สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดกระบี่

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดกระบี่

รหัสสัญญา 59-ข-028 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2559 - 30 มิถุนายน 2560

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

ชุมชนท่องเที่ยวเกิดแนวคิดใหม่ อย่างสร้างสรรค์ จัดกระบวนการท่องเที่ยว เป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

  • การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ้านถ้ำเสือ
  • ชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง ใช้กิจกรรมนั่งเรือ ฟังเสียงธรรมชาติ โดยใช้หลักการนั่งสมาธิ ส่งผลต่อสภาพจิตใจที่ผ่อนคลายและเกิดความสุข

ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดแนวคิดใหม่อย่างสร้างสรรค์โดยการบูรณาการกับการดูแลสุขภาพ โดยนำกลุ่มคนหลากหลายกลุ่ม มาร่วมกิจกรรม เช่น กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มเยาวชน กลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยใช้กิจกรรมหลักศาสนามาเป็นหลักยึด เช่น กิจกรรมสนทนากลางสายน้ำ และละหมาดร่วมกัน บนแพกลางน้ำของชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองทะเล

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

เกิดกระบวนการชุมชน ในมิติทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ด้วยการคิดนำทุนทางวัฒนธรรมมาปรับ ฟื้นฟู สร้างเป็นผลผลิตใหม่ของชุมชน

ชุมชนนำภูมิปัญญาเดิมมาปรับใช้ เช่น การนำเรือแจวโบราณมาใช้ในกิจกรรมท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวสามารถพายเรือร่วมกันชุมชน เป็นการออกกำลังท่ามกลางธรรมชาติ

ชุมชนท่องเที่ยวอื่น มีแบบอย่าง และสามารถนำภูมิปัญญาดั้งเดิมในแต่พื้นที่ มาปรับใช้เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพได้

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

เกิดกระบวนการสร้างเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น โดยนำแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเป้าหมายสุขภาพกายใจ ของสมาชิกในชุมชนท่องเที่ียว

จำนวนเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยว จำนวนสมาชิกเห็นความสำคัญต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่มีเป้าหมายเพื่อสังคมสุขภาวะ

การนำภูมิปัญญา วัฒนธรรม แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ มาเชื่อมร้อย กับการจัดการสุขภาพเพื่อเป้าหมายการมีสุขภาพกายใจที่ดี เป็นเป้าหมายสำคัญของคนในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

เกิดการจัดการในชุมชน ในการดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่แต่ละชุมชนเป้าหมายในพื้นที่วิจัย ได้เพิ่มเติมการทำงาน ที่มุ่งเน้นเพื่อการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการทำงานชุมชนท่องเที่ยว ได้นำการดูแลการสร้างเสริมสุขภาพเป็นเป้าหมายสำคัญของสมาชิกในชุมชน

การทำงานที่จะต้องเชื่อมโยงและเพิ่มเติมข้อมูลทางสุขภาพที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้นำสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพ เช่นการเชื่อมโยงการทำงานด้านสุขภาพกับ รพ.สต.ในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

การเกิดกลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่หลากหลายขึ้น

กลุ่มเยาวชนในโรงเรียน
กลุ่มอาวุโส กลุ่มศาสนา

เพิ่มจำนวนเครือข่าย กลุ่มใหม่เช่น กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ให้กลับบ้านเกิด กลุ่มนักวิจัย นักวิชาการด้านสุขภาพในและนอกชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

นำแหล่งเรียนรู้เดิมมาปรับ เพิ่มสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรม และคุณค่าในการเสริมสร้างมิติทางสุขภาพ

แหล่งโคลนสปาธรรมชาติของชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ

การปรับแหล่งเรียนรู้เดิม เป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ในการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละชุมชนท่องเที่ยวให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

เกิดการสื่อสารการให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน เช่น การรักษาความสะอาดทางกาย ดูแลสิ่งแวดล้อม

ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน สมาชิกในชุมชน มีการแต่งกายที่สะอาดเหมาะสม เป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน

จำนวนสมาชิกในชุมชนท่องเที่ยว มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยการให้ความรู้ขององค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สาธารณสุขตำบล สาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล เป็นต้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

ชุมชนเกิดข้อตกลงในการเลือกสรร อาหารที่ดีต่อสุขภาพในการจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว

การนำวัสดุท้องถิ่น มาเป็นจุดขายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ใส่ใจต่อสุขภาพ เช่น ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก ได้นำกะปิ มาปรุงเป็นข้าวคลุกกะปิที่มุ่งเน้นสรรพคุณเพื่อสุขภาพ

การบริโภคในชุมชนท่องเที่ยวทั้งการบริโภคของคนในชุมชน และนักท่องเที่ยว ต้องได้รับข้อมูลอาหารท้องถิ่นที่บริโภคไปว่า มีสรรพคุณอย่างไร โดยการเชื่อมโยงการทำงานเพื่อการเพิ่มเติมข้อมูลจากนักวิชาการสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

การจัดรูปแบบการท่องเที่ยวที่เอื้อต่อการออกกำลังกาย

  • การพายเรือแจวฟังเสียงธรรมชาติที่บ้านทุ่งหยีเพ็ง
  • การปั่นจักรยานชมป่าเขา ที่บ้านถ้ำเสือ
  • การเดินสัมผัสวิถีวัฒนธรรม 3 สายที่ชุมชนแหลมสัก

จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมโยคะริมทะเลที่แหลมสักกิจกรรมปลูกผักริมน้ำที่หนองทะเล เป็นต้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

ในการจัดกิจกรรมของชุมชนท่องเที่ยวทุกครั้ง เช่น การจัดประชุมสมาชิกการท่องเที่ยวโดยชุมชน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการท่องเที่ยว ชุมชนได้ชี้แจงกฎกติกาชุมชน เช่น คนขับเรือ ขับรถ ไม่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ต่อหน้าสาธารณะ

การเกิดกฎกติกาชุมชนท่องเที่ยว ที่ให้สมาชิกในชุมชนท่องเที่ยวปฏิบัติ ว่าบุคคลในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนไม่ยุ่งเกี่ยวกับ การพนัน เหล้า บุหรี่ และสารเสพติดทุกชนิด

วิธีการให้คนในชุมชนท่องเที่ยวที่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ลด ละ และเลิก โดยมีการเก็บข้อมูล และคนที่เลิกได้ชุมชนมีกติกาในการเสริมกำลังใจในรูปแบบต่าง ๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

การสร้างกฎกติกาชุมชน

คนขับรถเรือรับจ้าง/รถรับจ้าง/ ไกด์ท้องถิ่น ผู้ปฏิบ้ติหน้าที่บริการในชุมชนท่องเที่ยว มีพฤติกรรมที่เหมาะสม

  • การอบรมด้านการบริการ เพื่อความปลอดภัยแต่ตนเองและคนอื่น
  • การอบรมเพื่อการดูแลสุขภาพและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นการท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ

  • กิจกรรมนันทนาการที่ไร่ปรีดาโฮมสเตย์ ที่ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ
  • กิจกรรมจิบน้ำชากลางน้ำที่บ้านหนองทะเล

การกำหนดรูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวที่ชัดเจนยิ่งขึ้นของแต่ละชุมชนท่องเที่ยว

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

ชุมชนท่องเที่ยวเลือกจุดเด่นด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยว

  • ชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง ฟื้นฟูภูมิปัญญาเรือแจว เรือหาปลา ปรับใช้เป็นเรือท่องเที่ยวนำชมธรรมชาติ
  • ชุมชนท่องเที่ยวหนองทะเล นำผู้อาวุโสในชุมชนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร มาให้คำแนะนำในการปลูกผัก สมุนไพรประจำถิ่น เพื่อใช้ในการปรุงอาหาร และเป็นยาสมุนไพร
  • ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ นำแหล่งโคลนธรรมชาติ มาเป็นจุดพักผ่อน แช่โคลนเพื่อความผ่อนคลายทางกายและใจ

การเชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัย นักวิจัย ทางสุขภาพ มาศึกษาวิจัย ภูมิปัญญาท้องถิ่นพืชสมุนไพร โคลนสปา เพื่อนำข้อมูลมาเป็นปัจจัยเสริมในการสร้างความเชื่อมั่นแก่คนในชุมชนและนักท่องเที่ยว

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ กับการมีส่วนร่วมต่อสังคม

  • คนในชุมชนประกอบอาชีพด้านท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น ขับเรือ ขับรถ พายเรือ ไกด์ชุมชน เป็นต้น
  • คนในชุมชนทำงานจิตอาสา เมื่อมีกิจกรรมร่วมเช่น งานบุญต่าง ๆ มีการแบ่งหน้าที่ การทำงานของสมาชิกในครอบครัว

เพิ่มจำนวนครอบครัวในชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

การสร้างกติกาชุมชน

กติกาชุมชน เป็นกฎระเบียนที่คนในชุมชนท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวปฏิบัติ

  • การทิ้งขยะให้ถูกที่
  • การจัดการขยะ
  • การใช้ปุ๋ยชีวภาพ
  • ไม่ใช่โฟมห่อหุ้มอาหาร

กฎกติกาชุมชน ที่ต้องมีข้อบังคับของชุมชนมากขึ้น โดยสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ โดย สร้างเกณฑ์ตัวชี้วัด ของชุมชนท่องเที่ยวที่ชัดเจน และยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

การวางแผนการทำงานของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของชุมชนท่องเที่ยวที่เป็นสมาชิกจำนวน 15 ชุมชนท่องเที่ยว และ 1 เครือข่าย

  • การวางแผนเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชนท่องเที่ยว
  • วางแผนโดยนำกลุ่มครอบครัวมาเป็นสมาชิกการท่องเที่ยวโดยชุมชน
  • นำศาสนาเป็นหลักยึดในการปฏิบัติงานร่วมเพื่อชุมชน

การกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน โดยการมีข้อมูล การเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ ข้อมูลสถาบันครอบครัวในพื้นที่ เพื่อนำสู่การส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้
  • การบริหารจัดการแบ่งรายได้โดยสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน
  • การจัดสรรรายได้ให้คนในชุมชนที่ทำงานบริการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน
  • ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของการท่องเที่ยวโดยชุมชน แบ่งรายได้ให้กลุ่มโดยมาข้อตกลงร่วม
  • คนในชุมชนที่มาทำงานบริการด้านการท่องเที่ยวได้รับรายได้เพิ่มขึ้น

การกำหนดทิศทางทางการตลาด
การวางแผนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เลือกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะกับพื้นที่ และการกำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นเพิ่มขยายจำนวนคนในชุมชนที่เข้ามาทำงานในบริการการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

ยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์
1. การเสริมสร้างคุณภาพ ทักษะ และความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนให้มีศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยว โดยชุมชนแบบพึ่งพาตนเองบนฐานความพอเพียงและความรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของต้นทุนทรัพยากรชุมชนสู่การเป็นสินค้าและบริการบนฐานอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่ต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับต่าง ๆ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการบริหารจัดการการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลของความสุขอย่างเท่าเทียมระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการ และการทำงานเชื่อมโยงเชิงเครือข่ายประชารัฐที่มีเอกภาพ มั่นคงและยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยวตลอดจนพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ในภูมิภาคอาเซียน

แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ปี พ.ศ. 2559 - 2563 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท)

  • การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ กำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ โดยนำแผนชาติเป็นหลัก นำสู่การกำหนดแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่
  • การสนับสนุนขององค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน
  1. พัฒนาคุณภาพ ทักษะและความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนให้มีศักยภาพในจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบพึ่งพาตนเองบนฐานความพอเพียง
  2. ส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของต้นทุนทรัพยากรชุมชนสู่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน บนอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อก้าวสู่การท่องเที่ยวโดยชุชนในระดับสากล และนำไปลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
  3. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนและระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการเชื่อมโยงการทำงานเชิงเครือข่ายของของการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบประชารัฐ มุ่งสู่การพัฒนาและจัดการที่มีเอกภาพ มั่งคง และยั่งยืน
  4. พัฒนาและยกระดับการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน มุ่งสร้างความสมดุลของความสุขของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว
  5. พัฒนาและวางรากฐานให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การแหล่งเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนในภูมิอาเซียน
  • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท)
  • การจัดทำแผนการทำงานของการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ โดยสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่
  • การนำสู่การปฏิบัติโดยมีหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องสนับสนุน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

การเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในระดับจังหวัด คลัสเตอร์อันดามัน ระดับภาคและระดับประเทศ

ศูนย์ประสานความร่วมมือ การท่องเที่ยวโดยชุมชนคลัสเตอร์อันดามัน โดยสำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

การขยายเครือข่ายในครอบคลุมเชื่อมโยงสู่อาเซียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

การจัดการประชุมกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน เพื่อพัฒนาแนวทางการทำงาน

  • การปรับกิจกรรมการท่องเที่ยว
  • สิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชน
  • การเพิ่มรายได้
  • การประเมินชุมชนท่องเที่ยวน้อง

การดำเนินงานของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

การประเมินชุมชนท่องเที่ยว เพื่อก้าวสู่ระดับมาตรฐาน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม

  • ครอบครัว
  • ผู้อาวุโส
  • เยาวชน

สมาชิกชุมชนท่องเที่ยวของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

การเพิ่มเครือข่ายคนในพื้นที่มากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินงานของกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวในสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

รายละเอียดการดำเนินงานของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

การยกระดับการทำงานของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน - จำนวนสมาชิกคน /ชุมชน - ภาคีเครือข่าย - การจัดสรรรายได้

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

การดำเนินงานของกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวในสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

  • การสร้างหลักสูตรการท่องเที่ยวอ่าวลึก โดย ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ จัดกิจกรรมให้โรงเรียนในเขตบ้านถ้ำเสือและตำบลแหลมสัก
  • พัฒนาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน /วิทยาลัย
  • การจัดตั้งวิทยาลัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

การดำเนินงานของกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวในสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

การมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ การท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกับนักวิจัย นักวิชาการจาก สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.

การนำแผนปฏิบัติการลงสู่การปฏิบัติโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กร หรือหน่วยงานที่่เกี่ยวข้อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน
  • การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนชุมชนท่องเที่ยว
  • การฟื้นฟู อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ของชุมชนท่องเที่ยว
  • ชุมชนท่องเที่ยวในกลุ่มของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่
  • การอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม และมีหลักวิชาการมากขึ้น โดยร่วมกับ สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • การฟื้นฟู อนุรักษ์ ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ร่วมกับองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยการมีส่วนร่วม ทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน

  • คนในชุมชน
  • ท้องถิ่น ท้องที่
  • ราชการ
  • ประชาสังคม
  • สื่อมวลชน
  • ประชาชนในและนอกพื้นที่

สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่

  • การสร้างภาคีเครือข่าย ประชารัฐ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

  • การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านถ้ำเสือ
  • การท่องเที่ยวโดยชุมชน ส่งเสริมเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตร
  • จัดการชุมชนท่องเที่ยว เป็นชุมชนตัวอย่างด้านเศรษฐกิจพอเพียง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร
  • การมีเป้าหมายเพื่อชุมชนท่องเที่ยวยั่งยืน มีสุขภาวะ
  • การจัดสรรรายได้อย่างเป็นธรรม ไม่เหตุแก่ธุรกิจ แต่เป็นธุรกิจที่เอื้อต่อสังคม

การดำเนินงานของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ