ประสานข้อมูลชุมชนและกำหนดวันจัดประชุม
การขับเคลื่อนงานบูรณาการอาหารเป็นการทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่มั่นคงซึ่งหากเรามีการทำแผนการทำงานที่เป็นระบบจะทำให้เรามีช่องทางที่หลากหลายและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นดังเช่นที่นาชะอังจะมีทรัพยากรหลายอย่างที่เรายังขาดการจัดการโดยมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับท้องถิ่น
การจะทำยุทธศาสตร์ที่ดีจะต้องวิเคราะห์ปัญหาของพื้นที่มีปัญหาอะไรบ้างและปัญหานั้นจะร่วมกันแก้ไขได้อย่างไร ปัจจัยเอื้อ/อุปสรรค เช่น คนเป็นอย่างไรมีความคิดความเชื่ออย่างไร สภาพแวดล้อมในพื้นที่เป็นอย่างไร การเมือง นโยบาย ระบบกลไก รัฐ ท้องถิ่น ระบบข้อมูล ระบบสาธารณสุขมูลฐาน
เทศบาลตำบลนาชะอังมี 9 ชุมชนต้องหาอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชนให้เจอและนำมาพูดคุยเพื่อออกแบบการขับเคลื่อนงานของเทศบาลตำบลนาชะอังโดยมีทีมจากหน่วยงานจากหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิด คลังอาหารและยาตำบลนาชะอัง
บ้านขุนแสน หมู่ที่ 1 มีครัวเรือนจำนวน 956 ครัวเรือน ชาวบ้านบางส่วนมีการทำการเกษตร ปลูกปาล์มน้ำมัน มะพร้าว มังคุด และมีการทำสวนแบบผสมผสาน
แนวทางการพัฒนา สืบสานและต่อยอด ยาลูกกลอนและน้ำมันวัดสามแก้วเพื่อเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้หายไปจากหมู่บ้านและสนับสนุนการปลูกผักในครัวเรือน
บ้านนาชะอัง หมู่ 2 มีครัวเรือนจำนวน 352 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย
แนวทางการพัฒนา สามารถทำเครื่องสูบน้ำ และกาลักน้ำจากคลอง ส่งน้ำจากคลองเพื่อนำน้ำมาใช้ชั่วคราวในการเกษตรเวลาหน้าแล้ง
บ้านหูรอ หมู่ที่ 3 มีครัวเรือนจำนวน 359 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย
แนวทางการพัฒนา ขุดลอกคูคลองหนองน้ำขาวให้กลับมาใช้ประโยชน์ในด้านชีวิตประจำวันของคนในชุมชน
บ้านดอนนาว หมู่ที่ 4 มีครัวเรือนจำนวน 164 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำประมงชายฝั่ง และมีกลุ่มประมงชายฝั่งที่ทำอาหารทะเลแปรรูป
แนวทางการพัฒนา ทำการท่องเที่ยวเกี่ยวชายฝั่งอ่าวพนังตักให้มีกิจกรรม เช่น แข่งวิบากชายฝั่ง วอลเลย์บอลชายหาด แข่งวิ่งว่าวชายหาด และมีการขายของเกี่ยวกับสินค้าในชุมชน และอาหารทะเลเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน สนันสนุนอาหารทะเลแปรรูป ส่งเสริมให้ทำการตลาดทั้งในชุมชน นอกชุมชน และตลาดออนไลน์
บ้านสามเสียม หมู่ที่ 5 มีครัวเรือนจำนวน 345 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำประมงชายฝั่งปลูกข้าวไร่ โดยกลุ่มเกษตรทางเลือกนาชะอังมีการปลูกข้าวไร่ในพื้นที่หมู่ที่ 5 จำนวน 36 ไร่ และมีการสีข้าวเพื่อรับประทานและจำหน่าย
แนวทางการพัฒนา พัฒนาเป็นแหล่งการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศท้องถิ่นและแหล่งการเรียนรู้ เรื่องข้าวไร่ให้กับเยาวชน
บ้านทรายทอง หมู่ที่ 6 มีครัวเรือนจำนวน 278 ครัวเรือนชาวบ้านบางส่วนมีการทำการเกษตร ปลูกปาล์มน้ำมัน
แนวทางการพัฒนา สนับสนุนการปลูกข้าวไร่เพื่อเป็นเกษตรทางเลือกใหม่ให้กับชาวบ้าน
บ้านเนินคีรี หมู่ที่ 7 มีครัวเรือนจำนวน 369 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและทำงานนอกบ้าน
แนวทางการพัฒนา ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงชุมชนและการปลูกข้าวไร่ของตำบลนาชะอังเพื่อเป็นตัวกลางประสานงานให้กับหมู่บ้านอื่นที่มีแหล่องท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ประเพณี วัฒนธรรม และการเกษตร
บ้านหนองจระเข้ หมู่ที่ 8 มีครัวเรือนจำนวน 341 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีการทำการเกษตร
ปลูกปาล์มน้ำมัน มะพร้าว
แนวทางการพัฒนา ปลูกข้าวไร่และจัดการอบรมแก่ผู้ที่สนใจเพิ่มเติมเพื่อขยายกลุ่มเกษตรกรที่ให้ความสนใจในการปลูกข้าวไร่เพิ่มและควรทำการตลาดเกี่ยวกับการขาย
บ้านทับตะเคียน หมุ่ที่ 9 มีครัวเรือนจำนวน 196 ครัวเรือน ชาวบ้านสวนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย
แนวทางการพัฒนา สร้างที่กักเก็บน้ำเพื่อที่จะปล่อยน้ำให้ชาวบ้านที่ทำการเกษตรได้ใช้อย่างเพียงพอ
การขับเคลื่อนแผนบุรณาการอาหาร โดยมีวิสัยทัศน์ ร่วมสร้าง “คลังอาหารและยาที่นาชะอัง”ด้วยสายน้ำของพ่อและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภายใต้เป้าประสงค์ กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้ลด
()
สร้างความเข้าใจการทำแผนบุรณาการอาหารระดับตำบลโดยนายทวีวัตรและการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดและนำเสนอการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่
มีกรอบการดำเนินการจัดทำแผนการบูรณาการระบบอาหารระดับท้องถิ่นนำร่องจำนวน 10 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลทะเลทรัพย์ ตำบลท่าแซะ 3 ท้องถิ่น อบต.ท่าแซะ /ทต.ท่าแซะ/ทต.เนินสันติ/ทต.นาชะอัง /ทต.บางลึก/อบต.ทุ่งระยะ/อบต.เขาค่าย/อบต.ตะโก/อบต.ปากทรง และมีพื้นที่ที่ประสงค์จะเข้าร่วมเพิ่ม คือ อบต.สะพลี /อบต.วังไผ่
()