เพื่อผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรังสู่การปฏิบัติ
- จัดเวทีข้อเสนอเชิงนโยบายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง โดยนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาฉันทามติต่อข้อเสนอเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ระหว่างผู้แทนภาครัฐ แกนนำชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชน และคณะทำงานวิจัย
- ข้อเสนอเชิงนโยบายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรังที่สามารถนำไปแปลงเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง
เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
ประกอบด้วย
- คณะทำงานวิจัย
- ภาคีภาครัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง
- แกนนำชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชน
-
-
-
เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง
-คณะทำงานวิจัยและภาคีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมระดมความคิดเห็น แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง และยกร่างเป็นแผนพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง
ร่างเป็นแผนพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- คณะทำงาน 4 คน
- ภาคีภาครัฐ 1 คน
-
-
-
เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลและข้อสรุปในรายงานการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน 4 พื้นที่
การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ (Public review ) โดยนักวิจัยจัดเวทีรับฟังความเห็นร่างรายงานผลการประเมินผลกระทบฯ โดยนำเสนอต่อกลุ่มประชุมกลุ่มย่อย ได้แก่ ผู้แทนองค์กรชุมชนท่องเที่ยวและกลุ่มจัดตั้งอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ สื่อมวลชน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของร่างรายงานการประเมินผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน และรับฟังข้อเสนอแนะในการปรับปรุงยุทธศาสตร์ โดยการอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion)
ร่างรายงานการประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จากการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- คณะทำงาน 4 คน
- ภาคีหน่วยงาน 2 คน
- แกนนำและสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยว 4 พื้นที่รวม 18 คน
-
-
-
เพื่อประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาหลัก
- ทีมวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด
- การประชุมกลุ่มย่อย และสัมภาษณ์
ได้ข้อมูลผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จากการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาหลัก
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- กลุ่มล่องแก่งเขาหลัก
- กลุ่มแม่บ้าน
-
-
-
เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านลำขนุน
- ทีมวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด
- ใช้การประชุมกลุ่มย่อย และสัมภาษณ์เชิงลึก
- ข้อมูลผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาหมื่นศรี ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- กลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวบ้านลำขนุน 9 คน
- กลุ่มแม่บ้าน 4 คน
- กลุ่มแสดงศิลปวัฒนธรรม 2 คน
- กลุ่มพายเรือนำเที่ยว 2 คน
- ผู้นำชุมชนท้องที่ ท้องถิ่น 2 คน
-
-
-
เพื่อประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลิบง
- ทีมวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด
- การประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์
- ได้ข้อมูลผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จากการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลิบง
เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
ประกอบด้วย
- กลุ่มที่พักโฮมสเตย์ 3 คน
- กลุ่มท่องเที่ยวฯ 9 คน
- กลุ่มแม่บ้าน 5 คน
- ผู้นำชุมชน 2 คน
-
-
-
เพื่อประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาหมื่นศรี
การลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพตามตัวชี้วัด
โดยใช้การประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์
ข้อมูลผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จากการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาหมื่นศรี
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- กลุ่มผู้นำท้องที่ท้องถิ่น 3 คน
- กลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี 6 คน
- กลุ่มทำนา 3 คน
- กลุ่มวิสาหกิจลูกลม 4 คน
- กลุ่มผลิตภัณฑ์OTOP ลูกหยี 2 คน
-
-
-
เพื่อกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง
- ศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร (Documentary Review) จากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างเป็นระบบ โดยสืบค้นเอกสารทางวิชาการที่มีการศึกษาในประเด็นการจัดการท่องเที่ยว โดยระบุประเด็นหลัก ชื่องานวิจัยที่ศึกษา มิติการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง และตัวชี้วัดสำคัญตามมิติที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาเป็นร่างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน
- การกลั่นกรองโดยสาธารณะ โดยนำผลการทบทวนสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง และแผนความเชื่อมโยงการท่องเที่ยวโดยชุมชนตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับพื้นที่มานำเสนอให้แกนนำชุมชนท่องเที่ยวและภาคีเครือข่ายฯร่วมแลกเปลี่ยนให้เพิ่มเติมข้อมูล
- การกำหนดขอบเขตโดยสาธารณะ (Public Scoping) โดยนำร่างรายงานการพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาประชุมกับแกนนำและสมาชิกกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวเพื่อพิจารณาถึงผลกระทบของกิจกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยกำหนดสุขภาพ (ปัจจัยด้านคน สภาพแวดล้อม และระบบกลไก)ที่เกิดจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน
- สถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ปัญหาและอุปสรรค
- ร่างรายตัวชี้วัดในการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- แกนนำและสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยว 27 คน
- ภาคี 2 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง
- คณะทำงาน 4 คน
-
-
-
เพื่อทบทวนสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง และความเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนตั้งแต่ระดับชาติถึงแผนพัฒนาระดับจังหวัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
- การทบทวนแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด ระดับชาติ แผนพัฒนาจังหวัด และข้อมูลทุติยภูมิ จากสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตรัง และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง
- การทบทวนรวบรวมเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวโดยชุมชน
- สถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง ความเชื่อมโยงสอดคล้องของนโยบายการท่องเที่ยวโดยชุมชนตั้งแต่ระดับชาติ ระดับภาค ถึงระดับจังหวัด ผลคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน และรายชื่อโครงการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามแผนพัฒนาจังหวัดยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ให้มีคุณภาพเพื่อสร้างรายได้ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
- ได้ผลกระทบเบื้องต้นต่อปัจจัยกำหนดสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
-
-
-