ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงสุขภาวะของชุมชน
ในการศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาวะของชุมชน ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชน และแกนนำชมุชน เพื่อกำหนดวันในการลงพื้นที่เก้บข้อมูลเพิ่มเติม 2. เก็บข้อมุลเพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน
จากการสัมภาษณ์ ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน และตัวแทนกลุ่มผลิตภัณฑ์ของชุมชน พบว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำท่องเที่ยวชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ คือ
1. ด้านการกระจายรายได้ในชุมชน คนในชุมชนมีรายได้
2. เกิดกองทุนสวัสดิการชุมชน
3. เกิดการจัดการสิ่งแวดล้อม
4. เกิดการฟื้นฟูท้องถิ่น
นอกจากนี้ การจัดการท่องเที่ยวชุมชนยังส่งผลให้เกิดผลกระทบในเรื่องของปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่คนในชุมชนได้ตระหนักและหาวิธีการจัดการและแก้ปัญหาเพื่อลดปริมาณขยะให้น้อยลง
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน และตัวแทนกลุ่มผลิตภัณฑ์ของชุมชน
ปัญหาที่พบในชุมชน ได้แก่
1. ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น แนวทางการแก้ไข รณรงค์ให้คนในชุมชนตระหนักและเข้าใจวิธีการลดปริมาณขยะในชุมชน
2. คนในชุมชนยังขาดทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ แนวทางการแก้ไข ส่งเสริมการพัฒนาทางด้านภาษาให้กับคนในชุมชน เพื่อไว้รองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
- พัฒนาและส่งเสริมให้ชุมชนได้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องในด้านอื่น ๆ เช่น การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนให้สอดคล้องกับไทยแลนด์ 4.0
- พัฒนาและร่วมวางแผนทางด้านการส่งเสริมการตลาด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้เป้นที่รู้จักให้มากยิ่งขึ้น
รณรงค์ให้คนในพื้นที่ได้ตระหนักและช่วยกันแก้ปัญหาด้านขยะให้มากขึ้น
สำรวจเกี่ยวกับรูปแบบการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องเหนือ
ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อสอบถามนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการมาเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องเหนือ เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน โดยการสำรวจจากนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวทั้งแบบวันเดียว หรือ ท่องแทียวแบบพักโฮมสเตย์ เพื่อวิเคราะห์หาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการมาเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องเหนือ
จากการสำรวจข้อมูลพบว่า
1. นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องหนือ เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 25 ปีลงมา มีการศึกษาอยุ่ในระดับปริญญาตรี ลงมา และเป้นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง
2. กลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มา จะมาด้วยตนเอง และมาจากการประสานงานกับหน่วยงานราชการ และเป้าหมายที่มา ก็เพื่อมาดูงาน และมาเที่ยวกับครอบครัว
3. นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รุ้จักชุมชนบ้านสามช่องเหนือได้จากการแนะนำจากหน่วยงานราชการ และเพื่อนๆ แนะนำ
4. นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเที่ยวในวันเสา อาทิตย์ และค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องเหนือ โดยประมาณ 3000 บาท และสาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเที่ยวที่นี่คือ สภาพบรรยากาศของชุมชนและความเป็นธรรมชาติของทรัพยากรชายฝั่ง
5. นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเป้นอย่างมาก และคิดว่าจะกลับมาเที่ยวอีกแน่นอน เพราะลักษณะชุมชน ลักษณะการท่องเที่ยวและ กิจกรรมการท่องเที่ยว ของชุมชนตรงกับสิ่งที่นักท่องเที่ยวคาดหวังไว้
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชุมชนบ้านสามช่องเหนือ
จากการสอบถามจากนักท่องเที่ยว พบว่า สินค้า และอาหาร มีปริมาณน้อยกว่าที่นักท่องเที่ยวคาดหวัง ในอนาคตข้างหน้าควรจะส่งเสริมกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารและสินค้าให้มากขึ้น เพื่อเป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในชุมชนมากยิ่งขึ้น
-
เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงการของแต่ละพื้นที่ ในกลุ่มของโครงการ ศวสต
ในการประชุมได้รายงานผลการประชุมในครั้งที่ผ่านมา และให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำเสนอรายงานความก้าวหน้าของแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ผลลัพธ์ทีไ่ด้จากการประชุม
1นำข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมมาประกอบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินโครงการ
2.ได้แนวคิดและมุมมองเกี่ยวกับการประเมินสุขภาวะ ในมิติต่าง ๆ
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
กลุ่มคนที่เข้าร่วมเป็นนักวิจัยและภาคีเครือข่ายชุมชน รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ศวสต รวมทั้งสิ้น 15 คน
จากการประชุมได้รับฟังเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของแต่ละพื้นที่ มาปรับใช้ในพื้นที่เป้าหมาย (ชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ต กะไหล อ ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา) เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดีขึ้น
-
นำข้อเสนอที่ได้มาปรับในบางประเด้นเกี่ยวกับการสร้างสุขภาวะของชุมชนมาปรับใช้กับชุมชนบ้านสามช่องเหนือ เพื่อให้ชุมชนมีสุขภาพวะที่ดีขึ้น
เพิ่อศึกษาประเด็นต่างๆ ที่ส่งผลต่อการสร้างความสุขทางภาวะของชุมชน และแนวทางในการพัฒนาในอนาคต
ผู้วิจัยได้กำหนดวันและนัดหมายกับผู้นำชุมชนเพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำรวจประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสุขทางสุขภาวะของชุมชน และแนวทางในการพัฒนาชุมชนในอนาคต รวมทั้งสัมภาษณ์แกนนำชุมชนเพื่อสอบถาม สัมภาษณ์ เกี่ยวกับมุมมองและการคาดหวังในการพัฒนาชุมชนในอนาคต
จากการสัมภาษณ์ผู้นำและแกนนำของชุมชน เพื่อสำรวจประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยว รวมถึงประโยชน์ที่ได้จากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ได้ผลดังนี้
1. ประโยชน์ที่ได้จากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ทำให้คนในชุมชนได้พัฒนาศักยภาพทางด้านภาษา และเกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนมีความสามัคคี มาพบปะ พูดคุยกันมากขึ้น รวมถึงลดอาการเป็นโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน
2. การจัดท่องเที่ยวโดยชุมชน ทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักชุมชนมากขึ้น ส่งเสริมให้เยาวชนในชุมชนมีอาชีพเสริมในช่วงวันหยุด และยังช่วยให้คนที่ไปทำงานนอกชุมชน หวนกลับมาทำงานในแถบบ้านมากขึ้น
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน และกลุ่มชาวบ้านที่ผลิตภัณฑ์ของชุมชน
จากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน พบว่า ในบางครั้งก้ส่งผลต่อปริมาณขยะในชุมชนมากขึ้น และยังขาดทักษะทางด้านภาษา ดังนั้น ในอนาคตข้างหน้า ชุมชนต้องการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาเพื่อไว้รองรับปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่จะมีปริมาณมากขึ้นในอนาคต
-
- หากระบวนการในการจัดการกับปริมาณขยะที่มีโอกาสเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
- ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางด้านการตลาดให้ครอบคลุม เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักชุมชนมากขึ้น
เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการกระจายรายได้ที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของคนในชุมชน
ผู้วิจัยได้นัดผู้นำชุมชน แกนนำ และกลุ่มชาวบ้านในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินการในแต่ละกลุ่ม ทั้ง 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1 นัดกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้ง 6 กลุ่ม เพื่อชี้แจงเกี่ยววัตถุประสงค์ในการศึกษา 2. สอบถามกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้ง 6 กลุ่ม เกี่ยวกับการกระจายรายได้ในแต่ละกลุ่ม รวมถึงปัญหาต่าง ๆในการดำเนินการ
จากการสัมภาษณ์กลุ่มผลิตภัณฑ์แต่ะละกลุ่ม พบว่า ผลทีไ่ด้จากการจัดการท่องเที่ยวเชิงชุมชนทำให้แต่กลุ่มผลิตภัณฑ์มีการกระจายรายได้ ชาวบ้านในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเรือหัวโทง กลุ่มเรือแคนู กลุ่มโฮมสเตย์ กลุ่มวิถีชีวิตชาวประมง กลุ่มร่านอาหาร และกลุ่มการแปลรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการหมู่บ้าน มีการกระจายรายได้ให้กับทุกคนในหมู่บ้าน และให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน รวมทั้งกลุ่มแม่บ้าน และชาวบ้านกลุ่มผลิตภัณฑ์ของชุมชน
-
-
-
เพื่อศึกษาความพร้อมของกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชุมชน
ลงพื้นที่สำรวจความพร้อมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน และสำรวจผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในชุมชน
ผลลัพธ์ทีไ่ด้จากการลงพื้นที่ สำรวจความพร้อมและสำรวจผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชุมชน พบว่า
1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนมีความพร้อมและเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวเนื่องจากในวันดังกล่าวมีการจัดกิจกรรมเปิดหมู่บ้าน
2. ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชุมชนได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนเป็นอย่างดี
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนในการจัดการท้องเที่ยวชุมชน
-
-
-
เพื่อศึกษากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นในการดำเนินการไว้ดังนี้
1. กำหนดวันในการลงพื้นที่เพื่อนัดประชุมกับผู้นำชุมชน แกนนำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน
2. นัดร่วมประชุมกับผู้นำชุมชน แกนนำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนในวันที่ 6 -7 ตุลาคม 2561 เพื่อพูดคุยซักถามเกี่ยวกับกลุ่มต่าง ๆในชุมชน
3. สัมภาษณ์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มต่าง ๆ แต่ละกลุ่มในชุมชน
จากการจัดกิจกรรมลงชมุชนบ้านสามช่องเหนือ ได้ข้อสรุปว่า ในชุมชนสามช่องเหนือมีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนของชุมชน จำนวน 6 กลุ่ม ซึ่งแบ่งได้แก่ กลุ่มเรือหัวโทง กลุ่มเรือแคนู โฮมสเตย์ วิถีประมงพื้นฐาน กลุ่มร้านอาหาร และกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
กลุ่มคนที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยผู้นำชุมชน แกนนำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 20 คน
การพัฒนาและต่อยอดกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆของชุมชน
-
-
เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนท่องเที่ยวสามช่องเหนือ
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ขอความร่วมมือจากผู้นำและแกนนำชุมชนเพื่อเข้าร่วมประชุม รวมถึงชี้แจงให้ชาวบ้านในชุมชนได้เข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. โทรนัดหมายกับผู้นำชุมชนและแกนนำชุมชนเพื่อนัดหมายวันเวลาในการลงพื้นที่ ซึ่งในครั้งนี้ได้ลงพื้นที่ ในวันที่ 8-9 กันยายน 2561
2. เมื่อลงพื้นที่ชุมชน ได้นัดรวมกลุ่มกับผู้นำ แกนนำ และประชาชนในชุมชน เพื่อชี้แจงเป้าหมายและแนวทางในการประเมินสุขภาวะของชุมชน
3. พูดคุยและสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและแกนนำของชุมชน เพื่อศึกษารายละเอียดต่าง ๆ และข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
ผลที่ได้จากการลงพื้นที่เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ ของชุมชน พบว่า
1. ได้ทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหมูบ้าน และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆของชุมชน
2. ได้ทราบลักษณะการทำงานของคนในชุมชนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆที่ผลิตขึ้นจากชุมชน
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
-
-
-
เพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินโครงการ
เข้ารับฟังเพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินโครงการ
มีความเข้าใจในการดำเนินโครงการ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ผู้รับผิดชอบโครงการ
-
-
-