*
*
()

*
*
()
*
*
()
*
*
()
*
*
()
*
*
()
*
*
()
*
*
()

*
*
()
*
*
()
*
*
()
*
*
()

*
*
()

*
*
()

*
*
()

ในการประชุมครั้งนี้ ได้ดำเนินการในการทบทวนกิจกรรมและแนวทางในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลฐาน ทรัพยากรในชุมชน เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนโครงการมะรุ่ยแห่งความสุข โดยทีมนักวิชาการ (ดร.จินดา สวัสดิ์ ทวี) ได้อธิบายและชี้แจงเกี่ยวกับแบบสอบถาม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลฐานทรัพยากรในหมู่บ้าน เป็นรายข้อ รายประเด็น รวมทั้งอธิบายและชี้แจงเป้าหมายในการนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ ไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อชุมชน รวมทั้งนำไปสู่การทำแผนที่การใช้ประโยชน์ของฐานทรัพยากรในชุมชน
จากการประชุม ในครั้งนี้ สรุปได้ว่า ในการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลฐานทรัพยากรในหมู่บ้าน ทั้ง 7 หมู่ ของตำบลมะรุ่ย โดยใช้แบบสอบถามที่นักวิชาการในพื้นที่ได้ออกแบบและชี้แจงในที่ประชุม ซึ่งในการ ประชุมครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากกลุ่ม อสม.ในหมู่บ้านและประชาชนในพื้นที่ มาช่วยในการสำรวจและลง พื้นที่เก็บข้อมูล โดยจะเริ่มดำเนินการเก็บรวบรวมภายในเดือนธันวาคม นี้ เพื่อให้ข้อมูลฐานทรัพยากรในชุมชนมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งข้อมูลที่ได้นำไปสู่การจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรในชุมชนต่อไป
()
เพื่อนำเสนอแผนกิจกรรมและคณะทำงานในการทำงานตามแผนกิจกรรม
ทีมนักวิชาการ (ดร จินดา สวัสดิ์ทวี) ได้อธิบายและชี้แจงกิจกรรมในแต่ละ Phase ของโครงการ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการในแต่ละ Phase โดยเริ่มจากกิจกรรมใน Phase1 ที่จะต้องเริ่มดำเนินการในการรวบรวมและทบทวนรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การจัดการภัยพิบัติ และแผนผังทรัพยากรของพื้นที่ การวิเคราะห์ผลกระทบเบื้องต้นจากการจัดการท่องเที่ยวที่ผ่านมา การวิเคราะห์จุดเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงทิศทางการทำ Mapping ฐานทรัพยากรของตำบล (ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว จุดเสี่ยงภัยพิบัติและฐานต้นทุนทรัพยากร อื่นๆ) เพื่อนำไปสู่การจัดกิจกรรมตามแผนในโครงการ
ผลผลิต
ได้ทิศทางในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ มะร่ยแห่งความสุข โดยในการดำเนินงาน จะเริ่มจาก 2 กิจกรรม แรก คือ ฐานข้อมูลทรัพยกรธรรมชาติของตำบล เพื่อทบทวนข้อมูลพื้นฐานในชุมชน รวมไปถึงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติ
ผลลัพธ์ ได้คณะทำงานในการขับเคลื่อน โดยกิจกรรมแรกจะเป็น กิจกรรมการจัดทำแผนที่ฐานทรัพยากรและการใช้ประโยชน์ของฐานทรัพยากร ในอนาคต สำหรับกิจกรรมที่ 2 เป็นการรวบรวมข้อมูลกลุ่มเปราะบางของพื้นที่ตำบลมะรุ่ย และการจัดเก็บข้อมูลความเปราะบางต่างๆ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ดร จินดา สวัสดิ์ทวี นักวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท
นาย มนตรี พลันการ นายกเทศมนตรี ตำบลมะรุ่ย
นาย ขยาย ทองหนูนุ้ย ผอ ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน สทร.๖
รวมทั้งภาคประชาสังคมและประชาชนในตำบลมะรุ่ย
ในการจักกิจกรรม ภาคประชาชนและคนในพื้นที่ ยังคงสับสนและให้ความสนใจในกิจกรรมค่อยข้างน้อย
แนวทางในการแก้ไข
1 ในการดำเนินกิจกรรมครั้งถัดไป จะต้องลงพื้นที่ชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคนในพื้นที่มากขึ้น
2 ในการดำเนินกิจกรรมจะต้องให้คนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การพัฒนามะรุ่ยแห่งความสุข
1 จัดกิจกรรมครั้งถัดไป ต้องจัดในพื้นที่ชุมชน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจมากยิ่งขึ้น 2 เพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชน ในชุมชนเห็นความสำคัญของโครงการมากขึ้น เพื่อนำไปสู่ประสิทธิภาพการขับเคลื่อนโครงการมากยิ่งขึ้น
-

นำเสนอข้อมูล และรับฟังแนวทางการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม “หุ้นส่วนการพัฒนา ขับเคลื่อนพื้นที่ เปิดประตูมะรุ่ยแห่งความสุข”
เวลา 08.30 - 9.00 น. ลงทะเบียน
เวลา 09.00 - 09.15 น. นายมนตรี พลันการ นายกองค์การบริหารตำลบมะรุ่ย กล่าวต้อนรับ
เวลา 09.15 - 09.30 น. นายเถลิงศักดิ์ นุชประหาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา
กล่าวเปิดการประชุม
เวลา 09.30 - 09.45 น. ดร.จินดา สวัสดิ์ทวี นักวิชาการทีมขับเคลื่อนโครงการ
มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ชี้แจงวัตถุประสงค์
เวลา 09.45 - 10.00 น. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย นำเสนอข้อมูลพื้นฐานของตำบล
เวลา 10.00 - 10.30 น. ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและ
นโยบายสาธารณะ มหาวิทยาสงขลานครินทร์ ชี้แจงแนวทาง
ในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นโมเดลเพื่อสร้าง ความมั่นคงในทุกมิติ
เวลา 10.45 น. - 11.15 น. ดร.เพ็ญ สุขมาก PM โครงการ สถาบันนโยบายสาธารณะ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอแนวทางการปฏิบัติเพื่อ
นำสู่เป้าหมายหุ้นส่วนการพัฒนา ขับเคลื่อนพื้นที่
เปิดประตูมะรุ่ยแห่งความสุข
เวลา 11.15 น. – 12.00 น. นายไมตรี จงไกรจักร ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท นำเสนอข้อมูลด้าน
สถานการณ์ของข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยในพื้นที่
เวลา 12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
เวลา 13.00 น. - 13.30 น. อ พงศ์ธีระ บัวเพ็ชร คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการจัดการ
อุทยานเเห่งชาติทางทะเล นำเสนอข้อมูลสถานการณ์ทรัพยากรทาง
ทะเลและชายฝั่งในตำบลมะรุ่ย
เวลา 13.30 น. - 14.00 น. นายสมศักดิ์ โบบทอง ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยว
เชิงอนุรักษ์บ้านโคกไคร นำเสนอข้อมูลสถานการณ์การท่องเที่ยว
เชิงอนุรักษ์ในชุมชน
เวลา 14.00 น. - 15.00 น ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เวลา 15.00 น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย กล่าวปิดการประชุม
1 เกิดแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมของการพัฒนา ขับเคลื่อนพื้นที่ เปิดประตูมะรุ่ยแห่งความสุข 2 เกิดภาคีเครือข่ายร่วมกันในการขับเคลื่อนพื้นที่ เปิดประตูมะรุ่ยแห่งความสุข
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
- รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา 2. ผู้แทนนายอำเภทับปุด
- นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย
- รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย คนที่ 1
- รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย คนที่ 2
- เลขานายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย
- กำนันตำบลมะรุ่ย
- ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย
- หัวหน้า/ผู้แทนสำนักงานปกกันภัยและบรรเทาสาธารณภัย จ.พังงา
- ผู้แทน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พังงา
- ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ที่ ๖
- ผู้อำนวยการส่วนทรัพยากรทางทะเลที่ ๖
- ผู้แทนสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จ.พังงา
- ประธานชมรมอาสาสมัครสาธาณสุขประจำหมู่บ้าน
- ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าสนุก
- ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนิโครธคุณากร
- ผู้อำนวยการ รพ.สต.บ้านคกไคร
- ผู้อำนวยการ รพ.สต.มะรุ่ย
- ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับจังหวัดพังงา
- นายกสมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข
- ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท
- ผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)
- ผู้อำนวยการกองช่าง ต.มะรุ่ย
- ผู้แทนกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลมะรุ่ย
- ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย
- ผู้แทนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
- ผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชนตำบลมะรุ่ย 28 ผู้สื่อข่าวในพื้นที่จังหวัดพังงา 29 ประชาชน/ผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบลมะรุ่ย
-
-

เพื่อกำหนดกิจกรรมและแนวทางในการจัดกิจกรรมการเปิดโครงการมะรุ่ยแห่งความสุข
1 จัดประชุมชี้แจงแผนการดำเนินโครงการ มะรุ่ยแห่งความสุข ให้กับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ตำบลมะรุ่ย
2 กำหนดแนวทางในการดำเนินงานและทิศทางในการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่
3 ทำความเข้าใจเกี่ยวกระบวนการในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อจัดทำผังการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ตำบลมะรุ่ย เพื่อเชื่อโยงไปสู่การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน รวมถึงการจัดทำข้อบัญญัตของท้องถิ่น
ผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมกลุ่ม/กิจกรรม มีดังนี้
1 สมชิกในตำบลมะรุ่ยเข้าใจและรับทราบเกี่ยวกับโครงการ มะรุ่ยแห่งความสุข
2 ได้ทิศทางและแนวทางในการขับเคลื่อนร่วมกันของภาคีต่าง ๆ
3 เกิดคณะทำงานร่วมกันในการดำเนินโครงการ มะรุ่ยแห่งความสุข ภายใต้ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบลมะรุ่ย
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
กลุ่มภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ในพื้นที่ตำบลมะรุ่ย
จำนวนสมาชิกและคณะกรรมการในการเข้าร่วมประชุมน้อยกว่าที่กำหนดไว้ เนื่องจาก ในการจัดประชุมเป็นไปอย่างกระทันหัน ทำให้สมาชิกหรือคณะทำงานบางคนไม่สามารถเข้าร่วมได้ แนวทางในการแก้ไขปัญหา อาจจะต้องกำหนด timeline ในการดำเนินงานล่างหน้าให้ชัดเจนและอย่ากำหนดให้กะชั้นชิดจนเกิดไป
1 กำหนด timeline ในการดำเนินงานล่างหน้าให้ชัดเจน 2 ต้องมีการรีเช็กหรือสอบถามผู้ที่สามารถเข้าร่วมได้ล่วงหน้า