สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 7

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชุมสรุปบทเรียน และประเมินคุณค่าโครงการในระบบเว็บไซต์กองทุนตำบล (กองทุนขยายผล)16 กรกฎาคม 2567
16
กรกฎาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
  • ฟอร์มสรุปประชุมหรือกิจกรรม-เดือนมิถุนายน 67 (สรุปบทเรียนพื้นที่กองทุนขยายผล).docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
2.ระดมความคิดเห็นสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลประชุมสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ
1.นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
1.การขับเคลื่อนโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน ในพื้นที่กองทุนขยายผล ทั้งหมด 5 กองทุน ประกอบด้วย อำเภอเมือง ได้แก่ ทต.เหนือ, ทต.ห้วยโพธิ์, ทต.โพนทอง อำเภอนามน อบต.หนองบัว และ ทต.สงเปลือยทุกกองทุนมีการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์สุขภาพใน 10 ประเด็น ทั้งในปี 66 และ 67 ครบทุกกองทุน  และได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของกองทุนมาพัฒนาแผนงาน/โครงการ ได้อย่างน้อยกองทุนละ 3 โครงการ และได้รับการสนับสนุนและติดตามโครงการเป็นที่เรียบร้อย 2.สถานการณ์การพัฒนาแผนงาน/โครงการในระบบเว็บไซต์  พบว่า ทุกกองทุนได้ดำเนินการนำโครงการที่พัฒนาในระบบเว็บไซต์ไปดำเนินการเป็นที่เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เป็นจำนวนทั้งสิ้น 15 โครงการ 2.ระดมความคิดเห็นสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ โดยใช้คำถาม 4 คำถาม ดังนี้
1) ความคาดหวังที่มีต่อโครงการ -คณะกรรมการกองทุนสามารถนำข้อมูลสถานการณ์ไปใช้ในการวางแผนงาน/โครงการ และพัฒนาโครงการเข้าสู่การขอรับการสนับสนุนจากกองทุนตำบล -คณะกรรมการกองทุน/ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกองทุนพื้นที่ศูนย์เรียน และนำมาดำเนินการในพื้นที่กองทุนตนเอง -ได้ตัวอย่างโครงการนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพมาประยุกต์การดำเนินงานในพื้นที่ 2) ผลที่เกิดขึ้นจริง (สิ่งที่เป็นไปตามที่คาดหวัง/สิ่งที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง) -ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพไปใช้ในการวางแผนงาน/โครงการ เพื่อเสนอเข้าสู่กองทุนสุขภาพตำบลในพื้นที่ตนเอง กองทุนละ 3 โครงการ รวมทั้งสิ้น 15 โครงการและดำเนินการกรอกข้อมูลในระบบเว็บไซต์เป็นที่เรียบร้อย
-ได้เรียนรู้แผนงาน/โครงการสุขภาพจากเขตอื่นๆ จากการเรียนรู้โครงการในระบบเว็บไซต์กองทุนตำบล
3) ปัจจัยความสำเร็จและไม่สำเร็จ -ระบบเว็บไซต์ข้อมูลตำบลมีความละเอียด โดยประกอบด้วยข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ 10 ประเด็น ทำให้คณะกรรมการกองทุนและผู้ที่เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณกองทุนตำบลสามารถนำข้อมูลไปใช้อ้างอิงในการพัฒนาโครงการได้อย่างเป็นระบบ
-ประเด็นสถานการณ์สุขภาพทั้ง 10 ประเด็น มีความสอดคล้องกับประเด็นการขับเคลื่อนกับกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ทำให้ พชอ.เห็นความสำคัญของการใช้ระบบข้อมูลในเว็บไซต์ขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการกองทุนระดับตำบลและแผนอำเภอ - เจ้าหน้าที่กองทุนบางแห่งเคยเข้าร่วมโครงการนี้มาก่อนจึงทำให้มีประสบการณ์และความคล่องตัวในการใช้ระบบเว็บไซต์ได้ดี 4) ข้อเสนอแนะ - ควรบูรณาการระหว่างเว็บไซต์ ทปอ. และเว็บไซต์กองทุนตำบล ให้เป็น 1 ฐานข้อมูลและให้ สปสช.ทุกเขตประกาศใช้ร่วมกัน เพื่อลดความกังวลในด้านการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนตำบลต่อการพิจารณาโครงการ และลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน - ควรมีเวทีทำความเข้าใจอาสาสมัครเก็บข้อมูลในการใช้ระบบเว็บไซต์กองทุนในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ และใช้ในการดำเนินงานของกองทุนตำบลอย่างเป็นรูปธรรม - ควรมีมาตรการให้ทุกกองทุนมีการเก็บข้อมูลสถานการณ์เข้าสู่ระบบเว็บไซต์ โดยมีแผนสนับสนุนการสำรวจข้อมูล หรือทบทวนข้อมูลสถานการณ์สุขภาพเป็นประจำทุกปี

ประชุมสรุปบทเรียน และประเมินคุณค่าโครงการในระบบเว็บไซต์กองทุนตำบล9 กรกฎาคม 2567
9
กรกฎาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
  • ฟอร์มสรุปประชุมหรือกิจกรรม-เดือนมิถุนายน 67 (สรุปบทเรียนพื้นที่ศูนย์เรียนรู้).docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
2.ระดมความคิดเห็นสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ
3.ระดมความคิดต่อข้อเสนอแนะแนวทางในการขับเคลื่อนและบูรณาการร่วมกับกลไก พชอ.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
2.ระดมความคิดเห็นสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ
3.ระดมความคิดต่อข้อเสนอแนะแนวทางในการขับเคลื่อนและบูรณาการร่วมกับกลไก พชอ.

เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพกองทุนขยายผล1 มิถุนายน 2567
1
มิถุนายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
  • ฟอร์มสรุปประชุมหรือกิจกรรม-เดือนมิถุนายน 67 (กองทุนขยายผล).docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประชุมวางแผนการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่กองทุน
2.ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่กองทุนทั้ง 5 แห่ง
3.กรอกข้อมูลเข้าระบบเว็บไซต์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์สุขภาพทั้ง 5 แห่ง พบว่า สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลและกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ได้ทั้ง 5 แห่ง ที่กระจายครอบคลุมตามสัดส่วนกลุ่มอายุตามเป้าหมาย ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะจากการเก็บข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่
1) ตัวแทนอาสาสมัครเก็บข้อมูลยังมีความเชี่ยวชาญในการใช้ระบบเว็บไซต์เพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพค่อนข้างน้อย เนื่องจากข้อจำกัดด้านอุปกรณ์โทรศัพท์และสัญญาณอินเตอร์เน็ต ทำให้ทีมพี่เลี้ยงเขตต้องปรับเปลี่ยนเป็นการเก็บข้อมูลโดยใช้รูปแบบเอกสาร 2) ความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพกับอาสาสมัคร เนื่องจากอาสาสมัครที่มาร่วมประชุมอบรมการใช้ข้อมูลเป็นตัวแทนพื้นที่กองทุน เมื่อขยายผลไปยังอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านในระดับพื้นที่ทำให้ไม่กระจายสัดส่วนตามกลุ่มอายุ ทำให้ต้องมีการนำกลับไปแก้ไขข้อมูลใหม่ 3.ในกรณีของข้อมูล เช่น จุดความร้อน ค่าฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนของชุมชน เจ้าหน้าที่ข้อมูลตอบมาไม่ครบถ้วนทำให้ทีมพี่เลี้ยงเขตต้องให้ทีมผู้ช่วยมาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากระบบฐานข้อมูลที่โครงการแนะนำและกรอกข้อมูลเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์อีกครั้ง 4.พื้นที่กองทุนมีภารกิจงานในพื้นที่ค่อนข้างมาก ทำให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้ผู้ช่วยพี่เลี้ยงเขตต้องลงไปดำเนินการเก็บข้อมูลในบางพื้นที่

เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพกองทุนศูนย์เรียนรู้1 มิถุนายน 2567
1
มิถุนายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
  • ฟอร์มสรุปประชุมหรือกิจกรรม-เดือนมิถุนายน 67.docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประชุมวางแผนการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่กองทุน
2.ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่กองทุนทั้ง 22 แห่ง
3.กรอกข้อมูลเข้าระบบเว็บไซต์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์สุขภาพทั้ง 22 แห่ง พบว่า สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลและกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ได้ทั้ง 22 แห่ง ที่กระจายครอบคลุมตามสัดส่วนกลุ่มอายุตามเป้าหมาย ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะจากการเก็บข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่
1) ตัวแทนอาสาสมัครเก็บข้อมูลยังมีความเชี่ยวชาญในการใช้ระบบเว็บไซต์เพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพค่อนข้างน้อย เนื่องจากข้อจำกัดด้านอุปกรณ์โทรศัพท์และสัญญาณอินเตอร์เน็ต ทำให้ทีมพี่เลี้ยงเขตต้องปรับเปลี่ยนเป็นการเก็บข้อมูลโดยใช้รูปแบบเอกสาร 2) ความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพกับอาสาสมัคร เนื่องจากอาสาสมัครที่มาร่วมประชุมอบรมการใช้ข้อมูลเป็นตัวแทนพื้นที่กองทุน เมื่อขยายผลไปยังอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านในระดับพื้นที่ทำให้ไม่กระจายสัดส่วนตามกลุ่มอายุ ทำให้ต้องมีการนำกลับไปแก้ไขข้อมูลใหม่ 3.ในกรณีของข้อมูล เช่น จุดความร้อน ค่าฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนของชุมชน เจ้าหน้าที่ข้อมูลตอบมาไม่ครบถ้วนทำให้ทีมพี่เลี้ยงเขตต้องให้ทีมผู้ช่วยมาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากระบบฐานข้อมูลที่โครงการแนะนำและกรอกข้อมูลเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์อีกครั้ง

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมกับกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ)23 เมษายน 2567
23
เมษายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
  • ฟอร์มสรุปประชุมหรือกิจกรรม-เดือนเมษายน 67.docx
  • 434870845_812084397633731_1478446214651938908_n.jpg
  • 434567664_812085927633578_5201480757800039841_n.jpg
  • 428615308_789872853188219_4530133933564580126_n.jpg
  • 428611647_789873316521506_288918496886342805_n.jpg
  • S__194740262.jpg
  • S__194740261.jpg
  • S__194740260.jpg
  • S__194740259.jpg
  • S__194740258.jpg
  • S__194740257.jpg
  • S__194740256.jpg
  • S__194740254.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับตัวแทนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2 แห่ง
2.ติดตามความก้าวหน้าการกรอกแผนงาน/โครงการในระบบ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะจากการพัฒนาแผนงาน/โครงการเข้าระบบเว็บไซต์ 3.การขับเคลื่อนประเด็น 10 ประเด็น ในการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 4.การระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการขับเคลื่อนโครงการและกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ข้อมูลความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค การพัฒนาแผนงาน/โครงการในระบบ
2.ผลการขับเคลื่อนประเด็น 10 ประเด็นที่บูรณาการร่วมกับกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 3.ข้อเสนอเชิงนโยบายการขับเคลื่อนโครงการและกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

ประชุมติดตามการกรอกข้อมูลแผนงาน/โครงการ แผนงานการเงินเข้าระบบ กองทุนขยายผล29 กุมภาพันธ์ 2567
29
กุมภาพันธ์ 2567รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ติดตามการกรอกข้อมูลแผนงาน/โครงการ แผนการเงิน เข้าระบบกองทุนขยายผล อย่างน้อยกองทุนละ 3 โครงการ ที่ได้รับการอนุมัติจากกองทุนตำบล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กองทุนขยายผลดำเนินการกรอกข้อมูล แผนงาน/โครงการ แผนการเงิน เข้าระบบกองทุน จำนวน 15 โครงการ

ประชุมติดตามการกรอกข้อมูลแผนงาน/โครงการ แผนงานการเงินเข้าระบบ28 กุมภาพันธ์ 2567
28
กุมภาพันธ์ 2567รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ติดตามการกรอกข้อมูลแผนงาน/โครงการ แผนการเงินเข้าระบบกองทุนตำบลในพื้นที่กองทุนศูนย์เรียนรู้ 2.สะท้อนปัญหาอุปสรรค การใช้ระบบข้อมูล และข้อเสนอแนะ 3.วางแผนการบูรณาการกลไก พชอ. เพื่อให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบาย และออกแบบงานมหกรรมสุขภาวะในพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กองทุนศูนย์เรียนรู้มีการกรอกข้อมูลแผนงาน/โครงการ เข้าระบบกองทุน จากจำนวน 17 แห่ง รวมโครงการทั้งสิ้น 132 โครงการ (เป็นโครงการในแผนงานกิจกรรมทางกาย การจัดการขยะ โภชนาการ) 2.แนวทางการบูรณาการกับกลไก พชอ.อำเภอคำม่วง โดยบูรณาการร่วมกันในมหกรรมสุขภาวะอำเภอ เดือน เมษายน 2567 โดยจัดให้มีห้องย่อยในการระดมเพื่อหาข้อเสนอเชิงนโยบายในการบูรณาการร่วมกันระหว่างระบบข้อมูล กลไก พชอ. และกองทุนตำบล

ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามการกรอกข้อมูลแผนงาน/โครงการ แผนการเงินและรายงานผลโครงการ กองทุนขยายผล16 มกราคม 2567
16
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานพัฒนาแผนงาน/โครงการ เข้าสู่กองทุนตำบล ปี 2567 2.สะท้อนผลการใช้ระบบข้อมูลเพื่อการวางแผนงาน/โครงการ 3.อบรมให้ความรู้การสร้างแผนงาน/โครงการ แผนการเงิน และรายงานผลโครงการในระบบ 4.วางแผนการขับเคลื่อนร่วมกับกลไก พชอ.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.เกิดการพัฒนาแผนงาน/โครงการ แผนการเงิน อย่างน้อยกองทุนละ 3 โครงการ เข้าสู่ระบบ 2.เกิดการนำข้อมูลสถานการณ์ ไปสู่การวางแผนการดำเนินงานโครงการกองทุนอย่างเป็นระบบ

ผลลัพธ์ การนำข้อมูลสถานการณ์ไปสู่การวางแผนการดำเนินงานกองทุนตำบลในปี 2567 โดยบูรณาการร่วมกับกลไก พชอ.อำเภอสมเด็จ

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามการกรอกข้อมูลแผนงาน/โครงการ แผนการเงินและรายงานผลโครงการศูนย์เรียนรู้9 มกราคม 2567
9
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
  • ดาวน์โหลด.jpg
  • ดาวน์โหลด (7).jpg
  • ดาวน์โหลด (6).jpg
  • ดาวน์โหลด (5).jpg
  • ดาวน์โหลด (4).jpg
  • ดาวน์โหลด (3).jpg
  • ดาวน์โหลด (2).jpg
  • ดาวน์โหลด (1).jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การติดตามผลการจัดเวทีพัฒนาแผนงาน/โครงการ แผนการเงินและรายงานผลโครงการศูนย์เรียนรู้ที่แต่ละแห่งดำเนินการ 2.อบรมการกรอกข้อมูลแผนงาน/โครงการ แผนการเงินเข้าระบบ 3.สะท้อนข้อมูลปัญหาการกรอกข้อมูลในระบบ 4.วางแผนการดำเนินงานในพื้นที่ร่วมกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.เจ้าหน้าที่ในกองทุนศูนย์เรียนรู้มีความเข้าใจในการใช้ระบบ  การเชื่อมโยงข้อมูลสถานการณ์ ค่าเป้าหมาย กับการจัดทำแผนงาน/โครงการ 2.เกิดแผนงาน/โครงการ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพ อย่างน้อย 7-10 กองทุน

ผลลัพธ์ เจ้าหน้าที่กองทุนนำข้อมูลสถานการณ์ไปใช้ในการกำหนดประเด็นการขับเคลื่อนร่วมกันกับกลไก พชอ.

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประชุมวางแผนการขับเคลื่อนร่วมกับคณะกรรมการ พชอ. และกรอกข้อมูลแผนงานโครงการเข้าระบบ8 พฤศจิกายน 2566
8
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ ผ่านระบบกองทุน และการใช้ประโยชน์จากระบบข้อมูลกองทุนตำบล 2.วางแนวทางการขับเคลื่อนร่วมกันกับกลไก พชอ. ในการใช้ข้อมูลระบบกองทุนบูรณาการขับเคลื่อนกับกลไก พชอ. ในพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการกลไก พชอ. รับทราบข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่  และนำประเด็นข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเข้าสู่การขับเคลื่อนร่วมกับกลไก พชอ. ใน 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นด้านการจัดการขยะ  กิจกรรมทางกาย โภชนาการในเด็ก และสุขภาพจิต

สนับสนุนพื้นที่จัดเวทีพัฒนาโครงการ ขับเคลื่อนโครงการเข้าสู่แผนกองทุนสุขภาพ ปี 678 พฤศจิกายน 2566
8
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวทีพัฒนาโครงการ ขับเคลื่อนโครงการเข้าสู่แผนกองทุนสุขภาพ ปี 67 กับกองทุนศูนย์เรียนรู้ จำนวน 12 แห่ง และกองทุนขยายผล 10 แห่ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดแผนงาน/โครงการ ที่ได้รับการพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมในพื้นที่กองทุนศูนย์เรียนรู้ อย่างน้อย 7-10 โครงการ ที่จะเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนตำบล

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประชุมวางแผนการขับเคลื่อนร่วมกับคณะกรรมการ พชอ. และกรอกข้อมูลแผนงานโครงการเข้าระบบ7 พฤศจิกายน 2566
7
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การนำเสนอข้อมูลสถานการณ์พื้นที่กองทุนกับคณะกรรมการกลไก พชอ.อำเภอสมเด็จ
2.วางแผนการใช้ข้อมูลสถานการณ์บูรณาการขับเคลื่อนร่วมกับคณะกรรมการกลไก พชอ.อำเภอสมเด็จ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะกรรมการกลไก พอช. ได้ทราบข้อมูลสถานการณ์จากพื้นที่ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระบบกองทุนตำบล 2.เกิดการขับเคลื่อนเชิงประเด็นร่วมกันโดยบูรณาการกับประเด็น พชอ. ในประเด็น อุบัติเหตุ  การจัดการขยะ และกิจกรรมทางกาย

ารประชุมทบทวนแผนขับเคลื่อนและยกระดับกองทุนตำบลศูนย์เรียนรู้10 มิถุนายน 2566
10
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
  • ฟอร์มสรุปประชุมหรือกิจกรรม-เดือนมิถุนายน.docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การสรุปปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานที่ผ่านมา
2.การทำความเข้าใจโปรแกรมก่อนการพัฒนาโครงการ
3.รายงานและทบทวนแผนกองทุนในปี 2566

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา
1.1 การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่เป็นไปตามที่กำหนด เนื่องจากหลายพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบ  ทำให้ต้องมีการเก็บข้อมูลใหม่ในบางประเด็น
1.2 มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่เดิมผู้บริหารขอถอนตัวเนื่องจากมีภารกิจที่มาก และมีแผนการดำเนินงานที่จะทำไว้อยู่แล้ว
2. การแก้ไขปัญหา
2.1 ดำเนินการเก็บข้อมูลใหม่โดยให้ผู้นำ อสม. ในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.2 เปลี่ยนพื้นที่ที่มีความพร้อมในการดำเนินการ

ประชุมเชิงปฏิบัติการและเก็บข้อมูลพื้นที่กองทุนขยายผล 10 แห่ง10 กุมภาพันธ์ 2566
10
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ
2.การชี้แจงแนวทางการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ และประเด็นที่จะใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.การแลกเปลี่ยนบทเรียนโครงการนวัตกรรมด้านพื้นที่ที่ดำเนินการ
4.ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมกองทุนตำบลในการกรอกข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ตัวแทนคณะกรรมการกองทุนพื้นที่ตำบล จำนวน  50 คน จากทั้งหมด 10 กองทุนขยายผลมีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์สุขภาพทั้ง 10 ประเด็น 2.เกิดการแลกเปลี่ยนบทเรียน นวัตกรรมโครงการที่แต่ละพื้นที่ดำเนินการ เพื่อนำไปประยุกต์การเขียนแผนงานโครงการด้านสุขภาพ 3.ตัวแทนคณะกรรมการทุนพื้นที่ตำบลขยายผลทั้ง 10 แห่งและทีมพี่เลี้ยงระดับอำเภอมีความรู้ในด้านการใช้โปรแกรมกองทุนตำบลในการเก็บข้อมูลสถานการณ์พื้นที่
4.ได้แผนการเก็บรวบรวมข้อมูล และข้อเสนอต่อแนวทางการจัดอบรมพัฒนาโครงการฯ

การลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ 12 แห่ง8 กุมภาพันธ์ 2566
8
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
  • ฟอร์มสรุปประชุมหรือกิจกรรม-เดือนกุมภาพันธ์(เวทีMOU).docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ
2.แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ การขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะในพื้นที่ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3.การลงนามความร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอทั้ง 2 แห่ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จำนวน  50 คน ในการผลักดันให้เกิดศูนย์เรียนรู้กองทุนสุขภาพ จากเป้าหมายเดิม 12 แห่ง เป็น 17 แห่ง 2.มีการแลกเปลี่ยนบทเรียน และข้อมูลสถานการณ์ทั้งในระดับพื้นที่ และระดับประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานกองทุนร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
3.บันทึกข้อตกลงในการร่วมมือบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน

ประชุมเชิงปฏิบัติการและเก็บข้อมูลพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ 12 แห่ง20 มกราคม 2566
20
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
  • ฟอร์มสรุปประชุมหรือกิจกรรม-เดือนมกราคม.docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ
2.การชี้แจงแนวทางการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ และประเด็นที่จะใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.การแลกเปลี่ยนบทเรียนโครงการนวัตกรรมด้านพื้นที่ที่ดำเนินการ
4.ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมกองทุนตำบลในการกรอกข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ตัวแทนคณะกรรมการกองทุนพื้นที่ตำบล จำนวน  60 คน มีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์สุขภาพทั้ง 10 ประเด็น 2.เกิดการแลกเปลี่ยนบทเรียน นวัตกรรมโครงการที่แต่ละพื้นที่ดำเนินการ เพื่อนำไปประยุกต์การเขียนแผนงานโครงการด้านสุขภาพ 3.ตัวแทนคณะกรรมการทุนพื้นที่ตำบลและทีมพี่เลี้ยงระดับอำเภอมีความรู้ในด้านการใช้โปรแกรมกองทุนตำบลในการเก็บข้อมูลสถานการณ์พื้นที่

ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัด ครั้งที่ 123 ธันวาคม 2565
23
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
  • สรุปกิจกรรม-1-2301265.docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ลงพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับพื้นที่ 2.ประสานงานคณะกรรมกองทุนพื้นที่ระดับตำบลเพื่อเข้าประชุม 3.จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนพื้นที่กองทุนศูนย์เรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการเก็บข้อมูลโดยแบบสำรวจ (10 ประเด็น) ได้แก่ อาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต)
  2. จัดทำแผนงานขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ในโปรแกรมออนไลน์ อย่างน้อย 2 แผนงานต่อกองทุน (แผนงบปี 2566 และงบปี 2567)
  3. พัฒนาโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในโปรแกรมออนไลน์  อย่างน้อย 2 โครงการต่อแผนงาน
    (รวมอย่างน้อย 4 โครงการต่อกองทุน)
  4. ได้รับอนุมัติงบประมาณจากกองทุน และมีการติดตามประเมินผลโครงการในโปรแกรมออนไลน์  (รวมอย่างน้อย 4 โครงการต่อกองทุน)
  5. ได้ตัวแทนผู้เข้าอบรมการเก็บข้อมูลในวันที่ 11 ม.ค.66 จำนวน 12 คน
  6. ได้ปฏิทินการทำงานร่วมกันกับคณะกรรมการกองทุนพื้นที่ (ม.ค.-ก.พ.)