สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ลงพื้นที่ชุมชนท่องเที่ยวบ้านม่วงกลวง เพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมโดยเฉพาะประเด็นผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 11 ก.ย. 2563 11 ก.ย. 2563

 

  • จัดเวทีประชุมรวมและประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) กับแกนนำ / หัวหน้ากลุ่ม / ตัวแทนชุมชน
  • สัมภาษณ์เชิงลึกแกนนำ / หัวหน้ากลุ่ม / ตัวแทนชุมชน ในประเด็นที่ต้องการข้อมูลเชิงลึก
  • สำรวจเส้นทางท่องเที่ยวและเข้าพบผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสังเกตการมีส่วนร่วมและความเชื่อมโยงของการท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

จากการลงพื้นที่พบว่าในช่วงสถานการณโควิด-19 ชุมชนท่องเที่ยวบ้านม่วงกลวงได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจค่อนข้างมาก รายได้ที่เคยมีจากกิจกรรมการท่องเที่ยวลดลงอย่างชัดเจนเพราะจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตามในภาพรวมชาวบ้านในชุมชนสามารถดำรงชีพได้เพราะยังสามารถประกอบอาชีพหลัก เช่น ประมงชายฝั่ง ได้ตามปกติ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพบว่าความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำหลายชนิดได้ฟื้นตัวขึ้น ราคาสัตว์น้ำต่ำลงกว่าเดิม เพราะมีปริมาณมากแต่ความต้องการเพื่อการท่องเที่ยวลดลง

 

การวิเคราะห์และสรุปข้อมูลหลังลงพื้นที่ และการวางแผนลงพื้นที่ครั้งต่อไป 18 ก.ย. 2563 18 ก.ย. 2563

 

  • ศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ ในการศึกษาวิจัยในเฟส 1
  • วิเคราะห์และสรุปข้อมูลหลังการลงพื้นที่ในเฟส 2
  • วางแผนการลงพื้นที่เพื่อการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมและคืนข้อมูล

 

ในการลงพื้นที่ในเฟส 2 ของการศึกษาวิจัย ได้ให้ความสำคัญกับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและด้านอื่น ๆ รวมทั้งความต้องการในการพัฒนาตนเองของชุมชนท่องเที่ยว เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการท่องเที่ยวเมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ

 

การทบทวนคืนข้อมูลให้ชุมชนและปรับยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชน 26 ก.ย. 2563 26 ก.ย. 2563

 

  • พูดคุยในประเด็นที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมและทวนสอบข้อมูลในประเด็นที่ยังขาดความชัดเจน
  • นำเสนอข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการศึกษาวิจัย เป็นการคืนข้อมูลสู่ชุมชนท่องเที่ยว
  • ระดมความคิดเห็นและความคาดหวังของกลุ่มที่จะผลักดันประเด็นที่ต้องการไปสู่ข้อเสนอทางนโยบายทั้งในระดับจังหวัดและเครือข่ายท่องเที่ยวอันดามัน

 

ชุมชนท่องเที่ยวบ้านม่วงกลวงมีความต้องการพัฒนาตนเองในหลายประเด็น ในช่วงสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อสร้างความพร้อมให้กับกลุ่มที่จะรองรับการท่องเที่ยวเมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ โดยมีความต้องการพัฒนามากที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ 2) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ 3) การจัดการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีประสิทธิภาพ  อีกทั้งต้องการใช้ภาครัฐมีช่องทางให้กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนได้เข้าร่วมกับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐจัดให้กับการท่องเที่ยวกระแสหลักในประเทศ