สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
ภายใต้โครงการ แผนงานโซนใต้กลาง
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2561 - 14 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 150,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก นุ่นด้วง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 31 ธ.ค. 2561 1 มิ.ย. 2561 30 มิ.ย. 2562 100,000.00
2 1 ม.ค. 2562 30 เม.ย. 2562 1 ก.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 40,000.00
3 1 เม.ย. 2562 14 มิ.ย. 2562 10,000.00
รวมงบประมาณ 150,000.00
stars
3. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  • ความมั่นคงทางอาหาร ได้กลายเป็นปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่หลายพื้นที่เผชิญ และหลายพื้นที่ได้สร้างมาตรการรับมือกับความท้าทายดังกล่าวเพื่อให้อยู่รอดได้ในยามวิกฤติ แต่ปัญหาการสร้างความมั่นคงทางอาหารก็มีมากอาทิ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม การสูญพันธุ์ของพืชอาหารท้องถิ่น ภาวะขาดแคลนแรงงาน นโยบายส่งเสริมการศึกษาขยายเวลาภาคบังคับ นโยบายส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม นโยบายการเพิ่มผลผลิต การใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ภาวะภัยพิบัติ เหล่านี้ทำให้กระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ที่หมายถึง การมีอาหารเพียงพอ การมีอาหารปลอดภัย และสามารถเข้าถึงอาหารนั้นได้ ตำบลโคกม่วง เป็นพื้นที่ในเขตการปกครองท้องที่ของอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 15 หมู่บ้าน ทิศเหนือติดตำบลนาโหนด ทิศใต้ติดตำบลตะโหมด ทิศตะวันตกติดตำบลคลองเฉลิม ทิศตะวันออกติดตำบลเขาชัยสนและควนขนุน สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่เนินควนทางตะวันตก และลาดเอียงไปทางตะวันออก มีที่ราบลุ่มกระจายทั่วไปมีคลองท่าควาย คลองเคียน คลองพญา คลองวังครก และห้วยสังแก แต่บางสายน้ำจะมีน้ำไหลเฉพาะช่างหน้าฝน พื้นที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพด้านการทำสวนยางและปศุสัตว์ เนื้อที่ทั้งตำบล 67.994 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 42,500 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร ประมาณ 42,296 ไร่ ประชากร 9,762 คน เพศชาย 4,849 คน เพศหญิง 4,913 คน จำนวน 2,704 ครัวเรือน
    • สภาพปัญหาของพื้นที่
      นับตั้งแต่ปี 2520 รัฐมีนโยบายส่งเสริมการปลูกยางพารา ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลโคกม่วง จึงเปลี่ยนจากการปลูกพืชอาหาร มาเป็นการปลูกพืชเพื่อส่งเข้าโรงงาน การปลูกยางพันธุ์ดีจึงรุกล้ำพื้นการทำนา พื้นที่ปลูกพืชอาหารอื่นๆอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงยิ่งขึ้นจนในที่สุดในบางหมู่บ้านไม่มีพื้นที่ปลูกข้าวเหลืออีกเลย และการปลูกยางภายใต้เงื่อนไขของ กสย. ที่กำหนดพื้นขอรับทุนสงเคราะห์ปลูกยางได้เพียงอย่างเดียว ทำให้พืชอาหารอื่นๆ ที่เคยปลูก เคยมี หรือเคยหาได้ตามฤดูกาลก็หมดไป การปลูกยางพารา ต้องถางป่า ต้องเผาป่า ต้องไถปรับหน้าดิน เหล่านนี้ก่อให้เกิดการพังทลายของดิน ไหลลงสู่ลำห้วย จนตื้นเขิน แหล่งน้ำ แอ่งน้ำในลำห้วยก็หายไป ส่งผลให้สัตว์น้ำสูญพันธุ์ไปด้วย ประกอบกับ กสย. สนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยาฆ่าหญ้า ไกลโฟเสต พาราควอต ยาฆ่าหญ้าคา ยาทาฆ่าตอต้นยางพารา สารเคมีเหล่านี้ตกค้างในดิน ไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำลายสัตว์น้ำอย่างรุนแรง เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายปัจจัยเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี
    • ปัจจุบัน ในสภาวะที่หลายพื้นที่มีปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหาร แต่ตำบลโคกม่วงโดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว และหมู่ที่ 15 บ้านเกาะทองสมใหม่ ซึ่งมีการพัฒนาชุมชนสู่ความเข้มแข็ง มีการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ มีการพัฒนาทักษะของบุคคล บุคคลแกนนำ ให้ตื่นตัวและได้สร้างมาตรการมารับมือเพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชนจนได้รับการยอมรับ และกลายเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการตนเองทั้ง 4 มิติ ทั้งมิติด้านสุขภาพ ด้านสังคม เศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชนที่มีการผลิตพืชผักผลไม้ปลอดสารเคมี การแปรรูปผลผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้า การสร้างอาชีพ การกระจายรายได้ โดยใช้แผนพัฒนาชุมชนเป็นเครื่องมือ ซึ่งเป็นประเด็นที่ท้าทายให้ศึกษาว่าจะพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อจัดทำแผนสู่การขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นๆหรือจะผลักดันสู่นโยบายสาธารณได้อย่างไร
stars
4. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ในการดำเนินการตามโครงการของตำบลโคกม่วงจะใช้กรอบแนวคิดตามข้อที่ 1-4 ที่กำหนดไว้เป็นทิศทางในการพัฒนาสุขภาพจากการประชุมนานาชาติที่ประเทศคานาดา ปี 2559 ได้กำหนดกฎบัตรไว้ 5 ข้อ (Ottawa Charter for Health Promotion) ดังนี้

  1. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุภาพ Build Healthy Public Policy

  2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ Create Supportive Environments

  3. การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน Strengthen Community Action

  4. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล Develop Personal Skills

  5. การปรับระบบบริการสุขภาพ Reorient Health Services

stars
5. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์และรูปแบบ (Model) การจัดการความมั่นคงทางอาหารในหมู่บ้านทุ่งยาว และบ้านเกาะทองสมใหม่ ใน 4 มิติ
  1. มีข้อมูลสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่บ้านโคกม่วงและบ้านเกาะทองสมใหม่ ใน 4 มิติ
    1.1 มิติความพอเพียง
    1. พื้นที่ผลิตอาหาร (ข้าว ผักพื้นบ้าน ปศุสัตว์ ประมง ผลไม้)
    2. ปัจจัยสาเหตุของการลดลงของพื้นที่ผลิตอาหาร

1.2 มิติความปลอดภัย
1. การตรวจอาหารที่ปนเปื้อนสารตกค้าง 6 ชนิด และน้ำมันทอดซ้ำ

  1. พื้นที่ทำการเกษตรอินทรียื และพื้นที่ทำการเกษตรเคมี

  2. เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด

  3. กลไก มาตรการในพื้นที่ ต่อการสร้างให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร

1.3 มิติการเข้าถึงได้

  1. การเข้าถึงอาหารที่มั่นคงในพื้นที่ เช่นแหล่งจำหน่าย การส่งเสิมการปลูกผักริมรั้ว หรือบริเวณบ้าน การปลูกพืชร่วมยาง

  2. ความพอเพียงในการบริโภคอาหาร และการกระจายผลผลิตในชุมชนสู่ครัวเรือน

1.4 กระบวนการมีส่วนร่้วมในชุมชน กลุ่ม เครือข่าย ในหมู่บ้านที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร

1.5 สังเคราะห์ข้อมุล จัดทำรูปแบบ Model ความมั่นคงทางอาหารของหมู่บ้านต้นแบบ

2 2. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายพื้นที่ต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
  1. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายพื้นที่ต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบล

    2.1 ยกร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร

    2.2 พัฒนายุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร

    2.3 ภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมรับรองแผน และนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

stars
6. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2561 11:09 น.