สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

ประเมินผลภายใน การจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ ประเมินผลภายใน การจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม ”

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสตูล อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี อำเภอธารโต จังหวัดยะลา อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.ปรียา แก้วพิมล, ภมรรัตน์ ชมพูประวิโร

ชื่อโครงการ ประเมินผลภายใน การจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม

ที่อยู่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสตูล อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี อำเภอธารโต จังหวัดยะลา อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 8 ธันวาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"ประเมินผลภายใน การจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสตูล อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี อำเภอธารโต จังหวัดยะลา อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ประเมินผลภายใน การจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม



บทคัดย่อ

โครงการ " ประเมินผลภายใน การจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสตูล อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี อำเภอธารโต จังหวัดยะลา อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2563 - 8 ธันวาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 105,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ความมั่นคงด้านสุขภาพเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะ จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีความเป็นพหุสังคม การสร้างความมั่นคงทางสุขภาพจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประยุกต์แนวคิดการแพทย์พหุวัฒนธรรมลงสู่การปฏิบัติ ได้แก่ องค์ความรู้ที่สำคัญ นวตกรรมด้านสุขภาพและสังคม สมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เอื้ออำนวย กระบวนการและเครือข่ายทางสังคม การประเมินผลกระทบช่วยให้เกิดหนุนเสริมเชิงวิชาการ เสริมพลังให้กับผู้ปฏิบัติ และสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายซึ่งช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการนำนโยบายการแพทย์เชิงพหุวัฒนธรรมลงสู่ปฏิบัติ นับตั้งแต่มีการดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมาพบว่า ทุกโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการได้ขับเคลื่อนการแพทย์เชิงพหุวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในภาพรวมส่วนใหญ่มุ่งให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีเจตคติที่ดีต่อการดำเนินงาน เช่น การพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส การพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี หรือ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในพหุวัฒนธรรมของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นต้น ซึ่งในขั้นตอนต่อไปจะต้องขับเคลื่อนการดำเนินงานในหลากหลายมิติให้บรรลุเป้าหมายนำนโยบายการแพทย์เชิงพหุวัฒนธรรมลงสู่ปฏิบัติ ภายใต้ตัวชี้วัด คือ เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาขีดความสามารถของคนและเครือข่าย มีการสร้างสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการดำเนินงาน เกิดกระบวนการชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง เกิดนโยบายสาธารณะ และเกิดคุณค่าทางจิตวิญญาณ เป็นต้น การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจะเป็นปัจจัยหนุนเสริมให้การขับเคลื่่อนบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อประเมินผลการนำระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมไปใช้สร้างเสริมสุขภาพชุมชน
  2. เพื่อเสริมพลังผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
  3. เพื่อหนุนเสริมเชิงวิชาการและสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายการทำงานสร้างเสริมสุขภาพชุมชนในบริบทพหุวัฒนธรรม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. Screening 1
  2. Screening 3
  3. Screening 4
  4. screening 2
  5. Screening 5 สัมภาษณ์ถอดเทป วิเคราะห์ 5 รพ
  6. Public Scoping พค,ตค
  7. Assessing 1 (วันที่ 1 4/ธันวาคม 2564) รพ.สต.วังใหญ่ ชื่ือโครงการ คัดกรองไว ดูแลไว ปลอดภัยตามวิถี
  8. Assessing II รพ.สตูล
  9. writing report and academic journal

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.บทเรียนรู้เชิงพื้นที่การนำระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพชุมชน
2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการขยายผลระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรม


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. Screening 1

วันที่ 20 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

การสัมภาษณ์ประเมินสถานการณ์ก่อนนำคู่มือแนวปฏิบัติฯ ลงสู่การปฏิบัติงานจริง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

บทสัมภาษณ์ นางสาวหทัยรัตน์ ชัยดวง  เวลาสัมภาษณ์ 20-4-2564 เวลา 13:13น. ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ รพ.เทพา จ.สงขลา -ทางโรงพยาบาลมีโครงการชื่อมิติสร้างสุข หรือ มหกรรมสร้างสุข ทางโรงพยาบาลได้วางแผนจะขยายออกไปในชุมชนของชุมชน จะขยายโครงการเป็นเฟส 2 พื้นที่ปฏิบัติงานเดิม แต่จะขยายลงไปที่ รพ.สต. ที่เลือกไว้แล้ว 2 รพ.สต ได้มีการดำเนินการวางแผนไว้แล้ว แต่ติดเพราะมีโควิด-19 จึงไม่ได้เริ่มดำเนินการ  มีการจัดการไประดับหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่มีงบประมาณ ยังไม่มีงบเข้ามา เลยไม่ได้จัดการอะไร มีการจัดการแค่ประสานงาน เพราะมีโควิด-19 แบบต่อเนื่อง ส่วนตัวโครงการนั้นยังไม่ได้ทำ แค่คุยกันเฉยๆ แค่ถามว่าจะทำอะไรกัน -สรุปคือกำหนดกลุ่มเป้าหมายแล้ว แต่โครงการยังไม่ได้ทำเป็นรูปแบบของโครงการขึ้นมา การทำงานจะทำในรูปแบบลักษณะของการทำงานประจำที่ขยายเครือข่ายโดยวิธีธรรมชาติ คือให้ทีมงานที่รับผิดชอบหลักดำเนินการทีมรพ.เทพาเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน หมายเหตุ รอคู่มือปฏิบัติและงบประมาณ

 

3 0

2. Screening 3

วันที่ 20 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

การติดตามหนุนเสริมการนำแนวทางปฏิบัติการแบบพหุวัฒนธรรม สู่ระบบสุขภาพ 5 จวต. บทสัมภาษณ์ นางอุบลรัตน์ โยมเมือง วันที่สัมภาษณ์  20-4-2564 เวลา14:12น.  ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สตูล -นางอุบลรัตน์  โยมเมือง เป็นผู้รับผิดชอบคนใหม่ที่เข้ามารับผิดชอบแทนคนเก่าที่เกษียณไป โครงการที่ทำ -มีการตักบาตรทุกวันศุกร์แรกของเดือน -มีการรองรับในเชิงพหุวัฒนธรรม มีการจัดทำ ห้องทำสมาธิ ห้องสวดมนต์ ห้องละหมาด -มีโครงการสุนัตหมู่ แต่เพราะโควิท เลยไม่ได้ทำ -ช่วงโควิท จะมีการจัดทำตู้ละศีลอดให้ มีผู้มาบริจาคอาหารละศีลอดให้ทีม -มีการเปิดรับบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้เด็กในพื้นที่กันดาร ปีนี้ได้ทุนทั้งหมด ประมาณ 53 ทุน ทุนละ 500 บาท ซึ่งให้ในที่กันดารในจังหวัดสตูล  ทั้งหมด 3 โรงเรียน -มีกิจกรรมเรื่องเล่าความดีทุกวันพฤหัสบดีของทุกสัปดาห์ครบตลอดทั้งปี -รณรงค์ปลูกป่าชายเลนในจังหวัด -ช่วยกันเก็บขยะตามเกาะ -ทุกวันอังคารกับวันพฤหัสบดีของแต่ละสัปดาห์จะมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของจังหวัด นัดหมายการประชุมครั้งหน้า -จะมีการประชุมครั้งหน้า ในเดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมเดิมยังคงมีอยู่ รอคู่มือเอกสาร และขยายผลกิจกรรมระดับรพ.สต.

 

1 0

3. Screening 4

วันที่ 21 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

บทสัมภาษณ์ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ วันที่สัมภาษณ์ 21-4-2564 เวลา11:39 น.ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ถ้าได้คู่มือมา ทาง รพ.จะมีการขับเคลื่อนอย่างไร? -แนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของพหุวัฒนธรรม ของ รพ.ยะหริ่ง จะเน้นอยู่ที่งานการติดตามหนุนเสริมการนำแนวทางปฏิบัติการแบบพหุวัฒนธรรม สู่ระบบสุขภาพ 5 จวต. กลุ่มเป้าหมายคือใคร? -กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือแม่และเด็ก วิธีการ? -มีการปรับการทำงานให้สอดรับกับพหุวัฒนธรรม ในกรณีถ้าเป็น ANC ที่มาฝากครรภ์ ให้ได้มีโอกาสเลือกที่จะพบหมอผู้หญิงได้ -มีการประยุกต์ของเสื้อให้นมบุตร พื้นที่ที่ดำเนินการ? -พื้นที่ดำเนินการคือ อำเภอ ยะหริ่ง เหตุที่สนใจ? -มีโอกาสได้พุดคุยกับทีมงาน รพ.สต.ให้โอกาสทางโรงพยาบาลยะหริ่งเป็นพื้นที่นำร่องในเรื่องของการทำพหุวัฒนธรรม ในประเด็นแม่และเด็กของโรงพยาบาลยะหริ่งมีอัตราการคลอดสูงเป็นอันดับที่ 3 ของจังหวัดปัตตานี การทำงาน? -ในการขับเคลื่อนที่ผ่านมา เป็นเหมือนงานประจำ เพราะมีการขับเคลื่อนตั้งแต่ปี 62,63,64 ดังนั้นการทำงานจึงแฝงอยู่ในการทำงานประจำของโรงพยาบาลไปแล้ว -การพูดคุยส่วนใหญ่จะเข้าสู่เวทีของทีมงานแม่และเด็ก อ.ยะหริ่ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประเด็นที่ดำเนินการคือ ประเด็นแม่และเด็ก การตั้งครรภ์วัยรุ่น

  • photo
  • photo

 

3 0

4. screening 2

วันที่ 24 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

การบทสัมภาษณ์ นายสุไลมาน งอปูแล  วันที่สัมภาษณ์ 24-4-2564 เวลา11:14น. ตำแหน่งนักวิชาการสธารณสุขชำนาญการ รพ.ธารโต จ.ยะลา โครงการนี้เริ่มทำเมื่อประมาณ 2-3ปีที่แล้ว ช่วงโควิทระบาดจึงได้หยุด เฟสแรกคือการสร้างการรับรู้ในพื้นที่ อาจจะต้องเจาะตรงไปเลย จะเป็นทางโซเชียลทางสื่อเป็นหลัก เน้นในกลุ่มของการแก้ปัญหาพัฒนาในพื้นที่ โดยพัฒนาในพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่มีส่วนสัมภาษณ์ โดยพัฒนาในรูปแบบของพหุวัฒนธรรม
-การดึงทุกภาคส่วน อาสาสมัคร ทั้งในศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม มาช่วยในการจัดระบบ สร้างระบบ แก้ปัญหาการพัฒนาการเด็กในพื้นที่ หลักๆคือ ผู้ที่ขับเคลื่อนในส่วนของเจ้าหน้าที่ ในภาคเครือข่าย สังคมเดินหน้า และองค์กรในพื้นที่ และตัวของแม่และเด็กที่เป็นผู้ปกครองของเด็ก -สร้างการรับรู้ร่วมกัน ให้ทั้ง2ฝ่าย มีการสนทนากันได้สนิทใกล้ชิดกันมากขึ้นมันจะเริ่มเกิดความศรัทธาสามารถที่จะสร้างความร่วมมือได้มากขึ้น ในโครงการนี้คุณสุไลมานมีหน้าที่อย่างไรบ้าง? -หน้าที่หลักคือมีหน้าที่บริหารจัดการในภาพรวม เวลาทำงานเราจะทำงานกันเป็นทีมในโรงพยาบาลก็เป็นสหวิชาชีพ แต่ว่าหลักๆเลยคือ ความสำคัญอยู่ที่ผู้บริหารโรงพยาบาลธารโต นพ.มะสุวรรณ สะเระ  เป็นคนที่มีไอเดียและเป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ และมาถ่ายทอดให้กับทีมงานว่าเราจะทำในเรื่องไหน ส่วนผมหลักๆคือบริหารจัดการ วางแผน ควบคุมกำกับและติดตามให้เป็นไปตามที่ได้วางไว้ กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือ? -กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์ของเราคือเด็ก 0-5ปีในเรื่องของพัฒนาการ แต่กลุ่มกิจกรรมในเรื่องของกระบวนการที่เราแอคเข้าไป ในเรื่องของผู้นำศาสนา ครูอนามัยแม่และเด็ก ครูสอนศาสนาในพื้นที่และจะเป็นในส่วนของพ่อแม่ อสม. ภาคีเครือข่ายอื่นๆที่มาร่วมในการสร้างความเข้าใจร่วมกัน -เด็กนักเรียนที่จะเข้าสู่ในวัยเจริญพันธ์ ให้ได้รู้เรื่องพัฒนาการต่างๆ และได้รับรู้ในเรื่องของความสำคัญของพัฒนาการในตัวเด็ก ซึ่งจะมีผลต่ออนาคตในการเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า มีกิจกรรมให้ความสำคัญในการสร้างครอบครัวอย่างมีคุณภาพ -การตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ -ส่วนใหญ่คนในพื้นที่จะเป็นอิสลาม จะใช้หลักพื้นฐานของศาสนาอิสลามมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ในปีนี้มีแผนโครงการอะไรบ้าง -มีแผนไว้หลายอย่าง เป็นการดำเนินการในเฟส2 ถ้าเรามีการดำเนินการ การปฏิบัติได้จริง เราจะดำเนินการได้อย่างไร(เพราะติดโควิด-19 เลยหยุดดำเนินการชั่วคราว) ปลายปีที่แล้วแทบจะไม่ได้ดำเนินการอะไร -ส่วนที่ดำเนินการต่อคือการติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เราได้ให้ความรู้ไป เค้าได้ดำเนินการตามเนื้อหาที่เราได้แลกเปลี่ยน ที่ได้ถ่ายทอดไปมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะตัวครู ครูมี2สาย คือ ครูสายสามัญ ครูสอนศาสนา พื้นที่ในการขับเคลื่อน? -พื้นที่ครอบคลุมในอำเภอ ธารโต ไม่ได้เลือกพื้นที่ทั้งหมด คัดเลือกพื้นที่ที่ให้ความพร้อม และให้ความร่วมมือจริงๆ การประชุม? -ประชุมปีล่าสุด ปลายปี 63 กลุ่มเป้าหมายเข้ามาน้อย(ช่วงโควิทระบาดพอดี) -มีการติดตามแต่ไม่เข้มข้น(เพราะโควิท) -มีแค่การสอบถามจากผู้ปกครองที่เคยเข้าร่วม -แผนประชุมคราวหน้ายังไม่กำหนด -ปกติแล้วทางโรงพยาบาลจะมีการประชุมทุกเดือน ปี 62-63ก่อนมีการระบาดยังมีการดำเนินทิศทางได้อยู่ แต่พอโควิด-ๅต ระบาดจึงต้องจบขั้นตอนในการทำงาน ที่จริงเป้าหมายของผู้บริหารคืออีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องในพื้นที่ รพ.สต. ซึ่งจะให้ รพ.สต.เป็นโมเดล โดยดึงโมเดลใหญ่ที่เราเคยทำ เจาะลงในพื้นที่ที่เซตไว้ เป็น รพ.สต.บ้านซาไก ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา อีกพื้นที่นึงคือ ต.บันนังกะแจะ
2พื้นที่นี้มีความต่าง พื้นที่หนึ่งคือ มุสลิม อีกพื้นที่หนึ่ง ไทยพุทธ เราจะมาลองดูเรื่องแอ็คชั่นที่ใช้อยู่ จะดูในส่วนของพหุวัฒนธรรม ซึ่งจริงๆเรื่องพหุวัฒนธรรม เราไม่ได้แยกเรื่องศาสนา แต่เราจะลองดูว่าในบริบทที่มันมีความแตกต่างในเรื่องของความเชื่อ แอ็คชั่นที่เราใส่ลงไปจะมีผลแตกต่างกันไหม เราก็จะพยายามเติมในส่วนที่เท่ากัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หมายเหตุ รอคู่มือ รองบประมาณ ให้สถานการณ์โควิดคลี่คลาย ขยายประเด็นเดิมคือ การพัฒนาเด็กธารโต

 

3 0

5. Screening 5 สัมภาษณ์ถอดเทป วิเคราะห์ 5 รพ

วันที่ 26 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

การติดตามหนุนเสริมการนำแนวปฏิบัติการดูแบบพหุวัฒนธรรมสู่ระบบสุขภาพ 5 จวต.                     บทสัมภาษณ์นางนูรฮายาตี นิมาซา ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลรือเสาะ จ.นราธิวาส สัมภาษณ์เมื่อ26-4-64(13:42น.) ในปีที่แล้วมีโครงการทำอะไรบ้าง? • สำหรับโรงพยาบาลรือเสาะ จริงๆ แล้วเรามีการ ดำเนินการ เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยอยู่แล้วเจาะจงส่วนใหญ่จะเป็นของมุสลิมเยอะกว่าไทยพุทธ เพราะว่าที่โรงพยาบาลรือเสาะจะมีชุมชนมุสลิมอยู่ 97% ไทยพุท 3% และจะมีพม่าเข้ามา ในส่วนของพหุวัฒนธรรมจะเป็นการดูแลมุสลิม ซะส่วนใหญ่ จะเป็นแนวทาง การดูแล คนไข้ที่เป็นมุสลิม คู่มือที่ใช้มาจะเป็นคู่มือที่ที่จะจัดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่พยาบาลของเราเพื่อให้สอดคล้องตามวิถีชุมชนในชุมชนนั้นๆไม่ว่าจะเป็นจากสู้ตีห้องคลอดผู้ป่วยในจะมีแนวทางในการดูแลคนไข้เพื่อตอบสนองของชุมชนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษาการสื่อสารจะเชื่อมโยงหมดกับคู่มือ ล่าสุดที่ได้ทำโครงการการพัฒนาศักยภาพแกนนำในพื้นที่พหุวัฒนธรรมของชายแดนใต้ โรงพยาบาลรือเสาะเราได้มีการพัฒนาศักยภาพแกนนำในพื้นที่ ของพหุวัฒนธรรมโดยเรามีการอบรมแกนนำพหุวัฒนธรรม ในโรงพยาบาล ในสสอ.และก็ไปยังชุมชนทั้งหมด ในโรงพยาบาลเราจะมีคู่มือประกอบที่ทาง สจรส.ให้มา เกี่ยวกับการสัมผัสการถูกต้องผิวของเพศตรงข้าม มีเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพชุมชนในท้องถิ่น และมีเกี่ยวกับเรื่องอาหาร มีการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งแต่ละหัวข้อ เป็นคู่มือทีสจรส.เอามาให้เราดู เพื่อดูว่าพหุวัฒนธรรมของโรงพยาบาลมีคู่มือนั้นดูแลรึเปล่าแต่บางอย่างทางโรงพยาบาลจะมีมากกว่าทางสจรส. ให้เราให้เรา  อย่างน้อย  คู่มือสามารถเป็นไกด์ให้เราได้คู่มือที่อาจารย์จัดมาสามารถปรับปรุงทางโรงพยาบาลได้มากขึ้นมาตรฐานในคู่มือ ในเรื่องเกี่ยวกับวิชาการ  ที่สอดคล้องกับบริบทในชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทในชุมชน ถ้าได้คู่มือมาทางโรงพยาบาลจะมีการขับเคลื่อนอย่างไร? • มีการใช้คู่มือ ร่วมกับสธและไปสู่ชุมชนด้วยเหมือนที่ผ่านมาโครงการที่ทำเราได้มีการพัฒนาแกนนำที่อยู่ในโรงพยาบาล เป็นแกนนำหลักเพื่อกระจายไปยังทุกจุดโอพีดีแอลอาร์พีอาร์คนไข้ที่มาหาในการดูแล ตามพหุวัฒนธรรม เราต้องดูแลอย่างไรเพื่อให้เขาเกิดความพึงพอใจไม่เกิดการร้องเรียนขึ้นมาเพื่อที่จะรักษาสิทธิที่เขาควรจะได้รับจากเราได้ดีที่สุด • ในการขับเคลื่อนเราเริ่มจากโรงพยาบาลก่อนแล้วไปยังรพ.สต.ต่อ โรงพยาบาลจะมีการใช้คู่มือที่คิดว่าจะเอาคู่มือมาใช้ทุกจุดที่มีที่เกี่ยวข้องกับจุดนั้นๆไม่ว่าจะเป็นโอพีดีพีที่เราจะต้องตอบโจทย์ว่าเราจะมีเรื่องอะไรบ้างในเรื่องคู่มือเหล่านี้ที่ทำ ในปีที่แล้วจะมีการพัฒนาแกนนำที่อยู่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และก็จะเป็นอสมเข้ามาร่วมในกิจกรรมของเราด้วย โดยเราจะมีการ พูดคุยในชุมชนของเขาเขาอยากให้เกิดอะไรขึ้น ที่นี่มันจะไปตอบโจทย์ในเรื่องธรรมนูญสุขภาวะเกิดขึ้นโดยใช้หลักสุขภาพดีวิถีเอามาใช้ของกระทรวงสาธารณสุข 3ส. 3อ. 1น. มาใช้ในชุมชนที่เป็นวัด มัสยิด ซึ่งก่อนนี้ที่ทำเป็นชุมชนที่เป็นวัด1ที่ และเป็นชุมชน ต.ลาโละที่เป็นมัสยิด 5ที่

จะมีการขับเคลื่อนในพื้นที่ไหน? • พื้นที่ตำบลลาโละโดยใช้พื้นที่ที่มีชุมชนวัด1ที่มัสยิดทั้งหมด5ที่ที่อยู่ในตำบลลาโละทั้งหมดเลย เพราะเหตุใดทำไม ถึงสนใจเลือกโครงการนี้? • เมื่อก่อนโรงพยาบาลจะมีข้อร้องเรียนเยอะมากมีความพึงพอใจน้อยมากประมาณ60% มีประชาชนอีกหลายคน โดยเฉพาะชุมชนมุสลิม เพราะว่าเราไม่ได้ตอบสนองวิถีชุมชน ของเขาบางท่านไม่ยอมนอนโรงพยาบาลเพราะไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจ หากบังคับ ได้อย่างเช่น การละหมาด เป็นต้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราคิดว่า การดูแลพหุวัฒนธรรมจำเป็นแล้วที่เราต้องเข้าถึงและเข้าใจชุมชนตรงนี้ มีใคร ต้องการอะไรจากเรา ทำไมถึงไม่พอใจเรา สิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่ง ที่จุดประกายให้เราต้องมาคุยกับชุมชน ให้รู้สึกลึกซึ้ง ว่าพื้นที่ตรงนี้เขามีความต้องการอะไรมาก ซึ่งเป็นที่มาของการเกิด การบูรณาการในโรงพยาบาล รือเสาะ ไม่ว่าการดูแลคนไข้ ที่ต้องการละหมาด เรามีรถอาบน้ำละหมาดเคลื่อนที่ให้คุณ เรามีผงดิน ที่คุณจะเอาชัยอาบน้ำละหมาด เรามีมุมมีทิศทางที่จะบอกจุละหมาดได้ ส่วนไทยพุทธ คุณสามารถจะพาพระมาสวดในระยะสุดท้ายในบั้นปลายชีวิต จะมีการดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายการดูแลคนไข้ประกอบศาสนกิจ การดูแลมารดาหลังคลอด ที่อาบน้ำภาคบังคับก็จะมีคำสอน ให้ พอเริ่มมีสิ่งนี้เกิดขึ้น มา ทำให้ ความพอใจเพิ่มขึ้น83-90%  มีคำชมมากมาย ขอร้องเรียนลดลง เรามีการทำงานแบบภาคีเครือข่ายคือร่วมกับผู้นำศาสนาเรื่องอยากได้อะไรจากเราและเราก็ได้ตอบสนองเขา กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือใคร? • เมนหลักคือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในองค์กร คือต้องรู้ว่าทำอะไร เพื่ออะไร ทำแล้วได้ อะไร     แล้วส่งต่อเจ้าหน้าที่รพสต  ที่อยู่ในเครือข่าย ต้องรู้ว่าพหุวัฒนธรรมการดูแลพหุวัฒนธรรมมีความสำคัญอย่างไร ต้องทำอย่างไรให้บุคลากรของเรามีความรู้เกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมมากขึ้น หลังจากเรามีการพัฒนาเจ้าหน้าที่รพสตแล้ว อีกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มชุมชนที่จะเริ่ม คือ เริ่มที่วัด มัสยิดโดยใช้ศาสนสถานที่เป็นวัดมัสยิดเป็นแกนที่จะใช้มาขับเคลื่อน การพูดคุยของทีมงานได้เกิดขึ้นบ้างหรือยัง • ที่ผ่านมามีการคุยตลอดทีมงานนี้ไม่ใช่เฉพาะหมอที่เป็นประธาน และคุณระยะห้าปีที่เป็นเลขาแต่จะมีแกนนำที่เป็นหัวหน้า ที่เป็นผู้นำศาสนาในชุมชน เป็นเจ้าอาวาสที่อยู่ที่วัดโต๊ะอีหม่าม เพื่อที่จะมีการขับเคลื่อนโครงการนี้เพื่อที่จะมีการขับเคลื่อนโครงการนี้ กำหนดการประชุมครั้งหน้าเมื่อไหร่ถ้าอาจารย์ต้องการเข้าร่วมประชุมด้วยได้ไหม • โครงการที่คุณนูรฮายาตีรับผิดชอบเป็นโครงการที่ทำไปแล้วทำเมื่อปี60-61
หน้าที่ของคุณนูรฮายาตี คือ? • หน้าที่คือเป็นเลขาเก็บรวบรวมข้อมูลส่ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การบูรณาการพหุวัฒนธรรมในชุมชน ธรรมนูญสุขภาพ

 

4 0

6. Assessing 1 (วันที่ 1 4/ธันวาคม 2564) รพ.สต.วังใหญ่ ชื่ือโครงการ คัดกรองไว ดูแลไว ปลอดภัยตามวิถี

วันที่ 5 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ รพ.สต.วังใหญ่ สัมภาษณ์ติดตามการนำแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการสุขภาพและชุมชนท้องถิ่นลงสู่การปฏิบัติ จำนวนผู้ถูกสัมภาษณ์ 2 ท่าน คือ หัวหน้าสถานนีอนามัยวังใหญ่ และพยาบาลวิชาชีพ พื้นที่นำร่องต.วังใหญ่มีปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด จากจำนวน 8 หมู่บ้าน (ไทยพุทธ 7 หมู่บ้าน อิสลาม 1 หมู่บ้าน) มีประชาชนจากพื้นที่ไทยอิสลามที่มีการติดไวรัสโควิด -19 แต่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงปฏิเสธการคัดกรองโรค การรักษาในสถานกกักกัน การรับวัคซีนโควิด-19 (พบเพียงร้อยละ 30) มีโอกาสแพร่ระบาดของโควิดเพิ่มขึ้น และปัญหาในพื้นที่เชื่อมโยงไปถึงกลุ่มอพยพเข้าจากสถานการณ์ความไม่สงบจากพื้นที่ชายแดนใต้มาพักพิงกับเครือญาติในพื้นที่ ทางหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จึงนำแนวปฏิบัติลงสู่การปฏิบัติ ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ดำเนินการรพ.สต.วังใหญ่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ความรู้หรือนวัตกรรมชุมชน ผลผลิต/สิ่งประดิษฐ์ใหม่   - จากการให้ข้อมูลพบว่า เกิดผลลัพธ์ในกระบวนการแนวคิดที่จะต่อยอดการพัฒนากระบวนการในเรื่องการลงพื้นที่แบบเชิงรุกของชุมชนที่มีปัญหา คือ หมู่ 8 ที่เป็นชุมชนมุสลิม และของหมู่ที่ 1-7 ที่มีผู้ป่วยติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการของ รพ.สต.วังใหญ่

    วิธีการทำงานหรือการจัดการใหม่
    • จากการให้ข้อมูลพบว่า เกิดผลลัพธ์ในกระบวนการแนวคิดที่จะต่อยอดการพัฒนากระบวนการในเรื่องการลงพื้นที่แบบเชิงรุกของชุมชนที่มีปัญหา คือ หมู่ 8 ที่เป็นชุมชนมุสลิม และของหมู่ที่ 1-7 ที่มีผู้ป่วยติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการของ รพ.สต.วังใหญ่

เกิดกลุ่มใหม่หรือโครงสร้างใหม่ - จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รพ.สต วังใหญ่ได้มีการขับเคลื่อนงานร่วมกับชุมชนมากขึ้นโดยการสร้างเครือข่ายในการลงพื้นที่ร่วมกับ อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนไทยพุทธ มุสลิม เพื่อผลักดันให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนงานในชุมชน

แหล่งเรียนรู้ใหม่ - กระบวนการการดำเนินงานจากผู้ให้บริการในการศึกษาคู่มือสามารถถ่ายทอดกระบวนการคิด วิเคราะห์ สรุปเป็นแนวทางให้เพื่อนร่วมงานได้มีแนวทางในการดำเนินงาน และสามารถสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันกับภายนอกองค์กร คือ โรงพยาบาลเทพา

  1. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล - ผู้ให้บริการมีสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม มีความเป็นห่วงเป็นใยผู้เข้ารับบริการที่ไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการของ รพ.สต เทพาได้ มีการรณรงค์ให้ผู้เข้ารับบริการ และชุมชน ได้มีการสวมใส่แมสก์ ล้างมือ และผลักดันให้มีการตรวจ ATK เชิงรุก

การลดพฤติกรรมเสี่ยง - ในชุมชนมีการตระหนักถึงโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น จากการพูดคุยปรับความเข้าใจในการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ให้ได้ตระหนักถึงอันตรายจากการการสัมผัสผู้ติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยง ได้มีแนวทางป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

การลดลงความเครียด ความขัดแย้ง - ผู้ให้บริการได้สร้างความร่วมมือกับผู้นำชุมชน และเครือข่ายในชุมชน ได้หาแนวทางร่วมกันในกรณีที่มีชาวบ้านในชุมชนติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่กล้าทิ้งบ้านไว้เพื่อไปกักตัว หรือรักษา จึงได้มีแนวทางร่วมกันในการอาสาเป็นตัวแทนดูแลบ้านและทรัพย์สินให้ในช่วงการรักษา และในกรณีการไม่เข้าใจกันในการใช้สถานที่กักตัวที่เป็นพื้นที่ต่างศาสนา เพื่อลดความขัดแย้ง ทางผู้ให้บริการและผู้นำชุมชนได้หารือร่วมกันถึงสถานที่ที่จะทำศูนย์กักตัว ณ จุดบริการแห่งใหม่ เพื่อให้ผู้รับบริการได้สามารถใช้สถานที่ในการรักษาแบบเป็นพหุวัฒนธรรมร่วมกันได้

พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน - มีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ให้บริการของ รพ.สต วังใหญ่ ในการตั้งด่านจุดคัดกรอง เข้า-ออก ชุมชน

  1. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

สังคม วัฒนธรรม ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็กเยาวชน กลุ่มเปราะบาง - ผู้ให้บริการได้ตระหนักถึงการเข้ารับบริการของกลุ่มเปราะบาง เยาวชน และผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการของ รพ.สต วังใหญ่ และได้มีการร่วมมือในการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อให้กลุ่มเปราะบางและเยาวชนได้เข้ารับการบริการอย่างทั่วถึง

บริการสุขภาพ การใช้บริการ แพทย์ทางเลือก บริการทางเลือก - มีการปรับโครงสร้างในการเข้ารับบริการสวอป การรับวัคซีน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เข้ารับบริการโดยไม่มีการแบ่งแยก และให้บริการด้วยความเต็มใจ เข้าใจในบริบทของชุมชน

  1. กระบวนการชุมชน

การเชื่อมประสานระหว่างกลุ่ม เครือข่าย(ในรพ./ชุมชน) - รพ.สต วังใหญ่ ได้มีการเชื่อมประสานงานกับชุมชน เครือข่ายภายนอก ได้แก่ รพ.เทพา และการร่วมมือกับผู้นำชุมชนในการสร้างความเข้าใจให้กับสมาชิกในชุมชนที่ยังไม่เข้าใจในถึงข้อมูลของโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ได้ตระหนักถึงแนวทางป้องกันตัวเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมเมื่อเกิดโรคระบาด

กระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหาเป็นระบบ - รพ.สต วังใหญ่มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน ถึงแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันจากความไม่เข้าใจถึงข้อมูล และมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบร่วมกันกับผู้นำชุมชน ชาวบ้าน และเครือข่ายภายนอก

การใช้ทุนมนุษย์ (โรงพยาบาล/ชุมชน) - ผู้ให้บริการได้มีการผลัดเปลี่ยนกำลังการทำงานโดยการแบ่งหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนที่เข้ามารับบริการ และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ได้แก่ งบประมาณอย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างแรงจูงใจและกำลังใจให้กับผู้ดำเนินงาน

การขับเคลื่อนงานมีความต่อเนื่อง/ยั่งยืน - รพ.สต. วังใหญ่ มีการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องในการให้บริการแก่ชุมชนอย่างทั่วถึง และเข้าถึงการให้บริการเชิงรุกแก่พื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการของ รพ.สต. วังใหญ่ได้

มีทักษะการทำโครงการ/การใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ - การดำเนินงานของผู้ทำโครงการมีทักษะในการให้บริการแบบพหุวัฒนธรรม มีความเข้าใจในบริบทของพื้นที่ สามารถปรับแนวคิดและการปฏิบัติตลอดจนการตัดสินใจที่เป็นกลาง โดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา และมีการต่อยอดการดำเนินโครงการในอนาคต เพื่อพัฒนาให้ชุมชนเกิดความยั่งยืนในการเข้ารับบริการที่ประทับใจของ รพ.สต วังใหญ่

  1. ผลกระทบเชิงบวกด้านนโยบายสาธารณะที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสุขภาวะ

มีการสร้างแนวปฏิบัติ (ย่อย) กฎ กติกาของกลุ่ม - มีการดำเนินงานภายใต้กรอบปฏิบัติของชุมชน เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าให้บริการของ รพ.สต วังใหญ่ อันเกิดจากความไม่เข้าใจกันในการทำหน้าที่ จึงต้องมีการดำเนินงานภายใต้กฎกติกาของชุมชนและสังคม

  1. มิติสุขภาวะทางปัญญา/จิตวิญญาณ

ความภาคภูมิใจในตนเอง กลุ่ม ชุมชน
- ผู้ให้บริการมีความภาคภูมิใจในการให้บริการกับชุมชน โดยเฉพาะชุมชนที่ไม่สามารถเข้ารับบริการของ รพ.สต วังใหญ่ได้ และผู้ให้บริการได้มีการลงพื้นที่เข้าถึงชุมชน ทำให้ชุมชนนั้นได้รับบริการและเกิดความประทับใจ ตลอดจนหันมาให้ความสนใจกับสุขภาวะของตนเองมากขึ้น

ชุมชนเอื้ออาทร แบ่งปัน
- จากเหตุการณ์พบการติดเชื้อในชุมชนทำให้ชุมชนตลอดจน รพ.สต วังใหญ่ได้มีการร่วมมือกันในการรับมือกับโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ภายในชุมชนมีการแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้ติดเชื้อ ส่งข้าว อาหารแห้ง และการลงพื้นที่ของ รพ.สต วังใหญ่ ในการให้บริการสวอป ตรวจ ATK กับชุมชนที่มีความเสี่ยง

การตัดสินใจโดยฐานปัญญา - ผู้ให้บริการมีการตระหนักถึงการให้บริการภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพของการรักษาที่เป็นมาตรฐานแบบสากลและได้มีการศึกษาคู่มือเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ถึงการดำเนินงานตลอดจนกระบวนการตัดสินใจที่เกิดโดยสัญชาตญาณบนความถูกต้องภายใต้กรอบของการเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

6 0

7. Public Scoping พค,ตค

วันที่ 5 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

การทำมี 2 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะกำหนดขอบเขตคู่มือ ซึ่งทางทีมผู้ประเมินภายในทำควบคู่กับทีมพัฒนาคู่มือแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพในพหุวัฒนธรรมในหน่วยบริการสุขภาพและชุมชนท้องถิ่น ผ่านกิจกรรมการวิพากษ์ให้ข้อคิดเห็นคู่มือฯ และ 2 . การกำหนดขอบเขตการประเมินเพื่่อถอดบทเรียนรู้การนำคู่มือแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพในพหุวัฒนธรรมในหน่วยงานบริการสุขภาพและชุมชนท้องถิ่นลงสู่การปฏิบัติ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. ระยะกำหนดขอบเขตคู่มือแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพในพหุวัฒนธรรมในหน่วยบริการสุขภาพและชุมชนท้องถิ่น ได้ข้อคิดเห็นการกำหนดขอบเขตคู่มือและปรับแก้คู่มือด้านการออกแบบคู่มือ รายละเอียดเนื้อหาร้อมใช้จำนวน 1 คู่มือ
2. ถอดบทเรียนการนำคู่มือแนวปฏิบัติพื้นที่นำร่อง 2 พื้นที่ในบริบทโรงพยาบาลเทพา และโรงพยาบาลสตูล ที่มีการขยายงานสู่ชุมชนระดับตำบล ผลลัพธ์ 1.เกิดคู่มือพร้อมใช้งานสำหรับพี่เลี้ยงและประชาชน แนวปฏิบัติสำหรับผู้ให้บริการทางสุขภาพ และแนวปฏิบัติสำหรับอปท./ผู้นำศาสนา
2.มีกรอบการประเมินการถอดบทเรียนตามรอบการทำงานของสสส.ได้แก่ ประเด็นความรู้หรือนวตกรรมชุมชน  คุณค่าการเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ  การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ กระบวนการชุมชน ผลกระทบเชิงบวกด้านนโยบายสาธารณทีเอื้ออำนวยต่อการสร้างสุขภาวะ คุณค่าในมิติสุขภาวะทางปัญญาจิตวิญญาณ ต่อผู้ปฏิบัติงานและชุมชน

 

30 0

8. Assessing II รพ.สตูล การจัดการศพตามแนวพหุวัฒนธรรมในผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด

วันที่ 7 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

1.รับฟังผลการดำเนินงานจากตัวแทนโรงพยาบาล ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบโครงการ 2.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมบริบทปัญหา
3.สนทนากลุ่มตามแนวคำถามติดตามประเมิน ชื่นชมผลงาน แสวงหาการขับเคลื่อนในระยะต่อไป วิเคราะห์ผลการดำเนินการถอดบทเรียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต การอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วย ญาติ/ศพผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 จำนวน 2 ครั้ง ผลผลิต เกิกกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการศพจำนวน 2 ครั้ง ผลผลิต 1.เกิดการประชุมเชิงเชิงปฏิบัติการ การจัดการศพจำนวน 2 ครั้ง 2. เกิดนวตกรรมการดูแลการสื่ือสารในภาวะวิกฤตสำหรับผู้ป่วย/ญาติจากสถานการณ์โ๕วิด

ผลลัพธ์ การดูแลก่อให้เกิด 1) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ครอบครัว และเครือข่ายชุมชน ที่นับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ ชาวเล และชนเผ่าในพื้นที่ 2) ตัดวงจรความขัดแย้งและความเสี่ยงการเกิดข้อร้องเรียนในประเด็นการจัดการศพที่เสียชีวิตจากโควิด-19 3.รูปแบบการดูแลที่คำนึงถึงความเป็นพหุวัฒนธรรมในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ผลสะเทือน นวตกรรมการดูแลถูกขยายผลผ่านแผนแม่บทองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น

ข้อสังเกต เครือข่ายจิตอาสาในเขตจ.สตูลยังขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน เช่น ผ้าขาวห่อศพ อุปกรณ์ป้องกันตนเองเมื่่อจัดการศพในขณะที่สิ่งเหล่านี้มีค่อนข้างมากและอาจเหลือใช้ในพื้นที่ 3 จวชต. เห็นควรกระจายผ่านเครือข่ายจิตอาสาเพ่ือหนุนเสริมการทำงานต่อไป

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

15 0

9. writing report and academic journal

วันที่ 8 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

เขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ในรูปแบบเตรียมบทความตีพิมพ์ บันทึกข้อมูลโครงการ สรุปไปปะหน้าการเงิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จำนวนร่างบทความวิชาการเพื่่อเผยแพร่ 1 บทความ ข้อคิดเห็นการขับเคลื่ือนงานในระยะต่อไป

 

7 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อประเมินผลการนำระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมไปใช้สร้างเสริมสุขภาพชุมชน
ตัวชี้วัด : รายงานผลการประเมินจำนวน 2 ครั้ง (ตามการปฏิบัติจริง จากปัญหาสภาพการในพื้นที่) ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2564 ผลิตคู่มือแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพในหน่วยปฏิบัติการสุขภาพและชุมชนท้องถิ่น คู่มือเสร็จแต่ช้ากว่าแผนเดิม ครั้งที่ 2 ธันวาคม 2564 การนำแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพในหน่วยปฏิบัติการสุขภาพและชุมชนท้องถิ่นลงสู่การปฏิบัติในประเด็นเลือกสรร ของ 2 พื้นที่ใน อ.เทพา จ.สงขลา และ อ.เมือง จ.สตูล
100.00

 

2 เพื่อเสริมพลังผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
ตัวชี้วัด : กิจกรรมเยี่ยมนิเทศพื้นที่โครงการจำนวน 5 ครั้ง (ผ่านระบบออนไลน์) กิจกรรมเยี่ยมนิเทศพื้นที่โครงการจำนวน 3 ครั้ง (การลงพื้นที่จริง รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี, รพ.สต.วังใหญ่ อ.เทพา จว.สงขลา, รพ.สตูล จ.สตูล
100.00

 

3 เพื่อหนุนเสริมเชิงวิชาการและสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายการทำงานสร้างเสริมสุขภาพชุมชนในบริบทพหุวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด : เวทีพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้้อย่างน้อย 5 ครั้ง ทีมประเมินดำเนินการ จำนวน 8 ครั้ง ผ่านเครือข่าย สวนส. 4 ครั้ง
100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประเมินผลการนำระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมไปใช้สร้างเสริมสุขภาพชุมชน (2) เพื่อเสริมพลังผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ (3) เพื่อหนุนเสริมเชิงวิชาการและสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายการทำงานสร้างเสริมสุขภาพชุมชนในบริบทพหุวัฒนธรรม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) Screening 1 (2) Screening 3 (3) Screening 4 (4) screening 2 (5) Screening 5 สัมภาษณ์ถอดเทป วิเคราะห์ 5 รพ (6) Public Scoping พค,ตค (7) Assessing 1 (วันที่ 1 4/ธันวาคม 2564) รพ.สต.วังใหญ่ ชื่ือโครงการ คัดกรองไว ดูแลไว ปลอดภัยตามวิถี (8) Assessing II รพ.สตูล (9) writing report and academic journal

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ประเมินผลภายใน การจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ผศ.ดร.ปรียา แก้วพิมล, ภมรรัตน์ ชมพูประวิโร )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด