท่อม
- พัฒนาชุมชน -เกษตรกรตำบล -ปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม
- เชิญประชุม พชต. โดยการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความรู้ความสามารถมาเป็นคณะกรรมการ พชต ที่มีนายกเทศมนตรีเป็นประธาน
- อบรมให้ความรู้และทราบสถานการณ์ 2 ประเด็น คือ การขัดการขยะและระบบอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม
ขอสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพกลไก
การให้ความรู้ระบบอาหารปลอดภัย 3 ประเด็น อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการสมวัย
เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
- เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และงานสมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืนภาคใต้ -9.00 รับชมวีดีทัศน์คนไทยหัวใจเกษตร เกษตรกรตััวอย่างของจังหวัดพัทลุง
- รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิวัฒน์ ศัลย์กำธร กล่วยเปิดงานและบรรยายพิเศษ เรื่อง การกู้วิกฤตชาติด้วยศาสตร์พระราชาและเกษตรกรรมยั่งยืน -เสนวนา หัวข้อ ยุทธวิธีขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพัทลุง โดย นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ประกาศขับเคลื่อน 1.3 ล้านไร่จังหวัดพัทลุง เป็นเกษตรอินทรีย์
ผลผลิต (Output) เกิดขึ้นจริง
- คณะทำงานทั้ง 5 คน ที่เข้าร่วมมีความรู้ เข้าใจยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง เป็นจังหวัดเกษตรอินทรีย์ 1.3 ล้านไร่
ผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดขึ้นจริง
- นโยบายหรือยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ เป็นนโยบายที่เอื้อต่อการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม
ผลกระทบ
- การประกาศยุทธศาสตร์ของผู้ว่าเรื่องเกษตรอินทรีย์ 1.3 ล้านไร้จะนำมากำหนดยุทธศาสตร์ หรือแผนกิจกรรมเพื่อขยายผลเกิดความตื่นตัวของของพัฒลุงเรื่องเกตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ประธานโครงการ ผู้รับผิดชอบ สภาแกนนำ คณะทำงานรวม 5 คน
- ปัญหา การสื่อสารให้คนส่วนมากเข้าใจ
- แนวทางการแก้ไข ให้มีการสื่อสารหลายรูปแบบ เช่น สื่อสารแบบหนุนเสริมให้ทำกิจกรรม หรือ หนุนเสริมการมีตลาดเขียวในชุมชน หนุนเสริมการออกกติกากับชุมชนที่มีความพร้อม เช่น ประกาศธรรมนูญสุขภาพตำบลที่มีความพร้อม
สนับสนุนกระบวนการสร้างการรับรู้
ร่วมกันสร้างการรับรุ้และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของตำบลนั้น ๆ ร่วมกันปรับแผนชุมชน แผนเทศบาล ให้สอดคล้องกับแผนจังหวัด
- เพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย บ้านหูยานและของตำบลนาท่อม
วิธีการดำเนินงาน
1.แต่งตั้งคณะทำงาน 1 ชุด จำนวน 5 คน เป็นพี่เลี้ยงให้ทีมนักศึกษาสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลตามแบบฟร์อม
2.เก็บข้อมูลจากแผน ชุมชนทั้ง 8 หมู่บ้าน
3.เก็บข้อมูลจากแผนพัฒนาตำบลนาท่อม
4.เก็บข้อมูลจากพัฒนาที่ดิน จังหวัดพัทลุง
5.เก็บข้อมูลจากเกษตรตำบลนาท่อม
6.เก็บข้อมูลจาก รพสต.บ้านนาท่อม
7.เก็บข้อมูลจากพัฒนาชุมชน อำเภอเมือง
นำข้อมูลที่ได้จากทุกหน่วยงานมารวบรวบสู่การวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม TCNAP และ การวิจัยชุมชนด้วยวิธีวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่งด่วนหรือ RECAP
เป็นกระบวนการศึกษาุถึงกระบวนการค้นห้าทำความเข้าใจศักยภาพชุมชนท้องถิ่นผ่านการรวบรวมข้อมูบงานและกิจกรรมของทุนทางสังคม 6 ระดับ ระดับบุคคลและครอบครัว ระดับกลุ่มทางสังคม องค์กรชุมชน ระดับหน่วยงาน ระดับชุมชน ระดับตำบล และระดับเครือข่าย
- ผลลิต คือ ได้ข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหารของตำบลนาท่อมตามกรอบ 16 ตัวชี้วัด 3 ประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย
- ผลลัพธ์ ข้อมูลสถานการณ์ ระบบอาหารตำบลนาท่อมทั้ง 3 ประเด็นคณะทำงานได้นำมาเรียบเรียงเพื่อนำเสนอต่อ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลนาท่อมในการประชุมแต่ละครั้งเพื่อรอการเติมเต็ม
- ผลกระทบ ต่อการทำงานขับเคลื่อนแผนงานขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารในตำบลนาท่อม ทั้ง 3 ประเด็น เนื่องจากคณะทำงานได้มองเห็นร่วมกัน จำเป็นต้องมีกลไกระดับตำบลในการขับเคลื่อนระบบอาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย และความั่นคงทางอาหาร เพราะการกลไกระดับชุมชน ได้แก่ กลไกระดับชุมชนของบ้านหูยาน หมู่ที่ 8 ตำบลนาท่อม จะทำงานและขยายตัวได้ช้า และงบประมาณที่นำมาใช้จะมาก ทางคณะทำงานได้เสนอ กลไก พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล หรือ พชต เป็นกลไกขับเคลือนงานเชิงประเด็น โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นประธาน ผอ.รพสต.เป็นเลขา ส่วนกำนันเป็นคณะทำงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ทำให้การทำงานของ พชต.ที่มีผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านเป็นกรรมการได้มีการประชุมพูดคุยกันต่อเนื่อง สามารถคุยงาน ติดตามได้ทุกเดือน
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- สภาแกนนำบ้านหูยาน 7 คน
- คณะทำงานโครงการ 3 คน
ปุัญหา
-ความไม่เข้าใจกลไก พชต(คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล คือใคร มีบทบาทหน้าที่ทำอะไร)
-พบว่ากลไกจำนวนมากในชุมชน ที่มีการตั้งขึ้นมาจากหน่วยงานภายนอกหรือจากนโยบายของรัฐ ตั้งแล้วมีการประชุม 2-3 ครั้งแล้วก็หายไป ทำให้ผู้นำจำนวนมากไม่เข้าใจและไม่รู้เรือ่ง
แนวทางการแก้ปัญหา -มีการประชุมสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องกับกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลและระดับอำเภอ -มีการการรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
ไม่มี
- ควรประชุมใหญ่ในระดับตำบล โดยใช้การประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นหลักแล้วนำวาระ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลด้วย นำผลจากการประชุมนำไปปรับแผนชุมชนในแต่ละหมู่แล้วนำกลับไปปรับแผนพัฒนาตำบลของเทศบาล
เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
- คณะทำงานทั้ง 5 คน ร่วมคิดออกแบบ การผลิตเมล็ดพันธ์ข้าวร่วมกับเทศบาล ร่วมกับคณะทำงานศูนย์ถ่ายทอดฯ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 เสนอของงบประมาณเพื่อดำเนินการผลิตเมล็ดพันธ์ไว้ใช้เองและผลิตให้กับศูนย์เมล็ดพันธ์ และชุมชนได้มีเมล็ดพันข้าวใช้เพียงพอ เหลือขายพันธ์ข้าวในราคาที่ดีกว่าแก่เกษตรชาวนา ในการสนับสนุนให้เกษตรกรชาวนาของตำบลนาท่อมและตำบลใกล้เคียงได้ใช้เมล็ดพันธ์ที่ผลิตเอง
- ไม่ใช้งบประมาณ
- ผลผลิต คณะทำงานเสนอแผนขยายผลรูปแบบการดำเนินงานแบบบูรณาการ ได้จัดทำข้อเสนอโครงการผลิตข้าวเมล็ดพันธ์บ้านโคกแย้มใช้กับชุมชนเหลือขายให้ศูนย์ เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ตำบลนาท่อม
- ผลลัพธ์ สภาเทศบาลตำบลนาท่อมได้ผ่านโครงการอนุมัติให้บ้านโคกแย้มขับเคลื่อนเพิ่มการผลิตข้าวผลลิตข้าวอินทรีย์ โดยการสนับสนุนเมล็ดพันธ์ข้าวสำหรับเกษตรที่ขึ้นทะเบียนทำนาข้าวในปี 2563 และสภาเทศบาลได้สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการทำนาอินทรีย์ชุมชนบ้านโคกแย้ม โดยการปรับปรุงระบบน้ำให้เกษตรกรผู้ทำนา ทำให้เกษตรกรมีปัจจัยเอื้อสนับสนุนการทำนาเพิ่มขึ้น ตลาดจนระบบการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ทำนา ได้ถึง 3 ครั้งต่อปี
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 นายถาวร คงนิล
- กำนันอนุชา เฉลาชัย กำนันตำบลนาท่อม ประธานโครงการ
- นางกชกาน คงชู ปลัดเทศบาล คณะทำงาน
- นายสมนึก นุ่นด้วง คณะทำงาน
- นายถาวร คงศรี ผู้รับผิดชอบโครงการ
ปัญหา
- ประชาชนตำบลนาท่อมยังขาดความรู้เรื่อง อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และ โภชนาการสมวัย
แนวทางวิธีแก้ปัญหา
- หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ เทศบาลยังต้องสนับสนุนการเรียนรู้ การผลิตเมล็ดพันธ์ุ การพัฒนาปรับปรุงดิน ระบบน้ำ การเรียนรู้ยังจำเป็น
เป็นแหล่งทุนส่งเสริมกระบวนการพัฒนาระบบความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย
- เสนอให้ส่งเสริม หรือสร้างแรงจูงใจประชาชนในการสร้างและสะสมเมล็ดพันธ์ข้าว เมล็ดพันธ์พืชผักพื้นบ้าน ไว้ใช้เองไม่ต้องชื้อ
- คณะทำงานที่มาจากหลายภาคส่วน หลายองค์กร เช่น มาจากรพสต เทศบาล กำนันฝ่ายปกครอบ ด้านสมาชิกสภา และกองการศึกษาจากโรงเรียน ร่วมคิด ควรจัดทำร่างข้อเสนอขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยในระดับตำบล นาท่อม ไว้เป็นนโยบายการจัดการอาหารปลอดภัย ที่มีองค์ประกอบหลัก 3 เรื่อง คือ ความปลอดภัย ความมั่นคง และ โภชนาการทุกวัย
- เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
- จัดบูทธ นิทรรศการ ให้ความรู้กับผู้ร่วมงานสมัชชาคนเมืองลุง หิ้วชั้นมาชันชีและแจกธรรมนูญสุขภาพตำบลนาท่อมให้กับผู้ร่วมงาน และนำเสนอผลการขับเคลื่อนกับสาธารณะสุขจังหวัดพัทลุง และรองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
- ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริงจากการออกบูท ให้ความรู้
- ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงเจ้าหน้าที่จากสมัชชาชาติได้นำข้อมูลไปเพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่ โดยใช้งบประมาณ จาก สสส.
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- คณะทำงานอาหารปลอดภัย 3 คน ให้ความรู้และแจกเอกสารธรรมนูญสุขภาพตำบลนาท่อม กับผู้เข้าร่วมงานสมัชชาคนเมืองลุง หิ้วชั้นมาชันชี
- ตัวแทนจากเทศบาล 2 คน คณะทำงาน สปสช.ตำบลนาท่อมที่มีปลัดเทศบาลตำบลนาท่อมให้ความรู้การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพกับภาคประชาชนในตำบลนาท่อม
ไม่มี
ไม่มี
ลงพื้นใหม่ให้ความรู้กับทุกชุมชน เพื่อรับฟัง
เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
เรียนรู้กิจกรรมของตำบลจัดการตนเอง ของเกาะขันธ์ จำนวน 5 วัน ตามหลักสูตรที่ทางตำบลเกาะขันธ์จัดขึ้น มีรายละเอียดขึ้นตอน ดังนี้
- วันแรกของการพบกันเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์เป้าหมายของการมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตำบลแม่ข่าย และลงเยี่ยมพื้นที่ แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในตำบล เพื่อศึกษาทุกศักยภาพในการจัดการตนเอง เมื่อศึกษาจบแต่ละวัน ในตอนเช้าได้สรุปและเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้และจะไปศึกษาและเรียนรู้อื่นๆ ต่อไป
- วันที่ 2 3 4 5 เรียนรู้เสร็จวันสุดท้ายก็ได้แลกเปลี่ยนกันตามอัตยาสัย และในวันสุดท้ายประธานก็ได้สรุปผลการดำเนินงาน
- ใช้งบประมาณ สสส
- ผลผลิต แกนนำตำบลนาท่อม 30 คน มีความรู้ตำบลจัดการตนเอง ในเรื่องน้ำ ตำบลเกาะขั้นจัดการน้ำ เป็นเรื่องเด่น เป็นฐานที่มาของการจัดการภาคเกษตร พืช ผัก ผลไม้ ทุกอย่างในตำบล มาจากการจัดการน้ำ
- ผลลัพธ์ แกนนำ 30 คนเป็นแกนนำขยายผล นำความรู้มาปรับใช้กับชุมชนต้นแบบ บ้านหูยาน ที่มีการจัดการตนเองเรื่องอาหารปลอดภัย ที่ขยายผลไปสู่ทั้ง 8 หมู่บ้าน เกิดขึ้นจริง
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- คณะทำงานโครงการการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยใน ต.นาท่อม 3 คน
- สภาผู้นำบ้านหูยาน จำนวน 9 คน
- ตัวแทนแกนนำหมู่ที่ ุ3,6,7,8 จำนวน 9 คน
ไม่มี
ไม่มี
การสื่อสารประเด็นเด่นของพื้นที่ให้ชัดเพื่อการขยายผล
เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
- ให้ความรู้ธรรมนุญสุขภาพ ผ่านเวทีเสวนา โดยมี นายกเทศมนตรี กำนันตำบลนาท่อม เจ้าหน้าที่จาก รพสต และวิทยากร นักวิชาการอิสระ นายสมคิด ทองสง
- ร่วมประกาศธรรมนูญสุขภาพของประชาชน โดย นายกเทศมนตรีตำบลนาท่อม
- ผลผลิต ตำบลนาท่อมประชาชนทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างกระบวนการเพื่อให้ได้มาของธรรมนุญสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
- ผลลัพธ์ ตำบลนาท่อมประกาศใช้ธรรมนูญธรรมสุขภาพ ผ่านการรับรู้และปฏิบัติจริงโดยชุมชน ในวันที่ 22 พย 2560 และธรรมนูญสุขภาพตำบลนาท่อมก็มีกติการในการร่วมกันสร้างให้ตำบลนาท่อมเป็นแหล่งอาหารปลอดภัย โดย ชุมชนมีกติกา เลิกใช้สารเคมี มีระบบตรวจสอบอาหาร ร่วมกันคัดแยกขยะ รักษา ดิน นำ ป่า โดยใช้โครงการสืบชะตาคลองนาท่อมเป็นการขับเคลื่อน ขยะในแหล่งน้ำลดลงจากกติกาสืบชะตาคลองนาท่อม 1252 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ ส่วนที่เหลือ 525 ครัวเรือนจ่ายค่าจัดเก็บให้เทศบาลจัดเก็บแต่ละหมู่บ้านตามตารางเวลา ทำให้ขยะในชุมชนลดลง พื้นที่ทำการเกษตรลดการใช้ยาฆ่าแมลง ฉีดหญ้าและหันมาเลี้ยงผึ้ง โดยการสนับสนุนจากเทศบาล
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
- คณะทำงาน 12 คน
- คณะขับเคลื่อนธรรมนูญ 20 คน
- ประชาชนผู้ร่วมงานกิจกรรม กลุ่มองค์กรต่าง ๆ 268 คน
ปัญหา
- ชุมชนยังขาดการรับรู้อย่างทั่วถึงในวงกว้าง
แนวทางการแก้ปัญหา
- มีสื่อต่อเนื่อง
- ทำคู่มือแจกทุกครัวเรือน
- สื่อสารหลากหลาย ทั้งภายนอก ภายใน
ไม่มี
ควรมีกิจกรรมเพื่อสื่อสาร สร้างการรับรู้ ให้ปรับตามบริบท กิจกรรมควรแทรกความรู้ธรรมนูญกับไปหวังผลในระยะยาว
เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
กลุ่มผู้เข้าร่วมประชุม คุยประเด็นแผนงานอาหารปลอดภัยของตำบลนาท่อมกับสภาแกนนำ ที่ได้นำเสนองานตัวเองจนได้รับการคัดเลือกให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่มีอัตลักษณ์ การจัดการอาหารปลอดภัยโดดเด่น โดยใช้สัญลักษณ์ มัสคอสผึ้งยิ้มหิ้วปิ่นโต สะท้อนการเป็นชุมชนที่ปลอดสารเคมี มีอาหารที่ปลอดภัย เป็นชุมชนที่น่าอยู่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
คณะทำงาน ร่วมกับ สภาแกนนำ สื่อสารการเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการอาหารปลอดภัย ในระดับตำบล ที่มีการสื่อสารด้วย เพลง ด้วย VCD ด้วยแผ่นพับ ด้วยสื่อทางเฟสบุก ผ่านช่องทางไลน์ 5 วัน ระว่างวันที่ 7- 11 พ.ย 2560 สถานที่ เซ็นต์ทรัลเฟสติเวล หาดใหญ่ โดยการแนะนำชุมชนให้เป็นที่รู้จัก สร้างเครือข่ายโดยมีเป้าประสงค์ให้ชุมชนเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีผลผลิตอาหารที่ปลอดภัย มีกิจกรรมปั่นจักรยานโดดเด่นสะท้อนให้เห็นคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยากเชิญชวนให้คนมาท่องเที่ยว จับจ่ายชื้อของผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยของชุมชน
- ชุมชนบ้านหูยาน เป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่มีอัตลักษณ์ การจัดการอาหารปลอดภัย โดยใช้มัสคอสผึ้ง สะท้อนการเป็นชุมชนที่ปลอดสารเคมี มีอาหารที่ปลอดภัย เป็นชุมชนที่น่าอยู่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
- ชุมชนหูยานมีสื่อสารการเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการอาหารปลอดภัย ในระดับตำบล ที่มีการสื่อสารด้วย เพลง ด้วย VCD ด้วยแผ่นพับ ด้วยสื่อทางเฟสบุก ผ่านช่องทางไลน์ 5 วัน ระว่างวันที่ 7- 11 พ.ย 2560 สถานที่ เซ็นต์ทรัลเฟสติเวล หาดใหญ่
- เทศบาลตำบลนาท่อมตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนที่ใช้ กิจกรรม ผึ้งจะรักษ์นาท่อมสื่อสาร ขยายผลการเลี้ยงผึ้งทั้งตำบลและร่วมกันประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพตำบลนาท่อมที่มุ่งเน้นเรื่องการจัดการอาหารปลอดภัย
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
- คณะทำงาน 6 คน เป็นคณะทำงานท่องเที่ยวชุน OTOP นวัตวิถี
- สภาแกนนำบ้านหูยาน 6 คน นำเสนอพื้นที่ชุมชนหูยาน เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่เน้นการท่องเที่ชุมชน ครอบครัวอบอุ่น คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาหารที่ปลอดภัย ใช้มัสคอสผึ้งสื่อสารถึงความอุดมสมบูรณ์ มีผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยตัวอื่นๆหลากหลาย
งบประมาณ - ความต่อเนื่องของงบประมาณเทศบาลในการสนับสนุน แนวทางแก้ไข - แปลงเป็นนโยบาย เป็นหลักสูตรการเรียนการสอน พัฒนาด้านเศรษฐกิจอาหารปลอดภัย สร้างสือที่เป็นอัตลักษณ์
ไม่มี
เพิ่มการสื่อสารเชิงสัญลักษ์มากขึ้น ใช้ตัวมัสคอสเพื่อการสื่อสารสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นกับทุกวัยในเรื่อง การเลิกใช้สารเคมีในชุมชน
เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
- ตัวแทนจาก3 โรงเรียน รายงานสถานการณ์อาหารปลอดภัย และโภชนการสมวัย โดยแต่ละโรงเรียนรายงานสถานการณ์ปัญหา เด็กเตี้ย ผม อ้วน และพัฒนาการช้า แนะแนวทางแก้ไข สำหรับเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน แต่ละโรงเรียน มีแม่ครัวที่ชื้ออาหารพืชผัก ปลาและเนื้อมาปรุงอาหาร โดยมีแหล่งที่มาจากตลาดสด ไม่รู้แหล่งที่มาว่าอาหารปลอดภัยหรือไม่ บางครั้งซื้อพืชผักในชุมชน มีบ้างไม่มีบ้าง ขาดความต่อเนื่อง
- สภาแกนนำบ้านหูยาน จาก 4 กลุ่มบ้าน ช่วยกันรายงานข้อมูลสถานการณ์และให้ข้อมูล 3 ด้าน เรื่องอาหารปลอดภัย ปลูกผักปลอดสารพิษ ไว้กิน เหลือกินรวบรวบไปจำหน่าย ในตลาดและร้านค้าทั้งภายในและนอกชุมชน เรื่องความมั่นคงทางอาหาร สะท้อนข้อมูลชุมชนชนรณรงค์ปลูกพืช-ผักปลอดสารพิษครัวเรือนละ 20 ชนิด ลดรายจ่าย ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทุกชนิด นำภูมิปัญญาการเลี้ยงผึ้งเสริมรายได้ มีการใช้ปิ่นโตสุขภาพเน้นอาหารที่ทำอาหารเองจากพืชผักข้างบ้าน ทำตลาดสีเขียว ร่วมคิด แยกกันทำข้างบ้านตนเอง รวมกันขาย(ตลาดหูยานสะพานคนเดิน) เหลือนำไปจำหน่ายตลาดเกษตรในเมือง ตลาดนัดธกส.ในเมือง และมีการเลี้ยงสัตว์เช่น ไก่ วัว หมู่ ไว้บริโภคเป็นอาหารในชุมชนหรือขายเป็นรายได้บ้าง ไม่ได้ทำเชิงธุกิจ
- หมอจาก รพสต รายงานสถานการณ์ เรื่องอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ของตำบลนาท่อม เน้นการเก็บข้อมูลจากรายงาน 3 เดือนจากโรงเรียนในชุมชน ทั้ง 3 แหล่ง เพื่อนำมาประมวลเป็นภาพโภชนาการสมวัย ของเด็กทุกช่วงวัย และนำข้อมูลที่ได้จากแหล่งการศึกษา นำมาวิเคราะห์สู่การแก้ปัญญา อ้วน เตี้ย ผอม
- เทศบาล โดยปลัดและหัวหน้าสำนัก รายงานสถานการ เรื่องอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย และความมั่นคงทางอาหาร ของตำบลนาท่อม
ผลผลิต (Output)
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 25 คน มีความรู้เรื่องระบบอาหาร 3 ประเด็น คือ ด้านอาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย และความมั่นคงทางอาหาร ของตำบลนาท่อม จากผู้เข้าร่วมในภาพรวมใหญ่
- มีความรู้สถานการณ์ อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย และความมั่นคงทางอาหารชุมชนบ้านหูยาน จากการให้ข้อมูลของสภาแกนนำบ้านหูยาน
- คณะทำงานและสภาแกนนำร่วมกันออกแบบการเก็บข้อมูล ตาม 16 ตัวชีวัดเพื่อนำข้อมูลมาทำแผนบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม ทั้ง 3 ประเด็น
ผลลัพธ์ (Outcome)
-คณะทำงานและสภาแกนนำร่วมกันออกแบบการเก็บข้อมูล ตามกรอบ 16 ตัวชีวัดทั้ง 3 ประเด็น เพื่อนำข้อมูลมาทำแผนบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม
-คณะทำงานได้จัดรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลทั้ง 3 ประเด็นง่ายต่อการนำเสนอ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- เจ้าหน้าที่ จาก รพสต 2 คน
- ตัวแทนจากโรงเรียนวัดนาท่อม โรงเรียนวัดโคกแย้ม ห้วหน้าศูนย์เด็กเล็กบ้านหนองปราง จำนวน 3 คน แห่งละ 1 คน
- คณะทำงาน 6 คน
- สภาแกนนำบ้านหูยาน 12 คน
- เจ้าหน้าที่ช่วยงาน 1 คน
- ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน
- ปัญหาการรวบรวมข้อมูลแต่ละด้านกระจัดกระจายไม่มีทุกด้าน และแต่ละหน่วยงานต่างคนต่างเก็บ ไม่ได้นำข้อมูลมาใช้ร่วมกันในการแก้ปัญหา
- แนวทางการแก้ปัญหา ให้ทั้ง 3 หน่วยงาน โรงเรียน รพสต เทศบาล ควรเก็บข้อมูลและนำข้อมูลมาใช้แก้ปัญหา เรื่องอาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย และความมั่นคงทางอาหาร ร่วมกัน โดยเทศบาลต้องออกเป็นนโยบาย สนับสนุนงบประมาณทำระบบฐานข้อมูลของตำบล ตัวอย่างแก้ปัญหาเรื่องอาหารกลางวัน รพสต ควรมีบทบาทเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนความรู้ โดยโรงเรียนการเก็บเก็บและประสานข้อมูล
สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้โปรแกรมอาหาร Thai School Lunch กับสร้างการกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน ในการ ผลิต ใช้ ของในชุมชน ครบทั้ง 3 เรื่อง อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย และความมั่นคงทางอาหาร
เสนอโรงเรียนในชุมชนให้ใช้ โปรแกรมอาหาร Thai School Lunch สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ในการคิดออกแบบเมนูอาหารร่วมกับชุมชนผู้ผลิตอาหารที่ปลอดภัยและคิดร่วม ทำร่วม ไม่ต้องชื้ออาหารมาจากตลาดภายนอก
เพื่อออกแบบศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานระบบอาหาร ในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในระดับหมู่บ้าน และ ระดับตำบล
- นายพีรพงค์ บาลทิพย์ นายกเทศมนตรี ประธานคณะทำงานดำเนินการเปิดประชุม โดยมี นายถาวร คงศรีผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงการประชุมคณะทำงานเพื่อออกแบบวางแผนเก็บข้อมูลจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ รพสต โรงเรียนในชุมชน เกษตรตำบล และให้คณะทำงานได้ร่วมกันคิดออกแบบ ชี้เป้าให้ข้อมูลหรือเสนอชื่อผู้ให้ข้อมูลความรู้ในเรื่องเหล่านั้น
- คณะทำงานได้แนวทางในการศึกษา จัดเก็บข้อมูล 3 ประเด็น โดยเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ 3 ประเด็น คือ อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และ โภชนาการสมวัย ในตำบลนาท่อมตาม 16 ตัวชี้วัด การเก็บข้อมูลตามสถานการณ์ที่ข้อมูลมี
- การหาตัววิทยากรมาร่วมให้ข้อมูล จาก รพสต คือ หมอสุวรรณา ทองเที่ยง และหมอสมนึก นุ่นด้วง ส่วนโรงเรียน ให้เรียนผู้อำนวยการ และเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล สำหรับพื้นที่ชุมชนต้นแบบให้ใช้สภาแกนนำกับครัวเรือนต้นแบบ เพื่อต้องการเก็บข้อมูลนำไปใช้ในการทำแผนการขับเคลื่อนเต็มพื้นที่ตำบลนาท่อม
การประชุมคณะทำงานได้ข้อสรุป คือ
- คณะทำงานได้แนวทางในการจัดเก็บข้อมูล 3 ประเด็น คือ อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และ โภชนาการสมวัย ตามสถานการณ์ที่ข้อมูลมี
- ตัววิทยากรร่วมให้ข้อมูล จาก รพสต คือ หมอสุวรรณา ทองเที่ยง และหมอสมนึก นุ่นด้วง ส่วนโรงเรียน ให้เรียนผู้อำนวยการ และเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล
- สำหรับชุมชนต้นแบบบ้านหูยานใช้สภาแกนนำกับครัวเรือนต้นแบบ ในการมาให้ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลนำไปใช้ในการทำแผนการขับเคลื่อนเต็มพื้นที่ 8 หมู่บ้านในตำบลนาท่อม
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- คณะทำงานการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม จาก 4 ภาคส่วน คือ ท้องถิ่น ท้องที่ รพสต องค์กรภาคประชาชน ร่วมกันพิจารณา 16 ตัวชี้วัดในการจัดเก็บข้อมูลแต่ละคนมีข้อเสนอให้มีการปรับให้สอดคล้องกับชุมชนเพราะบางตัวตำบลเราไม่ได้ดำเนินการ เช่น จำนวนโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ใช้โปรแกรม Thai School Lunch (ร้านของชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย)
คณะทำงานงานยังไม่เข้าใจเรื่องอาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และ โภชนาการสมวัย
แนวทางแก้ไข ใช้การพูดคุย ประชุมบ่อยขึ้น
ยังไม่มี
การเก็บข้อมูลสถารการณ์ด้านอาหารปลอดภัยเพื่อใช้กำหนดนโยบายระบบอาหารของตำบลนาท่อมต่อไป
เพื่อสร้างความเข้าใจแผนงาน การขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม
- ประชุมสร้างความเข้าใจกับคณะทำงาน แผนงาน การขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม ประเด็นในการประชุม เพื่อสร้างข้อตกลงร่วมกันของคณะทำงานถึงการขับเคลื่อน ควรมีการประชุมออกแบบกิจกรรการดำเนินงานก่อนทุกคร้ง ครั้งนี้เป็นครั้งก่อตัวคณะทำงานชุดขับเคลื่อนตำบลนาท่อม สร้างกลุ่มline เพื่อการสื่อสารของคณะทำงาน ชื่อ กลุ่มอาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม สรุปความคืบหน้าตัวโครงการ ซึ่งโครงการการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยในตำบลนาท่อม ได้รับการอนุมัติแล้วและกำลังรองเงินโอนเข้าบัญชีทำกิจกรรม สำหรับรายละเอียดต้องปรับกิจกรรมเล็กน้อย
ผลผลิตที่ได้
- เกิดคณะทำงานผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 9 คน มาจากภาคส่วน เทศบาล รพสต อสม ปกครอง ภาคประชาชนทำงานร่วมกัน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
-ได้มีข้อตกลงเปิดกลุ่มไลน์เพื่อการสื่อสาร และมีข้อตกลงควรออกแบบกิจกรรมก่อนดำเนินการทุกครั้ง
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
เทศบาลตำบลนาท่อม 3 คน ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล หัวหน้าสำนัก ด้านฝ่ายปกครอง 3 คน ประกอดด้วย กำนัน ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย รพสต 1 คน นักวิชาการสาธารณสุข หัวหน้า อสม ตำบลนาท่อม ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน
ปัญหา ด้านคณะทำงานเป็นผู้บริหาร ได้แก่ นายกเป็นที่ปรึกษา กำนัน ปลัด มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนงานเชิงประเด็น คือ ระบบอาหารของตำบลนาท่อม มีปัญหาไม่ได้ร่วมกิจกรรมต่อเนื่อง เนื่องด้วยเวลา
แนวทางการแก้ไข ต้องสร้างหรือพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบอาหารของตำบลนาท่อม (อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการสมวัย)
ยังไม่มี
1.ให้คณะทำงานช่วยประชาสัมพันธ์โครงการให้เป็นที่รู้จักโครงการผ่านสื่อหอกระจายข่าวหมู่บ้าน การประชุมหมู่บ้าน โดยคณะทำงานเข้าไปร่วม