สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ (จริยธรรมสื่อ)

เวทีถอดบทเรียนการใช้สื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ11 ตุลาคม 2563
11
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
  • สรุปรายงานการประชุมวันที่ 11ต.ค.63.docx
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์ การใช้สื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคม โดยใช้นโยบายสาธารณะ
  2. นำเข้าข้อมูลผลการประเมินโครงการที่ผ่านมา
  3. กระบวนการถอดบทเรียน กับการใช้สื่อขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายจากงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 11
  4. วางแผนการขับเคลื่อนและแนวทางการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสู่งานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 13 ร่วมกับประเด็นสุขภาพทั้ง 4ประเด็น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ชุดข้อมูลที่ใช้ ประกอบกระบวนการถอดบทเรียนการทำงาน

- ข้อเสนอที่เครือข่ายสื่อนำเสนอต่อหน่วยงานองค์กรต่างๆ เมื่องานสร้างสุขภาคใต้ปี 2562
- ข้อมูลจากการประเมินโครงการ ดำเนินงานการสื่อสารชุมชนขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่คณะประเมินทำการประเมินระหว่างดำเนินโครงการจนสิ้นสุดโครงการในปีแรกต่อมาถึงปีที่ 2
- การให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์สถานการณ์การสื่อสารในยุคใหม่ รวมทั้งการเกิดภาวะวิกฤติโควิด – 19 ที่เป็นตัวกระตุ้นให้กระบวนการสื่อสารเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างชัดเจน 2. วิเคราะห์สถานการณ์ของเครือข่ายสื่อตอบสนองต่อความคาดหวัง มีปัจจัยอะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้ มองอนาคตแนวโน้มทางสังคม เป็นปัจจัยกำหนดให้เครือข่ายสื่อจะขับเคลื่อนอย่างไร มีเป้าหมาย และวิธีการที่จะไปสู่เป้าหมาย
3. เนื้อหาโดยสรุป - แพลทฟอร์มในการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสื่อสารในยุคปัจจุบันเนื่องจากคนรุ่นใหม่สนใจ นิยมความแปลกใหม่ และความรวดเร็วทำให้ เนื้อหาที่เป็นเฟคนิวส์ เข้าถึงและดึงดูดความสนใจจากผู้รับสื่อและสร้างกระแสได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามสื่อที่เป็นสื่อกระแสหลัก ยังคงได้รับความน่าเชื่อถือจากสังคมมากกว่า
- New normal รูปแบบของสื่อ ปัจจุบันระบบสตรีมมิ่งจะเข้ามามีอิทธิพลกับผู้บริโภคมากขึ้นและอาชีพสตรีมเมอร์เป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่ สื่อใหญ่หันมาจัดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์มากขึ้นผู้คนติดตามข่าวสารบ้านเมืองผ่านระบบออนไลน์ในสมาร์ทโฟนมากขึ้นกว่าเดิมมาก ผู้ชมต้องการคอนเทนส์ How To มากกว่า What is สิ่งที่ต้องคำนึงคือสื่ออย่างไรให้เห็นว่าเพราะอะไรถึงเกิดความสำเร็จมากว่าการนำเรื่องราวมาเล่าต่อ - แนวทางการทำสื่อ.การสร้างเนื้อหาจะเป็นความรอยู่รอดของสื่อในอนาคต ซึ่งสื่อจะต้องมีความรู้วิเคราะห์สังเคราะห์ข่าว แค่ทำข่าวแบบเดิมอย่างเดียวไม่ได้แล้ว เนื่องจากมีความรุนแรงของการแข่งขันสูงมาก ภายใต้ข้อจำกัด ต้องมีความรวดเร็ว มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ความนิยมของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไป ดังนั้นสื่อต้องมีความแม่นยำสูงมาก .ในขณะที่ระบบความปลอดภัย ความถูกต้องค่อนข้างต่ำ ส่งผลต่อจริยธรรม ความรับผิดชอบของนักสื่อสารที่อาจจะมีน้อยลง สิงที่ต้องคิดคือทำอย่างไรให้ผู้บริโภคมีความรู้และเท่าทันในเรื่องเหล่านี้
- ยุทธศาสตร์การสื่อสาร การสื่อสารสำหรับโลกยุคใหม่ ต้องผลิตเนื้อหา(content) ที่ เข้าใจถึงความสนใจของผู้บริโภค เนื่องจากทางเลือกของผู้รับสื่อมีความหลากหลาย การสื่อสารที่ต้องตระหนักในเชิงคุณค่าต่อสังคม ข้อมูลที่ถูกต้องในการสร้างเนื้อหาและการแบ่งปันภายใต้การแข่งขันสูง การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลก่อนที่จะส่งถึงคนในสังคมเกิดความเข้าใจได้อย่างไร ต้องใช้ความรู้ (รวบรวม ค้นหา) มากกว่าความเห็น ให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่า 4. การทำงานของทีมสื่อทั้ง 3 โซน ในไตรมาสที่ 2 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2563 - มกราคม 2564 ทีมใต้ล่าง โดยนายนิพนธ์ รัตนาคม ความมั่นคงทางอาหาร การแพทย์พหุวัฒนธรรม ทำงานร่วมกับเครือข่ายสื่อ จังหวัดพัทลุง , จังหวัด ตรัง จังหวัดสงขลา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทีมใต้อันดามัน คุณทวีศักดิ์ วิสุทธิกุล ทำงานร่วมกับเครือข่ายสื่อ จังหวัดภูเก็ต , พังงา , กระบี่ , ระนอง ทีมใต้บน นครศรีธรรมราช , ชุมพร ,  สุราษฎร์ธานี และจะมีงานเขียนเป็น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ กับทุกประเด็นงาน

ข้อสังเกต/ข้อแลกเปลี่ยนจากที่ประชุม 1. จากสถานการณ์งานสร้างสุขปี 62 ทุกจังหวัดทำหน้าที่และช่วยเสริมพลังการขับเคลื่อนสังคมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีการสร้างนักสื่อสารมวลชนเพิ่มขึ้น 3. มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อการขยายภาคี 4. มีการอบรมเยาวชนเพื่อการเท่าทันสื่อ 5. การจัดเวทีสาธารณะระดับจังหวัด   Social movement เมื่อเราใช้สื่อในการขับเคลื่อนสังคม เกิดผลในทางที่ดีพบว่าภาคีความร่วมมือขยายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ กอ.รมน ภาค 4 ,มีส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อกับกลุ่มคนและองค์กรให้เกิดการมีส่วนร่วมและช่วยกันสื่อสารเรื่องราวดีๆ .เกิดแกนนำเยาวชนกระจายอยู่ตามพื้นที่ เกิดสื่อดีๆที่ผลิตโดยเยาวชน มีเครือข่ายผู้สูงอายุเข้ามาเสริม การท่องเที่ยวชุมชนฟื้นคืน ตัวอย่างเกษตรกรต้นแบบ ตัวอย่างเกษตรอินทรีย์ เข้าสู่กลไกระดับจังหวัด นโยบายยาสูบระดับจังหวัด ขับเคลื่อนร่วมกับโรงเรียนเรื่องปัจจัยเสี่ยง แม้ว่าข้อเสนอเชิงนโยบายของเรายังไม่รับการตอบสนองมากนักก็ตาม แต่เราก็พบว่าการเชื่อมประสานกับหน่วยงานที่เรามีต่อหน่วยงานยังขาดความต่อเนื่องจริงจัง
  ความสำเร็จของเครือข่ายส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของวัตถุดิบ 4 M และศักยภาพของบุคคลที่มีความเฉพาะมีความเด่นชัดในตัวของบุคคลที่มาขับเคลื่อน โดยมีสมาคมสื่อฯเป็นตัวเชื่อมประสาน ความยาก คือ ประเด็นการขับเคลื่อนในพื้นที่ ต้องใช้เวลา ทำให้เป็นข้อจำกัดของการขับเคลื่อน การตอบรับของผู้รับสื่อ จากผลผลิต การรับรู้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าใช่สิ่งที่เราต้องการหรือไม้ สามารถสร้างการรับรู้ถึงขั้นที่เราคาดหวังหรือไม่ ขั้นตอนต่อไปในการขับเคลื่อนและพัฒนาสื่อ ให้ไปถึงผู้รับสารและส่งผลกระทบจริง การคิดวิเคราะห์ไม่เป็นแบบชี้นำ แต่ต้องรอบด้านเรารับรู้ได้อย่างไรในช่องทางการนำเสนอ เช่น มีการลงพื้นที่ไปประเมินสถานการณ์ตลอดเวลาที่มีการขับเคลื่อนหรือไม่

แผนกิจกรรมเครือข่ายสื่อในช่วงไตรมาสสุดท้ายก่อนถึงงานสร้างสุขครั้งที่ 12 พื้นที่ทั้ง 4 ประเด็นหลักเพื่อสนับสนุนงานสื่อสารและการมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ทั้งเวที Onair , Online Ongroundและจัดเวทีสมัชชาออนไลน์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่