สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่ ”

ชุมชนท่องเที่ยวบ้านนาตีน ต.อ่าวนาง อ.เมือง

หัวหน้าโครงการ
นางฐิติชญาน์ บุญโสม

ชื่อโครงการ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่

ที่อยู่ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านนาตีน ต.อ่าวนาง อ.เมือง จังหวัด กระบี่

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ ถึง


กิตติกรรมประกาศ

"ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่ จังหวัดกระบี่" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนท่องเที่ยวบ้านนาตีน ต.อ่าวนาง อ.เมือง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่



บทคัดย่อ

โครงการ " ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่ " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านนาตีน ต.อ่าวนาง อ.เมือง รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน ยังไม่ระบุ - (ยังไม่ระบุ) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 50,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 30 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพการท่องเที่ยวระดับประเทศ และระดับนานาชาติ มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ปัจจุบันมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับที่ 2 ของภาคใต้รองจากจังหวัดภูเก็ต (จังหวัดกระบี่, 2561) กรอบแนวทางในการบูรณาการการพัฒนามีวิสัยทัศน์คือ เมืองท่องเที่ยวคุณภาพระดับนานาชาติ แหล่งเกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน สังคมน่าอยู่ ตามแนวคิด New Growth Model และการพัฒนาการท่องเที่ยวคู่กับการอนุรักษ์ภาคใต้แนวคิด Krabi Goes Green โดยมีปฏิญญาการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ สู่ความยั่งยืน ภายใต้การกำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่สู่ความยั่งยืน คือ เมืองท่องเที่ยวคุณภาพระดับนานาชาติ เชิงอนุรักษ์ ที่มีความยั่งยืนภายใต้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมของชาวกระบี่ทุกภาคส่วน     การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ มีพัฒนาการตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เริ่มต้น ณ ชุมชนบ้านนาตีน ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นชุมชนที่อยู่ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของการท่องเที่ยวกระแสหลัก ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่มีการรวบรวมเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยวกระแสหลัก และการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในชุมชนได้หรือไม่ ดังนัั้นการวิจัยเพื่อการประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชนจึงเกิดขึ้น โดยใช้เครื่องมือการประเมินผล กระทบทางสุขภาพ (HIA) เป็นเครื่องมือหลักในการวิจัย มีขั้นตอนการดำเนินการหลักของการประเมินผลกระทบ โดยนำแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมเข้าไปไว้ในทุกกระบวนการ คือ การกลั่นกรอง (Screening) การกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบโดยสาธารณะ (Public Scoping) การประเมินผลและจัดทำร่างรายงาน (Assessment and Reporting) การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ (Public Review) โดยมีขอบเขตการวิจัยคือ การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน อ.เมือง จ.กระบี่ ผลการวิจัยจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถเป็นข้อมูลเพื่อให้ทางจังหวัดกระบี่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะในการจัดการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืนได้ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน 5 จังหวัด (กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล และพังงา) จังหวัดกระบี่ การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน อ. เมือง จ.กระบี่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมเตรียมความพร้อมวางแผนการทำงาน การประเมินผลกระทบทางสุขภาพฯ การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน

    วันที่ 30 มิถุนายน 2561 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหาข้อสรุป เพื่อวางแผนการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อสรุปแผนการดำเนินงาน

    1. วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม 2561 นัดประชุม core team ชุมชน นำโดย นายบัญชา แขวงหลี ประธานชุมชนการท่องเที่ยวบ้านนาตีน สถานที่ ณ ชุมชนบ้านนาตีน ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ เพื่อจัดทำ Mapping พื้นที่
    2. เดือนสิงหาคม 2561 จัดเวที stakeholder : screening /scoping/assest(เวทีครั้งที่1)
    3. ตรวจสอบข้อมูล/ เก็บข้อมูลเพิ่ม เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล/สรุปข้อมูล
    4. เดือนกันยายน 2561 จัดทำเวที stakeholder: Public Review (เวทีครั้งที่ 2)
    5. ตรวจสอบข้อมูล/สรุปข้อมูล/จัดทำทบทวนร่างรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพโดยสาธารณะ

     

    3 3

    2. ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลชุมชนบ้านนาตีน สัมภาษณ์ประธานการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน คุณบัญชา แขวงหลี

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2561 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดหมายผู้ให้ข้อมูลหลัก คุณบัญชา แขวงหลี ประธานการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน
    • วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม 2561 บันทึกการให้ข้อมูล โดยการจดบันทึก /บันทึกเสียง
    • รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น เขียนสรุป เพื่อสู่การจัดทำ mapping ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผุู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำมาเป็นข้อมูลในการจัดทำ mapping ชุมชน

     

    4 5

    3. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม การประเมินผลกระทบทางสุขภาพฯ การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2561 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวมข้อมูลชุมชนท่องเที่ยวบ้านนาตีนเพิ่มเติมจากเอกสาร และการสัมภาษณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รู้ข้อมูลเพิ่มเติมด้านกายภาพชุมชน ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม

     

    2 3

    4. เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ , Focus Group

    วันที่ 11 สิงหาคม 2561 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -นัดหมายกลุ่มเป้าหมาย -จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) - สัมภาษณ์เจาะลึกแกนนำกลุ่ม (Indept-interview)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ข้อมูลเชิงประจักษ์ชุมชนบ้านนาตีนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในชุมชน -การเริ่มต้นการท่องเที่ยวโดยชุมชน กระบวนการการปฏิบัติ ผลจากการปฏิบัติ - ผลกระทบที่ได้รับจากการทำการท่องเที่ยวโดยชุมชน  เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม - ข้อเสนอแนะสำหรับอนาคต

     

    11 11

    5. ประชุมรายงานความก้าวหน้าร่วมกับทีมงาน สจรส.ม.อ.หาดใหญ่

    วันที่ 5 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นรูปแบบพาวเวอร์พอยท์ -แลกเปลี่ยนการทำงานกับเครือข่ายจังหวัดอื่นๆ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารรายงานความก้าวหน้าจำนวน 1ชุด

     

    2 10

    6. ประชุมเตรียมความพร้อมวางแผนการทำงาน เพื่อจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ

    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวมข้อมูลเป้าหมายกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อวางแผนการเชิญร่วมเวที /ร่างกำหนดการประชุม/ กำหนดกรอบการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้กลุ่มเป้าหมายเพื่อเชิญร่วมเวทีการประชุม

     

    3 4

    7. ประชุมรายงานความก้าวหน้ากับคณะกรรมการ สจรส. ม.อ

    วันที่ 4 พฤษภาคม 2562 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลการดำเนินงาน นำเสนอเป็นรายงาน และ Power Point

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต ได้ทราบข้อมูลการดำเนินงานการวิจัย

    ผลลัพธ์
    ความก้าวหน้างานวิจัย นำสู่การวางแผนการปฏิบัติ และสรุปผลการดำเนินงานวิจัยในลำดับต่อไป

     

    1 1

    8. กิจกรรมรับฟังความคิดเห็นโดยสาธารณะ (Public Review)

    วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 เวลา 08:30-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ดำเนินการเชิญภาคีเครือข่ายและผู้ส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม -จัดกิจกรรม รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Review) โดยกระบวนการการมีส่วนร่วม -บันทึกข้อมูล -วิเคราะห์ และสรุปจัดทำเป็นรายการการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต ได้ทราบผลกระทบด้านบวกและลบในการดำเนินกิจการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน ผลลัพธ์ ข้อมูลจากการจัดกิจกรรมนี้ สามารถนำมาวิเคราะห์ รวบรวมเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำสู่การจัดทำเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับจังหวัด และระดับภาคต่อไป

     

    30 26

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน 5 จังหวัด (กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล และพังงา) จังหวัดกระบี่ การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน อ. เมือง จ.กระบี่
    ตัวชี้วัด : 1. กลั่นกรองความจำเป็นในการประเมิน (Screening ) • เพื่อทบทวนสถานการณ์ (ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน) • เพื่อจัดทำรายละเอียดความเชื่อมโยงของ ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับชาติ/ระดับภาคใต้/ระดับโซนอันดามัน/ระดับจังหวัด/ระดับชุมชน • เพื่อคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนทั้งระดับชาติ ระดับภาค ระดับโซนอันดามัน ระดับจังหวัด และระดับชุมชน • เพื่อใช้ผลการประเมินในการปรับยุทธศาสตร์โซนอันดามันให้เหมาะสมมากขึ้น • เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับชาติ/ระดับภาค/ระดับโซน/ระดับจังหวัด/ระดับชุมชนและผลการคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน 2. กำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน (Scoping) • เพื่อกำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา พื้นที่ ระยะเวลา และจัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับโซนอันดามัน • เพื่อให้ได้รายละเอียดตัวชี้วัด และเครื่องมือ ในการประเมินทั้งเครื่องมือเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ และแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. ประเมิน (Appraisal) • เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน ตามแนวทาง ตัวชี้วัด และเครื่องมือ ที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการกำหนดขอบเขต (ขั้นตอนที่ 2) • เพื่อให้ได้ร่างรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน (ร่างปรับปรุงครั้งที่ 1 ) 4. ทบทวนร่างรายงานการศึกษา และวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Review) • เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลและข้อสรุปในรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน • เพื่อให้ได้รายงานรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามันและข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน 5 จังหวัด (กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล และพังงา) จังหวัดกระบี่ การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน อ. เมือง จ.กระบี่

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่ จังหวัด กระบี่

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางฐิติชญาน์ บุญโสม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด