(UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ
ชื่อชุดโครงการ | (UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ |
ภายใต้แผนงาน/ชุดโครงการ | ตำบลบูรณาการระบบอาหาร |
รหัสชุดโครงการ | 00127817 |
ปีงบประมาณ | 2564 (เฉพาะแอดมิน) |
วันที่อนุมัติ | 1 มกราคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 2,100,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สถาบันนโยบายสาธารณะ |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | อ.เพ็ญ สุขมาก , วรรณา สุวรรณชาตรี |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ด้านระบบอาหาร
ด้านความมั่นคงทางอาหาร: พื้นที่ผลิตอาหารภาคใต้ลดลง เนื่องจากปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น ส่งผลต่อการเข้าถึงอาหารของประชาชน เออวดีและเดชรัต (2555) รายงานว่าคนใต้บริโภคอาหารที่ผลิตได้เองเพียงร้อยละ 6.9 ขณะที่ประชาชนต้องซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมาประกอบอาหารสูงถึงร้อยละ 76.4 โดยภาคใต้เป็นกลุ่มคนที่ต้องจ่ายเงินซื้ออาหารในแต่ละวันสูงเป็นอันดับสองรองจากคนกรุงเทพและปริมณฑล รายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในระดับภาคของประเทศไทย พบว่าภาคใต้ชายแดนมีความยากจนสูงที่สุด โดยปี 2559 มีสัดส่วนคนจนสูงถึงร้อยละ 32.8 หรือคนในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนเกือบ 1 ใน 3 เป็นคนจน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (สัดส่วนคนจนเฉลี่ยทั้งประเทศร้อยละ 8.6) จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนที่มีสัดส่วนคนจนเป็นลำดับที่ 2 และ 3 โดยอยู่ใน 10 ลำดับแรกของจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนหนาแน่นสูงที่สุดติดต่อกันตั้งแต่ปี 2550-2559 สำหรับความเหลื่อมล้ำของรายได้พบว่าประชากรภาคใต้ชายแดนมีรายได้เฉลี่ยต่ำสุดเพียง 5,725 บาทต่อเดือน (รายได้เฉลี่ยทั่วประเทศ 9,409 บาท) การมีรายได้น้อยทำให้โอกาสการเข้าถึงอาหารลดน้อยตามไปด้วย
รายงานผลการศึกษา “โครงการวิจัยการปรับปรุงภาวะโภชนาการของเด็กที่มีภาวะขาดแคลนโภชนาการในสามจังหวัด พบว่า ในสถานการณ์โรค Covid-19 ครอบครัวส่วนใหญ่มีความเดือดร้อนเรื่องอาหาร โดยได้รับปริมาณและคุณภาพของอาหารลดลง เด็กบางคนได้รับอาหารไม่ครบมื้อในระหว่างวัน (https://workpointtoday.com/unicef-ramadan2020-covid-19/)
สถานการณ์ด้านโภชนาการ: ประเทศไทยยังคงพบปัญหาเด็กขาดสารอาหารที่ส่งผลต่อภาวะเตี้ย ผอม และซีด รวมทั้งระดับไอคิวของเด็ก และพบปัญหาโรคอ้วนในเด็กจากการได้รับโภชนาการเกิน ผลสำรวจสถานการณ์เด็กไทยระหว่างปี 2558 - 2559 โดยองค์กรยูนิเซฟและสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าเด็กในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ประสบปัญหาขาดสารอาหาร มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และมีภาวะเตี้ยในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น ๆ โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี มีภาวะเตี้ยแคระแกร็น อยู่ที่ ร้อยละ 29, 21 และ 19 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ นอกจากนี้ในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสยังพบภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันของเด็กกลุ่มนี้ ที่ร้อยละ13 และ 11 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5 เท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนถึงการที่เด็กได้รับอาหารที่มีประโยชน์ไม่เพียงพออย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เกิดภาวะขาดสารอาหารที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของเด็ก สอดคล้องกับผลสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (ไอคิว) ประจำปี 2559 ของกรมสุขภาพจิต พบว่าเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัด ปัตตานี นราธิวาส และยะลา มีค่าเฉลี่ยไอคิว อยู่ที่ 88.32 จุด 92.46 จุด และ 93.51 จุด ตามลำดับ ขณะที่ค่าเฉลี่ยไอคิวของทั่วประเทศอยู่ที่ 98.23 จุด (เกณฑ์มาตรฐานไอคิว100 จุด)
พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่มีภาวะวิกฤติ ทั้งเรื่องสถานการณ์ความไม่สงบ ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID- 19 ส่งผลให้ปัญหาเดิมรุนแรงเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ องค์กรต่างๆ ควรบูรณาการการทำงานเพื่อแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ การสนับสนุนของ UNDP ในการดำเนินโครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นและชุมชนเพื่อการจัดการระบบอาหารในภาวะวิกฤติพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยดำเนินการ ในการใช้กลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่ ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาระบบอาหาร ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายการจัดการระบบอาหาร ระบบสุขภาพ โดยใช้งบประมาณของท้องถิ่น ให้เกิดปฏิบัติการเพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัยในชุมชน ในรูปแบบระดับครัวเรือนและองค์กร เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พื้นที่สาธารณะ เกิดระบบการเชื่อมโยงอาหารไปสู่ส่วนต่างของชุมชน เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และตลาดชุมชน โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อการมีระบบสุขภาพที่ดี อย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์ปัญหา ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยอุปสรรค ด้านระบบอาหารในระดับตำบล ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 10 แห่ง มีข้อมูลสถานการณ์ระบบอาหารและโภชนาการ และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านระบบอาหารและโภชนาการ |
0.00 | |
2 | เพื่อพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารและโภชนาการ และโครงการระบบอาหาร บรรจุในแผนท้องถิ่นหรือแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล 1.เกิดแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล 2. เกิดโครงการด้านระบบอาหาร ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย อย่างน้อย ตำบลละ 3 โครงการ |
0.00 | |
3 | เพื่อสนับสนุนการสร้างปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย เกิดการจัดการระบบอาหารในภาวะวิกฤติ ครอบคลุมประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย ตลอดห่วงโซ่อาหาร ในระดับตำบล |
0.00 | |
4 | เพื่อพัฒนาคู่มือแนวทางการดำเนินงานระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล มีคู่มือ แนวทางการดำเนินงานระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 0.00 | 5 | 0.00 | |
19 ก.พ. 64 | การประชุมปรึกษาหารือการดำเนินโครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่นฯ | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
20 เม.ย. 64 | การประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกับพี่เลี้ยง UNDP | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
30 เม.ย. 64 | การประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกับผู้ประสานงาน UNDP | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
28 พ.ค. 64 | การประชุมปรับปรุงข้อเสนอโครงการความมั่นคงทางอาหารของ อปท. | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 | ปฏิบัติการจัดการระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล ตามโครงการต้นแบบ | 0 | 0.00 | - | ||
11 มิ.ย. 64 | ประชุมเชิงปฺฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ อปท. | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
1 ก.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 | การสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านระบบอาหาร | 0 | 0.00 | - | ||
1 ก.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 | การพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารและโภชนาการ ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย | 0 | 0.00 | - | ||
1 - 30 ก.ย. 64 | การพัฒนาคู่มือแนวทางการดำเนินงานระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล | 0 | 0.00 | - |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 12:08 น.