ชื่อโครงการ | (UNPD) ปฏิบัติการณ์ความมั่นคงทางอาหาร อบต.บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี |
ภายใต้โครงการ | (UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | 64-ข-023 |
วันที่อนุมัติ | 1 มิถุนายน 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2564 - 31 ธันวาคม 2564 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 80,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสุริยา รอซี โทรศัพท์ 085 692 7171 |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | 1.ดร.เพ็ญ สุขมาก 2. นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.818929,101.571264place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
ปัตตานี | place directions |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
แม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะยังไม่มีปัญหาขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง แต่ก็อาจพูดได้ว่าคนไทยยังเข้าไม่ถึงอาหารที่ปลอดภัย มีประโยชน์และมีความหลากหลายทางโภชนาการ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการผลิตอาหารและเครื่องดื่มตามกลไกตลาดที่เป็นเชิงเดี่ยว เน้นปริมาณผลผลิตเป็นสำคัญ ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถปล่อยมือจากการใช้สารเคมีต่างๆ ในผักผลไม้ ปศุสัตว์ หรือแม้แต่อาหารทะเลได้ จึงทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งแม้ว่าในประเทศไทยจะยังไม่มีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ที่สหรัฐอเมริกามีผลวิจัยออกมากว่าอัตราการเกิดของเด็กออทิสติกสอดคล้องกับปริมาณการใช้ยากําจัดวัชพืช Glyphosate ในพืชชนิดถั่วเหลืองกับข้าวโพด ซึ่งเป็นสารอันตรายที่มีการนําเข้าสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย
ความมั่นคงทางอาหารคือ การเข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอสําหรับการบริโภคของประชาชน อาหารมีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมตามความต้องการ ตามวัยเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีรวมทั้งการมีกระบวนการผลิตที่เกื้อหนุน รักษาความสมดุลของระบบนิเวศวิทยา และความมั่นคงของฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือเกิดภัยพิบัติ สาธารณภัยหรือการก่อการร้ายอันเกี่ยวเนื่องจากอาหาร
ประเทศไทยยังคงพบปัญหาเด็กขาดสารอาหารที่ส่งผลต่อภาวะเตี้ย ผอม และซีด รวมทั้งระดับไอคิวของเด็กและพบปัญหาโรคอ้วนในเด็กจากการได้รับโภชนาการเกิน ผลสำรวจสถานการณ์เด็กไทยระหว่างปี 2558 - 2559 โดยองค์กร ยูนิเซฟและสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าเด็กในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ประสบปัญหาขาดสารอาหาร มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และมีภาวะเตี้ยในสัตส่วนที่สูงกว่าภาคอื่นๆ โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี มีภาวะเตี้ยแคระแกร็น อยู่ที่ ร้อยละ 29, 21 และ 19 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ นอกจากนี้ในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสยังพบภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันของเด็กกลุ่มนี้ ที่ร้อยละ 13 และ 11 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5 เท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนถึงการที่เด็กได้รับอาหารที่มีประโยชน์ไม่เพียงพออย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เกิดภาวะขาดสารอาหารที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของเด็ก สอดคล้องกับผลสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (ไอคิว) ประจำปี 2559 ของกรมสุขภาพจิต พบว่าเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัด ปัตตานี นราธิวาส และยะลา มีค่าเฉลี่ยไอคิว อยู่ที่ 88.32 จุด 92.46 จุด และ 93.51 จุด ตามลำดับ ขณะที่ค่าเฉลี่ยไอคิวของทั่วประเทศอยู่ที่ 98.23 จุด (เกณฑ์มาตรฐานไอคิว100 จุด)
พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่มีภาวะวิกฤติ ทั้งเรื่องสถานการณ์ความไม่สงบ ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID- 19 ส่งผลให้ปัญหาเดิมรุนแรงเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ องค์กรต่างๆ ควรบูรณาการการทำงานเพื่อแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ การสนับสนุนของ UNDP ในการดำเนินโครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นและชุมชนเพื่อการจัดการระบบอาหารในภาวะวิกฤติพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยดำเนินการ ในการใช้กลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่ ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาระบบอาหาร ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายการจัดการระบบอาหาร ระบบสุขภาพ ให้เกิดปฏิบัติการเพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัยในชุมชน ในรูปแบบระดับครัวเรือนและองค์กร เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกลุ่มเกษตรอินทรีย์ พื้นที่สาธารณะเกิดระบบการเชื่อมโยงอาหารไปสู่ส่วนต่างๆ ของชุมชน เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและตลาดชุมชน โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อการมีระบบสุขภาพที่ดี
ในส่วนพื้นที่ของตำบลบ้านน้ำบ่อ พบว่าสถานการณ์โภชนาการของเด็กช่วงอายุ 0 – 5 ปี พัฒนาการสมวัย 94.12 % ภาวะโภชนาการสมส่วน 89.88 % สูงดีสมสวน 70.13 % ภาวะเด็กเตี้ยแคระแกร็น 6.78 % ภาวะเด็กผอม 10.33 % ซึ่งพบว่าภาวะเด็กเตี้ย และภาวะเด็กผอมเกิดขึ้นในช่วงวันเรียน และภาวะเด็กอ้วน 12.76 % และพบว่าทารถ 0 – 6 เดือนดื่มนมแม่ 78.78 % จากสถานการณ์ดังกล่าว สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้ำบ่อ จึงเสนอโครงการจัดการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อจัดการระบบอาหารในภาวะวิกฤติ พื้นที่ตำบลบ้านน้ำบ่อ กับสถาบันนโยบายสาธารณะ และ UNDP Thailand สถาบันนโยบายสาธารณะฯ เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการให้ดียิ่งขึ้น และลดสัดส่วนของสภาวะเด็กเตี้ยแคระแกร็น ภาวะเด็กผอม และภาวะเด็กอ้วน อย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เกิดแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล |
0.00 | |
2 | เพื่อให้เกิดการจัดการผลผลิตจากการทำเกษตรสู่โรงครัว และกระจายผลผลิตที่เหลือสู่ชุมชน เกิดโครงการด้านระบบอาหาร ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยโภชนาการสมวัย อย่างน้อย 4 โครงการ |
0.00 | |
3 | เด็กได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ เกิดการจัดการระบบอาหารในภาวะวิกฤติ ครอบคลุมประเด็นความมั่นคงทาง อาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย ตลอดห่วงโซ่อาหาร ในระดับตำบล |
0.00 | |
4 | เพื่อให้ชุมชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย โดยนำผลผลิตจากชุมชนสู่ตลาดในชุมชน เกิดกระบวนการจำหน่ายสินค้าในชุมชนสู่ชุมชน |
0.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 265 | 80,000.00 | 6 | 80,000.00 | |
3 ส.ค. 64 | ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ และเจ้าหน้าผู้รับผิดชอบโครงการของ อบต.บ้านน้ำบ่อ | 20 | 4,820.00 | ✔ | 4,820.00 | |
25 ส.ค. 64 | ส่งเสริมการเพาะเห็ด และการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านน้ำบ่อ | 100 | 19,995.00 | ✔ | 19,995.00 | |
26 ส.ค. 64 | ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี และการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านท่าสู | 60 | 20,000.00 | ✔ | 20,000.00 | |
13 ก.ย. 64 | ส่งเสริมการเรียนรู้การทำน้ำหมัก และการทำเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน | 40 | 20,050.00 | ✔ | 20,050.00 | |
16 ก.ย. 64 | ส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษใน ศพด.บ้านน้ำบ่อ | 25 | 11,035.00 | ✔ | 11,035.00 | |
21 ก.ย. 64 | ประชุมติดตามการดำเนินโครงการกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ และเจ้าหน้าผู้รับผิดชอบโครงการของ อบต.บ้านน้ำน้ำบ่อ | 20 | 4,100.00 | ✔ | 4,100.00 |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 12:21 น.