โครงการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) ในพื้นที่ภาคใต้ (สงขลาและนครศรีธรรมราช)
ชื่อโครงการ | โครงการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) ในพื้นที่ภาคใต้ (สงขลาและนครศรีธรรมราช) |
ภายใต้โครงการ | แผนงาน สนส. |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | 1 พฤษภาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2564 - 31 ตุลาคม 2565 |
งบประมาณ | 600,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.เพ็ญ สุขมาก |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สสส. โดยแผนงานสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมสุขภาวะ ได้สนับสนุนโครงการของหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้หน่วยจัดการจังหวัดฯ เป็นกลไกระดับจังหวัดที่มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ สนับสนุนและขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพตามประเด็นปัญหาสุขภาวะและความต้องการของพื้นที่ ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สสส. ได้กำหนดเป้าหมายในการประเมิน หน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ จำนวน 20 หน่วยจัดการ โดยกำหนดกรอบแนวคิดและหลักการประเมินให้ยึดหลักการประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา รวมทั้งมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงพัฒนาและเสริมพลังหน่วยจัดการจังหวัดฯ ให้สามารถบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเพื่อให้หน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) และสำนักสร้างสรรค์โอกาส ได้รับผลการประเมินที่มีคุณภาพสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานต่อไป (เอกสารขอบเขตการดำเนินงาน โครงการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ, 2564)
หน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) นับเป็นกลไกสำคัญในการออกแบบ สนับสนุนการดำเนินงานของโครงการย่อยที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาสำคัญของพื้นที่ เพื่อการบรรลุเป้าหมายการมีสุขภาวะของคนในชุมชน การติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วมและการเสริมพลังอำนาจ หน่วยจัดการจังหวัด ฯ เป็นอีกกลไกหนึ่งที่ทางสำนักสร้างสรรค์โอกาส (สสส.สำนัก 6) ได้กำหนดขึ้น กระบวนการและผลการประเมินจะทำให้ทั้งหน่วยจัดเอง และผู้รับผิดชอบโครงการย่อยนอกจากจะมีศักยภาพเพิ่มขึ้น สามารถออกแบบกิจกรรมโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการติดตามประเมินผล มีประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการ 2 ประการคือ การติดตาม (Monitoring) และการประเมินผล (Evaluation) ทั้ง 2 ประเด็นนี้มีความหมายและจุดเน้นที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การติดตามหมายถึง การศึกษากระบวนการและขั้นตอนการดำเนินโครงการตั้งแต่ การใช้ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ/ขั้นตอนของการดำเนินงาน (Process) และผลผลิตที่เกิดขึ้น (Output) ว่าเป็นไปตามแผนที่โครงการกำหนดไว้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อทบทวน แก้ไขปรับปรุงและหนุนเสริมวิธีการปฏิบัติให้ผลงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพมากที่สุด การติดตามจะเป็นประโยชน์ต่อการเร่งรัดให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายของโครงการและแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับให้ผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อให้คำแนะนำช่วยเหลือ แก้ไขสนับสนุน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนการประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การศึกษาคุณค่าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินโครงการตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า (Input) ขั้นตอนของการดำเนินงาน (Process) ผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบ (Output, Outcome, Impact) ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปการบ่งชี้คุณค่ามักใช้การเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานหรือสิ่งที่กำหนดไว้
ดังนั้น การติดตามประเมินผลจะตอบคำถามว่า ในการดำเนินงานตามโครงการมีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้โครงการบรรลุ หรือไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งปัจจัยที่เกี่ยวกับ คน สภาพแวดล้อม และระบบกลไก การดำเนินงานแต่ละขั้นตอนต้องใช้กระบวนการอะไร อย่างไร กระบวนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายหรือความสำเร็จของโครงการคือ อะไร ผลที่เกิดทั้งที่ตั้งใจ ไม่ตั้งใจ มีอะไรบ้าง ทั้งที่เป็นผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ คุณค่าโครงการทั้งภายใน ภายนอก ความสำเร็จที่สำคัญของโครงการมีอะไรบ้าง และแนวทางการพัฒนาต่อเนื่องควรทำอย่างไร
สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สสส.ได้กำหนดโจทย์การประเมินหน่วยจัดการจังหวัด ฯ ไว้ 4 ประเด็นคือ
1) หน่วยจัดการสามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ประกอบด้วยเกิดผลลัพธ์ของโครงการย่อย เกิดพื้นที่ต้นแบบ มีการส่งต่อผลลัพธ์และต้นแบบในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ และความสามารถของหน่วยจัดการในการทำให้เกิดผลลัพธ์โครงการย่อยตามประเด็นยุทธศาสตร์
2) หน่วยจัดการสามารถสร้างประสิทธิผลของการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายสำคัญในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยประเด็นระดับความร่วมมือระหว่างเครือข่ายภาคียุทธศาสตร์กับ Node Flagship
3) ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของหน่วยจัดการ ประกอบด้วยประเด็น ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงผลลัพธ์ และสมรรถนะของพี่เลี้ยง
4) บทเรียนระหว่างทางของหน่วยจัดการที่มาจากการดำเนินงาน ประกอบด้วยประเด็นการเกิดปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินงาน และเงื่อนไขข้อจำกัดของการดำเนินงาน รายละเอียดดังภาพประกอบ 1
ทีมประเมินเลือกใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นกรอบในการประเมินครั้งนี้ เนื่องจากการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ เป็นการประเมินที่สอดคล้องกับโจทย์ที่ทางสำนักสร้างสรรค์โอกาสนวัตกรรมเน้นคือ เป็นการประเมินเพื่อเรียนรู้และเสริมพลังอำนาจผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกขั้นตอนการประเมิน เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาและปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้น เนื่องจากการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจะประเมินทั้งมิติผลกระทบทางบวก และผลกระทบทางลบ และใช้ผลการประเมินเพื่อปรับปรุงพัฒนาโครงการให้ดีขึ้น และยังเป็นการประเมินที่เน้นการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพคนทำงานอีกด้วย และขณะเดียวกันในตลอดห่วงโซ่ของระบบการดำเนินงานโครงการก็อาจมีผลกระทบเกิดขึ้นในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อประเมินผลลัพธ์จากการดำเนินงานของหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) และผลลัพธ์ของประเด็นสร้างเสริมสุขภาพชุมชน ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยจัดการจังหวัดฯ
|
0.00 | |
2 | เพื่อให้ได้ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยจัดการระดับจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ นำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาโครงการ ให้บรรลุเป้าหมายผลลัพธ์
|
0.00 | |
3 | เพื่อให้ได้ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสำหรับสำนักสร้างสรรค์โอกาส (สสส.สำนัก 6) นำไปใช้ในการพัฒนาหน่วยจัดการ ฯ ในอนาคต
|
0.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | พ.ค. 64 | มิ.ย. 64 | ก.ค. 64 | ส.ค. 64 | ก.ย. 64 | ต.ค. 64 | พ.ย. 64 | ธ.ค. 64 | ม.ค. 65 | ก.พ. 65 | มี.ค. 65 | เม.ย. 65 | พ.ค. 65 | มิ.ย. 65 | ก.ค. 65 | ส.ค. 65 | ก.ย. 65 | ต.ค. 65 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมที่ 1 การเตรียมเครื่องมือ ในขั้นตอนการเตรียมเครื่องมือจะสอดคล้องกับขั้นตอนการกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(1 พ.ค. 2564-30 ก.ค. 2564) | 0.00 | ||||||||||||||||||
2 | กิจกรรมที่ 2 ทีมประเมินเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. ร่วมวางแผนการทำงาน และรายงานผลการประเมิน(1 พ.ค. 2564-31 ต.ค. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||
3 | กิจกรรมที่ 3 ทีมประเมินเข้าร่วมเวทีกลั่นกรองโครงการและปฐมนิเทศโครงการย่อยของหน่วยจัดการจังหวัดจำนวน 5 คน 4 ครั้ง (จังหวัดละ 2 ครั้ง)(1 พ.ค. 2564-30 ก.ย. 2564) | 0.00 | ||||||||||||||||||
4 | กิจกรรมที่ 4 การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน (Scoping)(1 พ.ค. 2564-30 ต.ค. 2564) | 0.00 | ||||||||||||||||||
5 | กิจกรรมที่ 5 ขั้นตอนการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมิน และ ทีมประเมินเข้าร่วมเวที ARE(1 ส.ค. 2564-5 มิ.ย. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||
6 | กิจกรรมที่ 6 ทีมประเมินเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. จำนวน 5 คน 2 ครั้ง(1 ม.ค. 2565-30 ต.ค. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||
7 | กิจกรรมที่ 7 ทีมประเมินดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ตามเครื่องมือที่จัดทำขึ้น(1 ม.ค. 2565-31 ต.ค. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||
8 | กิจกรรมที่ 8 ขั้นตอนการนำเสนอผลการประเมิน และจัดทำข้อเสนอเพื่อปรับปรุงโครงการและผลักดันสู่การตัดสินใจของหน่วยจัดการและโครงการย่อยฯ(5 พ.ค. 2565-31 ต.ค. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||
9 | กิจกรรมที่ 9 ทีมประเมินลงพื้นที่เพื่อติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ จำนวน 2 ครั้ง จังหวัดละ 1 ครั้ง(5 มิ.ย. 2565-31 ต.ค. 2565) | 0.00 | ||||||||||||||||||
รวม | 0.00 |
1 กิจกรรมที่ 1 การเตรียมเครื่องมือ ในขั้นตอนการเตรียมเครื่องมือจะสอดคล้องกับขั้นตอนการกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 5 | 0.00 | |
20 ส.ค. 64 | ประชุมคณะทำงานเพื่อทบทวนเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และรายละเอียดของโครงการ Node Flagship | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
11 ต.ค. 64 | ประชุมคณะทำงานเพื่อทบทวนรายละเอียดโครงการย่อย และทำแผนโครงการ การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาNode Flagship ในพื้นที่ภาคใต้ (สงขลาและนครศรีธรรมราช) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
17 ต.ค. 64 | ประชุมคณะทำงานเพื่อทบทวนรายละเอียดโครงการย่อย ทำแผน และมอบภารกิจของทีมโครงการ Node Flagship | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
22 ต.ค. 64 | ประชุมคณะทำงานเพื่อทบทวนรายละเอียดโครงการย่อย ทำแผน และมอบภารกิจของทีมโครงการ Node Flagship | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
16 ม.ค. 65 | ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมพัฒนาและออกแบบเครื่องมือการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
2 กิจกรรมที่ 2 ทีมประเมินเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. ร่วมวางแผนการทำงาน และรายงานผลการประเมิน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 1 | 0.00 | |
18 - 19 ก.พ. 65 | ประชุมปฐมนิเทศและทำความเข้าใจการดำเนินงาน “หน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship)” ประจำปี 2565 | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
3 กิจกรรมที่ 3 ทีมประเมินเข้าร่วมเวทีกลั่นกรองโครงการและปฐมนิเทศโครงการย่อยของหน่วยจัดการจังหวัดจำนวน 5 คน 4 ครั้ง (จังหวัดละ 2 ครั้ง) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 4 | 0.00 | |
22 ต.ค. 64 | ประชุมเตรียมเวทีกลั่นกรองในการประเมินร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
23 ต.ค. 64 | ประชุมเวทีกลั่นกรองในการประเมินร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
18 ม.ค. 65 | ประชุมเวทีกลั่นกรองเพื่อร่วมพัฒนาและออกแบบเครื่องมือการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
23 ม.ค. 65 | ประชุมเวทีกลั่นกรองเพื่อร่วมพัฒนาและออกแบบเครื่องมือการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
4 กิจกรรมที่ 4 การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน (Scoping) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 5 | 0.00 | |
2 พ.ย. 64 | ประชุมกลุ่มเพื่อทำร่างขอบเขตการประเมิน ร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
9 พ.ย. 64 | ประชุมกลุ่มเพื่อทำร่างขอบเขตการประเมิน ร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
18 พ.ย. 64 | ประชุมกลุ่มเพื่อทำร่างขอบเขตการประเมิน ร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
20 ก.พ. 65 | ประชุมเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
22 ก.พ. 65 | ประชุมเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
5 กิจกรรมที่ 5 ขั้นตอนการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมิน และ ทีมประเมินเข้าร่วมเวที ARE | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 10 | 0.00 | |
26 ก.พ. 65 | กิจกรรมการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา (กลุ่มที่ 1 ทีมพี่เลี้ยงวิชาการ) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
27 ก.พ. 65 | กิจกรรมการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา (กลุ่มที่ 2 Core Team) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
28 ก.พ. 65 | กิจกรรมการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา (กลุ่มที่ 3 Project Manager) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
18 มี.ค. 65 | สัมภาษณพี่เลี้ยงพื้นที่ NF นครฯ | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
12 มิ.ย. 65 | การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าผลลัพธ์การดำเนินงาน Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
24 - 25 มิ.ย. 65 | ประชุมเชิงปฏิบัติการการสังเคราะห์และถอดบทเรียนของโครงการย่อย Node Flagship จังหวัดสงขลา | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
10 ส.ค. 65 | ประชุมเพื่อเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา (ทีม PM, Core team และทีมพี่เลี้ยงวิชาการ) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
22 ส.ค. 65 | ประชุมเพื่อเก็บข้อมูลโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
11 ก.ย. 65 | การประชุมเพื่อเก็บข้อมูลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
18 ก.ย. 65 | ทีมประเมินเข้าร่วมเวทีพัฒนาข้อเสนอนโยบายสาธารณะ โครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
6 กิจกรรมที่ 6 ทีมประเมินเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. จำนวน 5 คน 2 ครั้ง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 2 | 0.00 | |
19 - 20 พ.ย. 64 | ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าผลลัพธ์การดำเนินงาน ครั้งที่ 1 “หน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship)” | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
26 ต.ค. 65 | ประชุมเก็บข้อมูลเพื่อสรุปผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช นำเสนอต่อ สสส. | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
7 กิจกรรมที่ 7 ทีมประเมินดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ตามเครื่องมือที่จัดทำขึ้น | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 3 | 0.00 | |
15 มี.ค. 65 | สัมภาษณ์ PM โครงการ NF นครศรีธรรมราช | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
16 มี.ค. 65 | กิจกรรมการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship นครศรีธรรมราช (Core team) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
17 มี.ค. 65 | กิจกรรมการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship นครศรีธรรมราช (ทีมพี่เลี้ยงวิชาการ) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
8 กิจกรรมที่ 8 ขั้นตอนการนำเสนอผลการประเมิน และจัดทำข้อเสนอเพื่อปรับปรุงโครงการและผลักดันสู่การตัดสินใจของหน่วยจัดการและโครงการย่อยฯ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 4 | 0.00 | |
2 มี.ค. 65 | ประชุมคณะทำงานเตรียมคืนข้อมูลผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
3 มี.ค. 65 | ประชุมคืนข้อมูลผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
19 มี.ค. 65 | คืนข้อมูลหน่วยจัดการ นครศรีธรรมราช | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
28 - 29 ก.ย. 65 | ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อการประเมินโครงการ | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
9 กิจกรรมที่ 9 ทีมประเมินลงพื้นที่เพื่อติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ จำนวน 2 ครั้ง จังหวัดละ 1 ครั้ง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 3 | 0.00 | |
22 พ.ค. 65 | ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
8 มิ.ย. 65 | ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
15 ส.ค. 65 | กิจกรรมลงพื้นที่เพื่อติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ โครงการย่อย Node Flagship จังหวัดสงขลา | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2565 11:28 น.