PSU UNDP

diversity_2

(UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ (UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ ”

จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
อ.เพ็ญ สุขมาก , วรรณา สุวรรณชาตรี

ชื่อโครงการ (UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ

ที่อยู่ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จังหวัด

รหัสโครงการ 00127817 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"(UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
(UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ



บทคัดย่อ

โครงการ " (UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รหัสโครงการ 00127817 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 2,100,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์ด้านระบบอาหาร
    ด้านความมั่นคงทางอาหาร: พื้นที่ผลิตอาหารภาคใต้ลดลง เนื่องจากปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น ส่งผลต่อการเข้าถึงอาหารของประชาชน เออวดีและเดชรัต (2555) รายงานว่าคนใต้บริโภคอาหารที่ผลิตได้เองเพียงร้อยละ 6.9 ขณะที่ประชาชนต้องซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมาประกอบอาหารสูงถึงร้อยละ 76.4 โดยภาคใต้เป็นกลุ่มคนที่ต้องจ่ายเงินซื้ออาหารในแต่ละวันสูงเป็นอันดับสองรองจากคนกรุงเทพและปริมณฑล รายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในระดับภาคของประเทศไทย พบว่าภาคใต้ชายแดนมีความยากจนสูงที่สุด โดยปี 2559 มีสัดส่วนคนจนสูงถึงร้อยละ 32.8 หรือคนในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนเกือบ 1 ใน 3 เป็นคนจน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (สัดส่วนคนจนเฉลี่ยทั้งประเทศร้อยละ 8.6) จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนที่มีสัดส่วนคนจนเป็นลำดับที่ 2 และ 3 โดยอยู่ใน 10 ลำดับแรกของจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนหนาแน่นสูงที่สุดติดต่อกันตั้งแต่ปี 2550-2559 สำหรับความเหลื่อมล้ำของรายได้พบว่าประชากรภาคใต้ชายแดนมีรายได้เฉลี่ยต่ำสุดเพียง 5,725 บาทต่อเดือน (รายได้เฉลี่ยทั่วประเทศ 9,409 บาท) การมีรายได้น้อยทำให้โอกาสการเข้าถึงอาหารลดน้อยตามไปด้วย
  รายงานผลการศึกษา “โครงการวิจัยการปรับปรุงภาวะโภชนาการของเด็กที่มีภาวะขาดแคลนโภชนาการในสามจังหวัด พบว่า ในสถานการณ์โรค Covid-19 ครอบครัวส่วนใหญ่มีความเดือดร้อนเรื่องอาหาร โดยได้รับปริมาณและคุณภาพของอาหารลดลง เด็กบางคนได้รับอาหารไม่ครบมื้อในระหว่างวัน (https://workpointtoday.com/unicef-ramadan2020-covid-19/)   สถานการณ์ด้านโภชนาการ: ประเทศไทยยังคงพบปัญหาเด็กขาดสารอาหารที่ส่งผลต่อภาวะเตี้ย ผอม และซีด รวมทั้งระดับไอคิวของเด็ก และพบปัญหาโรคอ้วนในเด็กจากการได้รับโภชนาการเกิน ผลสำรวจสถานการณ์เด็กไทยระหว่างปี 2558 - 2559 โดยองค์กรยูนิเซฟและสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าเด็กในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ประสบปัญหาขาดสารอาหาร มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และมีภาวะเตี้ยในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น ๆ โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี มีภาวะเตี้ยแคระแกร็น อยู่ที่ ร้อยละ 29, 21 และ 19 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ นอกจากนี้ในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสยังพบภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันของเด็กกลุ่มนี้ ที่ร้อยละ13 และ 11 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5 เท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนถึงการที่เด็กได้รับอาหารที่มีประโยชน์ไม่เพียงพออย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เกิดภาวะขาดสารอาหารที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของเด็ก สอดคล้องกับผลสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (ไอคิว) ประจำปี 2559 ของกรมสุขภาพจิต พบว่าเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัด ปัตตานี นราธิวาส และยะลา มีค่าเฉลี่ยไอคิว อยู่ที่ 88.32 จุด 92.46 จุด และ 93.51 จุด ตามลำดับ ขณะที่ค่าเฉลี่ยไอคิวของทั่วประเทศอยู่ที่ 98.23 จุด (เกณฑ์มาตรฐานไอคิว100 จุด)
  พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่มีภาวะวิกฤติ ทั้งเรื่องสถานการณ์ความไม่สงบ ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID- 19 ส่งผลให้ปัญหาเดิมรุนแรงเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ องค์กรต่างๆ ควรบูรณาการการทำงานเพื่อแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ การสนับสนุนของ UNDP ในการดำเนินโครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นและชุมชนเพื่อการจัดการระบบอาหารในภาวะวิกฤติพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยดำเนินการ ในการใช้กลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่ ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาระบบอาหาร ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายการจัดการระบบอาหาร ระบบสุขภาพ โดยใช้งบประมาณของท้องถิ่น ให้เกิดปฏิบัติการเพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัยในชุมชน ในรูปแบบระดับครัวเรือนและองค์กร เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พื้นที่สาธารณะ เกิดระบบการเชื่อมโยงอาหารไปสู่ส่วนต่างของชุมชน เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และตลาดชุมชน โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อการมีระบบสุขภาพที่ดี อย่างยั่งยืนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์ปัญหา ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยอุปสรรค ด้านระบบอาหารในระดับตำบล ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารและโภชนาการ และโครงการระบบอาหาร บรรจุในแผนท้องถิ่นหรือแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล
  3. เพื่อสนับสนุนการสร้างปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
  4. เพื่อพัฒนาคู่มือแนวทางการดำเนินงานระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การประชุมปรึกษาหารือการดำเนินโครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่นฯ
  2. การประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกับพี่เลี้ยง UNDP
  3. การประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกับผู้ประสานงาน UNDP
  4. การประชุมปรับปรุงข้อเสนอโครงการความมั่นคงทางอาหารของ อปท.
  5. ปฏิบัติการจัดการระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล ตามโครงการต้นแบบ
  6. ประชุมเชิงปฺฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ อปท.
  7. การสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านระบบอาหาร
  8. การพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารและโภชนาการ ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
  9. การพัฒนาคู่มือแนวทางการดำเนินงานระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนมีพื้นที่ผลิตอาหารทั้งการทำเกษตร ปศุสัตว์และประมงที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คนในชุมชนเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ มีความมั่นคงทางอาหารแม้ในภาวะวิกฤติ
2. โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีแหล่งผลิตอาหารประเภทพืชผัก ผลไม้ ไข่ หรือตามบริบท เพื่อการจัดการอาหารกลางวันที่มีมาตรฐาน และเชื่อมโยงกับแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยในชุมชน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การประชุมปรึกษาหารือการดำเนินโครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่นฯ

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมร่วมกับ อปท.เป้าหมาย อบต น้ำบ่อ อำเภอปานาเระ  อบต ปุโละปุโย เทศบาลตำบลลำใหม่  อบต บ้านแหร อบต. บันนังสตา อำเภอบันนังสตา อบต. แว้ง อบต.บาเจาะ  และอบต.ปะลุกาสาเมาะ เพื่อสร้างความร่วมมือการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม 1. ปาลุกาสาเมาะ  เงื่อนไข การใช้งบประมาณ ติดปัญหา เรื่อง สตง. ยึดระเบียบอะไร  ระยะเวลาการทำงาน
2. ปลัด ทต. ทำเรื่องโภชนาการในเด็ก ใช้งบ สปสช. 3.  ศพด.  บันนังสตา เคยทำกิจกรรมเรื่องเกษตรในโรงเรียน  ปัจจุบันมี ศพด. 6 แห่ง 4. ปุโล๊ะปุโย ทำเรื่อง ศพด. อยู่ตลอด แต่ปี 64 ไม่ได้งบ และทำเรื่องเกษตรทำ สนง.เกษตร
5. อบต.แว้ง  กิจกรรมครัวฮาลาลจาก สสจ.  ปรับสภาพแวดล้อมในครัว ตามหลักอิสลาม มีกระบวนการสอบที่มาของวัตถุดิบ 6. อบต. น้ำบ่อ  มีฐานข้อมูลเดิม เพราะเคยเป็นแม่ข่ายของ สสส. ให้ความสำคัญกับการทำเกษตร (การปลูกแตงโม) การหมุนเวียนอาหารในชุมชน 7. อบต.บาเจาะ

แผนการดำเนินงาน ม.ค. – มิ.ย. 64 1. การสำรวจข้อมูลสถานการณด้านระบบอาหาร  เดือน 30 มี.ค. ( 2 สัปดาห์) 2. การพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารและโภชนาการ คือด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย (เม.ย.)
3. ปฏิบัติการจัดการระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล ตามโครงการต้นแบบ (พ.ค.- มิ.ย.) 4. การพัฒนาคู่มือการดำเนินงานระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล (มิ.ย.)

  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

2. การประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกับพี่เลี้ยง UNDP

วันที่ 20 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปรึกษาการเปลี่ยนพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมดำเนินโครงการฯ จำนวน 2 พื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เปลี่ยนพื้นที่ดำเนินงาน พื้นที่เดิม 1. จังหวัดปัตตานี อบต ท่าน้ำ อำเภอปานาเระ
อบต น้ำบ่อ อำเภอปานาเระ อบต ปุโละปุโย อำเภอหนองจิก
2. จังหวัดยะลา เทศบาลตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง อบต บ้านแหร อำเภอธารโต
อบต. บันนังสตา อำเภอบันนังสตา
3. จังหวัดนราธิวาส
อบต. แว้ง อำเภอแว้ง
อบต.บาเจาะ  อ. บาเจาะ อบต.กาเยาะมาตี อ. บาเจาะ  เปลี่ยนพื้นที่ อบต.ปะลุกาสาเมาะ อ. บาเจาะ
พื้นที่ใหม่ จังหวัดปัตตานี
- อำเภอหนองจิก อบต.ปูยุด - อำเภอปานาเระ อบต.น้ำบ่อ
-อำเภอหนองจิก อบต.ปุโละปุโย จังหวัดยะลา
-อำเภอเมือง เทศบาลตำบลลำใหม่
-อำเภอธารโต อบต.บ้านแหร -อำเภอบันนังสตา อบต.บันนังสตา จังหวัดนราธิวาส
-อำเภอแว้ง อบต.แว้ง -อำเภอรือเสาะ เทศบาลตำบลรือเสาะ - อำเภอยะรัง อบต.ยะรัง

  • photo

 

0 0

3. การประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกับผู้ประสานงาน UNDP

วันที่ 30 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปรึกษาการบริหารโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วางแผนการดำเนินงานโครงการตามระยะเวลาระหว่างเดือน มกราคม - กันยายน 2564

  • photo

 

0 0

4. การประชุมปรับปรุงข้อเสนอโครงการความมั่นคงทางอาหารของ อปท.

วันที่ 28 พฤษภาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการการสร้างปฏิบัติการความมั่นคงทางอาหารของ อปท. จำนวน 7 แห่ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อปท. จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ อบต น้ำบ่อ อบต ปุโละปุโย เทศบาลตำบลลำใหม่ อบต. บันนังสตา อบต. แว้ง อบต.ปูยุด  อบต.ปะลุกาสาเมาะ มีการปรับปรุงข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

5. ประชุมเชิงปฺฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ อปท.

วันที่ 11 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปรับปรุงข้อเสนอโครงการ อบต.บ้านแหร อบต.ยะรัง และเทศบาลตำบลรือเสาะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อบต.บ้านแหร อบต.ยะรัง และเทศบาลตำบลรือเสาะ นำไปปรับปรุงข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุนต่อไป

  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์ปัญหา ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยอุปสรรค ด้านระบบอาหารในระดับตำบล ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
ตัวชี้วัด : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 10 แห่ง มีข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหารและโภชนาการ และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านระบบอาหารและโภชนาการ
0.00

 

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารและโภชนาการ และโครงการระบบอาหาร บรรจุในแผนท้องถิ่นหรือแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล
ตัวชี้วัด : 1.เกิดแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล 2. เกิดโครงการด้านระบบอาหาร ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย อย่างน้อย ตำบลละ 3 โครงการ
0.00

 

3 เพื่อสนับสนุนการสร้างปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
ตัวชี้วัด : เกิดการจัดการระบบอาหารในภาวะวิกฤติ ครอบคลุมประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย ตลอดห่วงโซ่อาหาร ในระดับตำบล
0.00

 

4 เพื่อพัฒนาคู่มือแนวทางการดำเนินงานระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล
ตัวชี้วัด : มีคู่มือ แนวทางการดำเนินงานระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์ปัญหา ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยอุปสรรค ด้านระบบอาหารในระดับตำบล ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย (2) เพื่อพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารและโภชนาการ และโครงการระบบอาหาร บรรจุในแผนท้องถิ่นหรือแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล (3) เพื่อสนับสนุนการสร้างปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหาร  อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย (4) เพื่อพัฒนาคู่มือแนวทางการดำเนินงานระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การประชุมปรึกษาหารือการดำเนินโครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่นฯ (2) การประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกับพี่เลี้ยง UNDP (3) การประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกับผู้ประสานงาน UNDP (4) การประชุมปรับปรุงข้อเสนอโครงการความมั่นคงทางอาหารของ อปท. (5) ปฏิบัติการจัดการระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล ตามโครงการต้นแบบ (6) ประชุมเชิงปฺฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ อปท. (7) การสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านระบบอาหาร (8) การพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารและโภชนาการ ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย (9) การพัฒนาคู่มือแนวทางการดำเนินงานระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


(UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ จังหวัด

รหัสโครงการ 00127817

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( อ.เพ็ญ สุขมาก , วรรณา สุวรรณชาตรี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด