ชื่อโครงการ | ประเมินผลกระทบเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้อันดามัน |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2561 - 31 พฤษภาคม 2562 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 100,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | เชภาดร จันทร์หอม |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | 1) บ้านเขาหลัก ต.น้ำผุด อ.เมือง 2)บ้านลำขนุน ต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว 3)บ้านนาหมื่นศรี ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง 4)เกาะลิบง ต.เกาะลิบง อ.กันตัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
ภาคใต้ | place directions |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.ค. 2561 | 31 ธ.ค. 2561 | 1 ส.ค. 2561 | 30 มิ.ย. 2562 | 70,000.00 | |
2 | 1 ม.ค. 2562 | 28 ก.พ. 2562 | 20,000.00 | |||
3 | 1 มี.ค. 2562 | 31 มี.ค. 2562 | 10,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 100,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจก่อให้เกิดการลงทุนภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับประชาชนมีรายได้ ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวในการเป็นกลไกสำคัญในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจประเทศ ในสถานการณ์ความไม่แน่นอนทั้งภัยธรรมชาติ ด้านเศรษฐกิจ และการเมือง โดยภาครัฐมีทิศทางในการสนับสนุนการท่องเที่ยวทั้งเชิงนโยบาย แผนงานทั้งในระดับชาติ อาทิ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560-2564 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีความสำเร็จระดับหนึ่งทั้งในเชิงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยปี พ.ศ.2559 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 32,573,545 คน ขยายตัวร้อยละ 8.86 จากปีที่ผ่านมา มีรายได้จากการท่องเที่ยว 1,637,832 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.40 รวมทั้งจำนวนผู้มาเยี่ยมเยียนชาวไทยเที่ยวไทยรวม 148.03 ล้านคน-ครั้ง ขยายตัวร้อยละ 6.49 จากปีที่ผ่านมา ก่อเกิดรายได้ทั้งสิ้น 869,510.63 ล้านบาท(สำนักงานปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา, 2559)
ทั้งนี้ภายใต้การพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวกระแสหลักกลับพบว่าส่งผลกระทบอีกด้านนำไปสู่การพัฒนาที่ไม่สมดุล ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย การกระจุกตัวของรายได้ และแรงงานออกนอกพื้นที่ ในขณะเดียวกันกระแสการพัฒนายั่งยืนของโลกในการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลก หรือ “Earth Summit ” เมื่อปี 2535 ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ยังมีส่วนผลักดันกระแสการพัฒนาการ 3 ประการ ได้แก่ 1) กระแสความต้องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 2) กระแสความต้องการของตลาดการท่องเที่ยวในการด้านการศึกษาเรียนรู้ และ 3) กระแสความต้องการพัฒนาคน จากกระแสทั้ง 3 ส่งผลให้เกิดการปรับตัวของระบบการท่องเที่ยวในการแสวงหาทางเลือกใหม่(Alternative tourism) (สินธุ์ สโรบล, 2546) จึงทำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(Ecotourism)เป็นกระแสใหม่ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในช่วงปี พ.ศ.2535-2540 โดยการผลักดันของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวโดยชุมชน(Community Based Tourism) เป็นความพยายามหนึ่งของการสร้างทางเลือกในการพัฒนาประเด็นการท่องเที่ยวที่ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวและมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการพัฒนา ประเทศไทยมีการก่อตัวการท่องเที่ยวโดยชุมชนคู่ขนานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายใต้การทำงานในระดับพื้นที่ของโครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ(REST)(สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน, 2560) และในหลายปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภายหลัง พ.ศ.2558 รัฐบาลประกาศให้เป็นปีท่องเที่ยววิถีไทยนำเสนอภาพลักษณ์มุมมองใหม่ให้นักท่องเที่ยว เริ่มมีการตลาดที่สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนหลากหลายช่องทางทำให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้นของนักท่องเที่ยว และในปี พ.ศ. 2560 มีการประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559-2563 รวมถึงนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เน้นการสร้างรายได้ในชุมชนเลือกสนับสนุนประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานสนับสนุนต่างๆ สถาบันการศึกษา มีแผนงานโครงการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน ยิ่งทำให้เกิดกระแสการตื่นตัวของชุมชนในหลายพื้นที่ลุกขึ้นมาพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากยิ่งขึ้น
จังหวัดตรังมีชุมชนที่ริเริ่มดำเนินการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 และมีการขยายแนวคิดไปอีกหลายชุมชน ทั้งนี้พบว่ามีทั้งชุมชนที่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และบางชุมชนหยุดชะงักรอปรับตัว บ้างยุติการดำเนินงาน และหลายชุมชนให้ความสนใจการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งนี้แผนงานสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนของหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดเป็นลักษณะกิจกรรม โครงการของแต่ละหน่วยงาน ขาดการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขาดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เป็นทิศทาง นโยบายร่วมกันของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ได้แก่ กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health impact assessment) เป็นรูปแบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่มุ่งคาดการณ์ หรือศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม ต่อประชาชน เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจหรือเสนอทางเลือกสำหรับการดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
จากสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อให้การกำหนดทิศทางนโยบายและการวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดตรังมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนป้องกันผลกระทบระยะยาว ผู้วิจัยเห็นจึงเห็นว่าควรใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(Health impact assessment)มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน และพัฒนาข้อเสนอแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรังต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1) เพื่อศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง 1) ข้อมูลสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัดอันดามัน และระดับชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
||
2 | 2) เพื่อเสนอแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง 1) แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2561 23:18 น.