ชื่อโครงการ | โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จ.พัทลุง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้กลาง |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 31 กรกฎาคม 2562 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 200,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเทพรัตน์ จันทพันธ์ |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | กลุ่มข้าวภูผา ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด , กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นบ้านนาปะขอ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว , กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวสังข์หยด ตำบลตำนาน อำเภอเมือง , ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านควนกุฎ ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง,กลุ่มผู้ผลิตข้าวซ้อม |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
พัทลุง | place directions |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2561 | 30 ต.ค. 2561 | 1 ก.พ. 2561 | 31 ก.ค. 2562 | 100,000.00 | |
2 | 1 พ.ย. 2561 | 28 ก.พ. 2562 | 90,000.00 | |||
3 | 1 มี.ค. 2562 | 30 เม.ย. 2562 | 10,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 200,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การขับเคลื่อนงานในปีที่ผ่านมาโดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์ โดยชุดคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่มเติมจากสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส. มอ.) ภายใต้ “โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มีประสิทธิภาพ โดยดำเนินกิจกรรมจัดการข้อมูลข้าวจังหวัดพัทลุงตั้งแต่ต้นน้ำ - ปลายน้ำของการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยเฉพาะการทำ Mapping และนำแผนยุทธศาสตร์ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้เข้าร่วมในกระบวนการระดมความคิดเห็นทั้งหมด 376 คน จาก 9 กลุ่มเครือข่าย 21 หน่วยงาน) ส่งผลให้ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงมีความสมบูรณ์ มากขึ้น
ผลการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวทำให้ได้ข้อมูลข้าวจังหวัดพัทลุงโดยการทำ Mapping การกำหนดเป้าหมายหรือ ภาพอนาคตการจัดการข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง การจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง เกิดกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2562 – 2566 จากผลดังกล่าวจะทำให้แผนยุทธศาสตร์เกิดผล สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรมต้องเริ่มจากเกษตรกรที่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรเพื่อสร้างการเรียนรู้ ซึ่งจังหวัดพัทลุงก็เป็นหนึ่งในหกของจังหวัดนำร่องด้านเกษตรปลอดภัย โดยพื้นฐานจังหวัดพัทลุงเป็นเมืองอู่ข้าวของภาคใต้ โดยมีรายได้จากการผลิตและแปรรูปข้าวเป็นอันดับสาม รองลงมาจากยางพาราและปศุสัตว์ ดังการไปถึงเป้าหมายเมืองเกษตรปลอดภัย ในด้านการผลิตและการแปรรูปข้าวจำเป็นต้องพัฒนาด้านมาตรฐานการเกษตรอินทรีย์ให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การขับเคลื่อนกระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems – PGS) ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในการดำเนินงาน เพื่อรองรับความต้องการของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน สร้างอัตลักษณ์ของข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง โดยกระบวนการมีส่วนร่วม อันจะนำไปสู่พัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนต่อทั้งตัวเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | การพัฒนามาตรฐานรับรองข้าวอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมจังหวัดพัทลุง (Phatthalung organic PGS)
|
||
2 | การติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์พัทลุง
2.1 เพื่อพัฒนาระบบการรับรองข้าวอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมจังหวัดพัทลุง
2.2 เพื่อพัฒนาระบบตลาดแบบสมาชิกที่สนับสนุนโดยชุมชน (Community Supported Agriculture : CSA )ระหว่างกลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงกับกลุ่มผู้บริโภค
|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2561 10:35 น.