สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ งานสื่อกองทุนฯจังหวัดสุราษฎร์ธานี ”

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หัวหน้าโครงการ
นายอานนท์ มีศรี

ชื่อโครงการ งานสื่อกองทุนฯจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่อยู่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี

รหัสโครงการ 65-0036 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"งานสื่อกองทุนฯจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
งานสื่อกองทุนฯจังหวัดสุราษฎร์ธานี



บทคัดย่อ

โครงการ " งานสื่อกองทุนฯจังหวัดสุราษฎร์ธานี " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสโครงการ 65-0036 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2565 - 31 ตุลาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 0.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการออกแบบและวางแผนเพื่อการสื่อสาร
  2. ผลิตงานสื่อสารเพื่อสนับสนุนงานขับเคลื่อน Onair , Online , Onground
  3. ประชุมคณะทำงานเพื่อการวางแผนการดำเนินงานและวางแผนเพื่อการสื่อสาร
  4. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อ เพื่อการวางแผนการดำเนินงานและการมอบหมายภารกิจงาน
  5. เวทีขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับทีม สนส. และทีมประเมิน
  6. เวทีบูรณาการกลไกความร่วมมือนวัตกรรมทางสังคมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี Kick off กลไกความร่วมมือ กองทุนจังหวัด จ.สุราษฎร์ธานี
  7. ประชุมการวางแผนการขับเคลื่อนประเด็นความความมั่นคงทางมนุษย์เพื่อการเชื่อมโยง กขป.เขต 11สุราษฎร์ธานี
  8. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อเพื่อสร้างความเข้าใจการนำข้อมูลลงเว็บไซต์
  9. เวทีสร้างเครือข่ายสื่อเพื่อขยายเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
  10. ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปแผนการดำเนินงานสื่อสาร
  11. เวทีชี้แจงการขอรับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานเพื่อการวางแผนการดำเนินงานและวางแผนเพื่อการสื่อสาร

วันที่ 2 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงกรอบการทำงานและพื้นที่ดำเนินงานร่วมกับทีมขับเคลื่อน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
1. ได้แผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนประเด็นสื่อสารสาธารณะ  ประเด็นที่รับผิดชอบ และพื้นที่ดำเนินงานได้แก่ - ความมั่นคงทางอาหาร กับการร่วมสร้างพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน พื้นที่รับผิดชอบ จ. สุราษฎร์ธานี , จ.กระบี่ , จ.พัทลุง - ความมั่นคงทางมนุษย์  กลไกสุขภาพ จังหวัด , ตำบล และ พชอ. พื้นที่รับผิดชอบ จ.พัทลุง  อ.เมือง  จ.สุราษฎร์ธานี กลไกกองทุนจังหวัด  กลไกกองทุนตำบล ทุ่งไสไซ จ.กระบี่ พชอ. อ.เมือง จ.กระบี่ 2. รูปแบบของการสื่อสารที่เหมาะสม ได้คนรับผิดชอบ Platform เพื่อที่จะใช้สื่อสารร่วมกันและสาธารณะจะได้รับรู้และเข้ามาติดตาม Platform Online มีดังนี้ - Page fb  เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์งาน สถานที่ดำเนินงาน และงานข่าวสารของแต่ละพื้นที่ - YouTube เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ใช้เพื่อการลงวีดีโอ งานบันทึกย้อนหลัง - เวปไซต์ www.สื่อสร้างสุขภาคใต้.com ใช้เพื่องานบันทึกข้อมูลข่าวสาร งานข่าว เอกสารเพื่อการ Download ภาพกิจกรรมของเครือข่าย ผลลัพธ์ : ได้ผู้รับผิดชอบด้าน IT เป็นเป็น เวปไซต์ www.เครือข่ายสื่อภาคใต้.com page เครือข่ายสื่อภาคใต้ YouTube เครือข่ายสื่อภาคใต้ และวิธีการนำเนื้อหาลงสื่อสารใน Plat form

  • photo
  • photo

 

9 9

2. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อ เพื่อการวางแผนการดำเนินงานและการมอบหมายภารกิจงาน

วันที่ 7 สิงหาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นการประชุมผ่านระบบ ZOOM  ทั้ง 5 พื้นที่ โดยสรุปเป็นการแลกเปลี่ยนการดำเนินกิจกรรมงานสื่อสารของแต่ละพื้นที่ และการวางแผนการออกแบบเพื่อการสร้าง platform กลาง สำหรับงานสื่อสารของแต่ละพื้นที่ นอกจากนั้นยังมีการวางแผนการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเพื่อยกระดับงานปฏิบัติการสื่อสารด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนกับผู้ที่ชำนาญการใช้สื่อสารยุคใหม่ที่เกิดผลลัพธ์และสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มีประสิทฺธิผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต :
1. แนวคิดออกแบบและการสร้าง Platform ออนไลน์เพื่อการนำเสนอเนื้อหาเพื่อการสื่อสารกับประเด็นงานที่ขับเคลื่อน platform ที่ได้หารือร่วมกัน
- เพจเครือข่ายสื่อภาคใต้ต้องมีการแชร์ข้ามเพจเพื่อเป็นการทำงานร่วมกัน มี ธันยพร  แก้ววิหก เป็นผู้ดูแล
- เว็บไซต์ เว็บไซต์ www.สื่อสร้างสุขภาคใต้.com  อ.สมชิต  บัวทองจันทร์ เป็นผู้ดูแล มีเนื้อหาต่อเนื่องจากงานสร้างสุขปีที่แล้ว มีข้อมูลแต่ละประเด็น เป็นตัวจัดเก็บข้อมูลและอัพเดตที่เป็นปัจจุบัน
- You Tube จะเป็นในส่วนของการแชร์วิดีโองานที่เป็นปัจจุบัน แต่มีส่วนของข้อมูลเก่าที่ต้องรื้อออกเพื่อการอัพเดตที่เป็นปัจจุบัน อานนท์  มีศรี เป็นผู้ดูแล     YouTube เครือข่ายสื่อสร้างสุขจังหวัดกระบี่ (คุณธรรมดิวิชย์  ศรีรุ้ง/คุณฐิติชญาน์  บุญโสม)  การสื่อสารเป็นโมเดลต้นแบบมีการขับเคลื่อนเรื่องความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติบูรณาการกับการป้องกันภัยพิบัติ “การท่องเที่ยวปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม” มี 2 พื้นที่ คือ ต.ศาลาด่าน “ศาลาด่านโมเดล” อ.เกาะลันตา จงกระบี่ และ ต.มะรุ่ย (มะรุ่ยแห่งความสุข) อ.ทับปุด จ.พังงา ช่องทางการสื่อสาร ไลฟ์สด  แผนงานสื่อมีการทำแอพพลิเคชั่น  สื่อท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชน ผลิตคลิปวิดีโอ การจัดทำสื่อในชุมชนมีการอบรมในการเผยแพร่สื่อฯ  การนำชิ้นงานนำส่งสู่แพลตฟอร์มของทางส่วนกลาง  การสื่อสารของประเด็นท่องเที่ยวเป็นช่วงระยะเริ่มต้น บางส่วนยังไม่ได้มีการตัดต่อ  เนื้องานที่เป็นอินโฟกราฟิกมีการผลิตร่วมกัน  มีการพูดคุยกันในพื้นที่  ต้องการทำสื่อในลักษณะวัฒนธรรม เพื่อการสานต่อสู่เด็กรุ่นใหม่     จังหวัดชุมพร  มีการแบ่งงานเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย บุคลากร/แพลตฟอร์ม  บุคลากรเป็นทีมผสมระหว่างพื้นที่  หน่วยงาน และวิชาการ  แพลตฟอร์มใช้ชื่อ สมาคมประชาสังคมชุมพร “สานพลังสร้างสุขชุมพร”  โดยใช้แพลตฟอร์ม You Tube / Tik Tok  ในการสื่อสารสาธารณะ  มีความร่วมมือจากครือข่ายซึ่งมีเพจเป็นของตัวเองสนับสนุนอยู่     ความก้าวหน้าของแผนงาน  คณะทำงาน การพัฒนาศักยภาพสื่อมีการรับสมัครผู้ที่สนใจ  เนื้อหาการเขียนข่าว กราฟิก  ภาพเคลื่อนไหว วิทยากรมีการติดต่อบ้างแล้วบางส่วน จังหวัดพัทลุง  คุณณรากาญจน์  บุญนวล  ตำบลบูรณาการ ต.นาท่อม     แพลตฟอร์มก้าวทัน คนหลายกลุ่มวัยสามารถเข้าถึงได้  แต่ขณะนี้พื้นที่ของประเด็นยังไม่มีความแน่ชัด  แพลตฟอร์มรวมจะมีการแยกเป็นเพจพื้นที่ สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารของส่วนกลางและพื้นที่ไปด้วยกัน ทำงานบนออนไลน์มากขึ้นแต่ไม่มีกรอบที่ตายตัว
ประเด็นพืชร่วมยางใช้พื้นที่จังหวัด มี ชุมพร นครศรีธรรมราช  นราธิวาส  ระนอง
ผลลัพธ์ : การใช้ประโยชน์จาก Platform โดยการนำเสนอผลลานในรูปแบบต่างๆผ่านแพลตฟอร์ม และการนำเสนอ ก่อนงาน ระหว่างงาน หลังงาน พร้อมทั้งมีตัววัดปริมาณคนชม คนติดตาม และการแสดงความคิดเห็น

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

7 7

3. เวทีขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับทีม สนส. และทีมประเมิน

วันที่ 17 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นการจัดประชุมลักษณะ onside เพื่อการรับฟังการชี้แจงต่อการดำเนินงาน และเสนอแผนปฏิบัติการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
1. เครือข่ายสื่อ เครือข่ายประเด็น ทีมประเมิน ได้เข้าใจขั้นตอนการดำเนินงานและวิธีปฏิบัติของแต่ละฝ่าย 2. พื้นที่การดำเนินงานของแต่ละฝ่าย 3. แผนการดำเนินงาน ผลลัพธ์ ความเข้าใจเพื่อหนุนเสริมงานปฏิบัติของแต่ละฝ่ายได้เป็นอย่างดี งานสื่อสารสามารถนำแผนงาน เนื้อหามาประกอบการออกแบบงานสื่อสารได้อย่างถูกต้อง

  • photo
  • photo
  • photo

 

1 1

4. เวทีบูรณาการกลไกความร่วมมือนวัตกรรมทางสังคมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี Kick off กลไกความร่วมมือ กองทุนจังหวัด จ.สุราษฎร์ธานี

วันที่ 12 กันยายน 2565 เวลา 12:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

วางแผนการออกแบบงานสื่อสารไว้ 3 ระยะ
1. ก่อนงาน จัดทำเป็น poster เพื่อการประชาสัมพันธ์ ในทุก Platform 2. ระหว่างงาน จัดระบบการสื่อสารด้วยการถ่ายทอดสดผ่านระบบ online fb live สัมภาษณ์บุคคลที่มีความสำคัญกับงาน 3. หลังงาน จัดทำเป็นบันทึกย้อนหลัง ลงใน Platform YouTube

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. สื่อประชาสัมพันธ์ poster
  2. Live สด

- ผ่านช่องทาง : Facebook page สื่อสร้างสุขภาคใต้ และ Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช - Link  : https://fb.watch/gmXNF7jSq6/ - Link  : https://fb.watch/gmXPRIu8tr/ 3. สื่อประชาสัมพันธ์(คลิปวีดีโอ) ก่อนงาน ระหว่างงาน และหลังงาน - ผ่านช่องทาง : Facebook page สื่อสร้างสุขภาคใต้ ,Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช,และ Youtube ลิกอร์ มีเดีย - Link  : https://youtu.be/rQ-y2LAZFvY
- Link  : https://youtu.be/lIJ6sKE_MHE
- Link  : https://youtu.be/to90gPW89wI 4. ผู้บริหารองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ พร้อมที่จะสนับสนุน ทรัพยากรเพื่อการขับเคลื่อนกองทุนในระดับจังหวัด การที่มีสื่อสื่อหลัก สื่อonline และ สื่อชุมชน ได้ทำหน้าที่ขยายผลเพื่อให้สาธารณะรับรู้

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

5 5

5. ประชุมการวางแผนการขับเคลื่อนประเด็นความความมั่นคงทางมนุษย์เพื่อการเชื่อมโยง กขป.เขต 11สุราษฎร์ธานี

วันที่ 13 กันยายน 2565 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นการประชุมร่วมกัน กับคณะทำงานอนุกรรมการสื่อสาร กขป. และคณะทำงาน เกษตรอาหารปลอดภัย ซึ่งทาง กขป เขต 11 มีพื้นที่การสานพลังในพื้นที่กับประเด็นเกษตรเพื่อสุขภาพ ประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ การประชุมร่วมในครั้งนี้ทางเครือข่ายสื่อภาคใต้ที่รับผิดชองงานด้านความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคงทางมนุษย์ เพื่อการเชื่อมร้อยเพื่อให้เห็นงานสื่อสารของประเด็นที่สามารถเห็นความร่วมมือ ที่จะนำไปสู่ภาคใต้แห่งความสุข กขป.ก็เป็นกลไกหนึ่งที่มีพื้นที่ดำเนินงานและเครือข่ายที่ทำงานร่วมในระดับจังหวัด คือ จ.สุราษฎร์ธานี จ.กระบี่ การใช้นโยบายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ จะต้องใช้งานสื่อสารเป็นตัวกระตุ้นและติดตามการปฏิบัติการตามข้อเสนอ ซึ้งทาง  กขป.เองก็มีเป้าหมายคล้ายกันคือ การใช้พื้นที่ต้นแบบที่ขับเคลื่อนนโยบายสำเร็จเพื่อจะเป็นพื้นที่นำร่อง ที่ให้เห็นถึงความร่วมมือกันทุกภาคส่วน ทีมสื่อสารได้มีโอกาสได้แนะนำและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการสื่อสารกับประเด็นที่เกี่ยวข้องพื้นที่ๆรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ คือการใช้สื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แนวทางการขับเคลื่อนงาน รูปแบบการสานพลัง ของเครือข่าย นโยบายสาธารณะกับการขับเคลื่อนในพื้นที่ งานสื่อสารจะสนับสนุนได้อย่างไร

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

5 5

6. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อเพื่อสร้างความเข้าใจการนำข้อมูลลงเว็บไซต์

วันที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ชี้แจงทำความเข้าใจ ฝึกทดลองใช้ ทีมผู้รับผิดชอบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิด Plat form ในรูปแบบสื่อใหม่ เพื่อใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร เพจ สื่อสร้างสุขภาคใต้ เวปไซต์ www.สื่อสร้างสุข.com YouTube เครือข่ายสื่อสร้างสุข

  • photo

 

1 1

7. เวทีสร้างเครือข่ายสื่อเพื่อขยายเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้

วันที่ 27 กันยายน 2565 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สำรวจกลุ่มผู้สนใจที่อยู่ในพื้นที่ขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางอาหาร จ.นครศรีธรรมราช จ.สุราษฎร์ธานี จ.พัทลุง มีผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 80 คน แบ่งการอบรมออกเป็น 2 วัน ใช้หัวข้อ อบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตสื่อเป็น ปลอดภัยและสร้างสรรค์ รูปแบบการอบรมรมจะเป็นการแบ่งช่วง เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสาร และให้รู้จักการสื่อสารเพื่อสุขภาวะ แนะนำประเด็นงานเพื่อการขับเคลื่อนภาคใต้แห่งความสุข 4 ประเด็นงานและการให้ดูตัวอย่างการสื่อสารและรูปแบบงานสื่อสาร หลังจากนั้นเป็นการฝึกปฏิบัติการทดลอง เล่าเรื่อง การเขียนข่าวที่สร้างความน่าสนใจ การถ่ายภาพนิ่ง แนะนำ Platform online ในการเขียนข่าว ในโปรแกรม  “แคนวา” หลังจากนั้นมีการลงพื้นที่ ต.ท่าซัก กับการจัดการชุมชนด้วยวิถีเกษตร ท้องถิ่น ฝึกการสัมภาษณ์ ฝึกเขียนข่าว ส่งผลงานและการมอบหมายงานเพื่อร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากแผนการดำเนินกิจกรรม เพื่อการขยายเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้และการพัฒนาเพื่อการเพิ่มองค์ความรู้ด้านการสื่อสารเพื่อสุขภาวะ จึงได้มีการอบรมขยายเครือข่ายสื่อและการเพิ่มองค์ความรู้ด้านสื่อสาร ซึ่งได้เชิญ เครือข่าย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร กระบี่และนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจังหวัดที่ศูนย์วิชาการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้คนในพื้นที่ระดับจังหวัด ได้เชื่อมโยงกับพื้นที่ปฏิบัติการได้มีโอกาสได้ทำงานร่วมกัน 2. ได้นำองค์ความรู้ด้านสื่อสารด้านสุขภาพ ให้บริการกับพื้นที่ขับเคลื่อน “การใช้สื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคม”     ลักษณะการอบรม เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ด้านการสื่อสาร รู้จักและเข้าใจประเด็นขับเคลื่อนภาคใต้แห่งความสุข ระยะเวลาในการอบรม 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้ APP Canva Platform  กล้องถ่ายภาพโดยโทรศัพท์ หลักสูตร รู้เท่าทันสื่อและเทคนิคการผลิตสื่อ วันที่ 1 ของการอบรม
ช่วงเช้า เป็นการให้ความรู้ด้านการสื่อสารยุคสื่อใหม่เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ กับประเด็นขับเคลื่อนภาคใต้แห่งความสุข ความมั่นคงท่งอาหาร , ความมั่นคงทางสุขภาพ , ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม , ความมั่นคงทางมนุษย์ , ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม  และให้รู้จักเครือข่ายสื่อสร้างสุข ประเด็นการขับเคลื่อนทางสุขภาพภาคใต้และการใช้การสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนสังคมในยุค “สื่อใหม่”
ช่วงบ่าย เป็นการให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติการเขียนข่าวโดยใช้ Platform Canva การเล่าเรื่อง  การเขียนเนื้อหา และให้ความรู้เกี่ยวกับการรู้จัก Plat form และการใช้ประโยชน์ วันที่ 2 ของการอบรม ช่วงเช้าเป็นการทบทวนเนื้อหาจากการเรียนรู้จากวันที่ 1 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเติมเต็ม และให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องของด้านเทคนิค การใช้ Platform และเทคนิคการถ่ายภาพเพื่อการนำมาเขียนข่าว ลงพื้นที่เพื่อศึกษาจากพื้นที่จริง ศูนย์ทฤษฎีใหม่ครบวงจร กรมทหารราบที่ 15 ค่ายวชิราวุธ กองทัพภาค 4 เป็นการฝึกปฏิบัติจริง การสัมภาษณ์ ก่ายถ่ายภาพ และ ทำการผลิตข่าวจริงๆ ช่วงบ่าย เป็นการนำเสนอผลงานและการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการผลิตที่มีคุณภาพในครั้งต่อไป และให้การบ้านในการลงพื้นที่ในจังหวัดและพื้นที่ในจังหวัดตนเอง การบ้านให้มีการผลิต  สกู๊ปข่าว  “พื้นที่สีเขียว ตันแบบ”เครือข่ายสื่อสร้างสุขในพื้นที่ภาคใต้  จ.นครศรีธรรมราช และจ.สุราษฎร์ธานี สามารถผลิตผลงานใน Platform Online จาก โปรแกรม CANVA ได้ ผู้เข้าฝึกอบรม ถ่ายรูปประกอบการรายงานข่าวได้

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

80 80

8. ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปแผนการดำเนินงานสื่อสาร

วันที่ 3 ตุลาคม 2565 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นการประชุมทีมปฏิบัติการกับทีมประสานงาน โดยได้มีการรายงานการขับเคลื่อนงานสื่อสาร  2 ประเด็น คือ ความมั่นคงทางมนุษย์ 3 จังหวัด กลไกกองทุนจังหวัด สุราษฎร์ธานี กลไกระดับอำเภอ พชอ. อ.เมืองพัทลุง พชอ.ไชยา ทุ่งไสไซ พอช.อ.เมือง กระบี่ สำหรับประเด็นความมั่นคงทางอาหาร เมนู ชุมชนสีเขียว สู่สมัชชาประเด็น สำหรับการเคลื่อนงานสื่อสารในประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ ได้ช่วยงานสื่อสารเปิดตัว กลไกระดับจังหวัดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ขยายเครือข่ายสื่อเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการผลิตคลิปต้นแบบของภาคีความร่วมมือการสร้างชุมชนสีเขียว เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ สำหรับ การสื่อสารในเชิงพื้นที่กับประเด็นกลไกกองทุนกับ พชอ.ยังไม่ได้มีการสื่อสาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประชุมคณะทำงานเพื่อการสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในระยะที่ 1 ระหว่างเดือนกรกฎาคม – เดือนกันยายน 2565  และการวางแผนการขับเคลื่อนประเด็นสื่อสารสาธารณะในระยะต่อไป    มีแผนขับเคลื่อนประเด็นสื่อสารสาธารณะ ประเด็นที่รับผิดชอบ และพื้นที่ดำเนินงาน ได้แก่ 1. ความมั่นคงทางอาหาร กับการร่วมสร้างพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน พื้นที่รับผิดชอบ จ. สุราษฎร์ธานี  อ. เมือง จ.กระบี่ , อ.เมือง จ.พัทลุง มีการประชุมร่วมกับเครือข่ายเกษตรสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อการจัดสมัชชาสุขภาพรายประเด็น การร่วมสร้างชุมชนสีเขียว จำนวน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ชีแจงแนวทางการขับเคลื่อนงานภาคใต้แห่งความสุข กับการจัดงานสร้างสุขภาคใต้และมีการที่กลุ่มเครือข่ายได้ร่วมกัน จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในพื้นที่ภาคใต้ 4 ประเด็นหลักๆ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางสุขภาพ ในส่วนประเด็นความมั่นทางอาหาร มีประเด็นย่อย เช่น ชุมชนสีเขียว สวนยางยั่งยืน เกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายได้นำเสนอต่อ คสช. และจะจัดเป็นสมัชชาเชิงประเด็นว่าด้วยเรื่อง ของการร่วมสร้างชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืน ในทุกมิติทางการเกษตร พืช ประมง ปศุสัตว์ และการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ กำลังมีการ MAPING พื้นที่ เพื่อจะเลือกมาเป็นพื้นที่ขับเคลื่อน แต่ตอนนี้ต้องให้ตกผลึกร่วมกัน และให้มีการตั้งคณะทำงาน 3 ส่วน คณะทำงานยุทธศาสตร์ คณะทำงานวิชาการ คณะทำงานสื่อสาร ซึ่งทางเครือข่าย โดยคุณกำราบ  พานทอง จะได้รวยรวมรายชื่อคณะทำงานในระดับภาค และเสนอชื่อคณะทำงานให้กับ ทาง สช.เบื้องต้นคงให้ สช. เป็นทีมจัดการกลาง เพราะสมัชชาชุมชนสีเขียวน่าจะเป็นระดับชาติแต่เราจะเลือกเฉพาะพื้นที่ภาคแล้วค่อยไปจัดระดับชาติ ที่ประชุมได้เสนอให้มีประธานหรือ คนที่สามารถประสานความร่วมมือได้กับทุกฝ่าย ที่ประชุมจึงได้ เสนอ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์) มาเป็นประธานขบวนให้ และจะนัดหารือร่วมและเชิญ อ.เข้าร่วมประชุมด้วย ครั้งที่ 2 มีการประชุมร่วมกัน สนส.มอ. สช. เครือข่ายประเด็น ทีมงานสื่อสาร ครั้งที่ได้เชิญ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์) เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือ ซึ่ง อ.ยักษ์ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตอนนี้แม้แต่ระดับโลกยังให้ความสำคัญของความมั่นคงทางอาหาร เพราะผลจากการวิจัย มีสาเหตปัจจัยหลายๆด้าน เช่น ภัยพิบัติ ในหลากหลายรูปแบบ การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ประชากรโลกเพิ่มขึ้น และล่าสุด หลังจากสถานการณ์โควิด – 19  จึงส่งผลให้อาหารไม่เพียงพอจึงทำให้ความต้องการอาหารของคนเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยก็เช่นกัน     ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์) ยินดีที่จะมาเป็นหัวขบวน สมัชชาชุมชนสีเขียว แต่ต้องชี้แนะให้กันและกัน อีกทั้งมีวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่ชัดเจน เพื่อร่วมกับเคลื่อนไปด้วยกัน หลังจากนี้ก็มาวางแผนกันว่าใครจะร่วมอะไรได้อย่างไร ภายใต้คณะทำงานในแต่ละด้านที่ประชุมเน้นย้ำเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารเรื่องการเลือกพื้นที่ขับเคลื่อนในพื้นที่ภาคใต้ 2. ความมั่นคงทางมนุษย์  กลไกสุขภาพ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ,  และ กลไกระดับอำเภอ พชอ. พื้นที่รับผิดชอบ อ.เมือง จ.พัทลุง  อ.เมือง จ.กระบี่ อ.ไชยา  จ.สุราษฏร์ธานี  สำหรับประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 จังหวัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลไกจังหวัด การจัดให้มีกองทุนจังหวัด ที่บูรณาการงบประมาณกันระหว่างกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด อบจ. เพื่อการจัดตั้งกองทุน ระดับจังหวัด เพื่อให้มีการบริหารจัดการโดย ภาคประชาชน ใช้เพื่อการจัดการระบบสุขภาวะชุมชน สำหรับ กลไก อำเภอ จะใช้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เป็นหน่วยจัดการกลางที่จะเชื่อมโยงกับกองทุนตำบล เพื่อผลักดันให้ใช้งบประมาณเพื่อการ สร้างเสริมงานสุขภาพ อ.เมือง พัทลุง    อ.เมือง จ.กระบี่ อ.ไชยา  จ.สุราษฎร์ธานี งานสื่อสาร จะมีการ พัฒนาศักยภาพการรู้เท่าสื่อและการผลิตเป็น สื่อสารอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย  และการขยายเครือข่ายสื่อ งานผลิตสื่อในรูปแบบ คลิปวีดีโอ Onepage เวทีสาธารณะ โดยใช้ Platform ที่หลากหลาย สำหรับออกแบบ และเป็นช่องทางการสื่อสาร กิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ 1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อภาคใต้ ยังไม่ได้ดำเนินการ ด้วยเหตุผลช่วงระยะเวลา และความพร้อมของวิทยากร 2. กิจกรรมส่งเสริมงานสื่อสาร ประเด็นพื้นที่สีเขียวยังไม่มีการดำเนินกิจกรรม ด้วยยังไม่มีการกำหนดพื้นที่ขับเคลื่อน ทั้ง 3 จังหวัด 3. กิจกรรมสื่อสารประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ พื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี กลไกกองทันตำบลทุ่งไสไซ กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว 1. การสื่อสาร kick off กลไกความร่วมมือเพื่อสังคมสุขภาวะสุราษฎร์ธานี ก่อน ระหว่าง และหลัง 2. ขยายเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
3. พัฒนา Plat form - เพจ facebook - เวปไซต์ - YouTube กิจกรรมที่จะดำเนินงานในระยะต่อไป 1. ประสานงานพื้นที่ขับเคลื่อน กองทุนจังหวัด เพื่อออกแบบงานสื่อสารที่จะกระจายและสื่อสารในทุก Platform 2. ติดตามพื้นที่ ความมั่นคงทางอาหาร กับการร่วมสร้างพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน 3. ผลิตงานสื่อสารในรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปสื่อสารใน platform ต่างๆ 4. Update Platform ให้มีความเป็นปัจจุบัน และความทันสมัยเพื่อสร้างความน่าสนใจ

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

9 9

9. เวทีชี้แจงการขอรับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี

วันที่ 6 มกราคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สนับสนุนงานสื่อสารกับประเด็นขับเคลื่อน ความมั่นคงทางมนุษย์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. สื่อประชาสัมพันธ์ poster
  2. สื่อสิ่งพิมพ์

- ผ่านช่องทาง : Facebook page สื่อสร้างสุขภาคใต้ 3. สื่อประชาสัมพันธ์(คลิปวีดีโอ)ผ่านช่องทาง :  Facebook page สื่อสร้างสุขภาคใต้ ,Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช,และ Youtube ลิกอร์ มีเดีย Link :  https://fb.watch/kIfGUo1lGA/?mibextid=irwG9G Link :  https://fb.watch/kIjzLdYlMt/?mibextid=jf9HGS Link :  https://youtu.be/IUVpeItl8Jo

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

5 5

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการออกแบบและวางแผนเพื่อการสื่อสาร (2) ผลิตงานสื่อสารเพื่อสนับสนุนงานขับเคลื่อน Onair , Online , Onground (3) ประชุมคณะทำงานเพื่อการวางแผนการดำเนินงานและวางแผนเพื่อการสื่อสาร (4) ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อ เพื่อการวางแผนการดำเนินงานและการมอบหมายภารกิจงาน (5) เวทีขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับทีม สนส. และทีมประเมิน (6) เวทีบูรณาการกลไกความร่วมมือนวัตกรรมทางสังคมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี  Kick off กลไกความร่วมมือ กองทุนจังหวัด จ.สุราษฎร์ธานี (7) ประชุมการวางแผนการขับเคลื่อนประเด็นความความมั่นคงทางมนุษย์เพื่อการเชื่อมโยง กขป.เขต 11สุราษฎร์ธานี (8) ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อเพื่อสร้างความเข้าใจการนำข้อมูลลงเว็บไซต์ (9) เวทีสร้างเครือข่ายสื่อเพื่อขยายเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ (10) ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปแผนการดำเนินงานสื่อสาร (11) เวทีชี้แจงการขอรับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


งานสื่อกองทุนฯจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี

รหัสโครงการ 65-0036

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอานนท์ มีศรี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด