สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ”

บ้านสามช่องเหนีอ ต.กะไหล อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวจินดา สวัสดิ์ืทวี

ชื่อโครงการ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

ที่อยู่ บ้านสามช่องเหนีอ ต.กะไหล อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา จังหวัด พังงา

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 61-ข-061

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2561 ถึง 15 มีนาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จังหวัดพังงา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านสามช่องเหนีอ ต.กะไหล อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา



บทคัดย่อ

โครงการ " ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านสามช่องเหนีอ ต.กะไหล อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 มิถุนายน 2561 - 15 มีนาคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 20 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมการบริการที่มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย หลายประเทศต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ในฐานะเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยเกื้อหนุนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหลายประเทศเล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นได้ จากข้อมูลสถิติขององค์การการท่องเที่ยวโลกระบุว่า ในปี 2555 การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศมากถึง 1,035 ล้านคน ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าการคาดการณ์แนวโน้มในระยะยาว 10 ปี (ปี 2553-2563) ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.8 สร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจถึง 1,075 ล้านเหรียญสหรัฐ และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความเข้มแข็งมากที่สุด (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2556 และ UNWTO, 2013) อย่างไรก็ดีการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นผลกำไรทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ยังคงเป็นการท่องเที่ยวในลักษณะของการท่องเที่ยวกระแสหลัก (Mass Tourism) ซึ่งมีอำนาจทางการตลาดเหนือกว่าการท่องเที่ยวในลักษณะอื่น (Mieczkhowski, 1995) เนื่องจากการท่องเที่ยวกระแสหลักเป็นการเดินทางท่องเที่ยวตามกระแสความนิยมของนักท่องเที่ยว โดยการให้ความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม เข้าถึงง่าย และมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นพื้นฐานไว้รองรับ การท่องเที่ยวในลักษณะดังกล่าวเมื่อขาดการจัดการที่ดีจะ ส่งผลให้เกิดการไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งในขณะเดียวกันทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว หรือตัวแหล่งท่องเที่ยวมีความสามารถในการรองรับอยู่อย่างจำกัด ก่อให้เกิดปัญหาทั้งในด้านการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น (ฉัตรเฉลิม องอาจธานศาล, 2551) ปัจจุบันพลวัตรการพัฒนาทิศการท่องเที่ยวมีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อเสนอการท่องเที่ยวทางเลือก (Alternative tourism) ให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะโดยมุ่งส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่ม Mass คือ เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวขนาดเล็ก ก่อให้เกิดผลกระทบในระดับต่ำ มีการกระจายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ตามความสนใจเฉพาะ มุ่งเน้นการการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาเรียนรู้ มีความซาบซึ้งและตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดรายได้ทางเศรษฐกิจสูง (Mieczkhowski, 1995) คำนึงถึงความสามารถในการรองรับได้ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงขีดจำกัดทางด้านสังคมและวัฒนธรรม เพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และพยายามที่จะปกป้องรักษา เพิ่มพูนประสิทธิภาพฐานทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในแหล่งท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงความเป็น อัตลักษณ์ท้องถิ่น (Wearing and Neil, 2009)

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามบริบทของความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต.กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จ พังงา
  2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต.กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จ พังงา
  3. เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวบ้านสามช่องเหนือ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. รับฟังคำชี้แจงโครงการ

    วันที่ 1 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้ารับฟังเพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีความเข้าใจในการดำเนินโครงการ

     

    2 2

    2. กลั่นกรองความจำเป็นในการประเมิน (Screening)

    วันที่ 8 กันยายน 2561 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ขอความร่วมมือจากผู้นำและแกนนำชุมชนเพื่อเข้าร่วมประชุม รวมถึงชี้แจงให้ชาวบ้านในชุมชนได้เข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
    1. โทรนัดหมายกับผู้นำชุมชนและแกนนำชุมชนเพื่อนัดหมายวันเวลาในการลงพื้นที่ ซึ่งในครั้งนี้ได้ลงพื้นที่ ในวันที่ 8-9 กันยายน 2561
    2. เมื่อลงพื้นที่ชุมชน ได้นัดรวมกลุ่มกับผู้นำ แกนนำ และประชาชนในชุมชน เพื่อชี้แจงเป้าหมายและแนวทางในการประเมินสุขภาวะของชุมชน 3. พูดคุยและสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและแกนนำของชุมชน เพื่อศึกษารายละเอียดต่าง ๆ และข้อมูลพื้นฐานของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลที่ได้จากการลงพื้นที่เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ ของชุมชน พบว่า
    1. ได้ทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหมูบ้าน และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆของชุมชน 2. ได้ทราบลักษณะการทำงานของคนในชุมชนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆที่ผลิตขึ้นจากชุมชน

     

    20 0

    3. กลั่นกรองความจำเป็นในการประเมิน (Screening)

    วันที่ 6 ตุลาคม 2561 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นในการดำเนินการไว้ดังนี้
    1. กำหนดวันในการลงพื้นที่เพื่อนัดประชุมกับผู้นำชุมชน แกนนำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน 2. นัดร่วมประชุมกับผู้นำชุมชน แกนนำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนในวันที่ 6 -7 ตุลาคม 2561 เพื่อพูดคุยซักถามเกี่ยวกับกลุ่มต่าง ๆในชุมชน 3. สัมภาษณ์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มต่าง ๆ แต่ละกลุ่มในชุมชน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการจัดกิจกรรมลงชมุชนบ้านสามช่องเหนือ ได้ข้อสรุปว่า ในชุมชนสามช่องเหนือมีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนของชุมชน จำนวน 6 กลุ่ม ซึ่งแบ่งได้แก่ กลุ่มเรือหัวโทง กลุ่มเรือแคนู  โฮมสเตย์ วิถีประมงพื้นฐาน  กลุ่มร้านอาหาร และกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน

     

    20 20

    4. กำหนดขอบเขตและแนวทางในการประเมิน (Scoping) และสำรวจความพร้อมของกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในชุมชน

    วันที่ 15 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่สำรวจความพร้อมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน และสำรวจผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลลัพธ์ทีไ่ด้จากการลงพื้นที่ สำรวจความพร้อมและสำรวจผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชุมชน พบว่า 1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนมีความพร้อมและเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวเนื่องจากในวันดังกล่าวมีการจัดกิจกรรมเปิดหมู่บ้าน
    2. ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชุมชนได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนเป็นอย่างดี

     

    20 20

    5. ศึกษาการกระจายรายได้ของคนในชุมชนที่เกิดจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน

    วันที่ 20 ตุลาคม 2561 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้วิจัยได้นัดผู้นำชุมชน แกนนำ และกลุ่มชาวบ้านในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินการในแต่ละกลุ่ม ทั้ง 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1 นัดกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้ง 6 กลุ่ม เพื่อชี้แจงเกี่ยววัตถุประสงค์ในการศึกษา 2. สอบถามกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้ง 6 กลุ่ม เกี่ยวกับการกระจายรายได้ในแต่ละกลุ่ม รวมถึงปัญหาต่าง ๆในการดำเนินการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการสัมภาษณ์กลุ่มผลิตภัณฑ์แต่ะละกลุ่ม พบว่า ผลทีไ่ด้จากการจัดการท่องเที่ยวเชิงชุมชนทำให้แต่กลุ่มผลิตภัณฑ์มีการกระจายรายได้ ชาวบ้านในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเรือหัวโทง กลุ่มเรือแคนู กลุ่มโฮมสเตย์ กลุ่มวิถีชีวิตชาวประมง กลุ่มร่านอาหาร และกลุ่มการแปลรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการหมู่บ้าน มีการกระจายรายได้ให้กับทุกคนในหมู่บ้าน และให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม

     

    20 20

    6. ศึกษาประเด็นต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการสร้างความสุขทางสุขภาพวะของชุมชน และหาแนวทางในการพัฒนาชุมชนในอนาคต

    วันที่ 9 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้วิจัยได้กำหนดวันและนัดหมายกับผู้นำชุมชนเพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำรวจประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสุขทางสุขภาวะของชุมชน และแนวทางในการพัฒนาชุมชนในอนาคต รวมทั้งสัมภาษณ์แกนนำชุมชนเพื่อสอบถาม สัมภาษณ์ เกี่ยวกับมุมมองและการคาดหวังในการพัฒนาชุมชนในอนาคต 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการสัมภาษณ์ผู้นำและแกนนำของชุมชน เพื่อสำรวจประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยว รวมถึงประโยชน์ที่ได้จากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ได้ผลดังนี้
    1. ประโยชน์ที่ได้จากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ทำให้คนในชุมชนได้พัฒนาศักยภาพทางด้านภาษา และเกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนมีความสามัคคี มาพบปะ พูดคุยกันมากขึ้น รวมถึงลดอาการเป็นโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน
    2. การจัดท่องเที่ยวโดยชุมชน ทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักชุมชนมากขึ้น ส่งเสริมให้เยาวชนในชุมชนมีอาชีพเสริมในช่วงวันหยุด และยังช่วยให้คนที่ไปทำงานนอกชุมชน หวนกลับมาทำงานในแถบบ้านมากขึ้น 

     

    20 20

    7. รายงานความก้าวหน้า โครงการ ศวสต ร่วมกับสจรส.มอ.

    วันที่ 18 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการประชุมได้รายงานผลการประชุมในครั้งที่ผ่านมา และให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำเสนอรายงานความก้าวหน้าของแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลลัพธ์ทีไ่ด้จากการประชุม

    1นำข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมมาประกอบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินโครงการ

    2.ได้แนวคิดและมุมมองเกี่ยวกับการประเมินสุขภาวะ ในมิติต่าง ๆ

     

    10 15

    8. รวบรวมข้อมูลเชิงประมาณจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องเหนือ

    วันที่ 5 มกราคม 2562 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อสอบถามนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการมาเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องเหนือ เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน โดยการสำรวจจากนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวทั้งแบบวันเดียว หรือ ท่องแทียวแบบพักโฮมสเตย์ เพื่อวิเคราะห์หาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการมาเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องเหนือ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการสำรวจข้อมูลพบว่า
    1. นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องหนือ เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 25 ปีลงมา มีการศึกษาอยุ่ในระดับปริญญาตรี ลงมา และเป้นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง
    2. กลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มา จะมาด้วยตนเอง และมาจากการประสานงานกับหน่วยงานราชการ และเป้าหมายที่มา ก็เพื่อมาดูงาน และมาเที่ยวกับครอบครัว
    3. นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รุ้จักชุมชนบ้านสามช่องเหนือได้จากการแนะนำจากหน่วยงานราชการ และเพื่อนๆ แนะนำ
    4. นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเที่ยวในวันเสา อาทิตย์ และค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องเหนือ โดยประมาณ 3000 บาท และสาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเที่ยวที่นี่คือ สภาพบรรยากาศของชุมชนและความเป็นธรรมชาติของทรัพยากรชายฝั่ง 5. นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเป้นอย่างมาก และคิดว่าจะกลับมาเที่ยวอีกแน่นอน เพราะลักษณะชุมชน ลักษณะการท่องเที่ยวและ กิจกรรมการท่องเที่ยว ของชุมชนตรงกับสิ่งที่นักท่องเที่ยวคาดหวังไว้

     

    120 130

    9. ทบทวน และร่างรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบเชิงสุขภาวะของชุมชน

    วันที่ 19 มกราคม 2562 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาวะของชุมชน ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชน และแกนนำชมุชน เพื่อกำหนดวันในการลงพื้นที่เก้บข้อมูลเพิ่มเติม 2. เก็บข้อมุลเพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการสัมภาษณ์ ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน และตัวแทนกลุ่มผลิตภัณฑ์ของชุมชน พบว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำท่องเที่ยวชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ คือ
    1. ด้านการกระจายรายได้ในชุมชน คนในชุมชนมีรายได้ 2. เกิดกองทุนสวัสดิการชุมชน 3. เกิดการจัดการสิ่งแวดล้อม 4. เกิดการฟื้นฟูท้องถิ่น
    นอกจากนี้ การจัดการท่องเที่ยวชุมชนยังส่งผลให้เกิดผลกระทบในเรื่องของปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่คนในชุมชนได้ตระหนักและหาวิธีการจัดการและแก้ปัญหาเพื่อลดปริมาณขยะให้น้อยลง 

     

    10 10

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามบริบทของความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต.กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จ พังงา
    ตัวชี้วัด : การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนตามบริบทของชุมชนและตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม

     

    2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต.กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จ พังงา
    ตัวชี้วัด : ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน วิธีการจัดการและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน

     

    3 เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวบ้านสามช่องเหนือ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
    ตัวชี้วัด : คุณภาพชีวิต รายได้ เศรษฐกิจของชุมชน และอัตราการเจริญโตของวิสหกิจชุมชนในชุมชนท่องเที่ยวบ้านสามช่องเหนือ ต กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามบริบทของความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต.กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จ พังงา (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต.กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จ พังงา (3) เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวบ้านสามช่องเหนือ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จังหวัด พังงา

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวจินดา สวัสดิ์ืทวี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด