ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
ชื่อโครงการ | ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้อันดามัน |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | เลขที่ 6 |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 มิถุนายน 2561 - 15 มีนาคม 2562 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 100,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.อภิรมย์ พรหมจรรยา |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.9495535548108,98.284450856888place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
ภูเก็ต | place directions |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2561 | 31 ธ.ค. 2561 | 70,000.00 | |||
2 | 1 ม.ค. 2562 | 28 ก.พ. 2562 | 20,000.00 | |||
3 | 1 มี.ค. 2562 | 10,000.00 | ||||
รวมงบประมาณ | 100,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมการบริการที่มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย หลายประเทศต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ในฐานะเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยเกื้อหนุนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหลายประเทศเล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นได้ จากข้อมูลสถิติขององค์การการท่องเที่ยวโลกระบุว่า ในปี 2555 การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศมากถึง 1,035 ล้านคน ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าการคาดการณ์แนวโน้มในระยะยาว 10 ปี (ปี 2553-2563) ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.8 สร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจถึง 1,075 ล้านเหรียญสหรัฐ และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความเข้มแข็งมากที่สุด (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2556 และ UNWTO, 2013) อย่างไรก็ดีการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นผลกำไรทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ยังคงเป็นการท่องเที่ยวในลักษณะของการท่องเที่ยวกระแสหลัก (Mass Tourism) ซึ่งมีอำนาจทางการตลาดเหนือกว่าการท่องเที่ยวในลักษณะอื่น (Mieczkhowski, 1995) เนื่องจากการท่องเที่ยวกระแสหลักเป็นการเดินทางท่องเที่ยวตามกระแสความนิยมของนักท่องเที่ยว โดยการให้ความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม เข้าถึงง่าย และมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นพื้นฐานไว้รองรับ การท่องเที่ยวในลักษณะดังกล่าวเมื่อขาดการจัดการที่ดีจะ ส่งผลให้เกิดการไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งในขณะเดียวกันทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว หรือตัวแหล่งท่องเที่ยวมีความสามารถในการรองรับอยู่อย่างจำกัด ก่อให้เกิดปัญหาทั้งในด้านการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น (ฉัตรเฉลิม องอาจธานศาล, 2551)
ปัจจุบันพลวัตรการพัฒนาทิศการท่องเที่ยวมีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อเสนอการท่องเที่ยวทางเลือก (Alternative tourism) ให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะโดยมุ่งส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่ม Mass คือ เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวขนาดเล็ก ก่อให้เกิดผลกระทบในระดับต่ำ มีการกระจายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ตามความสนใจเฉพาะ มุ่งเน้นการการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาเรียนรู้ มีความซาบซึ้งและตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดรายได้ทางเศรษฐกิจสูง (Mieczkhowski, 1995) คำนึงถึงความสามารถในการรองรับได้ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงขีดจำกัดทางด้านสังคมและวัฒนธรรม เพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และพยายามที่จะปกป้องรักษา เพิ่มพูนประสิทธิภาพฐานทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในแหล่งท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงความเป็น อัตลักษณ์ท้องถิ่น (Wearing and Neil, 2009)
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต คุณภาพชีวิต รายได้ เศรษฐกิจชุมชน การศึกษา อัตราการเจริญโตของธุกิจท่องเที่ยวในบริเวณชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา |
||
2 | เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามบริบทของความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในเขตพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน บ้านหัวหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีความเชื่อมโยงภายในพื้นที่ใกล้เคียง (network) ตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2561 09:05 น.