สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564 เขต 12

ประชุมประเมินคุณค่าโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลท่าช้าง เทศบาลตำบลบ้านหาร อบต.แม่ทอม อบต บางกล่ำ ผ่าน ZOOM23 เมษายน 2565
23
เมษายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย ดวงดาว อุปสิทธิ์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.พี่เลี้ยงเขต12 จัดประชุมกิจกรรมประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพเขต 12 สงขลา
ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (https://localfund.happynetwork.org/zoom) เพื่อชี้แจงแนวทางการทำแผนและพัฒนาแผนในระดับพื้นที่ สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงของการมีกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย

2.กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าช้าง วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และผลกระทบ ดังนี้

 สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่เทศบาลตำบลท่าช้าง มีอัตราการฆ่าตัวตายของประชาชนในพื้นที่เกินเกณฑ์ที่กำหนดของกระทรวงสาธารณสุข สาเหตุเกิดเนื่องจากภาวะเครียด ด้านเศรษฐกิจ หนี้สิน และสถานการณ์โรคโควิด-19
 ด้านสังคมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เทศบาลตำบลท่าช้างเป็นสังคมพาหุวัฒนธรรม วิถีไทยพุทธ และไทยมุสลิม มีกลุ่มเครือข่ายชุมชน ประกอบด้วย เครือข่ายแอโรบิคตำบลท่าช้าง (กลุ่มวัยทำงาน) เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ (13ชุมชน) เครือข่ายทูบีนัมเบอร์วัน (เด็ก-เยาวชนในโรงเรียน) เครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อสร.)

 ด้านองค์กร หน่วยงานในพื้นที่ ประกอบด้วย อปท. อำเภอบางกล่ำ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ (มหาวิทยาลัยทักษิณ) คลีนิคให้คำปรึกษาสุขภาพจิต ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต โรงเรียนผู้สูงอายุ และบริษัทซีพีฮอล์

 ประเภทของการมีกิจกรรมทางกาย ประกอบด้วย การรำไม้พลอง แอโรบิค คีตะมวยไทย โนราบิค ลิเกฮูลู การเดินออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน การออกำลังกายด้วยยางยืด กีฬาประจำปี (บานไม่รู้โรยเกมส์) การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านของผู้สูงอายุ การปลูกผักสวนครัวของครัวเรือน และการยืดเหยียด หยุดพักในที่ทำงาน ของพนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาล มาผ่อนคลายโดยการเต้นเพื่อให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ช่วยสร้างพลังในการทำงาน

 ด้านสภาพแลดล้อม มีพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนในพื้นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ถนนปันสุข มีการจัดภูมิทัศน์ 2ข้างทาง มีการปลูกต้นทองอุไร อย่างน้อย 500ต้น ในช่วงที่มีการออกดอกบานสพรั่ง จะเป็นจุดเชคอิน ถ่ายภาพ ของคนที่ไปเดินออกกำลังกาย และปั่นจักรยาน

 ประเมินคุณค่าโครงการ การป้องกันโรคไข้เลือดออกและการป้องโรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ปีพ.ศ.2564 มีการบูรณาการกิจกรรมทางกายในการดำเนินโครงการ เช่น การเดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ชุมชนทุกชุมชน การทำความสะอาด Big Cleanning Day การออกกำลังกายภายในศูนย์กักตัวผู้ป่วยโควิด-19 การใช้กิจกรรมPA เข้ามากระตุ้นด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต เพื่อลดภาวะเนือยนิ่ง เครียด ภาวะซึมเศร้า และลดการฆ่าตัวตายของประชาชนในพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดการประเมินคุณค่าโครงการในระบบเว้ปไซต์กองทุน

2.คณะทำงานพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกายอำเภอบางกล่ำ จำนวน 4 คน ประกอบด้วย

  - น.ส.กฤษณพร ไพบูลย์เกษมสุทธิ  อบต. บางกล่ำ   - นางธัญชนก สุขยะฤกษ์  อบต. แม่ทอม
  - นางสาวสุลียพร ศรีประไพ เทศบาลตำบลบ้านหาร   - นางสาวสุพรรษา อุไรพันธ์ เทศบาลตำบลท่าช้าง