สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ นครศรีธรรมราช

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมหารือการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช 30 พ.ย. 2563 30 พ.ย. 2563

 

เข้าพบท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และ สส.เขต 2 เพื่อหารือการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

ข้อสรุปจากการประชุมหารือ 1. การเลือกพื้นทีนำร่องการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ทำในเรื่องอาหารปลอดภัย ได้เลือกอำเภอหัวไทร จัดทำเรื่องตลาดปลอดภัย สร้างให้เกิดต้นแบบตลาดปลอดภัย ตั้งแต่การผลิต การตลาด และการบริโภคที่ปลอดภัย 2. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ต้องเชื่อมการทำงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงานจังหวัด ในการผลักดันเข้าสู่แผนจังหวัด และผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันคือหัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ 3. จัดประชุมคณะทำงานตามคำสั่งเพื่อนำไปสู่การผลักดันยุทธศาสตร์ระบบอาหารเข้าสู่งานแผนจังหวัดในปีถัดไป

 

ประชุมปรึกษาหารือการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา 28 ธ.ค. 2563 28 ธ.ค. 2563

 

ประชุมปรึกษาหารือการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา

 

ประชุมปรึกษาหารือการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา

 

ประชุมหารือการขับเคลื่อนงานตลาดปลอดภัยในพื้นที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช 15 ก.พ. 2564 15 ก.พ. 2564

 

  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุม และการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ.2562 – 2566
  2. หารือการขับเคลื่อนงานตลาดปลอดภัยในพื้นที่อำเภอหัวไทร

 

แนวทางการขับเคลื่อนงานตลาดปลอดภัยในอำเภอหัวไทร
1.สร้างกฎ/กติกา ข้อตกลงร่วมกันในการทำตลาดปลอดภัย เช่น สินค้าที่สามารถวางจำหน่ายได้ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ อย่างน้อย 1 มาตรฐาน (GMP) พ่อค้าแม่ค้าที่จะเข้ามาค้าขายในตลาดจะต้องมีการตรวจสุขภาพ สุขลักษณะของผู้จำหน่ายสินค้า เป็นต้น 2.ข้อมูลสนับสนุนของตลาดที่ได้รับมาตรฐาน เพื่อนำมาปรับใช้กับตลาดในอำเภอหัวไทร เช่น กฎ กติกา โครงสร้าง เป็นต้น 3.Mapping กลุ่มเป้าหมาย ฐานลูกค้า ที่มีกำลังซื้อและมีความต้องการหรือมีความรู้ความเข้าใจที่จะบริโภคอาหารปลอดภัย รวมทั้งบริบทพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะทำตลาด 4.ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มีหน่วยงานในพื้นที่เข้ามาช่วยเหลือในการทำความสะอาดตลาดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 5.กลไกสำคัญ คือ กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และ อปท. 6.โรงเรียนทำเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมมีการจำหน่ายและตลาด เช่น ผักบุ้ง ส่งร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ ด้วยเป็นสินค้าปลอดสารพิษ ซึ่งโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ด้วย เช่น CP all และเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นๆ เข้ามาศึกษาดูงานและกลับไปพัฒนาโรงเรียนตนเอง
7.ขยายสู่ตลาด online ในอนาคต และเชื่อมโยงอาหารกับการท่องเที่ยว 8.เทศบาลตำบลหัวไทรเสนอเป็นศูนย์กลางการทำอาหารปลอดภัยของอำเภอ และเสนอให้เป็นวาระของอำเภอหัวไทร ในการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย พัฒนาตลาดและตลาดสดของเทศบาลตำบลหัวไทร

 

ประชุมการจัดทำแผนขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย (ตลาดปลอดภัย) อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช 22 มี.ค. 2564 22 มี.ค. 2564

 

  1. ชี้แจงรูปแบบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด และกระบวนการดำเนินงาน ในการจัดทำแผนขับเคลื่อน งานอาหารปลอดภัย
  2. แบ่งกลุ่มจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนงานอาหารปลอดภัยในระดับอำเภอ • ต้นน้ำ หน่วยผลิต/ผู้ผลิต • กลางน้ำ การจัดทำมาตรฐานอาหารปลอดภัย • ปลายน้ำ ผู้บริโภค
  3. นำเสนอแผนปฏิบัติการ และให้ข้อเสนอแนะ

 

ได้ข้อเสนอแนะการจัดทำตลาดปลอดภัยของอำเภอหัวไทร นำร่องในพื้นที่เทศบาลตำบลหังไทร "หลาดริมคลองหัวไทร" และ (ร่าง) ชุดคณะทำงาน ได้แก่ พชอ.หัวไทร พัฒนาชุมชน สาธารณสุข เกษตร โรงเรียน (กลุ่มจัดตั้งโครงการ อย.น้อย) สื่อวิทยุ กศน. ท่องเที่ยวเชิงเกษตร วัฒนธรรม และตัวแทนผู้บริโภค