ประชุมคณะทำงานสื่อ |
1 มิ.ย. 2565 |
|
|
|
|
|
|
อบรมเชิงปฎิบัติการนักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ รุ่นที่ 1 |
20 ส.ค. 2565 |
20 ส.ค. 2565 |
|
กำหนดการอบรมเชิงปฎิบัติการนักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ
วันที่ 20-21 สิงหาคม พศ.2565
ณ.ปากตะโกโฮมสเตย์ อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร
วันที่ 20 สิงหาคม 2565
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 น. -แนะนำตัวผู้เข้าร่วมประชุม
-ระดมความคาดหวัง
09.30 – 11.00 น. - อภิปราย : นักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ (คุณลักษณะของนักสื่อสาร/เป้าหมาย)
โดย...นายทวีวัตร เครือสาย นายกสมาคมประชาสังคมชุมพร
น.ส แสงนภา หลีรัตนะ สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร
น.ส นฤมล ตันบิน อสมท.หลังสวน
ว่าที่ ร.ต.หญิง วิราวรรณ เพชรแก้ว สื่อชุมพร
ดร.ศิริพร เพ็งจันทร์ มอ.สุราษฎร์ธานี
ดร. โปรดปราน คำอ่อน มอ.สุราษฎร์ธานี
11.00 – 12.00 น. แบ่งกลุ่ม WS ตามความสนใจ
กลุ่มที่ 1 การเขียนข่าว/การทำกราฟฟิกอย่างไรให้น่าสนใจ
วิทยากร..ว่าที่ ร.ต พร้อมศักดิ์ จิตจำและทีม
กลุ่มที่ 2 การผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหว
วิทยากร..นายณรงค์ศักดิ์ พฤกษาไพบูลย์ (ป้อมเมืองคนดี)
นายศาสนะ กลับดี
นายกมลภพ ทองเอียง
กลุ่มที่ 3 นักจัดวิทยุและสื่อออนไลน์
วิทยากร..น.ส นฤมล ตันบิน
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น. แบ่งกลุ่ม WS ตามความสนใจ (ต่อ)
กลุ่มที่ 1 การเขียนข่าว/การทำกราฟฟิกอย่างไรให้น่าสนใจ
วิทยากร..ว่าที่ ร.ต พร้อมศักดิ์ จิตจำและทีม
กลุ่มที่ 2 การผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหว
วิทยากร..นายณรงค์ศักดิ์ พฤกษาไพบูลย์ (ป้อมเมืองคนดี)
นายศาสนะ กลับดี
นายกมลภพ ทองเอียง
กลุ่มที่ 3 นักจัดวิทยุและสื่อออนไลน์
วิทยากร..น.ส นฤมล ตันบิน
ร.ต หญิง วีระวรรณ เพชรแก้ว
15.00 – 17.00 น. ลงพื้นที่จัดทำสื่อ ชายหาดอรุโณทัย/กรมหลวงชุมพร/ลำน้ำทุ่งตะโก
17.00 - 18.00 น. รับประทานอาหารเย็น
18.00 – 20.00น. ผลิตสื่อผลงานแต่ละกลุ่ม(เตรียมนำเสนอ)
(ทีมกลางระดมความเห็นออกแบบโครงข่ายการขับเคลื่อน เป้าหมายการขับเคลื่อนสู่นักสื่อสารสังคมสุขภาวะ)
วันที่ 21 สิงหาคม 2565
08.30 – 09.00 น. แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากเวทีวันที่ 20 และจากการลงพื้นที่
09.00 – 12.00 น. นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่มและวิพากษ์เติมเต็ม
โดย...ทีมวิทยากร/ผู้ทรงวุฒิ
นายทวีวัตร เครือสาย นายกสมาคมประชาสังคมชุมพร
น.ส นฤมล ตันบิน อสมท.หลังสวน
นายศาสนะ กลับดี สื่อชุมชนภาคใต้
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 - 15.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคช่องทางการสื่อสาร
โดย...นายนพพล ไม้พลวง สถาบันส่งเสริมประชาสังคม (สสป)
15.00 –15.30 น. ออกแบบโครงข่ายนักสื่อสารสร้างสรรค์สังคม
15.30 น. ปิดการอบรม
หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ /อาหารว่าง เช้า 10.30 บ่าย 15.30
|
|
มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 45 คน จากแผนงานที่ตั้งไว้ 30 คน
นักสื่อสารสร้างสังคมสุขภาวะ (จะใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดชุมพรได้อย่างไร)
โดยเป้าหมายหลักประการแรก : ให้การสื่อสาร สร้างสรรค์ ชุมพร เมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจดี มีคุณค่า มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทีมงานมีความคาดหวังให้มีการสร้างทีมนักสื่อสาร สร้างสรรค์ สังคมสุขภาวะ หรือที่เรียกว่า 5 ส. เชื่อมโยงเครือข่ายสื่อของภาคใต้ที่มีการดำเนินงานอยู่แล้ว ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี คาดหวังว่าจะเกิดโครงข่ายนักสื่อสารเขต 11 (7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน) เชื่อมโยงเครือข่ายภาคใต้และระดับประเทศ ประการที่สอง : คาดหวังว่าในระยะ 2 จะมีทีมสื่อสารระดับจังหวัดชุมพรและภาคใต้ตอนบน (The South records)
สะท้อนมุมมอง ความคาดหวัง แนวทางหรือ มีส่วนร่วมอย่างไรที่จะทำให้เกิดการสื่อสาร สร้างสรรค์ สังคมสุขภาวะ จังหวัดชุมพร
คุณ แสงนภา หลีรัตนะ : ทำงานในภาคประชาสังคม ประมาณ 30 ปี มีเรื่องราวที่ดีมากมาย แต่ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือภาครัฐ ทั้งที่เป็นเนื้อหาและหัวข้อที่สื่อสารนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร ช่องทางการสื่อสารนั้นเป็นตัวบ่งชี้ว่าแต่ละบุคคลมีแนวทางการใช้ชีวิตและทำงานอย่างไร ตัวอย่างเช่น Facebook ในแต่ละโพสและในการแชร์ของเจ้าของFacebookนั้นจะแสดงให้เห็นถึงทัศนะคติต่างๆ ในด้านการทำงาน ฝ่ายบุคคลจะดู Facebook ประกอบการตัดสินใจในการจะรับบุคคลนั้นๆเข้ามาทำงาน เป้นตัวยืนยันว่าการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินชีวิตและการทำงาน ซึ่งผู้ที่สามราถใช้การสื่อสารในการแก้ไขสถานการณ์และสื่อสารเรื่องราวดีดีและเรื่องที่น่ายกย่องได้นั้น ควรจะมีกลไกการทำงานและมีเครือข่ายภาคีที่ดีประกอบด้วย สิ่งที่อยากเห็นในการอบรมนักสื่อสารฯครั้งนี้คือ เรียนรู้เทคนิคและการใช้เครื่องมือการสื่อสารพร้อมทั้งพัฒนาตนเองให้เป็นนักสื่อสารที่พร้อมจะนำเรื่องราวดีดีในชุมชนไปบอกต่อสังคมได้อย่างไร
คุณ นฤมล ตันบิน : ในฐานะที่เป็นสื่อและมีเวทีที่จะให้ทุกคนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชน สื่อมวลชนไม่สามารถที่จะรู้ข้อมูลทุกอย่างภายในชุมชนได้ถูกต้องและชัดเจนเสมอไป ทำให้ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ออกไปไม่ได้ถูกต้องหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่จะทำอย่างไรที่จะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือตัวประชาชนในชุมชนเองได้มีช่องทางในการพูดคุยแลกเปลี่ยนหรือนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน คาดหวังว่าทุกคนจะมีความรู้และสามารถปรับให้เข้ากับความถนัดของตนเอง และ อสมท.หลังสวน ยินดีสนับสนุนช่องทางการสื่อสารที่สื่ออาสาหรือสื่อชุมชนนำเรื่องราวในชุมชนเสนอให้ผู้คนภายนอกได้รับรู้อีกช่องทางหนึ่ง
ว่าที่ ร.ต.หญิง วิราวรรณ เพชรแก้ว: โชคดีที่เกิดในยุคกลางๆที่สามารถนำความรู้และประสบการณ์ของบุคคลต้นแบบมาปรับใช้ในการทำงาน ในขณะนั้นการจะเป็นสื่อได้ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ(บัตรผู้ประกาศฯ) ในพื้นที่จะมีสื่อวิทยุและนักจัดรายการวิทยุค่อนข้างน้อย เครื่องมือในการทำงานคือ เครื่องดีน แผ่นเสียง ซีดี และ คลอเปอร์ ซึ่งมีเสน่ห์ที่แตกต่างกัน ในการทำงานเมื่อไหร่ก็ตามที่เราไม่เข้าใจให้ถามผู้รู้หรือรุ่นพี่ที่เคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน เป็นทางออกที่ดีที่สุดและเป็นประโยชน์สูงสุด ความรู้สึกที่ใส่ลงไปในการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างทีมงาน ปรับตามยุคของสื่อ ปรับเทคนิค ให้ผู้ฟังมองภาพตาม สื่อสร้างสรรค์โดยจิตใต้สำนึกที่ดี จากทัศนคติที่ดี ความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะสร้างสังคมที่มีความสุข
ดร.ศิริพร เพ็งจันทร์: มักใช้ประโยชน์จากช่องทางการสื่อสารสาธารณะที่เกิดขึ้นอยู่ โดยเฉพาะการสื่อสารเชิงประเด่น : คนไทยใช้ Facebook และInternet เป็นส่วนมาก โดยเฉพาะวัยรุ่น และในปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสารมากมาย TikToK มีผู้ใช้ทุกกลุ่มทุกวัน Instagram คนรุ่นใหม่ชอบใช้ เพราะมีฟิวส์เตอร์ มีสตอรี่ให้เล่น Facebook จะเน้นเนื้อหาเชิงวิชาการ page Facebook เสนอสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว การที่จะสื่อสารควรวิเคราะห์มองกลุ่มเป้าหมายที่อยากจะสื่อ ช่องทาง เทคนิค ที่สำคัญการส่งต่อข้อมูล (สื่อต้องมีความเป็นกลาง)
ดร. โปรดปราน คำอ่อน: ใช้ช่องทาง Facebook ในการสื่อสารพูดคุย ตรวจสอบข้อมูล รวบไปถึงศึกษาข้อมูลและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่การทำงานและยังสามารถใช้งานในด้านต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็น การลงคอนเทนต์ที่น่าสนใจ สื่อวีดีโอ ฯลฯ สื่อถ้าทำให้ดีแค่ไหนถ้าไม่รู้จักนำเสนอสื่อสารออกไปก็ไม่มีประโยชน์
แบ่งกลุ่มตามหัวข้อที่สนใจ
กลุ่มที่ 1 การเขียนข่าว/การทำกราฟฟิกอย่างไรให้น่าสนใจโดยวิทยากร ว่าที่ ร.ต พร้อมศักดิ์ จิตจำและทีม
กลุ่มที่ 2 การผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหวโดย วิทยากร คุณศาสนะ กลับดี, คุณกมลภพ ทองเอียง, คุณวิทยาแท่นรัตน์
กลุ่มที่ 3 นักจัดวิทยุและสื่อออนไลน์โดย วิทยากร คุณนฤมล ตันบิน, ว่าที่ ร.ต.หญิง วิราวรรณ เพชรแก้ว
โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ช่วงแรกในกล่มของ การเขียนข่าวและการทำกราฟฟิก จะเป็นการเรียนรู้ทฤษฎีพื้นฐานในเรื่องของการใช้โปรแกรม Canva ในการทำกราฟฟิกและความรู้พื้นฐานในการเขียนบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจ กลุ่มการทำภาพเคลื่อนไหว มีการเรียนรู้เทคนิคพื้นฐานในการตัดต่อวีดีโอโดยใช้แอพพลิเคชั่น KineMaster กลุ่มนักจัดการวิทยุและสื่อออนไลน์ มีการทดลองจัดรายการวิทยุออนไลน์ภายในกลุ่มและไลฟ์สดในเพจ อสมท.หลังสวน
ช่วงที่สอง จะมีแบ่งกลุ่มลงปฏิบัติจริงและเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยเป็นเป็น 3 กลุ่ม 3พื้นที่ ได้แก่ วัดชลธีพฤกษาราม, ชายหาดอรุโณทัย, ล่องเรือชมป่าโกงกางที่ลำน้ำทุ่งตะโก เพื่อทำการผลิตสื่อผลงานของแต่ละกลุ่มและนำเสนอในลำดับต่อไป
นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่มและวิพากษ์เติมเต็ม
1. จดหมายข่าว รูปต้องสัมพันธ์กับเนื้อหา
1.1. ปรับเนื้อหาและสีให้สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการจะสื่อกับเป้าหมายหลัก
1.2. หัวข้อหลัก/ย่อย ควรชัดเจน มีการอธิบายที่มาที่ไปของสถานที่หรือสิ่งที่จะนำเสนอ, หัวข้อกิจกรรม, การเชิญชวน และที่สำคัญต้องใส่มีช่องทางติดต่อสื่อสารทิ้งท้ายเพื่อที่หากผู้ที่ได้รับชมสื่อสนใจจะสามารถติดต่อกลับไปยังสถานที่นั้นได้เลย
2. การตัดต่อวิดีโอ
2.1 ควรจะเรียบเรียงเนื้อหาให้เข้าใจง่ายและไม่ทำให้ผู้ชมสับสน
2.2 ปรับการใส่เสียงที่ควรจะใส่ให้สอดคล้องกับรูปภาพและถ้าในคลิปวีดีโอมีการสัมภาษณ์บุคคลควรตัดอย่าให้มีเสียงรอบข้างแทรกมารบกวนหรือไม่ควรใส่เสียงเพลงกลบเสียงสัมภาษณ์และใส่ซับภาษาเพื่อให้ผู้ชมอ่านร่วมด้วย
โครงข่ายนักสื่อสาร สร้างสรรค์ สังคมสุขภาวะ Expert Communication Invent Well Being (E-C-I-W)
“มีจิตสำนึกรับผิดชอบ เป็นกลาง สร้างสรรค์ มีส่วนร่วม เกิดประโยชน์”
ช่องทางการสื่อสาร
- Page Facebook: สานพลังสร้างสุขชุมพร, สมาคมประชาสังคมชุมพร
- YouTube, Twitter, TikTok: สมาคมประชาสังคมชุมพร
- CE-SE: วิสาหกิจเพื่อสังคมฅนธรรมธุรกิจ (ผู้ประกอบการ)
- วิทยุ: อสมท. 104.75 (หลังสวน), อสมท. 90.75 (ชุมพร), อสมท. 105.75 (ประจวบฯ)
- เครือข่าย สกศท. และ (พกฉ.) พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน)
- สถาบันการศึกษา: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์, มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยเขตสุราษฎร์ธานี
- สภาวัฒนธรรม จังหวัดชุมพร
- สุวรรณภูมิ(เมืองโบราณเขาสามแก้ว) โดยมี โรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชุมพร
ผู้ผลิต : นักสื่อสาร แยกเป็นเชิงประเด็นและชุนท้องถิ่น ใน 25 โครงการ Node Flagship และพื้นที่ 8 อำเภอในจังหวัดชุมพร
แหล่งข้อมูลข้าวสาร : 25 โครงการ 30 ตำบล 8 อำเภอ
ทีมงานกลาง : ติดตามให้คำแนะนำเสริม กระตุ้นแรงจูงใจ, เชื่อมโยงเครือข่าย, ประสานทรัพยากร
ภาคีสื่อสาร : ภาครัฐและมวลชน เน้นกลุ่ม เป้าหมายเฉพาะ, บุคคลทั่วไปและภาคีที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มเชื่อมโยงเครือข่าย : ไทยแอค, สำนักข่าว South Record และ Chumphon Record โดยมีเป้าหมายในระยะเวลา 2 ปี
|
-
|
จัดทำสื่อเผยแพร่ Facebooklive |
23 ส.ค. 2565 |
23 ส.ค. 2565 |
|
ถ่ายทอดFacebooklive ทฤษฎีวิธีการเพิ่มผลผลิตน้ำยางพาราโดยใช้แก๊สเอทธิลีน สำหรับเกษตรกรชาวสวนยาง
|
|
เกษตรกรมีทางเลือกและได้รับความรู้โดยตรงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเข้าถึงFacebooklive จำนวน 1.9 พันคน คนรับชมจำนวน 647 ครั้ง
|
-
|
นโยบายสวนยางยั่งยืน |
16 ก.ย. 2565 |
|
|
|
|
|
|
ชุมชนสีเขียว |
16 ก.ย. 2565 |
|
|
|
|
|
|
เกษตรกรรมยั่งยืน |
16 ก.ย. 2565 |
|
|
|
|
|
|
อบรมนักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ ชุมพร-ระนอง-สุราษฎร์ธานี รุ่นที่ 2 |
3 ต.ค. 2565 |
3 ต.ค. 2565 |
|
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม
09.00-09.15 น.
แนะนำตัวผู้เข้าร่วม
09.15-09.30 น.
ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนะนำเครือข่าย
โดย....นายทวีวัตร เครือสาย
09.30-11.00 น.
ความรู้ความเข้าใจในการสื่อสารสู่สาธารณะ
โดย.....นายนพดล ไม้พลอง สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป) นางสาวกรรณิการ์ แพแก้ว สภาผู้ชมผู้ฟัง Thai pbs
11.00-12.00 น.
เทคนิคการจับประเด็นเพื่อการสื่อสาร
โดย.....นางสาวกรรณิการ์ แพแก้ว สภาผู้ชมผู้ฟัง Thai pbs
12.00-13.00 น.
-พักรับประทานอาหาร
13.00-15.30 น.
แบ่งกลุ่ม WS
-กลุ่มที่ 1 เทคนิคการปรับใช้ Infographics และการฝึกใช้โปรแกรม Canva
โดย..นางสาวดารัณ เจริญวงศ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยชุมพร
-กลุ่มที่ 2 การผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหว
โดย..นายศาสนะ กลับดี สมาคมประชาสังคมชุมพร
นายวิทยา แท่นรัตน์ คนกล้าคืนถิ่น
-เทคนิคการพูดเพื่อการสื่อสาร
โดย..นางสาวนฤมล ตันดี องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยชุมพร
ว่าที่ ร.ต.หญิง วิราวรรณ เพชรแก้ว สถานีวิทยุกองทัพบกภาคที่ 4
15.30-18.00 น.
- ลงพื้นที่จัดทำสื่อ
18.00 - 19.00 น.
-รับประทานอาหารเย็น
19.00-20.00 น.
-ผลิตสื่อผลงานแต่ละกลุ่ม(เตรียมนำเสนอ)
วันที่ 3 ตุลาคม 2565
09.00 - 11.00 น.
นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่ม และ วิพากษ์เติมเต็ม
โดย...ทีมวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ
11.00-12.30
การเผยแพร่งานสื่อด้วยช่องทาง C-Site
โดย ชาญวิทูร สุขสว่างไกร สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส ภาคใต้
12.30-13.30 น.
รับประทานอาหารเที่ยง
13.30-14.30 น.
การเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายนัก
|
|
สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป)
คุณสมบัติของนักสื่อสาร
1. รับผิดชอบเวลา(โดยเฉพาะเดดไลน์) เพราะงานที่ดีเริ่มจากงงานที่เสร็จ
2. หูไว ตาไว ช่างสังเกต ทั้งสิ่งรอบตัวและอารมณ์ความรู้สึกข้างใน
3. ทักษะทั้งการตั้งคำถามและการจับประเด็น
3.1 ข้อซักถาม: ข้อที่มีประโยชน์กับการสื่อสาร
3.2 สิ่งที่อยากเห็นงานสื่อสารในชุมชนไปในทิศทางไหน
4. เป้าหมาย: นำเสนอปัญหา: สู่การแก้ไข
5. เป็นสื่อที่ดี
6. นำสิ่งดีดีที่มีในชุมชนมานำเสนอ
ปัจจัยสำหรับนักสื่อสารเพื่อการสื่อสารที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ
1. เข้าใจช่องทาง
2. สื่อสารอย่างต่อเนื่อง
3. พัฒนาเทคนิคการสื่อสาร/ ช่องทางอยู่เสมอ
เทคนิคการจับประเด็นเพื่อการสื่อสาร: นางสาวกรรณิการ์ แพแก้ว สภาผู้ชมผู้ฟัง Thai pbs
ทางโครงการคาดหวังว่าหลายๆคนจะเป็นนักสื่อสาร สร้างสรรค์ สังคมสุขภาวะได้อย่างไร? ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับโพสอิทคนละใบโดยโจทย์มีดังนี้
1. ให้เขียนช่องทางการสื่อสารการลงงานหรือกิจกรรมที่ท่านทำอยู่ หรือหน่วยงานที่ท่านทำอยู่ใช้ช่องทางการสื่อสารชื่อว่าอะไร
Facebook Fan Page
Facebook ส่วนตัว
Line group
NF หงษ์เจริญ
Aeaw Keangrak
สกก.การเกษตรในเขตปฏิรูป
ลุงยูรเมล่อนฟาร์ม
นู๋โบว์ จิ๋ดจัง
keangrakka
สวนสารพัด
Jarut John
NF. สสส.ชุมพร
เรื่องเล่าNode สุราษฎร์ธานี สสส.
โครงการยกระดับ วสช.
โรงเรียนบ้านท่าแซะ อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี
หมวดขาวชุมพร
บูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี
กฟก. ชุมพร
Chumphon city
Bo-0612154104
บ้านไร่ดวงกมล ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
แปลงต้นแบบเกษตรอัจฉริยะด้านอารักษาพืช กสก.
สวนนางฟ้า กลางป่าไผ่
เครือข่ายศจช.ชุมพร
เที่ยวชุมชนอำเภอละแม จ.ชุมพร
กลุ่ม ศจช.ต.เขาทะลุ
สานพลังสร้างสุขชุมพร
ชุมชนโพธิการาม อ.เมือง จ.ชุมพร
MJU2T ตำบลบ้านควน
สายน้ำผึ้งมาร์เก็ตเพลส
โรงพยาบาลบ้านนาสาร
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทยและชันโรง
2. หลังจากที่จบการอบรมนักสื่อสารครั้งนี้แล้วท่านมีแนวคิดหรือแนวทางในการนำความรู้ไปพัฒนาตนเองหรือไปเผยแพร่ในช่องทางไหนที่ไม่ใช่Facebook.
- เผยแพร่ใน Line OA: CD-SE และ เพจ วิสาหกิจเพื่อสังคมฅนธรรมธุรกิจ, Line, YouTube, Fan page และช่องอื่นๆ
- หลังจากอบรมคาดหวังว่าจะสร้างเพจส่วนตัวและเพจกลุ่ม รวมไปถึงแนะนำสมาชิกสร้างเพจเป้นของตัวเอง
- คิดว่าจะเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทาง YouTube, TIKTOK
- นำการสร้างสื่อไปใช้ในการปรับปรุงเพจ ท่องเที่ยวชุมชน อำเภอละแม จ.ชุมพร
- จะนำความรู้ไปพัฒนากลุ่มในจังหวัดชุมพร
- พัฒนาตนเองในการเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลให้กับผู้ป่วย NCD ที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลบ้านนาสาร และเผยแพร่ข้อมูลกับประชาชนในพื้นที่
หลักการการจับประเด็นและการเขียนข่าว
เมื่อสักครู่เราได้ทดลองจับประเด็นในเรื่องของบุคคลอื่น เรื่องง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลเยอะ แต่การที่เราจะเป็นนักสื่อสาร สร้างสรรค์ สังคมสุขภาวะ เราคงไม่เอาข่าวข้างบ้านตีกันทะเลาะกัน ยกเว้นแต่ว่าเป็นเรื่องที่นำมาซึ่งการใช้ความรุนแรง ถ้าเราจะต้องทำงานสังคมที่ต้องสื่อสารในชุมชน เราควรมองให้ไกลออกไปจากตัวเองสักนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่โครงการที่เราเป็นพี่เลี้ยงอยู่ หรือพื้นที่โครงการที่เราดำเนินงานอยู่ รวมไปถึงพื้นที่หมู่บ้านชุมชน มาดูกันว่าเราใช้หลักการที่จะกล่าวถึงอยู่หรือเปล่า อยากให้ทุกคนลองทบทวนกันดู เป็นหลักการง่ายๆ เมื่อมีผู้พูดต้องมีผู้ฟัง ซึ่งเราต้องฟังและดูอย่างตั้งใจ เวลาเราลงไปในชุมชน เขาอาจจะไม่ได้พูดสื่อสารออกมาตรงๆ แต่เขาปฏิบัติให้เราดู เราควรจะดูว่าเขาปฏิบัติอย่างไร เพื่อที่จะเขียนหรือเล่าออกมาให้คนอ่านเห็นภาพ เราจะเขียนอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องดูอย่างตั้งใจด้วย เมื่อกี้เราอาจจะได้ฟังเพื่อน แต่เดี๋ยวเราจะมีกิจกรรมตอนบ่ายที่เราต้องไปลงพื้นที่ อาจจะมีเรื่องให้เราต้องไปดู แล้วสิ่งที่เราดูเราจะต้องสื่อสารออกมาเป็นตัวหนังสือได้ยังไง จำไม่หมดให้จดไว้ก่อน หลายๆคนจำได้เนื้อหาที่ต้องการจะถ่ายทอดได้ แต่เชื่อว่ายังมีหลายคนที่จำเนื้อหาไม่ได้ไม่หมดเช่นกัน เพราะฉะนั้นเราจึงต้องทำการจดบันทึกควบคู่ไปด้วย ปัจจุบันนี้หลายคนแก้ไขปัญหาด้วยการบันทึกภาพหรือถ่ายวีดีโอเก็บไว้แทนการจดบันทึกก็ได้เช่นกัน ไม่ทราบว่าทุกคนได้ทำเรื่องนี้หรือเปล่า การค้นหาว่าในเรื่องๆนั้นมีหลักการของ 5W1H อะไรบ้าง นี้คือหลักการสื่อสารทั่วไป ซึ่งเดี๋ยวค่อยมาเรียนรู้กันในลำดับต่อไป การค้นหาจุดสำคัญของเรื่อง เรื่องนี้มีความสำคัญยังไง เช่นเมื่อสักครู่นี้ มีการให้โจทย์ว่าเล่าความทุกข์ ถ้าเราไม่ได้เล่าแบบที่เพื่อนเล่า เราจะเล่าในอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วมและสังคม เราจะต้องดึงความสำคัญของเรื่องนั้นออกมา ว่าทำไมเราจึงต้องสื่อสารเรื่องนี้ออกไป และสุดท้ายคือการลงมือเขียน อาจจะการพิมพ์หรือการเขียน แต่อย่างน้อยมันจะต้องมีการร่างดราฟแรกก่อน
หลักการสื่อสาร 5W1H
Who: ใคร กลุ่มองค์กรหรือกลุ่มอะไร?
What: ทำอะไร
Where: เกิดขึ้นที่ไหน
When: เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร
Why/How: ทำไมเขาต้องทำสิ่งนั้น, เขาทำสิ่งนั้นอย่างไร (อยู่ที่เราจะอธิบาย)
ซึ่งในเรื่องหนึ่งเรื่องที่เราจะสื่อสารจะใช้หลักการนี้ แต่ไม่จำหมายต้องเรียงตามหัว Who What Where When สามารถเรียงแบบไหนก็ได้ แต่การสื่อสารเรื่องหนึ่งเรื่องพยายามให้มีหัวข้อให้ครบเท่าที่ได้ตามที่กล่าวมานี้
หลักการเขียนเพื่อสื่อสาร
นอกจากมี 6 ส่วนที่กล่าวมาสักครู่แล้ว ในงานสื่อสารหนึ่งชิ้นงานจะประกอบด้วยอะไรบ้าง เราจะเน้นเรื่องงานเขียนเพจออนไลน์เป็นหลัก จะประกอบด้วย 5 ส่วน
พาดหัวข่าว: หลักการของการพาดข่าวคือจะทำยังไงให้คนสนใจ ความสนใจของคนหนึ่งคนต่อหนึ่งเรื่องตอนนี้สั้นมากใช้เวลา 7-8 วินาทีเท่านั้น เราจะทำยังไงให้เวลาที่เราพาดหัวข่าวแล้วมีคนสนใจในทันที่ การพาดหัวข่าวต้องทำให้สั้นและกระชับ มีอยู่ 2 ส่วนที่จะนำมาใช้ คือ Who และ What ใครทำอะไร หรือส่วนใหญ่ที่เราจะเจอคือ เจอแบบที่2 Who What และ Why ใครทำอะไรและทำสิ่งนั้นไปทำไม Why ส่วนใหญ่จะอธิบายผลลัพธ์ที่เขาต้องการว่า เขาทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร โดยเฉพาะงานข่าวที่เราจะเล่าว่าเราไปชุมชนนั้นกำลังทำเรื่องนี้ เขาทำไปทำไม ทำไมสังคมต้องรู้ว่าเขาทำเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นส่วนนี้ Who What และWhy จึงถูกนำมาใช้ในการพาดหัวข่าวมากที่สุด ตอนนี้เราจะเห็นได้ว่า สื่อออนไลน์ในปัจจุบันจะเขียนการพาดหัวข่าวยาว จะไม่เหมือนกับการเขียนหนังสือพิมพ์ในสมัยก่อนการพาดหัวข่าวจะเขียนแค่ 5-7 คำเท่านั้น วรรคนำ: เป็นการอธิบายโดยใช้หลักการ 5W1H เข้าไป ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร โดยไม่ต้องเรียง แต่เราจะเรียบเรียงตามความสวยงามเอง จากนั้นก็มีข้อความขยาย เนื้อหา และส่วนทิ้งท้ายเพื่อให้มีความน่าสนใจ
แบ่งกลุ่มฝึกทดลองเขียนงานจากสารคดีสั้น “แลต๊ะแลใต้” โดยให้ทุกคนเขียนสรุปเนื้อเรื่องอย่างน้อย 3 ย่อหน้า รวมมากว่า 9 บรรทัด
กลุ่มที่ 1: ภาคใต้ตอนบน
เมืองหลวงโรบัสต้า
เมื่อปี 2447 ชาวมุสลิมนำกาแฟโรบัสต้ามาปลูกเป็นครั้งแรกที่อำเภอสะบ้ายย้อย เมื่อได้รับความนิยมจึงขยายพันธุ์ปลูกในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดชุมพรที่ปลูกมากคือ อำเภอท่าแซะ อำเภอพะโต๊ะ และอำเภอเมืองชุมพร
กาแฟโรบัสต้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ เป็นพืชที่ราคาสูงให้ผลผลิตดี จึงเป็นที่นิยมปลูกมากขึ้น และทำให้ราคาตกต่ำ มีการดูแลที่ยาก ทำให้มีนโยบายหันมาปลูกทุเรียนกับยางพารามากขึ้น
ในปัจจุบันเกษตรกรได้หันมาทำการเกษตรแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำตั้งแต่การปลูกกาแฟและแปรรูป และจัดจำหน่ายเอง เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการดื่มกาแฟทุกครัวเรือน แต่ปัญหาในปัจจุบันมีปัญหาเรื่องสายพันธุ์ คุณภาพ ต้นทุนการผลิตสูง และตลาดที่รู้จักเฉพาะกลุ่ม
การที่จะให้กาแฟโรบัสต้าเป็นที่นิยมควรให้หน่วยงานร่วมช่วยพัฒนา ทั้งงานวิจัยที่เป็นรูปธรรม พัฒนาการตลาด เพิ่มช่องทางการตลาดให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น
กลุ่มที่ 2: 3 ท
โอกาสทอง “กาแฟใต้”
กาแฟใต้มีรสชาติดี กลิ่นหอม มีความเข้มข้นที่เป็นเอกลักษณ์
กาแฟโรบัสต้าปลูกที่จังหวัดชุมพร ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาและมีภูมิอากาศชื้น ทำให้กาแฟมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีคุณภาพมากกว่าที่อื่น
“ความสุขที่คุณดื่มได้”
กลุ่มที่ 3: สำนักโอ้โห! โรบัสต้า
โอ้โห! โรบัสต้ากาแฟพันธุ์ดีของภาคใต้
การกำเนิดกาแฟโรบัสต้า จุดเด่นของกาแฟโรบัสต้า จุดเด่นของกาแฟโรบัสต้า คือรสชาติที่เข้มข้น ติดฝาดเล็กน้อย เริ่มปลูกครั้งแรกโดย นายตรีหมุน ชาวมุสลิม ที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ต่อมาได้นำมาปลูกที่จังหวัดชุมพร เนื่องจากเป็นพื้นที่หุบเขา มีอากาศร้อนชื้นเหมาะแก่การปลูกเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ในประเทศไทย ปัจจุบันมีการปลูกกาแฟแบบครบวงจร ส่วนใหญ่จะทำการเกษตรแบบผสม คือการปลูกกาแฟแซมตามสวนผลไม้ วิธีเก็ยเกี่ยวผลผลิตปีละ 2-3 เดือนเป้นระยะเก็บเกี่ยว โดยจะเก็บเกี่ยวเฉพาะผลเชอร์รี่สุกแดง ข้อท้ายทายของกาแฟโรบัสต้า คือ ราคาถูก ต้นทุนเก็บเกี่ยวสูง นโยบายการสนับสนุนจากรัฐยังเข้าไม่ถึงเกษตรแบบสมัยใหม่
ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรสมัยใหม่ เชื่อว่าจะสามารถยกระดับกาแฟโรบัสต้าของจังหวัดชุมพร ก้าวเข้าสู่กาแฟสากลได้ แต่ต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐ “ส่งกาแฟชุมพร สู่กาแฟโลก”
กลุ่มที่ 4: บ้านไร่ดวงกมลและทีมงาน
โรบัสต้ากาแฟคุณภาพของชุมพร
ชุมพรเป็นเมืองหลวงของกาแฟโรบัสต้า
ด้วยสภาพภูมิประเทสและภูมิอากาศที่เหมาะสม ทำให้ชุมพรเป้นพื้นที่ปลูกกาแฟคุณภาพโรบัสต้ามากที่สุด
ยุคแรก ราคากาแฟสูง พื้นที่ปลูกขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่เกษตรกรขาดความรู้เลยส่งขายอุตสาหกรรมสำเร็จรูป
ยุคกลาง เกษตรกรปลูกมาก ผลผลิตตกต่ำ รัฐบาลลดพื้นที่ปลูกกาแฟ เกษตรกรเลยหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน ยางพารา
ปัจจุบัน เกษตรกรหาความรู้ ศึกษากระบวนการปลุกเพิ่มมูลค่ากาแฟ พัฒนารสชาติในคุณภาพ
“วันนี้โรบัสต้าของคนรุ่นใหม่ในชุมพรจะเป็นอย่างไรนั้น คงไม่ดีเท่ามาสัมผัสด้วยตัวเอง”
กลุ่มที่ 5:
เมืองกาแฟ(โรบัสต้า)
กาแฟโรบัสต้าเกิดจากการนำเข้ามาปลูกที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
เมื่อพ.ศ.2447 และนำมาปลูกที่ จ.ชุมพร ที่ อำเภอท่าแซะ อำเภอสวี อำเภอเมือง โดยกาแฟโรบัสต้ามีรสชาติเข้มข้น ติดฝาดเล็กน้อย เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกเหมาะสม จึงเป็นกาแฟที่มีรสชาติถูกปาก ถูกใจคอกาแฟ
ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังงหวัดชุมพร ได้มีการพัฒนาคุณภาพการผลิต ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น จึงขอเชิญชวน ผู้บริโภคทุกกลุ่ม ทุกวัย มาดื่มกาแฟโรบัสต้าชุมพรกัน
กลุ่มที่ 6: สำนักข่าวฉลามดำเมืองชุมพร
“อนาคตโรบัสต้าชุมพร”
กว่าจะมาเป็นกาแฟโรบัสต้าชุมพร เริ่มต้นจากปี พ.ศ.2447 ที่มีการนำสายพันธุ์กาฟาโรบัสต้ามาปลูกที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา และขยายตัวปลูกทั่วพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะชุมพร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม ทำให้รสชาติเป็นเอกลักาณ์ไม่เหมือนใคร จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็น “เมืองหลวงของโรบัสต้า”
ต่อมามีการขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น ผลผลิตส่วนใหญ่ส่งโรงงานเพื่อออกมาเป็นกาแฟสำเร็จรูป ราคาผลผลิตตกต่ำลง ส่งผลให้เกษตรกรหันกลับมาปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นทดแทน
ปัจจุบัน ตลาดกาแฟขยายตัวขึ้น ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้มีการใช้องค์ความรู้มาพัฒนากระบวนการผลิตกาแฟโรบัสต้า ตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการแปรรูปจำหน่าย ทำให้คุณภาพตามตลาดของผู้บริโภค และความยั่งยืนของโรบัสต้าชุมพร
กลุ่มที่ 7: สร้างสรรค์นิวส์
ชุมพรเมืองหลวงโรบัสต้า
เมื่อพูดถึงกาแฟคนเรามักจะพูดถึงแค่ชื่อลอย ๆเท่านั้นแต่รู้ไม่ว่ามีกาแฟสายพันธุ์หนึ่งที่ชื่อว่า กาแฟโรบัสต้า ที่เป็นอนาคตของเกษตรกรชาวชุมพร แต่ก่อนจะมาเป็นกาแฟขึ้นชื่อของชาวชุมพรนั้น กาแฟโรบัสต้าเริ่มต้นที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา เมื่อปี พ.ศ.2447จ.ชุมพรเป็นแหล่งปลูกกาแฟโรบัสต้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทสไทย ปลูกมากที่สุด อ.ท่าแซะ อ.สวี อ.พะโต๊ะ และเมืองชุมพร ด้วยลักษระพื้นที่เป็นเมืองแฟ่งฟุบเขา มีอากาศร้อนชื้น ทำให้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ ได้ผลผลิตมาก รสชาติดี
กาแฟชุมพรช่วงเวลาที่สำคัญในยุคแรกราคากาแฟสูง พื้นที่ปลูกเยอะแต่เกษตรกรขาดความรู้ในการเก็บเกี่ยวและส่งขายอุตสาหกรรมกาแฟสำเร็จรูป ยุคกลาง เกาตรกรเพิ่มพื้นที่ปลูกมากขึ้นแต่ราคาตกต่ำ ผลผลิตต่อไร่ลดลง ราคไม่จูงใจ หน่วยงานสนับสนุนปลูกยางและปลูกทุเรียนได้รายได้ที่ดีกว่า ในปัจจุบันเกษตรกรร่วมหาความรู้ศึกษากระบวนการการปลูก การดูแล เก็บเกี่ยว และแปรรูป ทำแบบครบวงจร
น่าเสียดายในปัจจุบันอัตราการบริโภคกาแฟโรบัสต้ามีอัตราสูงขึ้น แต่ราคาผลผลิตกลับตกต่ำลง พร้อมกันหรือยังที่จะพัฒนากาแฟโรบัสต้าให้สมกับชุมพร เมืองหลวงของโรบัสต้าที่ใหญ่ที่สุดให้เป้นของดีของพี่น้องชาวชุมพรต่อไป
แบ่งกลุ่มตามหัวข้อที่สนใจ
- กลุ่มที่ 1 เทคนิคการปรับใช้ Infographics และการฝึกใช้โปรแกรม Canva วิทยากร นางสาวดารัณ เจริญวงศ์ (สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยชุมพร) และทีมงาน
- กลุ่มที่ 2 การผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหว วิทยากร นายศาสนะ กลับดี (สมาคมประชาสังคมชุมพร), นายวิทยา แท่นรัตน์ (คนกล้าคืนถิ่น) และทีมงาน
- กลุ่มที่ 3 เทคนิคการพูดเพื่อการสื่อสาร วิทยากร นางสาวนฤมล ตันดี (องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยชุมพร), ว่าที่ ร.ต.หญิง วิราวรรณ เพชรแก้ว (สถานีวิทยุกองทัพบกภาคที่ 4) และทีมงาน
โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ช่วงที่1 แยกกลุ่มเรียนทฤษฎี และช่วงที่2 ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง
ช่วงที่ 1 การเรียนภาคทฤษฎี
กลุ่มของเทคนิคการปรับใช้ Infographics และการฝึกใช้โปรแกรม Canva
การทำ Infographics อาจจะต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป้าใคร เพราะมันจะทำให้เราออกแบบได้อย่างเหมาะสม
วิธีการทำ Infographics
- ต้องรวบรวมข้อมูลให้เพียงพอและต้องมาจากแหล่งที่อ้างอิงได้
- นำข้อมูลที่ได้มา สรุป วิเคราะห์ เรียบเรียง สกัดประเด็น ให้เหลือน้อยที่สุดแต่ยังคงไว้ด้วยความหมาย และสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร จากนั้นร่างออกมาเป็นรูปแบบที่ต้องการ
- จัดการองค์ประกอบต่างๆให้สวยงาม เพิ่มเทคนิคต่างๆหรือความคิดสร้างสรรค์เข้าไป
สำคัญที่สุดคือการฝึกฝน ขยันหาความรู้และเทคนิคต่างมาปรับใช้กับผลงาน
กลุ่มการผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหว
หลักสูตรการเรียนการสอนตัดต่อคลิปวิดีโอโดยใช้สมาร์ทโฟน แอพพลิเคชั่น Kinemaster
ก่อนจะเริ่มการเรียนการสอนจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เข้าเรียนต้องมีการจัดการและความรู้พื้นฐานของอุปกรณ์สมาร์ทโฟนของตัวเอง โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเติมเต็มความเข้าใจ ศักยภาพของอุปกรณ์ ยกตัวอย่างเช่นระบบแอนดรอยด์ระบบ iOS รวมถึงเวอร์ชั่นการรองรับปฏิบัติการของแอพพลิเคชั่นตัดต่อวีดีโอและแอปที่เกี่ยวข้อง ความรู้พื้นฐานการ ใช้ อินเตอร์เน็ต
-การเรียนรู้ทักษะพื้นฐานของการบันทึกวีดีโอและถ่ายภาพนิ่ง รวมถึงอุปกรณ์เสริมและวิธีแก้ปัญหาโดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
-เรียนรู้การ ร่างสคริปต์สำหรับ คลิปวิดีโอสั้น3 ถึง 5 นาที
-เรียนรู้การต่อภาพวิดีโอ ตัดภาพวิดีโอการ control แสงสีเสียงสั้นยาวความเหมาะสม
-เรียนลงรายละเอียดใน แอปพลิเคชั่น Kinemaster คำสั่งของแอพพลิเคชั่นการตกแต่ง effect ภาพ เสียง ตลอดจนการสั่งผลิตภาพยนตร์ที่ต้องการ
-เรียนรู้ปฏิบัติจริงลงในพื้นที่เพื่อถ่ายทำเก็บข้อมูลภาพเสียงเนื้อหาโดยมีพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษาขณะถ่ายทำ
-หลังจากเสร็จการถ่ายทำก็กลับมาที่พักเพื่อใช้เวลาในการประเมินวิเคราะห์ตัดต่อไฟล์งานให้ได้ดีที่สุดแล้วส่งออก มานำเสนอในกลุ่มของวันต่อไป
กลุ่มเทคนิคการพูดเพื่อการสื่อสาร
ฝึกทดสอบ ลมหายใจ, นวดลิ้น, การใช้โทนเสียงที่เหมาะสม, การใช้ไมค์, ทัศนคติที่ดี, บุคลิกภาพภายใน และภายนอก รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ก่อนพูด ฝึกพูดในโอกาสต่าง ๆ เช่น แนะนำตัว พรีเซ้นส์สินค้า ไล้ฟสดขายของ สมมุติพูดในรายการไล้ฟสด เป็นคู่ รวมถึง พูด เป็นคลิปตามแนวที่ตัวเองถนัด เป็นรายบุคคล
การพูด เป็นการสื่อสารที่ละเอียดอ่อนบางครั้งคำพูด 1 คำที่เป็นคำเดียวกันความหมายอาจไม่เหมือนกันจากน้ำเสียงที่กล่าวออกไป การพูดสื่อสารให้ตรงประเด็นนั้นควรมีการเรียงลำดับหรือวางสคลิปให้ดี ให้เราพูดอยู่ในกรอบที่ไม่เป็นการพูดไปเรื่อย ๆไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือสถาการณ์นั้นๆ
ช่วงที่ 2 ลงพื้นที่ปฏิบัติจริงใน 3 พื้นที่
1.เครื่องเขาน้ำทรัพย์ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง ม.8 (มัณฑณา พรหมสงค์ 084 - 7453955)
2.บ้านน้ำลอด (ผู้ใหญ่สำรวย รวดเร็ว 084-8396758 + อดีตกำนันวิเชียร ปานคง 086-2722213)
3.ประเสริฐศรีโคกหนองนาโมเดล ม.13 (มยุรี ปานโชติ 084-8376827)
1. เครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง หมู่ที่ 8 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร
กลุ่มเครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง จัดตั้งขึ้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2561 แรกเริ่มมีสมาชิกเพียง
7 คน รวมตัวกัน ซึ่งเกิดจากความต้องของสมาชิกในชุมชน ที่ต้องการมีรายได้เสริม เพราะคนในชุมชนส่วนมากทำการเกษตรเป็นหลัก ที่สำคัญคือสมาชิกเกษตรกรในชุมชนสามารถขายขาดตะไคร้ ข่า และพริกสด ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องแกงที่ปลูกให้กับกลุ่ม ทำให้ในส่วนนี้ก็เป็นรายได้เสริมให้กับสมาชิกด้วยอีกทางหนึ่ง โดยสมาชิกทุกคนในกลุ่มส่วนใหญ่เป็นแม่ครัวรับจ้างทำอาหารตามงานเลี้ยง จึงช่วยกันคิดค้นสูตรเครื่องแกงขึ้นมา และได้มีการปรับปรุงพัฒนาเรื่อยๆ จนคงที่ ได้เป็นสูตรลับเฉพาะของกลุ่ม สำหรับการผลิตเครื่องแกงของกลุ่มจะเน้นวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เก็บจากในท้องถิ่นแบบสดใหม่ไม่มีค้างคืน (สดใหม่ สะอาด อร่อย ไม่มีสารกันบูด) ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิก 88 คน จะนัดรวมตัวเพื่อผลิตเครื่องแกงเดือนละ 2-3 ครั้ง ณ ที่ทำการกลุ่มเครื่องแกง หมู่ที่ 8 ต.บางน้ำจืด เครื่องแกงที่กลุ่มผลิต ได้แก่ เครื่องแกงส้ม เครื่องแกงเผ็ด เครื่องแกงคั่วกลิ้ง เครื่องแกงเขียวหวาน สำหรับเครื่องแกงส้ม เครื่องแกงเผ็ด และเครื่องแกงเขียวหวาน จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 120 บาท ส่วนเครื่องแกงคั่วกลิ้ง จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 180 บาท มีจำหน่ายขนาด ½ กิโลกรัม และ 1 กิโลกรัม รายได้จากการจำหน่ายเครื่องแกงหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วจะนำมาปันผลให้กับสมาชิกกลุ่ม ปีหนึ่งจ่ายปันผล 2 ครั้ง ( 6 เดือน ต่อ ครั้ง)
2. บ้านน้ำลอด หมู่ที่ 12 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร
บ้านน้ำลอด มีอาณาเขตติดต่อ หมู่ที่ 4 ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร ชื่อ “บ้านน้ำลอด” มีความเป็นมาจาก ลำห้วยธรรมชาติที่ระบายน้ำในหมู่บ้าน น้ำที่ไหลจากด้านบนลงสู่ท้องนาและออกคลองบางมุดลงสู่ทะเลที่ปากตะโก ลักษณะของน้ำจะไหลลอดข้างใต้โขดหิน จึงเป็นที่มาของ บ้านน้ำลอด นอกจากนี้ในอดีตคลองบางมุด ยังมีตำนานจระเข้ “ไอ้ด่างบางมุด” เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2507 ชาวบ้านหากินอยู่ในลำคลองแถบนั้นเริ่มเห็นความผิดปกติของจระเข้ตัวหนึ่ง มีลำตัวใหญ่มากกว่าจระเข้ทั่วไปที่เคยพบเห็นเป็นประจำ ชอบลอยคอให้ชาวบ้านเห็นและไม่ค่อยจมลงตอนเจอเรือของชาวบ้าน ชอบให้หางฟาดน้ำ ผิดกับจระเข้ตัวอื่นๆ เมื่อเห็นเรือของชาวบ้านจะต้องหนีไปทันที ต่อมาชาวบ้านพบศพแรกทีถูกจระเข้กิน นายอุดม บุญยก ที่หมู่ 5 และห่างอีกประมาณ 1 เดือน พบศพที่จระเข้กินอีก 1 ศพ ที่ม.12 จึงทำให้ชาวบ้านเริ่มไม่กล้าออกมาหากินในคลองบางมุดเหมือนอย่างเคย เพราะกลัวจระเข้ ปักใจเชื่อว่าจระเข้ตัวนี้ไม่ธรรมดา ปากต่อปากจึงทำให้ข่าวจระเข้ดุร้ายตัวนี้ดังไปทั่วประเทศ ชื่อว่า“ไอ้ด่างบางมุด” มาจากที่มีผู้พบเห็นว่า ข้างขาหน้าของมันมีสีขาวเป็นแผลเป็น
3. ประเสริฐศรี โคกหนองนา หมู่ที่ 13 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร
นางมยุรี ปานโชติ เจ้าของแปลง มีความชอบและสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ในปี พ.ศ. 2540 จึงได้เข้าอบรมหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง และได้นำเอามาใช้ในสวนปาล์มน้ำมัน 10 ไร่ของตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ.2562 – 2563 มีการเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการโคก หนอง นา ทราบเรื่องเมื่อหมดเวลารับสมัครแล้ว จึงทำให้ไม่ได้ร่วมโครงการ ต่อมาเกิดการระบาดโรคโควิด-19 โครงการโคกหนองนาจึงถูกระงับ และ มาเปิดรับสมัครใหม่ในปี พ.ศ. 2564 จึงได้สมัครเข้าร่วม ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ และทำตามแบบของโคก หนอง นา ซึ่งก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ ก็ได้ทำโคกหนองนาขุดเองในพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อเข้าร่วมโครงการ ได้ขุดเพิ่มอีก 1 ไร่ โดยมี บ่อเลี้ยงปลาดุก 1 บ่อ บ่อเลี้ยงปลาจิตรดา 1 บ่อ นาผักบุ้งแก้ว 1 แปลง บนคันนาปลูกต้นไม้ ตามหลักการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ได้แก่ ไม้โตเร็ว ไม้ใช้สอย ผลไม้ พืชผักสวนครัว พืชล้มลุก เช่น ข้าวโพด พริก มะเขือ ตะไคร้ ข่า เป็นต้น
เครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง หมู่ที่ 8 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร
บ้านน้ำลอด หมู่ที่ 12 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร
ประเสริฐศรี โคกหนองนา หมู่ที่ 13 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร
การเผยแพร่งานสื่อด้วยช่องทาง C-Site: คุณชาญวิทูร สุขสว่างไกร (สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส ภาคใต้)
C-Site Reporter เปรียบเสมือนเครื่องมือการเชื่อมต่อที่มีลักษณะเรียกว่า ปัญญามหาชน แนวคิดหลักมาจากการทำนักข่าวพลเมือง ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นนักข่าวได้ โดยใช้พื้นที่ของ ไทยพีบีเอสในการรายงานนำเสนอข้อมูลต่างๆ แอพพลิเคชั่น C-Site สามารถใช้ได้บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทั้ง สมาร์ทโฟนและแท็ปแลต เพื่อรองรับกิจกรรมและการสื่อสารแบบรวมหมู่ โดยเน้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆตัว และแสดงพิกัดของที่เกิดเหตุ สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกในรูปแบบของพิกัดทางภูมิศาสตร์และแสดงผลบนแผนที่ เมื่อผู้ใช้เปิดแอพลิเคชันขึ้นมา ข้อมูลดั่งกล่าวจะแสดงผลทันทีเมื่ออยู่ในรัศมีที่กำหนด แอพพลิเคชัน C-Site จึงเป็นทั้งการสะสมปัญญาของคนในสังคมและยังเป็นพื้นที่ในการสื่อสารของภาคประชาชนอีกด้วย
วิธีดาวน์โหลดและสมัครใช้งาน แอพพลิเคชัน C-Site
วิธีการเขียนโพสต์รายงานข่าว
การโพสรายงานข่าว คือการเล่าเรื่องราวในรูปแบบของเราเอง โดยการบอกว่า ใคร เมื่อไหร่ ทำอะไร หรือเกิดอะไรขึ้น ที่ไหน และอย่างไร สำหรับวิธีการโพสรายงานข่าว ลำดับแรกให้เปิด แอพพลิเคชั่น C-Site ขึ้นมา เลือกเมนู โพสต์ข่าวด้านล่าง สามารถเลือกรูปแบบการโพสต์ได้ ไม่ว่าจะเป็นโพสต์แบบสาธารณะ สาธารณะแบบไม่ระบุตัวตนและแบบส่วนตัว ระบุชื่อสถานการณ์คือการพาดหัวข่าวหรือชื่อเรื่องนั้นได้เลย สำหรับการพาดหัวข่าวยอดนิยม ตัวอย่างเช่น คุณต้องไม่เชื่อแน่ ๆ เมื่อ............ , น้ำตาตกเมื่อเห็นสิ่งนี้, 10 เหตุผลที่คุณควร/ต้อง/ห้ามพลาด หรืออาจขึ้นต้นด้วยคำว่า ช็อคมาก! อุทาหรณ์!, แล้วคุณจะรู้ว่า, ทำอย่างไรเมื่อ....., ระทึก! การลงท้ายด้วยคำว่า ไปดูกัน, นี่คือสิ่งที่คุณต้อง ถัดมาเป็นการระบุเนื้อหาข่าวและรายละเอียดต่างๆ บอกพิกัดโดยการระบุตำแหน่งของที่เกิดเหตุ เลือกหมวดหมู่ของข่าวที่นำเสนอ เช่น ข่าว/เหตุการณ์, วิถีชีวิต, ภัยพิบัติ, ร้องทุกข์ เป็นต้น เลือกติด #hastage เพื่อให้น่าสนใจและเพื่อค้นหาได้ง่ายขึ้น เพิ่มรูปภาพได้ถึง 7 ภาพ รวมถึงคลิปวีดีโอ โดยความยาวไม่ควรเกิน 1-2.30 นาที เมื่อกรอกรายละเอียดครบแล้วก็สามารถโพสต์ข่าวได้เลย หรือจะบันทึกเพื่อเป็นแบบร่างก่อนได้
ให้แต่ละกลุ่มนำเนื้อหาที่ได้ไปลงปฏิบัติในแต่ละพื้นที่มาเขียนข่าวลงใน C-Site
อัยย่ะ! เคล็ดลับความหรอยแรงเครื่องแกงใต้
วิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง เกิดขึ้นจากสาเหตุผลผลิตทางการเกษตรที่ชาวบ้านปลูกกินเองมีมากจนล้นตลาด ราคาถูก ไม่มีคนซื้อ คนในชุมชนเลยคิดหาทางแก้ปัญหาจนเกิดมาเป็น เครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง ผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน สดจากไร่ ใหม่ทุกวัน คนในชุมชนปลูกกันกันเอง มีการส่งวัตถุดิบให้วิสาหกิจชุมชนผลิตเครื่องแกงแบบวันต่อวัน ไม่ใส่สารกันเสีย ผลิตภัณฑ์จึงมีความสด สะอาด และปลอดภัย เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจภายในชุมชน และสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ชุมชนหนองไก่ปิ้ง
FB: เครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง
เพจหลัก Line : 0847453955
Tel: 0612509196
• เครื่องแกงเผ็ด เครื่องแกงส้ม เครื่องแกงคั่ว กระปุกละ 60 บาท กิโลกรัมละ 120 บาท
สุดปลื้มผู้เข้าร่วมอบรม โคก หนอง นา ประเสริฐศรี
จากการลงพื้นที่เรียนรู้ โคกหนองนา โมเดล ทำให้เข้าใจว่าการสร้างอาหารกินเอง มีความสัมพันธ์กับการมีสุขภาพ ดั่งคำที่ว่า สุขภาพดีสร้างได้ด้วยมือตัวเอง โดยกลุ่มนักพูดได้แบ่งการทำงานกัน 4 คู่ คู่แรกพูดเปิดงาน แนะนำเจ้าของสถานที่ คู่สอง สัมภาษณ์พูดคุยถึงเหตุผลที่พี่รีทำพื้นที่โคกหนองนา คู่สาม สอบถามถึงผลิตภัณฑ์ของงานโคกหนองนา คู่สี่ กล่าวสรุปงาน
เปลี่ยนแปลงปาล์มเป็น โคก หนอง นา
เมื่อ 2 ตุลาคม 2565 ผู้เข้าร่วมอบรมนักสื่อสาร สร้างสรรค์ สังคมสุขภาวะ รุ่นที่ 2 ได้ลงแปลงโคกหนอง นา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ร่วมเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงเกษตรจากสวนปาล์ม มาเป็นแปลงเกษตรผสมผสาน จากการมีปัญหาด้านสุขภาพ ของเจ้าของแปลง คุณมยุรี ปานโชติ นอกจากทำเกษตรแล้วยังมีอาชีพเสริม ค้าขายและรับจัดดอกไม้ตามงานต่างๆ เลยทำให้ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ ที่เห็นได้ชัดคือ โรคภูมิแพ้ต่างๆ เลยตั้งใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาทำแปลงปลูกผลไม้ ผัก พืช สมุนไพร แบบไม่ใช้สารเคมี ช่องทางการติดต่อสำหรับผู้ที่สนใจมาร่วมเรียนรู้
F.มยุรี ปานโชติ
เบอโทร 0848376827
พัฒนาชุมชนอำเภอหลังสวน อบต.บางน้ำจืด
โคกหนองนาโมเดล
ไขมันทำอะไรฉันไม่ได้หรอก…. พี่มยุรี ปานโชติ กล่าวว่า แนวคิดที่มาริเริ่มทำโคก หนอง นา เริ่มจากมีปัญหาสุขภาพ มีโรคประจำตัว เป็นโรคภูมิแพ้ แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ และเป็นโรคไขมัน พอได้อยู่กับธรรมชาติ พี่มีสุขภาพที่ดีขึ้น หันมาปลูกผักกินเอง ลดการใช้สารเคมีในการปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร เพราะมีการหันมา ทำปุ๋ยหมักใช้ในการเกษตร
ตำนานไอ้ด่างบางมุดสู่วิถีท่องเที่ยวชุมชน
จากอดีตคลองบางมุดเมื่อใครได้ฟังก็จะสะพรึงกลัว เหตุจากไอ้ด่างซึ่งเป็นจระเข้ที่กลืนกินผู้คนในละแวกนั้น แต่กาลเวลาเป็นความหวาดกลัวเริ่มจางหาย คนรุ่นใหม่นำตำนานนั้นมาเป็นจุดนำทางให้ผู้คนสนใจเข้ามาดูไอ้ด่างบางมุดในพื้นที่ มีคนในชุมชนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึง อาหาร ที่พักไว้รองรับ นักท่องเที่ยว
นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่ม และ วิพากษ์เติมเต็ม: ทีมวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ
กระบวนการทำงานของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มบ้านน้ำลอด
สมาชิกกลุ่ม
1. ร้อยตรี ศุภชัย ร้อยขาว (วีดีโอ)
2. นายวิระ ปัจฉิมเพชร (วีดีโอ)
3. นายจารุต พรมเกศา (วีดีโอ)
4. นายเอกฤกษ์ ช่วยอุปการ (กราฟฟิก)
5. พีรณัฐ แก้วมณี (วีดีโอ)
6. นายปภังกร ราชวงค์ (กราฟฟิก)
7. นางพจมาน สุขอำไพจิตร (กราฟฟิก)
8. นายวิศุทธิ์ ติดคล้าย (กราฟฟิก)
9. นายจรัญ ไกรขาว (สัมภาษณ์เก็บข้อมูล)
10. นางสาวอรวรรณ มาอยู่ (กราฟฟิก)
11. นางสาวอังวิภา โสมขันเงิน (วีดีโอ)
ทุกคนในทีมมีส่วนร่วมในการเดินทางไปพื้นที่ เพื่ออเก็บข้อมูล วีดีโอ, สัมภาษณ์, ภาพนิ่ง, รวมถึงสอบถามคนในพื้นที่และค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต
หลังจากกลับจากพื้นที่ ได้รวมตัวกันปรึกษาหารือกันกับแนวทางการทำข่าว และให้น้อง ๆทำข้อมูลที่นำมารวบรวมไว้ในกลุ่มไลน์ไปตัดต่อ ตามรายละเอียดที่ได้ตกลงกันในกลุ่ม
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงเขาน้ำทรัพย์ร่วมใจหนองไก่ปิ้ง
สมาชิก
1. นางสาวปทุมพร ทองสิน (เก็บภาพนิ่ง)
2. นางสาวปวีณ์นุช มีเสน (เขียนสคลิป)
3. นายไชยเชษฐ์ แป้นศรีนวล (ตัดต่อวีดีโอและภาพถ่ายวีดีโอ)
4. นางณัฐศธร ช่วยแท่น (สื่อสารกับพื้นที่ในชุมชน สอบถามข้อมูล)
5. นางปาณิสรา ชาญชัยศรี (เก็บภาพนิ่งและวีดีโอ)
6. นางสาวศิริรัตน์ ส้มตั้น (กราฟฟิกและลงพื้นที่)
7. นางลักขณา ชมภู (เก็บภาพและสอบถามข้อมูล)
8. นางสุวณี พิทักษ์ภาวสุทธิ (กราฟฟิกและลงพื้นที่)
9. นางนงนุช ตั้นตี่ (ลงพื้นที่และหาข้อมูลผลิตภัณฑ์)
กลุ่มประเสริฐศรี โคก หนอง นา
สมาชิก
1. พี่เบ๊ตตี้ (เขียนสคลิปและจดข้อมูล)
2. อาจารย์ไก่เถื่อน (บันทึกเสียง)
3. น้องชุ (ถ่ายทำและตัดต่อวีดีโอ)
4. พี่หนุ่ม (ถ่ายทำและตัดต่อวีดีโอ)
5. พี่โบว์ (กราฟฟิก)
6. พี่นัน (นักแสดง)
7. พี่อ้อย (สัมภาษณ์)
8. พี่แอ๋ว (ภาพนิ่ง)
ผลงานกราฟฟิก
1. กลุ่มบ้านน้ำลอด
คุณกรรณิการ์ แพแก้ว: เป็นชิ้นงานที่เข้ากับหลักการความสนใจของคนใน 8 วินาที เราสนใจในการที่เขานำเสนอในแง่นำที่เป็นเชิงประวัติศาสตร์ มีความเกรงขาม น่ากลัว เมื่อเราเห็นปุ๊บ ต้องรีบวิ่งมาดูว่ามันคืออะไร
|
-
|
ประชุมการประชาสัมพันธ์ทุน Road to creators สื่อสร้างสรรค์โอกาศสำหรับทุกคน (กองทุนสื่อ) |
15 ต.ค. 2565 |
15 ต.ค. 2565 |
|
ร่วมรับฟังแนวทางการขอทุนว่ามีระเบียบอย่างไร พร้อมทั้งถ่ายทอดสดบันทึกไว้ในเพจ ต้นน้ำพลเมืองเปลี่ยนทิศ
|
|
-ได้รับรู้แนวทางในการขอทุนกับกองทุนสื่อ
ได้รับความรู้ในเรื่องข้อกฎหมายในการผลิตสื่อ
กฎระเบียบของการผลิตสื่อที่สร้างสรรค์
|
-
|
ลงพื้นที่เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอ ความมั่นคงทางด้านอาหาร (ข้าวไร่) |
25 ม.ค. 2566 |
25 ม.ค. 2566 |
|
-นัดหมายเป้าหมายที่เราจะจัดทำคลิปวีดีโอและลงพื้นที่ถ่ายทำ
|
|
วีดีโอ 1คลิปความยาว 04.41 นาที
ยอดวิว
ยอดแชร์
|
-
|
ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทำคลิปวีดีโอเรื่อง พืชร่วมยาง-สวนยางยั่งยืน (พื้นที่ต้นแบบ) |
2 ก.พ. 2566 |
2 ก.พ. 2566 |
|
นัดหมายพื้นที่เพื่อลงพื้นที่ถ่ายทำวีดีโอ
|
|
วีดีโอ 1 คลิป ความยาว05.56 นาที
ยอดวิว
ยอดแชร์
|
ไม่มี
|
ลงพื้นที่เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอเรื่อง สวนยางยั่งยืนกับพืชร่วมยาง |
6 มี.ค. 2566 |
6 มี.ค. 2566 |
|
นัดหมายเป้าหมายที่เราจะจัดทำคลิปวีดีโอและลงพื้นที่ถ่ายทำ
|
|
วีดีโอ 1 คลิป ความยาว 04.26นาที
ยอดวิว
ยอดแชร์
|
-
|
เวทีปฎิบัติงานสื่อสาร (รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวานเพื่อผลิตข่าว ตอน ธนาคารปูม้า) |
5 มิ.ย. 2566 |
5 มิ.ย. 2566 |
|
*
|
|
*
|
|
ประชุมคณะทำงานชุมชนสีเขียว |
8 มิ.ย. 2565 |
|
|
|
|
|
|
ประชุมคณะทำงานสื่อ ครั้งที่ 1 |
17 ก.ค. 2565 |
17 ก.ค. 2565 |
|
จัดเวทีประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนงานสื่อสารประเด็นความมั่นคงทางอาหารภาคใต้
|
|
มีผู้เข้าร่วมประชุมตามเป้าหมายจำนวน 12 คน ซึ่งเป็นนักสื่อสารในจังหวัดชุมพร
-เกิดคณะทำงานที่มีความสามารถที่โดดเด่นในแต่ละด้านของการสื่อสาร และแบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนในความรับผิดชอบงานรวมถึงการพัฒนาข้อมูลแฟลตฟอร์มที่มีอยู่แล้ว และแนวทางปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น
-กำหนดการนัดหมายในการจัดเวทีพัฒนาศักยภาพการอบรมสื่อสร้างสรรค์สังคมภาคใต้ตอนบนในวันที่ 20-21 สิงหาคม 65
|
-
|
ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ |
7 ส.ค. 2565 |
7 ส.ค. 2565 |
|
จัดประชุมผ่านระบบ online
|
|
นายอานนท์ มีศรี ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมผ่านซูมในครั้งนี้เพื่อได้รายงานความคืบหน้าของการดำเนินการงานสื่อ และกำหนดการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อในแต่ละพื้นที่
หัวข้อที่ 1 หารือกำหนดการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อ และรายงานการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่
จังหวัดนครศรีธรรมราช นายอานนท์ มีศรี แจ้งการดำเนินงานสื่อสร้างสุขภาคใต้ มีช่องทางการสื่อสาร 3 ช่องทาง ได้แก่ Page Facebook website และ YouTube โดยใช้ชื่อว่า สื่อสร้างสุขภาคใต้ โดยจะรวบรวมนำเสนอการขับเคลื่อนงานเครือข่ายงานสื่อสารภาคใต้และรวบรวมช่องทางการติดต่อของคณะทำงานในแต่ละพื้นที่ โดยเว็ปไซส์ของสื่อสร้างสุขจะทำการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นด้าน ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางอาหาร จะมีตัวจัดเก็บข้อมูลงานประเมิน งานวิชาการ งานสื่อ รวมไปถึงการแจ้งข้อมูลข่าวสารการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ส่วน YouTube จะนำเสนอด้านการไลฟ์สดและคลิปวิดีโอสั้นๆ ในแต่ละพื้นที่สามารถนำเสนอการขับเคลื่อนได้ในช่องทางการสื่อสารส่วนกลางของงานสื่อสร้างสุขได้ ซึ่งในส่วนนี้อยู่ในการรวบรวมข้อมูลและดำเนินงาน
จังหวัดกระบี่ นายธรรมดิวิชย์ ศรีรุ้ง ศาลาด่านโมเดล เป็นโมเดลต้นแบบ ขับเคลื่อนในเรื่องของภัยพิบัติ มีการไลฟ์สดผ่านเพจสื่อสร้างสุขภาคใต้เมื่อปลายเดือน ก.ค.65 ผ่านมา และคลิปสั้นๆในการนำเสนอของศาลาด่านโมเดล มีการทำ Application อยู่ในการรวบรวมข้อมูล พื้นที่ต่างๆที่เป็นจุดเสี่ยงในพื้นที่ของศาลาด่าน ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรในพื้นที่ ถนน หรือจุดเสี่ยงต่างๆ
คุณฐิติชาญาน์ บุญโสม เพิ่มเติม ในรูปแบบการทำสื่อทั้งสองพื้นที่ของประเด็นคือ ศาลาด่าน จังหวัดกระบี่และมะรุ่ย จังหวัดพังงา จะเน้นให้ความสำคัญกับสื่อท้องถิ่นด้วยการสื่อสารท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชน การผลิตคลิปวิดีโอจากเนื้องานต่างๆ มีเครือข่ายที่มารวมทำงานด้วย คือ คุณฮาฤทธิ์ ที่จะมานำผลขยายผลการผลิตในพื้นที่ไปเพิ่มเติม มีการวางแผนอบรมการผลิตสื่อในพื้นที่ชุมชนและนำสื่อมาเผยแพร่ต่อ รวมไปถึงการนำผลงานต่างๆไปเผยแพร่ในแพลตฟอร์มต่างๆของงานสื่อสร้างสุข และทำยังไงให้ผลงานมีความน่าสนใจ และมีคนเข้ามาดูเป็นจำนวนมาก
จังหวัดชุมพร คุณศาสนะ กลับดี ชี้แจงสองประเด็นหลัก งานบุคลากรและแพลตฟอร์มหลักของสมาคมประชาสังคมชุมพร บุคลากรหลักของงานสื่อสมาคมประชาสังคมชุมพร ได้แก่ นายศาสนะ กลับดี นางสาวศิลาพร กลับดี นางวิรงค์รอง เอาไชย นางสาวสุชานันท์ โคนาหาญ นายทวีวัตร เครือสาย นายกสมาคมประชาสังคมชุมพร เป็นที่ปรึกษา คุณพัลลภา ระสุโส๊ะ ผู้ประสานร่วม คุณหนึ่งฤทัย พันกุ่ม ทีมวิชาการที่จะมาเสริมเรื่องเนื้อหาของการสื่อสาร แพลตฟอร์มของสื่อชุมพร จะใช้ Page Facebook เป็นหลัก โดยมี 2 เพจ 1. ชื่อเพจสมาคมประชาสังคมชุมพร จะเป็นเนื้อหาที่คลอบคลุมระดับประเทศ ระดับภาคและระดับจังหวัด 2. ชื่อเพจสานพลังสร้างสุขชุมพร จะเป็นเนื้อหาบริบทระดับจังหวัด อีกทั้งยังมี YouTube TikTok twitter นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มสำรองคือ ต้นน้ำ พลเมืองเปลี่ยนทิศ และเครือข่ายที่มีเพจเป็นของตัวเองก็ยังช่วยสนับสนุนในการเผยแพร่งานสื่อในจังหวัดชุมพร
คุณศิลาพร กลับดี รายงานความก้าวหน้าของการทำงานของจังหวัดชุมพร มีการดำเนินการจัดตั้ง/ปรับทีมคณะทำงานให้เป็นระบบ และมีบทบาทการทำงานอย่างชัดเจนมากขึ้น การกำหนดในเรื่องการอบรมเรียนการพัฒนาศักยภาพสื่อในเรื่องของขยับงานตามแผนโครงการ การพัฒนาศักยภาพสื่อของจังหวัดชุมพร มีการกำหนดวันไว้แล้วและมีการเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมไว้บ้างแล้ว ซึ่งจะจัดในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2565 มีการอบรมเรื่อง การเขียนข่าว การทำกราฟฟิก การผลิตสื่อเคลื่อนไหว และนักจัดรายการวิทยุ ด้านวิทยากรยังไม่ได้กำหนด แต่ได้วางแผนการทำงานไว้แล้ว
นายอานนท์ มีศรี ชื่นชมทีมจังหวัดชุมพรที่มีทีมทำงานเข้มแข็ง การพัฒนางานสื่อที่หลากหลายแฟลตฟอร์ม เพื่อให้ทุกกลุ่มวัยเข้าถึงได้ และเสริมในการลงพื้นที่ถ้าพื้นที่นั้นมีช่องทางการติดต่อสื่อสาร ให้เอาแพลตฟอร์มของพื้นที่นั้นมาเพื่อที่จะนำมาไว้ในช่องทางการติดต่อของเว็บไซส์สื่อสร้างสุขโดยตรง
หัวข้อที่ 2 แผนการทำงานพื้นที่ และการร่วมประชุมวันที่ 17 - 18 สิงหาคม 2565 และเตรียมการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพ
นายอานนท์ มีศรี การเลือกพื้นที่ตามประเด็น ต้องตั้งนิยามของประเด็นให้ชัดเจน โดยต้องมาหารือกันในวันที่ 17-18 ส.ค.65 พืชร่วมยาง: ชุมพร นครฯ ระนอง นราธิวาส เกษตรกรรมยั่งยืน:ชุมพร และสุราษฎร์ธานี(ไชยา) โดยจะกำหนดการพูดคุย แยกแต่ละประเด็น และทีมงานสื่อทุกจังหวัดก่อน
อาจารย์ไพฑูรย์ ทองสม เสนอให้จัดพัฒนาศักยภาพฯของแต่ละจังหวัด แล้วค่อยกำหนดในเวทีส่วนกลาง(ยกระดับจากพื้นที่)
-กำหนดวันที่ 24-25 กันยายน 2565 ณ เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ กำหนดการลงทะเบียนเวลา 13.00 น. เป็นต้นไป
-กลุ่มเป้าหมาย เป็นคณะทำงานและตัวแทนแต่ละประเด็นละ 1 คน และคนพัฒนาศักยภาพมาแล้วในพื้นที่ 3-4 คน (ชุมพร:ผู้แทนประเด็น 1 คน และจากพื้นที่ที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพมาแล้ว 3-4 คน) รวมแล้วตั้งเป้าหมายไว้ที่ 40 คน(+-5 คน)
-งบประมาณ มีงบ 50,000 บาท (งบกลาง 160,000 บาท) แยกไว้ 20,000 บาท ในการดูแลแฟลตฟอร์มส่วนกลางสื่อสร้างสุขภาคใต้
-เสนอให้แต่ละประเด็นรับผิดชอบค่าเดินทางของผู้แทนประเด็นแต่ละพื้นที่เอง ส่วนการพัฒนาศักยภาพมาแล้ว 3-4 คน นั้นใช้งบจาก Node สื่อของแต่ละจังหวัด
-สถานที่ให้จัดการเสนอราคาที่พัก ห้องประชุม ที่จังหวัดกระบี่(เกาะลันตา) ใช้จ่ายผ่านงบสนส.ให้ประมาณการ คชจ.แล้วจะโอนให้
-เสริมในเรื่องการขับเคลื่อนงานแต่ละประเด็นเพื่อให้คุณจุรีได้ออกแบบการสื่อสารสาธารณะอย่างไรให้โดนใจ
-การรายงานการขับเคลื่อนพัฒนาฯแต่ละพื้นที่ และทำกำหนดการเพื่อเตรียมการอบรมในวันที่ 24-25 ก.ย. 65
ในที่ประชุมครั้งนี้ได้ข้อสรุปตามข้างต้น และเลิกประชุมเวลา 15.00 น.
|
-
|
จัดทำคลิปวีดีโอเรื่องข้าวหลามกาบแดงในสวนยางยั่งยืน |
16 ส.ค. 2565 |
16 ส.ค. 2565 |
|
สำรวจข้อมูล
ร่างสคริป
ลงพื้นที่เก็บข้อมูล
ถ่ายทำวีดีโอ ตัดต่อ
เผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อ
|
|
คลิปสั้นความยาว 4.59 นาที
ยอดวิว
ยอดแชร์
ยอดผู้เข้าถึง
|
ไม่มี
|
ลงพื้นที่จัดทำวีดีโอสวนยางยั่งยืนในวิถีพันธุกรรมพืชท้องถิ่น |
26 ส.ค. 2565 |
26 ส.ค. 2565 |
|
สำรวจข้อมูล
ร่างสคิป
ลงพื้นที่จัดทำข้อมูล
ถ่ายทำพร้อมตัดต่อและเผยแพร่ลงช่องทางสื่อ
|
|
คลิปวีดีโอความยาว 3.50 นาที
ผู้ชม
ผู้เข้าถึง
ผู้แชร์
|
ไม่มี
|
ลงพื้นที่ถ่ายทอดสดเฟสบุ๊คไลฟ์ผ่านช่องทางเพจสมาคมประชาสังคมชุมพร |
29 ส.ค. 2565 |
29 ส.ค. 2565 |
|
ถ่ายทอดสดเฟสบุ๊คไลฟ์
|
|
เวทีจัดทำแผนความร่วมมือเกษตรกรรมยั่งยีน(สวนยางยั่งยืน) ภาคใต้ตอนบน ประจวบคีรีขันธ์- ชุมพร-ระนอง-สุราษฎร์ธานี วันที่ 29 สค.65 ณ กยท.ชุมพร...โดยมีผู้แทนสถาบันเกษตรกร - เกษตรกรต้นแบบสวนยางยั่งยืน- ผู้บริหาร กยท. - จนท. สปก. ทั้งแบบ onsite และ onlin ... ยกกรอบร่างแผนงานความร่วมมือ 3 แผน...1)แผนพัฒนากลไกความร่วมมือระดับพื้นที่. 3 ระดับ.สถาบันเกษตร-จังหวัด-ระดับเขต และจะมีวงติดตามแลกเปลี่ยน กันทุก 2 เดือนร่วมกัน ค่อยๆ ขยายวงในส่วนงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2) แผนส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน โดยยึดเป้าหมาย ความมั่นคงทางอาหาร ในหลักการ ความหลากหลายทางชีวภาพ ผลผลิตสะอาดปลอดภัย กระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นฐานหลักทางเศรษฐกิจ และการขับเคลื่อนตลอดห่วงโซอุปทาน (โมเดล BCG)..ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ..เช่นโดย เริ่มขยายผลสวนยางยั่งยืน จาก แปลงต้นแบบ 33แปลง กับกลุ่มเกษตรกร เข้าร่วมโครงการพืชเสริมยาง ฯ สนับสนุนให้มีระบบพี่เลี้ยงผ่าน สถาบันเกษตร (นำร่อง) ในพื้นที่นั้นๆ บูรณาการโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง
3 แผนติดตามประเมินผลและจัดการความรู้ โดยมีกิจกรรมสำคัญ การติดตามผลลัพธ์ ซึ่งอาจใช้รูปแบบ R to R กับกลไก เจ้าหน้าที่ และ ผู้นำสถาบันเกษตรกร การสื่อสารประชาสัมพันธ์...รูปแบบต่างสั้นกระชับ เข้าถึงได้ง่าย กว้างขวาง...ทั้งคลิป ติ๊กต๊อก โซเชียลมีเดีย ฯ และการพัฒนา/ผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย...ทั้งสมัชชาสวนยางยั่งยืน 3 และที่จะจัดครั้งที่ 4 , สมัชชาชุมชนสีเขียว , เวทีสร้างสุขภาคใต้ ตามความสะเหมาะกับ จังหวะและโอกาส
สำคัญยิ่ง...คือการนำแผนความร่วมมือ...ไปบรรจุในยุทธศาสตร์ กยท. ภาคใต้ตอนบน ในวันที่ 22 กย.65 นี้ ให้เชื่อมโยงกับ แผนปฏิบัติงาน กยท.
ผู้บริหาร กยท. ทั้งระดับเขต และ 4 จังหวัด ผู้บริหาร สปก. 3 จังหวัด และ ผู้แทนกรรมการสถาบันเกษตรกร ...เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร สมาคมชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้
ทีมสมาคมประชาสังคมชุมพร และท้ายสุดผู้สนับสนุนให้มีกระบวนการนี้....สนส.มอ (สถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ) และ สสส.
เกษตรกรรมยั่งยืน คือ ทางออก ทางรอด ของเกษตรรายย่อย กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้ลด-หมดไป
|
_
|
คลิปวีดีโอสวนยางยั่งยืนสวนนายหัวบ้านส้อง |
7 ก.ย. 2565 |
7 ก.ย. 2565 |
|
สำรวจข้อมูล ร่างสคริป ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ถ่ายทำวีดีโอ ตัดต่อ โพสลงโซเชี่ยล
|
|
คลิปวีดีโอความยาว 4.43 นาที
ยอดวิว ยอดคนดู
|
ไม่มี
|
ประชุมคณะทำงานสื่อ |
10 ก.ย. 2565 |
10 ก.ย. 2565 |
|
-ประชุมและติดตามการทำงานของคณะทำงานสื่อสารจังหวัดชุมพร
|
|
-คณะทำงานเข้าร่วมประชุมและติดตามงานตามประเด็นและบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และการวางกรอบงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาของโครงการ
|
-
|
จัดทำคลิปวีดีโอสวนยางยั่งยืน ผักเหลียงร่วมยาง |
25 ก.ย. 2565 |
25 ก.ย. 2566 |
|
สำรวจข้อมูล
ร่างสคริป
ลงพื้นที่จัดทำข้อมูล
ถ่ายทำและตัดต่อ
เผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ
|
|
คลิปสั้น ความยาว 4.55 นาที
ยอดคนชม
ยอดคนแชร์
ยอดการเข้าถึงคลิป
|
|
ลงพื้นที่ถ่ายทอดสดเฟสบุ๊คไลฟ์เรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร (ข้าวไร่) |
28 ม.ค. 2566 |
28 ม.ค. 2566 |
|
ผลิตสื่อตามประเด็นความมั่นคงทางด้านอาหารขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน สวนยางยั่งยืน
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ข้าวไร่ กู้วิกฤติโลก ”
วันเสาร์ที่ ๒๘ มกราคม พศ.๒๕๖๖
ณ.สวนสุขใจ ม.๓ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
...........................................................................................................................
เวลา ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน รู้รักทักทายฐานเรียนรู้การผลิตข้าวไร่
เวลา ๑๐.๐๐ น. เสวนา : ข้าวไร่สู้วิกฤติการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (โลกร้อน-น้ำท่วม-น้ำแล้ง)
โดย คุณประสาร สถานสถิตย์ :มูลนิธิรักษ์ไท และ นายสมชาย สำเภาอินทร์ : เครือข่ายจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำหลังสวน
เวลา ๑๑.๐๐ น. การสร้างคุณค่าและมูลค่าข้าวไร่ โดย รศ.ดร.ร่วมจิต นกเขา :สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ชุมพร และ นางอำพัน คฑาชาติ : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโค
เวลา ๑๒.๐๐ น. ลิ้มชิมรสอาหารเที่ยงด้วยข้าวไร่สายพันธ์ต่างๆ
เวลา ๑๓.๐๐ น. เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร โดย อ.กิตติศักดิ์ เพ็ชรพันธ์ สจล.ชุมพร และคุณธนเดช ณัฐวัฒน์จิระประไพ สมาคมไม้ผลจังหวัดชุมพร
เวลา ๑๓.๔๕ น. เครืองมือและอุปกรณ์ผลิตข้าวไร่ครบวงจร ของ สวนสุขใจ : นายนิพนธ์ ฤทธิชัย
เวลา ๑๔.๓๐ น. ระดมความรู้ ความคิด การยกระดับพัฒนาการผลิตข้าวไร่แบบครบวงจร (ศูนย์ข้าวไร่ชุมชน) เกษตรหลังสวน/นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง/ดร.ฉันทวรรณ แม่โจ้/การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดชุมพร
เวลา ๑๕.๓๐ น. เปิดศูนย์ประสานงานเครือข่ายข้าวไร่จังหวัดชุมพร
|
|
เฟสบุ๊คไล้ฟ์ผ่านเพจสมาคมประชาสังคมชุมพร
มีผู้รับชม
ยอดคนแชร์
ยอดคนดู
https://fb.watch/isyaLV_hIP/?mibextid=v7YzmG
https://fb.watch/isycMmtwv8/?mibextid=v7YzmG
|
บางช่วงในการถ่ายทอดสัญญาน อาจมีสัญญานขาดหาย
|
ประชุมเชิงปฎิบัติการการจัดทำแผนความร่วมมือการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน สวนยางยั่งยืนภาคใต้ (ถ่ายทอดสด) |
5 เม.ย. 2566 |
5 เม.ย. 2566 |
|
วันอังคารที่ 5 เมษายน 2566
08.30 – 09.00 น.
ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม ชมวิดีทัศน์
09.00 – 09.10 น.
กล่าวต้อนรับ โดย ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุง
09.10 – 09.30 น.
การขับเคลื่อนงานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ สู่การสร้างความมั่นคงทางอาหาร
โดย นายทวีวัตร เครือสาย
09.30 – 10.00 น.
กล่าวเปิดงานและบรรยาย เรื่อง นโยบายและแผนงานความร่วมมือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน : สวนยางยั่งยืน
โดยผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน
10.00 – 10.30 น.
บรรยาย เรื่อง นโยบายและแผนงานความร่วมมือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน : วนเกษตร
โดยเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือผู้แทน
10.30 – 12.30 น.
นำเสนอบทเรียนการดำเนินงานส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน และรูปแบบการจัดการแปลง
• การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน (สวนยางยั่งยืน) ผ่านกลไกสถาบันเกษตรกร โดย
- ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุง
- นายอรุณ ศรีสุวรรณ ป่าร่วมยางอำเภอเขาชัยสน พัทลุง
• การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน (สวนยางยั่งยืน) ผ่านกลไกศูนย์เรียนรู้สวนยางยั่งยืน โดย
- นายเรืองวิทย์ ทัศการ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดระนอง
- นายพูนธวัช เล่าประวัติชัย ศูนย์เรียนรู้สวนยางยั่งยืนจังหวัดระนอง
• การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน (สวนยางยั่งยืน) ผ่านแปลงต้นแบบวนเกษตร
- ผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดพัทลุง
- นายสหจร ชุมคช โรงเรียนใต้โคนยาง สาขาที่ 1 และนางสาวหนึ่งฤทัย พันกุ่ม
ดำเนินเวที โดย ดร.อนิรุต หนูปลอด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
12.30 – 13.30 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 14.00 น.
บทเรียนจากเวทีเสวนาและข้อคิดเห็นจากการติดตามประเมินผลเกษตรกรรมยั่งยืน
โดย ผศ.ดร.ว่าที่ ร.ต.ชุมพล อังคนานนท์
14.00 – 16.00 น.
แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อจัดแผนความร่วมมือส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน :วนเกษตร,สวนยางยั่งยืน
• กลุ่มที่ 1 เขตภาคใต้ตอนบน (ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์)
- กยท.เขตภาคใต้ตอนบน และจังหวัดตอนบน
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร : ผศ.ดร.ว่าที่ ร.ต.ชุมพล อังคณานนท์
- เกษตรกรที่เข้าร่วมการปลูกยางแบบ ก3 และเครือข่ายสวนยางยั่งยืนภาคใต้
- ผู้บริหาร หรือผู้แทนสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเขตภาคใต้ตอนบน
ดำเนินกระบวนการกลุ่ม โดย นส.หนึ่งฤทัย พันกุ่ม สมาคมประชาสังคมชุมพร
• กลุ่มที่ 2 เขตภาคใต้ตอนกลาง (นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง พัทลุง)
- กยท.เขตภาคใต้ตอนกลาง และจังหวัดตอนกลาง
- หน่วยจัดการพื้นที่สุขภาวะจังหวัดพัทลุง : นายเสณี จ่าวิสูตร
- เกษตรกรที่เข้าร่วมการปลูกยางแบบ ก3 และเครือข่ายสวนยางยั่งยืนภาคใต้
- ผู้บริหาร หรือผู้แทนสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเขตภาคใต้ตอนกลาง
ดำเนินกระบวนการกลุ่ม โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
• กลุ่มที่ 3 เขตภาคใต้ตอนล่าง (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส)
- กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง และจังหวัดตอนล่าง
- ม.นราธิวาสราชนครินทร์ : ผศ.ดร.วุฒิชัย ศรีช่วย
- เกษตรกรที่เข้าร่วมการปลูกยางแบบ ก3 และเครือข่ายสวนยางยั่งยืนภาคใต้
- ผู้บริหาร หรือผู้แทนสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเขตภาคใต้ตอนล่าง
ดำเนินกระบวนการกลุ่ม โดย นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี
16.00 – 16.30 น.
สรุปผลการประชุม และปรึกษาหารือ
|
|
_ การประชุมเชิงปฏิบัติการ
การจัดทำแผนความร่วมมือการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน : วนเกษตร สวนยางยั่งยืน พื้นที่ภาคใต้
วันพุธที่ 5 เมษายน 2566 ข้อมูลเบื้องต้นของจังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 800,000 ไร่ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับการยางจังหวัดพัทลุง ประเภทเจ้าของสวนยางประมาณ 80,000 ราย เป็นผู้กรีดยางประมาณ 11,853 ราย บริบทสวนยางในจังหวัดพัทลุงสวนใหญ่เป็นสวนยางผสมผสานอยู่เดิมแล้ว อยู่ที่การบริหารจัดการอย่างไรในการนำสวนยางที่ทำผสมผสานเดิมอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในพัทลุงมีการปลูกพืชสมุนไพรในสวนยางเป็นพืชอาหาร ผมคิดว่านโยบายของ สสส. สนับสนุนงานของ กยท. ได้ในระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นชาว กยท. ยินดีที่จะร่วมมือในการหาอาชีพเสริมให้กับพี่น้องชาวสวนยาง
ในวันนี้ประสบการณ์ของพวกเรา คิดว่าจะได้นำมาต่อยอดให้เกิดความชัดเจนและมองเห็นภาพมากยิ่งขึ้น ท้ายที่สุด ในนามของการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดพัทลุง ขอต้นรับผู้มีเกรียติทุกท่าน ทั้งที่อยู่ในห้องประชุมแห่งนี้และที่รับฟังทางซูม ขอต้อนรับด้วยความยินดี
คุณทวีวัตร เครือสาย: สรุปภาพรวมในการขับเคลื่อนร่มกัน เพื่อที่จะได้เห็นภาพร่วมกันและนำไปสู่กระบวนการอภิปรายในช่วงต่อไป ในส่วนของฝ่ายประชาสังคมวิเคราะและสถาบันนโยบายสาธารณะร่วมกับกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ ได้เล็งเห็นเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 62 ที่ทำเรื่อง ระบบเกษตรและอาหารสุขภาพ ซึ่งมีกรอบการขับเคลื่อนอยู่ 6 เรื่องสำคัญ 1. เกษตรสุขภาพ 2. ฟื้นฟูระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม 3. พันธุกรรมท้องถิ่น-พืชอัตตลักษณ์ 4. สุขภาวะชาวประมง 5. สุขภาวะชาวสาวยาง-ปาล์มน้ำมัน 6. จัดการตลาด (ผู้ผลิต-ผู้บริโภค) มีหลักคิดสำคัญ 3 เรื่อง 1. หลักประกันในชีวิตรวมถึงเรื่องรายได้ 2. อธิปไตยทางอาหารหรือความมั่นคงทางอาหาร พอเพียง เข้าถึง ได้ประโยชน์และมีศักยภาพ 3. จัดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องการประกอบการ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นหัวใจหลัก ในภาคใต้โดยเฉพาะปัจจัยความไม่มั่นคงของคุณภาพชีวิตคนภาคใต้ 8 เรื่องสำคัญ 1. ปัจจัยการผลิต 2.เรื่องทรัพยากรที่เสื่อมโทรม 3. ขาดแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานภาคเกษตร 4. การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ 5. การผลิตและการตลาด 6. นโยบายของรัฐ 7. การค้าเสรี 8. การเข้าถึงอาหารปลอดภัย ภาคใต้มีพื้นที่ทำการเกษตร 44.2 ล้านไร่ ทำการเกษตร 21.7 ล้านไร่ ทำสวนยางพารา 14 ล้านไร่ โยค่าเฉลี่ยของเกษตรชาวสวนยางอยู่ที่ 11.2 ไร่ต่อครัวเรือน(ภาพรวมของประเทศ) จากเรื่องนี้สู่เวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2564 เวทีสมัชชาสวนยางยั่งยืน ข้อเสนอเหล่านี้ได้ส่งไปหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานหลักคือ การยางแห่งประเทศไทย และสำนักงานปฏิรูปที่ดิน และสำนักงานปฏิรูปที่ดินได้นำแผนนี้ไปกำหนดเป็นแผนปฏิบัติราชการ, คู่มือในการส่งเสริมเรืองเกษตรผสมผสาน ทางสสส.และทางมอ. ได้ขับเคลื่อนงานภาคใต้แห่งความสุขผ่านเวทีสร้างสุขภาคใต้ 4 ความมั่นคง 1. ความมั่นคงทางอาหาร 2. ความมั่นคงของมนุษย์ 3. ความมั่นคงทางสุขภาพ 4. ความมั่นคงด้านทรัพยากร โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคงทางอาหาร นอกจาก 7 เรื่องงหลักที่นำเรียนไปเมื่อสักครู่นี้ มี 3 เรื่องสำคัญที่จะเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อน 1. ขับเคลื่อนประเด็นสวนยางยั่งยืนตามมติ กทย./สปก. 2. ขับเคลื่อนและขยายผลรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนในภาคใต้ 3. ขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนสีเขียวตามมติสมัชชาเชิงประเด็น และ 3 ประเด็นหลักนี้จะสอดคล้องกับ พรบ.อาหารแห่งชาติปี 2555, พรบ.พันธุ์พืช 18, คณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับชาติ, แผนพัฒนาฯฉบับที่13 แผนปฏิบัติราชการของ สปก. ร่วมถึงแผนกยท.ที่จากปี2564 ปรับวิธีการส่งเสริมเกษตรกร เช่น พืชร่วมยางปี 2555 เปลี่ยนเป็นขับเคลื่อน กยท.แบบ3 จากเกษตรผสมผสานเป็นสวนยางยั่งยืน, BCG, แปลงต้นแบบศูนย์เรียนรู้ เป็นต้น และสปก.มีการคัดเลือกแปลงต้นแบบวนเกษตร ซึ่งในภาพรวมทั้งหมด 3 ส่วน เครือข่ายภาคประชาสังคมและภาควิชาการร่วมกันขับเคลื่อนของกยท.และสปก. มีศูนย์เรียนรู้และแปลงต้นแบบ 170 ราย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเตรียมจัดส่งให้ทุกจังหวัด เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้แต่ละจังหวัดรู้ว่ามีคนที่ทำเรื่องนี้อยู่ที่ไหนบ้าง
จากที่จัดวงประชุมพูดคุย คิดว่าทางออกของเกษตรกรรายย่อยคือ เรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน บทเรียนพบว่าถ้าเราจะทำเรื่องนี้ให้ขยายผลมากขึ้นและตอบตัวชี้วัดของกทย. ณ วันนี้ก็ยังไม่ได้บรรลุเป้าหมาย เพราะว่าคนใต้ยังอยู่ในวิถีการผลิตแบบเดิม(เกษตรเชิงเดี่ยว) การจะปรับเปลี่ยนให้เป็นสวนสมรม สวนพ่อเฒ่า สวนดูทรง ฯลฯ ต้องใช้เวลา มีปัจจัยเงื่อนไขสำคัญ 3 รูปแบบที่จะใช้ในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะการไปลดช่องว่างของบุคคลากรเจ้าหน้าที่สปก.และกยท. บทเรียนของพัทลุง นครศรีฯ ระนอง น่าจะเป็นส่วนสำคัญ กลยุทธ์จุดเน้นการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน: 1.กยท.และสปก.ทำงานร่วมกับสถาบันเกษตรกร(กลไกสำคัญในการขยายผล), การกระตุ้น-ติดตาม, การสร้างแรงบันดาลใจ, แรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรหันกลับมาทำเรื่องนี้ โดยเฉพาะการตอบโจทย์เรื่องความมั่นคงทางอาหารและอาชีพ 2. การงานกับศูนย์การเรียนรู้หรือแปลงต้นแบบ เช่น โรงเรียนใต้โคลนยาง(พัทลุง), ศูนย์เรียนรู้สวนยางยั่งยืน(พี่เล็ก)(ระนอง)ฯลฯ เชื่อว่าจะเป็นจุดที่สร้างแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจให้กับเกษตรกรทั่วไปได้ 3. เกษตรกรรุ่นใหม่ โดยค่าเฉลี่ยแรงงานเกษตรอยู่ที่อายุวัย 57 ปีขึ้นไป การจะไปเปลี่ยนแปลงคนกลุ่มวัยนี้อาจจะค่อนข้างงยาก ฉะนั้นการไปเปลี่ยนแปลงกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่น่าจะเป็นทางเลือกที่สำคัญ และหัวใจสำคัญคือทำอย่างไรให้เขาได้เรียนรู้ถึงการประกอบการที่ครอบคลุมไปถึงการผลิต แปรรูป(มาตรฐาน) และการตลาด ซึ่งเป็นหนึ่งแรงจูงใจหนึ่งที่จะทำให้คนหันกลับมาทำในเรื่องของเกษตรกรรมยั่งยืนได้
โจทย์ของวันนี้คือ ชวนทั้ง 3 ภาคส่วน ท่านมีความร่วมมืออย่างไรในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ ซึ่งเรื่องนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งใน SDG ตัวที่ 17 คือ หุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผอ.ชำนาญ ธนะภพ: สำหรับในส่วนของแนวนโยบายของการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งทุกท่านน่าจะทราบกันดีคือ EU จะออกกฎหมายว่าด้วยสวนยางที่ปลอดการตัดไม้ทำลายป่า คาดว่าจะมีการบังคับใช้กลางปีนี้ ในเรื่องนี้ทางการยางแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการที่จะป้องกันปัญหาในเรื่องของสินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ส่งออกให้กับกลุ่มEU ประเด็นสำคัญคือ กฎหมายฉบับดังกล่าวมีสินค้าจำนวน 7 ชนิดที่อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้คือ 1. ยางพารา 2. ปาล์มน้ำมัน 3. เนื้อวัว 4. ไม้ 5. กาแฟ 5. โกโก้ 6. ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์ของสินค้า 7 ชนิดนี้ จากที่ EU ได้มีการประเมินปัญหาของการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ(โลกร้อน) ได้มีมติร่วมกันว่าเห็นสมควรที่จะออกกฎหมายเพื่อควบคุมเรื่องของการค้าที่มีส่วนในการตัดไม้ทำลายป่าที่ผลิตและจะจัดส่งจำหน่ายให้กับEU สรุปคือ สินค้า/ผลิตภัณฑ์จาก 7 ชนิดที่กล่าวมานี้ ต้องระบุถึงแหล่งที่มาได้(ไม่มาจากแหล่งพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่า) หลังเดือนธันวาคม ปี2563 ทางการยางแห่งประเทศไทยได้มีการเตรียมการเป็นระยะเวลาพอสมควร คิดว่าน่าจะไม่มีปัญหา
การดำเนินการเรื่องสวนยางยั่งยืนชอง กทย. ในปัจจุบัน ในแผนยุทธศาสตร์ยาง 20 ปี ทางกยท.ได้มีการจัดทำแผนวิสาหกิจ ปัจจุบันอยู่ภายใต้แผนวิสาหกิจ ฉบับที่ 5 (ปี2566-2570) ซึ่งแผนที่ใช้อยู่ ทางกยท.ได้ใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราอย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์คือ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรทำสวนยางอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน กยท.เน้น ส่งเสริมการจัดการสวนยาง และการแปรรูปอย่างยั่งยืน 4 รูปแบบ(เรื่องการปลูกแทน): 1. ระบบยางร่วมเกษตรผสมผสาน 2. ระบบยางร่วมไม้เศรษฐกิจ 3. ระบบยางร่วมกับเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง 4. ระบบสวนยางวนเกษตร ทั้ง 4 รูปแบบจะเน้นหนักเพื่อเข้าสู่เกษตรกรรมยั่งยืน, สวนยางยั่งยืน หรือ วนเกษตรทั้งหมด ในอัตราการจ่ายสนับสนุนการทดแทนอยู่ในอัตราไร่ละ 11,000 บาท
การส่งเสริมสนับสนุนชาวสวนยางต้นแบบด้วยเกษตรกรรมยั่งยืน: เพื่อสร้างแรงจูงใจโดยการคัดเลือกเป็นเกษตรกรต้นแบบ 120 ราย แยกเป็น เกษตรกรต้นแบบระดับกทย.จังหวัดจำนวน 45 ราย สนับสนุนรายละไม่เกิน 500,000 บาท, เกษตรกรต้นแบบระดับสาขาจำนวน 75 ราย สนับสนุนรายละไม่เกิน 100,000 บาท เป็นสร้างต้นแบบเกษตรกรชาวสวนยาง ในรูปแบบของเกษตรกรรมยั่งยืน, วนเกษตร, สวนยางยั่งยืน เพื่อที่จะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่จริง
โครงการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต ของกยท. ทางกยท.ได้เล็งเห็นว่าปัจจุบันมีการส่งเสริมการปลูกต้นไม้ ไม้ทุกชนิดสามารถที่จะตึงก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไชด์ได้ ซึ่งทางองค์กรสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศได้กำหนดข้อตกลงต่างๆ และได้มีการประชุมหลายครั้ง จนนำมาสู่เรื่องการขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งมี 2 ส่วน คือ คาร์บอนเครดิตที่มีการดูดซับคาร์บอนไดร์ออกไซด์มาสร้างมวลชีวภาพมาสร้างมวลชีวภาพของต้นไม้, คาร์บอนเครดิตที่มีส่วนลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งโครงการในปีนี้ของการยางแห่งประเทศไทยได้มีการกำหนดเป้าหมายจำนวน 40,000 ไร่ ที่จะร่วมโครงการคาร์บอนเครดิตในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 20,000 ไร่ จังหวัดจันทบุรี 10,000 ไร่ จังหวัดเลย 10,000 ไร่(โครงการคาร์บอนเครดิตแบบสมัครใจ ตามมาตรฐานประเทศไทย)
นายวิวรรธน์ สงประเสริฐ: ประเด็นที่จะนำเสนอวันนี้ในเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนมีอยู่ 3 ประเด็นด้วยกัน คือ 1. กรอบแนวคิดการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในเขตปฏิรูปที่ดิน 2. การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในเขตปฏิรูปที่ดิน 3. แนวทางสวนยางกับการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร
กรอบแนวคิดการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในเขตปฏิรูปที่ดิน: หลักการการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน; การใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีประสิทธิภาพสูง ต้องมีกระบวนการที่มีการใช้ทรัพยากรในการผลิต หรือการให้บริการอย่างคุ้มค่า
ประสิทธิภาพการผลิตในระบบการเกษตรยั่งยืน: พิจารณาจากทั้งประสิทธิภาพการผลิตที่เป็นมูลค่าการผลิต และพิจารณาในประเด็นอื่นๆ เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพอนามัย การศึกษา ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน ความผูกพันทางสังคม และความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในเรื่องหลักการเกษตรยั่งยืน แบ่งเป็น 3 ระดับ: ระดับที่ 1 ระดับแปลง เกษตรยั่งยืนอิงหลักการของระบบนิเวศเกษตร เช่น การไหลเวียนของธาตุอาหาร (Nutrient Cycling) ความสัมพันธ์ระหว่างพืชปลูกและศัตรูพืช และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพทางเกษตร (Agro-biodiversity) ระดับที่ 2 ระดับครัวเรือน เกษตรยั่งยืนคำนึงถึงการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด บทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายของระบบการผลิตที่นำไปสู่ความมั่นคงของอาหารและรายได้และกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในระดับชุมชน ระดับที่ 3 ระดับชุมชน เกษตรยั่งยืนเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชน สิทธิการจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นธรรม พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดการร่วมทุนระหว่างชุมชนกับภาคเอกชน สรุปลักษณะสำคัญของระบบนิเวศเกษตรกรรมยั่งยืน ระดับแปลง: ต้องมีความหลากหลาย ปลอดภัย ดินต้องมีชีวิต มีการสร้างวงจรหมุนเวียนธาตุอาหาร และมีโครงสร้างหลายระดับเลียนแบบระบบนิเวศป่าธรรมชาติ
การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในเขตปฏิรูปที่ดิน: กรอบแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาระบบวนเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน “วนเกษตร คือ รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน ที่เน้นการจัดการเลียนแบบระบบนิเวศธรรมชาติของป่าไม้ ด้วยการผสมผสานระหว่างกิจกรรมการเกษตร (ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ประมง) กับการป่าไม้ เพื่อสร้างความหลากหลายในแปลงเกษตรกรรมตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไปในพื้นที่เดียวกัน ช่วงเวลาเดียวกัน หรือสลับช่วงเวลากันอย่างเหมาะสมโดยจะต้องมีกิจกรรมป่าไม้อยู่ในระบบ”
แนวทางสวนยางกับการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร: 1) การปลูกพืชแซมยาง ปลูกกลุ่มพืชล้มลุกหรือพืชไร่ในขณะที่ยางพาราอายุไม่เกิน 4ปี เช่น ข้าวไร่ ตระไคร้ พริก มะเขือ ถั่ว 2) การปลูกพืชร่วมยาง ปลูกพืชเพื่อให้ผลผลิตพร้อม ๆ กับยางพาราซึ่งสามารถเติบโตได้ดีในร่วมเงา เช่น พืชสมุนไพร ผักเหลียง 3) การเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง เลี้ยงสัตว์หรือประมงในสวนยางพารา เช่น แพะ เป็ด ไก่ ปลา กบ 4) อาชีพเสริมรายได้อื่น ๆ เช่น การเพาะเห็ดฟาง ทะลายปาล์ม หรือการแบ่งพื้นที่บางส่วนปลูกพืชอื่นเช่น กล้วย กาแฟ ปาล์มน้ำมัน
ตัวอย่าง ทางเลือกเพื่อการปรับตัวของเกษตรกรชาวสวนยาง
ในประเด็นความมั่นคงทางอาหารจังหวัดพัทลุง ได้มีการขับเคลื่อนมายาวนาน แต่ยังไม่ได้โฟกัสอย่างจริงจังในเรื่อง ป่าร่วมยัง เพิ่งมาเริ่มขับเคลื่อนในเรื่องนี้ประมาณปีพศ. 2547 ในพื้นที่ตำบลร่มเมือง เป็นเรื่องการอนุรักษ์พันธุ์ข้าว และสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยในเบื้องต้น ปรากฏว่าตำบลร่มยางเป็นพื้นที่แหล่งอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของจังหวัดพัทลุง โดยเฉพาะ ข้าวดอกพะยอม ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่หายาก เราได้ทำการฟื้นฟูกลับมา และเริ่มปลูกอย่างจริงจังในสวนยาง ปัจจุบันพื้นที่ตำบลร่มเมืองยังไม่พื้นที่ในการทำข้าวไร่และผสมผสานกับการทำข้าวเหนียวพันธุ์หอมดำ ซึ่งตลาดนิยมมาก หลังจากนั้นจากข้อมูลของจังหวัดพัทลุง มีสวนยาง 800,000 ไร่ เลยมีโจทย์ให้คณะทำงานประเด็นอาหารปลอดภัยที่ร่วมกันคิดว่า น่าจะเป็นพื้นที่อีกพื้นที่หนึ่ง ที่สามารถในการเพิ่มพื้นที่ในการผลิตอาหารเพื่อเพิ่มเรื่องความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดพัทลุงได้ มีการเริ่มต้นชักชวนเกษตรกรที่มีความสนใจในการทำสวนผสมผสาน หรือปลูกพืชอาหารมานั่งคุยกัน สุดท้ายเราได้เจอคุณสหจร ชุมคช ซึ่งเป็นคนริเริ่มทำเรื่องป่าร่วมยางอย่างจริงจัง เราจึงไปหนุนเสริมเรื่องกระบวนการคิด การดำเนินงาน และกระบวนการต่างๆ วางแผนการขยายผล สุดท้ายโรงเรียนใต้โคนยางสาขาแรกก็เริ่มถือกำเนิดขึ้น บทเรียนหลังจากที่ดำเนินงานคือ ถ้าเรายากจะเปลี่ยนแปลงความคิดเกษตรกรชาวสวนยางให้หันมาปลูกพืชในแนวสวนสมรม การเปิดโอกาสให้เขามาเรียนรู้ว่าอะไรเหมาะสมกับสวนของเขาอย่างไร ในแปลงที่หลากหลายต้นแบบ ในการขยายผล มีการสร้างพื้นที่ต้นแบบ เกษตรกรต้นแบบ การทำยางแปลงใหญ่โดยร่วมกับกยท.
|
_
|
ประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายสวนยางยั่งยืนและเครือข่ายข้าวไร่ชุมพร (จัดทำเฟสบุ๊คไลฟ์) |
20 เม.ย. 2566 |
20 เม.ย. 2566 |
|
เวลา
กิจกรรม
ผู้รับผิดชอบ
๐8.3๐-
๐๙.0๐ น.
ลงทะเบียน/ศึกษาเอกสาร
ฝ่ายจัดการ
๐๙.0๐-
09.2๐ น.
ชี้แจงเป้าหมาย กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ
นายทวีวัตร เครือสาย
ผู้รับผิดชอบโครงการ
๐๙.๒๐-
09.๔๐ น.
เปิดประชุมและบรรยายทิศทางการดำเนินงานเกษตรกรรมยั่งยืน : ผอ. กยท.จังหวัดชุมพร
ผู้แทน กยท.จังหวัดชุมพร
๐9.๔๐-
๑0.๐๐ น.
นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานและทิศทาง
-เครือข่ายข้าวไร่ชุมพร : นายนิพนธ์ ฤทธิชัย
-เครือข่ายสวนยางยั่งยืน : นายอดิศักดิ์ ยมสุขี
คณะทำงานโครงการ
๑๐.๐๐-
๑๒.๐๐ น.
แบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม จัดทำ Roadmap โดยมีโจทย์ดังนี้
1) ทบทวนบทเรียนและกลุ่ม/พื้นที่เป้าหมาย
๒)เป้าหมายผลลัพธ์ที่ต้องการ
๓) ความร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มย่อยเครือข่ายสวนยางยั่งยืน,กลุ่มเครือข่ายข้าวไร
ทีมสนับสนุนวิชาการ
๑2.๐๐ -
๑๓.๐๐ น.
พักรับประทานอาหาร
๑๓.๐๐ -
๑๕.๐๐ น.
แบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม จัดทำแผนงานโครงการที่มีจุดเน้น ปี 66-67 โดยมีโจทย์ดังนี้
1) กลุ่มและพื้นทีที่เป้าหมาย
๒) แผนงานโครงการ(การผลิต-แปรรูป-ตลาด)
๓) กลไกและผู้รับผิดชอบและผู้สนับสนุน
ทีมสนับสนุนวิชาการ
๑๕.0๐-
๑๕.๔๐ น.
นำเสนอและให้ความเห็นข้อสังเกต โดยภาคียุทธศาสตร์
ผู้แทนภาคียุทธศาสตร์ / คณะทำงานโครงการ
๑๕.๔๐-
๑๖.๐๐ น.
สรุปการประชุมและนัดหมายกิจกรรมต่อไป
ทวีวัตร เครือสาย
หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารในช่วงเวลาที่เหมาะสม
|
|
โฟกัสที่ตัวสถาบันเป็นคีย์สำคัญ เพราะเป็นตัวเสริมที่ช่วย กยท. และหน่วยงานอื่นๆ
การพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรกรรมยั่งยืน การผลิตทำน้อยได้มาก เรื่องของการประกอบการ
กลไกความเข้มแข็งทางนโยบาย กลไกการดำเนินงานทั้งในระดับภาค กลไกระดับเขต/ระดับจังหวัด
ทุ เรื่องจะเป็นกรอบแนวทาง และเป็นฐานตั้งต้นที่มาจากแกนนำแต่ละพื้นที่ ที่มีการขับเคลื่อนเรื่องนี้อยู่ซึ่งทางทีมงานจะรวบรวมข้อสรุปเพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในพื้นที่ จ.ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ได้ใช้ วันที่ 21 – 22 เมษายน 2566 ทำร่วมภาพรวมของจังหวัดชุมพร กำหนดเป้าหมายของเกษตรไว้ วิสัยทัศน์ของภาคเกษตรจังหวัดชุมพร “เกษตรกรรมก้าวหน้า สินค้าเกษตรมีมาตรฐาน เกษตรกรมีความสุข บนพื้นฐานเกษตรกรรมยั่งยืน” ปีพ.ศ. 2566 – 2570
ทิศทางการดำเนินงานเกษตรยั่งยืน โดย ผอ.การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดชุมพร
การยางแห่งประเทศไทยยินดีที่ทางสมาคมประชาสังคมชุมพร เห็นความสำคัญของเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อให้เกิดการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวสวนยาง นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของการส่งเสริมการปลูกแทน การให้เงินทุนสงเคราะห์ หรือ เงินอุดหนุนต่างๆ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับเกษตรกร กลุ่มและสถาบันเกษตรกร ในการขยายขนาดการผลิต การแปรรูป การตลาด กยท.ก็ให้ความสำคัญ ในการบริหาจัดการต้องให้ความสำคัญกับต้นน้ำ และปลายน้ำคำนึงถึงเรื่องราคาเป็นหลัก แต่ลืมในเรื่องของความเข้มแข็ง พี่น้องเกษตรกรค่อนข้างอ่อนแอ คือ อ่อนแอจากตัวเกษตรกรเอง จากปัจจัยภายนอก จากต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง การทำเกษตรพึ่งพิงกับสารเคมีมากเกินไป ลืมพื้นฐานวิถีชีวิตเดิมๆ องค์ความรู้ในสมัยอดีตมีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้นำมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้านำปรับประยุกต์ใช้ระหว่างข้อมูลพื้นฐานองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมกับปัจจุบัน ปรับประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่กับนวัตกรรม ข้อมูลทางวิชาการมาใช้ จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกรได้อย่างชัดเจน ลดต้นทุนการผลิต ปุ๋ย ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน รายได้สามารถซื้อขายผลิตได้เองในครัวเรือน ไม่มีค่าใช้จ่ายสู่ภายนอกจะทำให้เกิดความยั่งยืนต่อเกษตรกร นอกจากนี้ยังสนับสนุนในส่วนวิชาการ กรมวิชาการเกษตร ซึ่งจะเกิดผลกระทบกับเกษตรกร จึงจำเป็นต้องคิดวิเคราะห์คำนึงถึงหลักการและเหตุผล เป็นเวทีพี่น้องเกษตรจากหลายภาคส่วนมาร่วมคิด การดำเนินการโครงการ และเป็นการขับเคลื่อนในภาพรวมของทั้งภาคใต้ทั้งหมด ให้ความสำคัญในเรื่องของเกษตรกรรมยั่งยืน สร้างความมั่งคั่ง มั่นคงในเรื่องของการตลาด ปัจจุบัน GDP ของจังหวัดชุมพร ไม่ได้มาจากยาง โดยยางจะอยู่ในอันดับที่ 4 อันดับแรกเป็นทุเรียน เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญซึ่งสร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวสวน มีการนำเข้าส่งออกกึ่งมหภาค มีนักธุรกิจภายนอก มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรไม่ให้ความสำคัญ เริ่มเปลี่ยนวิถีไป ผลผลิตไทยภาคการเกษตรที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง ต้นทุนยางกับทุเรียนต่างกัน แต่ผลผลิตระยะยาวมาคำนวณอาจไม่สมดุลกัน นอกจากคำนึงตัวเองแล้ว ต้องคำนึงการตลาดด้วย ต้องพืชเศรษฐกิจที่เป็นรายได้ รายวัน รายเดือน รายปี เกษตรกรที่มีความประสงค์จะปลูกแบบเกษตรกรรมยั่งยืน สามารถขอทุนได้ แต่เกษตรกรยังไม่เห็นความสำคัญ ไม่ให้ความสนใจ เป้าหมาย 8000 ไร่ ครึ่งปี (2 ไตรมาส) ได้เพียง 600 กว่าไร่ เกษตรกรรมยั่งยืนเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา 3-5 ปี ให้ทำการเกษตรด้วยความประณีต ด้วยความระมัดระวัง อย่าทำตามกระแส จะทำให้เกิดผลกระทบกับตัวเกษตรกร ต้องคิดวิเคราะห์ คำนึงเหตุผล เวทีนี้เป็นเวทีที่ดี พี่น้องหลายภาคส่วนมาร่วมคิดแผนกลยุทธ์ ในการจัดทำโครงการเป็นการขับเคลื่อนในภาพรวมทั้งภาคใต้ ซึ่งกยท.มีแผนพัฒนาวิสาหกิจของประเทศไทย ในระยะ 20 ปี เรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืน แผนตั้งแต่ปี 2560 – 2579 ที่ให้ความสำคัญกับแผนพัฒนาประเทศ การดำเนินการใดที่สามารถยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร และสามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างรายได้เสริม สร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับเกษตรกรได้ สิ่งนั้น กยท. จะดำเนินการ ที่ผ่านให้เงินอุดหนุนในเรื่องของการใช้โซล่าเซลล์ น้ำ อาชีพเสริม ก็มี ปีมีงบประมาณ 800,000 บาท สนับสนุนเกษตรกร 500,000 บาท ในเรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืน โดยดูจากเกษตรที่ดำเนินการอยู่แล้ว และคาดว่าจะดำเนินการประสบความสำเร็จ เป็นเกษตรกรต้นแบบให้กับเกษตรกรอื่นๆ ในส่วนของนวัตกรรม เทคโนโลยีต่างๆ สถาบันวิชาการ กยท.จะร่วมกับ มอ. ม.แม่โจ้
สจล. ซึ่ง กยท.ได้ทำ MOU ไว้แล้ว อยากให้เกษตรกรเห็นคุณค่าการทำเกษตรกรรมยั่งยืนให้มากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาอาจเป็นเพราะประชาสัมพันธ์น้อยไป ภาพรวมผลกระทบ นโยบายขาดแรงจูงใจ 2-3 ปี จะเร่งดำเนินการ เร่งให้เกิดผลกระทบเชิงประจักษ์อย่างชัดเจนในเรื่องรายได้ นวัตกรรม เชื่อว่าหน่วยงานในกระทรวงเกษตรทุกภาคส่วนจะให้ความรวมมือกับสมาคม สมาพันธ์ เครือข่าย ในการดำเนินการเกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืน ในส่วนของความช่วยเหลือ กยท.สามารถช่วยได้ในด้านทุนอุดหนุน วิชาการ ความรู้ ยินดีช่วยเป็นอย่างยิ่ง
ตัวองค์ความรู้ ฐานข้อมูลโดนบังคับจากความเคยยินในอดีต มีแต่ยางอย่างเดียวปลูกอะไรไม่ได้ ทักษะการส่งเสริมของตัว กยท. เอง กับตัวภาคียังขาดทักษะเรื่องนี้มาก ภาพเก่าจากระบบเศรษฐกิจในสวนยางเคยมีรายได้สูง มีทางเลือกตัวอื่น จึงมองข้ามที่จะทำเสริมในสวนยาง กลไกกฎหมายตัวระเบียบยังเอื้อ ปัจจุบันนี้ยิ่งขยันยิ่งจน ใช้จ้างแรงงานอย่างเดียว ชี้สั่งงาน เกษตรบูรณาการ หน่วยงานภาคเกษตรมุ่งไปหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์หมด ทำยังไงจะให้เกษตรกรได้รับรู้ กยท. กำหนดให้แต่ละเขต แต่ละจังหวัดมีคณะกรรมการ แต่ทำไม่มีกรรมการที่เป็นตัวแทนมาจากเกษตรกรชาวสวนยางเลย ควรเอามาเป็นเครื่องมือช่วยในการทำความเข้าใจและขยายฐานการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ทาง มอ. ม.แม่โจ้ จะทำคู่มือทางเลือก คล้ายกับการทำหลักสูตร เพื่อเผยแพร่ทำความเข้าใจในเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน กยท. เสนอกำหนดนโยบายขึ้นไป การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช สามารถทำร่วมกันได้หมดทุกอย่าง กยท.ก็ให้ความสำคัญ สุดท้ายขึ้นอยู่กับเกษตรกร อย่าสร้างเงื่อนไขหรือเปลี่ยนวิถีชีวิต บริบทกับเกษตรกรมากเกินไป ต้องชี้นำ แนะนำเกษตรกร ให้เห็นความสำคัญ ประโยชน์ และค่าใช้จ่ายๆ ต่าง ก็จะทำให้สามารถขยับไปได้
การทำ Roadmap จะเป็นเครื่องมือช่วยการคิดเชิงระบบ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ทำให้เห็นภาพทั้งระบบ ปัจจุบันอยู่ที่ไหน และจะไปทางไหนต่อ ที่เจรจาไว้แล้วว่าจะสามารถไปสอดรับกับเงื่อนไขของหน่วยงานได้หรือเปล่า ได้แก่ เรื่องภายใต้ทรัพยากรที่ กยท. มีอยู่ ภายใต้แผนพัฒนาจังหวัด ต่อกับโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ กระทรวงอว. เรื่องเครดิตคาร์บอน 4 ตัวนี้ จะเป็นตัวตอบว่าพื้นที่ไหน กลุ่มเป้าหมาย ต่อกับแหล่งทุนไหน การทำเกษตรกรรมยั่งยืน มี 5 รูปแบบ เพิ่มแบบสวนยางยั่งยืนอีก 1 รูปแบบ รวมเป็น 6 รูปแบบ คิดให้ตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ วิธีคิดเชิงระบบเอาจากประสบการณ์บวกกับความรู้ กยท.ควรทำมุมความรู้เพื่อให้ผู้ที่มาติดต่อได้ดูและสร้างความเข้าใจ การทำสวนยางระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง ระบบพืชร่วม ระบบเกษตรผสมผสาน
สรุปผลการดำเนินงานและทิศทาง
-เครือข่ายสวนยางยั่งยืน : นายอดิศักดิ์ ยมสุขี
ดำเนินเครือข่ายโครงการสวนยางยั่งยืน ถือว่าประสบความสำเร็จในการทำสวนยางยั่งยืนถึงจะไม่ทั้งหมด แต่เอาแปลงที่ทำสำเร็จเป็นต้นแบบไปให้กับเกษตรกรอื่นๆ ได้ดู โดยแปลงของนายฉลองชาติ ยังปักษี เป็นการทำเกษตรแบบวรรณะเกษตร นายวิเวก อมตเวทย์ เป็นการทำเกษตรผสมผสาน แบบรุ่นใหม่ เริ่มจากการออกแบบวางผังแปลง เป็นแนวทางที่ควรได้รับการพัฒนามากที่สุด นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ในสวนเป็นยางรุ่นเก่าแล้ว จากการไปสำรวจสอบถามในพื้นที่ แบบนี้จะมีคนทำเยอะที่สุดทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นยางที่มีอยู่แล้ว จะทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนา ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จาก -3 แปลงต้นแบบ ก็ขยายเป็น 10 แปลงต้นแบบ และจะขยายผลอีก 10 แปลง ในปีหน้า เพื่อให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด ทำให้เห็นว่า มีประโยชน์ เกิดรายได้เพิ่ม ยังเครือข่ายที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด งาน กยท. คือการตั้งกลุ่มแปลงใหญ่ยางพารา ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดของกลุ่มมากที่สุด รวมแปลงใหญ่ยางพารา มี 34 ราย พื้นที่ 400กว่าไร่ ได้บูรณาการร่วมกับ กยท. มี 20 กว่าแปลงเริ่มเปลี่ยนตัวเอง ของนายทวี มีการปลูกไม้เศรษฐกิจร่วมกับยางพารา อุปสรรคที่เกิด เกษตรกรวิ่งตามกระแส เช่น การปลูกทุเรียน ปัญหาหลักคือ ยางพาราราคาตกต่ำ ยังยึดติดกับการทำเกษตรแบบดั้งเดิม พยายามทำพื้นที่สวนแตงให้เป็นแปลงต้นแบบให้ได้ ควรแบ่งเป็น ยางพาราอายุ 1-5 ปี และ ยางพาราที่หลังการเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวไร่ในร่มเงาสามารถปลูกในสวนยางพาราได้
-เครือข่ายข้าวไร่ชุมพร : นายนิพนธ์ ฤทธิชัย
จากการทำข้าวไร่เมื่อปีที่แล้ว ข้าวไร่เป็นข้าวที่ต้องปลูกตามฤดูกาล ปัญหาของลมฟ้าอากาศที่ไม่ตรงตามฤดูกาลจะมีผลพอสมควร ที่ผ่านมาข้าวไร่สุกในช่วงที่ฝนตกทำให้ข้าวเกิดความเสียหาย เรื่องของแรงงานการทำข้าวไร่ลดน้อยถอยลง เกษตรกรที่ยังทำกันอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ทำให้เกิดปัญหาด้านแรงงานถือว่าหนักพอสมควร พื้นที่มีจำกัด การที่ไปขอพื้นที่ทำข้าวไร่เพื่อให้เห็นว่า ตัดต้นยางพารา ปาล์มน้ำมัน ก็สามารถที่จะสร้างประโยชน์ในพื้นที่จากการปลูกข้าวไร่ได้ เกิดรายได้ แต่บางคนมีเงินไม่มีความสนใจ ที่ทำหลักเลยคือ ความมั่นคงทางอาหาร และการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวไร่ การจะอนุรักษ์พันธุ์ไว้ได้ ต้องปลูกทุกปี ต้องสร้างให้เกิดคุณค่าประโยชน์ เกิดเศรษฐกิจจะเป็นจูงใจในการรักษาพันธุ์ไว้ได้ ต้องหาวิธีการผลิต การแปรรูป เพื่อขายเป็นรายได้เสริม การสร้างมูลค่าเพิ่มการแปรรูปจากข้าวสารให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่นให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้ผลผลิตที่มาก แปรรูปให้ได้มูลค่ามากขึ้น การสร้างอาหาร ลดรายจ่าย ต้องมีการสื่อสารให้เห็นถึงทางเลือก ทางรอด การแปรรูปต้องมีตลาดรองรับ มีการคุยกับทางTOGA และ โรงแรม 4 แห่ง ที่ภูเก็ต การทำเป็นธุรกิจต้องดูพื้นที่ ราคาต้องมีความเหมาะสมคุ้มทุน จะหาพื้นที่ ลดรายจ่ายในการซื้ออาหาร การทำข้าวไร่อินทรีย์เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก จึงทำอยู่ในระดับปลอดภัย การทำตลาดมีเครือข่ายอยู่ สมาพันธ์พกฉ. วิสาหกิจคนทำธุรกิจ สมาชิกเครือข่ายที่เดินต่อข้าวไร่ จึงมีช่องทางที่จะไปไม่ใช้ปลูกไว้กินอย่างเดียว แต่สามารถมีรายได้เพิ่ม
จัดทำ Roadmap
1) ทบทวนบทเรียนและกลุ่ม/พื้นที่เป้าหมาย
๒)เป้าหมายผลลัพธ์ที่ต้องการ
๓) ความร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มย่อยเครือข่ายสวนยางยั่งยืน
กลุ่มเครือข่ายข้าวไร
|
ไม่มี
|
อบรมเชิงปฎิบัติการผู้ตรวจและประเมินมูลค่าและคุณค่าต้นไม้ (ถ่ายทอดสดคาร์บอนเครดิต) |
18 พ.ค. 2566 |
18 พ.ค. 2566 |
|
อบรมเชิงปฎิบัติการ ผู้ตรวจและประเมินมูลละค่าต้นไม้เพื่อใช้เป็นหลักประกันและขายคาร์บอนเครดิต
8.00-9.00 ลงทะเบียนและกล่าวต้อนรับโดยสมาพันธ์เกษตรกรรมยังยืนชุมพร
9.00-9.30 น พิธีเปิดโดย ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร
9.30-10.00น การจัดทำใบสมัครสมาชิกธนาคารต้นไม้โดยธนาคารต้นไม้
10.00-1100น การบันทึกข้อมูลต้นไม้การตรวจประเมินมูลลค่าต้นไม้และการคำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิตในระบบOAN โดยผอ.เอกพงศ์มุสิกะเจริญสำนักปลัดกระทรวง อว.
11.15-12.15น การแบ่งกลุ่มไม้ยืนต้นเพื่อใช้ประเมินการดูดซับกักเก็บคาร์บอนโดย ดร.เฉลิมชัยสมมุ่งออดิทเตอร์ธนาคารดอยแบงค์
13.00-14.30 น การขึ้นทะเบียนต้นไม้เพื่อเข้าโครงการรับรองค่าคาร์บอนเครดิตโดย ดร.เฉลิมชัยสมมุ่ง
14.45-17.00น ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติการประเมินมูลลค่าการดูดซับกักเก็บคาร์บอนเพื่อขายคาร์บอนเครดิตโดย ดร.เฉลิมชัย สมมุ่ง
|
|
มียอดคนชมจำนวน
กดไล้
กดแชร์
โครงการอบรมผู้ตรวจประเมินมูลค่าและคุณค่าต้นไม้เพื่อใช้เป็นหลักประกันและขายคาร์บอนเครดิต
วันที่ 18-19 พฤษภาคม 2566
ณ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร
เป้าหมายของโครงการคือ การส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรที่ปลูกต้นไม้ สร้างมูลค่าเพิ่มในช่วงที่ต้นไม้กำลังเจริญเติบโต และขายคาร์บอนเครดิต โดยการเรียนรู้การตรวจประเมินต้นไม้เพื่อขายคาร์บอนเครดิตและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ได้ดำเนินการตามโครงการธนาคารต้นไม้ 6,813 ชุมชนทั่วประเทศ ต่อมารัฐบาลได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจให้สามารถใช้ต้นไม้เป็นหลักประกันหนี้เงินกู้กับสถาบันการเงิน และส่งเสริมการขายคาร์บอนเครดิตเพื่อให้เกษตรกรสร้างมูลค่าเพิ่มจากการปลูกต้นไม้ ซึ่งได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร สมาคมเครือข่ายรักษ์ละแม ธนาคารเพื่อการเกษตร และ ออดิเตอร์ ธนาคารดอยซ์แบงก์
การสมัครสมาชิกในการตรวจประเมินเพื่อใช้ต้นไม้เป็นหลักประกันของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จำเป็นต้องสมัครสมาชิกธนาคารต้นไม้เพื่อเข้าระบบของธนาคารก่อน หลังจากนั้นจะมีการตรวจประเมินเพื่อเป็นผู้ตรวจประเมินมูลค่าต้นไม้ และต้องผ่านการอบรมและมีใบประกาศนียบัตรจากธกส. จึงงจะเป็นผู้ตรวประเมินต้นไม้ได้ ซึ่งวันนี้ทุกท่าจะได้รหัสจากกระทรวง อว. ซึ่งจะต่างกันกับระบบของธนาคารธกส. กรณีในพื้นที่ไม่มีธนาคารต้นไม้ ต้องรวบรวมสมาชิกอย่างน้อย 9 คน สมัครเพื่อตั้งเป็นธนาคารต้นไม้ ที่ ธนาคาร ธกส. หากในพื้นที่มีการตั้งธนาคารต้นไม้แล้วก็สามารถดำเนินการขั้นต่อไปได้เลย
การบันทึกข้อมูล ตรวจประเมินมูลค่าต้นไม้และคำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิตในระบบ OAN ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศเครือข่ายเกษตรอินทรีย์พัฒนาขึ้นเพื่อให้เกษตรกรได้มีเครื่องมือในการจัดการข้อมูลระดับแปลงของตัวเองโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อได้แก่ 1.เพื่อให้เกษตรกรมีฐานข้อมูลเป็นของตนเองและสามารถลงบันทึกฟาร์มออนไลน์ ต้นทุนฟาร์มออนไลน์ และแผนการผลิต 2.เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแปลงที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 3.เพื่อเป็นตัวกลางในการทำตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ล่วงหน้า ในการขึ้นทะเบียนผู้ตรวจต้นไม้ในระบบต้องเข้าสมัครในระบบ OAN(โดยแอดมินเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัด) และทำการขึ้นทะเบียน การบันทึกข้อมูลต้นไม้เข้าสู่ระบบ TUB: 1.เจ้าของแปลงลงข้อมูลผ่านระบบ Farm Management 2.ผู้ตรวจแปลงต้นไม้ลงข้อมูลผ่านระบบ OAN (ผู้ตรวจต้องมีรหัสระบบ OAN) ซึ่งเกษตรกรเจ้าของแปลงจะเป็นผู้กรอกข้อมูลต้นไม้เอง
การแบ่งกลุ่มไม้ยืนต้นเพื่อใช้เป็นประเมินการดูดซับกักเก็บคาร์บอน โดยจะแบ่งเป็น 8 ประเภท(กลุ่ม) 1.คัดแยกชนิดไม้ ตามมูลค่าของไม้ในทางการทำไม้ปัจจุบันและสามารถส่งออกได้สะดวก เป็นที่ยอมรับของงทั่วโลก 2.คัดแยกตามชนิดไม้ ที่มีมูลค่าค่อนข้าวสูง: กฤษณา กระถิ่นเทพา มะฮอกกานี ตะเคียน ไม้ป่าชายเลนเช่นโกงกาง 3.คัดแยกตามชนิดไม้ ที่มีมูลค่าปานกลาง: ไม้มะหาด ไม้ตะเคียนทอง ไม้แดง ไม้ประดู่บ้าน ไม้ยมหอม เป็นต้น 4.การคัดยแกตามชนิดไม้ ที่มีมูลค่าน้อยในทางการค้าเป็นเนื้อไม้: ไม้ผลัดใบ้ ไม้ยางทุกชนิดรวมถึงยางนา ไม้สัก ฯลฯ 5.การแยกตามชนิดไม้ ที่จัดอยู่ในประเภทไม้ประดับจัดสวน ตกแต่งสถานที่ ปรับภูมิทัศน์ ฯลฯ 6.คัดแยกไม้ที่ใช้เป็นพลังงานทดแทน พลังงานไฟฟ้า หรือใช้ในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ 7.ไม้อื่นๆที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 8.ไม้ไผ่ทุกชนิด
การใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันกับ ธกส. การใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันหนี้เงินกู้ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ: สร้างโอกาสให้เกษตรกร และรักษาต้นไม้ไว้ให้ลูกหลาน
หลักการของการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ: เพราะเราเชื่อว่า “ต้นไม้ไม่ได้มีค่าเฉพาะต้นที่ตายแล้วเท่านั้น” ในขณะที่ ต้นไม้ยังมีชีวิตอยู่ ต้นไม้ก็มีมูลค่า มีราคา ประโยชน์ของการใช้ไม้เป็นหลักประกัน: นำมูลค่าของต้นไม้มาแปลงเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้, เกษตรกรมีเงินทุนในการประกอบอาชีพ, มีเงินใช้ในยามจำเป็นเดือนร้อน, เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และช่วยรักษาชีวิตต้นไม้ไว้ได้ ซึ่งธกส.ได้ขับเคลื่อนการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกัน ผ่านโครงการธนาคารต้นไม้ และใช้รายชื่อต้นไม้ และมูลค่าต้นไม้ตามรายชื่อต้นไม้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) และศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ ได้ศึกษาไว้ภายใต้โครงการส่งเสริมปลูกต้นไม้เพื่อเป็นทุนระยะยาว ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเป็นรูปเล่มเมื่อเดือนกันยายน 2552
หลักเกณฑ์ในการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกัน: ไม้ยืนต้นต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกค้าผู้กู้ หรือคู่สมรส และปลูกอยู่ในที่ดินแปลงกรรมสิทธิ์ของงลูกค้าผู้กู้หรือคู่สมรส, ที่ดินแปลงกรรมสิทธิ์ของลูกค้าผู้กู้ต้องจดทะเบียนจำนองได้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายเหตุ ตามพ.ร.บ. หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558
คุณสมบัติของลูกค้าและหลักประกัน: ลูกค้าจะใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันหนี้เงินกู้ ต้องเป็นเกษตรกรตามข้อบังคับ ฉบับที่ 44 หรือบุคคล และผู้ประกอบการ, ไม้ยืนต้นที่จะใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ ต้องเป็นไม้ที่มีชื่อพรรณไม้กำหนดในเกณฑ์มาตราฐานการประกันมูลค่าต้นไม้ตามราคากลางต้นไม้, ลูกค้าผู้กู้หรือคู่สมรสต้องเป็นเจ้าของไม้ยืนต้น และปลูกอยู่ในที่ดินแปลงกรรมสิทธิ์ของงตนเอง, คุณสมบัติของแปลงที่ใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกค้าผู้กู้ หรือคู่สมรส และมีเอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สามารถจดทะเบียนจำนองเป้นประกันหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, การประเมินมูลค่าหลักประกัน; การประมูลค่าที่ดิน, การประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น ประเภทไม้ยืนต้น; ไม้ยืนต้นที่ใช้เป็นหลักประกัน โดยจำแนกต้นไม้ออกเป็น 4 กลุ่ม 1.ต้นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วถึงปานกลาง มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ 2.ต้นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง มูลค่าเนื้อไม้ค่อนข้างสูง 3.ต้นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง รอบฟันยาว มูลค่าต้นไม้ค่อนข้างสูง
ขั้นตอนการประเมินมูลค่าต้นไม้เพื่อใช้เป็นหลักประกัน
1. พิจารณาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารแสดงตน เอกสารสิทธิ์ที่ดิน
2. ไปพบกับต้นไม้ที่จะประเมินราคา (ประเมินเป็นรายต้นทุกต้นที่นำมาเป็นหลักปรพกัน)
3. ทำความรู้จักต้นไม้ว่าชื่อต้นอะไร ชื่อเล่นว่าอะไร ชื่อจริงว่าอะไร และเป็นไม้กลุ่มไหน
4. โอบกอดต้นไม้ เพื่อวัดความโตของต้นไม้ โดยวัดเส้นรอบวง
5. เปิดราคากลางต้นไม้ตามกล่มไม้ โดยดูจากเส้นรอบวงของต้นไม้
6. จดบันทึกชื่อต้นไม้ ความโต(เส้นรอบวง) มูลค่าต้นไม้ เสนอกรรมการธนาคารต้นไม้รับรอง
7. พนักงาน ธกส. สุ่มตรวจสอบ เสนอผู้จัดการสาขาอนุมัติหลักประกัน
8. จดทะเบียนหลักประกันกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Online)
คาร์บอนเครดิต คือ ศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศของโลกและนำมาคำนวณเป็นค่าเครดิตให้สามารถซื้อ-ขายได้เหมือเป็นสินค้าประเภทหนึ่งและต้นไม้ที่จัดเป็น 5 อันดับของโลกที่ได้คาร์บอนเครดิตมากที่สุด คือ กฤษณา กระถินเทพา ตะเคียนทอง มะฮอกกานี ไม้ป่าชายเลน เช่น โกงกาง ซึ่งจะต้องมีการวัดความโตของต้นไม้ในระดับความสูงของต้นไม้ที่ 130 แล้ววัดเส้นรอบวงโดยคิดหน่วยเป็นเซนติเมตรแต่หากคิดปริมาณของคาร์บอนเครดิตจะมีปริมาตรเป็นกิโลตัน ไม้ปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตรจะดูดซับเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 300 กิโลตัน ในปัจจุบันบริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเป็นผู้จ่ายเงินค่าคาร์บอนเครดิตโดยจ่ายปีละ 1 ครั้ง
สูตรคำนวณก๊าซคาร์บอนเครดิตดังนี้
- คำนวนปริมาตรต้นไม้: โต x โต x สูง x 7.96 / 1,000,000
- คำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิต: ปริมาตรต้นไม้ x 300 กิโลตัน
- คำนวณค่าคาร์บอนเครดิตพื้นฐาน: ปริมาณคาร์บอนเครดิต x 400 ÷10
|
-
|
เวทีถอดบทเรียนและผลิตสื่อสาร เพื่อสนับสนุนงานขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางอาหาร (ชุมชนสีเขียว) |
2 มิ.ย. 2566 |
2 มิ.ย. 2566 |
|
*
|
|
*
|
|
ประชุมสรุปเวทีถอดบทเรียนและผลิตสื่อสารเพื่อสนับสนุนงานขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางอาหาร (ชุมชนสีเขียว) |
7 มิ.ย. 2566 |
7 มิ.ย. 2566 |
|
*
|
|
*
|
|
การผลิตสื่อตามประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน |
17 ก.ย. 2566 |
17 ก.ย. 2566 |
|
ดำเนินการผลิตสื่อ ดังนี้
1)ผลิตคลิปความยาว 5-7นาทีกรณีศึกษา เกษตรกรรมยั่งยืน และขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืน ของแต่ละพื้นที่/เขตพื้นที่ กยท. รวม 7 คลิป
2) ข่าวสั้นและกราฟฟิก อย่างน้อย 20 ชิ้น (ชิ้นละ 500 บาท)
3) ถ่ายทอดสดอย่างน้อย 10 ครั้ง
|
|
มีข้อมูลข่าวสารสรุปการขับเคลื่อนงานเกษตรกรรมยั่งยืนรายพื้นที่
|
|