สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ ”

จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
ดร.ซอฟียะห์ นิมะ

ชื่อโครงการ โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

ที่อยู่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 64-00-1060 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2564 ถึง 14 พฤษภาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 64-00-1060 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 ตุลาคม 2564 - 14 พฤษภาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 3,484,772.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สามจังหวัดชายแดนใต้ เป็นพื้นที่มีอาณาเขตติดชายแดนประเทศมาเลเซียประกอบด้วยจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส มีการปกครองส่วนภูมิภาคประกอบด้วย 33 อำเภอ 250 ตำบล และ 2,120 หมู่บ้าน ส่วนการปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย 3 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 49 เทศบาล และ 215 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม พุทธ และคริสต์ เป็นสัดส่วนตามลำดับ จัดเป็นพื้นที่พิเศษที่ดำรงอยู่ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบ (unrest situation) อันเป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่มีพื้นฐานมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ระหว่างรัฐไทยและชาติพันธุ์มลายูในอดีตและก่อเกิดการปะทะขึ้นใหม่อีกครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน[1] ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาสถานการณ์ความไม่สงบได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน คุณภาพชีวิต ความซบเซาทางเศรษฐกิจ และวิถีสังคมโดยรวม ทำให้ประชากรประมาณ 1 ใน 3 เป็นคนจนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศถึง 3.8 เท่า โดยสัดส่วนคนจนเฉลี่ยทั่วประเทศ ร้อยละ 8.6 ถือเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงถึงร้อยละ 32.8 ของประชากรทั้งหมดในภาคใต้และมีความยากจนสูงที่สุดในประเทศไทย[2] ล่าสุด ผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2562 พบว่า ภูมิภาคที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดยังคงเป็นภาคใต้ (ร้อยละ 11.27) ในขณะที่ภาพรวมของประเทศ ปัญหาความยากจนได้ลดลงเกือบทุกจังหวัด แต่ยังมีอีกหลายจังหวัดที่มีสัดส่วนคนยากจนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานียังคงเป็นจังหวัดที่ยากจนเรื้อรังและยากจนยาวนานที่สุดในประเทศไทย คือมีสัดส่วนคนจนเท่ากับร้อยละ 29.72 รองลงมาได้แก่ จังหวัดนราธิวาสที่มีสัดส่วนคนจนร้อยละ 25.53 ในปี 2562 [3] และเมื่อย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วในปี พ.ศ. 2554 จังหวัดปัตตานีมีเส้นความยากจนต่ำที่สุดใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ คือ 1,455 (บาท/คน/เดือน) [4] ส่วนจังหวัดยะลาเคยเป็นจังหวัดที่มีความยากจนลำดับที่ 5 ของประเทศในปี พ.ศ. 2558 ที่มีสัดส่วนคนจนร้อยละ 21.34 ปัจจุบันจังหวัดยะลาเป็นเพียงจังหวัดเดียวในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ไม่ถูกจัดเป็นกลุ่มยากจนเรื้อรัง ทั้งนี้ จากความรุนแรงของภาวะยากจนเรื้อรังเหล่านี้นำไปสู่ความยากจนในมิติอื่น ๆ ในเด็กด้วยเสมอ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เติบโตมาจากภูมิลำเนาในสามจังหวัดจะมีความยากจนทั้งในมิติการศึกษา มิติสุขภาพ มิติมาตรฐานความเป็นอยู่ และมิติสวัสดิภาพของเด็กในพื้นที่ [5] โดยเด็กที่อยู่ในชนบทมีสัดส่วนคนจนและความรุนแรงของปัญหาความยากจนสูงกว่าในเขตเมืองในทุกมิติ เช่น มิติทางการศึกษา (educational dimension) ที่พบว่า ปัญหาของความยากจนทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษากลางคัน ด้วยเหตุที่ต้องหาเลี้ยงครอบครัว มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และอัตราการศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นจะต่ำลงเรื่อย ๆ รองลงมาเป็นปัญหาการปรับตัวของเด็ก ปัญหาในครอบครัว และการสมรส หรือการตั้งครรภ์ รวมทั้งตัวชี้วัด มิติอื่น ๆ ก็ลดต่ำลงด้วย ได้แก่ ด้านโภชนาการ ที่เด็กมีภาวะขาดสารอาหารและพัฒนาการไม่สมวัยในมิติด้านสุขภาพ (health dimension) การคุ้มครองและความเป็นอยู่ในมิติด้านสวัสดิภาพเด็ก (living conditions) และสภาพที่อยู่อาศัยในมิติมาตรฐานความเป็นอยู่ [5] สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนท่ามกลางการคุ้มเข้มของกำลังทหารภายใต้การบังคับใช้กฎหมายทั้งหมด 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 กลายเป็นเครื่องมือที่ถูกใช้เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่ในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งโดยเฉพาะการควบคุมประชาชนในพื้นที่ โดยรัฐบาลมีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทั้งสามจังหวัดในทุก ๆ 3 เดือนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนั้น กลับพบปัญหาการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพต่อการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ด้าน [6] การสร้างความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหา [7] และกระทบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนในการออกไปประกอบอาชีพในยามวิกาล เช่น การกรีดยางและการประมงชายฝั่ง ในขณะเดียวกัน กลับพบสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ใบกระท่อม รองลงมา คือ ยาบ้า เข้ามาในชุมชนอย่างล้นหลาม โดยขบวนการค้ายาเสพติดในพื้นที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีอิทธิพลอื่น เช่น ค้าของหนีภาษี การพนัน และค้ามนุษย์ [8] ทำให้มีวัยรุ่นชายส่วนหนึ่งจึงกลายเป็นทั้งผู้เสพและผู้ค้า ที่พบสถิติการจับกุมดำเนินคดีส่งไปยังสถานพินิจและสถานบำบัดยาเสพติด ส่วนวัยรุ่นหญิงหลายครอบครัวต้องมีชีวิตอย่างยากลำบาก เมื่อผู้นำครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หลายคนถูกจับกุม ดำเนินดคี และถูกคุมขัง หรือบางรายอาจเสียชีวิต ทำให้วัยรุ่นอยู่ในสภาวะความพลัดพรากและความสูญเสียมีมากถึง 5,289 คน [9] บางคนไม่ได้เรียนหนังสือต่อและออกจากบ้านไปทำงาน โดยจะต้องทำทุกอย่างเพื่อมีชีวิตรอดแม้กระทั่งการขายประเวณี หรือ บางส่วนมีการแต่งงานท่ามกลางความไม่พร้อมเนื่องจากการบังคับของครอบครัว [9] ดังนั้นปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (social determinant of health) ต่อปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้นั้น มีลักษณะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่เกิดจากความสลับซับซ้อน (complexity) ของปัญหาทางสังคมด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองระดับประเทศและความสัมพันธ์ที่มีความขัดแย้งในระดับพื้นที่ โครงสร้างสังคมแบบทุนนิยม ที่นำมาซึ่งช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาความยากจน การกระจายรายได้และความเจริญที่ไม่เท่าเทียมทั่วถึง ผลกระทบต่อสุขภาวะเด็กมากมาย จากการไม่ได้รับการคุ้มครองต่อ (1) สิทธิในการอยู่รอด (2) สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (3) สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และ (4) สิทธิในการมีส่วนร่วม สิทธิเหล่านี้ บางครั้งไม่ได้ปรากฏในรายงานของรัฐและทำให้เด็กที่ได้รับผลกระทบไม่ได้รับการดูแลและเยียวยาอย่างเหมาะสม

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแบบเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพในจังหวัดชายแดนใต้
  2. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นภายใต้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมและวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนใต้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 1
  2. ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 2
  3. ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 3
  4. ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ ครั้งที่ 1
  5. ประชุมทีมงานครั้งที่ 4
  6. ประชุมทีมพี่เลี้ยงโครงการเดิม
  7. ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 1
  8. ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 2
  9. ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 3
  10. ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอธารโต จ.ยะลา
  11. ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
  12. ประชุมหารือเข้าพบสสอ.ตากใบ จ.นราธิวาส
  13. ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอแม่ลาน จ.ปัตตานี
  14. ประชุมหารือ สสอ.ยะรัง จ.ปัตตานี
  15. ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอแว้ง จ.นราธิวาส
  16. ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอกาบัง จ.ยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ได้รูปแบบการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือแบบเครือข่าย: พื้นที่มีแผนงานและโครงการรองรับการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น เช่น ด้านการให้ข้อมูลเพื่อเข้าถึงสิทธิ ด้านบริการอนามัยเจริญพันธุ์ ด้านจัดระบบการส่งต่อ และด้านการติดตามคุณภาพชีวิต

2) ได้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในแต่ละระดับ (3As) คือ การกำหนดเป็นวาระเพื่อการขับเคลื่อน (Public Agenda) การสื่อสารสาธารณะ (Media Advocacy) และ การขับเคลื่อนโยบาย (Policy Advocacy)


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 1

วันที่ 10 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม ประชุมทีมงานครั้งที่ 1 (ผ่านซูมออนไลน์ วันที่ 10 ตุลาคม 2564) วัตถุประสงค์ - เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันของคณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ประชุมคณะทำงานโครงการฯการป้องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดชายแดนใต้ เฟซที่ 2
  • อาจารย์ซอฟียะห์ เล่าความเป็นมาของโครงการ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในระยะที่ 1

พื้นที่เดิม 3 จังหวัด 4 อำเภอ ได้แก่

1) อำเภอเมือง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2) อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

3) อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
- โครงการฯในระยะที่ 2 จะดำเนินการในพื้นที่ 19 อำเภอ 20 ตำบล
- โครงการจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2566

  1. คณะทำงาน
  • คณะทำงานประกอบด้วย อ.ซอฟียะห์ พี่แอน พี่ปู พี่ด๊ะ ไล

  • ฮามีด๊ะ แจ้งต่อที่ประชุมขณะนี้กำลังรอเอกสารประกอบสัญญาจากสำนักวิจัย

  • ที่ประชุมเสนอสุไหลหมาน เป็นผู้ประสานงานโครงการ ดูแลภาพรวมของโครงการ

  • อ.ซอฟียะห์กับพี่ด๊ะ จะคุยกับอ.กุลทัต เรื่องตำแหน่งผู้ประสานงานโครงการ

  • อานัติ รับผิดชอบงานภาคสนามของโครงการ

  • จะให้มีการประชุมคณะทำงานประจำสัปดาห์ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17:00 – 18:00 น.

  • ทีมวิชาการของเฟซที่ 2 ได้แก่ หมอท็อป หมอสุวัฒน์ สมชาย(พี่เปิ้ล สปสช.) พี่อุษา พี่พร หมอนูรีด้า คุณชาคริต

  • จะมีการจัดประชุมคณะกรรมการกำกับทิศโครงการในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ ประชุมที่สนส.ม.อ. และผ่านซูม


    ผู้เข้าร่วมประชุม

1) ดร.ซอฟียะห์ นิมะ

2) นางสาวฮามิด๊ะ หวันนุรัตน์

3) นางฐนัชตา นันทดุสิต (พี่แอน)

4) นายอานัติ หวังกุหลำ

5) นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

5 0

2. ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 15 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • วางแผนการทำงานร่วมกันของคณะทำงาน
  • เตรียมงานประชุมคณะกรรมการกำกับทิศครั้งที่ 1/2564

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ประชุมเตรียมงานกำกับทิศครั้งที่ 1/2564

- เตรียมจัดประชุมคณะกรรมการกำกับทิศโครงการ ในวันที่ 29 ตุลาคม 2564 เวลา 10:00-12:00 น. - เชิญหมอสุวัฒน์ หมอวรสิทธิ์ พี่เปิ้ล สปสช.เขต 12 สงขลา เชิญทีมพี่เลี้ยง และพื้นที่นำร่อง

  1. เกี่ยวกับคณะทีมงาน

- เปลี่ยนประชุมคณะทีมงานประจำสัปดาห์ทุกวันอาทิตย์เป็นทุกวันศุกร์ เวลา 19:00-20:00 น. - จัดหาทีมสื่อ
- ทีมถอดบทเรียน - ทีมพี่เลี้ยงกับทีมประเมินจะเป็นคนละทีมกัน - ส่งรายงานความก้าวหน้าให้ สสส. ทางอีเมลทุกวันที่ 15 ของเดือน

ผู้เข้าร่วมประชุม

1) ดร.ซอฟียะห์ นิมะ

2) นางสาวฮามิด๊ะ หวันนุรัตน์

3) นางฐนัชตา นันทดุสิต (พี่แอน)

4) นายอานัติ หวังกุหลำ

5) นางสาวจิราพร อาวะภาค (พี่ปู)

6) นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

6 0

3. ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 3

วันที่ 22 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

วางแผนการทำงานร่วมกันและจัดเตรียมงานประชุมกำกับทิศ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เตรียมความพร้อม ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ วันที่ 29 ต.ค. เวลา 10.00-12.00 น. 1.1 ได้เชิญและติดต่อประสานแล้ว โดยรวม 23 คน ประกอบด้วย

- ผอ.รพ.นาทวี นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ - หมอท็อป ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้
- รอตัวแทนจากพื้นที่ ยืนยัน โดยมีเชิญ สสอ. /พี่เลี้ยง และแจ้งให้เตรียมนำเสนอผลการดำเนินงาน เฟซ 1 - เชิญ 4 อำเภอเข้าร่วม พี่เลี้ยงเดิม และพื้นที่ - ผู้ทรงฯ วิชาการ: อ.นาง/ อ.แคท /อ.โอ /พี่ปุ๊ก สคร.12/พี่แอ๊ด/ศบ.สต - เชิญตัวแทนทีมสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) (เชิญแล้ว) 1.2 ทีมเยาวชน (ฝาก อานัติ หาทีมเยาวชนมาเพิ่มได้) เชิญมาอยู่ในกลุ่มได้ เพื่อร่วมออกแบบและให้ความเห็น (สุขภาวะทางเพศของกลุ่มเด็กวัยรุ่น) มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการ วางแผน ทำโครงการ ต่อยอดงาน

  1. วาระการประชุม

- นำเสนอโครงการเฟส 2 • เล่าโมดูล และการปรับโมดูลและคู่มือ • การปรับโมดูลและการทำสื่อ ได้ทาบทามทีมงานสมาคมจันทร์เสี้ยว ฯ แล้ว • การทำสื่อ - สร้างเพจ บอกเล่าว่ามีกิจกรรม และวัตถุประสงค์ ผลเป็นอย่างไร พร้อมภาพประกอบ เพื่อหวังให้คนอื่นเอาไปใช้ต่อได้ ใช้ประโยชน์ได้ - บอกเล่าผลการดำเนินงานเฟซ 1 ว่าทำอะไรมาแล้วบ้าง - ร่างคำสั่งแต่งตั้ง ให้ดู wording ส่งลิงค์มาเป็น one drive - หารือในประเด็นต่างๆ
- ในวันนั้นจะทาบทามผู้รับผิดชอบ รับดำเนินงานตามแผนงานที่โครงการกำหนดไว้ ด้วย

  1. ใบลงทะเบียน ให้กรอก google เพื่อแจ้งรายชื่อและเลขบัญชี เพื่อจ่ายค่าตอบแทน และยืมเงินสถาบันก่อน

  2. ประเด็นการคัดเลือกพื้นที่ใหม่

- ดูข้อมูลสถานการณ์การตั้งครรภ์ในเยาวชน ในแต่ละอำเภอ - เน้นพื้นที่ใกล้เคียง เป็น baseline
- ตั้งเกณฑ์เบื้องต้นไว้ก่อน และให้ คกก.กำกับทิศ ช่วยดู การเสริมสมรรถนะของหน่วยงาน - ทีมวิชาการ จะไหวหรือไม่

  1. งานภาคสนาม

- การทำแผนและโครงการของพื้นที่และขอสนับสนุนงบจากกองทุนตำบล - อยากได้ความเห็นจาก สปสช. ภก.สมชาย ละอองพันธุ์ (พี่เปิ้ล) - Roadmap และ MOU - ประเด็นการหาพี่เลี้ยง • เอาตัวแทนตำบล/อำเภอ
• พี่เลี้ยง กับ ทีมประเมิน แยกกัน เพื่อให้ทีมประเมิน มาประเมินพี่เลี้ยง (งบค่าตอบแทนคนละก้อน) ให้พี่เลี้ยงนำเสนอทีม • ทีมประเมินจะมาจากส่วนไหน (1-2 คน ต่ออำเภอ แต่ปรับได้ เพื่อให้การดำเนินงานคล่อง) เพื่อโครงการจะอบรมให้กับพี่เลี้ยงในพื้นที่ • ไม่มีค่าตอบแทนให้พี่เลี้ยง (การทำงาน) แต่ จะสนับสนุนการประชุม/การทำงานของทีมพี่เลี้ยง เน้นเอื้ออำนวยในการประชุม (อาหาร ค่าตอบแทนผู้เข้าประชุม วิทยากร) จัดประชุมในพื้นที่ - กระตุ้นทีมพี่เลี้ยงอย่างไรให้ทำแผน ทำโครงการ - เรื่องการขอทุนจากกองทุนตำบล ต้องมีตัวแทนจากกองทุนฯ นี้ • ต้องรู้จักคนที่ขับเคลื่อนงานในลักษณะนี้ เพื่อทาบทามเข้าร่วมในโครงการ - ปัตตานี: คนทำงานร่วมด้วย 1 คน อานัติทาบทามแล้ว (อิสมาแอ) ให้ทำงานคู่กับอานัติ - นราธิวาส : .... อย่างไรก็ตามประเด็นพี่เลี้ยง รอหารือเรื่องพี่เลี้ยง ในวันที่ 29 ต.ค. นี้

  1. การติดตามประเมินผล

- การสร้างแบบฟอร์มการประเมิน - ทั้งนี้ จะเอาข้อมูลมา matching กัน
- จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยน

  1. เสนอการจ่ายค่าตอบแทนส่วนภาคสนาม

- ทำ TOR 1 คน สำหรับ อานัติ แล้วไป sub contact กับทีม - หรือแบ่งจ่ายตามจังหวัด 3 จังหวัด 3 คน โดยประเด็นนี้ให้หารือ อ.กุล ต่อไป

ผู้เข้าร่วมประชุม o ดร.ซอฟียะห์ นิมะ o นางสาวฮามิด๊ะ หวันนุรัตน์ o นางฐนัชตา นันทดุสิต (พี่แอน) o นายอานัติ หวังกุหลำ o นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

6 0

4. ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 1

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ เสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน

การประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 1 ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมผ่านซูมออนไลน์ทั้งหมด 26 คน โดยมีตัวแทนจาก สสจ.ปัตตานี สสจ.ยะลา และตัวแทน สสอ.จาก 3 จังหวัด ทั้งหมด โดยมีประเด็นการพูดคุยดังนี้

  • สถานการณ์การตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้
  • บทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมาของทุกภาคส่วน เกี่ยวกับประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  • ก้าวขยับร่วมกันของภาคีเครือข่ายความยั่งยืนในสามจังหวัดชายแดนใต้
  • ชี้แจงรายละเอียดโครงการในเฟสที่ 2
  • สสอ. พื้นที่เดิม นำเสนอการทำโครงการในพื้นที่ของตนเอง
  • สสอ.และสสจ.ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของแต่ละพื้นที่

ผู้เข้าร่วมประชุม

ดร.ซอฟียะห์ นิมะ            สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นางสาวฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายอิลฟาน ตอแลมา สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข นายอานัติ หวังกุหลำ สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายสมมาตร์ ปิยายีไทย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรามัน นายอิสมาแอล สิเดะ            สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นางสาวซูไฮลา แวแยนา            สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองปัตตานี นายมะยูนัน มามะ            ผู้ประสานงานภาคสนาม นางสาวฮานาดียะห์ เจ๊ะแม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสายบุรี นายวรานนท์ แอหนิ            ผู้ประสานงานฝ่ายสื่อ นางสาวสากียะห์ เจ๊ะสมอเจ๊ะ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ นางสาวสิริมา แวมูซอ            สำนักงานสาธารณสุขอำเภอระแงะ นายนรเชษฐ์ สุขทิพย์            สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา นางสาวอารีนา มูซอ            สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข นายรอซาลี สะรีเดะ            สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยะรัง จ.ปัตตานี นายวันชัย บ่อเงิน            สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธารโต นางสาวรอปีอ๊ะ ดือเระ            สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมายอ นางสาวธัญนฎา ประศาสน์ศิลป์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปะนาเระ นางสาวจิราพร อาวะภาค มูลนิธิภาคใต้สีเขียว นางสาวกุสุมา สาและ            สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบันนังสตา น.ส.ฆอร์ซานะ หะยีแวเด็ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งยางแดง น.ส.นวพร ณ สงขลา            สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองจิก นายชานนท์ มณีศรี                    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี น.ส.วรรณา ศรีคาม            สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งยางแดง น.ส.อรุณี อีแต                        สำนักงานสาธาณสุขอำเภอไม้แก่น

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

30 0

5. ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 2

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ เสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน  (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ)

การประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 1 ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมผ่านซูมออนไลน์ทั้งหมด 26 คน โดยมีตัวแทนจาก สสจ.นราธิวาส และตัวแทน สสอ.จาก 3 จังหวัด ทั้งหมด โดยมีประเด็นการพูดคุยดังนี้

  • สถานการณ์การตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้
  • บทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมาของทุกภาคส่วน เกี่ยวกับประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  • ก้าวขยับร่วมกันของภาคีเครือข่ายความยั่งยืนในสามจังหวัดชายแดนใต้
  • ชี้แจงรายละเอียดโครงการในเฟสที่ 2
  • สสอ. พื้นที่เดิม นำเสนอการทำโครงการในพื้นที่ของตนเอง
  • สสอ.และสสจ.ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของแต่ละพื้นที่
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

30 0

6. ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 3

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ เสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน

การประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 1 ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมผ่านซูมออนไลน์ทั้งหมด 26 คน โดยมีตัวแทน สสอ.จาก 3 จังหวัด  โดยมีประเด็นการพูดคุยดังนี้

  • สถานการณ์การตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้
  • บทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมาของทุกภาคส่วน เกี่ยวกับประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  • ก้าวขยับร่วมกันของภาคีเครือข่ายความยั่งยืนในสามจังหวัดชายแดนใต้
  • ชี้แจงรายละเอียดโครงการในเฟสที่ 2
  • สสอ. พื้นที่เดิม นำเสนอการทำโครงการในพื้นที่ของตนเอง
  • สสอ.และสสจ.ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของแต่ละพื้นที่
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

25 0

7. ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอธารโต จ.ยะลา

วันที่ 3 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

หารือการดำเนินงานโครงการและชี้แจงรายละเอียดโครงการ พื้นที่อำเภอธารโต จ.ยะลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ในวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอธารโต จังหวัดยะลา

วัตถุประสงค์

เพื่อหารือการดำเนินงานโครงการและชี้แจงรายละเอียดโครงการ พื้นที่อำเภอธารโต จ.ยะลา สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน

โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ หัวหน้าโครงการร่วมพบปะหารือกับท่านปลัดอาวุโสอำเภอธารโต นายอาวุธ เลิศเดชานนท์ ท่านสาธารณะสุขอำเภอธารโต  นายพอซี เดะแอ ตัวแทนจากสาธารณสุขอำเภอธารโต ตัวแทนรพ.สต. และตัวแทนองค์กรปกครงส่วนท้องถิ่นธารโต ถึงการร่วมดำเนินการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

อำเภอธารโต มี 4 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลธารโต 7 หมู่บ้าน ตำบลบ้านแหร 11 หมู่บ้าน ตำบลแม่หวาด 12 หมู่บ้าน และตำบลคีรีเขต 7 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 37 หมู่บ้าน มีประชากรรวมทั้งหมด 22,095 คน มีจำนวนสตรีตั้งครรภ์ 202 คน

ปัญหาที่พบเกี่ยวกับประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่ ประกอบด้วย - การไม่ได้เรียนหนังสือ ทำให้วัยรุ่นขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่มีแฟนหรือคนรักหากไม่รู้จักปฏิเสธเมื่อถูกขอ มีค่านิยมสมัยใหม่ที่ผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศ - การอยู่ห่างจากพ่อแม่ผู้ปกครอง การมีแฟนเร็ว การเที่ยวสถานเรื่องรมย์ การเที่ยวงานปาร์ตี้ต่างๆ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ - ปัญหายาเสพติดทำให้ขาดสติ เมื่ออยู่สองคนระหว่างชายกับหญิงในที่ลับตาคนและบรรยากาศพาไปให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ได้ - ด้านสถาบันครอบครัวและศาสนาที่ทุกวันนี้เริ่มอ่อนแอลง

การแก้ปัญหา - หากตั้งครรภ์มาแล้ว จะมีการดูแลเยียวยาอย่างไร - การตั้งครรภ์ซ้ำ จะมีหน่วยงานใดมาสนับสนุนหรือไม่ หน่วยงานเข้ามาดูแลอย่างไร

ประเด็นการเลือกพื้นที่ของปัญหา ปัญหาที่พบในตำบลคีรีเขต

ปี พ.ศ. 2564 พบปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จำนวน 180 คน หรืออัตราการตั้งครรภ์ 11:11 (ผู้หญิงอายุ 15-19 ปี) มีการตั้งครรภ์ซ้ำ 18 คน หรือร้อยละ 27.8 และตำบลคีรีเขตเคยมีกิจกรรมแก้ปัญหาในการตั้งครรภ์ในพื้นที่มาก่อน ซึ่งในตำบลยังไม่เกิดปัญหาอย่างรุนแรงมากนักแต่อาจมีการวางแผนเพื่อป้องกันไว้ก่อน ยกตัวอย่างเช่น การลดความรุนแรงของปัญหา, การสร้างเครือข่าย, การพัฒนาศักยภาพของ พชอ.

ปัญหาที่พบในตำบลแม่หวาด

ตำบลแม่หวาดเป็นตำบลที่มีงบประมาณเข้ามาในหมู่บ้านมากที่สุด และมีจำนวนหมู่บ้านเยอะที่สุด คือ 12 หมู่บ้าน รวมทั้งมีประชากรมากที่สุด

กรณีเลือกตำบลคีรีเขตให้เป็นพื้นที่นำร่อง เพราะ - ประสบการณ์ของทีมงาน - มีเครือข่ายที่เป็นทุนเดิม ต้นทุนของพื้นที่ เช่น กศน. - มีปัจจัยทางสังคม - เครือข่ายสุขภาพ - ความร่วมมือของผู้นำ (ท้องถิ่น, ท้องที่)

การกำหนดเป้าหมายของพื้นที่นำร่อง จะมีการออกแบบดำเนินงานในพื้นที่ร่วมกันกับบังอานัติ ดังนี้ - พัฒนาศักยภาพของที่ทำงาน - มีการแลกเปลี่ยนบทเรียน/ประสบการณ์ของพื้นที่อื่น - กระบวนการหนุนเสริม เช่น การจัดทำแผน, การติดตาม - ด้านสื่อ เช่น คลิปวิดิโอ, สื่อต่างๆ - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละพื้นที่

การกำหนดเป้าหมายของพื้นที่นำร่องของทาง ม.อ. - เด็กได้รับข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง - ดูแลเด็กและกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม

ข้อจำกัดของโครงการ ไม่สามารถจัดหาแหล่งทุนได้ 100% แต่สามารถจัดสรรได้จากกองทุนต่างๆ  เช่น กองทุนตำบล

กิจกรรมที่อาจจะจัดให้แก่วัยรุ่นพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย คือ โรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์

กิจกรรม คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาแก่นักเรียน ให้นักเรียนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องและเหมาะสม มีบริการด้านสุขภาพของวัยรุ่น

ปลัดมีข้อเสนอแนะ คือ จัดให้มีศูนย์อบรมแก่วัยรุ่นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

การศึกษาของวัยรุ่นคีรีเขต 1) ได้รับการศึกษา 2) ไม่ได้รับการศึกษา

มีการยกตัวอย่างพื้นที่อื่นเพื่อเป็นแนวทาง เช่น พื้นที่ยะหริ่ง และพื้นที่โกตาบารู

กิจกรรมที่สร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ คือ

ผู้นำศาสนา มีการนัดหมายนอกพื้นที่กับเด็กที่มาขอคำปรึกษา เช่น นัดหมายร้านกาแฟ หรือสถานที่ต่างๆ ที่สะดวก โดยไม่จำเป็นต้องให้เด็กเข้ามาที่ศูนย์บริการ เพราะจะเป็นการตีตราแก่เด็กเหล่านั้นได้ มีการร่วมมือกับอสม.ให้ความรู้แก่นักเรียน มีการเรียกเด็กๆ มาตักเตือน เน้นการสร้างรายได้ เน้นแก้ปัญหาปากท้อง มีการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเด็กเหล่านั้นจะเป็นคนนำเที่ยว สามารถสร้างรายได้แก่ตนเองและชุมชน อบต.มีการสนับสนุนสนามกีฬา ให้แก่เด็กผู้ชายทั้งในระบบและนอกระบบ โดยบุคคลที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สามารถมาร่วมกิจกรรมได้และจะมีโต๊ะอีหม่ามเข้ามาดูแล จำนวน 12 คน กรณีเด็กผู้หญิง จะมีกิจกรรมดูแลผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายตอบแทน คิดจากระดับคะแนนในการทำกิจกรรม แล้วนำมาสร้างรายได้

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

30 0

8. ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

วันที่ 8 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ในวันพุธ ที่ 8 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ในวันพุธ ที่ 8 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

ปลัดอาวุโส อำเภอโคกโพธิ์ ปลัด อำเภอโคกโพธิ์ ดูแลงานพชอ. สาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ นวก.สาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ ผอ.รพ.สต.ป่าบอน นวก.พัฒนาชุมชนป่าบอน อสม.ต.ป่าบอน คณะทำงานโครงการ สถาบันโนบายสาธารณะ มหาวิทดยาลับสงขลานครินทร์​ วัตถุประสงค์

เพื่อหารือการดำเนินงานและชี้แจงรายละเอียดโครงการ พื้นที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน

ชายแดนใต้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเริ่มลดลง โดยมีสถิติลดน้อยลง (การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นช่วงอายุ 15-19 ปี) การวิเคราะห์บริบทพื้นที่นำร่องในการดำเนินงานตั้งครรภ์วัยรุ่น การดำเนินงาน สสอ. อปท. สาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย พม. ทีมภาคสนาม จัดทำแผน ขับเคลื่อน การลงพื้นที่ภาคสนาม ลงพื้นที่ประมาณ 4 ครั้ง ลงพื้นที่ เพื่อพัฒนาสรุปผลการดำเนินงานและการถอดบทเรียน ปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น คู่ครองเดิม ไม่ได้คุมกำเนิด/คุมแต่พลาด, ต้องการมีบุตร เปลี่ยนคู่ ไม่ได้คุมกำเนิด/คุมแต่พลาด, ต้องการมีบุตรกับคนใหม่ คนเดิม/คนใหม่ ไม่ได้คุมกำเนิด/คุมแต่พลาด, ไม่ต้องการบุตร ทางออกคืออะไร ปัจจัยกำหนดการตั้งครรภ์วัยรุ่นทั่วไป การดื่มแอลกอฮอล์ ช่วงวัย สื่อยั่วยุ การระมัดระวังป้องกัน สมรรถนะแห่งตน ค่านิยมรักนวลสงวนตัว ความเอาใจใส่ของครอบครัว สภาพแวดล้อมที่เอื้อ/ถูกละเมิดทางเพศ ทักษะชีวิต/การรู้เท่าทันตนเอง จัดทำ workshop team work ประเมินผล เฟส 2 โดยทีม พชอ. ทีม พชต. ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบในการเสริมสร้างสมรรถนะการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พชอ. ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ รูปแบบการดำเนินงานตั้งครรภ์วัยรุ่นของ พชอ. ใน 4 อำเภอนำร่อง จังหวัดชายแดนใต้ ระดับที่ 1 ป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดรายใหม่ ระดับที่ 2 การตั้งครรภ์คุณภาพ ระดับที่ 3 ไม่เกิดการตั้งครรภ์ซำ ภาพรวมของการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา การดำเนินงานของการพัฒนารูปแบบนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม area Activation (โมดูลเคลื่อนที่) wows ประกอบด้วย well-Being 2. Opportunity 3.  Wake up 4. Sustainability เวทีรับฟังการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเฟสที่ 2 ปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำ พบว่า 3 จังหวัดชายแดนใต้มีการตั้งครรภ์ซ้ำมากที่สุด พูดถึง พรบ.+กฎหมายทำแท้ง ปัญหาที่เกิดในพื้นที่มุสลิม คือ การแต่งงานเร็ว, เมื่อมีแฟนพ่อแม่จับนิกะห์ นิกะห์อายุ 17 ปีขึ้นไป ใช้พรบ.การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นหลัก ประเด็นพูดคุยพื้นที่ตำบลโคกโพธิ์

แผนยุทธศาสตร์ ปี 64 มีการบูรณาการร่วมกับแม่และเด็ก การได้รับความรู้เรื่องเพศศึกษา สรุปในพื้นที่นี้ ได้รับ 100% การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นศาสนาอิสลาม 90.32% และศาสนาพุทธ 12.90% ลักษณะการคลอด ในพื้นที่มีการคลอดปกติ /ไม่มีภาวะเสี่ยง 100% น้ำหนักเด็กแรกคลอด น้ำหนักตามเกณฑ์/ต่ำกว่าเกณฑ์ 80.64% 35% สถานการศึกษา นอกระบบการศึกษา 100% สถานะทางครอบครัว แต่งงาน/นิกะห์ตามประเพณี 100% มีภาวะซีด (ติดตามในคนๆ เดียวกัน) ติดตามโดยงานอนามัยแม่และเด็ก 31.25% การคุมกำเนิดก่อนตั้งครรภ์/หลังคลอด สรุปในพื้นที่นี้ ไม่ได้มีการคุมกำเนิด ไม่มีการยาฉีดหรือใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด สาเหตุการท้อง สรุปในพื้นที่นี้ คือ ต้องการมีบุตร เด็กคลอดซ้ำหรือหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สรุปในพื้นที่นี้ คือ ไม่ท้องซ้ำ ปัญหาของการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ เกิดจากการที่วัยรุ่นอยู่นอกระบบการศึกษา แต่งงานก่อนวัยอันควร แผนยุทธศาสตร์แม่และเด็ก รพ.สต.คืนข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ติดตามหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2564 มีศูนย์การพัฒนาชุมชน ตำบลป่าบอน ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการ โดยการเชิญแม่และเด็กหลังคลอด ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อน ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำแท้ง จัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครอบครัวที่มีหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีผู้นำศาสนาเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับทางด้านการมีคู่ครอง และความรู้เรื่องการใช้ชีวิตวัยรุ่นและวางตัวในช่วงระหว่างการคบหาดูใจ เชิญผู้ปกครอง มาให้ความรู้ในการเลี้ยงดูบุตรหลาน สอนเรื่องการใช้ชีวิต หรือปัญหาการท้องของเด็กก่อนวัยอันควร ทั้งนี้พื้นที่โคกโพธิ์ไม่ได้มีการลงงพื้นที่เชิงรุก แต่มีการติดตามผลจากเคสต่างๆ ที่ผ่านมา

อ.ซอฟียะห์ เสนอประเด็นเพิ่มเติม

กศน.มีการสร้างอาชีพ ส่งเสริมสมรรถนะแก่เด็ก ให้สามารถดูแลตัวเองได้ ควรดูแลวัยรุ่นทั้งชายและหญิง จะดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน สาธารณสุขอำเภอแลกเปลี่ยน

อยากจะดึงภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม แต่ก่อนเคยมีโครงการจัดการขยะ และชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ ส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสและคนพิการ ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นปัญหาของสาธารณสุขเป็นหลัก โคกโพธิ์ก็มีปัญหา (มีปัญหาแต่ก็ยังได้รับการดูแลจากครอบครัว) แต่ยังไม่เยอะเท่ายะหริ่งและแม่ลาน เพราะประชากรน้อย จึงทำให้ตัวหารเยอะ หาวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะกับวัยรุ่นและวัยรุ่นยอมรับ มองภาพปัญหาวัยรุ่น  (เลขา พชอ.)

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นน้อยกว่าพื้นที่ทุ่งยางแดง แต่คนที่ตั้งครรภ์ได้รับการยอมรับจากคนในครอบครัว การตั้งครรภ์โดยไม่คุมกำเนิด (มีการเว้นช่วงการมีบุตร ฉีดยา 1 เดือน หรือ 3 เดือน) ปลัดอาวุโสอำเภอโคกโพธิ์

เน้นภาคีเครือข่าย ต้องแก้ปัญหาผ่านจุดเล็กๆ ผ่านคณะกรรมการ พชอ. สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับเด็กกลุ่มนี้ ปลัด (ดูแลงานพชอ.)

มองภาพรวมความร่วมมือระหว่าง กศน. แต่ที่โคกโพธิ์เน้นคนที่เดินเข้ามาหา มาปรึกษา แต่ยังไม่มีภาพรวมของ กศน. เข้ามาร่วมด้วย
คุณอิลฟาน

อนาคตของชาติจะไม่มีคุณภาพ หากเราไม่ดูแลปัญหาหรือแก้ปัญหาให้ดี มีทีมพชอ.เข้ามาร่วมมือกับสาธารณสุขจึงเป็นข้อดี เป็นต้นทุนของพื้นที่โคกโพธิ์ เพราะเป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรม สื่อสามารถแนะนำให้คนรู้จักโคกโพธิ์มากยิ่งขึ้น พชอ.ในพื้นที่มีความเข้มแข็ง สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ทุนทางสังคมมีเยอะ เช่น ผู้นำศาสนา มีหน่วยงานเข้ามาขับเคลื่อน ร่วมคิด ร่วมทำให้เหมาะกับบริบทของโคกโพธิ์ มีการยกตัวอย่างพื้นที่บาเจาะ มีการร่วมมือกับผู้ใหญ่บ้านมาดูแลเด็กทั้งหญิงและชาย ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เด็กกลุ่มนี้ แม้จะอยู่ที่บ้านก็สามารถทำงานได้ ต่อยอดโคกโพธิ์ มองหาโอกาส เพิ่มจุดแข็ง ลดจุดด้อย จากเครื่องมือ SWOT analysis ประเด็นเสริมจาก อ. ซอฟียะห์

โคกโพธิ์มีแหล่งทุนในพื้นที่ เอามาสร้างจุดเด่น ยกตัวอย่างพื้นที่รามัน โกตาบารู มีย่านเศรษฐกิจ มองหาพื้นที่ตรงไหนลับตาคน หรือเป็นที่ล่อแหลมต่อการมีเพศสัมพันธ์ เข้าไปลดความเสี่ยงพื้นที่ตรงนั้น เชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือ จัดทำแผนร่วมกัน ผอ.รพ.สต.ป่าบอน

แนะนำทีมงาน และบูรณาการต่อยอดโครงการ พูดถึงการอนามัยแม่และเด็ก บริบทข้อมูลพื้นที่ตำบลป่าบอน ยกประเด็นเรื่อง แหล่งพบปะสังสรรค์ของเยาวชนตำบลป่าบอนของผู้นำในพื้นที่ร่วมกับประชาชน กำนันตำบลป่าบอน

มีการส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ รู้จักการป้องกันก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ประเด็นเพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วมประชุม

เน้นส่งเสริมความเข้าใจให้แก่เด็กวัยรุ่น เปลี่ยนทัศนคติ ทำความเข้าใจกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น ที่ผ่านมามีการทำกิจกรรม มีการค้นหาปัญหา แลกเปลี่ยนประเด็น คุยภาพรวม ฮูกุ่มบากัต เน้นทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์แก่ชุมชนเป็นหลัก ดูความเสี่ยงในพื้นที่ การเว้นระยะการตั้งครรภ์ มีกลุ่มคิด กลุ่มทำกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น ป่าบอน มีกลุ่มดีๆ และกลุ่มที่เราต้องการดูแล คือ กลุ่ม วัยรุ่น เราพยายามที่จะพัฒนาต่อไป สร้างความร่วมมือกับผู้นำศาสนา ร่วมมือกับสภาเด็กและเยาวชน ติดตามและดูแลวัยรุ่นอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ประเด็นการแลกเปลี่ยนโดยคุณอานัติ (ผู้ประสานงานภาคสนาม)

ท้องแล้วทำแท้งเท่าไหร่ นำมาศึกษา การคุมกำเนิดที่ดีควรทำอย่างไร เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ มีเครื่องมืออะไรบ้างที่ใช้ระบุ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ท้องแล้ว ทำอย่างไรให้มีคุณภาพ เช่น ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ ดึงเครือเข้ามาข่ายช่วยหนุนเสริม การวางแผนครอบครัว ต้นทุน/จุดแข็ง ดีมาก หาตำบลนำร่อง มีแผนยุทธศาสตร์ในอนาคตอย่างไร มีศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพ มีคู่มือ ทีมดูแลเด็ก ความท้าทาย ทางอำเภอสนใจที่จะทำประเด็นไหนต่อ จะใช้โอกาสจาก มหาวิทยาลัยอย่างไร จะนำร่องพื้นที่ไหน

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

25 0

9. ประชุมหารือเข้าพบสสอ.ตากใบ จ.นราธิวาส

วันที่ 13 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในวันจันทร์ ที่ 13 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อหารือการดำเนินงานและชี้แจงรายละเอียดโครงการ พื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน

เปิดการประชุม โดย คุณวีระโชติ รัตนกุล ตำแหน่ง สาธารณสุขอำเภอตากใบ ได้กล่าวถึงประวัติอำเภอตากใบ คำว่า “ตากใบ” ตามประวัติกล่าวว่า มีคนชื่อ ตาบา มาตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่เป็นคนแรก ต่อมามีคนมาอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น กลายเป็นหมู่บ้านซึ่งเรียกกันว่า “บ้านตาบา” อยู่ในตำบลเจ๊ะเห และได้เรียกเพี้ยนมาเป็น “ตากใบ” ต่อมาเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2452 (ร.ศ.128) ได้ประกาศกฤษฎีกายกฐานะตำบลเจ๊ะเห ตั้งเป็นอำเภอเรียกว่า “อำเภอตากใบ” ที่ตั้งและอาณาเขต

สภาพพื้นที่โดยทั่วไป : มีพื้นที่ประมาณ 253.457 ตารางกิโลเมตร หรือ 158,125 ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดนราธิวาส ห่างจากตัวจังหวัดนราธิวาสประมาณ 33 กิโลเมตร ห่างจากรุงเทพมหานคร  ประมาณ 1,500 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ จดอ่าวไทย ทิศใต้ จดอำเภอสุไหงโกลก และอำเภอสุไหงปาดี ทิศตะวันออก จดอำเภอตุมปัส รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตก จดอำเภอเมือง และอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส อาชีพหลัก : เลี้ยงโค, ค้าขาย

รายได้เฉลี่ย/คน/ปี : ประมาณ 50,000 บาท

ประชากรและหลังคาเรือน : จำนวนประชากรและลังคาเรือนเปรียบเทียบทะเบียนราษฎร์และการสำรวจแยกรายตำบล อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ปี 2565

ตำบลเจ๊ะเห มีประชากรรวมทั้งหมด 21,228 คน          มี 5,537 หลังคาเรือน ตำบลไพรวัน มีประชากรรวมทั้งหมด 9,358 คน            มี 2,026 หลังคาเรือน ตำบลพร่อน มีประชากรรวมทั้งหมด 4,484 คน            มี 1,453 หลังคาเรือน ตำบลศาลาใหม่ มีประชากรรวมทั้งหมด 10,485 คน          มี 1,913 หลังคาเรือน ตำบลบางขุนทอง มีประชากรรวมทั้งหมด 5,645 คน          มี 1,169 หลังคาเรือน ตำบลเกาะสะท้อน มีประชากรรวมทั้งหมด 10,532 คน มี 1,708 หลังคาเรือน ตำบลนานาค มีประชากรรวมทั้งหมด 4,880 คน            มี 975 หลังคาเรือน ตำบลโฆษิต ประชากรรวมทั้งหมด 7,177 คน              มี 1,373 หลังคาเรือน ชุดข้อมูล ปี 2564 ปี 2565 (ไตรมาสแรก) รพ.สต. ประชากรอายุ 15-19 ปี หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด หญิงตั้งครรภ์ 15-19 ปี ร้อยละ ประชากรอายุ 15-19 ปี หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด หญิงตั้งครรภ์ 15-19 ปี ร้อยละ 1 รพ.สต.ศาลาใหม่ 768 4 776 85 0
2 รพ.สต.โคกมือบา 307 2 316 29 2
3 รพ.สต.ตะเหลี่ยง 416 0 408 31 0
4 รพ.สต.กูบู 523 1 502 35 2
5 รพ.สต.ทรายขาว 200 1 187 8 0
6 รพ.สต.โคกยาง 269 1 255 33 0
7 รพ.สต.นานาค 362 1 355 24 0
8 รพ.สต.เกาะสะท้อน 489 2 470 32 2
9 รพ.สต.พร่อน 178 1 172 5 0
10 รพ.สต.บางขุนทอง 48 0 52 0 0
11 รพ.สต. โคกงู 388 1 360 24 1
รวม 3,948 303 14 4.62 3,853 306 7 2.28 จากตารางแสดงให้เห็นว่ารพ.สต.ศาลาใหม่  มีปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในปี 2564 มากที่สุด จำนวน 4 ราย

·    หน่วยงานในสังกัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะท้อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโคกยาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโคกงู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง สถิติข้อมูลแม่วัยรุ่น อำเภอตากใบ ปี 2564

ไม่มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์/แม่วัยรุ่น อายุ 0-14 ปี มีหญิงตั้งครรภ์ อายุ 15-19 ปี จำนวน 14 ราย ไม่มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่มีหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV ปี 2565 ไตรมาสแรก

มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์/แม่วัยรุ่น อายุ 0-14 ปี จำนวน 1 ราย มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ อายุ 15-19 ปี จำนวน 7 ราย มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 1 ราย มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV จำนวน 1 ราย อายุ 29 ปี เครือข่ายบริการด้านสุขภาพอำเภอตากใบ เน้นการให้บริการด้านอนามัยเจริญพันธ์ เช่น การฝากครรภ์/การเว้นระยะการตั้งครรภ์ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ อาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.หาดใหญ่ กล่าวแนะนำโครงการ การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

วาระการประชุมเพื่อปรึกษาหารือ

การขออนุญาตเข้าพบนายอำเภอเพื่อชี้แจงกรดำเนินงานในพื้นที่ ภาพรวมและเป้าหมายการดำเนินงานของโครงการ การนำเสนอสถานการณ์วัยรุ่นในพื้นที่ และกิจกรรมการดำเนินงานที่ผ่านมา การออกแบบการดำเนินงานเพื่อต่อยอดในพื้นที่ การนัดหมายการลงพื้นที่ในครั้งที่ 2 นำเสนอให้เห็นอำเภอนำร่องในเฟสที่ 2 อำเภอที่ยืนยันการสมัครเข้าร่วม

จังหวัดยะลา ได้แก่ กาบัง รามัน ธารโต

จังหวัดปัตตานี ได้แก่ แม่ลาน สายบุรี โคกโพธิ์ ยะหริ่ง เมือง

จังหวัดนราธิวาส ได้แก่ ยี่งอ รือเสาะ แม่ลาน บาเจาะ ตากใบ ระแงะ แว้ง

อำเภอที่รอยืนยันการสมัคร

จังหวัดยะลา ได้แก่ กรงปีนัง บันนังสตา

ปัตตานี ได้แก่ ยะรัง

นราธิวาส ได้แก่ จะแนะ

แนะนำผู้รับผิดชอบโครงการ

ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดี ฝ่ายแผนและนโยบายสาธารณะ นายแพทย์สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ประธานคณะทำงานพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพอำเภอ กระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา และประธานมูลนิธิสุขภาพภาคใต้ ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย เลขาธิการมูลนิธิสุขภาพภาคใต้ และอาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ อาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ และได้กล่าวถึงกลไกการทำงานพชอ.หรือพชต.ว่ากลไกพชอ.เป็นคณะทำงานที่มีประสิทธิภาพเนื่องจากเข้าใจและเข้าถึงปัญหาของพื้นที่

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ ได้อธิบายความหมายของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นคือ ตั้งครรภ์ < 20 ปี, มีการแต่งงานถูกต้อง /ไม่มีการแต่งงาน ,มีการคุมกำเนิด หรือไม่มีการคุมกำเนิด ต้องการบุตรและไม่ต้องการบุตร, คู่สมรสเดียว/ เปลี่ยนคู่ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตหรือการเรียนต่อ จากสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญและเป็นประเด็นหลักในการปรึกษาหารือร่วมกัน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันปัญหานี้เริ่มลดบทบาทลงเริ่มลดลง แต่หากมองด้านสถานการณ์ระดับประเทศถือว่ายังสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ จะหลุดจากระบบการศึกษา หรือบางรายอาจตั้งครรภ์แล้วกลับมาเรียนต่อ

สำหรับระดับการศึกษาสูงสุดของกลุ่มแม่วัยรุ่น

ได้แก่ มัธยม 38.8% ประถมปลาย 34.5% มัธยมปลาย 21.4% อาชีวศึกษา 2.0% ปริญญาตรีขึ้นไป 3.3% ซึ่งมีการกำหนดพรบ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นการให้สิทธิแก่วัยรุ่น อยากให้วัยรุ่นมีทางเลือกเกี่ยวกับการตัดสินใจ เช่น การตันสินใจมีแฟน มีพรบ.ให้สิทธิแก่วัยรุ่นมากมาย ในการกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง โดยมีหลายกระทรวงเข้ามารับผิดชอบ-ดูแล ให้วัยรุ่นเหล่านั้นให้ได้เข้าถึงสิทธิ ข้อมูลต่างๆ มีกฎหมายการตั้งครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ สามารถทำแท้งได้ พรบ.ตั้งครรภ์วัยรุ่น 2559 มีมาตราที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

มาตร 6 สถานศึกษา-วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง

มาตรา 7 สถานบริการ-มีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้

มาตรา 8 สถานประกอบกิจการ-ได้รับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์

มาตรา 9 สวัสดิการสังคม-ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว

มาตรา 10 อปท.-ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาค


มีการสรุปประเด็นการดำเนินงานตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของพชอ.ใน 4 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้และการวิเคราะห์พื้นที่นำร่อง เช่น พื้นที่ยะหริ่ง มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย (รีสอร์ท) วิธีการแก้ปัญหา คือ ให้กลุ่มผู้ดูแลเกี่ยวกับธุรกิจรีสอร์ทเข้ามาช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้ พื้นที่รามัน มีปัญหาของเด็กสก๊อย วิธีการแก้ปัญหา คือ มีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน รวมทั้งมีทีมชรบ.ประจำหมู่บ้านเข้ามาช่วยดูแลสอดส่องแต่ละพื้นที่มีการเตรียมการเพื่อพัฒนาให้เกิด wows คือ ให้ความสำคัญกับเพศหญิงเป็นหลัก มีพชอ.เป็นเจ้าภาพกลาง เชื่อมต่อไปยังกรมแรงงาน พม. และส่งต่อไปยังกระทรวงศึกษาธิการ

ช่วงที่ 2 สถานการณ์ในพื้นที่ องค์ประกอบของการดำเนินงานเพื่อการขับเคลื่อนในแต่ละอำเภอ ในพื้นที่มีแหล่งทุนบ้างหรือไม่ การจัดบริการที่จำเป็น เน้นเชิงรุก โดยการส่งต่อข้อมูลโดยการเก็บเป็นความลับ มีการช่วยเหลือ การดำเนินงานเชิงระบบแบบมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน โดยเน้นวัยรุ่นเป็นศูนย์กลาง เน้นพื้นฐานครอบครัวเป็นประเด็นหลัก เป็นที่พักพิงและที่พึ่งให้แก่เด็ก แลกเปลี่ยนประเด็นในแต่ละรพ.สต. รพ. สต. บ้านโคกมือบา (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พยาบาลวิชาชีพ พูดถึงเคส จำนวน 2 เคส ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ คือ เด็กจบ ป.6 และเด็กจบ ม.3 หลังคลอดเด็กไม่อยากเรียนต่อ ซึ่งจากการที่ทำงานมาพบเด็กที่มีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นเด็กที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่ง 2 เคสนี้มีฐานะทางบ้าน ระดับปานกลาง ซึ่งตัวเด็กเองมองว่าเรื่องฐานะทางบ้านไม่มีปัญหา

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนกรณีเคสนี้

เน้นการศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ควรปรับวิธีคิด หรือ Mindset เกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษาให้แก่เด็ก รพ. สต. บ้านโคกยาง (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เคสนี้มีการตั้งครรภ์ซ้ำ มีการฉีดยาคุมกำเนิด ซึ่งทางรพ.สต.ได้ทำการนัดอีก 3 เดือน นัดให้คนไข้มาฉีดยาคุมกำเนิดอีกครั้ง แต่หลังจากนั้นคนไข้ก็ไม่มาขอคำปรึกษาที่รพ.สต.อีกเลย จนกระทั่งตอนอายุ 18 ปี คนไข้ได้เข้ามาขอคำปรึกษาที่ รพ.สต.อีกครั้ง สาเหตุคือ มีการตั้งครรภ์ซ้ำและอยากให้คลอด ซึ่งทาง รพ.สต.จึงมองว่าเคสนี้ไม่เป็นปัญหา เพราะเป็นความต้องการของตัวคนไข้เอง

รพ. สต. บ้านทรายขาว (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พูดถึงเคสเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา มีจำนวน 1 เคส เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการแต่งงานอย่างถูกต้องตามหลักศาสนา แต่เป็นปัญหาตรงที่ แม่ของคนไข้ไม่อยากมีหลานเพิ่ม ซึ่งแสดงว่าตัวเองต้องรับภาระเพิ่ม จาการที่ตัวเองก็ต้องดูแลลูกสาวที่มีพิการตั้งแต่กำเนิด (เป็นพี่สาวของคนไข้รายนี้) ทำให้แม่ของคนไข้มีความกังวลว่าถ้าหลานที่เกิดมา อาจจะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ตัวเองในอนาคต เพราะฐานะทางบ้านค่อนข้างยากจน และมีปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่พร้อมสำหรับการมีหลาน

โดยทาง รพ.สต.ได้มีการลงไปเยี่ยมบ้าน และฉีดยาคุมกำเนิดให้แก่คนไข้รายนี้ รวมทั้งมีการอธิบายให้คนไข้ทราบถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต มีการฝึกเรื่องการวางแผนในชีวิต และแนะนำวิธีการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งคนไข้เป็นเด็กที่นับถือศาสนาอิสลามในพื้นที่

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนกรณีเคสนี้

พยาบาลเน้นการตั้งครรภ์ของเด็กให้มีคุณภาพ รพ.สต.นานาค (นางสาวนูรีซัน แวจิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พูดถึงเคส ปี 2564 จำนวน 1 ราย เป็นคนไข้อายุ 14 ปี ที่มีการแต่งงานอย่างถูกต้องตามหลักศาสนา ซึ่งคู่สามี-ภรรยา ต้องการที่จะมีลูกด้วยกัน ทางรพ.สต.ร่วมกับอสม.ในพื้นที่ได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะพูดคุยกับผู้ปกครองของคนไข้ โดยให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนการดูแลหลานในอนาคต

ปัญหาของผู้ปกครองในเคสนี้ คือ ตัวเองก็กำลังตั้งครรภ์อยู่ด้วย

แต่ด้านคนไข้เองกลับมีพร้อมในการตั้งครรภ์ ฝั่งสามีก็มีความพร้อมสำหรับการมีลูก

รพ. สต.โคกงู (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พูดถึงเคสที่เจอเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา เป็นคนไข้อายุ 14 ปี แต่งงานถูกต้องตามหลักศาสนา คนไข้และสามีของคนไข้ต้องการมีลูก คนไข้เป็นเด็กที่ครอบครัวมีปัญหา แม่ติดคุกทำให้ต้องอยู่บ้านคนเดียว

คุณวีระโชติ สสอ.แลกเปลี่ยนกรณีเคสนี้

สถานการณ์ส่วนใหญ่ในพื้นที่ เด็กมีความพร้อมทั้ง 2 ฝ่ายทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง คลอดแล้วต้องรู้จักวางแผนครอบครัวต่อไป พรบ.มีตัวชี้วัด เป็นประเด็นปัญหาพร้อมท้องและพร้อมแต่งงาน ในพื้นที่สามจังหวัด เป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรม มีการแต่งงานถูกต้องตามบริบทของพื้นที่ จึงมองเหมือนไม่เป็นปัญหา เพราะเป็นเรื่องทั่วไป แต่ก็ควรมีการวางแผนให้แก่เด็กซึ่งจะเป็นการดี ด้านกระทรวงสาธารณสุขเองก็เข้าใจสภาพพื้นที่ ผู้ชายในพื้นที่อำเภอตากใบ ส่วนใหญ่จะไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย เพราะต้องการมีงานทำ ถึงแม้อายุยังน้อย ก็สามารถทำงานได้ และมาเลเซียก็มีชายแดนติดกัน การเดินทางจึงสะดวก ทำให้คู่สามีภรรยาไม่ค่อยมีเวลาอยู่ด้วยกัน เป็นเหตุให้บางรายสามารถเว้นระยะการตั้งครรภ์ได้ จังหวัดที่มีความยากจนซ้ำซาก เช่น จังหวัดนราธิวาส จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยปัญหาหลักๆ ของความยากจนซ้ำซาก คือ ส่วนใหญ่ไม่มีการศึกษา ท้องก่อนวัยอันควรและไม่ฉีดวัคซีน หากต้องการที่จะแก้ปัญหาความยากจน ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ได้ก่อน เพราะเป็นปัญหาสำคัญของความยากจนซ้ำซาก


รพ. สต. บ้านตะเหลี่ยง (นางตัชนีม กะสูเมาะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พูดถึงเคสคนไข้ ป.6 ซึ่งคนไข้มีเพศสัมพันธ์กันในห้องน้ำ พ่อแม่พร้อมสนับสนุนการตั้งครรภ์ คนไข้มีการแต่งงานถูกต้องตามหลักศาสนาในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ได้ 5 เดือน ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคนไข้ คือ ไม่ได้เรียนหนังสือต่อ เด็กไม่มีการศึกษาและไม่มีงานทำ

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนกรณีเคสนี้

ยกตัวอย่างพื้นที่บาเจาะ ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาเด็กหย่าร้างมากที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ทำให้มีจำนวนแม่เลี้ยงเดี่ยวมากขึ้นตามลำดับ แนวทางแก้ปัญหา คือ มีท่านนายอำเภอที่เข้มแข็งเข้ามาช่วยส่งเสริมการสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง ให้เด็กมีความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในอนาคต

รพ. สต. เกาะสะท้อน (นางสุนิฑา อาแว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) คนในพื้นที่นี้ยึดหลักศาสนา ที่ว่าทุกอย่างพระเจ้ากำหนดมาแล้ว ให้อยู่หรือตาย ทำให้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กไม่ต้องการฉีดวัคซีนอะไรทั้งสิ้น เคสที่เจอเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เป็นคนไข้ ป.6 แต่เรียนต่อจนจบ ม.3 จากโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม หรือ ปอเนาะ หลังจากนั้นก็ไม่ได้เรียนหนังสือต่อ เมื่อรพ.สต.มีการลงพื้นที่พร้อมกับ อสม. ได้สอบถามคนไข้ พบว่า คนไข้พอใจในสิ่งที่เขามีอยู่ พอใจในการใช้ชีวิต จึงมองว่าปัญหาที่เขาเจอ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต

รพ. สต. บ้านกูบู (นางอุทัยพร นาวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พูดถึงเคสคนไข้อายุ 14 ปี และสามีของคนไข้ อายุ 19 ปี มาขอคำปรึกษาปัญหาที่รพ.สต. ซึ่งทางรพ.สต.เองก็ให้คำแนะนำเรื่องการฉีดยาคุมกำเนิด แนะนำให้คนไข้ไปเรียนต่อ โดยทางรพ.สต.และอบต.ในปีที่ผ่านมามีการปรึกษาหารือร่วมกันโดยการจัดกิจกรรม ให้ความรู้เด็กนักเรียนทุกโรงเรียน ให้ความรู้เรื่องยาคุมกำเนิด ให้ความรู้ถึงผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ในวัยเรียน

รพ. สต.บางขุนทอง (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พูดถึงกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ เว้นช่วงการมีบุตร ปัญหาการไม่พร้อมท้อง อาจเกิดจากปัญหาด้านเศรษฐกิจหรือปัจจัยอื่นๆ

รพ. สต.ศาลาใหม่ (นางสาวนูรมา แวฮาม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) เคสของเด็กผู้ชายซึ่งเป็นสามี เป็นคนศาลาใหม่ และเด็กผู้หญิง คือ คนไข้ มีอายุ 14 ปี เป็นคนพื้นที่อื่น เข้ามาฝากครรภ์กับทางรพ.สต.ศาลาใหม่ ไม่มีการศึกษาต่อ หลังจากนั้นก็ได้ย้ายตัวเองไปอยู่กับสามี ทางรพ.สต.จึงแนะนำให้เด็กฉีดยาคุมกำนิด และวางแผนครอบครัวในอนาคต

โดยทางรพ.สต.เคยมีการจัดกิจกรรม การวางแผนครอบครัวให้แก่เด็ก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ปี 2563 ที่ผ่านมา มีการสอนการวางแผนครอบครัว และกิจกรรมมากมายให้แก่วัยรุ่นในพื้นที่

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนกรณีเคสนี้

3 จังหวัดชายแดนใต้มีปัญหาความดันมากที่สุด และเป็นปัญหาระยะยาว

คุณอิลฟาน ตอแลมา แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

กลไกกระบวนการแม่วัยรุ่น มีอสม.หรืออส.เข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ ยังไม่เห็นการเข้าร่วมของ พชอ. จากการฟังประเด็นจากผู้ร่วมประชุม พบว่า รพ.สต.ส่วนใหญ่เน้นการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นหลัก อยากทราบกระบวนการอื่นๆ มีบ้างหรือไม่ เช่น มีทีมดูแลเด็ก, พชอ., การดูแลแม่วัยรุ่นที่มีภาวะเสี่ยง, พม. โรงเรียนหรือกศน. เข้ามาร่วมกระบวนการหรือเข้ามาช่วยผลักดันหรือไม่ อยากจะทราบความหมายของคำว่าพร้อม (ความพร้อมของใคร เช่น ตัวเด็กเองหรือความพร้อมของผู้ปกครอง) ความหมาย ความพร้อมของเขาคืออะไร เช่น ฐานะการศึกษา, รายได้, การประกอบอาชีพ เช่น อายุน้อยไม่ค่อยมีการจ้างงาน โอกาสในอนาคต พ่อแม่ผู้ปกครองคิดยังไง ความคิดตรงกับคำพูดของตัวเองยังไง อยากเป็นกระบอกเสียงอย่างเป็นรูปธรรม ให้ ม.อ. เข้ามาช่วย ถ่ายทอดสารคดียังไง มีการจัดทำสื่อเกี่ยวกับแนวคิดการแต่งงานที่มีอายุน้อย เด็กมีความพร้อมหรือไม่ พร้อมยังไง มาดูแนวคิดกันอีกที คุณวีระโชติ รัตนกุล ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็น

สำหรับประเด็นหลักในพื้นที่ที่มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง คือ

ดูแลผู้ด้อยโอกาส เป็นประเด็นเด่น ประเด็นหลัก การดูแลผู้พิการ การจัดการเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ดูแลศาสนสถาน ปี 2564 มีการเน้นลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะจังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดที่มีอุบัติเหตุสูงสุ สำหรับประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่นำมาร่วมพูดคุยกันในวันนี้ เป็นประเด็นที่ดี และเป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะพื้นที่ตากใบมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง น่าจะขับเคลื่อนได้ไม่ยาก คุณมยุนัน ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็น

มีเครือข่ายเด็กและเยาวชน ประเด็นที่ร่วมหารือกัน ยังไม่เห็นภาพของผู้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในเขตเทศบาล ได้เห็นถึงปัญหาของอำเภอตากใบ เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่อายุไม่ถึง 18 ปี คลอดเด็กออกแล้วมีการตั้งครรภ์ใหม่ เหมือนเป็นการประชดชีวิต ซึ่งผู้ที่ได้รับภาระมากที่สุด คือ ปู่ย่า ตายาย ของเด็กในอนาคต ซึ่งมองว่าเป็นการผลักภาระให้แก่ผู้อื่น ประเด็นที่ต้องหาทางออกร่วมกัน คือ ให้พื้นหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาดูแลสอดส่อง ซึ่งมีวิธีการอะไรบ้าง มีเครื่องมือเข้ามาสนับสนุนให้มีทิศทางสู่ทางที่ดีขึ้นอย่างไรบ้าง คุณอิลฟาน ตอแลมา แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

เสนอนวัตกรรมใหม่ ทำตามบริบท เปิดโอกาสให้เด็กวัยรุ่นได้เรียนต่อ ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่เด็กกลุ่มนี้ เน้นการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ เช่น เน้นส่งเสริมความอบอุ่นในครอบครัว ลดภาวะเสี่ยง สามารถตอบตัวชี้วัดของกระทรวงได้ คุณอานัติ หวังกุหลำ แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

ให้มองประเด็นเชิงบวกที่มีอยู่ในพื้นที่มากกว่า เช่น การวางแผนครอบครัว ควรจัดเป็นรูปแบบอย่างไรต่อไปให้เป็นปัจจัยวัยรุ่นเป็นครอบครัวที่มีคุณภาพ คุณอิลฟาน ตอแลมา เสริมประเด็นนี้

ทีมจะมีการพัฒนา หากได้เข้าร่วมโครงการ มีการอบรม โดยการให้ความรู้ เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับความพร้อมในการตั้งครรภ์ รวมทั้งการทำแผนต่างๆ ต่อไป สรุปวาระการประชุม check-out รพ.สต.ทั้งหมด ต้องการที่จะลุยต่อ สู้ต่อไปเพื่อพัฒนาพื้นที่ของตนเองให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

รพ.สต. โคกงู

มีทีมภาคีที่เข้มแข็ง มีอบต.ที่เข้มแข็ง คิดในกรอบ รพ.สต.กูบู

การประชุมวันนี้ ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน และได้เห็นบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ รพ.สต.พร่อน

มีการปรึกษาร่วมกับทีมงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นกับทางโรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี รพ.สต.ศาลาใหม่

มีความพร้อมในการร่วมมือต่อไป รพ.สต.บางขุนทอง

ไม่มีปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อยากทำงานแนวนี้มานานแล้ว เป็นเรื่องที่ดีน่าสนใจ ในการช่วยเหลือแก้ปัญหาต่อไปในอนาคต รพ.สต.เกาะสะท้อน

เน้นความร่วมมือที่เข้มแข็ง ร่วมคิด ร่วมทำและสู้ต่อไป รพ. สต. บ้านนานาค

การประชุมวันนี้ ได้ร่วมรับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พร้อมที่จะทำต่อไป เพื่อลดปัญหาต่อไปในอนาคต งานอนามัยแม่และเด็ก สสอ.

พร้อมเดิน พร้อมสู้ต่อ ได้รับการประสานงานกับสจรส. ม.อ. รพ.สต.มีการขับเคลื่อนงานร่วมกับพชอ.อยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสในการพัฒนาต่อไป งานวิชาการ งานวัยรุ่น ทำด้วยกันรวมกับการขับเคลื่อน เพื่อเติมเต็มงานวิจัยร่วมกับม.อ.ต่อไป ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนประเด็นก่อนปิดการประชุม ได้เห็นถึง mindset ของผุ้เข้าร่วมประชุมในพื้นที่ คนที่นับถือศาสนาอิสลามได้รับผลบุญ ในการเติมเต็ม ผลักดันคุณภาพชีวิตต่อไป ส่งเสริมแม่ที่มีความรู้ เพราะแม่ที่มีความรู้กับแม่ที่ไม่มีความรู้ จะเลี้ยงลูกออกมาคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน ปิดประชุม โดยคุณวีระโชติ รัตนกุล สาธารณสุขอำเภอตากใบ เวลา19 น. ขอบคุณที่ให้โอกาสชาวตากใบ ขอบคุณอาจารย์ ทีมงาน และผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ทุกคน อยากเข้าร่วมกิจกรรมดีๆ แบบนี้ต่อไป มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนต่อไป แม้ว่าจะเป็นเรื่องเก่าแต่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญซึ่งต้องนำมาจัดการใหม่ ม.อ.+สสอ.ตากใบ พร้อมขับเคลื่อนร่วมกัน+ภาคีภาคสนาม จะประสานงานและร่วมมือช่วยกันสนับสนุนการขับเคลื่อน ร่วมแลกเปลี่ยนประชุมกันอีกครั้ง ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยด้วยครับ หวังว่าจะมีโอกาสดีๆ เช่นนี้ต่อไปในอนาคต (ขอบคุณครับ)

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

25 0

10. ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ ครั้งที่ 1

วันที่ 15 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • แนะนำคณะทำงานในระยะที่ 2
  • เแนะนำและชี้แจงรายละเอียดโครงการในระยะที่ 2
  • สรุปภาพรวมการดำเนินโครงการของระยะที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศครั้งที่ 1 มีผู้ร่วมประชุมที่อยู่ในที่ประชุม จำนวน 3 คน และผู้ร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จำนวน 26 คน โดยมีประเด็นพูดคุย ดังนี้ - การชี้แจ้งรายละเอียดโครงการในระยะที่ 2
- แนะนำคณะทำงาน มีคณะทีมงาน ทีมวิชาการ ทีมพี่เลี้ยง
- สรุปภาพรวมการดำเนินการโครงการในระยะที่ 1 โดยอาจารย์ซอฟียะห์ - ผลการการนำโมดูลไปใช้งานในระยะที่ 1
- การนำเสนอผลลัพธ์ที่ได้จากส่วนเฟสที่ 1 ของแต่ละพื้นที่ - แนะนำกลไกการทำงานของพชอ. พชต. โดยนพ.สุวัฒน์ - แนะนำแนวทางการดำเนินงานร่วมกับกองทุนสุขภาพตำบล โดยสมชาย (สปสช เขต 12) - ร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะจากทีมวิชาการ

รายชื่อผู้เข่าร่วมประชุม 1. ดร.ซอฟียะห์ นิมะ       สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2. นางสาวฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3. นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4. นายยุสรี สะปาวี สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) 5. นางสาวมุทริกา จินากุล ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา 6. นายพัสสน หนูบวช ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ 7. ผศ.ดร.วรางคณา ชัชเวช คณะพยาบาลศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ 8. นายอิสมาแอล สิเดะ ผู้ประสานงานภาคสนาม 9. นางสาวจิราพร อาวะภาค มูลนิธิภาคใต้สีเขียว 10. นายอิลฟาน ตอแลมา สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข
11. นางสาวมีรา แมดิงแว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบาเจาะ 12. นางอังสุมาลิณ ประดิษฐ์สุวรรณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 13. นายสมชาย ละอองพันธุ์ สปสช.เขต 12 สงขลา 14. นางเสาวนีย์ ปาวัล รพ.สต.บ้านบือเระ ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จ.นราธิวาส 15. นางนูรีดา เจ๊ะย๊ะ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบาเจาะ 16. นางธนิษฐา ดิษสุวรรณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 17. นายมะยูนัน มามะ ผู้ประสานงานภาคสนาม 18. ผศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา คณะแพทยศาสตร์ มอ. 19. วัลภา ฐาน์กาญจน์ ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. 20. ไซนับ อาลี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล 21. นายรอซีดี เลิศอริยะพงศ์กุล สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย 22. นายยะห์ยา บานีอัลมาฮ์มูดี รพ.สต.บ้านสาวอ 23. นายวรานนท์ แอหนิ สมาคมจันทร์เสี้ยวและสมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม(สนท.) 24. นางสาวกาญจน์สุนภัส บาลทิพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 25. นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ผอ.โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชนินีนาถ ณ อำเภอนาทวี 26. นางเพียงกานต์ เด่นดารา โรงพยาบาลจะแนะ จ.นราธิวาส

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. ดร.ซอฟียะห์ นิมะ ชี้แจ้งวัตถุประสงค์การจัดประชุม โครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภIในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ: กรณีจังหวัดชายแดนใต้ ระยะที่ 2

วาระการประชุมครั้งที่ 1
ผลการดำเนินงานการนำโมดูลไปใช้งานในระยะที่ 1 โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ - อำเภอเมืองยะหริ่ง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี, อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
การดำเนินโครงการในระยะที่ 2  โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ - การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ: กรณีจังหวัดชายแดนใต้ ระยะที่ 2 - การคัดเลือกพื้นที่ 19 อำเภอ 20 ตำบล

การดำเนินงานการนำโมดูลไปใช้งานในระยะที่ 1 โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ การดำเนินการในระยะที่ 1 ได้มีการทำในส่วนของ Work Shop และมีการผลิตโมดูลขึ้นมาและกระจายโมดูลให้กับอำเภอนำร่องทั้งหมด 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอยะหริ่ง อำเภอบาเจาะ และอำเภอรามัน และได้มีผู้ทรงคุณวุฒิจากสสส.ได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนในเรื่องของการตั้งครรภ์ในจังหวัดชายแดนใต้ของกลุ่มวัยรุ่นในครั้งนี้ด้วย ซึ่งวันนี้จะเป็นการหารือในเฟสถัดไปว่าจะมีการทำในลักษณะใดบ้าง  วันนี้จะเล่าในส่วนของกิจกรรมในเฟส 1 ที่ผ่านมาที่ได้มีการผลิตโมดูลและได้มีการทดลองนำร่องใน 4 อำเภอ 5 ตำบลของจังหวัดชายแดนใต้เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นการเล่าในเฟสที่ 1 ก่อนแล้วจะมีการหารือกันในส่วนของเฟสที่ 2 ว่าต้องการมีอะไรเพิ่มหรือมีข้อเสนอตรงไหนบ้าง เรามากำหนดทิศทางกันว่าในหน่วยงานที่เชิญมาวันนี้จะมีส่วนร่วมในงานขั้นตอนไหนได้บ้าง แล้วนำมาสรุปไทม์ไลน์
ในส่วนของทีมงานที่ได้รับผิดชอบกิจกรรม ได้แก่
1. ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ เป็นที่ปรึกษา
2. นายแพทย์ สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ
3. ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย 4. คุณซอฟียะห์ นิมะ ส่วนทีมงานสำนักงาน ได้แก่
1. คุณสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ เป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
2. คุณฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
3.คุณจิราพร อาวะภาค
4.คุณฐนัชตา นันทดุสิต

ทีมงานภาคสนาม ได้แก่
1.คุณอานัติ หวังกุหลำ

ในด้านพี่เลี้ยงเพิ่มเติมในเฟสแรก ได้แก่
1. คุณย๊ะห์ยา บานีอัลมาฮ์มูดี พี่เลี้ยงดูแลของอำเภอรามัญ
2. คุณธีรพจน์ บัวสุวรรณ พี่ เลี้ยงดูแลอำเภอยะหริ่ง 3. คุณวรรณาพร บัวสุวรรณ พี่เลี้ยงดูแลอำเภอยะหริ่ง
4. ทพญ.โนรีด้า แวยูโซ๊ พี่เลี้ยงดุแลอำเภอบาเจาะ
5. คุณอุษา เบ็ญจลักษณ์ สาธารณสุขอำเภอปัตตานี

ทีมวิชาการและโมดูล 1. คุณบุษยา สังขชาติ 2. คุณวัลภา ฐานกาญจน์ 3. ดร.มุทริกา จินากุล 4. ดร.ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์ 5. คุณรอซีดี เลิศอริยพงษ์กุล 6. คุณอิลฟาน ตอแลมา

เฟสแรกที่ผ่านมาได้มีทีมงานวัยรุ่นและเยาวชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนในครั้งนี้ด้วยซึ่งผู้รับผิดชอบหลัก ได้แก่ คุณยุสรี ร่วมงานคู่ขนานกับโครงการนี้ไปด้วย จะทำหน้าที่ดำเนินงานโครงการเยาวชนให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยให้กับเยาวชนกลุ่มข้างต้น สำหรับส่วนตัวเล่มของโมดูลที่ผ่านมาได้มีการปรับเปลี่ยนหลายเวอร์ชั่น ในเวอร์ชั่นแรกที่ใช้เป็นในส่วนของการจัด Workshop หลังจากที่ขับเคลื่อนในพื้นที่และท่านผู้ทรงคุณวุฒิจากสสส.ได้ลงเยี่ยมพื้นที่ได้ร่วมอ่านโมดูลแล้ว ได้มีข้อเสนอแนะในการปรับเนื้อหา ประกอบไปด้วยทั้งหมด 5 หน่วยเรียนรู้ คือ หน่วยที่ 1 เพิ่มสมรรถนะให้กับพชอ.ด้านความรู้และด้านการจัดความรู้ต่อประเด็นการตั้งครรภ์วัยรุ่น หน่วยที่ 2 เน้นในส่วนที่พชอ.สามารถดำเนินงานเป็นทีมนำทางด้านการจัดการสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้ หน่วยที่ 3 ให้พชอ.สามารถทำแผนทำโครงการและประสานพลังในเครือข่ายได้ ทั้งหมดนี้จำไปสู่การรณรงค์นโยบายได้
หน่วยที่ 4 เน้นของการติดตามประมวลผล และการติดตามความก้าวหน้า หน่วยที่ 5 เรื่องทักษะปฏิบัติการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน  ได้มีการเชิญทีมพชอ.และก็พชต.ลงพื้นที่ร่วมกันประมาณ 40 ครั้ง ที่จะไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่ ว่ามีปัญหาตรงไหน ด้านใดบ้างแล้วก็มีการจัดทำแผนโครงการและนำเสนอขอทุนจากกองทุนตำบลได้อย่างไร ตรงนี้ก็ได้มีการหารือและลงมือทำในเฟสที่แล้ว ในระหว่างที่ลงพื้นที่ ได้มีการคุยในเรื่องของสถานการณ์ปัญหาที่ผ่านมาในทุกวันนี้ไม่ว่าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งทุกคนเองก็จะเห็นปัญหาที่พ้นเหนือน้ำมาแล้วเราแก้กันแบบเฉพาะหน้า และในเรื่องของกรอบวิธีคิดของพื้นที่ต่อการตั้งครรภ์ไม่เคยได้ค้นพบตรงนี้เราพยายามชวนพื้นที่เข้าไปดูในเรื่องนี้ ถึงที่มาที่ไปของการตั้งครรภ์วัยรุ่นในพื้นที่เกิดจากอะไร ดูถึงเรื่องของปัจจัยสุขภาพที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่ได้มีการใช้ Iceberg Model มาพูดคุยกัน

ในส่วนของการสรุปเฟสที่ 1 นั้นที่ได้มีการพัฒนาโมดูลมาทั้ง 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้มาสู่การปฏิบัติในพื้นที่ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยของจังหวัดปัตตานี จะด้วยกัน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลรูสะมิแล ตำบลบางปู และตำบลตาแกะ  อำเภอรามัน ได้แก่ ตำบลโกตาบารู ซึ่งได้มีตำบลบาโงยเข้ามาในช่วงแรก ช่วงหลังได้ออกไป  และอำเภอบาเจาะ ได้แก่ ตำบลบาเระใต้ ตอนนั้นระยะเวลา 18 เดือนแต่อาจจะมีติดช่วงโควิดไปด้วย เลยมีการเลื่อนหลังจากกันยายน 2563 เริ่มขยับในส่วนของ Workshop ในเรื่องของการปฏิบัติงานในพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ได้จากส่วนเฟสที่ 1
- ตำบลรูสะมิแล ได้มีหน่วยให้คำปรึกษาวัยรุ่นที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนแล้วก็ใน ชุมชน ก็คือ เด็กอยู่ที่ไหนมีหน่วยให้คำปรึกษาไปที่นั้น และรวมทั้งมีหน่วยเฝ้าระวังลาดตระเวนจุดเสี่ยงพื้นที่เสี่ยงที่เด็กจะไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน แบบ 2 ต่อ 2 และมีมาตรการหอพักเข้ามาร่วมให้มาตรการต่างๆ ในการแยก ชายหญิง หรือคอยดูแลสอดส่องอย่างใกล้ชิดแบบญาติ ไม่ให้บุตรหลานที่อยู่ในหอพัก ในอพาทเมนต์ อยู่บ้านเช่าในตำบลรูสะมิแล เพราะเป็นพื้นที่ของการศึกษา หอพักก็จะเข้ามามีส่วนร่วมที่จะดูแลตรงนี้ให้ - ตำบลตาแกะ ก็จะมีหน่วยให้คำปรึกษาด้านอนามัยเจริญพันธ์ในวัยรุ่น ไม่ได้ทำอยู่ในเฉพาะคลีนิคเท่านั้น แต่จะเป็นการออกเชิงรุก ออกนอกพื้นที่มีการโทรศัพท์พูดคุย นัดแนะกันเพื่อที่จะมีการรับคำปรึกษาที่ไหน และมีการปิดข้อมูลอย่างเป็นความลับ แล้วแต่วัยรุ่นด้วยว่าจะนัดเจ้าหน้าที่ ที่ไหนตรงนี้ค่อยข้างที่จะสะดวกเพื่อเอื้อทั้ง 2 ฝ่าย มีการติดต่อในเวลานอกอีกด้วยเพื่อให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น - ตำบลบางปู เป็นเขตที่ค่อนข้างสังคมซ้ำซ้อนขึ้นมา ตำบลบางปูเยาวชนจะมีความเข้มแข็งในเรื่องศาสนาเป็นหลัก ทางพื้นที่จะมีการป้องกันในเรื่องของการตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่นและในเรื่องการสร้างรายได้ มีในเรื่องของการนำเที่ยวชุมชนเพื่อสร้างรายได้ ทำให้เด็กสามารถหารายได้เป็นกอบเป็นกำเอาเวลาส่วนนี้ไปดูแลครอบครัว แทนที่จะใช้เวลาไปหมกมุ่นเรื่องอื่น - ตำบลโกตาบารู ได้มีการเริ่มต้นด้วยจากสภาเด็ก มีการฝึกงานฝึกอาชีพที่เป็นแหล่งพื้นที่ ที่มีอาชีพอยู่ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวเป็นแหล่งที่เรียนรู้และสร้างรายได้ให้กับเด็ก ตำบลโกตาบารูจะเน้นในเรื่องของชมรมเยาวชนที่ค่อนข้างเข้มแข็ง พี่ดูแลน้อง ดูแลทั้งหมด เช่น ศาสนา ความสัมพันธ์ เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาอย่างใกล้ชิด - ตำบลบาเระใต้ มีนิกะห์ไกด์ไลน์หรือว่าเรื่องของการจะแต่งงาน เพราะต่อยอดจากโครงการเดิมที่คัดกรองเด็กที่คลอดออกมาแล้วมีภาวะพิการ ก็จะมีการคัดกรองก่อน ถ้าอายุต่ำกว่าเกณฑ์ จะมี 3 ฝ่ายที่ไปร่วม ได้แก่ ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายผู้นำศาสนา ไปร่วมด้วยเพื่อที่จะดูแล

โดยที่ผ่านมาทั้ง 4-5 พื้นที่นี้ ประเด็นการตั้งครรภ์วัยรุ่นไม่เคยเป็นประเด็นหลักของอำเภอมาก่อน การที่พื้นที่เหล่านี้เข้าร่วมโครงการกับเราก็จะสามารถเป็นประเด็นใน ปี 64 ได้ ทั้งอำเภอเมืองปัตตานี อำเภอรามัญ อำเภอบาเจาะ ยกเว้นอำเภอยะหริ่งจะบรรจุอยู่ในแผนของพชต.  ใน ปี 64 ทั้งหมดนี้ได้ดำเนินงานมาลักษณะเดียวกันตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ คือ เน้นตั้งแต่การป้องกันและแก้ไข ช่วงกลางน้ำ คือ มีแล้วจะดูแลกันยังไงให้เกิดการตั้งครรภ์คุณภาพ สุขภาพแม่ และสุขภาพทารก ปลายน้ำ คือ ถ้าเคยตั้งครรภ์แล้วต้องรู้จักป้องกันที่จะไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ซ้ำ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการจัดการตนเองได้ ภาพรวมทั้งหมดในเฟสที่ 1 ของแต่ละพื้นที่พยายามดำเนินการ ในเฟสที่ 1 ที่ผ่านมามีการเลือกพื้นที่นำร่องขึ้น เหตุผลที่ได้เลือกพื้นที่น้ำร่องตำบลต่างๆขึ้นมา คือ แต่ละพื้นที่มีลักษณะเด่น ที่ได้เลือกอำเภอเมืองปัตตานี ท่านสาธารณสุขอาสาในที่ประชุมว่าอยากเข้าร่วม เพราะว่าทางอำเภอเมืองปัตตานี มีเยาวชนเข้ามาอยู่กันมาก เพราะเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเด็กก็มาจากต่างพื้นที่มาอาศัยรวมกันในหอพัก ในบ้านเช่า และเมืองปัตตานีมักเกิดปัญหาหลายๆอย่าง เช่น ปัญหาสุขภาวะวัยทารกเลยนำมาสู่ในเฟสที่1 นี้ ในส่วนของอำเภอยะหริ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ชายทะเลจะมีที่พักรีสอร์ทค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้เด็กอาจจะเข้าไปอยู่เลยได้มีการเชิญเจ้าของรีสอร์ทมาพูดคุยให้ความรู้เรื่องนี้ด้วย อำเภอรามันจะมีงานประเพณี งานเทศกาลค่อนข้างเยอะ มีที่ท่องเที่ยว มีเด็กแว๊น สก๊อย เลยได้มาตรการในการควบคุมขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา ได้มีการจัดตั้งจุดตรวจ จุดคัดกรอง จุดลาดตระเวน เป็นต้น อำเภอบาเจาะจะมีอัตรการหย่าร้างค่อนข้างสูงและแป็นแหล่งระบาดของยาเสพติด มีเด็กแว๊น เด็กสก๊อยค่อนข้างเยอะ ที่นี้จะพบเคสทารกคลอดออกมาแล้วพิการตั้งแต่กำเนิดด้วย ได้มีฟุรุกรโมเดลพยายามจะต่อยอดจากงานเดิมที่ทำอยู่ ทั้งหมดนี้ได้มีการวิเคราะห์ถึงพื้นที่ต่างๆได้มีการทำอะไรขึ้นมาบ้าง ซึ่งได้เห็นถึงความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ปัจเจกชนทุกคนร่วมมือช่วยกันอยู่ เพราะส่วนใหญ่ได้ทำตามบทบาทหน้าที่ตนเอง ต่างคนต่างทำและได้มีการทำที่แยกส่วนอยู่ ในเฟสที่ 1 ที่ผ่านมานั้นน จะเป็นในส่วนของการผลิตโมดูลขึ้นมา 1 โมดูล ที่มี 5 หน่วยการเรียนรู้ย่อยแล้วได้มีการนำมาทดลองใช้กับพื้นที่นำร่อง 4 อำเภอ 5 ตำบล ได้ผลลัพธ์ที่สรุปไว้ตามข้างต้นที่ได้กล่าวมา พอมาถึงเฟสที่ 2 ในส่วนของโมดูลที่ผลิตมาแล้วนั้น อยากจะมีการปรับให้มีความสนิท ใกล้ชิดมากขึ้น มีการเรียนรู้ง่ายสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายขึ้น เพราะที่ผ่านมาเนื้อหาค่อนข้างเยอะ การมีเนื้อหาเยอะอาจะเป็นอุปสรรคต่อบางคนที่ไม่อยากอ่านเยอะ อยากได้อะไรมีการโฟกัสตรงจุดมากกว่า เห็นถึงขั้นตอน เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้ เป็นต้น  ในนเฟสที่ 2 เลยมีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งเพื่อให้ง่ายขึ้น ในเฟสที่ 2 ที่จะปรับโมดูลขึ้นมาใหม่นี้เราก็ไม่ทำใน 4 อำเภอ 5 ตำบล แต่มีการเพิ่มพื้นที่ขึ้นมา ในเฟสที่ 2 นี้จะมีทั้งหมด 19 อำเภอ 20 ตำบล  ทั้งพื้นที่เก่าและพื้นที่ใหม่จะมีการมาเรียนรู้ร่วมกันอีกครั้ง ได้มีการทบทวน ทำความเข้าใจเห็นภาพด้วยกัน ในการใช้โมดูลเพื่อเกิดการป้องกันแก้ไขปัญหาในวัยรุ่นในพื้นที่อย่างไร ซึ่งเดิมผู้รับผิดชอบและผลิตโมดูลจะเป็นทีมวิชาการ ซึ่งจะมีกาพูดคุยกับทีมวิชาการถึงการดูแลเฟสที่ 2 จะมีการปรึกษาหารือการวางแผนงานในเฟสที่2 กันด้วย และในเฟสที่ 2 นี้จะเน้นการหารือการสร้างความเข็มแข็งต่อในเรื่องของการพัฒนาจุดคัดกรองระดับพื้นที่ ในเฟสที่ผ่านนมานั้นจุดแข็งที่พบ คือ ทีมพี่เลี้ยงช่วยพชต.ช่วยพชอ.ได้เยอะในเรื่องของการเอาโมดูลไปขยายต่อ ไปอธิบาย Workshop ในระยะเวลา 1-2 วัน ไม่พอเลยให้ทีมดังกล่าวไปขยายเวลา อธิบายเพิ่ม และไปติดตาม เฟสนี้จะเน้นในเรื่องความเข้มแข็งจะให้มีทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล พร้อมกับทีมประเมิน ในด้านของทีมประเมินจะมีการทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานของพชต.และ พชอ.ในระดับอำเภอหรือระดับตำบล ในการที่จะจัดอบรมพี่เลี้ยงแต่ละครั้งจะมีการพัฒนาคู่มือขึ้นมาก่อนเสมอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี ซึ่งจะมีการทำคู่มือขึ้นมาเป็นจำนวน 2 เล่ม เมื่อผลิตโมดูลแล้วจะมีพี่เลี้ยงสามารถคอยดูแลแต่ละพื้นที่อยู่ในส่วนนั้น และจะมีทีมประเมินไปประเมินอยู่ในแต่ละพื้นที่ด้วยเพื่อดูถึงผลลัพธ์ที่ได้ตามมา เลยนำมาสู่การมี Road map ของระดับจังหวัดและมีแผนงานระดับอำเภอหรือตำบล มี MOU ซึ่ง MOU  นี้คาดว่าจะให้ลำดับสุดท้าย เพราะอยากให้ 19 อำเภอ 20 ตำบลนี้เห็นภาพตัวเองก่อนและสุดท้ายได้นำมาสู่การทำ MOU ในการผลิตสื่อนี้จะเน้นให้เยาวชนหรือประชาชนทั่วไปได้เข้าถึง เข้าใจกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ สุดท้ายจะมีเวทีแลกเปลี่ยนขึ้น เพื่อถอดบทเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้น  ถอดตั้งแต่ก่อนดำเนินงาน การดำเนินงาน และหลังดำเนินงาน ด้วย หลักที่สามารถเห็นได้ชัดถึงงานได้แก่ การทำโมดูล Revised การพัฒนาคู่มือ Workshop อบรมพื้นที่เก่าพื้นที่ใหม่ อบรมทีมพี่เลี้ยง อบรมทีมประเมิน ทีมสื่อทีมทำสกู๊ป และเรื่องของการถอดบทเรียน การทำ Fiedwork นี้จากพื้นที่ 19 อำเภอ 20 ตำบล ได้เรียนรู้โมดูลและก็มีทีมพี่เลี้ยง ทีมประเมินได้ผ่านการเทรนนิ่งมา ได้นำไปช่วยให้พชต. และ พชอ.ทำแผนทำโครงการต่อในเรื่องของการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ในสุดท้ายนี้งานจะจบอยู่ที่งานประเมินผล มีการประเมินโมดูล Revised ประเมินพี่เลี้ยง ประเมินทีมประเมินอีกด้วย และนำมีการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้ง 19 อำเภอ 20 ตำบล

นพ.สุวัฒน์: กลไกการทำงานพชอ.หรือพชต.เป็นกลไกลที่ผสานพลังในแนวราบ จะเป็นซอฟพาวเวอร์ มากกว่า ฮาร์ดพาวเวอร์ ซึ่งฮาร์ดพาวเวอร์ได้พบเยอะแล้ว แต่การทำงานชีวิตต้องใช้การทำงานด้วยหัวใจ เอาทรัพยากรแต่ละส่วน เช่น ราชการ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคม เอาหัวใจมาทำงานร่วมกัน การกำหนดประเด็นของการขับเคลื่อนเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง เพราะว่าเราไม่ได้ยัดเยียดเอาประเด็นเหล่านี้ไปให้ แต่ต้องเป็นประเด็นที่ชาวบ้านรู้สึกเป็นเจ้าของ ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ถึงความยั่งยืน เมื่อเริ่มต้นแล้วสามารถทำต่อได้เอง โดยไม่ต้องมีอะไรสนับสนุน ชุมชนเขาเห็น เขาสามารถร่วมและรู้สึกได้ เขาก็จะสามารถไปต่อได้เองและจะเป็นตัวละคนตัวหนึ่งที่จะสามารถขับเคลื่อนการทำงานที่จะทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดถึงการต่อยอด การขยายผลในหลายอำเภอ หลายตำบลได้  สืบเนื่องจากปีที่แล้วซึ่งได้ดูแลสำนักศูนย์สุขภาพปฐมภูมิได้ทำงานร่วมกับ สวรส.และอาจารย์จากม.จุฬา ได้จัดทำเรื่องหนึ่งขึ้นมา คือ การวิเคราะห์เพื่อให้เห็นถึงกลไกที่เกิดผลต่อสังคมอย่างไร (SROI) ได้มีการไปดู 4 อำเภอทั้งประเทศไทย ได้ไปดูประเด็นที่พชอ.หนึ่งขับเคลื่อนอุบัติเหตุ ซึ่งอุบัติเหตุจะเห็นได้ชัดเจน Social Refund จะกลับมาภายในเวลาพอดี ถ้าหากลงแรงกับเรื่องอุบัติเหตุ ภายในครึ่งปีหากได้ลงแรงไปจะกลับมาเห็นผล ขณะที่บางเรื่องลงทุนแล้วอาจจะต้องใช้เวลา เช่น ผู้สูงอายุ เป็นต้น เลยได้มีการคิดขึ้นมาได้ว่ามีการชวน สวรส.เข้ามาทำประเด็นที่ได้คุยกันอยู่ ปัญหาในวัยรุ่นนี้ Social Refund จะกลับมาอย่างไร ซึ่งการที่จะไปสื่อสารกับภาคีเครือข่ายเอาข้อมูลต่างๆเหล่านี้ไปคุยทุกคนให้ความสนใจดีมาก และอีกประเด็นหนึ่งคือ ทุกคนอยู่ในสถานการณ์โควิด โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนใต้ อาจจะต้องหยิบยกเรื่องราวเรื่องที่ทุกคนมีความสนใจ ตระหนัก มาเชื่อมโยงสิ่งที่ทำ เช่น การเสียชีวิต แม่และเด็กที่เสียชีวิตมากในประเทศไทยในสถานการณ์โควิท โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ โดยที่จะใช้โอกาสเหล่านี้ที่จะทำให้สังคม ชุมชน เกิดความเข้าใจ ช่วยกันหยิบประเด็นเหล่านี้มาเชื่อมกับงานที่ทำ มันจะทำให้ภาคีเครือข่ายเขาสามารถที่จะหยิบยกสิ่งที่เป็นปัญหามาผนวกกับสิ่งที่กำลังขับเคลื่อนไป

ตัวแทนอำเภอเมืองปัตตานี: ในตำบลรูสะมิแลนั้นในการขับเคลื่อนจะใช้โรงเรียนและชุมชนที่เป็นต้นแบบ ซึ่งได้เลือก โรงเรียนรัฐประชานุเคราะห์ในการขับเคลื่อนของวัยรุ่น เพราะโรงเรียนรัฐประชานุเคราะห์นั้นเป็นโรงเรียนที่รับเด็กต่างถิ่นและเด็กที่ค่อนข้างมีปัญหามาเป็นโรงเรียนต้นแบบ ขับเคลื่อนโดยใช้กลุ่มชมรม TO BE NUMBER ONE ในการขับเคลื่อนของวัยรุ่น และได้เลือกชุมชนบางปลาหมอที่เป็นชุมชนค่อนข้างมีปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น โดยขับเคลื่อนจากกลุ่มอาสาจากน้องๆที่มีจิตอาสา ในส่วนตำบลรูสะมิแลต่อไปจะมีการขับเคลื่อนจากกลุ่มสภาเด็กซึ่งได้มีการหารือกับเทศบาลรูสะมิแลถึงการขับเคลื่อนครั้งต่อไป และในส่วนของชมรม TO BE NUMBER ONE จะเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนให้คนในชุมชนต่อไป

ตัวแทนอำเภอบาเจาะ: สำหรับแนวทางในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นซึ่งได้เลือกตำบลบาเระใต้ ช่วงการดำเนินงานจะใช้เครือข่ายของผู้นำชมชน ผู้นำศาสนา อบต. โรงเรียน ตลอดจนเครือข่ายทั้งหมดเข้ามาแก้ปัญหาในครั้งนี้ ได้มีการมอบนโยบายของวัยรุ่นคุณภาพ โดยใช้หลักการนิก้ะห์โมเดล จะมีนายอำเภอให้ความรู้กับอิหมามในเรื่องของการจัดพื้นที่แต่งงาน และอสม.จะมีการแจ้งให้ทราบถึงการแต่งงานในพื้นที่ว่าจำนวนเท่าไร จำนวนกี่คู่ หลังจากนั้นก่อนเป็นวัยรุ่นจะมีโรงเรียนที่ให้องค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพ จะพัฒนาในด้านของทักษะเป็นหลัก ก่อนที่จะเข้าสู่วัยรุ่น กระบวณการของการลด ละ เสี่ยง ของยาเสพติดในรูปแบบของการเข้าค่ายของยาเสพติด และให้ความรู้กับวัยรุ่นในพื้นที่ เพื่อให้มีคุณภาพที่ดี และมีการจัดตั้งโรงเรียนพ่อ แม่ ในชุมชน ซึ่งโรงเรียนพ่อแม่ในชุมชนนั้นจะมีการประเมินความพร้อมของครอบครัว เรื่องจิตวิญญาณของวัยรุ่น และมีการคัดกรองเรื่องความพิการในพื้นที่ด้วย

ตัวแทนอำเภอรามัน: อำเภอรามัญได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2563  โดยมีการใช้แนวทางของพชอ.ในการขับเคลื่อนในพื้นที่
1. การใช้ยุทธศาตร์ของเครือข่าย ในการจับประเด็น เพื่อที่จะให้เป็นตัวแม่บท โดยมีการนำปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นมาแนะนำในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นนโยบายของอำเภอเอง 2. มีการสรุปปัญหาทางยุทธศาตร์ ในประเด็นต่างๆที่ได้มีการเชื่อมโยงกับปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น และมีการสรุปสถิติให้กับภาคีเครือข่ายได้รู้ถึงเรื่องที่สำคัญ บทบาทของพชอ. ต่อการแก้ไขการตั้งครรภ์คุณภาพในวัยรุ่น 1. กำหนดเป็นวาระ ขับเคลื่อนระดับอำเภอ 2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการของพชอ. ขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์คุณภาพในวัยรุ่น 3. กำหนดพื้นที่นำร่อง 4. ค้นหาปัญหา กำหนดกิจกรรมในพื้นที่ ในแนวทางของพชอ.จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เชิงรุก และเชิงรับ - เชิงรุกคือ ภาคีระดับพื้นที่สามารถทำเองได้ ซึ่งสภาเด็กเป็นหน่วยงานที่สำคัญ คิดค้นเพื่อแสดงศักยภาพของตนเอง เปิดโอกาสให้แสดงศักยภาพได้เต็มที่ - เชิงรับ คือ คลีนิคการตั้งครรภ์จะจัดตั้งที่โรงพยาบาล หรือรพ.สต. การตั้งการรับนั้น ต้องมีการวางแผน ระยะเวลา เพื่อให้เกิดความสำเร็จในช่วงสั้นๆ ในกิจกรรมต่างๆจะใช้คำสั่งจากอำเภอเป็นหลัก จะเป็นเครือข่ายที่ใช้เยาวนเป็นแกนนำหลักในการขับเคลื่อนครั้งนี้ ตำบลโกตาบารูจะเป็นพื้นที่รอยต่อทางผ่านของหลายจังหวัดและหลายอำเภอซึ่งส่วนนี้เป็นจุดที่ทำให้เยาวชนมารวมตัวนี้ เลยให้ชุดชรบ.ได้เข้ามาดูแลในส่วนนี้ เพื่อที่จะลดการมั่วสุ่ม

อาจารย์ซอฟียะห์: งานภาคสนาม ถือเป็นจุดสำคัญเนื่องจากจะให้พชต.และพชอ.ทำแผนโครงการเพื่อที่จะขอใช้งบสนับสนุนหลักจากกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น

สมชาย (สปสช เขต 12): ประเด็นการพูดคุยมี 2 เรื่อง 1. ส่วนของกองทุนท้องถิ่น บทบาทพี่เลี้ยง ในการที่จะทำงานกองทุนท้องถิ่น พชอ.และหน่วยงานควรทำงานกันอย่าไงบ้าง
พชอ. อาจจะป็นกลไกที่อยู่ตรงกลางระดับอำเภอ ถ้าหากจะมีการทำงานเรื่องนี้ขึ้น ต้องมีกลไกระดับพื้นที่ ซึ่งในต้องท้องถิ่นนั้นจะมีกองทุนตำบล กองทุนตำบลนี้เกิดขึ้นมาประมาณ 15 ปีนี้ เป็นการถ่ายโอนเงินสุขภาพไปยังท้องถิ่น ทุกท้องถิ่นในเขตของชายแดนภาคใต้นี้จะมีกองทุนท้องถิ่น 100% ดังนั้นทุกตำบลจะมีกองทุนอยู่แล้ว อาจจะมีงบมากบ้างน้อยแล้วแต่ตำบล ที่ผ่านมาเกิด พชอ.กลไกใหม่ขึ้นมาซึ่งอาจจะเป็นกลไลทางปกครองมีกฎหมายบ้าง มีการรวมตัวกันแบบหลวมๆ ลักษณะการทำงานจะพบปัญหาเรื่องการที่กองทุนท้องถิ่นมีเงินสะสมค้างอยู่เยอะ ซึ่งปีนี้ลดลงเพราะเนื่องจากบางส่วนใช้เงินส่วนนี้ทำโควิดเยอะ และปีนี้ก็จะมีเงินเข้าไปสนับสนุนด้วย ที่ผ่านมากองทุนท้องถิ่นมีการสะสมเงินเยอะ แต่ไม่กล้าใช้เงิน และที่สำคัญบางที่ทำงานแล้ว แต่ไม่มีแผนสุขภาพ โครงการที่ทำไม่ได้คุณภาพและไม่ได้ตอบโจทย์ของพื้นที่ ส่วนนี้ก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ทางสปสช.ก็ได้มีการขับเคลื่อนโดยสร้างกลไกขึ้นมา คือกลไกพี่เลี้ยงกองทุนและมีการเทรนนิ่งขึ้น ซึ่งพี่เลี้ยงจะทำลักษณะของปีต่อปี พี่เลี้ยงจะมีการเทรนนิ่งในเรื่องของการที่จะให้ไปพัฒนากระบวนการทำแผน โดยเน้นประเด็นสุขภาพ แนะนำในส่วนของไกด์ไลน์การทำงานของพี่เลี้ยง โดยพี่เลี้ยงลงไปฝึกการเขียนโครงการ ที่ผ่านมานั้น ใน 3 จังหวัดจะมีการรู้จักกองทุนน้อย โครงการอาจจะไม่ได้คุณภาพรวมถึงการบริหารโครงการด้วย โดยจะให้พี่เลี้ยงเข้าไปดูแลจุดนี้ ในการทำงานกองทุนจะยึดตามปัจจัยกองทุนสุขภาพที่เป็นปัญหาการตายของคนใน 3 จังหวัด จะเอาประเด็นสุขภาพเป็นตัวตั้งแล้วมาขอเงินไปทำโครงการ
กองทุนเปรียบเสมือนกับสสส.ดังนั้นต้องยอมรับว่าพชต.ไม่ได้มีเงินแต่เงินจะอยู่ในตำบล ดังนั้นการทำงานที่จะทำให้พชอ.เชื่อมกับกองทุนต้องให้เครือข่ายไปขอทุนจากกองทุนตำบล ดังนั้นเราจะบอกกับกองทุนถึงการนำเงินไปทำปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ ในส่วนพี่เลี้ยงจะมีเงินสนับสนุนให้ ในปี 2565 นี้ระบบพี่เลี้ยงไม่ได้มีขึ้นแล้ว แต่จะมีร่องรอยของพี่เลี้ยงเดิมอยู่ เพราะว่าหน่วยงานรัฐ รวมถึงสปสช. เงินที่ทำตรงนี้มีน้อยมาก  ทุกปีจะให้พี่เลี้ยงไปพบกองทุน ทำแผน พัฒนาโครงการ  แต่ปีนี้เงินประมาณ 3 แสน ดูแล 600 กว่าทุน ซึ่งคิดไม่ออกว่าจะทำตรงไหนบ้าง ดังนั้นหากจะตกลงกับพี่เลี้ยงสำหรับที่จะทำเรื่องหญิงตั้งครรภ์ก็จะต้องดูการใช้กลไกพี่เลี้ยงในการลงไปทำ สิ่งที่พี่เลี้ยงจะลงไปทำคือพี่เลี้ยงต้องลงไปทำการทำแผน ในการทำแผนนี้ซึ่งเว็บกองทุนที่สร้างขึ้นมา สามารถที่จะทำแผนสุขภาพได้ ในแผนที่กองทุนทำหากมีการที่จะทำกับกองทุนลักษณะแต่ละตำบล พี่เลี้ยงที่ทำงานด้วยอาจจะมีกลไกให้ตัวพี่เลี้ยงไปทำเรื่องแผนเด็กเยาวชนและครอบครัว ซึ่งสิ่งนี้จะมีประเด็นการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นอยู่ ถ้าหากทุกตำบลที่พี่เลี้ยงลงไปทำ เมื่อทำแผนแล้วก็ให้มีโครงการ มีหน่วยงานที่ไปขอโครงการ เวลาทำงานกอทุนนั้นจะมีการเน้นให้เขียนโครงการ เจ้าของโครงการนั้นสามารถที่จะเขียนออนไลน์ได้ ที่สำคัญเมื่อเขียนโครงการออนไลน์แล้วจะมีประเด็นเด็กขึ้นมา เมื่อกองทุนให้เงินสนับสนุนตัวระบบของคนที่ได้ทุนก็จะมีการรายงานผ่านเว็บ ที่สำคัญหากแต่ละตำบลมีการชักนำเรื่องของเด็ก เรื่องของการตั้งครรภ์ได้ต้องมีการกรอกข้อมูลของสถานการณ์เด็กและเยาวชน ตัวนี้สามารถไปนำเสนอข้อมูลของตำบลได้ ที่ผ่านมาการทำแผนนั้นจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ ด้านบนสั่งให้ทำ และต้องเอาข้อมูลจากพื้นที่เข้ามาข้อคิดเห็นร่วมกันว่าน่าจะมีแผน ซึ่งเงินมี เครือข่ายมี ระบบการจัดการมี ตัวพชอ.เองอาจจะถูกดันขึ้นมา

อาจารย์ซอฟียะห์: ถึงแม้ว่าในเฟสถัดไปอาจจะไม่มีงบมาสนับสนุนแต่สามารถที่จะมีพี่เลี้ยงเดิมมาคู่กับพี่เลี้ยงที่สร้างใหม่ เพื่อที่จะไปตกลงกับกองทุนตำบลได้ ในเฟสที่แล้วนั้นอำเภอยะหริ่งได้มีการสนับสนุนให้กับตำบลตาแกะ โดยใช้งบของกองทุนตำบลหมดเลยในการจัดการการดำเนินงานการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ที่ผ่านมาได้มีการเลือกพื้นที่อาสาสมัครเข้ามาร่วมในเฟสที่แล้ว เมื่อดูอุบัติการ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ จะเป็นข้อมูลของปี 62 ในส่วนของจังหวัดยะลาที่ได้เลือกพื้นที่นำร่องจะเป็นอำเภอรามัน จังหวัดปัตตานีจะเลือกยะหริ่ง กับเมืองปัตตานี นราธิวาสจะเลือกอำเภอบาเจาะ สำหรับในเฟสนี้ยังคงยึดถึงปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คงต้องมีการเสนอใช้อำเภอใกล้เคียง ครั้งนี้จะมีทางศบ.สต.ที่มีการเข้าร่วมในครั้งนี้ ในเฟสนี้อยากจะชวนทุกท่านเข้ามาทำงาน ในด้านของการปรับเปลี่ยนโมดูลและการทำสื่อนั้นสมาคมจันทร์เสี้ยวเคยทำหน้าที่ในเรื่องของการผลิตโมดูล

คุณอิลฟาน: การต่อยอดของงานปีที่แล้ว รวมทั้งสถานการณ์ที่ไม่สามารถร่วมตัวได้จำเป็นต้องใส่สื่อมีเดียในการขับเคลื่อน เมื่อดูกลุ่มเยาวชนเป้าหมายในโครงการนี้ ส่วนใหญ่จะมีช่องทางในการเสพสื่อมาก จะมีวิถีชีวิตอยู่กับสิ่งนี้หมดเลย ดังนั้นเลยทำช่องทางที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เช่น มีเพจ ทำคลิปสั้นๆ ทำกราฟฟิคที่น่าสนใจ  และที่มีการจัดทำแล้วแต่ยังไม่มีการใช้ จะเป็น อินสตราแกรม และ Tiktok เพราะส่วนใหญ่กลุ่มเยาวชนจะมีการใช้ติ๊กต็อกจำนวนมาก ได้มีการนำสมาคมจันทร์เสี้ยวเข้ามานั่งพูดคุยและออกแบบให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

คุณวัลภา: ส่วนของโมดูลที่ทำ จะต้องดูถึงภารกิจหลักของเฟส 2 ที่จะใช้โมดูลให้เป็นประโยชน์ เป็นประเด็นหลักที่โมดูลที่จะปรับนั้นตอบโจทย์หรือไม่ และจะมีเกณฑ์การเลือก 19 อำเภออย่างไรบ้าง และระบบติดตามจะอยู่ในรูปแบบเหมือนเดิม หรือมีการปรับเปลี่ยนขึ้นไหม  ในงานที่ผ่านมานั้นที่สังเกตเห็นเป็นเรื่องที่ดี เป็นผลสำเร็จด้านบวกที่คนจะสืบต่อ โดยได้มีฐานโรงเรียน และฐานชุมชน แต่ยังไม่มีฐานครอบครัว เข้ามาส่วนร่วม และการมีสภาเยาวชนเข้ามาส่วนร่วมเป็นสิ่งที่ดี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก แต่ที่ยังไม่เห็นคือ ความคิดเห็นของเยาวชนสมัยนี้ ทัศนะคติ มุมมองในเรื่องการมีเพษสัมพันธ์เป็นอย่างไร เพราะสิ่งนี้คือ?

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

20 0

11. ประชุมทีมงานครั้งที่ 4

วันที่ 15 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

วางแผนการทำงานร่วมกันและสรุปผลการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ ครั้งที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปประเด็นในการประชุมกากับทิศ ครั้งที่ 1

  • เห็นภาพรวม

  • เห็นทีม และบทบาทของพี่เลี้ยง

  • ได้ไอเดีย และรู้แนวทางเพิ่มเติม เพื่อพัฒนางานอย่างไรต่อไป

  • เซ็ต ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ เป็นทุก 3 เดือนครั้ง เพื่อให้ที่ประชุมได้กากับทิศทางการดาเนินงานและชี้แนะในประเด็นการทางานของโครงการที่สำคัญ

  • การประชุมวันนี้ ทีมยะหริ่ง ไม่ได้เข้า โดย

o ทีมยะหริ่ง ทำงานกับพื้นที่ได้ดี มีการประสานคุยงานกับทีมในพื้นที่ เน้นตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง และมีชุดกิจกรรม

o มี 9 โครงการ ประเด็นตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใช้เงินตำบลทั้ง 9 โครงการ

  • โครงสร้างทีมทำงาน ใน เฟส 2 มีโครงสร้างทีมงาน 4 ส่วน ดังนี้

▪ ทีม คกก.กำกับทิศ

• มีหน้าที่การกำหนดทิศทางการทางานให้สอดคล้องกับแหล่งทุน และพื้นที่

▪ ทีมวิชาการ

• มีการเปลี่ยนแปลงทีมวิชาการและมีคนเข้ามาใหม่

• หน้าที่ ประเมินและปรับโมดูล

▪ ทีมภาคสนาม

• มีหน้าที่ขับเคลื่อนการประเมิน ในกลุ่ม

o พี่เลี้ยงแต่ละชุมชน

o ทีม พชอ. ทีมนี้จะมีพี่เปิ้ลคอยช่วย เพื่อให้ พชอ. เขียนโครงการโดยใช้งบกองทุนตำบลได้

ทีมสื่อ

• ดูข้อมูลจากทีม คกก. กำกับทิศ และทีมวิชาการ ว่ากำกับทิศอย่างไร จะสร้างเนื้อหาอย่างไร

• จัดทำสื่อ และส่งให้ทีมภาคสนามได้นำไปใช้ เพื่อดูประเด็น เนื้อหาสาระ ก่อนเผยแพร่ต่อไป


เรื่องหาทีมพี่ลี้ยง อีก 15 อำเภอ (ชุดใหม่)

  • แจ้งหนังสือถึงนายอำเภอกับ สสอ. เพื่อให้ พชอ. หรือ พชต. สมัครเข้ามา และเราต้องไปทางเลือกด้วย คือหาเครือข่ายภาคประชาสังคมมาร่วมค้นหาพื้นที่

  • ส่วน สสจ. และ ผู้ว่า ทำหนังสือเรียนแจ้งเพื่อทราบ (ให้ได้ข้อสรุปจากอำเภอ แล้วค่อยเรียนแจ้งผู้ว่าฯ จากนั้นค่อยทำ MOU ระดับจังหวัดต่อไป)

๑. ทำหนังสือแจ้งให้ทราบและคัดเลือกพื้นที่(อำเภอหรือตำบล)

๒. สำเนาหนังสือถึง สสอ.เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการ (เราคัดให้เหลือเพียง ๑๕ อำเภอ)

๓. หากถึงเวลาแล้วยังไม่ได้พื้นที่เลย เราต้องเข้าไปหาเอง และถามเครือข่าย เพื่อหา อาเภอหรือตาบลมาร่วมโครงการ

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

6 0

12. ประชุมทีมพี่เลี้ยงโครงการเดิม

วันที่ 15 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

หารือการขยับพื้นที่ทำงานกับทีมพี่เลี้ยงโครงการเดิม พื้นที่นำร่อง 4 อำเภอ 3 จังหวัด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ)ประชุมทีมพี่เลี้ยงโครงการเดิมของเฟสที่ 1 มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 14 คน โดยมีประเด็นพูดคุยดังนี้

  • สรุปการประชุมการกำทิศ วันนที่ 29 ตุลาคม 2564

  • แผนการดำเนินงานของโครงการในระยะที่ 2

  • การขยับการทำงานของพื้นที่นำร่อง 4 อำเภอ เดิม

  • การดำเนินงานของทีมสื่อ

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

  1. ดร.ซอฟียะห์ นิมะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  2. นางสาวฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  3. นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  4. นายอิลฟาน ตอแลมา สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข

  5. วรรณาพร บัวสุวรรณ โรงพยาบาลยะหริ่ง

  6. นางสาวฝาตีเม๊าะ เจ๊ะอุบง สมาคมศิษเก่าบัณฑิตอาสา ม.อ.

  7. ธีรพจน์ บัวสุวรรณ โรงพยาบาลยะหริ่ง

  8. นายสมมาตร์ ปิยายีไทย สสอ.รามัน

  9. นายอิสมาแอล สิเดะ สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  10. นางสาวซูไฮลา แวแยนา สสอ.เมืองปัตตานี

  11. นางสาวมีรา แมดิงแว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบาเจาะ

  12. อุษา เบ็ญจลักษณ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองปัตตานี

  13. นายมะยูนัน มามะ ภาคสนามโครงการ

  14. นางฐนัชตา นันทดุสิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เริ่มประชุมเวลา 9.45 น. อาจารย์ซอฟียะห์ แนะนำโครงการเฟซที่ 2 พูดคุยประเด็นพี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 5 ตำบล 4 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งโครงการการแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจะขยับในเฟสที่ 2 จะขยายพื้นที่เป็น 19 อำเภอ 20 ตำบล โดยทีมพี่เลี้ยงชุดเดิมเป็นทีมที่มีความสำคัญต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน โดยกลไก พชอ.นอกจากนายอำเภอ และสาธารณสุขอำเภอแล้ว ทีมพี่เลี้ยงจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยในการชงเรื่อง การเอาโมดูลไปขยายต่อกับพื้นที่และสามารถทำแผนการทำโครงการกับพื้นที่ จนออกแผนโครงการมา เพื่อไปต่อยอดในการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยที่ผ่านมาได้เห็นชัดของ อำเภอยะหริ่ง ตำบลตาแกะ สามารถของบประมาณสนับสนุนได้

สรุปการประชุมการกำทิศ วันนที่ 29 ตุลาคม 2564

ในทีมจะมีผู้รับผิดชอบโครงการประกอบด้วย ทีมประสานงานในพื้น ทีมออฟฟิศ ทีมภาคสนาม และก็มีทีมพี่เลี้ยงจาก 4 อำเภอ 5 ตำบล ก็จะขาดในส่วนของพชต.และพชอ.ด้วย มีทีมวัยรุ่นเข้ามาที่จะให้ความเห็นว่าการขับเคลื่อนในเฟสที่ 2 เรื่องของการตั้งครรภ์วัยรุ่นจังหวัดชายแดนใต้จะมีทิศทางอย่างไร ได้ข้อสรุปมากมายจากทีมวิชาการที่ต้องการ ที่ต้องการทราบผลกระทบค่อนข้างเยอะ โดยต้องอาศัยทีมในครั้งนี้ว่าจะมีการออกแบบต่ออย่างไร แต่ละทีมที่ได้มาเสนอค่อนข้างพูดชัดต่อประเด็นของตนเอง และได้มีการสรุปสไลด์ เพื่อให้คณะกรรมการกำกับทิศได้เห็นว่าเฟสที่1 ได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง สรุปแล้วเฟสที่ 1 ได้พัฒนาเรื่องของโมดูล ใน 5 หน่วยการเรียนรู้หลัก เฟสที่ 2 จะมีการปรับเปลี่ยนโมดูลใหม่ เพราะของเดิมเนื้อหาค่อนข้างเยอะ เฟสเดิมจะเน้นใน 5 โมดูล คือ เน้นความรู้ เน้นให้พชอ.ทำงานเป็นทีม ฝึกในการทำแผนโครงการ และเน้นการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ในการประเมินติดตามผลที่ผ่านมาจะอาศัยทีมพี่เลี้ยง แต่ในเฟสนี้จะเพิ่มทีมประเมินจะให้ประเมินแบบ DE เพื่อใช้ในการประเมินเชิงพัฒนาเพื่อให้ผู้รับการประเมินไม่รู้สึกเครียด และโมดูลสุดท้ายเป็นโมดูลของทักษะการปฏิบัติการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับพื้นที่ ที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ไปทั้งหมด 40 ครั้ง จำนวน 4 พื้นที่ พื้นที่ละ 10 ครั้ง ส่วนอำเภอที่ดำเนินงานจะเป็นอำเภอเมืองปัตตานีจะใช้พื้นที่ของตำบลรูสะมิแล อำเภอยะหริ่งจะใช้ตำบลบางปูและตำบลตาแกะ อำเภอรามัน จะใช้ตำบลโกตาบารู อำเภอบาเจาะ จะเป็นตำบลบาเระใต้
ตัวอย่างของการดำเนินการในพื้นที่

มีหน่วยลาดตระเวนเฝ้าระวังของหน่วยชรบ.ของโกตาบารูที่เป็นพื้นที่เด็กแว๊น ตำบลตาแกะจะเป็นพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงรุก โดยจะปกปิดข้อมูลเป็นความลับ อิหม่ามจะมีการดูแลวัยรุ่นโดยตั้งอนุกรรมการอิหม่ามน้อย ทำหน้าที่ดูแลเรื่องศาสนา เรื่องการฝึกกีฬา เด็กผู้หญิงจะดูแลผู้ป่วยติดเตียง ตำบลบางปูจะเป็นการฝึกอาชีพ ศาสนา การท่องเที่ยวชุมชนดำเนินการด้วยเด็กและเยาวชนเอง ตำบลบาเระใต้จะเป็นการร่วมมือกันในตำบลโดยการทำนิกะห์ไกด์ไลน์และต่อยอดโครงการเด็กคลอดออกมาแล้วมีภาวะพิการ พื้นที่ที่มีการการบรรจุเป็นประเด็นของพชอ.ในปี 64 มีอำเภอเมืองปัตตานี อำเภอรามัน และอำเภอบาเจาะที่ได้รับการบรรจุ ยกเว้นของอำเภอยะหริ่งได้รับบรรจุเป็นของแผนพชต. ข้อเสนอแนะจาก สสส.และผู้ทรงคุณวุฒิ เฟสนี้ทางสสส.และผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาและให้ความคิดเห็นว่าใช้งานง่าย ถ้าอยู่ในส่วนพชอ.ก็จะนึกแผนนึกโครงการออก และถ้าอยู่ในวัยรุ่นก็จะเป็นข้อมูลของอนามัยเจริญพันธ์ ควรจะเข้าถึงข้อมูล แหล่งบริการที่ไหน เพื่อที่จะเข้าถึงได้จะต้องตอบโจทย์ทั้ง 2 โจทย์ โจทย์แรกคือผู้ใช้โมดูล คือ พชอ.หรือ พชต. โจทย์ที่ 2 คือทีมวัยรุ่นในพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นว่าเขายังนึกภาพไม่ออก เพราะเฟสแรกเป็นการทดลองโมดูล ดูความเป็นไปได้ของโมดูล พอเฟสที่2 ได้ทำจริงจังมากขึ้น เฟสนี้สสส.ได้เสนอให้จัดทำในพื้นที่ 19 อำเภอ โดยเฟสหน้าจะให้ครอบคลุมทั้ง 33 อำเภอ ในเฟสนี้ถ้าพัฒนาโมดูลมาแล้วทั้งพื้นที่เก่า และใหม่จะต้องมาเรียนรู้โมดูลทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้ต่ออย่างไร จะเสริมความเข้มแข็งของพื้นที่ คือ แฟสที่แล้วจุดแข็งคือ ทีมพี่เลี้ยงเป็นปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน สสส.เลยให้มีงบต่อในเฟสนี้เพื่ออบรมทีมพี่เลี้ยงและทีมประเมินที่ยังไม่เคยสร้างในเฟสแรก โดยมีทีมประเมินขึ้นมาในระดับตำบล อาจจะต้องคัดทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่มาเป็นทีมประเมินเพื่อที่จะยึดโยงในพื้นที่ต่อไป

แผนการดำเนินเนินงาน

  • ทีมวิชาการจะมีการพัฒนาคู่มือออกมา 2 เล่ม สำหรับพี่เลี้ยงและทีมประเมิน สุดท้ายแล้วที่ต้องการคือ Road map จังหวัดและมีแผนงานโครงการพื้นที่ คือในระดับ พชต. และพชอ.และมาทำในส่วนของ MOU มาขับเคลื่อน โดยที่ MOU จะเป็นการเริ่มต้นการขับเคลื่อนในเฟสหน้า สุดท้ายโครงการในเฟสนี้จะมาเล่า แค่ 4-5 ประเด็น เพื่อไปปรับโมดูลที่ทำไว้ หรือไปพัฒนาใหม่โดยไปคุยกันในพื้นที่และก็ค่อยมานำเสนอในเวทีการประชุมความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิอีกครั้ง และมีการจัด Workshop ปรับพื้นที่ทั้งพื้นที่เก่า และพื้นที่ใหม่ให้กับทีมพี่เลี้ยงและทีมประเมิน

  • Fieldwork จะเชิญทีมภาคสนามมาเพื่อทำความรู้จักกับทีมเก่าก่อน ให้ทีมพี่เลี้ยงเก่าเล่าว่า ทำอะไร อย่างไร ในส่วนของการประเมินโมดูลที่เราพัฒนาแก้ไขอยู่ในเกณฑ์ดีไหม ประสิทธิผลเป็นอย่างไร ประเมินพี่เลี้ยง ประเมินทีมประเมิน ภาพรวมของจังหวัดจะเป็นการขับเคลื่อนพื้นที่เชิงนโยบายว่าแต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัดจะขับเคลื่อนประเด็นการตั้งครรภ์อย่างไรภายใต้สถานการณ์โควิด

  • ก่อนที่จะปิดโครงการจะมีการเชิญทั้ง 19 อำเภอมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่าการดำเนินงานมีลักษณะอย่างไร จุดที่ควรเรียนรู้ จุดที่ควรระวัง จุดที่จะไปต่อยอดกับพื้นที่ เฟสนี้ระยะเวลา 18 เดือน สิ้นสุดเดือนเมษายน ปี 66 มีการถอดบทเรียนและสื่อสาธารณะ

การขยับพื้นที่ของแต่ละพื้นที่

พชอ.เมืองปัตตานี: การดำเนินโครงการได้หยุดไปพักนึง จากสถานการณ์โควิด แต่ในระดับพื้นที่ได้ติดตามและได้ฟังจากไซนัปเพราะว่าไซนัปได้เอาโครงการไปนำเสนอในงานวิชาการซึ่งรับรางวัล และได้นำเสนอระดับเขต แต่ภาพรวมอำเภอปัตตานียังไม่ได้เรียกประชุม เพราะสถานการณ์โควิดและผู้ป่วยค่อนข้างเยอะ ก็อาจจะเป็นหลังจากนี้ที่มีการพูดคุยอีกครั้ง คุณสมมาตร:ที่โกตาบารูมีหลายฝ่ายที่เข้ามามีบทบาท มีการเข้ามามากที่สุด คือวัยรุ่น นอกจากนี้ยังได้การสนับสนุนจากกลุ่มสตรีเข้ามาบทบาท หลักจากนี้จะมีการสนับสนุนจากเทศบาลโกตาบารูซึ่งตอนนี้ได้เปลี่ยนผู้นำแล้ว และอีกทางคือทางรพสต.โกตาบารูที่เข้ามามีบทบาทและทางอำเภอด้วย สำหรับโกตาบารูไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าจะขยายอาจจะต้องดึงหลายฝ่ายให้มาก หลายขาดีกว่าขาเดียว เพราะฉนั้นต้องใช้ระยะเวลา

คุณมิรา:ในส่วนของอำเภอบาเจาะนายอำเภอได้ย้ายไป อีกท่านคือ ท่านสาธารณสุขอำเภอบาเจาะได้เกษียนไปแล้วเช่นกัน เลยต้องมีการนำเสนอกับท่านนานอำเภอคนใหม่และก็เจ้าหน้าที่สสอ.บาเจาะมาใหม่ ในส่วนอำเภอบาเจาะทุกพื้นที่จะมีปัญหาของโควิด คือลงพื้นที่ฉีดวัคซีนเชิงรุกทุกตำบล ในส่วนของการต่อยอด คือตตอนนี้ต้องหยุดดำเนินการทุกอย่าง แต่ในส่วนพชอ.จะมีการประชุมเกี่ยวกับโควิด แต่การดำเนินงานการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของบาเจาะ ตำบลบาเระใต้ได้หยุดลง รอบนี้น่าจะเปลี่ยนหมู่บ้านใหม่ของบาเระใต้ น่าจะดำเนินการใหม่เชิงรุกของบาเระใต้ ในส่วนของประเด็นที่จะทำพชอ.ใหม่ จะทำในภาวะของการพิการในเด็ก แต่ต้องสอดคล้องกับนายอำเภอคนใหม่จะเห็นด้วยหรือไม่ จะต้องมีการเสนออีกรอบต่อนายอำเภออีกรอบ ในการดำเนินถ้าจะเริ่มยังไงก็จะชี้แจงอีกที คุณมะยูนัน: เรื่องของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีมานานพอสมควร ในพื้นที่นราธิวาส ก่อนหน้านี้ได้มีการขยับอยู่ช่วงนึง สำหรับองค์กรที่ดูแลโดยตรงนี้ พอหลังๆไม่ค่อยได้เข้ามา ก่อนหน้านั้นได้เข้ามาเล่นในสพม.15 แต่ช่วงหลังได้เงียบหายไป สำหรับเหตุการณ์ที่วัยรุ่นตั้งครรภ์ในพื้นที่ตอนนี้ในเชิงรุกของประชาชนจะมีข้อมูลเยอะโดยสถาบันการศึกษาที่เปิดใหม่โดยเฉพาะมนร.ทำให้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีข้อมูลเยอะขึ้นกับก่อนหน้านั้นที่เรายังไม่มีมหาลัยในพื้นที่ ข้อมูลอาจจะเป็นระดับมัธยมศึกษาแต่ตอนนี้จะเข้าไปสู่ระดับมหาวิทยาลัยด้วย

คุณอิสมาแอ: ประเด็นเรื่องของการตั้งครรภ์ตามที่หลายฝ่ายอยากให้มีการทำงานที่หลากหลายองค์กรที่เข้ามาร่วมกันทำงาน ที่ผ่านมาทุกฝ่ายก็ได้ทำงานอยู่พยามผลักดัน และก็เข้าสู่กระบวนการแต่ละหมู่บ้าน ในการทำงานเชิงนโยบายถือเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องมาเกี่ยวกัน ถือเป็นการร้อยเรื่องร้อยราวให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน ก็จะส่งผลต่อความสำเร็จมากขึ้น ณ วันนี้โดยสถานการณ์โควิดก็อาจจะทำให้การทำงานลดเปอร์เซ็นต์ลงของการพบเจอกัน อาจจะต้องใช้ผู้นำมาคุยกันเป็นหลัก

คุณอานัติ: ตัวแทนในพื้นที่มีศักยภาพเยอะ กระบวนการที่วางไว้ในตัวโครงการค่อนข้างชัด แต่ช่วงนี้เข้าใจและก็เห็นใจว่า งานนี้ไม่ได้เป็นประเด็นหลัก และโควิดก็มาแรงมากในช่วงนี้ สิ่งที่ท้าทายคือ จะขยับงานนี้ยังไง ภายใต้สถานการณ์โควิด อาจจะเป็นโจทย์ที่ต้องมาคิดร่วมกัน อาจจะเป็นประเด็นเดียวที่ต้องมาหารือ หาทางออกแต่ก็ต้องมีการเรียนรู้เข้าไป

ประเด็นที่จะเอาไปในการทำสื่อ ในเรื่องของการพัฒนาโมดูล ร่วมกับทีมวิชาการในการถอดบทเรียน

คุณอิลฟาน: ส่วนที่ได้รับสื่อกับวิชาการจะดำเนินการขั้นแรก คือ โมดูลปีที่ผ่านมาปรับร่างคู่มือให้เรียบร้อย และเนื้อหาให้น่านำไปใช้ เมื่อโมดูลเสร็จก็จะให้ทีมวิชาการมาดูอีกที จะนัดให้ทางวิชาการมารีวิวอีกครั้ง พอเสร็จจะคุยกับทีมวิชาการที่ผ่านมาน่าจะมีประเด็นบ้างอย่างที่สามารถสร้างคอนเท็นต์ในการทำสื่อต่อไป ก็มีทีมงานลงพื้นที่เก็นคอนเท็นต์มา ซึ่งการลงไปเก็บต้องขอความร่วมมมือจากพื้นที่เป้าหมาย หลังจากนั้นได้คอนเท็นต์ออกมาทีมจะทำประเด็นที่เป็นภาพกว้างก่อน จะย่อยแต่ละส่วนไป เพราะว่าสื่อหากทำอะไรที่ยาว ทีมเยาวชนสมันนี้จะเสพสื่อได้ไม่นาน ต้องทำเป็นซีรี่ สิ่งนี้คือแนวคิดการทำสื่อ ในการลงสื่อจะมีทาง Facebook เป็นลักษณะการลงไปเรื่อยๆ Instagram กับ Tiktok ด้วย จะใช้ 3 ช่องทางเป็นหลัก หลังจากนั้นจะตามจากกระบวนการทั้งทางออนไลน์และไปสอบถาม ซึ่งตรงนี้จะมีทีมนักศึกษาลงไปเก็บ เนื่องจากเขาได้ลงพื้นที่แล้วจากกลุ่มเปราะบาง จะใช้กระบวนการเก็บข้อมูลจาก Line อันนี้จะเป็นกระบวนการสื่อออนไลน์ พอได้ส่วนนี้ก็จะส่งต่อให้ทีมวิชาการเพื่อประมวลสิ่งที่ลงไปทำ เพื่อที่จะเอาเนื้อหาไปแทรกในโมดูลอีกครั้ง พอเสร็จก็จะปรับโมดูลที่ใช้ได้แล้ว อย่างน้อยคือ 80% สามารถให้ทางพชอ.ได้เอาเนื้อหาในโมดูลปรับตรงนี้ไป ในส่วนทีมวิชาการจะมี 3 ส่วน คือทีมวิชาการทำเรื่องโมดูล ทำเรื่องของการติดตามประเมิน และสำรวจวิจัย ซึ่งระยะเวลาตามความเหมาะสมของงาน

อาจารย์ซอฟียะห์: ในการทำสื่ออาจต้องคุยกับทีมวิชาการ เพราะต้องการรายละเอียดเยอะ อาจต้องคุยกัน ในการลงเนื้อหาอยากให้มีคอนเท็นต์ มากกว่าการมีแค่รูป เพราะมีแค่รูปไม่รู้ว่ากิจกรรมนั้นทำอะไร เพื่ออะไร อยากให้มีคอนเท็นต์เล็กน้อย


เลิกประชุมเวลา 11.20 น.

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

10 0

13. ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอแม่ลาน จ.ปัตตานี

วันที่ 16 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานีในวันพฤหัสบดี ที่ 16 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมองอค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานีในวันพฤหัสบดี ที่ 16 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมองอค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

นายสมศักดิ์ ทิพธ์มณี  นายอำเภอแม่ลาน น.ส.อุสนี สาแลมะ  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.แม่ลาน นางออรัญญา ฤทธิเดช  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.แม่ลาน น.ส.อาอีเสาะ สาแล๊ะมะ  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.แม่ลาน นายชานนท์ มณีศรี  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสจ.ปัตตานี น.ส.รอฮานา ยามา  ผอ.กศน.อำเภอแม่ลาน น.ส.อารียา อำมาตย์  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.แม่ลาน น.ส.ซูนีตา มะเซ็ง  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.สต.แม่ลาน นายสมรัฐ คงเขียว  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รักษาการ สสอ.แม่ลาน น.ส.จิราภรณ์ บุญไชยสุริยา  ครูกศน.อำเภอแม่ลาน นางนิภารัตน์ แก้วยอดจันทร์  นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ อบต.แม่ลาน น.ส.สุนทรี โตบุรี  หัวหน้าสำนักปลัด อบอต.แม่ลาน น.ส.จิราพร สุวรรณ์  ผช.สาธารณสุข อบต.แม่ลาน น.ส.สุนิสา กาญจนจันทร์  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สสอ.แม่ลาน ดร.ซอฟียะห์ นิมะ  สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ  สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายอิลฟาน ตอแลมา  สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข นายอานัติ หวังกุหลำ  สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา ม.อ. น.ส.เกตุกนก พงษ์นุรักษ์  ผู้ช่วยโครงการ น.ส.เกตุสุดา พงษ์นุรักษ์  ผู้ช่วยโครงการ วัตถุประสงค์

เพื่อหารือการดำเนินงานและชี้แจงรายละเอียดโครงการ พื้นที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี สรุปสาระสำคัญ

นายอำเภอ ให้การต้อนรับแล้วกล่าวเปิดงาน

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเกิดขึ้นกับเด็กที่ไม่มีความพร้อม จึงส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและผู้ปกครองในอนาคต เมื่อเด็กทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีเหตุผล ผลที่ตามมา จึงเกิดปัญหาการหย่าร้างและการตั้งครรภ์ไม่มีคุณภาพเพราะเด็กอายุน้อย

ปัญหาหลักๆ ที่อาจเกิดขึ้น คือ เป็นภาระของครอบครัว

แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ มีทีมพชอ.ทุกอำเภอ เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาให้ประชาชนทุกประเด็น และมี สสอ. กศน. เข้ามาร่วมแก้ปัญหานั้นด้วย เน้นส่งเสริมให้เด็กมีความพร้อมในการใช้ชีวิตคู่ ซึ่งกศน. เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องแก้ไข

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ อาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ พูดคุยในประเด็นดังนี้

เรื่องการตั้งครรภ์มีผลลัพธ์อะไรบ้าง เรื่องระดับการศึกษาของเด็กมีผลต่อการตั้งครรภ์ในวัยวุ่นหรือไม่ ให้วัยรุ่นเป็นศูนย์กลาง มีสถานบริการร่วมป้องกัน การสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ ส่งเสริมงานวัยรุ่นในตำบลแม่ลานให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีศูนย์อนามัยที่ 12 มาร่วมในการขับเคลื่อน คุณสุนิสา แลกเปลี่ยนประเด็น

เข้ามาขับเคลื่อนได้วางแผนในอนาคตต่อไป สามารถนำและขับเคลื่อนงานตรงนี้ได้ ช่วยให้แม่ลานพัฒนาขึ้นดียิ่งขึ้น พร้อมจะสู้ไปด้วยกัน ยินดีเข้าร่วมโครงการต่อไป นับเป็นโอกาสที่ดี สิ่งที่ดีในการพัฒนาขับเคลื่อน ดีใจที่ อ.ซอฟิยะห์ เข้ามาช่วยสนับสนุนโครงการให้แก่คนในพื้นที่ คุณอิลฟาน ตอแลมา แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

มีการพัฒนาโครงการและจะเข้าไปขับเคลื่อนต่อไป มีทีมพชอ.เข้าไปขับเคลื่อนหรือไม่ พี่สุนิสาแลกเปลี่ยนประเด็นนี้

ประเด็นอาจไม่อยู่ในพชอ. ณ ตอนนี้อยากรอคนที่มีอำนาจมากกว่าเข้ามาเติมเต็ม มาขับเคลื่อน เช่น สสอ. หรือ คนขับเคลื่อนที่มีความชัดเจน คุณอิลฟาน ตอแลมา แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

ยึดเครือข่ายและมีการดำเนินงานเลย ให้ทางเครือข่ายหรือพชอ.ในพื้นที่ จัดกระบวนการร่วมกัน จะจัดให้มีการจัดอบรมร่วมกันอีกครั้ง ประกอบด้วย ความรู้, นโยบาย, พรบ., การจัดทำแผนและการประเมินผล โดยจัดทำทุกประเด็น ให้ได้เข้าใจกระบวนการที่เราทำ ไม่ได้แค่ประเด็นของเราอย่างเดียว แต่ยังมีประเด็นอื่นที่น่าสนใจและมีความเกี่ยวข้องมาร่วมกันปรึกษาหารือด้วย คุณอานัติ หวังกุหลำ แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

มีการลงพื้นที่ ปฏิบัติการ ชวนคุย ตั้งเป้าหมาย มีการดำเนินงานตามแผนต่อไปอย่างไรบ้าง ดูแหล่งทุนในพื้นที่ ที่สามารถขยับขับเคลื่อนงานของเราได้ หลังจากนั้นจะมีการลงพื้นที่ ประมาณ 3-4 ครั้ง สุนิสาแลกเปลี่ยนประเด็นนี้

จำเป็นต้องมีแกนนำหลักหรือไม่ เช่น กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน การรักษาความมั่นคงในพื้นที่ กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่ได้เข้ามีบทบาทเท่าไหร่ ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

เอาตัวเลือกที่มีบริบทในพื้นที่นั้นๆ ได้เลย เช่น คนที่ทำงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็ได้ (อาจเลือกคนอื่นๆ ได้เข้ามาได้โดยไม่จำกัดเฉพาะคนที่มีตำแหน่งทางสังคมเท่านั้น) แต่การลงพื้นที่อาจต้องมีการแจ้งต่อผู้ที่มีตำแหน่งหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ทราบก่อนการจะลงพื้นที่จริง สุนิสาแลกเปลี่ยนประเด็นนี้

เลือกพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย สะดวก และเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาจริงๆ เพราะพื้นที่นี้มีประชากรเยอะ มีคนนอกพื้นที่เข้ามาด้วยอยู่ในพื้นที่นี้ด้วย ทำให้มีประชากรแฝง เช่น ตั้งครรภ์มาจากที่อื่น แล้วมาคลอดในพื้นที่นี้ ข้อมูลที่ได้อาจมีเฉพาะจำนวนประชากรจากทะเบียนราฏร์เท่านั้น เลือกพื้นที่ป่าไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจ เป็นพื้นที่ที่มีปัญหา แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ บริบทของพื้นที่ เช่น เครือข่ายเข้าไม่ถึง มีประเด็นที่ท้าทาย แต่ก็ไม่จัดเป็นอุปสรรค พื้นที่ป่าไร่ เป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอแม่ลาน เพราะมีประชากรเยอะ มีข้อมูลและการได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง มีประชากรเยอะ มี 2 รพ.สต. รพ.สต ที่ 1 เข้าถึงง่ายและรพ.สต.ที่ 2 เข้าถึงค่อนข้างยาก เพราะมีประชากรเยอะ และมีพื้นที่เยอะกว่า แต่มีความร่วมมือจะดีมาก ยอมรับหากทีม ม.อ. เข้ามาช่วยขับเคลื่อนโครงการ เพราะมีทีมวิชาการที่ดี มีหลังการทำงาน ทำให้งานที่ออกมาจะเป็นงานใหม่ๆ ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม แต่งานของสาธารณสุข เน้นการทำงานแบบเดิมๆ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มาอาจจะได้ก็คล้ายๆ แบบเดิม พื้นที่ป่าไร่ มีทีมแกนหลัก คือ ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนที่มีความร่วมมือและมีความพร้อม ชาวบ้านในพื้นที่ ต้องการพัฒนาพื้นที่ของป่าไร่ แต่ไม่แน่ใจว่าควรเริ่มยังไง ต้องเข้าไปให้ความรู้ ให้คำแนะนำ พูดคุย แลกเปลี่ยนแก่ชาวบ้านในพื้นที่ให้มีความเข้าใจเรื่องเดียวกันไปในทิศทางเดียวกัน จึงมองว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ค่อนข้างท้าทาย เป็นโอกาสของคนในพื้นที่ เพราะได้มีหลักวิชาการเข้ามาแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น สรุป เลือกพื้นที่ป่าไร่ ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

วางแผนเลือกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวในการขับเคลื่อนโครงการ ผู้เข้าร่วม workshop ได้แก่ แกนนำเยาวชน, ผู้ใหญ่บ้าน, กศน.เขตป่าไร่, ปอเนาะ เช่น ผู้จัดการโรงเรียน, อบต.ป่าไร่, ปลัดตำบลและสภาเยาวชนอาจมีการประชุมทั้งในรูปแบบ online ให้แก่กลุ่มข้าราชการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ Zoom ได้ และจัดกิจกรรมในรูปแบบ onsite ให้แก่ กลุ่มชาวบ้าน ข้อมูลจากเสริมจากแม่ลาน

คำขวัญประจำอำเภอ พืชผักผลไม้ดี ดิเกฮูลูดัง มโนราห์กลองยาวเด่น ถิ่นวิปัสสนา

อาณาเขต ทิศเหนือจรด เขตอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ทิศใต้จรด เขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ทิศตะวันออกจรด เขตอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ทิศตะวันตกจรด เขตอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี การปกครอง ประกอบด้วย 3 ตำบล 22 หมู่บ้าน 3,365 หลังคาเรือน ประชากร 16,493 คน แบ่งเป็น เพศชาย 8,349 คน เพศหญิง 8,144 คน

ภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศ: เป็นที่ราบลุ่ม การคมนาคมมีถนนสาย 418 ตัดผ่านถนนในชุมชน หมู่บ้านหลายสายเป็นถนนลาดยาง และคอนกรีต

ลักษณะภูมิอากาศ มี 2 ฤดู ในฤดูร้อนอากาศจะร้อนชื้น ในฤดูฝนมีฝนตกบ่อยและมีน้ำหลากประกอบกับมีคลองชลประทานล้อมรอบทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบางแห่ง

ประชากร / การปกครอง นับถือศาสนาพุทธ 61% และนับถือศาสนาอิสลาม 39%

อาชีพและสภาพเศรษฐกิจ อาชีพหลัก : เกษตรกรรม สวนยางพารา และทำนา

อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว แพะ แกะ และประมงน้ำจืด

การศึกษา

ไม่ได้ศึกษา ร้อยละ 11.20 (1,596 คน) ประถมศึกษา ร้อยละ 36.49 (5,199 คน) มัธยมศึกษา ร้อยละ 39.77 (4,242 คน) อนุปริญญา/ปริญญาตรี ร้อยละ 10.87 (1,549 คน) สูงกว่าระดับปริญญา ร้อยละ 3.57 (509 คน) ไม่ได้ระบุ ร้อยละ 8.08 (1,152 คน) บริบทในพื้นที่

สังคมชนบท สองวิถี ครอบครัวแบบขยาย ฐานะปานกลาง ประชากรได้รับการศึกษาบางส่วน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ติดสังคม ออกกำลังกายไม่ต่อเนื่อง รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม ใช้สื่อสังคมออนไลน์ หน่วยบริการสาธารณสุขในเครือข่ายแม่ลาน

รพ.สต.ตำบล ป่าไร่ โรงพยาบาลแม่ลาน รพ.สต.ม่วงเตี้ย รพ.สต.แม่ลาน รพ.สต.บ้านต้นโตนด รพ.สต.บ้านคลองทราย เครือข่ายชุมชน

อบต. 3 แห่ง วัด 4 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง มัสยิด 16 แห่ง มัธยมฯ 1 แห่ง ประถมฯ ขยายโอกาส 2 แห่ง ประถมฯ 2 แห่ง กศน. 1 แห่ง ศพด. 7 แห่ง สถานศึกษาปอเนาะฯ 9 แห่ง วิสัยทัศน์

อนามัยการเจริญพันธุ์เข้มแข็ง บูรณาการเสริมสร้างโดยภาคีเครือข่ายในชุมชน

พันธกิจ

บูรณาการและเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการดำเนินงานเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์สุขภาพกาย สุขภาพจิตและการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นและเยาวชน พัฒนาองค์ความรู้เรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ ในระดับอำเภอและชุมชนอย่างต่อเนื่อง พัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น บุหรี่ สุรา สารเสพติด ความรุนแรงของวัยรุ่นและเยาวชน ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่อายุ 15-19 ปี (ที่มา : รานงานอนามัยแม่และเด็ก 30 เม.ย. 62)

ปี 2561 ร้อยละ 20 2562 ร้อยละ 40 2563 ร้อยละ 60 2564 ร้อยละ 100

ร้อยละของการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี

ปี 2561 ร้อยละ 15 2562 ร้อยละ 20 2563 ร้อยละ 40 2564 ร้อยละ 60 แผนการดำเนินงานด้านอนามัยเจริญพันธุ์โครงดารพัฒนาระบบบริการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

อบรมฟื้นฟูศักยภาพในการดูแลช่วยเหลือการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่เจ้าหน้าที่ รพ./PCU/เวชศาสตร์ อัตราของวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ที่ได้รับบริการคุมกำเนิดหลังคลอด > 80%รายงานกิจกรรมในชุมชน

การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนศูนย์ปฏิบัติการอำเภอแม่ลาน (ศปก.) ทุก 1 เดือน ประชุมคณะทำงานร่วมกันกับ MCH Bord และประชุม คปสอ.เดือนละ 1 ครั้ง ฐานข้อมูลด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ปี 2563

อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี มี15% อัตราเด็กและเยาวชนอายุ 15-24 ปี ใช้ถุงยางเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด 2.38% อัตราของการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า20 ปี มี 33.3% ร้อยละของหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่ได้รับบริการคุมกำเนิดด้วยวิธีสมัยใหม่ (Modern Methods) หลังคลอดหรือหลังแท้ง มี 5% กิจกรรมในพื้นที่ ปีงบประมาณ 2561 จัดโครงการอบรมวัยเรียน วัยใส เข้าใจเรื่องเพศ โดย อบต.แม่ลาน ปีงบประมาณ 2562 จัดโครงการโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ รู้ทันรู้จักเลี่ยง ไม่เสี่ยงเอดส์ โดย อบต.แม่ลาน ปีงบประมาณ 2562 จัดโครงการอบรมให้ความรู้การคุมกำเนิด โดย อบต.ป่าไร่ ปีงบประมาณ 2562 จัดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดย อบต.แม่ลาน ปีงบประมาณ 2562 จัดโครงการค่ายอบรมจริยธรรมฤดูร้อน โดย อบต.ม่วงเตี้ย ปีงบประมาณ 2563 อบต. แม่ลาน ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ในฐานะท้องถิ่นที่ขับเคลื่อนงานสุขภาวะเยาวชน ในงาน “คนใต้ หยัดได้ ครั้งที่ 2” ปีงบประมาณ 2561 มีการจัดโครงการกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา /เอดส์ / อนามัยการเจริญพันธุ์และสุขภาพ ในวิชาสุขศึกษา ม.1 – ม.6 ให้แก่นักเรียนโรงเรียนแม่ลานวิทยา ปีงบประมาณ 2562 มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา เอดส์ และกิจกรรมป้องกันพฤติกรรมด้านสุขภาพ ได้แก่ สุรา ยาเสพติด บุหรี่ ให้แก่นักเรียนโรงเรียนแม่ลานวิทยา ปีงบประมาณ 2563 มีการจัดโครงการเพศศึกษาพัฒนาทักษะชีวิต ให้แก่ กศน. ในพื้นที
ชนิดยาคุมกำเนิด


จำนวน 2561 2562 ยากิน - - ยาฉีด 1 1 ถุงยาง 4 4

อัตราของวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ที่ได้รับบริการคุมกำเนิดหลังคลอด > 80%


ชนิดยาคุมกำเนิด


จำนวน 2561 2562 ยาฝังคุมกำเนิด 0 4 ห่วงอนามัย 0 0 การบริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรอายุต่ำกว่า 20 ปี


ชนิดยาคุมกำเนิด


จำนวน 2561 2562 ยาฝังคุมกำเนิด 0 3 ห่วงอนามัย 0 0

การพัฒนาคลินิกวัยรุ่นและการขยายเครือข่าย

พัฒนาคลินิกวัยรุ่นเชิงรับ-เชิงรุก

1.พัฒนาศักยภาพในการดูแลช่วยเหลือการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่เจ้าหน้าที่ รพ./เจ้าหน้าที่ รพสต./PCU/เวชศาสตร์

2.ให้คำปรึกษาและการบริการวางแผนครอบครัวแก่มารดาวัยรุ่นหลังคลอดก่อน D/C ทุกราย

3.ประชาสัมพันธ์การให้บริการคลินิกวัยรุ่นและการป้องกันการคุมกำเนิดทั้งในโรงเรียนและในชุมชน

4.การบริการฝั่งยาคุมกำเนิดแก่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี

สิ่งที่จะพัฒนาต่อ

ประชุมติดตามการดำเนินงานอนามัยเจริญพันธุ์กลุ่มวัยรุ่นระดับอำเภอ เดือนละ 1 ครั้ง คณะกรรมการอำเภออนามัยเจริญพันธุ์ พร้อมภาคีเครือข่ายอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จัดกิจกรรมเชิงรุกในชุมชนทุกตำบล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ขยายกิจกรรม/โครงการอนามัยเจริญพันธุ์ ตำบลป่าไร่และตำบลม่วงเตี้ย เพิ่มการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมอนามัยเจริญพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกตำบลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ขยายแผนการสอนอนามัยเจริญพันธุ์ ในโรงเรียนประถม, โรงเรียนขยายโอกาส, ปอเนาะ ฯลฯ

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

25 0

14. ประชุมหารือ สสอ.ยะรัง จ.ปัตตานี

วันที่ 22 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีในวันพุธ ที่ 22 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุม รพ.สต.เมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีในวันพุธ ที่ 22 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุม รพ.สต.เมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

ผู้ปกครองนักเรียน ครู นักจิตวิทยา พยาบาลวิชาชีพ กำนัน อีหม่าม ตัวแทน อสม. นักวิชาการสาธารณสุข รองปลัดอบต. รองนายกอบต. สสอ.ยะรัง ผอ.รพ.สต.เมาะมาวี กล่าวเปิดการประชุม

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง 3 ประเด็นหลัก กล่าวโดยเลขาผอ.รพ.สตเมาะมาวี อนามัยแม่และเด็กเป็นประเด็นสำคัญและเป็นประเด็นหลักในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ยินดีที่ได้รับการขับเคลื่อนในหลายภาคีทุกภาคส่วน ตำบลเมาะมาวี เป็นพื้นที่ใหญ่ และมีเครือข่ายภาคีที่เข้มแข็ง เป็นชุมชนใหญ่และสามารถขับเคลื่อนได้ ข้อมูลของพื้นที่อำเภอยะรังและข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ (พอสังเขป) โดยพยาบาลสาธารณสุข

อำเภอยะรังมีปัญหาแม่และเด็กมาเป็นเวลานาน ปัญหาแม่ตาย (คลอดและเสียชีวิต) การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่ำกว่า 20 ปี หรือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ก็เป็นปัญหามาประมาณ 30 ปี ในปีที่ผ่านๆ มามีการตั้งครรภ์ ปีละ 1,000 คน ซึ่งในพื้นที่มีประชากรเกิน 10,000 คน มีการใช้ภาคีเครือข่ายในการพัฒนาขับเคลื่อนดูแลเยาวชน ในอนาคตจะเลือกพื้นที่เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาในทุกพื้นที่ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่อไป พื้นที่อำเภอยะรังคนฝากท้องส่วนใหญ่จะแต่งงานแล้ว ในปี 2561 ที่ผ่านมา พบวัยรุ่นตั้งครรภ์ จำนวน 11 ราย

ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ : ภาวะสุขภาพมารดาและภาวะสุขภาพลูก พื้นที่ตำบลยะรัง ให้ข้อมูลจากโรงพยาบาลเมาะมาวี

ในแต่ละปีพบว่ามีคนตั้งครรภ์เป็นจำนวนมาก ประมาณ 800-1,000 คน (รวมทุกช่วงอายุ) และในพื้นที่มีแม่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ไม่เยอะจนเป็นปัญหา แต่ปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำจะเยอะกว่า ส่วนเรื่องการวางแผนครอบครัวจะน้อยมาก ส่วนใหญ่แทบจะไม่มีการวางแผนครอบครัวเลย ทางโรงพยาบาลมีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมคนไข้ โดยการเยี่ยมแม่วัยรุนหลังคลอด พบว่าการตัดสินใจส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับผู้ปกครองมากกว่า เช่น การตัดสินใจเรื่องการเว้นช่วงหลังคลอด ตัววัยรุ่นเองไม่สามารถตัดสินใจเองได้ การตัดสินใจขึ้นอยูกับพ่อแม่และสามี ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมา ไม่มีการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น แต่ปี 2560, 2561, 2562 และ 2564 พบจำนวนวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำ สำหรับประเด็นการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่นไม่พึงประสงค์ จะเจอในพื้นที่เมาะมาวีด้วย

นักจิตวิทยา โรงพยาบาลยะรัง ยกตัวอย่างเคสการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น คนไข้กับแม่เข้ามาขอคำปรึกษาที่โรงพยาบาล เพราะตัวคนไข้เองไม่มาประจำเดือนเป็นเวลาหลายเดือน ได้มาขอคำปรึกษาและทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ จึงหาแนวทางในการทำแท้งต่อไป เพราะพ่อแม่รับไม่ได้และเห็นด้วยที่จะให้เอาเด็กออก

บางเคสหากมีแฟน จะแต่งงานตามหลักศาสนาและเลี้ยงลูก

ปี 2564 ผู้ที่เข้าไปขอคำปรึกษา มี 3 คน ที่โรงพยาบาลเมาะมาวี

ปี 2562 ผู้ที่เข้าไปขอคำปรึกษา มี 1 คน ที่โรงพยาบาลเมาะมาวี

ปัญหาหลักๆ ที่ส่งผลกระทบตามมา คือ กลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่พร้อมในการตั้งครรภ์และอยากเรียนต่อ

โรงเรียนไทยรัฐแลกเปลี่ยน ยกตัวอย่างเคส 1 ราย คือ เด็ก ป.6 ตั้งครรภ์ในวัยเรียน ณ ปัจจุบัน เด็กคลอดแล้ว ไปอยู่กับสามีที่อยู่จังหวัดนราธิวาส ระหว่างตั้งครรรภ์ให้หยุดพักการเรียนไม่กลับมาเรียนต่อ

โรงพยาบาลยะรัง เพิ่มเติมเคสข้างต้น ปัจจุบันเด็กได้หย่ากับสามีคนแรกแล้ว ปัจจุบันแต่งงานใหม่กับสามีคนใหม่ ทางโรงพยาบาลไม่สามารถควบคุมภาวการณ์มีบุตรได้ หรือเว้นช่วงการมีบุตร ให้เกิน 20 ปีได้ เพราะการตัดสินใจไม่มีผลต่อตัวเด็กจะขึ้นอยู่กับผู้ปกครองและสามีเป็นส่วนใหญ่

ก๊ะนี อสม. ม.2 ในพื้นเมาะมาวีที่มีจุดชมวิวสวยๆ เป็นสถานที่ที่เอื้อต่อการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น

อีหม่าม ม.2 บางครอบครัวมีสถาบันครอบครัวที่ไม่เข้มแข็ง พ่อแม่มีปัญหาในการดูแลลูก ซึ่งการเลี้ยงลูกส่วนใหญ่ไม่ได้ยึดตามหลักศาสนา เช่น เวลาประมาณ 5 โมง ถึง 7 โมง เป็นเวลาละหมาดมักริบ แต่เด็กไม่ได้ไปละหมาดกลับมั่วสุมอยู่กับการเพศตรงข้าม

ประธานกรรมการโรงเรียนไทยรัฐ ยกตัวอย่างเคส มีการตรวจ DNA ปรากฏว่าไม่ใช่ลูกของตัวเองเพราะเมื่อทำการแต่งงานกับฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ได้ประมาณ 5 เดือน จึงเกิดปัญหาจนต้องหย่าร้าง

สาเหตุหลัก มาจากสถาบันครอบครัวเป็นหลัก ทางแก้ไข คือ เน้นโต๊ะอีหม่าม ผู้นำศาสนาเป็นหลัก มีการแนะนำผ่านคุตบะห์เพื่อให้แนวทางให้ความรู้แก่เด็กวัยรุ่น ในเรื่องการแต่งงาน การดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์และหลังตั้งครรภ์

อาจารย์ ซอฟิยะห์ แลกเปลี่ยน พื้นที่ที่นี้เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นชุมชนมุสลิมเกือบ 100% ได้เห็นปัญหาเรื่องซีนา ปัญหาการตั้งครรภ์ ท้องไม่พร้อม ไม่ทราบว่าตัวเองตั้งท้อง และประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่กล้าไปขอคำปรึกษารพ.สต.หรือโรงพยาบาลเพราะไม่กล้า/อาย นวมทั้งถูกตีตราจากสังคม

สิ่งที่โครงการเข้ามาเน้น

ความปลอดภัยทั้งดุนยาและอาคีเราะฮ์ ป้องกันการผิดประเวณีก่อนการเกิดปัญหา พื้นที่ที่เป็นจุดเที่ยวจุดชมวิว อาจแก้ที่ทีม พชอ. ในหมู่บ้าน บริบทของพื้นที่ในปัจจุบัน เป็นพื้นที่มีการตั้งรับเยอะกว่า มี พรบ. ที่เอื้อให้แก่เด็กในปัจจุบัน อบต. เข้ามาช่วยผลักดันให้แก่เด็กวัยรุ่น ป้องกันตัวเองควบคู่กับหลักการอิสลาม เน้นให้เด็กมีทางเลือกควบคู่กับดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา ส่งเสริมให้แม่ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการตีตราของสังคม หรือตราบาปของสังคม ทำไมเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ในพื้นที่นี้ (เป็นปัญหาสังคม) ทำไมเด็ก ป.6 จึงท้องก่อนแต่ง ปัญหาของครอบครัว ชุมชนและอำเภอ เน้นการป้องกันก่อนการตั้งครรภ์ ไม่ใช่การแก้ปัญหาหลังคลอด การเรียนต่อค่อนข้างน้อย ทำให้อนาคตวูบดับ การตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพเริ่มน้อยลง ส่งผลต่อประเทศชาติในอนาคต (คนรุ่นเก่าแก่แล้วเสียชีวิตไป คนรุ่นใหม่จึงเข้ามาแทนที่) ประมาณ 30 ปีที่แล้ว ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาหนักมาก แต่ในปัจจุบันเริ่มลดลงมาแล้ว แต่หากเทียบในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วประเทศไทยยังเยอะอยู่ โครงการนี้ทำร่วมกับโครงการของนครศรีธรรมราช ซึ่งเน้นกลุ่มไทยพุทธ แต่ในส่วนของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเน้นบริบทของคนมุสลิม หัวใจหลักของโครงการ คือ พชอ. ร่วมขับเคลื่อนกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการและกศน.ซึ่งกศน.จะเป็นที่รองรับเด็กหลุดจากระบบเป็นจำนวนมาก เพราะเมื่อตั้งครรภ์แล้ว ไม่มาเรียนต่อในระบบ ต้องไปเรียนต่อที่กศน. ความหมายของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คือ การตั้งครรภ์ของแม่ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ซึ่งหลักการอิสลามไม่ส่งเสริมการคุมกำเนิดก่อนแต่งงาน (การคุมกำเนิด เช่น ยากิน, ยาฝัง, ยาฉีด, ใส่ห่วง ) ใช้หลักศาสนามาบูรณาการเพื่อหาทางออก สาเหตุที่เลือกพื้นที่สามจังหวัดชายภาคแดนใต้ เพราะพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการตั้งครรภ์มากที่สุดเมื่อเทียบกับเขตอื่นๆ ครอบครัวอาจไม่ใช่สถานที่มีความสุขที่สุดสำหรับคนบางคน เช่น ที่จะแนะเด็กมีการถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยพ่อของตัวเอง การตรียมการของพื้นที่

เชิญชวนในพื้นที่ขับเคลื่อนในการป้องกันร่วมกัน หากตั้งครรภ์มาแล้ว จะมีการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างไร มีการทำ MOU ประจำจังหวัด มีนโยบายสาธารณะออกมา จะมีการดูแลพื้นที่นี้ต่อยังไง องค์รวมของการจัดการปัญหา

ทีมถอดบทเรียน ทีมสื่อ ดูผลลัพธ์ด้วยความสำเร็จ จะมีการขับเคลื่อนต่อไปอย่างไร สรุป อยากให้ครอบครัว คือ พื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

ผอ รพ.สต. แลกเปลี่ยน

ขอบคุณอาจารย์และทีมงานที่มาแนะนำโครงการดีๆ มีประโยชน์กับภาคีเครือข่าย เป็นบทบาทหน้าที่ของเราโดยตรง เป็นอามานะฮ์ที่สำคัญในการดูแลกลุ่มวัยรุ่น ยึดหลักศาสนาเป็นทางนำในการแก้ปัญหา พร้อมจะร่วมมือกับทางม.อ.ต่อไป อาจารย์เลือกพื้นที่นี้ถูกแล้ว เพราะเป็นชุมชนเข้มแข็ง และเป็นทางนำในการขับเคลื่อนชุมชนให้เข้มแข็งต่อไปอีกด้วย คุณอิลฟาน แลกเปลี่ยนประเด็น

คุณลักษณะของงานมีคุณภาพ ต้องเน้นเด็กที่มีคุณภาพ เน้นการศึกษาในการบริหารจัดการคนในพื้นที่ เป็นภารกิจที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หน้าที่ด้านวิชาการ มีทีมอาจารย์เข้ามาช่วยสนับสนุน หน้าที่หลักๆ คือ เน้นทำสื่อ ทำข่าว นำเสนอแหล่งที่ดีๆ ต้นทุนทางสังคมให้แก่เยาวชนในพื้นที่ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่อไป ไม่ควรพูดถึงสิ่งที่ไม่ดี เน้นสิ่งที่ดีในการเผยแพร่ออกสู่ชุมชนและภายนอก มีเครื่องมือ ทีมวิทยากร สามารถขับเคลื่อนให้อย่างเหมาะสม ทาง ม.อ. มีการจัดสรรทุน แหล่งทุนให้ทางพื้นที่ ผ่านปลัด อบต. ในพื้นที่ อาจมีการขับเคลื่อนขยับงานต่อในอนาคต เป็นเฟสที่ 3 เพราะเฟส 1 เริ่มจาก 4 พื้นที่ แต่เฟส 2 ปรับเพิ่มเป็น 19 พื้นที่ คุณอานัติ พูดสรุปประเด็น สะท้อนปัญหา

สาเหตุ ความรู้ ความเข้าใจประเด็นท้องก่อนวัย ท้องในวัยรุ่น ผลกระทบ คือ ไม่ได้ศึกษาต่อ เกิดการตีตราจากสังคม เน้นการวางแผนครอบครัวเป็นหลัก ปัจจัยสาเหตุจากจุดชมวิว สถานที่ท่องเที่ยว หากมีช่องว่างจะทำให้เกิดปัญหาในแง่ลบได้ อีหม่ามสะท้อนสถาบันครอบครัว เช่น มิติด้านศาสนา เข้ามาช่วยแก้ปัญหา การตัดสินใจส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ปกครอง สามี ออกแบบร่วมกันว่าควรจะอยู่ตรงไหนให้มีความเหมาะสมกับทุกฝ่าย ระบบที่จะเอื้อ เช่น มีคลินิกให้คำปรึกษาหรือทีม อสม.และอีหม่ามจะมีคุตบะห์วันศุกร์ แต่ปัญหาคือเด็กจะรู้สึกอายเมื่อมาขอคำปรึกษา ทาพื้นที่มีทางออกในการแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไรและจะต้องจัดอะไรเข้ามาเพิ่มเติมหรือไม่ มีหน่วยงานส่วนไหนเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ เป็นการขยับต่อไปได้อย่างไร มูฮำหมัด สาและ รองปลัด อบต. แลกเปลี่ยน

มีสภาเยาวชนเมาะมาวี ขับเคลื่อนส่วนกิจกรรมเยาวชนในพื้นที่ ในปัจจุบันคือเน้นป้องกันโรคระบาด COVID -19 เคยมีกิจกรรมการจัดการขยะ ซึ่งโครงการแต่ละปีจะเข้ามาแตกต่างกัน ใน 1 ปี จะมีกิจกรรม ประมาณ 4-5 ครั้ง แต่ปีนี้จะมีแค่ 1 ครั้ง เน้นการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ ช่วง 2 ปีมานี้ หลายโครงการถูกยกเลิก งบประมาณส่วนใหญ่ถูกใช้ในการแก้ไขปัญหาในปัจจุบันมากกว่า เช่น มีการกักตัวยุคโควิด ดีใจที่ทาง ม.อ. เข้ามาร่วมกันสนับสนุนในพื้นที่ รอง ผอ. รพ.สต.

ทีมยะรังมีกระบวนการ Design Thinking เป็นปัญหาใต้ภูเขาน้ำแข็ง ที่ต้องนำมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน คนที่มีปัญญาต้องมีการร่วมมือกัน เช่น ตาดีกา ทีมที่นี้ได้รับการรับรอง จึงมาร่วมกันคิดออกแบบร่วมกัน ด้วยการปรับเปลี่ยน mindset ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ ในพื้นที่นี้ ไม่ใช่แค่ทีมเมาะมาวีอย่างเดียวที่เป็นปัญหา แต่เป็นปัญหาทั้งยะรังทั้งพื้นที่เลย

คุณอานัติ แลกเปลี่ยน

วันนี้ดีใจที่ได้แนวทางและหารือแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาในเบื้องต้น ทำให้ได้เห็นว่าบริบทของ

ครอบครัวในพื้นที่ต้องมีการดำเนินงานแบบไหน อย่างไร และทางด้านโรงเรียน กลุ่มเพื่อน รพ.สต.และโรงพยาบาล ต้องทำอะไรเพิ่มเติม อย่างไร

อาจารย์ ซอฟิยะห์ แลกเปลี่ยน

อาจารย์มีการยกเคสของตำบลตาแกะ มีการจัดการให้วัยรุ่นกลุ่มผู้ชาย คือ มีสภาเยาวชน การจัดการปัญหายาเสพติด การเล่นกีฬาร่วมกัน ทางด้านกลุ่มผู้หญิง มีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ทำให้เด็กมีรายได้เสริม และยกเคสของอำเภอบาเจาะ เกิดจากชมรมผู้ใหญ่บ้าน ดูแลเยาวชนในเรื่องยาเสพติด พื้นที่นี้มีทุนทางสังคมเยอะมาก

กะดา ทีมดูแลเด็ก

บางครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดี มีการฝากครรภ์ แต่บางครอบครัวไม่ทานยาตามคำแนะนำของหมอ เพราะมีความเชื่อผิดๆ เช่น เชื่อว่าหากกินยาเด็กจะโตในท้อง เมื่อครบกำหนด ไม่ไปคลอด รอจนปวดท้องถึงที่สุด ไม่ไปคลอดเพราะจะรอคลอดเองที่บ้าน และปัญหาเด็กตั้งครรภ์ก่อนการกำหนด เป็นเรื่องปกติของคนในพื้นที่และพื้นที่รับผิดชอบ

คุณอิลฟาน แลกเปลี่ยน

ต้องมีการปรับ Design Thinking ปรับการรับรู้ การแก้ปัญหาความเชื่อของคนในพื้นที่ เปิดใจ คุยเพื่อแลกเปลี่ยนประเด็น ปรับ mindset ให้มีความเข้าใจตรงกัน เช่น แต่งงานต้องให้มีคุณภาพ

พยาบาลวิชาชีพ แลกเปลี่ยน

ปัญหาความจำเป็นทางเศรษฐกิจ หากพื้นที่ไหนเศรษฐกิจไม่ดี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจะสูงขึ้นตามลำดับ

อาจารย์ ซอฟิยะห์ แลกเปลี่ยน

มีหลายพื้นที่ที่ไม่นิยมไปคลอดที่ รพ.สต.เพราะมีความเชื่อทางลบ ดังนั้นทางรพ.สต.จำเป็นต้องให้ความอบอุ่นและใช้ใจในการบริการ มีการพูดคุย ให้คำปรึกษาปัญหาด้วยความจริงใจ พร้อมทั้งผลักดันการทำงานและการให้บริการร่วมกัน ทำให้เขาเชื่อมั่นเชื่อถือและมีความไว้วางใจต่อการให้บริการ อาจดูจากพื้นที่อื่นๆ ที่เขามีความพร้อมมาเป็นแนวทาง

พยาบาลวิชาชีพ

ปัญหาการไม่ไปคลอดที่ รพ.สต. เพราะกลัวการผ่าตัดคลอด คนไข้เชื่อว่าหากอยู่บ้านจะมีคนในครอบครัวคอยดูแล แต่เมื่อไปอยู่โรงพยาบาลจะมีแค่ตัวคนเดียวไม่มีใครคอยดูแล ซึ่งเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญที่สั่งสมกันมารุ่นสู่รุ่นผ่านความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ

อาจารย์ ซอฟิยะห์ แลกเปลี่ยน

ทางพื้นที่จำเป็นต้องหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นมรดกให้แก่ลูกหลานในอนาคตต่อไป

คุณอานัติ แลกเปลี่ยน

จำเป็นต้องค้นหาปัญหาในเชิงลึก ความคิด ความเชื่อของคนในชุมชน ทำอย่างไรให้กลไกที่มีอยู่ค่อนข้างพร้อม เช่น มีรถรอรับอยู่หน้าบ้าน และเน้นประเด็นด้านศาสนาเข้ามาเชื่อม ให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างไร ภายใต้กลไกที่มีอยู่เดิม เราจะทำอะไรเพิ่มเติมได้เพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิมกว่าที่เป็นอยู่ เช่น ปัจจุบันมีการ  คุตบะห์วันศุกร์อยู่แล้วโดยผู้นำศาสนา ทางพื้นที่สามารถทำอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่ อย่างไร เช่น มีพื้นที่ชมวิวอยู่แล้ว เราจะพัฒนาต่ออย่างไร

อสม.หมู่ 2 แลกเปลี่ยน

ปัจจุบันทางหมู่ 2 จะมีชมรมโบมูดา คือ จะมีการสอนศาสนาเดือนละครั้ง จัดโดยกลุ่มวัยรุ่นอายุ 16-18 ปี ประมาณ 30-40 กว่าคน โดยกลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้จะเชิญผู้นำในหมู่บ้านหรือในชุมชนมาให้ความรู้ ให้คำปรึกษา คำแนะนำ เช่น เชิญโต๊ะอีหม่ามและผู้นำชุมชนมาบรรยายธรรม ทางกลุ่มจะมีการทำปฏิทินไปขายและทำส้มโอ ซึ่งเป็นผลไม้ขึ้นชื่อในพื้นที่ไปขาย โดยที่แต่ละเดือนทางหมู่บ้านจะทำข้าวยำเลี้ยงแจกจ่ายเพื่อหารายได้จากคนหมู่บ้าน สร้างรายได้ได้เดือนละประมาณ 15,000 บาท เพื่อนำเงินที่ได้มาเข้าชมรมและมีการของบจากชาวบ้านมาเป็นทุนต่อยอด

คุณอิลฟาน แลกเปลี่ยน

เน้นต่อยอดเครือข่ายเดิมที่มีอยู่แล้ว มาสร้างรูปแบบต่อยอดโดยบังอานัติต่อไป พื้นที่นี้มีเสน่ห์ เพราะมีDesign Thinking ทำให้คนในพื้นที่เข้าใจง่ายและอาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดร่วมกัน โดยมีนวัตกรรม เช่น การออกแบบแอพพลิเคชั่นให้มีความทันสมัย เช่น หากจะมีการคลอดสามารถจองรถมารับถึงหน้าบ้านผ่านแอพพลิเคชั่นได้เลย

รองนายก รพ.สต.

จุดเด่นอาจกลายเป็นจุดด้อยได้ ควรหาทางแก้ปัญหาทางกายภาพได้ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว แก้ปัญหาในการปรับ mindset ของคนในพื้นที่ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ยกตัวอย่างเคส เจอกับคนไข้ที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังท้อง เช่น คนไข้มาหาหมอที่โรงพยาบาลบอกว่าตัวเอง

ปวดท้อง เพราะไปกินขนมจีนมาซึ่งตัวเองไม่ได้ท้อง ผลสรุปพบว่าคนไข้กำลังท้อง ซึ่งทางพ่อแม่ผู้ปกครองยังไม่ทราบเรื่อง เมื่อทราบเรื่องทางพ่อแม่ผู้ปกครองทำใจยอมรับไม่ได้

งาน NCD ดูแลคนไข้ โรคเรื้อรัง

ประสบการณ์ที่ไม่อยากไปโรงพยาบาล เพราะมีความเชื่อผิดๆ ยกตัวอย่างเคสการท้องไม่พึงประสงค์

เช่น มาอนามัยบอกว่าลูกปวดท้อง และไม่อนุญาตให้พยาบาลคลำท้องอีกด้วย ซึ่งทางแม่และครอบครัวยังไม่ทราบและไม่ยอมรับ บอกว่าลูกของตนยังไม่ได้แต่งงานจะท้องได้อย่างไร แต่เมื่อส่งคนไข้ไปตรวจที่โรงพยาบาลปรากฏว่าคนไข้คลอดเด็กออกมา

คุณอานัติ แลกเปลี่ยน

ในพื้นที่นี้มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ เลือกโครงการที่มีประโยชน์มาพัฒนาให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เลือกประเด็นแต่ละพื้นที่ แล้วแต่ทางพื้นที่จะเลือกชูประเด็นอะไร เช่น ประเด็นความขัดแย้งต่างๆ นำมาแก้ไขร่วมกัน ทำให้เข้าใจคนอื่นมากยิ่งขึ้น สามารถช่วยเหลือกันและกันได้หากเกิดปัญหา คุณอิลฟาน แลกเปลี่ยน

ประเด็นการเลือกพื้นที่โครงการ จะเลือกพื้นทีไหนก็ได้แล้วแต่ทางพื้นที่ต้องการ เช่น ม.2 เด่นเรื่อง

อะไร เลือกมาได้เลย และควรเลือกผู้ที่ให้ข้อมูลให้ชัดเจนว่าผู้ที่เกี่ยวข้องมีใครบ้าง

อาจารย์ซอฟียะห์ แลกเปลี่ยน

เน้นความเชื่อใจระหว่างคนไข้และเจ้าหน้าที่ กล้าที่จะแลกเปลี่ยน พุดคุย ปรึกษาและขอคำแนะนำ จากทางรพ.สต.ให้มากขึ้น

ผอ.รพ.สต.

ขั้นตอนต่อไปควรเริ่มทำแต่หมู่บ้านก่อน เป็นการนำร่อง เช่น เริ่มตั้งแต่หมู่ 2 ข้อมูลเด่นจากที่ทาง อสม.และอีหม่ามหมู่ 2 มาแลกเปลี่ยนข้างต้น เพราะประเด็นมีความน่าสนใจและสามารถขับเคลื่อนได้ จากนั้นค่อยต่อยอดไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป จัดทำโมเดลร่วมกัน โดยรวมทางพื้นที่พร้อมสู้และขยับขับเคลื่อนต่อไป อาจารย์ซอฟียะห์ แลกเปลี่ยน

หลังจากนี้จะมีการทำ workshop โดยเลือกแกนนำหลักๆ คนสำคัญในพื้นที่มาเข้าร่วมต่อไป นำต้นทุนทางพื้นที่ที่มีอยู่นำไปพัฒนาต่อยอด คุณอานัติ แลกเปลี่ยน

ดำเนินการเพื่อกำหนดการลงพื้นที่ภาคสนามกับทางม.อ. หลังจากทำ workshop เสร็จแล้ว ประมาณเดือนกุมภาพันธ์จะร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนและตั้งเป้าหมาย เกี่ยวกับวัยรุ่น แล้วหาทางตั้งประเด็นต่อไป ผอ.รพ.สต

พร้อมร่วมมือกับทาง ม.อ. อย่างเต็มที่ ดุอาร์ปิดการประชุม

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

25 0

15. ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอแว้ง จ.นราธิวาส

วันที่ 29 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ในวันพุธ ที่ 29 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมสาธารณสุข อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อาจารย์ซอฟียะห์และคณะ เข้าพบปลัดอาวุโส อำเภอแว้ง กล่าวแนะนำโครงการเบื้องต้น

เปิดวาระการประชุมโดย สสอ.อ.แว้ง ยินดีต้อนรับทางคณะจาก สนส.ม.อ.

กล่าวแนะนำและเริ่มวาระการประชุม โดยงานอนามัยแม่และเด็ก รพ.สต.บางขุด กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ หญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมักจะมีความเครียด หากมีอาการจะมีการส่งต่อไปยังงานด้านสุขภาพจิตที่โรงพยาบาลแว้ง เพื่อเจอกับนักจิตวิทยาต่อไป ในพื้นที่ไม่พบผู้ติดเชื้อ HIV มีแนวทางคลินิกฝากครรภ์ และมีการติดตามคนไข้เป็นประจำทุกๆ 4 สัปดาห์ มีคลินิกวางแผนครอบครัว มีการอบรมความรู้ทางด้านเพศศึกษา และมีการพบปะและบอกวิธีการวางแผนครอบครัว มีคลินิกป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อติดตามและดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง ปัญหาที่พบบ่อยในพื้นที่ คือ คนไข้ไม่มาตามนัด ทางรพ.สต. จึงโทรตามให้มาในอาทิตย์ถัดไป หากคนไข้มีปัญหาให้ติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง กิจกรรมที่ดำเนินการในพื้นที่ เช่น หลังคลอดมีการวางแผนการคุมกำเนิดแบบไหน มีการลงพื้นที่เยี่ยมหลังคลอด แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ช่วงโควิดระบาด จะให้คำปรึกษาและแนะนำโครงการผ่านทางโทรศัพท์ ในพื้นที่นี้พ่อแม่มีความพร้อมที่จะดูแลหลานในอนาคต กรณีเด็กไม่พร้อมทั้งด้านการตั้งครรภ์ที่รพ.สต.จะมีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแว้ง

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความเสี่ยง เด็กที่เกิดมามีภาวะซีดและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ครรภ์ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่เกิดกับพื้นที่ที่มีมุสลิม จึงเชื่อมโยงไปยังการซีนา เด็กไม่ได้รับการศึกษา สังคมแวดล้อมที่ตามมา คือ ผู้ปกครองไม่สามารถเลี้ยงลูกลุกที่เกิดมาได้อย่างมีคุณภาพ ส่วนใหญ่จะฝากเด็กไว้กับยาย จึงเกิดปัญหาสังคมตามมา กลายเป็นวงจรที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ในพื้นที่นี้มีเด็กแต่งงานช่วงอายุ 15-19 ปี และไม่ได้กลับไปเรียนต่อ โดยโครงการนี้พยายามผลักดันให้เด็กวัยรุ่นกลุ่มนี้ได้มีโอกาสกลับมาเรียนต่อ ทำให้สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ และมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ Productivity และจีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross Domestic Products : GDP) เพิ่มขึ้น และโครงการพยายามตัดวงจรที่หมุนเวียนจากแม่ไปสู่ลูกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น การแต่งงานมีลูกแล้วไม่ได้กลับไปเรียนต่อและอยากเข้ามาปรับ mindset ของคนในพื้นที่ให้มีความก้าวหน้าตามสถานการณ์ปัจจุบัน

ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอแว้ง บริบทของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้จะมีลักษณะใกล้เคียงกัน การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรม เช่น ขนบธรรมเนียม วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ การแต่งงาน ดูแลลูก ขบวนการขับคลื่อน ของ พชอ.ทำงานร่วมกับหลายเครือข่าย โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ขอบคุณทีมวิจัยที่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นโครงการที่ดี เน้นความสำคัญและแก้ปัญหาของพื้นที่

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. ยินดีกับ อ.แว้ง ที่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ เพราะการเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ดีและไม่ควรละเลยเพื่อจะตัดวงจรเหล่านี้ให้หมดไป และอ. แว้งยังคงตระหนักถึงปัญหาในเรื่องนี้ ซึ่งบางพื้นที่ มองว่าปัญหานี้ยังเป็นปัญหายิบย่อยไม่ค่อยมีความสำคัญ เพราะเด็กในพื้นที่มีไอคิวและอีคิวต่ำ ซึ่งโครงการนี้ต่อยอดมาจากเฟสที่ 1 และได้รับการสนับสนุนจากสสอ. ต่อเป็นเฟสที่ 2 โดยหลังจากเข้าร่วมโครงการจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและร่วมกันขับเคลื่อนต่อไป สุดท้ายแล้วจะมีการทำ MOU ร่วมกันในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดมาเป็นประธานในการจัดงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

แลกเปลี่ยนประเด็นจากโรงพยาบาลแว้ง กล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จากข้อมูลพบว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ตั้งเป้าน้อยกว่า 10% แต่ทางโรงพยาบาลทำได้ที่ระดับ 8.95% ซึ่งต่ำกว่าเป้าทีตั้งไว้ ด้านการแท้ง วางแผนไว้ว่าต้องน้อยกว่า 10% แต่ทางโรงพยาบาลทำได้ที่ระดับ 20% ซึ่งบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้โรงพยาบาลแว้งมีการทำ RSA (การยุติการตั้งครรภ์) การจัดทำทุกช่วงวัย โดยเป็นศูนย์ของจังหวัดนราธิวาสซึ่งมีเพียง 1 ที่ ที่รับ RSA โดยจะให้บริการแก่ประชาชนที่เข้ามารับบริการในจังหวัดนราธิวาสและพื้นที่ใกล้เคียง สำหรับปัญหาการตั้งครรภ์ในปี 2564 เน้นให้ประชาชนเข้าถึงและเข้ามารับบริการกันมากขึ้น มีการจัดทำเพจเฟสบุ๊คแลกเปลี่ยนพูดคุยระหว่างพยาบาลและคนไข้ มีคลินิกสำหรับให้บริการและมีการลงพื้นที่เชิงรุก ประเด็นการตั้งครรภ์ซ้ำ มีความประสงค์ในการตั้งครรภ์ แม้จะมีอายุต่ำกว่า 19 ปี

ปี 2564 มีการตั้งครรภ์ซ้ำในเด็กอายุ 14 ปี จำนวน 1 ราย ของตำบลโล๊ะจูด ประเด็นการตัดสินใจทำแท้ง หลายรายที่สามีต้องการและหลายรายที่ไม่ต้องการ มีการนำพรบ.การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมาปรับใช้อย่างเหมาะสมในแต่ละเคส

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. โครงการของพื้นที่นี้ คือ เน้นวัยรุ่นมีทางเลือก ส่งเสริมอนาคตให้เด็กกลุ่มนี้มีการศึกษา สามารถเลี้ยงดูเด็กที่จะเกิดมาให้มีชีวิตที่ดีและมีคุณภาพ มีหน้าที่การงานและอาชีพที่มั่นคง จะสามารถเพิ่ม GDP ให้กับพื้นที่และประเทศได้ ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้ไม่ยากหากทุกฝ่ายร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างแท้จริง

คุณมะยุนัน มามะ ผู้ประสานงานภาคสนาม ประเด็นเหล่านี้สำคัญมาก เราทุกฝ่ายต้องช่วยกันเพื่อลดปัญหาเหล่านี้ เช่น บางพื้นที่ไม่มีเคส แต่ไม่สามารถแสดงได้ว่าพื้นที่นั้นไม่เป็นปัญหา ซึ่งปัญหาที่แท้จริงอาจตกผลึกอยู่ในแต่ละพื้นที่ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พื้นที่นี้มีกลุ่มเยาวชนที่มีความเข้มแข็ง กลุ่มเยาวชนที่สามารถขับเคลื่อนในพื้นที่ได้ร่วมกับทีมภาคสนาม เช่น กศน. เป็นต้น

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. แนะนำผู้รับผิดชอบโครงการ เช่น หมอสุวัตน์ เน้นกลไกการทำงานร่วมกันทั้ง พชอ.และ พชต.

ลักษณะการทำงานโดยใช้กลไกเชื่อม พชอ.+พชต. อาจมีการสนับสนุนส่งเสริมหน่วยงานเหล่านี้ เช่น กศน. เน้นให้การศึกษา สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สามารถดูแลตัวเองและครอบครัวได้ต่อไป ซึ่งอำเภอแว้งเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มแข็ง 30 ปีที่แล้วประเด็นปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่สามจังหวัดเยอะมาก แต่ในปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำสูงกว่าในอดีตเล็กน้อย โครงการเน้นลดการตั้งครรภ์ซ้ำ ให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสกลับไปเรีนต่อทั้งในระบบหรือนอกระบบ (กศน.) แต่ส่วนใหญ่เมื่อมีการตั้งครรภ์ซ้ำแล้วจะไม่กลับไปเรียนต่อ ทำให้เด็กหลุดออกจากระบบเยอะมาก กล่าวถึง timeline หรือกระบวนการทำงานของ โครงการจะมีกำหนดการการลงพื้นที่ภาคสนาม มาชวนคิด ชวนคุยแลกเปลี่ยนกับพื้นที่เพื่อให้เห็นต้นทุนของพื้นที่รวมทั้งมีการประเมินเพื่อให้ได้กรอบแนวคิดร่วมกัน โดยสิ่งที่พื้นที่ต้องมี คือ ข้อมูลด้านสถานการณ์ของพื้นที่ การดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ เพื่อนำไปสู่โมเดล Wows การมองเพศแม่เป็นอนาคตของชาติ

คุณวิทยา สสอ.อ.แว้ง ยินดีที่ทาง ม.อ. เข้ามาช่วยเหลือและขับเคลื่อนโครงการนี้ อำเภอแว้งจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พื้นที่เจาะไอร้องและสุไหงโก-ลก เคยทำโครงการลักษณะเหล่านี้ แต่ช่วงหลังๆ ขาดช่วงไป สสอ. มองว่าประเด็นแม่และเด็กเป็นประเด็นที่สำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันและผลักดัน เวลาที่จัดทำโครงการทั้งหมดประมาณ 18 เดือน จะลองวิเคราะห์ภูเขาน้ำแข็งเพื่อให้เห็นถึงปัญหาที่ฝังอยู่ มีการใช้เครื่องมือมาเสริมพลังร่วมกัน โดยการร่วมคิด ร่วมทำ เน้นเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง เช่น เรื่องการศึกษาต่อ เน้นให้โอกาสเด็กที่หมดหวัง หมดอนาคตและพลาดพลั้งไป อาจเกิดกระบวนการเรียนรู้จากพื้นที่อื่นๆ ที่มีลักษณะและบริบทใหกล้เคียงมาปรับใช้กับพื้นที่ดู เพื่อเน้นความยั่งยืน จากนั้นจะร่วมแลกเปลี่ยนจุดยืนระหว่างกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งประเด็นเน้นการศึกษาของเด็กอาจเชิญชวนครูที่มีความสนใจในเรื่องนี้ อาจจัดทำข้อสอบให้เด็กสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ ให้เด็กสามารถคิดเอง ใช้ชีวิตอย่างถูกต้องและมีคุณภาพ แต่เมื่อหลังจากอายุเกิน 20 ปี ไปแล้ว เด็กจะไปทำอะไรก็เป็นเรื่องของเด็ก ควรให้ความสำคัญกับทุกสิ่งทุกอย่างอย่างเข้มแข็ง

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. พูดถึงอำเภอตากใบ ว่ามีการเลือกพื้นที่นำร่องทุกรพ.สต ทั้ง 11 รพ.สต.ให้อำเภอแว้งได้เลือกพื้นที่นำร่อง ซึ่งอำเภอแว้งได้เลือกพื้นที่ ดังนี้ 1. เลือกตำบลแว้ง 2. เลือกตำบลคอแนะ 3. รพ.สต. บางขุด 4. รพ.สต แม่ดง ยกตัวอย่างเคสอำเภอบาเจาะว่าที่นั่นมีประเด็นการหย่าร้างเยอะมาก บางพื้นที่มีประเด็นการตั้งครรภ์ซ้ำ เช่น เปลี่ยนคู่นอน เปลี่ยนคู่สมรสแล้วแต่งงานใหม่ ซึ่งโครงการพยายามลดปัญหาตรงนี้ จังหวัดนราธิวาสไปร้องเรียนที่ศูนย์ไกล่เกลี่ย กรณีที่สามีไม่เลี้ยงดู ซึ่งกรณีนี้กลายเป็นปัญหาที่เจอมากในจังหวัดนราธิวาส ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาชีพส่วนใหญ่ของคนที่นี้ คือ รับจ้างกรีดยางที่แถบชายแดนและประเทศใกล้เคียง คือ มาเลเซีย เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพในประเทศไม่เพียงพอ การที่ไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ ตามมา เช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาเลี้ยงดูลูก เกิดปัญหาเด็กไม่ได้เรียนหนังสือ/เด็กขาดการศึกษา เพราะเด็กต้องเคลื่อนย้ายตัวเองไปมาตามพ่อแม่ และบางกรณีจะปล่อยให้เด็กอยู่บ้านกับปู่ ย่า, ตา ยาย จะเกิดปัญหาเด็กไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนอย่างทั่วถึง และความแตกต่างระหว่างวัยในครอบครัวก็เกิดปัญหาความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน และในอำเภอแว้งมีประชากรย้ายถิ่นเข้ามา จึงไม่สามารถระบุประชากรได้อย่างชัดเจน แนะนำให้ทางพื้นที่เน้นการแก้ปัญหา ice brung model และปรับ Mindset เรื่องการคุมกำเนิดโดยไม่มีความพร้อมในพื้นที่ ซึ่งยังไม่มีการยอมรับ แต่หากลองมองย้อนดูถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้จะเป็นบาปมากกว่าการคุมกำเนิด หากเด็กที่เกิดมาแล้วปล่อยให้อดอยากและไม่เลี้ยงดู ปล่อยให้ลูกเพ่นพ่านกลายเป็นปัญหาของสังคมจะบาปมากมากกว่า ยกเคสของอำเภอตาแกะ ที่มีการนัดหมายนอกสถานที่ ที่ไม่ใช่คลินิก เพื่อลดความอึดอัดใจของคนไข้และจะได้พุดคุยกันอย่างสบายใจเป็นกันเองมากขึ้น และสามารถลดการตีตราจากสังคมได้

แลกเปลี่ยนประเด็นจากโรงพยาบาลแว้ง ทางโรงพยาบาลมีแกนนำ มีแอดมินตอบกลับทางเพจตลอด 24 ช.ม.มีการนัดหมายการพูดหลังไมค์ โดยไม่ต้อง work in เข้ามาที่โรงพยาบาล ซึ่งเป็นแนวทางการรับคนไข้ของศูนย์บริการที่นี้และโรงพยาบาลแว้งยังมีคลินิกวัยรุ่นอีกด้วย

คุณอิลฟาน ตอแลมา ผู้จัดการสมาคม จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำโมดูลสื่อให้น่าสนใจอ่านง่าย มีการสแกนเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางเพจและไลน์ ซึ่งเป็นกลุ่มเฉพาะชองพชอ. หากท่านจะพัฒนาอะไรสามารถพูดคุยผ่านกระทู้นี้ได้

คุณนาตือเราะห์ รายะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ พบหญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี และปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำก็เยอะมาก และพบหญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 14 ปี 1 ราย ยกตัวอย่างเคสการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โดยคนไข้เข้ามาหาโดยตรง เข้ามาหาก๊ะเราะห์ ได้มีการให้ข้อมูลแกคนไข้ คุยกับคนไข้โดยตรง เด็กส่วนใหญ่จะมากับแม่ มีการสอบถามความรู้สึกระหว่างแม่และเด็ก อีกเคสหนึ่ง คือ เด็กที่เข้ามามีอายุต่ำกว่า 19 ปี ซึ่งทางรพ.สต.มีการให้ทำแบบประเมินทุกราย 2Q หากทำแบบประเมินได้มากกว่า 20 คะแนน จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแว้ง มีหลายเคสเด็กยอมรับการตั้งครรภ์ แต่จะมีการซักถามประเด็นการดูแลลูกในอนาคตว่าเมื่อคลอดลูกมาแล้วสามารถดูแลลูกได้ไหม ครอบครัวเต็มใจและยอมรับที่เลี้ยงดูต่อไปหรือไม่ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากนี้ คือ ครอบครัวไม่ได้ดูแลเด็กอย่างเต็มที่

40 วันหลังคลอด หากไม่มีการฝังเข็ม จะรีบฉีดยาคุมกำเนิดให้แก่เด็กเลย

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. โครงการนี้มุ่งเน้นส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ทำเรื่องดีๆ ให้เกิดขึ้น มุ่งผลลัพธ์ที่อยากให้เกิดขึ้นและเน้นทำประโยชน์ให้แก่คนรอบข้างชุมชน ไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง

คุณมะยูนัน มามะ ผู้ประสานงานภาคสนาม มองเห็นภาพทุกมิติ มีการดึงมิติเด็ก เห็นการดึงข้อกฎหมายมาปรับใช้ เน้นการขับเคลื่อนร่วมกัน

โดยให้ สสอ.มาขับเคลื่อนร่วมกัน

คุณสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ ผู้ประสานงาน จะทำการประสานงานกับพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนต่อไป

ปิดวาระการประชุมโดย สสอ.

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

25 0

16. ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอกาบัง จ.ยะลา

วันที่ 30 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ในวันพฤหัสบดี ที่ 30 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แลกเปลี่ยนข้อมูล จากผู้รับผิดชอบ สสอ.กาบัง

กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของอำเภอกาบัง คำว่า “ กาบัง ” หรือ กาแบ เป็นภาษามลายูพื้นเมืองของปักษ์ใต้ เป็นคำเรียกพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง เป็นต้นไม้ตระกูลเดียวกันกับเงาะ อำเภอกาบัง ได้จัดตั้งขึ้นตามพรก. เดิมอยู่ในเขตของอำเภอยะหา แยกออกมาเป็นกิ่งอำเภอกาบัง วันที่ 1 เมษายน 2534 จัดตั้งเป็นอำเภอ ในปี พ.ศ. 2540

คำขวัญของอำเภอ คือ แหล่งต้นน้ำใหญ่ ชื่นใจธรรมชาติ ไม้กวาดดอกหญ้า จำปาดะพันธุ์ดี

อำเภอกาบัง ระยะทางห่างจากจังหวัดยะลา 40 กม. ติดต่อกับตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลาและอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ติดต่อกับรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ติดต่อกับตำบลบาโร๊ะ ตำบลปะแต

ลักษณะภูมิประเทศ อำเภอกาบังมีภูมิประเทศ

เป็นป่าเนินเขาสูง มีภูเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบเพียงส่วนน้อยอยู่บริเวณตอนเหนือ ทิศใต้มีลักษณะเป็นภูเขาสูงเป็นพื้นที่ลักษณะป่าดิบชื้น แนวชายแดนไทย – มาเลเซีย มีลำคลองและลำธารไหลผ่านหลายสาย ข้อมูลพื้นฐานประชากร รวม 22,769  คน แบ่งเป็น ชาย 11,865 คน หญิง 10,904 คน

0-14 ปี  =  29 % 15-59 ปี  =  15  % 60 ปี ขึ้นไป  =  55  % ศาสนา

อิสลาม 88 % พุทธ 12 % การปกครอง

2 ตำบล 19  หมู่บ้าน ทรัพยากรสาธารณสุข

รพช 1 แห่ง สสอ. 1  แห่ง  รพสต. 4 แห่ง ศสมช. 10 แห่ง ศพด 5  แห่ง สถานบริการสาธารณสุขในเครือข่ายอำเภอกาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

รพ.สต.ลูโบ๊ะปันยัง

สาธารณสุขอำเภอกาบัง

รพ.สต.คลองน้ำใส

รพ.สต.บาละ

รพ.สต.บันนังดามา

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพ.ศ. 2559 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 31 มีนาคม 2559 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2559

สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อ.กาบัง จ.ยะลา

ประชากรวัยรุ่น 10 – 19 ปี อำเภอกาบัง ปี 2564

วัยรุ่นหญิง 2,218 คน (9.4 %)

วัยรุ่นชาย 2,269 คน (9.6 %)

วัยรุ่น อายุ 10 – 19 ปี 4,487 คน (19.0 %)

การคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 – 14 ปี

ปี 2564 ต.กาบัง คลอดมีชีพ 2 คน

การคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 – 19 ปี

2564 : คลอดมีชีพ 31 คน ต.กาบัง19 คน และต.บาละ 12 คน

การตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี

2564 : ท้องซ้ำ 5 คน ท้องซ้ำทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ ต.กาบัง

การวางแผนครอบครัวในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่เคยตั้งครรภ์

2564 : มีวางแผนครอบครัว 2 คน (เป้าหมาย 34 คน) ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ ต.กาบัง

ข้อมูลผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (HIV) ปีงบประมาณ 2558 – 2565

ปี 2561 มีจำนวน 24 คน

ปี 2562 มีจำนวน 20 คน

ปี 2563 มีจำนวน 23 คน

ปี 2564  มีจำนวน 22 คน

ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน

มีคลินิกวัยรุ่นในรพ.กาบัง มีช่องทางรับบริการภายนอก เช่น call center 1663 มีการรณรงค์เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่อเนื่อง คำสั่งคณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับอำเภอ (คำสั่งจังหวัดยะลา 1926/2562 ลว 24 เม.ย. 2562) อบต.บาละ เป็นแหล่งเรียนรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ตั้งแต่ปี 2563 การใช้บริการสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์ (การฝากครรภ์)

เปิดให้บริการคลินิกฝากครรภ์รายใหม่ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์ รายเก่าทุกวันอังคารของสัปดาห์ เน้นย้ำการมาฝากครรภ์ตามนัด/ ลงติดตามเยี่ยมบ้านโดยนสค.อสม. ดูแลประจำหมู่บ้าน ในกรณีคนไข้ไม่มาตามนัด จะมีการโทรตามให้มาฝากครรภ์ในสัปดาห์ถัดไป มีการให้เบอร์โทรศัพท์เจ้าหน้าที่ให้กับคนไข้เพื่อสะดวกในการประสานงาน การใช้บริการสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์ (การเว้นระยะการตั้งครรภ์)

เปิดให้บริการคลินิกวางแผนครอบครัวทุกวันพฤหัสของสัปดาห์ ในกรณีคนไข้ไม่มาตามนัด จะมีการโทรตามให้มาฝากครรภ์ในสัปดาห์ถัดไป มีการให้เบอร์โทรศัพท์เจ้าหน้าที่ให้กับคนไข้เพื่อสะดวกในการประสานงาน การให้บริการคลินิก มีมุมเฉพาะ การให้บริการเป็นการส่วนตัวสำหรับให้คำปรึกษาแก่คนไข้โดยเฉพาะ ในปี 2563 จังหวัดยะลา อันดับที่ 1 ของประเทศ ติดเชื้อมาลาเรีย และปี 2563 เป็นอันดับที่ 4 นายอำเภอ

อำเภอกาบังมี 2 ตำบล และในพื้นที่มีปัญหา จะเป็นเรื่องรายได้ มีหลายส่วนขาดรายได้ มีปัญหา

เกี่ยวกับโควิด มีปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. ประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นปัญหาของเด็กในช่วงอายุ 10-14 ปี และ 15-19 ปี การดำเนินงานควรให้ความช่วยเหลือ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ

ผู้รับผิดชอบคลินิกวัยรุ่น เปิดบริการในทุกวันพุธ กรณีเร่งด่วนสามารถมาได้ทุกวัน

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. ยกตัวอย่างเคส การให้บริการของพื้นที่อื่น เช่น นัดมาปรึกษานอกสถานที่ เช่น ร้านกาแฟ เพื่อความสบายใจของตัวเด็กและลดการตีตราจากสังคม

เคสตัวอย่าง อำเภอแว้ง คนไข้ใช้วิธีปรึกษากับอสม.ในพื้นที่ และกรณีเด็กมาที่ รพ.สต. จะให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำ พื้นที่อำเภอกาบังนี้มีหลายโครงการที่ดีและน่าสนใจ เช่น โครงการเยี่ยมบ้าน การเว้นระยะการตั้งครรภ์ หากมองเรื่องหลักศาสนา ให้มีการเว้นระยะการตั้งครรภ์ ทำให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพ จะอาศัยผู้นำศาสนารวมถึงปราชญ์ชาวบ้านและมีทีมชรบ. เข้ามาร่วมด้วยกับคนในพื้นที่ด้วย

ยกตัวอย่างเคสของพื้นที่ตากใบ มีการตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เด็กขาดโอกาสในการศึกษาต่อ เนื่องจากสภาพโรงเรียนไม่รองรับ ทำให้วงจรชีวิตด้านการศึกษาหายไป โดยโครงการของเราที่จะเข้ามาขับเคลื่อนและส่งเสริมรวมทั้งสร้างโอกาสในการใช้ชีวิตของเด็กให้มากขึ้น ให้เด็กมีทางเลือกในการศึกษา เช่น กศน. และจะใช้หลักการศาสนาเข้ามาส่งเสริม เช่น ให้เห็นโทษการทำซีนา การผิดประเวณี การดำเนินงานของโครงการต้องควบคู่หลักจริยธรรมมุ่งเน้นศาสนามาเป็นทางนำในการดำเนินชีวิต และเน้น ice brung model

ผู้รับผิดชอบคลินิกวัยรุ่น เด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กจากโรงเรียนกาบังพิทยาคม ซึ่งเด็กอิสลามส่วนใหญ่จะท้องมากกว่าเด็กไทยพุทธ เพราะเด็กไทยพุทธมีความกล้าที่จะป้องกัน ทำให้เด็กไทยพุทธไม่มีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแต่จะมีกับเด็กอิสลามมากกว่า ส่วนตำบลบาละ ไม่มีเด็กนอก ในขณะที่ตำบลกาบัง มีเด็กจากพื้นที่อื่นเข้ามา เช่น จากอำเภอยะหา

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. แนะนำให้เห็นถึงปัญหา มีผู้นำศาสนาเข้ามาป้องกันการซีนา แนะนำวิธีการแก้ปัญหาให้แก่บุตรหลาน โดยการชวนคิด ชวนคุย หาวิธีการในการแก้ปัญหาร่วมกัน ทำให้เห็นข้อมูลเพื่อป้องกันการซีนาในพื้นที่อย่างตรงจุด มองว่าการทำงานตรงนี้เป็นอามานะฮให้แก่คนในตำบลและอำเภอรวมถึงระดับประเทศต่อไป โดยส่วนใหญ่สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นหลักๆก็คือ เด็กเข้าถึงมือถือได้ง่าย ในขณะที่พ่อแม่ต้องทำมาหากิน และเด็กเสพสื่ออย่างขาดวิจารณญาณ

นายอำเภอ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในกลุ่มชุมชนหมู่บ้านที่เป็นมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ บางเคส เช่น โรงเรียนปอเนาะ เด็กที่แต่งงานแล้วก็สามารถกลับไปเรียนต่อได้ จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นร่วมกันข้างต้นทำให้เห็นถึงปัญหาและหากระบวนการในการแก้ไขปัญหา  โดยใช้ผู้นำศาสนา เช่น โต๊ะอีหม่าม หรือจะต้องหาพื้นที่ที่มีสภาพเดียวกัน เพื่อหาแนวร่วมแลกเปลี่ยนต่อไป ต้องให้โอกาสแก่เด็กที่ผิดพลาด คือ เมื่อคลอดเสร็จ ก็สามารถที่จะกลับไปเรียนต่อได้ ซึ่งในปัจจุบันโอกาสที่จะตัวเด็กเองจะเรียนต่อค่อนข้างน้อย

สสอ.กาบัง ให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาแนวทาง หาช่องว่างที่มีปัญหา จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หาใครบ้างมาร่วมแลกเปลี่ยน อาจใช้หลักการศาสนาเข้ามาร่วมดูแลให้วัยรุ่น ชุมชนให้ทราบให้เห็นถึงโทษของการซีนา เช่น ให้บาบอมาให้ความรู้แก่กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มที่เกี่ยวข้องร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา เช่น การเว้นช่วงการตั้งครรภ์ การซีนาหรือการผิดประเวณี ซึ่งพื้นที่อำเภอกาบังจะมีมุสลิมประมาณ 80% และพุทธ 20%

ผอ. กศน. สถานศึกษาในปัจจุบัน มีกฎหมายมารองรับสำหรับนักเรียนที่ท้องแล้วให้สามารถกลับมาเรียนได้

ยกตัวอย่างเคส นักเรียนกำลังตั้งครรภ์และกำลังเรียนไปด้วย มีปัญหาการตีตราจากสังคม นักเรียนก็จะหยุดพักการเรียนไปเอง

บางเคส อายุไม่ถึง 15 ปี เด็กมาสมัครเรียนก็ต้องรับ

กศน มีเด็กออกจากระบบเยอะมาก เพาะเด็กที่ตั้งครรรภ์ไม่พึงประสงค์ในปัจจุบันมีเยอะมาก

ในอดีตกศน เป็นการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ ในปัจจุบันมีสื่อสังคมมออนไลน์เข้ามามีบทบาทต่อกลุ่มเหล่านี้ออย่างมาก ราต้องหาแนวทางออกร่วมกับหลายฝ่าย

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. ในปัจจุบันที่ผ่านมาโครงการเน้นผู้ใหญ่ทำงานเพื่อเด็ก และไม่ได้ถามว่าเด็กต้องการอะไร แต่บางพื้นที่มีเครือข่ายเด็กด้วยกันมาร่วมกัน เช่น เครือข่ายฐานครอบครัว เศรษฐกิจ และมีเครือข่ายจิตอาสา

ยกตัวอย่างเคส รพ.สต. ตาแกะ มีผู้นำศาสนา เข้ามาดูแลเด็ก ในการช่วยเหลือบำบัดแก่เด็กผู้ชายและ

กลุ่มเด็กผู้หญิง จะมีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง สามารถสร้างรายได้ให้แก่ตัวเองและครอบครัวได้

ยกตัวอย่างเคส โกตาบารู มีเด็กแว้นและสก๊อย ใช้กลไกชรบ. +ชรต. ให้ช่วยกันตักเตือนและร่วมกันหา      สาเหตุของปัญหา เพื่อมาช่วยกันแก้ไขปัญหาโดยให้ผู้ปกครองช่วยกันดูแลเด็กและดูแลลูกหลานบ้าน      ใกล้เคียง

เคส ยะหริ่ง เป็นย่านรีสอร์ท การแก้ปัญหา ให้เจ้าของรีสอร์ทออกมาตรการร่วมหากไม่ใช่คู่สามีภรรยาจะไม่อนุญาตให้เข้าพัก

เคส เมืองปัตตานี มีสถานที่เที่ยวและห้องพัก เป็นย่านเมือง จะมีชรบ.เข้าดูแลเด็กและวัยรุ่นกลุ่มนี้

เคส บาเจาะ นราธิวาส อยากแก้ปัญหาเนื่องจากมีปัญหาการหย่าร้างสูง นายอำเภออยากแก้ปัญหาจึงจัดทำโครงการนิกะฮ์โมเดล โดยจุฬาราชมนตรีอนุมัติการนิกะฮ์เด็กต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี ทำให้อิหม่ามหลายพื้นที่ มีการพูดคุยกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ว่าต้องมีช่วงการนิกะฮ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักศาสนาอิสลาม ควรระมัดระวังเรื่องการจับแต่งงาน เช่น เด็กแค่เป็นแฟนกัน พ่อแม่กลัวเลยเถิด จึงจำเป็นต้องจับเด็กแต่งงาน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการ ซึ่งบางครั้งอาจไม่ใช้เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องเสมอไป โดยหลักการแก้ปัญหาอีกทางหนึ่ง คือ ให้อีหม่ามเข้ามานาซีฮัต ตักเตือนร่วมกันทั้งสองฝ่ายร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง สำหรับระยะเวลาในการขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 18 เดือน มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน โดยใช้เครือข่าย พชอ. เข้ามาขับเคลื่อนทางพื้นที่ว่าหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วผลลัพธ์จะดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร

กำนัน ต.กาบัง ยกตัวอย่างเคส ชุมชนรามัน หญิงรักหญิง เพศทางเลือก (LGBT) มาร่วมกันแลกเปลี่ยนและหาร่วมกัน      ในวงประชุมเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา เช่น มีการเชิญโต๊ะอีหม่าม โดยการให้ความรู้หรือคุบตะห์ในทุก  ละหมาดวันศุกร์

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. แลกเปลี่ยนประเด็นนี้ กลุ่ม LGBT เคสกรณีเคยเจอ แต่มีวิธีการแก้ปัญหามีกลุ่มลูกเหรียงเข้ามาดูแลกรณีเคสนี้ หน้าที่คือ ให้      กลับไปสู่หลักศาสนา ใช้หลักศาสนาเป็นทางนำ เช่น ให้ความรู้ว่าเพศหญิงแท้คืออะไร ให้เด็กมีเวลาคิด        ทบทวน ปรับตัว และหาทางออกให้กับชีวิตต่อไป

การแก้ปัญหาควรแก้จากทุกภาคส่วน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทิ้งไม่ทอดทิ้งเด็กหรือวัยรุ่นกลุ่มนี้ ซึ่งการ    แก้ไขปัญหาควรขับเคลื่อนหลายๆ ฝ่ายไปพร้อมๆ กัน

นายอำเภอ ส่งเสริมการทำฮาลาเกาะฮฺระหว่างกลุ่มผู้ชายกับผู้ชาย และกลุ่มผู้หญิงกับผู้หญิง อาจมีการจัดทำ แคมป์หรือค่ายพักแรมให้กลุ่มเยาวชน 1 ตำบลจะมี 1 กลุ่มหรือ 2 กลุ่มที่เป็นกลุ่มพหุวัฒนธรรม        มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน หากเป็นอิสลามจะเน้นผู้นำศาสนามาให้ความรู้ จัดการกับนัฟซู      หรืออารมณ์ใฝ่ต่ำในตัว

และปัญหาการสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันเร็วมาก เช่น เด็กเจนแอลฟาต่อไปจะเรียนรู้ได้เร็วมาก เป็น      ปัญหาและจะส่งผลกระทบต่อเด็กในอนาคต หากเด็กเหล่านี้ขาดทักษะการใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน อาจตก      เป็นเครื่องมือของการใช้สื่อออนไลน์ได้โดยง่าย

อสม. และสภาเด็ก ที่ผ่านมามีการจัดกิจกรรมให้แก่เด็ก ซึ่งมองว่าทางกลุ่มเป็นกลุ่มที่สำคัญในการขับเคลื่อนโดยที่มี  เครือข่ายสภาเด็กเข้ามาร่วมด้วย เช่น นักเรียนจากโรงเรียนกาบังพิทยาคม เด็กกลุ่มนี้สามารถเข้ามา ช่วยขับเคลื่อนได้ และได้เห็นแนวทางจากที่อาจารย์ซอฟียะห์แนะนำ

พยาบาล รพ.สต. จาการลงพื้นที่ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเจอปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาเกิดจากเด็กจากพื้นที่      อื่นเข้ามาในพื้นที่ พ่อแม่ไม่ได้อบรมสั่งสอนเด็กได้อย่างทั่วถึง เพราะพ่อแม่ต้องไปกีดยางตั้งแต่ย่ำรุ่หรือ        เช้ามืดและกลับมาตอนบ่ายโมงหรือบ่ายสองโมง และปัญหาที่ตามมาเมื่อเด็กตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์          ก็คือ เด็กไม่ได้เรียนต่อ ปัญหาส่วนใหญ่ก็จะตกไปอยู่ที่สาธารณสุข

อาจารย์ซอฟียะห์ แนะนำการแก้ปัญหาเคสนี้ เช่นให้พ่อแม่หรือครอบครัวบริเวณใกล้เคียงมีการสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนการดูแลเด็กๆ ในแต่ละ          หลังคาเรือน เมื่อตอนที่ตัวเองไปกรีดยาง เด็กต้องอยู่บ้านคนเดียว เพื่อนบ้านอาจจะช่วยสอดส่องดูแล เป็นหูเป็นตาให้แก่กันและกัน วิธีนี้อาจเป็นฐานในการแก้ไขปัญหา สิ่งแรกที่จะได้หากมีการป้องกันการ      ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ด้วยวิธีนี้ คือ ให้ความเข้มแข็ง มีทักษะในการใช้ชีวิต เช่น ทักษะการป้องกันตัว รู้จักหรือกล้าที่จะปฏิเสธ มีครอบครัวระบบครัวเรือนเข้ามาผลัดกันดูแลเด็ก จะได้เห็นถึงปัญหาของ        เด็กแต่ละคน จากนั้นจึงร่วมกันหาทางในการแก้ไขปัญหา ได้ทราบระบบสาธารณสุข ได้เห็นปัญหา          และหาทางแก้ไขปัญหาในเชิงรุกต่อไป จากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยจึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ควรมีมาตรการชุมชน เช่น บทบาทของผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นโจทย์ให้คิด            ต่อไปว่าจะร่วมคิด ร่วมทำในหารแก้ปัญหาได้อย่างไร ซึ่งรากเหง้าของปัญหาก็คือ ปากท้อง แล้วจะ  เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น มีการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น เพราะปัญหาหลักๆ ล้วนมาจากด้าน        เศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี เด็กไม่ได้ศึกษาต่อ เป็นวงจรที่วนเวียนไปมา

คุณอิลฟาน ตอแลมา แลกเปลี่ยนประเด็นนี้ จากการแลกเปลี่ยนประเด็นจากหลายฝ่ายข้างต้น พบว่าข้อมูลของกาบังเป็นที่น่าสนใจ มีกระบวนการของโครงการ ทางทีมจะเข้ามาช่วยสนับสนุนหนุนเสริมทีมร่วมกับพชอ. ในการแก้ปัญหาในพื้นที่ มีกระบวนการและเครือข่ายพร้อมข้อมูลในการจัดการ คือ โมดูล ดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน โดยขั้นแรกจะมีการอบรมให้ข้อมูลแก่ตัวแทน อบต.ในพื้นที่และบุคคลทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และจะนำข้อมูลที่ได้ไปแก้ปัญหาให้กับชุมชนเพื่อหาแนวทาง เช่น สมาคมจันทร์เสี้ยวเข้ามาร่วมด้วย ทางทีมจะเข้าช่วยในการปรับ mindset ใหม่ มีการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยี มาเป็นตัวผลักดัน มีการจัดทำสื่อหรือสกู๊บข่าว เพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจของพื้นที่กาบังให้คนภายนอกได้รับทราบ ซึ่งทีมแกนหลักที่สำคัญของพื้นที่จังหวัดยะลา คือ คุณอิสมาแอล สิเดะ

คุณอานัติ หวังกุหลำ มีการสรุปประเด็นและขั้นตอนการดำเนินงานหลังจากนี้ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้สามารถนำมาเป็น แนวทาง กลไกและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

นายอำเภอ จะใช้ทีมพชอ.ในการขับเคลื่นงาน โดยการเตรียมตัว เตรียมคน ชุมชน การบริหาร เครื่องมือ โดยใช้          หลักกา 4 Ms และเลือกพื้นที่และแนวทางในการจัดกระบวนการว่าควรใช้แนวทางไหน เช่น เยาวชนที่    พร้อม กาบัง ลิบงบ เพราะมีประชากรเยอะ พื้นที่ก็จะมีปัญหาเยอะตามา อาจมีทีมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน        เข้ามาร่วมด้วยโดยตรง ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพื่อให้ได้ output หรือ outcome เป็นตัวชี้วัดที่          จับต้องได้ ให้มีผลสัมฤทธิ์และสถิติลดลง โดยใช้องค์ความรู้เรื่องการซีนา โดยการนัดบรรยายธรรม      ให้แก่เด็กหรือเยาวชนกลุ่มนี้ สอนวัยรุ่นให้ทำอากีเกาะฮ ทั้งเรื่องการสอนศาสนา การออกกำลังกาย        เรื่องเพศและเรื่องอื่นๆ มีแนวทางที่จับต้องได้เข้ามาตอบโจทย์ให้แก่คนในพื้นที่ โดยการวางระบบ    ระเบียบและจัดกระบวนการต่อไป

สสอ.กาบัง ต้องขอบคุณทางทีมทุกท่านที่เข้ามาร่วมขับเคลื่อน เพราะกาบังคือครอบครัว กาบังมีคนน้อย สามารถ      เข้าถึงทุกพื้นที่ และทุกครอบครัว วันนี้ได้เห็นถึงปัญหาและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

สสอ.จะร่วมขับเคลื่อนต่อไป โดยใช้จุดแข็งของนายอำเภอที่มีการวางบริการของสสอ. ไว้แล้ว มี  เครือข่ายอะไรบ้าง เช่น กลุ่มเยาวชนหรือสภาเด็ก แล้วนำมาขยายต่อยอด ร่วมกันหาแนวทางต่อไป

หลังจากนี้จะเริ่มขับเคลื่อนอย่างไร ไปในทิศทางไหน ร่วมกันหาแนวทางป้องกัน จัดการความรู้ต่อไป        ร่วมกับผู้ปกครอง ตัวเด็กเองและบุคคลรอบข้าง เป้าหมายเพื่อให้ใช้ชีวิตอย่างต้องการ มีการจัดการ    ชีวิตโดยดึงเยาวชนเข้ามาขับเคลื่อนร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อหากระบวนการทำงานใหม่ร่วมกับ    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้มีทิศทางในการดำเนินงานต่ออย่างชัดเจน ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายที่ทุกฝ่าย    ต้องการ คือ ไม่มีการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์เลยในพื้นที่ เมื่อมีทิศทางการเดินต่อไปแล้ว คนอำเภอกาบังก็มีทิศทางและจะนำร่องพร้อมกันทั้ง 2 ตำบล

คุณอิสมาแอล สิเดะ ได้ทราบปัญหาของพื้นที่ว่ามีกิจกรรม เพื่อติดตามประสานงานและจะเป็นข้อมูลให้แก่ทีมภาคสนาม          ต่อไป

ปิดประชุมโดยนายอำเภอ หาปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกันในการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น แนะนำให้เลือกพื้นที่ทาง          เทศบาลเข้ามาร่วมด้วยเพราะเป็นสังคมเมืองมากกว่า จะมีความยุ่งยากมากกว่านี้ มีการปรับ mind    set ให้กับคนในพื้นที่ โดยใช้หลักการ think problem local แปลงยุทธศาสตร์ให้ทำงานง่ายขึ้นและมี    การคิดแบบบ้านๆ การกำหนดพื้นที่ ติดตามผลต่อไป ค่อยมาเรียนรู้ร่วมกันในปีหน้าและขอบคุณคณะ  ทีมงานและจะขับเคลื่อนต่อไปในอนาคต

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

25 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแบบเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพในจังหวัดชายแดนใต้
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นภายใต้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมและวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนใต้
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแบบเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพในจังหวัดชายแดนใต้ (2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นภายใต้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมและวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนใต้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 1 (2) ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 2 (3) ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 3 (4) ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ ครั้งที่ 1 (5) ประชุมทีมงานครั้งที่ 4 (6) ประชุมทีมพี่เลี้ยงโครงการเดิม (7) ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 1 (8) ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 2 (9) ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 3 (10) ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอธารโต จ.ยะลา (11) ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี (12) ประชุมหารือเข้าพบสสอ.ตากใบ จ.นราธิวาส (13) ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอแม่ลาน จ.ปัตตานี (14) ประชุมหารือ สสอ.ยะรัง จ.ปัตตานี (15) ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอแว้ง จ.นราธิวาส (16) ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอกาบัง จ.ยะลา

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 64-00-1060

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ดร.ซอฟียะห์ นิมะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด