แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
“ ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต ”
บ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต
หัวหน้าโครงการ
ดร.อภิรมย์ พรหมจรรยา, ดร.ชัชวัล วงศ์วัฒนกิจ, อ.กมลธรณ์ พรหมพิทักษ์
ชื่อโครงการ ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต
ที่อยู่ บ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต
รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
กิตติกรรมประกาศ
"ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต
บทคัดย่อ
โครงการ " ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 35,900.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้
การประเมินผล
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
เอกสารประกอบอื่นๆ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
- ลงพื้นที่และทบทวนข้อมูลผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน
- การลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน
- การลงพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชน
- สรุปการประเมินผลท่องเที่ยวโดยชุมชนและสร้างเครือข่ายของตำบลกมลา
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ชุมชนได้รับความรู้และพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยววิถีใหม่
- พัฒนาเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการขาย สร้างรายได้และให้บริการด้านการท่องเที่ยวของชุมชน
- เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟู
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ ผลผลิต* ผลผลิตที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง
1. ลงพื้นที่และทบทวนข้อมูลผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน
วันที่ 12 สิงหาคม 2563กิจกรรมที่ทำ
กิจกรรมที่ 1 การสำรวจข้อมูลเพื่อทำฐานข้อมูลและพัฒนาสินค้าและบริการของชุมชน
โดยมีการประสานงานกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าต่อยอดในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะของการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ประเด็นปัญหาในด้านลบ
1. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการท่องเที่ยวในชุมชนเช่น การปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล ขยะมูลฝอย การก่อสร้างที่ปิดบังทัศนียภาพของแหล่งท่องเที่ยว การบุกรุกป่าไม้เพื่อก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน โรงแรม รีสอร์ท ของนายทุน
2. ปัญหาด้านการเข้ามาทำธุรกิจของนายทุน ส่งผลให้วิถีชีวิตการเป็นอยู่ของชุมชนในอดีตมีความแตกต่างไปจากเดิม เช่น อาชีพ การกินอยู่ รวมถึงการย้ายถิ่นฐานออกไปสู่ภายนอกชุมชน ทำให้ชุมชนขาดการอยู่รวมกันในครอบครัว
3. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเช่น การก่อสร้างอาคารในบริเวณเส้นทางธรรมชาติก่อให้เกิดอุทกภัยต่าง ๆในชุมชน เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม เป็นต้น
4. ปัญหาด้านสิ่งเสพติดหรืออบายมุก ที่จะเกิดขึ้นในชุมชน เพราะชุมชนบ้านหัวควนเป็นชุมชมร้อยละ 90 ของชุมชนเป็นคนมุสลิม เมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างชาติหรือคนต่างถิ่นเข้ามาอาศัยก็อาจจะทำให้เกิดปัญหายาเสพติดขึ้นในชุมชน
5. ปัญหาด้านความปลอดภัยในชุมชน เมื่อมีนักท่องเที่ยวหรือบุคคลภายนอกชุมชนเข้ามาอาศัยหรือท่องเที่ยวก็อาจจะมีประเด็นการลักเล็กขโมยน้อยเกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อชุมชน
ประเด็นปัญหาในด้านบวก
1. การสร้างงานให้กับคนในชุมชน การที่มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนเช่น มีโรงแรม ร้านอาหาร ก็ทำให้คนในชุมชนได้มีที่ทำงานไม่ต้องออกจากถิ่นไปทำงานในเมืองใหญ่ ทำให้ครอบครัวได้อยู่ด้วยกัน
2. การสร้างรายได้ให้กับชุมชน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีการบริหารจัดการของผู้นำชุมชนที่ดีก่อให้ได้ประโยชน์ในทุกส่วนของชุมชน เช่น การนำเอาสินค้าหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปหรือทำเป็นสินค้าของฝากต่าง ๆ ทำให้เกิดรายได้แก่ฃชุมชน
3. ทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักของคนภายนอก เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนมีการถ่ายรูป เช็คอินลงผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Facebook line เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นช่องทางที่ดีสำหรับการประชาสัมพันธ์ชุมชนให้คนทั่วไปได้รับรู้ข่าวสารของชุมชน
ผลที่ได้รับ ให้ทางเลือกแก่ชุมชนในการตัดสินใจว่าในอนาคตชุมชนต้องการที่จะขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไปในทิศทางใดและผลิตภัณฑ์อะไรที่จะชุมชนมีความต้องการในการพัฒนาและต่อยอดให้เกิดรูปธรรมมากที่สุด
1. สมาชิกของชุมชนที่เข้ารับการฝึกอบรมเริ่มตระหนักถึงทรัพยากรของชุมชนที่มีและเกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูจากสิ่งที่มีอยู่เดิมเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาต่อยอดและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรมจากการได้ลงพื้นที่สำรวจร่วมกับทีมวิจัย
2. ได้ทบทวนกับแกนนำชุมชนเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับชุมชนใกล้เคียงและเกิดการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด ตามบริบทของพื้นที่ที่มีภูมิศาสตร์ในบริเวณเดียวกันคือ บ้านนาคาทำกิจกรรมการท่องเที่ยวร่วมกับบ้านนอกเล บ้านหัวควนทำกิจกรรมท่องเที่ยวร่วมกับบ้านบางหวาน
10
0
2. การลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน
วันที่ 19 สิงหาคม 2563กิจกรรมที่ทำ
กิจกรรมครั้งที่ 2 การลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน
โดยมีการประสานงานกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าต่อยอดในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะของการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลที่ได้รับ
1. ให้ทางเลือกแก่ชุมชนในการตัดสินใจว่าในอนาคตชุมชนต้องการที่จะขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไปในทิศทางใดและสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยังคงความสมบูรณ์ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม การเกษตร หัตถกรรม สุขภาพ และมีทัศนียภาพที่สวยงามไม่ว่าจะเป็น ถ้ำ น้ำตก ทะเล จุดชมวิว ภูเขา สวนผลไม้ เป็นต้น
2. นักท่องเที่ยวไม่หนาแน่น เหมาะสำหรับการพักผ่อนในบรรยากาศครอบครัว มีร้านอาหารขนาดเล็กหลายร้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทยหรืออาหารนานาชาติให้บริการ มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวมากมาย เช่น ร้านสปา ตู้เอทีเอ็ม มินิบาร์ ร้านค้าขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก และมีจุดบริการรับส่งนักท่องเที่ยวหรือแท็กซี่ เป็นสถานที่ที่นิยมในกลุ่มของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาพักผ่อนระยะยาวเป็นส่วนใหญ่
3. มีการปรุงอาหารโดยการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทำให้อาหารมีรสชาติ
4. มีความหลากหลายทางประเพณี ศาสนา และวัฒนธรรม ที่เป็นมนต์เสน่ห์ของชุมชน
5. มีภูมิปัญญาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่น่าสนใจ เช่น วิถีชาวมุสลิม, มัสยิด, กุโบร์และ วิถีประมง นอกจากนี้ชุมชนกมลายังเป็นชุมชนชาวไทยมุสลิมเก่าแก่ที่ใหญ่ที่สุดในภูเก็ต ที่มีประวัติความเป็นมาของพระนางมัสสุหรี มีความหลากหลายทางอาชีพ เช่น การเกษตร ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับจ้าง ธุรกิจการท่องเที่ยว มีสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่หลากหลาย ซึ่งผลิตด้วยคนในชุมชน และสินค้ามีราคาไม่แพง เหมาะที่จะนำเป็นของระลึก มีโรงแรมรองรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่รวมไปถึงอพาร์ทเมนต์เป็นจำนวนมาก มีหน่วยงานให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวรวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางการท่องเที่ยวอยู่ตลอด
ข้อสังเกตจากผู้วิจัย ข้อมูลของชุมชนที่มีโอกาพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาของชุมชนในกลุ่มเป้าหมายที่มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน และสามารถนำมาเชื่อมโยงหรือพัฒนาร่วมกันได้ และกำหนดให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยง ได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ส้มควาย ที่ชุมชนคัดเลือกมาเพื่อเป็นสินค้าเด่นของชุมชน แต่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าหลักยังไม่ชัดเจนทำให้ผลิตภัณฑ์ส้มควายยังไม่สามารถนำมาเป็นจุดขายของชุมชนได้ ทีมวิจัยและวิทยากรได้เสนอทางเลือกให้ชุมชนคิดทบทวนและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชนิดหรือตัวอื่นเพื่อเป็นจุดเด่นและง่ายต่อการขาย เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า
10
0
3. การลงพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชน
วันที่ 26 สิงหาคม 2563กิจกรรมที่ทำ
กิจกรรมครั้งที่ 3 การลงพื้นที่ประชุมชมกลุ่มย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชน
มีการประสานงานกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าต่อยอดในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะของการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลที่ได้รับ
1. ทีมวิจัยได้รับข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค สร้างโอกาสในการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการให้กับชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอนาคต เกิดการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุของชุมชนที่มีอยู่ และผลิตภัณฑ์จากเครือข่าย เช่น การการแปรรูปเมนูอาหารเมี่ยงคำกุ้งมังกรเจ็ดสี และการจัดภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศในพื้นที่ตำบลกมลา จากการศึกษาแนวโน้มในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศ พบว่า กระแสการท่องเที่ยวยั่งยืนพร้อมทั้งเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนได้รับความนิยมมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีของชุมชนกมลาที่จะพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจทางธรรมชาติ ท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะกมลามีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ อีกทั้งชุมชนยังคงความเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งในด้านการประกอบอาชีพ วิถีชีวิต การปรุงอาหาร และประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเสน่ห์ของชุมชนที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ชุมชนกมลายังมีจุดเด่นในเรื่องของภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดภูเก็ตทำให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครันทั้งด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ อย่างไรก็ตาม ชุมชนกมลายังคงความสงบของชุมชนไว้ ทำให้เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ที่ต้องการพักผ่อนและสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนอย่างแท้จริงเนื่องจากชุมชนกมลาเป็นชุมชนอิสลามที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับนักท่องเที่ยวมากนัก ดังนั้นสามารถทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักชุมชนมากขึ้น โดยการโปรโมทผ่านด้านอาหารที่มีความหลากหลายจากทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น อาทิเช่น ข้าวยำ ข้าวคลุกกะปิ และ เมี่ยงคำ มาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
2. บุคลากรในชุมชนยังไม่มีความชำนาญมากพอในการให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยว อีกทั้งขาดแคลนความเข้าใจในภาษาต่างประเทศ แต่บุคลากรเหล่านั้นยังคงมีความชำนาญในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ภายในชุมชน เช่น ผ้าปาเต๊ะ ซึ่งคนในสังคมปัจจุบันมีความนิยมในการแต่งกายชุดไทย และการสวมใส่เครื่องประดับแบบร่วมสมัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น ยิ่งทำให้บุคลาการในชุมชนสามารถฝึกฝนและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นสินค้าของชุมชน และขายสู่ท้องตลาด เพื่อจะได้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวได้ นอกนี้ สถานที่ท่องเที่ยวหลักในชุมชนกมลา (ภูเก็ตแฟนตาซี) ซึ่งเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว แต่พบว่านักท่องเที่ยวหันมาสนใจในการท่องเที่ยวชุมชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นชุมชนกมลาเป็นหนึ่งชุมชนที่สามารถจัดการ และดูแลสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นผู้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวได้โดยตรง ดังนั้นชุมชนสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่ต้องการจะสัมผัสความเป็นท้องถิ่น และต้องการจะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
ข้อสังเกตจากนักวิจัย ศึกษาศักยภาพของชุมชนตำบลกมลา ซึ่งเป็นพื้นที่กลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหาเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ในเชิงพื้นที่และจุดเด่นของพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย สำรวจวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ของแต่ละกลุ่มเป้าหมายว่ามีจุดเด่นในการพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่เดิมเป็นอย่างไรเพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่เดิมและ/หรือพัฒนาสิ่งใหม่ และออกสำรวจพื้นที่เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนในแต่ละพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหาจุดเด่นในการทำท่องเที่ยวโดยชุมชนและกิจกรรมของชุมชนได้มีวางแผนการพัฒนาร่วมกับแกนนำในการพัฒนาร่วมกับทีมวิจัยและร่วมวิเคราะห์ผลการสำรวจข้อมูลชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนต่อไป
10
0
4. สรุปการประเมินผลท่องเที่ยวโดยชุมชนและสร้างเครือข่ายของตำบลกมลา
วันที่ 29 กันยายน 2563กิจกรรมที่ทำ
กิจกรรมครั้งที่ 4 สรุปการประเมินผลท่องเที่ยวโดยชุมชนและสร้างเครือข่ายของตำบลกมลา
มีการประสานงานกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายและสรุปประเมินผลทอดบทเรียนร่วมกับนักวิจัย
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลที่ได้รับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 UNWTO ได้ประกาศให้เป็นปีการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนา ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวโน้มการท่องเที่ยวในปัจจุบัน ที่ผู้คนนิยมท่องเที่ยวในแบบวิถีชุมชน จึงนำการท่องเที่ยวเข้ามาสู่ชุมชนเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนบ้านกมลา ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรม อีกทั้งยังได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวมุสลิม เนื่องด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ยังสามารถดึงความสนใจนักท่องเที่ยวได้จากหลายกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาเยือน ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในชุมชนกมลาที่นำเสนอให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือนชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้และผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้จะเน้นในเรื่องของสินค้าที่แสดงเอกลักษณ์ที่แท้จริงของชุมชนกมลา ซึ่งส้มควายเป็นพืชพื้นเมืองภูเก็ตที่สามารถนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น ส้มความตากแห้ง น้ำส้มควาย สบู่ และแชมพู นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของอาหารท้องถิ่น และผ้ามัดย้อมลายสโนติก ที่สร้างเอกลักษณ์ให้ชุมชน ในส่วนผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้เช่น ความเชื่อ ศาสนา วิถีชีวิต และวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกเพลิดเพลิน ทำให้สามารถเข้าถึงประสบการณ์การท่องเที่ยวชุมชนกมลาอย่างลึกซึ้งและสร้างความประทับใจระหว่างโปรแกรมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ชุมชนจะต้องมีการสร้างเครือข่ายเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกของชุมชนในการจัดการและสร้างทีมทำงานเพื่อให้เกิดเครือข่ายในนามเครือข่ายของตำบลกมลา ทีมนักวิจัย ยกตัวอย่างและทอดบทเรียนการทำเครือข่ายและสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน show cased study เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนโซนอันดามัน เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจบทบาทและวิธีการขับเคลื่อนเครือข่ายของกลุ่มเกิดความคิดเห็นและหาแนวทางในการสร้างเครือข่ายร่วมกัน จากการทำกิจกรรมครั้งนี้ ได้ทำการสรุปผลการศึกษา ทำให้สมาชิกมีการนำเสนอและมีการพิจารณาผู้นำ แกนนำ สมาชิกตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านมาเป็นคณะกรรมการในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนงานเครือข่ายให้ชัดเจนและทำงานได้จริง ซึ่ง นักวิจัยและวิทยากรถอดบทเรียนให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการฝึกอบรมในการหาแนวร่วมและสร้างจุดร่วมในการทำงานเป็นทีม เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในอนาคตหากเกิดปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน การมีเครือข่ายจะช่วยให้การตัดสินใจร่วมกันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
สรุปกิจกรรมครั้งที่ 1 – 3 พบว่า การท่องเที่ยวชุมชนกมลาเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดภูเก็ตที่มีทรัพยากรอันหลากหลายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยได้มีการพัฒนาเป็นแหล่งพื้นที่ในการรับรองนักลงทุนเพื่อรองรับการขยายตัวจากด้านธุรกิจการท่องเที่ยว การควบคุมพื้นที่การเจริญเติบโตของกมลาที่เปลี่ยนจากผังเมืองชนบทและเกษตรกรรมมาเป็นที่อาศัยหนาแน่นน้อยและที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางทำให้การควบคุมเป็นไปได้ยาก ทำให้ส่งผลของพื้นที่ชุมชนจากข้อมูลกรมโยธาและผังเมือง สามารถแบ่งบริเวณกมลาออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกรรมและกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวเนื่องด้านการท่องเที่ยว สถานประกอบการส่วนใหญ่แบบโรงแรมและภัตตาคารถึงร้อยละ 52.56 รองลงมาได้แก่ ร้านค้าปลีก การขนส่งทางบก และตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวตามลำดับ
ความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชาวบ้านชุมชนกมลาเป็นสิ่งที่งดงาม ทั้งด้านการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ รัชกาลที่ 9 และการเป็นอยู่แบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังมีงานฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน อาทิเช่น กรีช ,ผ้าปาเต๊ะ และ หนังตะลุง ดังนั้นจึงเกิดแนวความคิดที่จะพัฒนาศูนย์ชุมชนกมลาให้เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ นักท่องเที่ยวและผู้คนในชุมชน เพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวและ มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ปัจจุบันศูนย์ชุมชนนั้นตั้งอยู่ใจกลางกมลา นักท่องเที่ยวผ่านไปมาเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นสถานที่ด้านหน้าติดทะเลและด้านหลังมองเห็นภูเขา ดังนั้นผู้จัดทำจึงเล็งเห็นว่า การพัฒนาศูนย์ชุมชน เป็นก้าวแรกที่สำคัญและ ยังเป็นประตูบานแรกให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในกมลา และยังคิดพัฒนา ผลิตภัณฑ์ รูปแบบต่างๆให้กับชุมชน
เส้นทางในการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีส่วนในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ในการศึกษานั้นต้องการให้ชุมชนในแต่ละชุมชนเกิดความร่วมมือกันระหว่างชุมชนและสร้างจุดเชื่อมโยงเส้นทางรูปแบบในการท่องเที่ยวที่ได้เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนกมลา โดยให้การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาทำให้เกิดรายได้แก่ชุมชน ให้ชุมชนมีอาชีพที่มั่นคงเป็นรายได้หลัก ยืนได้ด้วยลำแข็งของตนเอง ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติส่วนใหญ่ก็จะมาท่องเที่ยวตามแหล่งที่มีชื่อเสียงในกมลา เช่น ภูเก็ตแฟนตาซี ทะเลรอบกมลา โดยชุมชนกมลาก็เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีวัฒนธรรมที่อันเป็นเอกลักษณ์ และมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานแต่ในปัจจุบันก็ยังเป็นที่ไม่รู้จักจากนักท่องเที่ยวอยู่พอสมควร เนื่องจากยังขาดปัจจัยในการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนในการนำเสนอจุดที่น่าสนใจของชุมชนกมลา อีกทั้งความพร้อมในด้านเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชนก็ยังเป็นการริเริ่มต้นเท่านั้น จึงอาจทำให้เกิดอุปสรรคและปัญหาในด้านการจัดการอยู่พอสมควร ดังนั้นการจัดการเส้นทางในการท่องเที่ยวของชุมชนกมลาควรจะมีเส้นทางในการเดินทางแต่ละจุดภายในพื้นที่ 3 ส่วนหลักดังนี้
1. ให้ความรู้ความเป็นมาของกมลา
2. วิถีชีวิตของชุมชน
3. การท่องเที่ยวธรรมชาติ
1. ส่วนของการให้ความรู้ความเป็นมาของกมลา ส่วนนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวซึ่งมีความสนใจและมาเยือนยังชุมชนกมลาแห่งนี้ ทางผู้นำชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะบอกเล่าประวัติความเป็นมาในเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมพื้นถิ่น ประเพณีวิถีชีวิตชุมชน ความเชื่อ ซึ่งหลังจากการที่ได้มาทัศนศึกษาในการลงพื้นที่ศึกษาจริงได้พบว่าในปัจจุบันส่วนพื้นที่จุดนี้ยังทำได้ไม่ค่อยดีนัก โดยปัญหาที่จากการทัศนศึกษาสามารถจับใจความของปัญหาได้ดังนี้
1.1 ความเตรียมพร้อมสำหรับการบริการนักท่องเที่ยว อาจจะเกิดจากการที่ชุมชนพึ่งริเริ่มในการจัดการทำให้ยังขาดลักษณะการจัดการที่เป็นระบบด้านการวางแผน ความเตรียมพร้อมสำหรับนักท่องเที่ยวในกรณีที่นักท่องเที่ยวหมู่มากที่สนใจที่จะท่องเที่ยว ถ้าเกิดกรณีที่มีการจัดการการเตรียมพร้อมไม่ดีพอทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความไม่พอใจและไม่สนใจ อาจทำให้นักท่องเที่ยวไปสนใจจุดอื่นที่มีความเตรียมพร้อมมากกว่าก็เป็นได้
1.2 ด้านภาษาและการสื่อสาร ความเตรียมพร้อมในทางด้านภาษาต่างชาตินั้นก็เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของกมลา ซึ่งหากเกิดในกรณีที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความสนใจในประวัติความเป็นมาของชุมชนกมลาแต่ หากทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือชุมชนที่ให้ข้อมูลไม่มีความรู้พื้นฐาน หรือทักษะทางภาษาที่ชัดเจนก็อาจจะทำให้บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของกมลาได้อย่างไม่ถูกต้อง ทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกว่าชุมชนกมลาไม่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากที่จะท่องเที่ยวในชุมชนก็เป็นได้
2. ส่วนของวิถีชีวิตของคนในชุมชน ส่วนนี้จะเป็นการพานักท่องเที่ยวทัศนศึกษา เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน โดยผ่านการนำเสนอจากชุมชนในพื้นที่อย่างแท้จริงหรือผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุมชน แต่จากการที่ทางผู้เขียนได้ไปทัศนศึกษาสถานที่จริงของชุมชนได้สัมผัสถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ดังนั้นทางผู้เขียนได้จับใจความได้ มีดังนี้
2.1 ด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชน ต้องการให้ชุมชนกมลานำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดนนำเสนอจากการร่วมประชุมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีความรู้ให้นำเสนอรูปแบบแนวทางของผลิตภัณฑ์ของชุมชน เช่น การทำการเกษตรเพราะปลูกกินเองภายในบ้านหรือชุมชนใกล้เคียง การทำแหในรูปแบบดั้งเดิมไว้สำหรับการทำประมง การทำมีดโบราณที่สืบทอดต่อกันมา ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทำกันเป็นลักษณะชีวิตประจำวันของผู้คนในชุมชนอยู่แล้ว ดั้งนั้นถ้าเรานำสิ่งนั้นมาพัฒนาหรือส่งเสริมในรูปแบบใหม่ให้เกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้นโดยมีการจัดสรรปันส่วน การให้ความรู้เพิ่มเติมแก่นักท่องเที่ยวอย่างเช่น การมีป้ายอธิบายถึงคุณลักษณะและประโยชน์พืชผักที่ปลูกไว้โดยอธิบายเป็นลักษณะที่เข้าใจง่าย การโชว์การถักแหและให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำ การโชว์การผลิตและแกะสลักมีด การนำเสนออาหารพื้นบ้านที่สืบทอดกันในแต่ละรุ่นให้นักท่องเที่ยวได้ลิ้มลองรถชาติพร้อมกันอธิบายประวัติความเป็นมาว่าคืออะไร ที่ประวัติความเป็นมาอย่างไร
2.2 ด้านอาคารสถานที่ของชุมชน ในส่วนนี้อาจจะให้มีการวางแผนกับผู้นำชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดอาคารสถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และบอกเล่าเรื่องราวให้นักท่องเที่ยวฟังถึงประวัติความเป็นมาของอาคารสถานแห่งนี้ เช่น วัด มัสยิด ศาลาชุมชนหรือแม้แต่อาคารบ้านเรือนภายในชุมชนพร้อมทั้งอธิบายว่า ทำไมต้องเป็นลักษณะนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร มีความเกี่ยวข้องกับชุมชนอย่างไร และจะอนุรักษ์รักษาต่อไปได้อย่างไร
3. ส่วนของการท่องเที่ยวธรรมชาติ ส่วนนี้ก็จะเป็นการนำนักท่องเที่ยวเดินเข้าป่าเพื่อชื่นชมกับธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ของชุมชนกมลานี้ มีทั้งสวนพืชพรรณหลากหลายชนิดและน้ำตกอันสวยงามที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นการเดินทางท่องเที่ยวธรรมชาติสามารถจับใจความได้ดังนี้
3.1 ด้านความปลอดภัยและจุดแวะพักสำหรับการเดินทาง ควรจะมีการขึงเชือกไว้เพื่อเป็นการนำทางและป้องกันอุบัติเหตุจากพื้นที่ โดยทำการการทำจุดแวะพักเป็นระยะให้แก่นักท่องเที่ยว การเขียนป้ายเตือนที่มีสีสันโดดเด่นให้ระมัดระวังสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตรายได้ มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่มีวิทยุสื่อสารและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นคอยดูแลความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา และนอกจากนี้ก็จะเป็นการปรับพื้นที่ควรจะทางเดินที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยอาจจะใช้วัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่ายและไม่เกิดอันตรายเวลาฝนตก อีกทั้งยังให้มีความสวยงามเพื่อเป็นจุดถ่ายรูป
10
0
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ เป้าหมาย ผลผลิต อธิบาย
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต
รหัสโครงการ
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
................................
( ดร.อภิรมย์ พรหมจรรยา, ดร.ชัชวัล วงศ์วัฒนกิจ, อ.กมลธรณ์ พรหมพิทักษ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
“ ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต ”
บ้านกมลา จังหวัดภูเก็ตหัวหน้าโครงการ
ดร.อภิรมย์ พรหมจรรยา, ดร.ชัชวัล วงศ์วัฒนกิจ, อ.กมลธรณ์ พรหมพิทักษ์
ชื่อโครงการ ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต
ที่อยู่ บ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต
รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
กิตติกรรมประกาศ
"ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต
บทคัดย่อ
โครงการ " ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 35,900.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ | |
บทคัดย่อ | |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล | |
วัตถุประสงค์โครงการ | |
กิจกรรม/การดำเนินงาน | |
กลุ่มเป้าหมาย | |
ผลลัพธ์ที่ได้ | |
การประเมินผล | |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
เอกสารประกอบอื่นๆ |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
- ลงพื้นที่และทบทวนข้อมูลผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน
- การลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน
- การลงพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชน
- สรุปการประเมินผลท่องเที่ยวโดยชุมชนและสร้างเครือข่ายของตำบลกมลา
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้ |
---|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ชุมชนได้รับความรู้และพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยววิถีใหม่
- พัฒนาเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการขาย สร้างรายได้และให้บริการด้านการท่องเที่ยวของชุมชน
- เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟู
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. ลงพื้นที่และทบทวนข้อมูลผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน |
||
วันที่ 12 สิงหาคม 2563กิจกรรมที่ทำกิจกรรมที่ 1 การสำรวจข้อมูลเพื่อทำฐานข้อมูลและพัฒนาสินค้าและบริการของชุมชน โดยมีการประสานงานกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าต่อยอดในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะของการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นประเด็นปัญหาในด้านลบ
1. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการท่องเที่ยวในชุมชนเช่น การปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล ขยะมูลฝอย การก่อสร้างที่ปิดบังทัศนียภาพของแหล่งท่องเที่ยว การบุกรุกป่าไม้เพื่อก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน โรงแรม รีสอร์ท ของนายทุน
2. ปัญหาด้านการเข้ามาทำธุรกิจของนายทุน ส่งผลให้วิถีชีวิตการเป็นอยู่ของชุมชนในอดีตมีความแตกต่างไปจากเดิม เช่น อาชีพ การกินอยู่ รวมถึงการย้ายถิ่นฐานออกไปสู่ภายนอกชุมชน ทำให้ชุมชนขาดการอยู่รวมกันในครอบครัว
3. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเช่น การก่อสร้างอาคารในบริเวณเส้นทางธรรมชาติก่อให้เกิดอุทกภัยต่าง ๆในชุมชน เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม เป็นต้น
4. ปัญหาด้านสิ่งเสพติดหรืออบายมุก ที่จะเกิดขึ้นในชุมชน เพราะชุมชนบ้านหัวควนเป็นชุมชมร้อยละ 90 ของชุมชนเป็นคนมุสลิม เมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างชาติหรือคนต่างถิ่นเข้ามาอาศัยก็อาจจะทำให้เกิดปัญหายาเสพติดขึ้นในชุมชน
5. ปัญหาด้านความปลอดภัยในชุมชน เมื่อมีนักท่องเที่ยวหรือบุคคลภายนอกชุมชนเข้ามาอาศัยหรือท่องเที่ยวก็อาจจะมีประเด็นการลักเล็กขโมยน้อยเกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อชุมชน ประเด็นปัญหาในด้านบวก 1. การสร้างงานให้กับคนในชุมชน การที่มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนเช่น มีโรงแรม ร้านอาหาร ก็ทำให้คนในชุมชนได้มีที่ทำงานไม่ต้องออกจากถิ่นไปทำงานในเมืองใหญ่ ทำให้ครอบครัวได้อยู่ด้วยกัน 2. การสร้างรายได้ให้กับชุมชน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีการบริหารจัดการของผู้นำชุมชนที่ดีก่อให้ได้ประโยชน์ในทุกส่วนของชุมชน เช่น การนำเอาสินค้าหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปหรือทำเป็นสินค้าของฝากต่าง ๆ ทำให้เกิดรายได้แก่ฃชุมชน 3. ทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักของคนภายนอก เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนมีการถ่ายรูป เช็คอินลงผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Facebook line เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นช่องทางที่ดีสำหรับการประชาสัมพันธ์ชุมชนให้คนทั่วไปได้รับรู้ข่าวสารของชุมชน ผลที่ได้รับ ให้ทางเลือกแก่ชุมชนในการตัดสินใจว่าในอนาคตชุมชนต้องการที่จะขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไปในทิศทางใดและผลิตภัณฑ์อะไรที่จะชุมชนมีความต้องการในการพัฒนาและต่อยอดให้เกิดรูปธรรมมากที่สุด 1. สมาชิกของชุมชนที่เข้ารับการฝึกอบรมเริ่มตระหนักถึงทรัพยากรของชุมชนที่มีและเกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูจากสิ่งที่มีอยู่เดิมเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาต่อยอดและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรมจากการได้ลงพื้นที่สำรวจร่วมกับทีมวิจัย 2. ได้ทบทวนกับแกนนำชุมชนเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับชุมชนใกล้เคียงและเกิดการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด ตามบริบทของพื้นที่ที่มีภูมิศาสตร์ในบริเวณเดียวกันคือ บ้านนาคาทำกิจกรรมการท่องเที่ยวร่วมกับบ้านนอกเล บ้านหัวควนทำกิจกรรมท่องเที่ยวร่วมกับบ้านบางหวาน
|
10 | 0 |
2. การลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน |
||
วันที่ 19 สิงหาคม 2563กิจกรรมที่ทำกิจกรรมครั้งที่ 2 การลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีการประสานงานกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าต่อยอดในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะของการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลที่ได้รับ ข้อสังเกตจากผู้วิจัย ข้อมูลของชุมชนที่มีโอกาพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาของชุมชนในกลุ่มเป้าหมายที่มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน และสามารถนำมาเชื่อมโยงหรือพัฒนาร่วมกันได้ และกำหนดให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยง ได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ส้มควาย ที่ชุมชนคัดเลือกมาเพื่อเป็นสินค้าเด่นของชุมชน แต่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าหลักยังไม่ชัดเจนทำให้ผลิตภัณฑ์ส้มควายยังไม่สามารถนำมาเป็นจุดขายของชุมชนได้ ทีมวิจัยและวิทยากรได้เสนอทางเลือกให้ชุมชนคิดทบทวนและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชนิดหรือตัวอื่นเพื่อเป็นจุดเด่นและง่ายต่อการขาย เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า
|
10 | 0 |
3. การลงพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชน |
||
วันที่ 26 สิงหาคม 2563กิจกรรมที่ทำกิจกรรมครั้งที่ 3 การลงพื้นที่ประชุมชมกลุ่มย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีการประสานงานกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าต่อยอดในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะของการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลที่ได้รับ 1. ทีมวิจัยได้รับข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค สร้างโอกาสในการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการให้กับชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอนาคต เกิดการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุของชุมชนที่มีอยู่ และผลิตภัณฑ์จากเครือข่าย เช่น การการแปรรูปเมนูอาหารเมี่ยงคำกุ้งมังกรเจ็ดสี และการจัดภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศในพื้นที่ตำบลกมลา จากการศึกษาแนวโน้มในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศ พบว่า กระแสการท่องเที่ยวยั่งยืนพร้อมทั้งเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนได้รับความนิยมมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีของชุมชนกมลาที่จะพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจทางธรรมชาติ ท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะกมลามีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ อีกทั้งชุมชนยังคงความเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งในด้านการประกอบอาชีพ วิถีชีวิต การปรุงอาหาร และประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเสน่ห์ของชุมชนที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ชุมชนกมลายังมีจุดเด่นในเรื่องของภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดภูเก็ตทำให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครันทั้งด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ อย่างไรก็ตาม ชุมชนกมลายังคงความสงบของชุมชนไว้ ทำให้เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ที่ต้องการพักผ่อนและสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนอย่างแท้จริงเนื่องจากชุมชนกมลาเป็นชุมชนอิสลามที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับนักท่องเที่ยวมากนัก ดังนั้นสามารถทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักชุมชนมากขึ้น โดยการโปรโมทผ่านด้านอาหารที่มีความหลากหลายจากทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น อาทิเช่น ข้าวยำ ข้าวคลุกกะปิ และ เมี่ยงคำ มาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว 2. บุคลากรในชุมชนยังไม่มีความชำนาญมากพอในการให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยว อีกทั้งขาดแคลนความเข้าใจในภาษาต่างประเทศ แต่บุคลากรเหล่านั้นยังคงมีความชำนาญในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ภายในชุมชน เช่น ผ้าปาเต๊ะ ซึ่งคนในสังคมปัจจุบันมีความนิยมในการแต่งกายชุดไทย และการสวมใส่เครื่องประดับแบบร่วมสมัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น ยิ่งทำให้บุคลาการในชุมชนสามารถฝึกฝนและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นสินค้าของชุมชน และขายสู่ท้องตลาด เพื่อจะได้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวได้ นอกนี้ สถานที่ท่องเที่ยวหลักในชุมชนกมลา (ภูเก็ตแฟนตาซี) ซึ่งเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว แต่พบว่านักท่องเที่ยวหันมาสนใจในการท่องเที่ยวชุมชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นชุมชนกมลาเป็นหนึ่งชุมชนที่สามารถจัดการ และดูแลสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นผู้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวได้โดยตรง ดังนั้นชุมชนสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่ต้องการจะสัมผัสความเป็นท้องถิ่น และต้องการจะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย ข้อสังเกตจากนักวิจัย ศึกษาศักยภาพของชุมชนตำบลกมลา ซึ่งเป็นพื้นที่กลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหาเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ในเชิงพื้นที่และจุดเด่นของพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย สำรวจวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ของแต่ละกลุ่มเป้าหมายว่ามีจุดเด่นในการพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่เดิมเป็นอย่างไรเพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่เดิมและ/หรือพัฒนาสิ่งใหม่ และออกสำรวจพื้นที่เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนในแต่ละพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหาจุดเด่นในการทำท่องเที่ยวโดยชุมชนและกิจกรรมของชุมชนได้มีวางแผนการพัฒนาร่วมกับแกนนำในการพัฒนาร่วมกับทีมวิจัยและร่วมวิเคราะห์ผลการสำรวจข้อมูลชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนต่อไป
|
10 | 0 |
4. สรุปการประเมินผลท่องเที่ยวโดยชุมชนและสร้างเครือข่ายของตำบลกมลา |
||
วันที่ 29 กันยายน 2563กิจกรรมที่ทำกิจกรรมครั้งที่ 4 สรุปการประเมินผลท่องเที่ยวโดยชุมชนและสร้างเครือข่ายของตำบลกมลา มีการประสานงานกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายและสรุปประเมินผลทอดบทเรียนร่วมกับนักวิจัย ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลที่ได้รับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 UNWTO ได้ประกาศให้เป็นปีการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนา ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวโน้มการท่องเที่ยวในปัจจุบัน ที่ผู้คนนิยมท่องเที่ยวในแบบวิถีชุมชน จึงนำการท่องเที่ยวเข้ามาสู่ชุมชนเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนบ้านกมลา ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรม อีกทั้งยังได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวมุสลิม เนื่องด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ยังสามารถดึงความสนใจนักท่องเที่ยวได้จากหลายกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาเยือน ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในชุมชนกมลาที่นำเสนอให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือนชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้และผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้จะเน้นในเรื่องของสินค้าที่แสดงเอกลักษณ์ที่แท้จริงของชุมชนกมลา ซึ่งส้มควายเป็นพืชพื้นเมืองภูเก็ตที่สามารถนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น ส้มความตากแห้ง น้ำส้มควาย สบู่ และแชมพู นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของอาหารท้องถิ่น และผ้ามัดย้อมลายสโนติก ที่สร้างเอกลักษณ์ให้ชุมชน ในส่วนผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้เช่น ความเชื่อ ศาสนา วิถีชีวิต และวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกเพลิดเพลิน ทำให้สามารถเข้าถึงประสบการณ์การท่องเที่ยวชุมชนกมลาอย่างลึกซึ้งและสร้างความประทับใจระหว่างโปรแกรมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ชุมชนจะต้องมีการสร้างเครือข่ายเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกของชุมชนในการจัดการและสร้างทีมทำงานเพื่อให้เกิดเครือข่ายในนามเครือข่ายของตำบลกมลา ทีมนักวิจัย ยกตัวอย่างและทอดบทเรียนการทำเครือข่ายและสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน show cased study เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนโซนอันดามัน เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจบทบาทและวิธีการขับเคลื่อนเครือข่ายของกลุ่มเกิดความคิดเห็นและหาแนวทางในการสร้างเครือข่ายร่วมกัน จากการทำกิจกรรมครั้งนี้ ได้ทำการสรุปผลการศึกษา ทำให้สมาชิกมีการนำเสนอและมีการพิจารณาผู้นำ แกนนำ สมาชิกตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านมาเป็นคณะกรรมการในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนงานเครือข่ายให้ชัดเจนและทำงานได้จริง ซึ่ง นักวิจัยและวิทยากรถอดบทเรียนให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการฝึกอบรมในการหาแนวร่วมและสร้างจุดร่วมในการทำงานเป็นทีม เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในอนาคตหากเกิดปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน การมีเครือข่ายจะช่วยให้การตัดสินใจร่วมกันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สรุปกิจกรรมครั้งที่ 1 – 3 พบว่า การท่องเที่ยวชุมชนกมลาเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดภูเก็ตที่มีทรัพยากรอันหลากหลายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยได้มีการพัฒนาเป็นแหล่งพื้นที่ในการรับรองนักลงทุนเพื่อรองรับการขยายตัวจากด้านธุรกิจการท่องเที่ยว การควบคุมพื้นที่การเจริญเติบโตของกมลาที่เปลี่ยนจากผังเมืองชนบทและเกษตรกรรมมาเป็นที่อาศัยหนาแน่นน้อยและที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางทำให้การควบคุมเป็นไปได้ยาก ทำให้ส่งผลของพื้นที่ชุมชนจากข้อมูลกรมโยธาและผังเมือง สามารถแบ่งบริเวณกมลาออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกรรมและกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวเนื่องด้านการท่องเที่ยว สถานประกอบการส่วนใหญ่แบบโรงแรมและภัตตาคารถึงร้อยละ 52.56 รองลงมาได้แก่ ร้านค้าปลีก การขนส่งทางบก และตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวตามลำดับ
ความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชาวบ้านชุมชนกมลาเป็นสิ่งที่งดงาม ทั้งด้านการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ รัชกาลที่ 9 และการเป็นอยู่แบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังมีงานฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน อาทิเช่น กรีช ,ผ้าปาเต๊ะ และ หนังตะลุง ดังนั้นจึงเกิดแนวความคิดที่จะพัฒนาศูนย์ชุมชนกมลาให้เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ นักท่องเที่ยวและผู้คนในชุมชน เพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวและ มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ปัจจุบันศูนย์ชุมชนนั้นตั้งอยู่ใจกลางกมลา นักท่องเที่ยวผ่านไปมาเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นสถานที่ด้านหน้าติดทะเลและด้านหลังมองเห็นภูเขา ดังนั้นผู้จัดทำจึงเล็งเห็นว่า การพัฒนาศูนย์ชุมชน เป็นก้าวแรกที่สำคัญและ ยังเป็นประตูบานแรกให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในกมลา และยังคิดพัฒนา ผลิตภัณฑ์ รูปแบบต่างๆให้กับชุมชน
|
10 | 0 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย |
---|
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค | สาเหตุ | ข้อเสนอแนะ |
---|---|---|
ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต
รหัสโครงการ
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
( ดร.อภิรมย์ พรหมจรรยา, ดร.ชัชวัล วงศ์วัฒนกิจ, อ.กมลธรณ์ พรหมพิทักษ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......