สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564 เขต 12

ประชุมติดตามแผนกิจกรรมทางกายและแผนโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ ทต.ควนเนียง ทต.บางเหรียง และ อบต รัตภูมิ อ. ควนเนียง22 เมษายน 2565
22
เมษายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย ดวงดาว อุปสิทธิ์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.พี่เลี้ยงเขต12 นำโดย นางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์ นางดวงใจ อ่อนแก้ว และนส.อารีย์ สุวรรณชาตรี ชี้แจงแนวทางการทำแผนและพัฒนาแผนในระดับพื้นที่ สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงของการมีกิจกรรมทางกายเพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. พี่เลี้ยงระดับพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. พี่เลี้ยงให้มีทักษะการติดตามแผน การเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และติดตามประเมินผลโครงการ “การทำกิจกรรมทางกาย คืออะไร เพื่อให้ตัวแทนกองทุนที่เข้าร่วมมีความเข้าใจกิจกรรมทางกายมีอะไรบ้าง เช่น การเดิน การทำงาน การประกอบอาชีพ การเล่นกีฬา กิจกรรมเรลลี่ กิจกรรมอาสาฯ ตลอดจนการบูรณาการการชับเคลื่อนงานของโครงการที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ เช่น โครงการในส่วนของเทศบาล ในส่วนของกองต่างๆ เช่น โครงการส่วนของกองสาธารณสุข กองสวัสดิการ หรือ การทำโครงการโควิดที่ส่งเสริมให้มีกิจกรรมออกกำลังกายในพื้นที่การกักตัว ของผู้ป่วย เพื่อลดภาวะซึมเศร้า และมีการออกกำลัง เคลื่อนไหว ให้ร่างกายแข็งแรง สามารถต่อสู้กับโรคได้
แนวคิดในการติดตามแผนเราต้องศึกษาทุกมิติทั้งแผนงานกองทุนฯ และแผนของหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ ที่มีรูปแบบกิจกรรมสามารถนำมาใส่ในแผนกิจกรรมทางกายได้ หากกองทุนฯไหนทำระดับ พชอ. สามารถเอาแผนอำเภอและแผนในพื้นที่มาเชื่อมโยงกันได้โดยไม่ใช้งบประมาณของกองทุนฯ กระบวนการสร้างพื้นที่ที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางกาย การสร้างรูปแบบกิจกรรมทางกายในพื้นที่ โดยสอดคล้องกับศิลปะและวัฒนธรรมของพื้นที่ การค้นหาต้นทุน ในพื้นที่ และการเสริมของทุกหน่วยงาน เพื่อให้มีกิจกรรมทางกายทุกมิติ”

2.กองทุนนำเสนอการพัฒนากลไก กิจกรรมทางกายแบบบูรณาการในพื้นที่

  2.1. บริบทของพื้นที่

1.ศพด. ควนเนียงใน บริเวณรอบๆ เป็นทุ่งนามีเนื้อที่ 2ไร่ กิจกรรมที่เคยทำมาก่อน มีการทำแปลงผัก สวนหย่อม ปลูกผักในกระถาง ปลูกผักปลอดสารพิษ และในทุกเช้าก่อนเข้าเรียนเด็กเล็กจะมีการออกกำลังกายเต้นแอโรบิค
2. ทต.บางเหรียง เป็นชุมชนวิถีประมง มีกิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากร สัตว์น้ำบริเวณรอบทะเลสาบสงขลา “การทำฟาร์มทะเล” และกิจกรรมทำความสะอาด บริเวณเทศบาล ทุก2เดือน เป็นประจำ ในพื้นที่ชุมชนมีการทำกิจกรรมตามนโยบายจังหวัด ปรับปรับปรุงภูมิทัศน์ การทำความสะอาดบริเวณบ้านเรือน “หน้าบ้าน น่ามอง”

3.ทต ควนเนียง ปชช.ขาดความเข้มแข็ง การรวมตัวเครือข่ายกลุ่มทำได้ยากด้วยเป็นสังคมเมือง ส่วนใหญ่ อสม. เป็นคนขอ คก. / ศพด.ศูนย์เด็ก รร. ไม่ค่อยขอ คก.เพราะมีงบของหน่วยงานตนเอง

4.พี่เลี้ยงแนะนำและให้กองทุนได้เพิ่มเติมข้อมูลในระบบในการทบทวนแผน และพัฒนาโครงการ ปี65 อย่างน้อย 1-2 คก. และให้เลือกโครงการของปี64 ประเมินคุณค่า

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย อำเภอควนเนียงเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย
1) เจ้าหน้าที่กองทุน ทต.บางเหรียง
2) เจ้าหน้าที่กองทุน ทต.ควนเนียง 3) เจ้าหน้าที่กองทุน อบต.รัตภูมิ 4) ตัวแทนครู ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนเนียงใน

2.กองทุน อบต.รัตภูมิ ได้บันทึกขัอมูลโครงการกิจกรรมทางกาย ปี2565 ในระบบเว้ปไซต์กองทุน

3.ตัวแทนครู ศพด.บ้านควนเนียงใน ได้เสนอโครงการกิจกรรมทางกายในเด็กปฐมวัย แบบบูรณาการ โดยมีกิจกรรม 1.ส่งเสริมการจัดทำแปลงผักและปลูกผักที่ชอบ 2.กิจกรรมพื้นแสนสนุก การระบายสี บนพื้นที่ผนังของ ศพด. 3.กิจกรรมเช้าสดใส ออกกำลังกายก่อนเรียน 4.กิจกรรมปลูกฝังจิตอาสาพาน้องเข้าวัดทำความสะอาดวัด ร่วมกับผู้ปกครองและครู 4.เมนูสุขภาพวัยใส เรียนรู้กินอย่างปลอดภัย เป็นต้น