สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ ”

เขตสุขภาพที่ 1-13

หัวหน้าโครงการ
ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์

ชื่อโครงการ งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ

ที่อยู่ เขตสุขภาพที่ 1-13 จังหวัด

รหัสโครงการ 65-10011 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน เขตสุขภาพที่ 1-13

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ



บทคัดย่อ

โครงการ " งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ " ดำเนินการในพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 1-13 รหัสโครงการ 65-10011 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 15,000,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  2. 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  3. 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาทลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  4. 2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  5. 2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  6. 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  7. 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  8. 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  9. 1. ได้กองทุนฯ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต) จำนวน 80 กองทุน (อย่างน้อย 5 อำเภอ)

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน
  2. ระชุมชี้แจงโครงการ วางแผนการดำเนินงาน และพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน
  3. ร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ และร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) อ.หนองจิก อ.ยะหริ่ง อ.เมือง จ.ปัตตานี
  4. อบรมเสริมทักษะการบริหารจัดการแผนงาน/โครงการ ด้านการเงิน การบัญชี
  5. ประชุมหารือพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูล
  6. ประชุมชี้แจงแจงเรื่องการเงินและพัสดุ โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชม ผ่านระบบ ZOOM
  7. กิจกรรมทดสอบเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน
  8. ประชุมหารือและเสนอความคิดเห็นเพื่อพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ในชุมชน
  9. อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือเพื่อเก็บเเละวิเคราะห์ข้อมูลสถานกาารณ์ชุมชน
  10. ประชุมชี้เเจงแนวทางการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกลสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพขุมชน เเละลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เขต 10
  11. รายงานความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุข ภาวะระดับตำบลและอำเภอ ทั้งกองทุนศูนย์เรียนรู้และกองทุนขายผล
  12. การประชุมหารือและเสนอความคิดเห็นเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ในการวิเคราะห์ผลข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน ผ่านระบบ ZOOM https://zoom.us/j/9019029101
  13. ประชุมรายงานความก้าวหน้าและปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาเครื่องมือ
  14. ประชุมรายงานความก้าวหน้าและปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาเครื่องมือ
  15. ประชุมความก้าวหน้าการดำเนินงานพร้อมปัญหาและอุปสรรค
  16. ประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำแผนและพัฒนาข้อเสนอโครงการฯ
  17. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบสุขภาพชุมชน พื้นที่เขตสุขภาพที่ 10
  18. อบรมการพัฒนาโครงการและติดตามผลการดำเนินงานของพื้นที่
  19. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนผลการดำเนินโครงการ
  20. ประชุมหารือจัดตั้งทีมพี่เลี้ยงกองทุน กทม.
  21. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  22. ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่และการทำแผนปี 67 (เขต 12) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
  23. ประชุมรายงานความก้าวหน้าและปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาเครื่องมือ
  24. สรุปประชุมการดำเนินงาน พื้นที่สุขภาพเขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  25. ประชุมชี้แจงแนวทางการทำงานชองทีมประเมิน และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแบบสอบถามข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน
  26. ประชุมความก้าวหน้าและพัฒนาแบบสอบถามทีมประเมิน
  27. ประชุมติดตามประเมิน และรายงานความก้าวหน้าให้กับ พชอ. จ.พัทลุง
  28. อบรมเชิงปฏิบัติการการทำแผนอำเภอ
  29. ประชุมหารือการทำสื่อเสนอบทเรียนที่ดีจากการดำเนินโครงการ
  30. อบรบเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการกองทุน
  31. ประชุมติดตามประเมินผลและรายงานความก้าวหน้าให้กับ พชอ.พัทลุง
  32. ประชุมติดตามการประเมินผล
  33. อบรมการเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน
  34. ประชุมวางแผนการทำสื่อนำเสนอบทเรียนที่ดี
  35. ประชุมวางแผนการทำสื่อนำเสนอบทเรียนที่ดี
  36. ประชุมการดำเนินการพื้นที่เขต 10
  37. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามการสรุปงานโครงการจังหวัดพัทลุง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้คู่มือการจัดทำแผนและพัฒนาโครงการ ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย เหล้า บุหรี่ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต จำนวน 8 ชุด
  2. ได้ website ระบบการจัดการบริหารกองทุนฯ ที่ใช้ในการพัฒนาแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย เหล้า บุหรี่ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต จำนวน 1 ระบบ 3.ได้กองทุนฯ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้ จำนวน 80 กองทุน
  3. กองทุนฯ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้มีแผนงานที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ (ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต)
  4. กองทุนฯ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้มีโครงการสร้างเสริมสุขภาวะที่ผ่านการพิจารณาและได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ อย่างน้อยจำนวน 500 โครงการ
  5. เกิดการบูรณาการความร่วมมือและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่
  6. ขยายพื้นที่การดำเนินงานกองทุนฯ จำนวน 100 กองทุน
  7. กองทุนฯ ขยายผลมีแผนงานที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ อย่างน้อย 1-2 แผนงานต่อกองทุน
  8. กองทุนฯ ขยายผลมีโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ อย่างน้อย 150 โครงการ
  9. พี่เลี้ยงมีศักยภาพสามารถ coaching กองทุนฯ ในการสร้างเสริมสุขภาวะในชุมชน ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย เหล้า บุหรี่ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต รวม 130 คน
  10. พี่เลี้ยงมีศักยภาพสามารถ coaching กองทุนฯ ในการจัดทำแผนงาน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ รวม 130 คน
  11. พี่เลี้ยงมีทักษะสามารถ coaching กองทุนฯ ในการใช้ระบบออนไลน์จัดทำแผนงาน พัฒนาข้อเสนอโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการ รวม 130 คน
  12. มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องทั้งแบบออนไลน์ และออนไซต์ ตลอดระยะเวลาโครงการ
  13. เกิดการหนุนเสริมการทำงานแบบบูรณาการและเสริมพลังการทำงานในพื้นที่
  14. ได้สื่อนำเสนอบทเรียนที่ดี จากการดำเนินโครงการ อย่างน้อย 1 ชุด

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน

วันที่ 10 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน

 

0 0

2. ประชุมชี้แจงโครงการ วางแผนการดำเนินงาน และพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน

วันที่ 17 ตุลาคม 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

• ชี้แจงโครงการ และวางแผนการดำเนินงาน • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นกิจกรรมทางกาย วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2565 • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นมลพิษจากสิ่งแวดล้อม • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นยาสูบ วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2565 • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นความปลอดภัย ทางถนน • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นปัญหาสุขภาพ อุบัติใหม่ วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2565 • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นสุราและสิ่งเสพติด • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นสุขภาพจิต

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 • พัฒนาศักยภาพการทำแผน การพัฒนาโครงการ
และการติดตามประเมินผล ประเด็นอาหาร • สรุปแนวทางการดำเนินโครงการและจัดทำแผน การดำเนินงานระดับเขต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-คณะทำงานเข้าใจรายละเอียดโครงการ
-คณะทำงานเข้าใจเรื่องการทำแผน พัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผล ในแต่ละประเด็นมากขึ้น พร้อมทั้งได้ช่วยกันปรับตัวชี้วัดในแต่ละประเด็น -ได้แผนการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่

 

0 0

3. ร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ และร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) อ.หนองจิก อ.ยะหริ่ง อ.เมือง จ.ปัตตานี

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

• นายเศวต เพชรบุ้ย นายอำเภอเมืองปัตตานี รักษาราชการแทนปลัดจังหวัดปัตตานี เป็นประธานเปิดการประชุมฯ
• ดร.กลุทัต หงส์ชยางกูร และ ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ ชี้แจงโครงการฯ • พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ( MOU ) ระหว่าง 1.พชอ. อ.หนองจิก กับกองทุนตำบลในอำเภอหนองจิกจำนวน 13  กองทุน 2.พชอ. อ.ยะหริ่ง กับกองทุนตำบลในอำเภอยะหริ่ง จำนวน 9  กองทุน 3.พชอ. อ.เมืองปัตตานี กับกองทุนตำบลในอำเภอเมืองปัตตานี จำนวน 10  กองทุน • เสนอประเด็นปัญหาที่ พชอ. มีนโยบายในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

• เกิดการบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ จำนวน 32 กองทุน ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.หนองจิก อ.ยะหริ่ง และอ.เมือง จ.ปัตตานี โดยการทำ MOU • ได้กองทุนศูนย์เรียนรู้ จำนวน 22 กองทุน ประกอบด้วย 1. อำเภอหนองจิง 13 กองทุน ได้แก่ กองทุนเทศบาลตำบลบ่อท กองทุนเทศบาลตำบลหนองจิก กองทุนตำบลเกาะเปาะ กองทุนตำบลคอลอตันหยง กองทุนตำบลดอนรัก กองทุนตำบลดาโต๊ะ กองทุนตำบลตุยง กองทุนตำบลท่ากำชำ กองทุนตำบลบางตาวา กองทุนตำบลปุโละปุโย กองทุนตำบลลิปะสะโง กองทุนตำบลยาบี และกองทุนตำบลบางเขา และ 2. อำเภอยะหริ่ง 9 กองทุน ได้แก่ กองทุนตำบลตาลีอายร์ กองทุนตำบลตะโละกาโปร์ กองทุนตำบลปิยามุมัง กองทุนตำบลตาแกะ กองทุนตำบลหนองแรด กองทุนเทศบาลตำบลยะหริ่ง กองทุนเทศบาลตำบลตอหลัง กองทุนตำบลตะโละ และกองทุนตำบลตันหยงดาลอ
• ได้กองทุนขยายผลที่สมัครใจ จำนวน 10 กองทุน ในพื้นที่อำเภอเมืองปัตตานี ได้แก่ กองทุนตำบลบาราโฮม กองทุนตำบลปะกาฮะรัง กองทุนตำบลตะลุโบะ กองทุนตำบลตันหยงลุโละ กองทุนตำบลปูยุด กองทุนตำบลคลองมานิง กองทุนตำบลกามิยอ กองทุนเทศบาลตำบลรูสะมิแล กองทุนตำบลบานา และกองทุนตำบลบาราเฮาะ
• ได้พี่เลี้ยงทั้งหมด 12 ท่าน

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

4. อบรมเสริมทักษะการบริหารจัดการแผนงาน/โครงการ ด้านการเงิน การบัญชี กับ สสส.

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

สสส. อบรมทักษะการจัดการเเละวางเเผนงานด้านบัญชี เพื่อให้เกิดข้อตกลงเเละความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินงานการปฏิบัติงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้ปฏิบัติงานได้รับความรู้เเละความเข้าใจในการทำงานด้านการเงิน เเละบัญชีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลดีอย่างยิ่งในการดำเนินงานโครงการ

 

0 0

5. ประชุมหารือพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูล

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

• นักโปรแกรมเมอร์เสนอ website ระบบการจัดการบริหารกองทุนฯ ที่ใช้ในการพัฒนาแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ อุบัติเหตุทางถนน ขยะ PM2.5 และสุขภาพจิต
• นักโปรแกรมเมอร์เสนอ website/ Application การเก็บข้อมูลสถานการณ์แต่ละประเด็น •หารือเพื่อปรับปรุง website/ Application ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ website/ Application ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

  • photo
  • photo

 

0 0

6. ประชุมชี้แจงแจงเรื่องการเงินและพัสดุ โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชม

วันที่ 13 ธันวาคม 2565 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แนะนำการจัดทำเอกสารการเงินสำหรับพื้นที่เพื่อเบิกจ่าย • รายงานการขอซื้อหรือขอจ้าง • รายงานผลการพิจารณาและขออนุมัติสั่งซื้อ
• ใบสั่งซื้อ หรือ สั่งจ้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานรับรู้และเข้าใจการเบิกจ่าย

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

15 0

7. กิจกรรมทดสอบเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน

วันที่ 24 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทดสอบเครื่องมือการเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทราบข้อบกพร่องขอเครื่องมือและแนวทางการแก้ไขปรับปรุง ทำให้เครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชนเสถียรมากขึ้น

 

0 0

8. ประชุมหารือและเสนอความคิดเห็นเพื่อพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ในชุมชน

วันที่ 27 ธันวาคม 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ได้หารือเเนวทางในการปรับปรุงคู่มือ เเละข้อเสนอเเนะร่วมกันในการปฏิบัติงานในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แนวทางการพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ในชุมชน ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมในมติที่ประชุมถึงการเก็บข้อมูลชุมชน โดยในการเก็บข้อมูลจะมีพี่เลี้ยงเเละเเอดมินกองทุนที่สามารถมองเห็นจำนวนรายการที่ตอบกลับจากพื้นที่ในระบบได้เเละสามารถดูรายละเอียดการตอบกลับได้ทุกข้อ นอกจากนี้สมาชิกที่เพิ่มใหม่จะไม่สามารถเห็นข้อมูลส่วนกลางได้ เเต่สามารถมองเห็นแบบสอบถามในส่วนบุคคลได้เท่านั้น

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

9. อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือเพื่อเก็บเเละวิเคราะห์ข้อมูลสถานกาารณ์ชุมชน

วันที่ 11 มกราคม 2566 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินงาน
  2. อบรมการใช้เครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์ (วิธีการเข้าใช้, ขั้นตอนและกระบวนการเก็บข้อมูล, รายละเอียดข้อคำถาม, ข้อเสนอแนะจากการทดลองเก็บข้อมูลจริง)
  3. ทดลองทำแบบสอบถามทั้ง 3 ชุด
  4. แผนการเก็บข้อมูลของพื้นที่
  5. แผนการดำเนินงานของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พี่เลี้ยงกองทุนทุกเขตเข้าใจและได้ฝึกใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์ - แผนการเก็บข้อมูล: แบบสอบถามมี 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามระดับบุคคล แบบสอบถามระดับครัวเรือน และแบบสอบถามระดับชุมชน โดยการเก็บข้อมูลให้สำรวจแบบสอบถามระดับบุคคล 200 ตัวอย่าง สำรวจแบบสอบถามระดับครัวเรือน 100 ตัวอย่าง และสำรวจแบบสอบระดับชุมชน 1 ตัวอย่าง ซึ่งจะเก็บข้อมูล 2 รอบ ได้แก่ ก่อนดำเนินการ และหลังดำเนินการ โดยเริ่มเก็บข้อมูลจริง ในวันที่ 14 มกราคม -28 กุมภาพันธ์ 2566

  • photo 1955.png1955.png
  • photo 18.png18.png

 

0 0

10. ประชุมชี้เเจงแนวทางการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกลสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพขุมชน เเละลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เขต 10

วันที่ 15 มกราคม 2566 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ได้ลงนาม MOU กับกองทุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของเขต 10

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการชี้เเจงเเนวทางการดำเนินงาน พบผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานเเละการเเสดงความคิดเห็นของคณะทำงานไปในทิศทางเดียว ทั้งนี้เกิดผลดีในเเง่ของการปฏิบัติงานเเละการบันทึก (MOU) รวมกันตามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เขต 10

  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

11. การประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลเเละอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-พี่เลี้ยงทั้ง 13 เขต รายงานความก้าวหน้าของแต่ละเขต -พี่เลี้ยงแจ้งปัญหาและอุปสรรคในการลงเก็บข้อมูลในแต่ละเขตพื้นที่ -พี่เลี้ยงซักถามข้อสงสัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ทราบผลการดำเนินงานของพื้นที่ทั้ง 13 เขต พร้อมปัญหาและอุปสรรคจากการเก็บข้อมูลในแต่ละเขตพื้นที่ และได้ให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานในอนาคต

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

12. ประชุมหารือและเสนอความคิดเห็นเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ในการวิเคราะห์ผลข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 12:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-นำเสนอเว็บที่ปรับปรุงเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล -หารือเพื่อปรับเว็บไซต์ให้ใช้งานในการวิเคราะห์ แปลผล ได้ถูกต้อง และสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-คณะทำงานแต่ละเขตทราบวิธีการเข้าใช้งานเว็บไซต์ในการวิเคราะห์ผล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลสถานการสุขภาพชุมชน

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

13. ประชุมรายงานความก้าวหน้าและปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาเครื่องมือ

วันที่ 16 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-แต่ละเขตรายงานผลการเก็บข้อมูล ปัญหา พร้อมข้อเสนอแนะ -หาแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องของเครื่งอมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน และเว็บไซ๖์กองทุนให้สอดคล้องต่อการใช้งานมากขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทราบผลการเก็บข้อมูลของแต่ละพื้นที่ และเว็บไซต์ได้มีการปรับปรุงให้เหมะแก่การใช้งานมากยิ่งขึ้น

  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

14. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการจัดทำแผนและพัฒนาโครงการฯ

วันที่ 28 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-ทบทวนการเก็บข้อมูล : ปัญหา ข้อจำกัด -การใช้ข้อมูล : การวิเคราะห์ข้อมูล -ปัญหา/อุปสรรคจากการเก็บข้อมูล : แนวทางแก้ปัญหา -พัฒนาศักยภาพการทำแผน -พัฒนาศักยภาพการพัฒนาโครงการ -พัฒนาศักยภาพการติดตามประเมินผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทราบความก้าวหน้าการเก็บข้อมูลของแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ปัญหา
-คณะทำงานเข้าใจเรื่องการทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และติดตามประเมินผลมากยิ่งขึ้น -ได้แผนการดำเนินงานกับพื้นที่

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

15. ประชุมความก้าวหน้าการดำเนินงานพร้อมปัญหาและอุปสรรค

วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-รายงานผลดำเนินงานทั้ง 13 เขต - ปัญหาและอุปสรรคที่เจอ -การวางแผนงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

• พื้นที่เป้าหมายที่จะทำ MOU ได้ทำ MOU เรียบร้อยแล้ว ยกเว้น อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
• พื้นที่เป้าหมายเปลี่ยนแปลงบ้างในบางพื้นที่ แต่จำนวนพื้นที่เพิ่มมากกว่าที่กำหนดไว้ เนื่องจากพื้นที่เล็งเห็นความสำคัญจึงสนใจเข้าร่วมโครงการด้วย
• ทุกกองทุนเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชนเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการทำแผนเรียบร้อยแล้ว • หลายกองทุนอยู่ในช่วงพัฒนาแผนงานและโครงการ ซึ่งบางกองทุนทำ/ปรับแผนปี 2566 แต่บางกองทุนก็เตรียมทำแผนปี 2567 เลย

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

16. ประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำแผนและพัฒนาข้อเสนอโครงการฯ

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • พื้นที่รายงานความก้าวผลการดำเนินงาน
  • อบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนแผนและข้อเสนอโครงการผ่านเว็บไซต์กองทุน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • พื้นที่อยู่ในช่วงทำแผนและพัฒนาโครงการ แต่พบข้อบกพร่องในการเขียนแผนและพัฒนาข้อเสนอโครงการ ทีมกลางได้ให้แนวทางและคำแนะนำในการปรับปรุงเพื่อให้ได้แผนงานและโครงการที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

17. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบสุขภาพชุมชน พื้นที่เขตสุขภาพที่ 10

วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ทบทวนการทำงานเเละติดตามกระบวนการทำงานของพื้นที่
  • หารือเเนวทางในการทำงานร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้ผลลัพธ์ของงานในการติดตามงานจากผู้รับผิดชอบซึ่งมีผลที่ดีขึ้นตามลำดับ
  • เเนวทางในการปฏิบัติร่วมเป็นไปเเนวทางเดียวกัน
  • ชี้เเจงเป้าหมายการทำงานที่สามารถต่อยอดได้ในหน่วยงานอื่น
  • photo อุ1.jpgอุ1.jpg
  • photo อุ 4.jpgอุ 4.jpg
  • photo อุ2.jpgอุ2.jpg
  • photo อุ 5.jpgอุ 5.jpg

 

0 0

18. อบรมการพัฒนาโครงการและติดตามผลการดำเนินงานของพื้นที่

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • พื้นที่รายงานความก้าวผลการดำเนินงาน
  • อบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนข้อเสนอโครงการผ่านเว็บไซต์กองทุน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • พื้นที่อยู่ในช่วงทำแผนและพัฒนาโครงการ ปี 2566 แต่หลายพื้นที่ไม่สามารถพัฒนาโครงการในปี 2566 ได้ ก็ร่างแผนปี 2567 ไว้
  • การเขียนแผนและข้อเสนอโครงการที่บางพื้นที่ได้เขียนไว้ในเว็บยังมีข้อบกพร่องและต้องทบทวนเพื่อให้ได้แผนที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • photo 12....png12....png
  • photo 1213333.png1213333.png

 

0 0

19. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนผลการดำเนินโครงการ

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ทบทวนเป้าหมาย
  • ปัญหาและความกังวล
  • ข้อเสนอเเนะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พี่เลี้ยง - ต้องมีศักยภาพในการให้ความรู้เรื่องการเก็บข้อมูลสถานการณ์เพื่อมาทำแผน มีความรู้เรื่องการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการใช้เว็บไซต์ -มีเครือข่ายการทำงาน - มีเวลาและสม่ำเสมอในการลงทำงานกับพื้นที่
ผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง - การโยกย้ายของผู้บริหาร เช่น สาธารณสุขอำเภอ มีผลต่อกลไกการทำงาน - ความสัมพันธ์ส่วนตัวของผู้บริหารมีผลต่อการทำงาน เช่น สาธารณสุขอำเภอเป็นน้องของผู้ว่าฯ นายอำเภอเลยเกรงใจไม่กล้าสั่งสาธารณสุขอำเภอ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนที่เข้าร่วมโครงการ - หากมีการเปลี่ยนคนรับผิดชอบ/ คนเดิมโยกย้าย ก็จะส่งผลต่อความต่อเนื่องในการทำงาน เครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ - แบบสอบถาม บางข้อเข้าใจยาก
• แผนงานขยะ ข้อ 1 เข้าใจว่าต่อครัวเรือน • แผนงานยาสูบ ข้อ 4 เข้าใจว่าค่าใช้จ่ายทั้งชุมชน • แผนงานสิ่งเสพติด ข้อ 3 เข้าใจว่าค่าใช้จ่ายทั้งชุมชน - แบบสอบถามสำหรับชุมชน (ข้อมูลมือ 2) ควรระบุแหล่งข้อมูลไว้ให้ด้วยว่าจะเอาจากแหล่งไหน - คนเก็บแบบสอบถาม ไม่มีความรู้ในการเก็บ ต้องมีการ Training คนเก็บข้อมูลให้มีคุณภาพ พบ บางส่วนคนเก็บเป็นบุคคลากรของ อบต. บางส่วนเป็น อสม. บางส่วนให้ตอบเอง
- การกระจายของกลุ่มตัวอย่างแต่ละพื้นที่ แต่ละช่วงอายุ เว็บไซต์กองทุน - พื้นที่อยากให้ทีมกลางหารือกับ สปสช. เพื่อให้ใช้เครื่องมือ/ แฟตฟอร์ม (เว็บไซต์) แบบเดียว - พบบางกองทุนยังใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ แม้จะไม่ได้รับการหนุนเสริมจาก สสส./ ม.อ. แล้วก็ตาม กระบวนการดำเนินงาน - ระยะห่างในการลงพื้นที่/ ตามงานของพี่เลี้ยงลงพื้นที่ค่อนข้างห่างประมาณ 1-2 เดือน เพราะฉะนั้นเวลาลงแต่ละครั้ง ต้องเริ่มนับ 1 ใหม่ทุกครั้ง - ในการทำแผน ต้องมีกระบวนการวิเคราะห์ พี่เลี้ยงกับกองทุนต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ซึ่งถ้าเราไม่มีกระบวนการแบบนี้ความเข้มแข็งมันก็ไม่มี เช่น เอาข้อมูลสถานการณ์จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ ว่าข้อมูลที่เก็บมาใช้ได้เลยมั้ย น่าเชื่อถือมั้ย ถ้าไม่จะปรับยังไง ปรับเป็นเท่ารัย จากสถานการณ์ปัญหา จะตั้งเป้าหมายในแต่ละปีเท่ารัย แล้วควรดำเนินโครงการอะไรกับใครเท่ารัยบ้างถึงจะทำให้ตัวชี้วัดนั้นบรรลุวัตถุประสงค์

  • photo 44.png44.png
  • photo 43.png43.png
  • photo 42.png42.png
  • photo 41.png41.png

 

0 0

20. ประชุมหารือจัดตั้งทีมพี่เลี้ยงกองทุน กทม.

วันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • แจ้งวัตถุประสงค์ของโครงการ
  • กรอบการดำเนินงาน
  • แผนการสร้างทีมทำงานในพื้นที่กทม.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้พี่เลี้ยงหลักในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ กทม.
  • photo 12....png12....png
  • photo 1212.png1212.png

 

0 0

21. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

วันที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • รายงานการดำเนินงาน
  • นำเสนอการดำเนินงานเก็บข้อมูลในพื้นที่
  • ข้อเสนอเเนะ/อุปสรรค

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ประเด็นผู้สูงอายุในพื้นที่ ที่ได้รับความเดือดร้อน
  • ต้องการความร่วมมือของผู้นำชุมชนมากยิ่งขึ้น
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควให้ควาสำคัญยิ่งขึ้น
  • หาจุดเด่นถึงปัญหาเเละสิ่งที่ชุมชนต้องการเจอเพื่อนำมาต่อยอด
  • หาเเนวทางเเละวางเเผนการทำงานปี 2567
  • photo ปัตต55.jpgปัตต55.jpg
  • photo ปัต 546.jpgปัต 546.jpg
  • photo ปัตตานร 11.jpgปัตตานร 11.jpg
  • photo ปัตตานีท1.3.jpgปัตตานีท1.3.jpg
  • photo ปัตตานี.jpgปัตตานี.jpg
  • photo ปัตตานร 11.jpgปัตตานร 11.jpg

 

0 0

22. ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่และการทำแผนปี 67 (เขต 12) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

วันที่ 25 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทั้ง 13 กองทุน เสนอผลการดำเนินงานกองทุนปี 2566 และเสนอแผนงานโครงการ ปี 2567

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

• พชอ.หนองจิก มุ่งเน้นเน้นงานขยะ แผนงานกลุ่มเปราะบาง (ผู้สูงอายุ/ ผู้ด้อยโอกาส) แผนงานอุบัติเหตุทางท้องถนน - แผนงานขยะ ชาวบ้านขาดความรู้และการตระหนักในส่วนการจัดการขยะให้ถูกวิธี และการขาดความร่วมมือจากผู้นำในพื้นที่ ทั้งท้องถิ่น และผู้นำทางศาสนา นายอำเภอเล็งเห็นถึงความสำคัญในด้านขยะเป็นสิ่งสำคัญ จึงฝากถึงการจัดการขยะอย่างถูกต้อง โดยการฝังกลบ ทั้งนี้เป็นเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนเป็นอย่างมากในจำนวนขยะที่เพิ่มขึ้นและขาดวินัยในการจัดการอย่างตรงจุด
- แผนงานกลุ่มเปาะบาง (ผู้สูงอายุ/ ผู้ด้อยโอกาส) ในพื้นที่ อำเภอหนองจิก จำนวน 118 ราย ให้จัดสรรงบให้แก่กลุ่มเปาะบางอย่างทั่วถึงและเสริมสร้างกำลังใจให้แก่กลุ่มเปาะบางเหล่านี้ - แผนความปลอดภัยทางถนน มีการสำรวจจากหน่วยงานในพื้นที่ถึงการเกิดอุบัติเหตุทางถนน พบอุบัติเหตุแถวบ่อทอง ทางโค้ง ถนนลื่นบ่อยครั้งมาก ปัจจัยอีกอย่างคือขับเร็ว เมา
• ผลการดำเนินงานกองทุน ปี 2566
1. เทศบาลตำบลบ่อทอง - โครงการได้รับการผ่านอนุมัติ จำนวน 11 โครงการ - แผนปี 2567 ตั้งไว้ 5 โครงการ (เป็นโครงการของกองสธ. ส่วนโครงการของ รต.สต.และอื่นๆ ยังไม่ได้ลงรายละเอียด) 2. เทศบาลตำบลหนองจิก - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 14 โครงการ - เงินคงเหลือยกมา 5 หมื่นกว่าบาท
3. อบต. เกาะเปาะ - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 15 โครงการ - แผนโครงการที่จะดำเนินการในปี 2567 จำนวน 12 โครงการ
4. อบต. คอลอตันหยง - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 19 โครงการ
- เงินคงเหลือยกมา 98,688.62 บาท
- การประสานงานจากหน่วยงานที่ขอรับ เกิดความล่าช้าในการส่ง และการขับเคลื่อนดำเนินงาน
5. อบต.ดอนรัก - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 8 โครงการ 6. อบต.ดาโต๊ะ - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 9 โครงการ 7. อบต.ตุยง - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน  24 โครงการ
8. อบต.ท่ากำชำ - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 19 โครงการ 9. อบต.บางตาวา - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ 9 โครงการ
10. อบต.ปุโละปุโย - งบประมาณที่ใช้จำนวน 449,500 บาท - เงินคงเหลือยกมา จำนวน 365 บาท 11. อบต.ยาบี - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 9 โครงการ
12. อบต.บางเขา - โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 10 โครงการ

  • photo ตุลา 1.3.jpgตุลา 1.3.jpg
  • photo ตุลา.jpgตุลา.jpg
  • photo ตุลา 1.5.jpgตุลา 1.5.jpg
  • photo ตุลา 1.1.jpgตุลา 1.1.jpg

 

0 0

23. การติดตามผลการดำเนินงานของพื้นที่

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แต่ละเขตรายงานความก้าวหน้า (กิจกรรมที่ทำในรอบปีที่ผ่าน ผลผลิต/ผลลัพธ์ แผนการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรค)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

• เขต 1-6 - ทั้งหมด 90 กองทุน ใช้ทีมกลางและทีมพี่เลี้ยงเขตจังหวัด โดยวิธีการออนไซต์เป็นส่วนใหญ่
- พื้นที่ชัยนาท สรรคบุรี มีปัญหา เนื่องจากพี่เลี้ยง สสอ.โยกย้าย แต่กำลังให้คนใหม่ที่ย้ายเข้ามาศึกษาเรียนรู้ - การลงนาม MOU นายอำเภอนั่งเป็นประธานทุกแห่ง • เขต 7
- พัฒนาแผนปี 2567 อย่างเดียว เดือนธันวาคมจะให้แต่ละกองทุนมาร่วมประชุมเพื่อตรวจสอบข้อมูล - ปัญหา/ อุปสรรคที่พบ คือ การถอนตัวของกลไกคณะทำงาน การมีส่วนร่วมกลไกทุกภาคส่วน ความเข้าใจเรื่องระบบและการใช้ประโยชน์ และคุณภาพของโครงการที่พัฒนา - แนวทางการแก้ไข คือประชุมติดตามการทำงานทุกเดือน และมีระบบหลังบ้านในการตรวจสอบผ่านระบบ • เขต 8 - อำเภอเมืองสกลนคร เป็นพื้นที่กองทุนขยายผล 5 กองทุน ได้มีการพัฒนาโครงการในแผนกิจกรรมทางกาย 6 โครงการ แผนขยะ 3 โครงการ แผนยาสูบ 1 โครงการ แผนสารเสพติด 5 โครงการ แผนโภชนาการและอาหาร 5 โครงการ และแผนสุขภาพจิต 2 โครงการ - 20 ต.ค 66 มีการร่วมมือกับสมัชชาจังหวัดในการทำ MOU บูรณาการร่วมกัน
- ปัญหา/อุปสรรคที่พบ คือ การเข้าร่วมของพี่เลี้ยง ผู้บริหารในท้องถิ่นไม่มีส่วนร่วมในการทำงาน • เขต 9
- เป็นพื้นที่กองทุนขยายผล 5 กองทุน ได้มีการพัฒนาโครงการในแผนกิจกรรมทางกาย 5 โครงการ แผนขยะ 4 โครงการ แผนยาสูบ 1 โครงการ และแผนความปลอดภัยทางถนน 1 โครงการ - แผนปี 2567 อยู่ในช่วงระหว่างการดำนินการ
• เขต 10
- กองทุนศูนย์เรียนรู้ 22 กองทุน กองทุนขยายผล 10 กองทุน มีโครงการพัฒนา 335 โครงการ และโครงการผ่านการอนุมัติ 153 โครงการ • เขต 11
- อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เป็นกองทุนขยายผล 4 กองทุน ได้แก่ อบต.เกาะขัน แผนปี 2566 มี 6 โครงการ, อบต.ขอนหาด แผนปี 2566 มี 10 โครงการ แผนปี 2567 มี 6 โครงการ, อบต.วังอ่าง ทำแผนแต่ไม่มีโครงการ และเทศบาลตำบลชะอวดจะทำแผนปี 67 เพราะเข้ามาทีหลัง - ข้อจำกัด มองเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน
- ข้อดี เห็นการเชื่อมโยงของแผนงาน เห็นเป้าหมาย
• เขต 12 (จ.สงขลา) - จังหวัดสงขลา เป็นกองทุนขยายผล 10 กองทุน มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ 88 โครงการ - อุปสรรค คือเจ้าหน้าที่เขียนโครงการไม่สมบูรณ์
• เขต 12 (จ.พัทลุง) - จังหวัดพัทลุง มี 14 กองทุน เป็นกองทุนศูนย์เรียนรู้ 9 กองทุน กองทุนขยายผล 5 กองทุน
- ผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาผ่านเว็บ 11 กองทุน 103 โครงการ และโครงการผ่านการอนุมัติ 116 โครงการ
- กลไกขับเคลื่อน กองทุน 14 คน พื้นที่/ชุมชน 71 คน พี่เลี้ยง 8 คน
• เขต 12  (จ.ตรัง) - จังหวัดตรัง เป็นกองทุนขยายผล 5 กองทุน
- มีคณะทำงานร่วม 5 คน
- มีกิจกรรมการอบรมพํมนาศักยภาพ การติดตามประเมินผล
• เขต 12 (จ.ปัตตานี) กิจกรรมที่ทำ - กิจกรรม 1 ทำ MOU กับพื้นที่ ทั้ง 3 อำเภอ
- กิจกรรม 2 ประชุมทีมงานพี่เลี้ยงทั้ง 3 อำเภอ
- กิจกรรม 3 ประชุมพัฒนาแผนงานทั้ง 10 แผนงาน
- กิจกรรม 4 รายงานความคืบหน้าให้กับ พชอ. ทั้ง 3 อำเภอ ถึงการดำเนินงานของกองทุน
- กิจกรรม 5 ติดตามและประเมินศักยภาพกองทุน
- กิจกรรม 6 รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานตลอดทั้งปี 2566 ทั้ง 3 อำเภอ
ผลการดำเนินงาน - อำเภอหนองจิก 13 กองทุน มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ รวม 110 โครงการ จากแผนงานอาหาร 21 โครงการ แผนงานยาเสพติด 20 โครงการ แผนงานกิจกรรมทางกาย 20 โครงการ แผนงานอุบัติใหม่ 10 โครงการ แผนงานสุรา 5 โครงการ แผนงานบุหรี่ 5 โครงการ แผนงานสุขภาพจิต 9 โครงการ แผนงานความปลอดภัยทางถนน 4 โครงการ แผนงานขยะ 18 โครงการ และแผนงานมลพิษทางอากาศ PM2.5 1 โครงการ
- อำเภอยะหริ่ง 9 กองทุน มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ รวม 38 โครงการ จากแผนงานอาหาร 10 โครงการ แผนงานกิจกรรมทางกาย 8 โครงการ  แผนงานบุหรี่  2 โครงการ แผนงานสารเสพติด 2 โครงการ แผนงานสุขภาพจิต 1 โครงการ และแผนงานขยะ 7 โครงการ - อำเภอเมืองปัตตานี 10 กองทุน มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ รวม 38 โครงการ จากแผนงานอาหาร 3 โครงการ แผนงานกิจกรรมทางกาย 5 โครงการ แผนงานบุหรี่ 3 โครงการ แผนงานสารเสพติด 5  โครงการ แผนงานความปลอดภัยทางถนน 1 โครงการ แผนงานสุขภาพจิต 2 โครงการ และแผนงานขยะ 6 โครงการ สรุปจากโครงการที่ได้รับทุนแล้ว อนุมัติโดยคณะกรรมการแต่ละกองทุน
ประเด็นการขับเคลื่อนที่ พชอ. ให้ความสำคัญ - อำเภอหนองจิก มุ่งเน้นประเด็นขยะ กลุ่มเปราะบาง (ผู้สูงอายุ/ ผู้ด้อยโอกาส) อุบัติเหตุทางท้องถนน - อำเภอยะหริ่ง มุ่งเน้นประเด็นขยะ อาหารและโภชนาการเด็ก 1-5 ปี การตั้งครรภ์วัยรุ่น - อำเภอเมืองปัตตานี มุ่งเน้นประเด็นการดูแลกลุ่มเปราะบาง อนามัยเจริญพันธุ์ การตั้งครรภ์วัยรุ่น

  • photo เสื้อขาว.pngเสื้อขาว.png

 

0 0

24. ประชุมรายงานความก้าวหน้าและปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาเครื่องมือ

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • รายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ที่ผ่านมาของเขต 1-6
  • กระบวนการทำงานของกองทุน
  • ข้อเสนอแนะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

 ผลการดำเนินงานโครงการฯ ที่ผ่านมาของเขต 1-6 พื้นที่ดำเนินงาน
- เขต 1 และ 3 มีกองทุนศูนย์เรียนรู้ จำนวน 49 กองทุน                                                        - เขต 1-6 มีกองทุนสมัครใจ จำนวน 43 กองทุน
ภาพรวมการดำเนินงาน - เกิดแผนสุขภาพในภาพรวมของอำเภอ โดยเป็นแผนที่จำแนกตามประเด็นปัญหาที่เกิดจากแผนของกองทุนต่าง ๆ ในอำเภอ
- โครงการที่กองทุนสนับสนุนมีคุณภาพมากขึ้น
- สามารถสังเคราะห์ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้นจากแผนและการดำเนินโครงการ - สามารถติดตามการดำเนินโครงการได้อย่าง Real time
- สามารถทำรายงานผลการดำเนินงานและรายงานการเงินได้แบบ Real time - มีระบบคลังข้อมูล ที่สามารถเรียกดูได้ตลอดเวลาและรวดเร็ว  กระบวนการทำงานของกองทุน
การดำเนินงานของ อบต แม่ใส จ.พะเยา - เข้าร่วมโครงการรอบแรก ปี 61 มาดูกระบวนการ แผนงาน แผนเงิน และมีทีมพี่เลี้ยงที่คอยช่วยประกบงาน เรื่องศักยภาพของคน ค่อนข้างดีขึ้น เนื่องจากหลาย ๆ ฝ่ายเข้ามาช่วยกัน และปัจจุบันท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบหลักอย่างเต็มตัว และมองเห็นว่ากรรมการกองทุนมีความสำคัญแต่ไม่เท่ากับคนดำเนินโครงการ และเรื่องของชุดความรู้ก็มีความสำคัญ เจ้าหน้าที่ดูแลกองทุนก็อยู่ชั้นปฏิบัติการ จึงไม่ค่อนมีความรู้ แต่ปัจจุบันดีขึ้น คณะอนุทำงานทั้ง 3 ฝ่ายไม่เท่ากัน และเราต้องการคณะอนุฝ่ายติดตามการดำเนินผล ซึ่งไม่มี แต่เราพยายามที่พัฒนาให้ดีกว่าเดิม นอกจากนี้ที่เราเห็นว่าพี่เลี่ยงฝ่ายระบบวิชาการยังคงเป็นฐานสำคัญ
- ภาพสะท้อนจากคณะทำงาน มองว่าการทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพค่อยข้างที่จะควบคุมอยู่แล้ว และโครงการส่วนใหญ่อยู่ในกรอบของการให้ความรู้ ซึ่งจริง ๆ อยากทำให้แตกต่างจากการอบรมให้ความรู้แต่มีเรื่องงบประมาณเข้ามาเกี่ยวข้องจึงยากที่จะทำได้ ปัญหาคือ เรื่องการเบิกจ่ายและการเขียนโครงการเข้ามา เพราะเข้าไปให้ความสำคัญโครงการหมู่บ้านมากกว่า - อบต. แม่ใส เคยนำเสนอ ให้กรรมการกองทุนได้รับทราบและมีความเข้าใจ แต่ก็ทั้งหมดก็อยู่ที่คณะทำงานและต้องมีการเชื่อม
- อบต.แม่ใส มีการทำแผนที่แตกต่างอย่างไรจากที่อื่น คือ มีการนำคนมาฟังถึงกระบวนการ ทำให้ได้แผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม - อบต.แม่ใส ติดตามผลการดำเนินงานโดยใช้เวทีเปิด แลกเปลี่ยน แต่เขต 1-6 ทำได้แค่บางกองทุน
 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนกองทุน - การนำเสนอข้อมูลจากสถานการณ์เข้าสู่กองทุน เพื่อรองรับการทำงานวางแผนงาน - การให้กองทุนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำแผน
- ความเข้าใจเรื่องการติดตามประเมินผล ข้อเสนอแนะในการเขียนโครงการ - จะเชิญวิทยากรมาสอน ก่อนที่จะขอรับงบกองทุน รวมถึงการเขียนให้อยู่ในกรอบของระเบียบกองทุน - จัดทีมชุดติดตามการดำเนินผล เช่น กลุ่มอนุวิชาการมาหารือว่าเราจะทำอย่างไรต่อไป ในปีถัดไป
- ชุมชนเมืองแต่ทำงานยาก ทำอย่างไรให้คนเข้ามามีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะในการกำหนดและสนับสนุนงบประมาณของกองทุน - ใช้ข้อมูลสถานการณ์ในการตัดสินใจ เพื่อให้การสนับสนุน - เข้าใจเรื่องโครงการที่ดี ควรทำเป็นกระบวนการ เพื่อประกอบการพัฒนาให้ทุน - ดูจากขนาดปัญหาและความเร่งด่วนในการต้องการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่พบ
- สัดส่วนงบที่กองทุนมี - งบโครงการต่อเนื่องที่ขอรับสนับสนุนในปีที่ผ่านมา
ข้อเสนอแนะเว็บไซต์กองทุน
- อบต.บ้านตุ๋น มีเจ้าหน้าที่คนเดียวที่ดำเนินโครงการ เดิมเจ้าหน้าที่ลงข้อมูลในเว็บไซต์ทางท้องถิ่นอยู่แล้ว อยากให้เว็บไซต์ท้องถิ่นและเว็บไซต์กองทุนของทางทีม สนส. มีความสอดคล้องเชื่อมกัน
- เว็บไซต์หลักที่ใช้อยู่ของพื้นที่ค่อนข้างใช้งานง่ายอยู่แล้ว แต่เว็บไซต์ทาง สนส. มีความละเอียดมาก ยุ่งยากในการดำเนินการ เรื่องวัตถุประสงค์ (เป้าหมาย 1 ปี) ค่อนข้างยากที่ไปต่อ ต้องคิดวิเคราะห์เยอะ

  • photo พะเยา 114.jpgพะเยา 114.jpg
  • photo พะเยา 133.jpgพะเยา 133.jpg
  • photo พะเยา 11.jpgพะเยา 11.jpg
  • photo พะเยา.jpgพะเยา.jpg
  • photo พะเยา 11.jpgพะเยา 11.jpg

 

0 0

25. สรุปประชุมการดำเนินงาน พื้นที่สุขภาพเขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ปัญหา/อุปสรรค
  • ผลที่รับและการเรียนรู้
  • คุณค่าที่ได้จากการดำเนินงาน
  • ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ
  • แนวทางการพัฒนา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

 พื้นที่ดำเนินงาน เขต 10 มี 32 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนศูนย์เรียนรู้ 22 กองทุน (3 อำเภอ) กองทุนขยายผล 10 กองทุน  การดำเนินงานโครงการฯ 1.ประชุมระดับเขต ประชุมร่วมกับนายอำเภอ เพื่อชี้แจงการทำงานและความร่วมมือ 2.วางแผนการดำเนินงานโครงการ 3.มีการบันทึกความร่วมมือร่วมกัน เกิดความร่วมมือระหว่างบุคลากรท้องถิ่น (ปลัด เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ) บุคลากรทางผู้นำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) และบุคลากรด้านสุขภาพ (รพสต. อสม.) 4.พัฒนาแผน 5.ทำแผน พชอ. 6.เวทีจัดทำข้อเสนอ  ปัญหาอุปสรรค - บางพื้นที่ข้อมูลสถานการณ์ที่เก็บมาไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง - คณะทำงานระดับพื้นที่ทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง มีการโยกย้ายบ่อย ทำให้การพัฒนาศักยภาพไม่ต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจ - คณะทำงานมีเวลาว่างไม่ตรงกัน - เอกสารแบบฟอร์มในเว็บไซต์กองทุนตำบลยังไม่ตรงกับแบบฟอร์มของ สปสช. (สปสช.มีการปรับใหม่)  ตัวอย่างแผนและโครงการของกองทุน  กองทุนโนนสำราญ อ.กันทราลักษ์
โครงการขยะที่มีการบูรณาการกับบ้าน วัด โรงเรียน โดยการคัดแยกขยะ การนำขยะมาทำปุ๋ย ทำใน 8 หมู่บ้าน ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ รร. อบต. วัด วิธีการที่เหมะสมกับวิถีชีวิตและวิถีชุมชน การมีส่วนร่วมและการรับรู้ของคนในชุมชน อุปสรรค ประชาชนขาดจิตสำนึก/วินัย ทัศนคติ/แรงจูงใจของผู้บริหาร การบังคับใช้กฏหมาย งบประมาณท้องถิ่นมีจำกัด ที่ผ่านมาขาดการวางแผนเรื่องการจัดการขยะ  กองทุนกู่จาน อ.คำเขื่อนแก้ว
โครงการลดอุบัติเหตุทางท้องถนน (เนื่องกู่จานมีโค้งเยอะมาก) ผลจากโครงการ 1. เด็กและผู้ปกครองเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายจราจร มารยาทในการขับขี่
2. ลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนตามนโยบายของทางรัฐบาล
3. ประชาชนเกิดจิตสำนักในเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน  กองทุนสร้างถ่อ อ.เขื่องใน
- จัดทำแผน PM2.5 เนื่องจากพื้นที่มีการเผาฟางข้าว ช่วงเดือนพย.-เมย. ของแต่ละปี - อุบลเป็นพื้นที่เกษตร ทำนา จึงมีการเผา เพราะถ้าไม่เผาค่าไถจะคิดเพิ่ม ปัจจุบันจึงเริ่มมีการให้นำฟางไปอัดก้อนขาย ค่าอัด 13 บาท ขายได้ 35 บาท - มีการเก็บข้อมูล โดยทีม อสม.ที่ได้รับการฝึกอบรม - มีการนำข้อมูลสถานการณ์มาวิเคราะห์โดยทีมวิชาการจากอาจารย์ราชภัฏ หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
- มีการได้งบสนับสนุนจากแหล่งอื่น - มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการทบทวนข้อมูลสถานการณ์และจัดทำแผน ได้แก่ หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนงาน PM เช่น พพ. สำนักงานป่าไม้ อุตสาหกรรมจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
 กองทุนบก อ.โนนคูณ
โครงการกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ - คนเก็บข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ (อาจจะกรอกเองมั้ย) เลยมีการปรับข้อมูลเอง - โครงการมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี มีการสร้างไลน์กลุ่ม ติ๊กต็อกเผยแพร่กิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ ทำให้โครงการเกิดความยั่งยืน (แม้โครงการจบ แต่กิจกรรมยังอยู่ต่อ) - คนเข้าร่วมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เข้าร่วมกิจกรรมตลอดส่ำเสมอ เป็นแรงจูงใจให้คนอื่นๆเข้าร่วมโครงการด้วย (ตั้งไว้ 33 คน เข้าร่วม 50 คน) และแต่ละคนจะเอาของกินที่มีที่บ้านมาแบ่งปันกัน เช่น ผัก ผลไม้ - รู้จักเชื่อมโยงแผนงานในระบบ  กองทุนเหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ แผนงานผู้สูงอายุ - กิจกรรมโครงการเกิดการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมาย เช่น กิจกรรมการออกกำลัง นอกจากผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายแล้ว จะมีแม่ค้า หรือคนละแวกนั้นเข้าร่วมกิจกรรมด้วย
- ผู้สูงอายุในพื้นที่ติดสังคม - เป็นปีแรกที่ใช้ระบบกองทุน แต่ใช้ได้เต็มระบบ

  • photo อุบล 17.jpgอุบล 17.jpg
  • photo อุบล 15.jpgอุบล 15.jpg
  • photo อุบล 14.jpgอุบล 14.jpg
  • photo อุบล11.jpgอุบล11.jpg
  • photo อุบล 12.jpgอุบล 12.jpg
  • photo อุบล 13.jpgอุบล 13.jpg

 

0 0

26. ประชุมชี้แจงแนวทางการทำงานชองทีมประเมิน และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแบบสอบถามข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน

วันที่ 5 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • แนะนำคณะทำงานแต่ละเขต และพี่เลี้ยงกองทุน
  • แนะนำทีมประเมิน/และคณะทำงานส่วนกลาง
  • ชี้แจงกรอบความคิด
  • ชี้แจงปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ
  • ข้อเสนอแนะ
  • สรุปและผลที่ได้รับ
  • ข้อคำถาม/ปัญหา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ให้ทีมประเมินปรับเครื่องมือการประเมินให้สอดคล้องกับความต้องการของโครงการใหญ่
  • คณะทำงานจาก สนส.ม.อ.ปรับแบบสอบถามบางข้อให้เข้าใจง่ายขึ้น และระบุแหล่งเก็บข้อมูลสำหรับแบบสอบถามชุมชน ทั้งนี้จะมีการเก็บข้อมูลอีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2567
  • photo 5.11111.jpg5.11111.jpg
  • photo 5.33333.jpg5.33333.jpg
  • photo 5.222222.jpg5.222222.jpg
  • photo 5.6666.jpg5.6666.jpg
  • photo 5.4444.jpg5.4444.jpg
  • photo 5.11111.jpg5.11111.jpg

 

0 0

27. ประชุมความก้าวหน้าและพัฒนาแบบสอบถามทีมประเมิน

วันที่ 9 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ทีมประเมินเสนอเครื่องมือเก็บข้อมูล
  • ทีม สนส.ม.อ. ให้คำแนะนำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ให้ทีมประเมินปรับกรอบการประเมิน ดังนี้ กล่อง 1 ประสิทธิผลการดำเนินงานของทีมหลักระดับเขต 1. ท่านเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการ? 2. แต่ละเขตทำให้เกิดการบรรลุตัวชี้วัดตามที่กำหนดในโครงการหรือไม่ (ระบุตัวชี้วัดย่อย พชอ.ต้นแบบ) และการส่งผลงานตามงวด/ที่กำหนด
3. เกิดต้นแบบดีๆ ที่ไหน อย่างไรบ้าง แต่ละเขต พชอ.ดีๆ รูปแบบการบูรณาการกลไกตำบลและอำเภอ กล่อง 2 ประสิทธิภาพ ดู Input 1. คน –
a. พี่เลี้ยง (เขต จังหวัด อำเภอ ตำบล/กองทุน)
i. การวางกลไกการทำงาน workflow
ii. การสื่อสารภายในทีม
iii. การพัฒนาศักยภาพ สมรรถนะก่อน-หลัง การ coaching เรื่องสร้างเสริมสุขภาพ 10 ประเด็น  สถานการณ์สุขภาพ ความเข้าใจการทำแผน ทำโครงการ ติดตามประเมินผล (ประเด็นนี้ ประเมินทุกคน) b. กองทุนฯ (เจ้าหน้าที่ ผู้เสนอโครงการ (รพ.สต./ชาวบ้าน/....)) ศักยภาพ สมรรถนะก่อน-หลัง สถานการณ์สุขภาพ การเก็บข้อมูลสถานการณ์ ความเข้าใจการทำแผน ทำโครงการ ติดตามประเมินผล (สุ่มเลือก ให้ทีมพี่เลี้ยงช่วยประสาน/เลือก) i. กรรมการ ถามความร่วมมือในการทำงาน การอนุมัติแผน การติดตามประเมินผล 2. เครื่องมือ ได้แก่ คู่มือ เว็บไซต์ 3. กระบวนการทำงาน การออกแบบการทำงาน (1. แต่ละเขตมีการออกแบบการทำงานเหมือน/ต่างกันอย่างไร 2. กระบวนการทำงานของโครงการใหญ่สอดคล้องกับการทำงานในระดับพื้นที่อย่างไร)
4. งบประมาณ การจัดการด้านเอกสาร ความเสี่ยงด้านการเงิน การบริหารจัดการด้านการเงินเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คาดหวัง การบูรณาการงบกับแหล่งทุนอื่น หน่วยงานอื่น กล่อง 3 ถอดบทเรียน ปัญหา อุปสรรค ปัจจัยสนับสนุน

  • photo 9 มค 67.jpg9 มค 67.jpg
  • photo 9 มค 67 1.2.jpg9 มค 67 1.2.jpg
  • photo 9 มค 67 1.1.jpg9 มค 67 1.1.jpg

 

0 0

28. ประชุมติดตามประเมิน และรายงานความก้าวหน้าให้กับ พชอ. จ.พัทลุง

วันที่ 25 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 25 มกราคม 2567
- ทบทวนแผนงานกองทุนปี 2567
- ทบทวนโครงการปี 2567
วันที่ 26 มกราคม 2567
- ความก้าวหน้าโครงการที่พัฒนาโครงการที่อนุมัติโครงการที่ตอบสนองนโยบาย พชอ
- พัฒนาโครงการบริหารจัดการกองทุน
- วางแผน แบ่งงานเพื่อการดำเนินงานในกิจกรรมต่อ ๆ ไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ความสมบูรณ์ของแผนงาน ปี 2567 จำนวน 153 แผนงาน จาก 14 กองทุน
  2. โครงการที่พัฒนาผ่านเว็บ ปี 2567 เฉพาะ 10 แผนงานที่กำหนดในโครงการการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน  และ 2 แผนงานที่เป็นยุทธศาสตร์ พชอ.กงหรา รวมจาก 14 กองทุน จำนวน 129 โครงการ
  3. โครงการที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการปี 2567 เฉพาะ 10 แผนงานที่กำหนดในโครงการการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน รวมจาก 14 กองทุนจำนวน 30 โครงการ ส่วนที่อยู่ในแผนที่นอกเหนือเพราะเป็นยุทธศาสตร์ของ พชอ.กงหรา  13 โครงการ
  4. โครงการที่ตอบยุทธศาสตร์ พชอ.(ศรีนครินทร์) ที่ได้รับอนุมัติ

- แผนงานกิจกรรมทางกายจำนวน  7 โครงกร รวมงบประมาณ  97,000 บาท
- แผนงานอาหารและโภชนาการ จำนวน 2 โครงการ  รวมงบประมาณ  52,650 บาท 5. โครงการที่ตอบยุทธศาสตร์ พชอ.(กงหรา) ที่ได้รับอนุมัติ - แผนงานสุขภาพจิต จำนวน  0 โครงกร รวมงบประมาณ  0  บาท
- แผนงานผู้สูงอายุ จำนวน 2 โครงการ  รวมงบประมาณ  25,000 บาท - แผนงานโรคเรื้อรัง จำนวน 3 โครงการ  รวมงบประมาณ  35,000 บาท 6. พี่เลี้ยงกองทุน คณะทำงานระดับพื้นที่ที่ได้รับพัฒนาให้ใช้เว็บได้ 83 คน

  • photo สนส 444.jpgสนส 444.jpg
  • photo สนส.jpgสนส.jpg
  • photo สมนึก1.jpgสมนึก1.jpg
  • photo สนส 444.jpgสนส 444.jpg
  • photo สน่นย5.jpgสน่นย5.jpg
  • photo สน.jpgสน.jpg
  • photo สมนึก.jpgสมนึก.jpg
  • photo สมนึด.jpgสมนึด.jpg
  • photo สนส 4.jpgสนส 4.jpg
  • photo สนม.jpgสนม.jpg

 

0 0

29. อบรมเชิงปฏิบัติการการทำแผนอำเภอ

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • แนะนำการทำแผน การเลือกพื้นที่
  • การเก็บข้อมูลและสถานการณ์
  • การสร้างแผนอำเภอ ขั้นตอนการทำแผนอำเภอ / ต้องเป็นเทนเนอร์
  1. แผนอำเภอ กดแทบข้างล่าง สร้างแผนอำเภอ
  2. เลือกเมนูแบ่งบัน เพื่อเพิ่มเทนเนอร์ในการรับผิดชอบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ชี้แจ้งขั้นตอนการทำแผน
  • หารือปัญหาและหาข้อสรุป
  • photo 7.6.jpg7.6.jpg
  • photo 7.9.jpg7.9.jpg
  • photo 7.2.jpg7.2.jpg
  • photo 7.3.jpg7.3.jpg
  • photo 7.5.jpg7.5.jpg

 

0 0

30. ประชุมหารือการทำสื่อเสนอบทเรียนที่ดีจากการดำเนินโครงการ

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • หารือและวางแผนการจัดทำสื่อ VDO ในพื้นที่เขต 10

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พื้นที่ที่เลือกในการจัดทำสื่อ VDO นำเสนอบทเรียนที่ดีจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ พื้นที่เขต 10 อบต.สร้างถ่อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เนื่องจากเป็นพื้นที่กองทุนศูนย์เรียนรู้ต้นแบบที่มีความน่าสนใจ มีการทำ MOU ตั้งแต่เข้าร่วมโครงการในระยะแรก ประเด็นในพื้นที่ที่น่าสนใจ ได้แก่ ประเด็นมลพิษทางอากาศ ขยะ อาหาร ฯลฯ

  • photo ลล133.jpgลล133.jpg
  • photo ลล 1.jpgลล 1.jpg
  • photo ลล12.jpgลล12.jpg
  • photo ลล17.jpgลล17.jpg
  • photo ลล 1.jpgลล 1.jpg
  • photo ลล166.jpgลล166.jpg

 

0 0

31. อบรบเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการกองทุน

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ชี้แจ้งวัตถุประสงค์ และสิ่งที่ได้รับในการทำแผน
  • แผนที่ต้องการ อย่างน้อย 2 แผนต่อกองทุน และต้องได้ข้อเสนอนโยบายของกองทุน
  • อธิบายรายละเอียดการเขียนโครงการในเว็บกองทุน
  • สรุปติดตามการดำเนินผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การจัดการ – พัฒนา/แก้ไขปัญหา
1. สถานกาณ์ เรื่องนั้น
2. วางเป้าหมายให้บรรลุ 3. จะดำเนินการหรือวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร 4. ประเมินผลว่า บรรลุเป้าแล้วยัง แล้วทำไมบรรลุและไม่บรรลุ  ทั้งนี้ต้องมีปัจจัยนำเข้า
ชี้แจงการเขียนโครงการรายละเอียดในตัวโครงการ - รายงานกิจกรรม ผลการบันทึกกิจกรรม ดำเนินกิจกรรม บรรลุเป้าหมายตามกระบวนการทำงาน
- ฝึกการประเมินคุณค่าโครงการ - การติดตามและเปลี่ยนสถานะ ต้องเพิ่มและออกแบบรหัสโครงการ - ทำ  TOR ในระบบเป็นการทำอัตโนมัติ
- ประมวลการขอเบิก - รายงานฉบับสมบูรณ์อยู่ในเมนูกิจกรรม
การประเมินโครงการ - เพื่อตอบตัวชี้วัดเชิงปริมาณ - คนเข้าร่วม ได้รับความรู้และการเปลี่ยนแปลงไหม - แบบประเมิน มี  6 แบบ ทั้งวิเคราะห์ และคุณค่าโครงการ ** ทั้งนี้ต้องประเมินใช้วิธีที่ 5 สอบถามทั้งสองฝ่าย
ขั้นตอนการประเมินแบบที่ 5
1. ด้านที่ 1 โครงการมีนวัตกรรมใหม่ไหมในการพัฒนาส่งเสริมชุมชน 2. โครงการมีการปรับเปลี่ยนความเป็นอยู่ไหม 3. สุขภาวะทางปัญญา

  • photo 21.9.jpg21.9.jpg
  • photo 21.1.jpg21.1.jpg
  • photo 21.10.jpg21.10.jpg
  • photo 21.1.jpg21.1.jpg
  • photo 21.7.jpg21.7.jpg
  • photo 21.6.jpg21.6.jpg
  • photo 21.9.jpg21.9.jpg

 

0 0

32. อบรมการเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน

วันที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

• อบรมการเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน 1) การออกรหัสให้คนเก็บข้อมูล
2) การเก็บแบบสอบสำหรับบุคคล
3) การเก็บแบบสอบถามสำหรับครัวเรือน
4) การเก็บแบบสอบถามสำหรับชุมชน
• แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน • วางแผนการดำเนินงานในระยะถัดไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

• ผู้เข้าร่วมอบรมรู้แนวทางการเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน
o เก็บข้อมูลสถานการณ์สำหรับใช้ในการจัดทำแผนและพัฒนาโครงการในระดับท้องถิ่น/ชุมชน ใน 10 ประเด็น ได้แก่ กิจกรรมทางกาย ขยะ มลพิษทางอากาศ PM2.5 ยาสูบ สุรา สารเสพติด อาหาร สุขภาพ โรคอุบัติใหม่ และความปลอดภัยทางถนน
o เครื่องมือเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับบุคคล แบบสอบถามสำหรับครัวเรือน และแบบสอบถามสำหรับชุมชน โดยมีเจ้าหน้าที่กองทุนฯ/อสม./ผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้สอบถามข้อมูลตามแบบสอบถาม และบันทึกข้อมูล o รูปแบบการเก็บข้อมูล 1. แบบสอบถามสำหรับบุคคล เก็บข้อมูลรายบุคคลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน จำนวน 200 ชุดขึ้นไป โดยกำหนดจำนวนการเก็บข้อมูลจากประชาชนในแต่ละช่วงอายุ ดังนี้ ช่วงอายุ 5-15 ปี จำนวน 50 ชุดขึ้นไป ช่วงอายุ 16-25 ปี จำนวน 50 ชุดขึ้นไป ช่วงอายุ 26-64 ปี จำนวน 50 ชุดขึ้นไป อายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 50 ชุดขึ้นไป ทั้งนี้ ควรเก็บข้อมูลให้กระจายครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/พื้นที่ในชุมชน ตามสัดส่วนจำนวนประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน/พื้นที่ 2. แบบสอบถามสำหรับครัวเรือน เก็บข้อมูลจากหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนสมาชิกครัวเรือน (ครัวเรือนละ 1 ชุดเท่านั้น) จำนวน 100 ชุดขึ้นไป
ทั้งนี้ ควรเก็บข้อมูลให้กระจายครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/พื้นที่ในชุมชน ตามสัดส่วนจำนวนครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้าน/พื้นที่ 3. แบบสอบถามสำหรับชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่จากผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาล (รพ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเกษตรอำเภอ) และฐานข้อมูลออนไลน์ (เช่น คลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข) ชุมชนละ 1 ชุดเท่านั้น • กำหนดให้แต่ละกองทุนเก็บข้อมูลรอบที่ 2 ให้ครบตามจำนวนไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2567

  • photo ลลล.pngลลล.png
  • photo 19.4.7.jpg19.4.7.jpg
  • photo 19.4.2.jpg19.4.2.jpg
  • photo 19.4.6.jpg19.4.6.jpg
  • photo 19.5.jpg19.5.jpg
  • photo 19.4.jpg19.4.jpg

 

0 0

33. ประชุมติดตามการประเมินผล

วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

• รายงายผลการดำเนินงานการประเมินโครงการ • วางแผนการดำเนินงานในระยะถัดไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในงานประเมิน มีทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่
1. แบบสัมภาษณ์พี่เลี้ยงหลัก
กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้รับผิดชอบหลักตามโครงสร้างกลไกการบริการโครงการฯ (พี่เลี้ยงระดับเขต/จังหวัด) ทั้ง 13 เขตสุขภา 2. แบบสัมภาษณ์/สนทนากลุ่มสำหรับพี่เลี้ยงพื้นที่
กลุ่มผู้ให้ข้อมูล  คือ พี่เลี้ยงระดับอำเภอ และพี่เลี้ยงระดับกองทุน 3. แบบสอบถามประเมินศักยภาพ/สมรรถนะพี่เลี้ยง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ พี่เลี้ยงทุกคน ทุกระดับ (พี่เลี้ยงระดับเขต จังหวัด อำเภอ และกองทุน) ทั้ง 13 เขตสุขภาพ 4. แบบสอบถามประเมินศักยภาพ/สมรรถนะเครือข่ายกองทุน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ เครือข่ายกองทุน ประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุน เจ้าหน้าที่กองทุน ผู้เสนอโครงการกองทุน ในพื้นที่เขตสุขภาพทั้ง 13 เขต ณ ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูลจากเครื่องมือชุดที่ 3 และ 4
แผนการดำเนินงานการประเมินโครงการ วัน/เดือน/ปี เดิม วัน/เดือน/ปี ปรับ กิจกรรม
28 มีนาคม 2567 นัดพี่เลี้ยงระดับเขต ชี้แจงเครื่องมือประเมิน และแนวทางในการจัดเก็บข้อมูล 27-31 มีนาคม 2567 บัดนี้ ถึง กรกฎาคม 2567 เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ ชุดที่ 3 ,ชุดที่ 4 (รอบแรก) 1-6 เมษายน 2567 เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ ชุดที่ 3 ,ชุดที่ 4 (รอบตก) 7-24 เมษายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์
27-30 เมษายน 2567 นัดหมายกลุ่มเป้าหมายเพื่อ สนทนากลุ่ม (Focus groups) 1-7 พฤษภาคม 2567 สนทนากลุ่ม ในกลุ่มพี่เลี้ยงระดับเขต 8-22 พฤษภาคม 2567 สนทนากลุ่ม  ในกลุ่มพี่เลี้ยงระดับพชอ. (3 กลุ่ม) 23 –31 พฤษภาคม 2567 ดำเนินการถอดเทป ตรวจสอบความสมบูรณ์ของผลการศึกษา 1 มิถุนายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำร่างรายงาน 29 กรกฎาคม 2567 ส่งร่างรายงาน 2 กรกฎาคม 2567 1 สิงหาคม 2567 รายงานความก้าวหน้ารอบที่ 2
17-19 กรกฎาคม 2567 14-16 สิงหาคม 2567 จัดเวทีทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ กรกฎาคม-สิงหาคม 2567 - ทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ 13 สิงหาคม 2567 23 สิงหาคม 2567 ส่งร่างรายงาน สนส. 30 สิงหาคม 2567 30 สิงหาคม 2567 ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์

  • photo 3.5.1.jpg3.5.1.jpg
  • photo 3.5.jpg3.5.jpg

 

0 0

34. ประชุมวางแผนการทำสื่อนำเสนอบทเรียนที่ดี

วันที่ 12 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

*** พื้นที่และกิจกรรมที่นำเสนอ
- บางโครงการที่ สร้างถ่อ pm ไม่ประสบความสำเร็จ
การนำเสนอพื้นที่เด่น - หัวดอน ผู้สูงอายุ  มีโรงเรียนผู้สูงอายุ ทำร่วมกับ รพสต ในการฟื้นฟูร่างกาย มีการทำเครื่องออกกำลังกาย
- มีการคัดแยกขยะ และขายขยะ มีกองทุนส่งเสริมเรื่องการทำปาธนากิจ - สร้างถ่อ ขยะ กิจกรรมทางกาย  มีการนำขยะอินทรีย์ และส่งเสริมการออกกำลังกายมีการประกวดการกำจัดขยะในบ้านเรือน
- ยางขี้นก กิจกรรมทางกาย  ออกกำลังกายแต่ละหมู่
- สรุปที่เล็งเห็นว่าครบคือ หัวดอน
พรีพล
มีการ คัดเรื่องกลุ่มเป้าหมาย โดยเอาประเด็น พชอ ในอำเภอมาให้เป็นประเด็น
ประเด็นที่เป็น พชอ  คือการนำประเด็นแต่ละประเด็นมาขับเคลื่อน อย่างต่อเนื่อง จึงมีการผลักไปเป็นแผนพชอ ทั้ง 8 ประเด็น
- ยางขี้นก เด่นเรื่องกิจกรรมทางกาย
- สร้างถ่อ เด่นเรื่องผู้สูงอายุ เป็นธรรมนูฐ
** อยากให้นำเสนอการกระบวนการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-  อยากให้นัดทีมประชุม  เพื่อลงรายเอียด เช่น ต้องการข้อมูลประมาณไหนที่จะนำเสนอ
- นัดประชุมกับทีมพื้นที่ เพื่อประเมินพื้นที่ที่น่าสนใจ แบบเฉพาะเจาะจง -  หารูปธรรมเชิงคุณถาพ - หาเคสที่ทให้สภาพชีวิคคนในเขื่อนใน
รอบนี้ทีการจัดเก็บข้อมูลก่อน

  • photo 1718186508544_0.jpg1718186508544_0.jpg
  • photo 1718186535993.jpg1718186535993.jpg
  • photo 1718186552334.jpg1718186552334.jpg
  • photo 1718186535993.jpg1718186535993.jpg
  • photo 1718186520379.jpg1718186520379.jpg

 

0 0

35. ประชุมวางแผนการทำสื่อนำเสนอบทเรียนที่ดี

วันที่ 13 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • แนะนำพื้นที่
  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ ให้ขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ 10 ประเด็น
  • ชี้แนะแนวทางการนำเสนอ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ยางขี้นก)
  โครงการที่เน้นคือ การดูแลคุณภาพชีวติพี่น้องในพื้นที่ กว่า 4000 คน เน้นย้ำถึงการดูแลผู้สูงอายุ/เยาวชน  มี 4 องค์กรหลักในการขับเคลื่อนร่วมกัน
- เด็กและเยาวชน มีกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับโครงการรักโลก “โครงการปั่นรักษ์โลก” เป็นการปลูกฝังให้เยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ และสร้างเสริมรายได้ให้กับเด็กโดยอิงจากวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตที่ครอบครัวทำร่วมกัน โดยเน้นการปลูกฝังและการอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่เพื่อนำมาต่อยอดเป็นรายได้ภายในครอบครัว ทั้งนี้จุดเริ่มต้นเกิดจากการชักชวนของกลุ่ม อสม และเป็นผลที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลส่วนมาก แต่ในพื้นที่บ้านหนองใหญ่ ยังมีการปั่นจักรยานในพื้นที่ และเป็นวิธีที่เด็กทุกคนยังทำอยู่ สืบเนื่องจากการปลูกฝังจากผู้ใหญ่ในพื้นที่ที่อยากส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่เด็ก และยังอยากปลูกฝังการอนุรักษ์ธรรมชาติและการจัดการขยะในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการบูรณาการให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน
- วัยรุ่น/วัยกลางคน เน้นย้ำเรื่องกิจกรรมทางกาย มุ่งเน้นเรื่องการออกกำลังกาย การเต้นแอโรบิค - ผู้สูงอายุ เน้นเรื่องการออกกำลังกาย กายอุปกรณ์ และเป็นผลที่เกิดขึ้น 3 วัน/สัปดาห์ และมีการใช้กลไกผู้นำในการขับเคลื่อน นอกจากกิจกรรมทางกาย ยังมีการเน้นย้ำเรื่องการจัดการขยะ
พื้นที่อยากให้ช่วยเรื่องกิจกรรมทางกาย และการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย (สหธาตุ)
    โครงการที่เน้น คือ การจัดการขยะ  มีการทำกองทุนธนาคารขยะ โดยร่วมกัน 7 หมู่บ้าน และผลตัวชี้วัดคือ ไข้เลือดออกที่มีจำนวนผู้ป่วยวลดลง เนื่องจากขยะในพื้นที่จำนวนลดลง
ธนาคารขยะ มีการดำเนินงานมาระยะหนึ่งแล้ว และมีการรับซื้อขยะในทุกเดือน ทำให้หมู่บ้านสะอาดขึ้น
มีเกณฑ์ตัวชี้วัดในการให้คะแนน  5 ตัวชี้วัด
- บ้านต้องปลอดลูกน้ำยุงลาย - จัดการขยะภายใน ภายนอก - ไม่พบผู้ป่วยภายในบ้าน - เลี้ยงปลาห่างนกยูง - ปลูกพืชสวนครัว โดยต้องปลูกผักสวนครัวไม่น้อยกว่า 10 ชนิด
มีการแยกขยะ ภายในและภายนอก มีการจัดการขยะโดยตนเองไม่ต้องมีรถเก็บขยะ ทั้งนี้การประกวดโครงการขยะในครัวเรือน มีระยะเวลา 5 เดือนในการให้คะแนน (สร้างถ่อ)
    เน้นเรื่อง การจัดการขยะ เนื่องจากอบต. เจอปัญหาการจัดการขยะในหมู่บ้าน จึงมีการจัดการขยะโดยประชาชนในพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัด คือ 1. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2.คนในหมู่บ้านรู้จักการจัดการขยะภายในครัวเรือนมากขึ้น 3. มีการจัดการน้ำขังในหมู่บ้านหรือครัวเรือนโดยตนเอง     เรื่องการส่งเสริมผู้สูงอายุ เริ่มจากการสำรวจข้อมูลของผู้ที่เกษียณราชการแล้ว จึงมีการส่งเสริมบทบาทผู้สูงอายุและมีผลตอบรับดีจึงมีถึง 6 ชมรม ทั้งนี้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนแต่ละชมรม เพื่อหาข้อต่างแต่ละชมรม นอกจากนี้มีการส่งเสริมการแยกขยะให้แก่ผู้สูงอายุ โดยการแยกขยะและแยกและล้างถุงพลาสติก โดยมีแกนนำคือผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุในชมรม มีการให้กำลังใจกัน ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย สอดคล้องให้เห็นถึงการจัดการด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ จึงได้รับการสนับสนุนจากคนรุ่งใหม่เพื่อขับเคลื่อนชมรมและการส่งเสริมผู้สูงอายุต่อไป     กิจกรรมทางกาย มีการให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายตามกำลังของตน และมีกลุ่มอสม เข้ามาขับเคลื่อนให้เกิดผลที่ง่ายขึ้นโดยการผลิตเครื่องออกกำลังกายให้แก่ผลุ่มผู้สูงอายุให้ออกกำลังเหมาะสมตามวัย และสภาพร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการทำตารางเดนและกะลามะพร้าวมาปรับใช้ในการออกกำลังกายส่งเสริมด้านการทรงตัวของผู้สูงอายุโดยกิจกรรมทางกายในพื้นที่มีการนำการรำมาปรับใช้ในการทำกิจกรรมทางกายในทุกเดือน
(หัวดอน)
เป็นตำบลแรกที่ทำธรรมนูญตำบล และมีการทำเรื่องการสำรวจ PM 2.5 แต่เรื่องที่เด่นคือเรื่องผู้สูงอายุ (มีการขอข้อมูลเพิ่มเติมหลังประชุม)

  • photo 1718256963322.jpg1718256963322.jpg
  • photo 1718252884292.jpg1718252884292.jpg
  • photo 1718252932060.jpg1718252932060.jpg

 

0 0

36. ประชุมการดำเนินการพื้นที่เขต 10

วันที่ 18 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • กล่าวเปิดการประชุม โดยปลัด และนายกตำบลตระกาจ
  • อธิบายการดำเนินงาน/ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องแก้ไขหอยเชอรรี่ในพื้นที่
  • นำเสนอแหล่งสำคัญในพื้นที่ เช่น หอยเชอร์รี่
  • อธิบายแผนยุทธ์ศาสตร์ 8 ประเด็น ประเด็นที่จะให้พื้นที่นำเสนอ
  • มีการพัฒนาโครงการและแผนในโปรแกรมกี่แผนในปี 66 และ 67
  • โครงการที่ขอรับการสนับสนุนกี่โครงการ
  • โครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ได้ผลอะไรจากชุมชนบ้าง สรุปบทเรียนที่ได้รับการเรียนรู้อะไร มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การแก้ไขปัญหาหอยเชอร์รี่จำนวนมาก วันละ 7 /ตัน ของบ้านตระกาจ
- กระถางปลูกต้นไม้ที่แปรรูปจากหอยเชอร์รี่ - ทำเครื่องปั้นดินเผา
- ทำดินปลูกผงที่แปรรูปจากหอยเชอร์รี่ - ถนนที่ทำจากการแปรรูปจากหอยเชอร์รี่ มาเป็นส่วนผสมหลัก - ทำอิฐจากหอยเชอร์รี่ ปัจจุบันจำนวนหอยเชอร์รี่มีจำนวนลดลง เหลือเพียง 5000 ตัน

  • photo อุบลราว.jpgอุบลราว.jpg
  • photo อุบลรวม 1.jpgอุบลรวม 1.jpg
  • photo อุบล 5.jpgอุบล 5.jpg
  • photo อุบลรวม.jpgอุบลรวม.jpg
  • photo อุบล...jpgอุบล...jpg
  • photo อุบล 2..jpgอุบล 2..jpg
  • photo อุบล 1.3.jpgอุบล 1.3.jpg
  • photo อุบล 10.jpgอุบล 10.jpg
  • photo อุบล 9.jpgอุบล 9.jpg
  • photo อุบล 8.jpgอุบล 8.jpg
  • photo อุบล 11.jpgอุบล 11.jpg
  • photo อุบล 7.jpgอุบล 7.jpg
  • photo อุบล 3.jpgอุบล 3.jpg
  • photo อุบล 9.jpgอุบล 9.jpg
  • photo อุบล 13.jpgอุบล 13.jpg
  • photo อุบล 12.jpgอุบล 12.jpg

 

0 0

37. ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามการสรุปงานโครงการจังหวัดพัทลุง

วันที่ 9 กรกฎาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • อธิบายความเป็นมาโครงการ / วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
  • ชี้แจงกลไก พชอ และแนวทางการทำงาน
  • สรุปโครงการ และกระบวนการ
  • กระบวนการ ถอดบทเรียน ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ปัจจัยความสำเร็จ ข้อจำกัด ข้อเสนอแนะ และผลผลิต/ผลลัพธ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

(อำเภอศรีนครินทร์) ปี 66 เขียนอนุมัติ 84 อนุมัติ 80 ปี 67 เขียนอนุมัติ 90 อนุมัติ 79
(อำเภอกงหรา) ปี 66 ขออนุมัติ 251 อนุมัติ 281 (มีโครงการขอผ่านกระดาษ) ปี 67 ขออนุมัติ 286 อนุมัติ 240 (ไม่พบโครงการขอผ่านกระดาษ) (กลไกการทำงาน) พี่เลี้ยงกองทุน                                  พี่เลี้ยงจังหวัด                                      ผู้ประสานงาน - ดูแลผลลัพธ์                        -  ดูแลพี่เลี้ยงดูแลผลลัพธ์กองทุน            -  วางแผนและบริหารกิจกรรม/ผลลัพธ์ - แนะนำพัฒนาผู้ขอรับทุน          -  ประสานงานระดับอำเภอละ 1 คน        -  ประสานกลไกระดับเขต - เสนอแนะแก่คณะทำงาน          -  ยกระดับพัฒนาเป็นวิทยากรทุกคน ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ปัจจัยความสำเร็จ ข้อจำกัด ข้อเสนอแนะ และผลผลิต/ผลลัพธ์ (อำเภอกงหรา) ปัจจัยนำเข้า คน และมีการแต่งตั้งคณะ งบประมาณ กระบวนการ - คณะกรรมการมีการเอาระเบียบมานั่งทำความเข้าใจรวมกัน และต้องมีฐานความรู้ - การไปดูงานที่อื่นแล้วมาปรับใช้ - มีการลงปฏิทิน - มีแผนของการดำเนินของหลักสุขภาพกองทุน
ปรับต่าง ** มีการสอนการเขียนโครงการผ่านระบบ ปัจจัยความสำเร็จ - คณะกรรมการ มีส่วนสำคัญ

ข้อจำกัด - มีการปรับข้อจำกัดในการเข้าถึง
- การประชาสัมพันธ์ที่ไม่ทั่วถึง ข้อเสนอแนะ
- การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีความหลากหลายแก่ผู้รับทุน ปรับต่าง  **มีการประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น ผลลัพธ์/ผลผลิต - การเขียนโครงการไม่กระจาย - ประชาชนรู้ข่าวสารมากขึ้น - มีการขอรายงานผ่านระบบที่เพิ่มขึ้น (อำเภอศรีนครินทร์) ชุมพล บางนา และอ่างทอง ปัจจัยนำเข้า คน งบประมาณ และการบริการจัดการ กระบวนการดำเนินงาน - จัดอบรมให้ความรู้
- ติดตามความก้าวหน้าโครงการ - มีการประชุมคณะกรรมการทุกเดือน
ปัจจัยความสำเร็จ - ผู้บริหารให้ความสำคัญ - ผู้ขอรับทุนสามารถดูได้ในเว็บ - มีการขอทุนในหลากหลายกลุ่ม
- มีกลุ่มที่ของบเพิ่มขึ้น - มีการดูแลและพัฒนาขึ้น
ข้อเสนอแนะ - มีการประชาสัมพันธ์เรื่องการขอรับทุนที่เพิ่มขึ้น ผลผลิต - ใช้งบประมาณที่เหมาะสม
- มีความสำเร็จในการโครงการ - มีโครงการที่ตามแผนแต่ละพื้นที่ ประเด็นพชอ.ในพื้นที่ มีการขับเคลื่อนประเด็น PA และอหารที่เป็นผลเห็นชัด (อำเภอควนขนุน)
ชะม่วง นายาง บ้านสวน
ปัจจัยนำเข้า คน :  ภาษีเครือข่าย สตรี ผู้สูงอายึ อสม เจ้าหน้าที่กองทุน
                งบ : สสส งบ อบจ กองทุนหมู่บ้าน                 การบริหารจัดการ
กระบวนการทำงาน - มีการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง - พี่เลี้ยงจังหวัดมีการให้ความรู้แก่ผู้รับทุน - มีการเขียนโครงการ - มีการประเมินโครงการ - เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลในกองทุน - อนุกรรมการคัดกรอง - มีการสื่อสารในตำบล ปัจจัยสำเร็จ - ผู้นำเข้มแข็ง - เจ้าหน้าที่ได้มีการพัฒนาตลอด - โครงการในเว็บ 100 % ข้อจำกัด - ความขัดแย้งภายใน - มีการเตรียมและกระจายความรู้ที่เพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะ - อธิบายการทำงานอย่างเข้าใจ ผลผลิต - คณะกรรมการได้รับการพัฒนาที่เพิ่มขึ้น - มีการพัฒนาเยอะ - มีการเข้าถึงแก่ผู้ขอทุน

  • photo งาน พท .8.jpgงาน พท .8.jpg
  • photo งานพท .3.jpgงานพท .3.jpg
  • photo งาน พท 4.jpgงาน พท 4.jpg
  • photo งานพ.ท.jpgงานพ.ท.jpg
  • photo งาน พท .9.jpgงาน พท .9.jpg
  • photo งาน พท .7.jpgงาน พท .7.jpg
  • photo 9.7.8.jpg9.7.8.jpg
  • photo 9.7.9.jpg9.7.9.jpg
  • photo 9.7.jpg9.7.jpg
  • photo 9.7.3.jpg9.7.3.jpg
  • photo 9.7.4.jpg9.7.4.jpg
  • photo 9.7.5.jpg9.7.5.jpg

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
ตัวชี้วัด : ได้กองทุนฯ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต) จำนวน 80 กองทุน (อย่างน้อย 5 อำเภอ)
80.00

 

2 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
ตัวชี้วัด : กองทุนฯ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้มีโครงการสร้างเสริมสุขภาวะที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ (ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต) ที่ผ่านการพิจารณาและได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ รวมอย่างน้อย 500 โครงการ
500.00

 

3 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาทลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
ตัวชี้วัด : พี่เลี้ยงที่มีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการของกองทุนฯ รวม 130 คน
130.00

 

4 2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
ตัวชี้วัด : ขยายผลไปยังกองทุนฯ อื่นโดยความสมัครใจ จำนวน 100 กองทุน
100.00

 

5 2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
ตัวชี้วัด : กองทุนขยายผลมีแผนงานอย่างน้อย 1-2 แผนงานต่อกองทุน และมีโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ รวมอย่างน้อย 150 โครงการ
150.00

 

6 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
ตัวชี้วัด : ได้คู่มือการจัดทำแผนและพัฒนาโครงการ ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย เหล้า บุหรี่ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต จำนวน 8 ชุด
8.00

 

7 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
ตัวชี้วัด : ได้ website ระบบการจัดการบริหารกองทุนฯ ที่ใช้ในการพัฒนาแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต จำนวน 1 ระบบ
1.00

 

8 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
ตัวชี้วัด : ได้รูปแบบการบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อย่างน้อย 5 อำเภอ
5.00

 

9 1. ได้กองทุนฯ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต) จำนวน 80 กองทุน (อย่างน้อย 5 อำเภอ)
ตัวชี้วัด : ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายในการยกระดับศักยภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และได้ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบูรณาการการดำเนินงานระหว่างกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (2) 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (3) 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาทลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (4) 2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (5) 2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (6) 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ    2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (7) 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ  2. เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ทั้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (8) 1. เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (9) 1. ได้กองทุนฯ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต) จำนวน 80 กองทุน (อย่างน้อย 5 อำเภอ)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน (2) ระชุมชี้แจงโครงการ วางแผนการดำเนินงาน และพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน (3) ร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ และร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  อ.หนองจิก อ.ยะหริ่ง อ.เมือง จ.ปัตตานี (4) อบรมเสริมทักษะการบริหารจัดการแผนงาน/โครงการ ด้านการเงิน การบัญชี (5) ประชุมหารือพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูล (6) ประชุมชี้แจงแจงเรื่องการเงินและพัสดุ โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชม ผ่านระบบ ZOOM (7) กิจกรรมทดสอบเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน (8) ประชุมหารือและเสนอความคิดเห็นเพื่อพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์ในชุมชน (9) อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือเพื่อเก็บเเละวิเคราะห์ข้อมูลสถานกาารณ์ชุมชน (10) ประชุมชี้เเจงแนวทางการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกลสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพขุมชน เเละลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  เขต 10 (11) รายงานความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุข ภาวะระดับตำบลและอำเภอ ทั้งกองทุนศูนย์เรียนรู้และกองทุนขายผล (12) การประชุมหารือและเสนอความคิดเห็นเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ในการวิเคราะห์ผลข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน ผ่านระบบ ZOOM https://zoom.us/j/9019029101 (13) ประชุมรายงานความก้าวหน้าและปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาเครื่องมือ (14) ประชุมรายงานความก้าวหน้าและปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาเครื่องมือ (15) ประชุมความก้าวหน้าการดำเนินงานพร้อมปัญหาและอุปสรรค (16) ประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำแผนและพัฒนาข้อเสนอโครงการฯ (17) ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบสุขภาพชุมชน พื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 (18) อบรมการพัฒนาโครงการและติดตามผลการดำเนินงานของพื้นที่ (19) ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนผลการดำเนินโครงการ (20) ประชุมหารือจัดตั้งทีมพี่เลี้ยงกองทุน กทม. (21) ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (22) ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่และการทำแผนปี 67 (เขต 12) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี (23) ประชุมรายงานความก้าวหน้าและปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาเครื่องมือ (24) สรุปประชุมการดำเนินงาน พื้นที่สุขภาพเขต 10  จังหวัดอุบลราชธานี (25) ประชุมชี้แจงแนวทางการทำงานชองทีมประเมิน และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแบบสอบถามข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน (26) ประชุมความก้าวหน้าและพัฒนาแบบสอบถามทีมประเมิน (27) ประชุมติดตามประเมิน  และรายงานความก้าวหน้าให้กับ พชอ. จ.พัทลุง (28) อบรมเชิงปฏิบัติการการทำแผนอำเภอ (29) ประชุมหารือการทำสื่อเสนอบทเรียนที่ดีจากการดำเนินโครงการ (30) อบรบเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการกองทุน (31) ประชุมติดตามประเมินผลและรายงานความก้าวหน้าให้กับ พชอ.พัทลุง (32) ประชุมติดตามการประเมินผล (33) อบรมการเก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชน (34) ฮ (35) ประชุมวางแผนการทำสื่อนำเสนอบทเรียนที่ดี (36) ประชุมวางแผนการทำสื่อนำเสนอบทเรียนที่ดี (37) ประชุมการดำเนินการพื้นที่เขต 10 (38) ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามการสรุปงานโครงการจังหวัดพัทลุง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ จังหวัด

รหัสโครงการ 65-10011

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด