ชื่อโครงการ | ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่ |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้อันดามัน |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 50,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฐิติชญาน์ บุญโสม |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | ดร.เพ็ญ สุขมาก นางสาวซูวารี มอซู |
พื้นที่ดำเนินการ | ชุมชนท่องเที่ยวบ้านนาตีน ต.อ่าวนาง อ.เมือง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
กระบี่ | place directions |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 15 มิ.ย. 2561 | 31 ธ.ค. 2561 | 30 มิ.ย. 2561 | 17 พ.ค. 2562 | 35,000.00 | |
2 | 1 ม.ค. 2562 | 31 พ.ค. 2562 | 15,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 50,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพการท่องเที่ยวระดับประเทศ และระดับนานาชาติ มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ปัจจุบันมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับที่ 2 ของภาคใต้รองจากจังหวัดภูเก็ต (จังหวัดกระบี่, 2561) กรอบแนวทางในการบูรณาการการพัฒนามีวิสัยทัศน์คือ เมืองท่องเที่ยวคุณภาพระดับนานาชาติ แหล่งเกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน สังคมน่าอยู่ ตามแนวคิด New Growth Model และการพัฒนาการท่องเที่ยวคู่กับการอนุรักษ์ภาคใต้แนวคิด Krabi Goes Green โดยมีปฏิญญาการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ สู่ความยั่งยืน ภายใต้การกำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่สู่ความยั่งยืน คือ เมืองท่องเที่ยวคุณภาพระดับนานาชาติ เชิงอนุรักษ์ ที่มีความยั่งยืนภายใต้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมของชาวกระบี่ทุกภาคส่วน การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ มีพัฒนาการตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เริ่มต้น ณ ชุมชนบ้านนาตีน ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นชุมชนที่อยู่ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของการท่องเที่ยวกระแสหลัก ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่มีการรวบรวมเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยวกระแสหลัก และการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในชุมชนได้หรือไม่ ดังนัั้นการวิจัยเพื่อการประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชนจึงเกิดขึ้น โดยใช้เครื่องมือการประเมินผล กระทบทางสุขภาพ (HIA) เป็นเครื่องมือหลักในการวิจัย มีขั้นตอนการดำเนินการหลักของการประเมินผลกระทบ โดยนำแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมเข้าไปไว้ในทุกกระบวนการ คือ การกลั่นกรอง (Screening) การกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบโดยสาธารณะ (Public Scoping) การประเมินผลและจัดทำร่างรายงาน (Assessment and Reporting) การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ (Public Review) โดยมีขอบเขตการวิจัยคือ การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน อ.เมือง จ.กระบี่ ผลการวิจัยจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถเป็นข้อมูลเพื่อให้ทางจังหวัดกระบี่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะในการจัดการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืนได้ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน 5 จังหวัด (กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล และพังงา)
จังหวัดกระบี่ การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน อ. เมือง จ.กระบี่
|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2561 10:38 น.