สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ ”



หัวหน้าโครงการ
อานนท์ มีศรี

ชื่อโครงการ พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

ที่อยู่ จังหวัด

รหัสโครงการ - เลขที่ข้อตกลง 60-ข-079

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 30 พฤษภาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ



บทคัดย่อ

โครงการ " พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ " ดำเนินการในพื้นที่ รหัสโครงการ - ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤศจิกายน 2560 - 30 พฤษภาคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 2,500,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.ขยายเครือข่ายการสื่อสารสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม 14 จังหวัดภาคใต้
  2. 2.สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย
  3. 3.ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและจริยธรรมเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะและขับเคลื่อนประเด็นต่างๆในมิติสุขภาวะทางปัญญา และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงาน กองบก. เครือข่าย " สื่อสร้างสุขภาคใต้" ครั้งที่ 1
  2. เวทีงานสมัชชาเพื่อนสื่อสาธารณะ ภาคใต้ ปี 2560 กับการสื่อสารประเด็นการขับเคลื่อนทางสังคม
  3. เวทีสมัชชา "ขับเคลื่อนเมืองนคร สู่นครศรีฯ อยู่ดีมีสุข"
  4. หักภาษีดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร
  5. ประชุม กองบก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 1
  6. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช งวดที่ 1
  7. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดพังงา งวดที่ 1
  8. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดกระบี่ งวดที่ 1
  9. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดชุมพร งวดที่ 1
  10. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดพัทลุง งวดที่ 1
  11. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดสงขลา งวดที่ 1
  12. เวทีถกเถียงสาธารณะ ร้อยใจคนชุมพร ร่วมสร้างเมืองปลอดภัย กรณีศึกษา “อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล”
  13. สานเสวนา ทางเลือก ทางรอด ของเยาวชนคนคอน ภายใต้ปัจจัยเลี่ยงต่อสุขภาพที่รุมเร้า
  14. เวทีเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ปี 2561 ห้องย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโซนอันดามัน
  15. เวทีเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศรีวิชัยสู่การสร้างพลังทางสังคม
  16. สนับสนุนเครือข่ายกขป.เขต 11 สุราษฎร์ธานี
  17. เวทีเสวนา สมุยโมเดล “เตรียมวางแผนกิจกรรมเดินรอบเกาะ”
  18. เวทีถกเถียงสาธารณะ ”เสวนาการจัดการน้ำเมืองคอน ทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม “
  19. เวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่
  20. เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการพลังการสื่อสาร เผยเเพร่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสู่การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะ
  21. เวทีเชื่อมโยงเครือข่ายสื่อจังหวัดตรัง
  22. เวทีประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  23. เวทีประเด็นอุบัติเหตุกับแผนพัฒนาจังหวัดระนอง
  24. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดกระบี่ งวดที่ 2
  25. ค่าธรรมเนียมการโอนและค่าธรรมเนียมเช็ค
  26. เวทีสาธารณะ“คนเมืองตรังบ้านโคกออกร่วมจัดการชุมชนอยู่ดีมีสุข”
  27. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดตรัง งวดที่ 1
  28. ประชุม กองบก. สื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 2
  29. สนับสนุนพื้นที่ ประเด็นสุขภาวะทางสังคมการจัดการปัจจัยเสี่ยงจังหวัดชุมพร งวดที่ 2
  30. ประชุมวิชาการ ประจำปี 2561 "สร้างคน สร้างงาน สร้างสุข สานพลังที่ก้าวข้ามขีดกำจัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน
  31. เวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2561
  32. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ จังหวัดตรังงวดที่ 1
  33. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส งวดที่ 1
  34. สนับสนุนประเด็นสุขภาวะทางสังคม ประเด็นระบบอาหาร
  35. สนับสนุนประเด็นสุขภาวะทางสังคม ประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  36. จัดประชุมร่างแนวปฏิบัติเพื่อกำหนดจริยธรรมสื่อในกระบวนการนโยบายสาธารณะ
  37. จัดประชุมรูปแบบการสื่อสาร นโยบายสาธารณะ
  38. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช งวดที่ 2
  39. ค่าตรวจบัญชีโครงการ
  40. ค่าตรวจบันชี
  41. ผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ ประเด็นสุขภาวะ สนับสนุนงานสร้างสุขภาคใต้
  42. พัฒนาศักยภาพเพื่อการเรียนรู้การสื่อสารเพื่อสุขภาวะ 2 พื้นที่

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงาน กองบก. เครือข่าย " สื่อสร้างสุขภาคใต้" ครั้งที่ 1

วันที่ 22 กันยายน 2560 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อตกลงร่วมกันของเครือข่ายสื่อสร้างสุข  การเตรียมความพร้อมงานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 10 และใช้รายการวิทยุ กินอิ่ม  นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้เพื่อการสื่อสารประเด็นทางสุขภาวะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต คณะทำงานเข้าใจกระบวนการทำงานและ ขั้นตอนต่างๆ ในการ ขับเคลื่อนงานเข้าใจแผนการใช้ งบประมาณและการายงานผลการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ คณะทำงานเข้าใจภารกิจความรับผิดชอบ ทำให้การขับเคลื่อน งานเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ 

 

33 33

2. เวทีงานสมัชชาเพื่อนสื่อสาธารณะ ภาคใต้ ปี 2560 กับการสื่อสารประเด็นการขับเคลื่อนทางสังคม

วันที่ 18 ตุลาคม 2560 เวลา 09:00 - 16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. เป็นกิจกรรมรับฟังความคิดเห็น ขับเคลื่อนประเด็นทางสุขภาวะทางสังคม เช่นประเด็นสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร  ปะเด็นพลังงาน สันติสุขชายแดนใต้ และประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร
    2.  เครือข่ายสื่อเข้าร่วมให้ความเห็นในเรื่องการสื่อสารทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคงทางอาหาร 3.  การแบ่งกลุ่มย่อยตามประเด็นต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปและข้อเสนอต่อสื่อสาธารณะ ที่จะต้องให้ความมีส่วนร่วมในฐานะของสื่อสาธารณะและทำประโยชน์ต่อสังคม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. การมีส่วนร่วมและเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วม ในความจำเป็นและที่มาของการเข้ามาดำเนินการในเรื่องต่างๆ สาเหตุหลักๆมาจากความเดือดร้อนของประชาชน ความทุกบ์ยากจากการได้รับผลกระทบจากการทำร้ายสิ่งแวดล้แอม การต้องการพลังงานจากธรรมชาติ หรือแม้แต่เสียงสะท้อนจากสมาชิกที่อยู่จังหวัดชายแดนใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่
  2. การสื่อสารในระดับชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของปัญหาเองควรจะได้นำเรื่องราวที่เป็นความจริงนำเสนอผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ
  3. ได้ข้อเสนอของแต่ละประเด็นที่เป็นประโยชน์กับสังคมและคาดหวังกับกระบวนการสื่อสารในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น
  4. ได้แนบตัวอย่างของข้อเสนอ ประเด็นความมั่งคงด้านอาหาร ต่อหน่วยงาน และองค์กรสื่อ ประเด็นการสื่อสารเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร จากเครือข่ายทั่วประเทศมีประเด็นเนื้อหาหรือประเด็นสถานการณ์สำคัญ ดังนี้
  5. ความปลอดภัยทางด้านอาหาร
  6. พื้นที่ผลิตอาหารลดลง  ระบบนิเวศถูกทำลาย
  7. นโยบายหรือกฎหมายที่ส่งผลกระทบกับความมั่นคงด้านอาหาร
  8. ระบบทุนนิยมที่ส่งผลกับความมั่งคงด้านอาหาร
  9. พันธุ์กรรมพื้นถิ่นถูกทำลาย
  10. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหรือภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบกับความมั่นคงด้านอาหาร
  11. อธิปไตยทางอาหารเป็นเรื่องทางพื้นฐานของสังคมเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีของเกษตรกรที่เราต้องการ  ที่จะฟื้นการพึ่งพาตัวเองทำให้เห็นมุมมองของตนเอง

ยุทธศาสตร์/เป้าหมาย สิทธิการจัดการความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ข้อเสนอต่อเครือข่าย มีแนวทางดังนี้ 1. สำรวจและรวบรวม/เก็บรักษาพันธุ์กรรมพื้นบ้าน จัดทำฐานข้อมูลทั้งพันธุ์พืช สัตว์ 2. ขึ้นทะเบียนจดสิทธิบัตรพันธุ์กรรมพืช  แยกเป็น 3 ประเภท พืชเฉพาะถิ่น/พืชทั่วไป/พืชป่า 3. สร้างเครื่องมือ/กระบวนการ/การสื่อสารเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร 4. พัฒนาศูนย์เรียนรู้ระดับชุมชน/วิถีการผลิตการแปรรูปของชุมชน 5. ฟื้นฟู วิถีและวัฒนธรรมการกินของชุมชน 6. ยกเลิกการใช้สารเคมีในเขตพื้นที่ เขา ป่า นา เล ให้เป็นพื้นที่ปลอดสารพิษ 7. ปรับวิถีการผลิตพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรอินทรีย์

ข้อเสนอต่อรัฐบาล มีแนวทางดังนี้ 1. รัฐบาลต้องยุติกฎหมาย/นโยบายที่ส่งผลต่อความมั่นคงด้านอาหาร 2. รัฐบาลต้องออกมาตรการ/กฎหมายเพื่อการคุ้มครองและปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารที่ปลอดภัยของชุมชน 3. รัฐบาลต้องกำหนดเรื่องความมั่นคงด้านอาหารเป็นวาระแห่งชาติ (แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี)

ข้อเสนอต่อสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส  มีแนวทางดังนี้ 1. สื่อสาธารณะต้องทำหน้าที่ในการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักต่อความมั่นคงด้านอาหาร 2. สื่อสาธารณะต้องทำหน้าที่ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องกฎหมาย/นโยบาย ที่ส่งผลต่อสังคม
3. สื่อสาธารณะต้องเจาะลึก/ต่อเนื่องในการนำเสนอสื่อเพื่อให้ประชาชนผู้รับสาร เพื่อการตัดสินใจอย่าง  ถูกต้อง 4. สื่อสาธารณะต้องทำหน้าที่สื่อสารเพื่อกระตุ้นระบบการผลิตต้นแบบดั้งเดิมกลับคืนสู่สังคม

 

200 170

3. เวทีสมัชชา "ขับเคลื่อนเมืองนคร สู่นครศรีฯ อยู่ดีมีสุข"

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

          เป็นการประชุมสมัชชาระดับจังหวัด  มีภาคีหลัก เข้าร่วมได้แก่ สาธารณะสุขจังหวัด สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช  และผู้แทนจากประเด็นขับเคลื่อนทางสุขภาวะ 3 ประเด็น ได้แก่ประเด็นการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต  ประเด็นอาหารปลอดภัย  ประเด็นปกป้องเด็กจากปัจจัยเสี่ยง แอลกอฮอล์และบุหรี่ โดยนายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดงาน พิธีเปิดงานเป็นการแสดงพลังของการมีส่วนร่วมที่สื่อให้เห็นความเสมอภาค หรือความมีภราดรภาพของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช นั้นคือ “เวทีหยวกกล้วย”  มีการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน หนังตะลุง  นาฎศิลป์ การสื่อสารด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยนายหนัง วีระ งามขำ การเสวนาในหัวข้อ.การขับเคลื่อนนครศรีฯอยู่ดีมีสุขแบบมีส่วนร่วม ภาคีสนับสนุนมีความคิดเห็นอย่างไร..โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา คือ ดร.วิรยะ แต้มแก้วหัวหน้าปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนภาคใต้ พลเอกภัทรชัย แทนขำ ผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์กองทัพภาคที่4  นายชูรินทร์  ขวัญทอง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล ผู้ช่วยผู้ประสานงานสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน นางสุจิตรา ป้านวัน รองปลัดองค์กรบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ อ.ทุ่งสง คุณจารึก ไชยรักษ์ ผู้แทนจำสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ดำเนินรายการโดยคุณอานนท์ มีศรี นายยกสามาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช และในช่วงบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มย่อยตาม ประเด็นการขับเคลื่อน 3 ประเด็น คือ 1) ประเด็นการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต 2) ประเด็นอาหารปลอดภัย 3) ประเด็นปกป้องเด็กจากปัจจัยเสี่ยง แอลกอฮอล์และบุหรี่ และมีกลุ่มย่อยของ พมจ. และ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน  และประกาศมติและข้อเสนอของแต่ละประเด็น 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิตที่ได้จากการจัดเวที 1. มีเครือข่ายภาคี ความร่วมมือให้ความสำคัญกับกระบวนการสมัชชาสุขภาพ และมองเห็นการนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันในอนาคต โดยเฉพาะการเริ่มงานขาเคลื่อนในปีต่อไปที่จะสามารถ จัดการให้เกิดความร่วมมือก้าวไปด้วยกันตั้งแต่ต้นปี 2. ได้รูปแบบการสื่อสารที่ชัดเจนมากขึ้น และมีคุณภาพเหมาะสมกับบริบท พฤติกรรมการรับข่าวสารของคนจังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น การสื่อสารเรื่องราวด้วยบทหนังตะลุง  การใช้ “เวทีหยวกกล้วย” ที่แสดงถึงการมีความเสมอภาคความเป็นภราดรภาพต่อกัน เกิดความเท่าเทียมในการแสดงความคิด การเสนอเรื่องราวที่เป็นประโยชน์การสื่อสาร 3. ร่างมติ และข้อเสนอของแต่ละประเด็นที่ขับเคลื่อน ซึ่งเกิดจากกระบวนการนโยบายสาธารณะ มีรูปธรรม และมีเนื้อหาทางวิชาการที่สมารถพัฒนา ต่อไปอย่างมีทิศทาง และเกิดประโยชน์กับชุมชนอย่างจริงจัง
4. รูปธรรมการขับเคลื่อนตามหลักคิดนครบูรณาการ  เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม นั้นคือ การรวมองค์กรภาคี  หน่วยงาน ชุมชน เพื่อให้เกิดเวทีกลางที่เป็นการแสดง ถึงบทบาท ปฏิบัติการของแต่ละส่วน ดำเนินการสอดคล้องกัน ภายใต้ วิสัยทัศน์ นครศรี อยู่ดีมีสุข  และสามารถขยายแนวปฏิบัติ ที่เกิดกว้าง ให้ทุกภาคส่วน ได้ใช้ประโยชน์ สร้างพลังการขับเคลื่อน ในรูปแบบ สมัชชา ประชาชน คนคอนรวมพลคนจิตอาสา ขับเคลื่อนนครศรี อยู่ดีมีสุข

ผลลัพธ์ 1. Participatory  เกิดการมีส่วนร่วม แบบบูรณาการ ขององค์กรภาคี หน่วยงาน และชุมชนสถาบันพัฒนาองค์การชุมชน โดยเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน เป็นกลไกหลักในการรวมคน รวมเครือข่าย รวมงานที่ขับเคลื่อน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/อำเภอ สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และอีก หลากหลาย กลุ่มองค์กร ภายใต้วิสัยทัศน์ นครศรีฯ อยู่ดี มีสุข 2. Public  การร่วมมือกันของภาคส่วนต่างๆเกิดการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในงานสมัชชา “รวมพลคนอาสา” เพื่อการขับเคลื่อนนครศรี อยู่ดี  มีสุข นำมติด้านปัจจัยเสี่ยง เด็กและเยาวชน มาบูรณาการแผนงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อการแก้ไขปัญหาความเสี่ยง ในเด็กและเยาวชน อย่างเป็นระบบต่อไป 3. policy  ได้ร่างมติ และข้อเสนอ ที่ผ่านการรับรองจากสมาชิกสมัชชาขาขึ้น 2 ประเด็น ที่จะเป็นแนวในการเสนอเป็นนโยบายสาธารณะทั้งในระดับพื้นที่และในระดับจังหวัด ความมั่นคงทางด้านอาหาร(อาหารปลอดภัย) ปัจจัยเสี่ยงเด็กและเยาวชน(เหล้า บุหรี่ และ ผลงานขาเคลื่อนในประเด็นการบริหารจัดการน้ำตามมติสมัชชาจังหวัดปี 2559 4. Process  การพัฒนากระบวนการขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะ โดยตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆให้ความสำคัญและมีความร่วมมือมากขึ้น โดยการนำมติสมัชชาสู่การปฏิบัติ

 

200 180

4. หักภาษีดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร

วันที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 09:00-10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ไม่่มี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่มี

 

0 0

5. ประชุม กองบก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 1

วันที่ 26 ธันวาคม 2560 เวลา 09:00-15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ชี้แจงวัตถุประสงค์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทิศทางการทำงานและการทำงานร่วมกับภาคีในบทบาทของเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 2.กำหนดแนวทางการดำเนินงานใน ระยะที่ 2 มี 2 เรื่อง ที่จะเป็นเป้าหมาย คือ -รูปแบบการสื่อสารกับประเด็นสุขภาวะ -แนวปฏิบัติเพื่อกำหนดจริยธรรมสื่อ เพื่อสุขภาวะทางสังคม ทั้งนี้ ผลลัพธ์ คือการยกระดับความเป็นมืออาชีพ 3.บทบาทในงานสร้างสุขภาคใต้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.จัดเวทีถกเถียงสาธารณะ 3 ประเด็น หลัก - การท่องเที่ยวโดยชุมชน
- ปัจจัยเสี่ยง
- การจัดการน้ำทั้งระบบ
2.กำหนดแนวทางการดำเนินงานใน ระยะที่ 2 มี 2 เรื่อง ที่จะเป็นเป้าหมาย คือ -รูปแบบการสื่อสารกับประเด็นสุขภาวะ -แนวปฏิบัติเพื่อกำหนดจริยธรรมสื่อ เพื่อสุขภาวะทางสังคม ทั้งนี้ ผลลัพธ์ คือการยกระดับความเป็นมืออาชีพ 3.ให้เครือข่ายสื่อทั้ง 14 จังหวัด ดำเนินกิจกรรมหนุนเสริม เครือข่ายสื่อในจังหวัด ด้านศักยภาพการใช้สื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคม จังหวัดละ 5 คน เป็นอย่างน้อย และ นำ 2 ประเด็น คือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และปัจจัยเสี่ยง เป็น ประเด็นที่ใช้สื่อเพื่อการขับเคลื่อน ให้ได้มา 2 เรื่อง - รูปแบบการสื่อสารประเด็นสุขภาวะ - แนวปฏิบัติเพื่อกำหนดจริยธรรมสื่อ เพื่อสุขภาวะทางสังคม 4.ห้องย่อยในงานสร้างสุขภาคใต้ ในเดือน มีนาคม วันที่ 27-29 มี.ค. 2561 จะเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็น จากข้อเสนอที่ ทางเครือข่ายสื่อในจังหวัดส่งมา 5.ใช้รายการวิทยุ "กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้" เป็นรายการหลัก ที่ใช้สื่อสารกับประเด็นที่ขับเคลื่อน ในช่วง 2 เดือน ก่อนถึงงาน สร้างสุขภาคใต้ จะนำเสนอ 2 ประเด็น หลัก ตามที่กล่าวมา 6.กำหนดรูปแบบการสื่อสาร ช่องทางใหม่ กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้ ทางface book live นำเสนอ 2 ประเด็น คือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และ ปัจจัยเสี่ยง
7.จังหวัด นำร่อง คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช , กระบี่ , พังงา , ชุมพร , สงขลา , สุราษฏร์ธานี , พัทลุง วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ช่วงเวลา 16.00 น. - 19.00 น.หรือ ตามความเหมาะสม ใช้เฟจ สมาคมสื่อฯเป็นมาสเตอร์ สมาชิก บก.ช่วยมอนิเตอร์ และเก็บ Reccord จากผู้ชมและผู้ฟัง

 

30 30

6. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดพังงา งวดที่ 1

วันที่ 5 มกราคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดรายการ “กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้”
    -  ประเด็น การท่องเที่ยววิถีมุสลิมสไตล์กับการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเขาปิหลาย ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา     -  ประเด็น ถนนปลอดภัย
    -  ประเด็น สุขภาวะของเด็ก
    -  ประเด็น นวัตกรรมธุรกิจก่อสร้างไทย
2.จัดรายการ “ กินอิ่ม เที่ยวสนุก @  พังงา ” (Facebook LIVE )     -  ประเด็น “พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่  (พ.ศ.2560)และบุหรี่ จุดเริ่มต้นของยาเสพติดชนิดอื่น ๆ ”
    -  ประเด็น “การท่องเที่ยวชุมชน สะพานสารสิน-บ้านท่านุ่น ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา”
    -  ประเด็นของแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย     -  ประเด็น การบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ สวนวราภรณ์ 1 ไร่คลายจน
3.ร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.1) 4.ประชุมเตรียมงานจัดทำแผนปฏิบัติการ  รายการ “กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้”

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้นำเรื่องราวการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดพังงา เพื่อให้เกิดการรับรู้ และเป็นผลต่อเนื่องให้นักท่องเที่ยวที่ชอบการท่องเที่ยวแบบชุมชนได้มีทางเลือกเพิ่มขึ้น
  2. สื่อสารการขับเคลื่อนงานประเด็นต่างๆ ผ่านรายการวิทยุ และเฟสบุคไลฟ์ โดย นำเสนอผ่านเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ขยายพื้นที่การสื่อสารในรูปแบบเครือข่าย
  3. คณะทำงานและเครือข่ายในพื้นที่มีความเข้าใจ เรื่องของวิธีการสื่่อสาร ผ่านสื่อยุคใหม่ ที่สามารถสื่อเรื่องราวต่างๆด้วยความรวดเร็ว แต่ต้องคำนึงถึงความจริงและผลกระทบจากการสื่อสารด้วย

 

1,000 0

7. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช งวดที่ 1

วันที่ 5 มกราคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดประชุมคณะทำงานโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจและประชุมคณะทำงานเตรียมงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2561 "สร้างคน  สร้างงาน สร้างสุข สานพลังที่ก้าวข้ามขีดกำจัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน 2.จัดเวทีถกเถียงสาธารณะ " ท่องเที่ยววีไทย เก๋ไก๋  อย่างยั่งยืน" และ  "เวทีสาธารณะ  “ย้อนรอย 470 วัน น้ำท่วมใหญ่ : การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน" 3.รายการ “ กินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ ”
  - ประเด็นท่องเที่ยวโดยชุมชน และเตรียมงานสร้างสุข   - ประเด็นการจัดการน้ำทั้งระบบจังหวัดนครศรีธรรมราช   - ประชาสัมพันธ์งานสร้างสุขภาคใต้   4.จัดรายการล้อมวงคุย  ทาง Facebook Live
  - วิถีน้ำเมืองคอน   - สปาโคลน  บ้านแหลมโฮมสเตย์”   - การทำสวนยั่งยืน ภายใต้การขับเคลื่อนสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง         


ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. สื่อสารกระบวนการทำงานของแต่ละประเด็นงานและเครือข่ายต่างๆในจังหวัด โดยเฉพาะประเด็นที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. สจรส.มอ.
2. การร่วมกันผลิตเนื้อหา การสื่อสารของแต่ละพื้นที่ เพื่อทำการสื่อสารในช่องทางต่างๆ ร่วมกันโดยการจัดการร่วมของกองบรรณาธิการสื่อสร้างสุขภาคใต้
3. เนื้อหาประเด็นการขับเคลื่อนจะรวบรวมเป็นข้อมูลทางวิชาการในการรับฟังความเห็นในห้องย่อย การสื่อสารสร้างสุขภาคใต้ ในงานสร้างสุขภาคใต้ปี  60
4. ใช้เป็นข้อมูลงานวิจัยเรื่องรูปแบบการสื่อสาร  และ เรื่องแนวปฏิบัติจริยธรรมการสื่อสาร

ผลลัพธ์ 1.  เป็นส่วนหนึ่งในการให้เกิดเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาพใต้ ทั้ง 14 จังหวัด 2.  การทำงานร่วมในรูปแบบกองบรรณาธิการสื่อสร้างสุขภาคใต้ โดยมีการร่วมการผลิตเนื้อหาการสื่อสารในประเด็นสุขภาวะของแต่ละพื้นนำมาสื่อสารในช่องทาง การสื่อสารของแต่ละจังหวัด โดยมีตารางการนำเสนอสลับสับเปลี่ยนกันในแต่ละจังหวัด ในการนำเสนอเนื้อหา 3.  การวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการสื่อสารที่ได้ทำการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาคุณภาพสื่อ และรูปแบบวิธีการที่เหมาะสม

 

500 70

8. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดชุมพร งวดที่ 1

วันที่ 5 มกราคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.Face Book Live ตอน 1 ปี ตลาดใต้เคี่ยม(ท่องเที่ยวโดยชุมชนตลาดใต้เคี่ยม) 2.ร่วมเวทีเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ 2561 ห้องย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโซนอันดามัน 3.เวทีพัฒนาศักยภาพสื่อโซเชียลมีเดีย 4.จัดทำสื่อสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น “ฐานชุมพร”และจัดทำสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ปะทิวนิวส์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1.สามารถสื่อสารการทำงานแต่ละประเด็นของเครือข่ายในจังหวัดทั้งที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย และไม่ได้การสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย 2.สามารถถ่ายทอดข้อมูล  เนื้อหา  ความรู้  และขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ 3.สามารถเชื่อมโยง ประสานงานเครือข่ายทางด้านข้อมูลและบุคคล 4.เพิ่มและพัฒนาทักษะรูปแบบการสื่อสารโซเซียลมีเดีย

ผลลัพธ์ 1.เกิดความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายมากขึ้น 2.มีพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ในแปลงเกษตรเพิ่มมากขึ้น 3.มีการทำงานร่วมกันในรูปแบบของกองบรรณาธิการสื่อสร้างสุขภาคใต้  โดยผลิตเนื้อหาของแต่ละประเด็นและจังหวัด แล้วนำมาเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแต่ละจังหวัด

 

1,000 1,000

9. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดสงขลา งวดที่ 1

วันที่ 5 มกราคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เข้าร่วมเวทีระดมความคิดเห็นประเด็นการท่องเที่ยวชุมชนโซนใต้บน  ทำความรู้จักเครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้และวางแผนแนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบสื่อสร้างสุขสงขลา 2.เวทีถอดบทเรียนโครงการ “เสริมสร้างศักยภาพและเตรียมความพร้อมของชุมชนหลังประสบอุทกภัยพื้นที่ตำบลเชิงแส อ.กระแสสินธุ์  จ.สงขลา” 3.สัมภาษณ์เชิงลึก ถ่ายภาพนิ่ง และวิดีโอ เพื่อเก็บข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ ทะเลสาบสงขลาแหล่งอาศัยโลมาอิระวดี ธนาคารกุ้งเพื่อการอนุรักษ์ รวมทั้ง สัมภาษณ์บุคคลสำคัญที่เป็นแกนนำการอนุรักษ์ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา 4.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายภัยพิบัติภาคใต้ 5.สัมภาษณ์เชิงลึก ถ่ายภาพนิ่ง และวิดีโอ เพื่อเก็บข้อมูลประเด็นร้านนมสร้างสุข      อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 6.สัมภาษณ์เชิงลึก ถ่ายภาพนิ่ง และวิดีโอ เพื่อเก็บข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ บ้านใบตาลอายุ 100 ปี ชุมชนรำแดง และยอดหัวเขาแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา 7.ประชาสัมพันธ์การจัดงานภาคใต้สร้างสุข โดยพาชมบู๊ธต่างๆ และพูดคุยกับองค์กรภาคีเครือข่ายด้านสุขภาวะภาคใต้ที่มาร่วมกิจกรรม 8.สัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน        อาจารย์ภิรมย์ จิตภักดี ประเด็นสงขลาเมืองเก่า 9.Live คุยกับเครือข่ายองค์กรงดเหล้า จังหวัดสงขลา“ดื่มไม่ขับ กลับปลอดภัย” 10.เวทีเสวนาข้าวปลูกกับคนปลูกข้าวบ้านเรา เทศกาลข้าวใหม่บ้านเรา ครั้งที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. การทำงานของเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาวะในประเด็นที่กำหนดได้รับการสื่อสารผ่านสื่อสาธารณะ
  2. เกิดเวทีและผลงานสื่อสารสาธารณะที่จะเป็นเครื่องมือไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือข้อเสนอเชิงนโยบาย

 

500 200

10. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดกระบี่ งวดที่ 1

วันที่ 5 มกราคม 2561 เวลา 09:00-10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะทำงาน 2.ดำเนินรายการ กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้  ประเด็นท่องเที่ยวโดยชุมชน ปัจจัยเสี่ยง และ ประชาสัมพันธ์ งานสร้างสุขภาคใต้ 3.Facebook live ที่ไร่ปรีดาโฮมสเตย์ และ Facebook live ณ ท่าเรือบ้าน  ถ้ำเสือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่  ประเด็นท่องเที่ยวโดยชุมชน ปัจจัยเสี่ยง 4.ร่วมเวทีเตรีมความพร้อมงานสร้างสุข เวที “โซนอันดามัน” 5.ผลิตสปอตวิทยุรายการ กินอิ่ม นอนอุ่น  บนแผ่นดินใต้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต (Output): พัฒนารูปแบบการใช้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีวิธีการนำเสนอ การเผยแพร่ข่าวสารเชิงประเด็น ที่เป็นรูปแบบโดยการผสมผสานสื่อวิทยุท้องถิ่น และเชื่อมโยงกับสื่อใหม่คือ การเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย และการใช้เทคโนโลยี เชื่อมสัญญาณการออกอากาศเป็นเครือข่ายสื่อวิทยุของภาคใต้

ผลลัพธ์ (Outcome):
1. เกิดองค์ความรู้จากประเด็นปัญหาในแต่ละพื้นที่ จากประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่งแวดล้อม โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ คือ องค์ความรู้จากชุมชนท่องเที่ยว/ จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง/ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจากนักวิชาการ 2. การเกิดความร่วมมือ ในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาในการดำเนินการด้านท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีการยกระดับ มาตรฐาน สู่การท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มีเป้าหมายสู่สังคมสุขภาวะ โดยเป็นผลจากการรับรู้ข้อมูล เป็นแรงกระตุ้นจากการสื่อสารสาธารณะ

 

500 500

11. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดพัทลุง งวดที่ 1

วันที่ 5 มกราคม 2561 เวลา 09:00-10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดรายการวิทยุและถ่ายทอดสัญญาณวิทยุกินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้     -  ประเด็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน
2.จัดรายการวิทยุและถ่ายทอดสัญญาณวิทยุกินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ FACEBOOK lIVE     -  ประเด็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการสร้างความสัมพันธ์สานรักสามัคคี
    -  ประเด็นการท่องเที่ยวชุมชนที่เที่ยวผจญภัยสุดฮิตของจังหวัดพัทลุง 3.ประชุมคณะทำงานโครงการ 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ขยายพื้นที่การสื่อสาร โดยลิงค์สัญญาญกับเคาือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
  2. เรื่องราวการขับเคลื่อนงานในพื้นที่มีช่องทางในการสื่อสารเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อการรับรู้ในวงกว้างและรวดเร็ว
  3. คณะทำงานมีความเข้าใจกระบวนการสื่อสารและให้ความสำคัญกับรูปแบบการสื่อสารที่จะทำให้เิกดการรับรู้และขยายผลตามวัตถุประสงค์มากขึ้น

 

500 500

12. สนับสนุนประเด็นสุขภาวะทางสังคม ประเด็นการจัดการปัจจัยเสี่ยงจังหวัดชุมพรงวดที่ 1

วันที่ 9 มกราคม 2561 เวลา 08:00-13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ติดต่อประสานงานกับป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน
      กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง  กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้
  2. ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น  ผู้ว่าราชการจังหวัด  วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ       ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน  สถานที่  ทีมสื่อ  และเชิญผู้เข้าร่วม
  3. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม 4.  กล่าวทักทายผู้เขข้าร่วมและนำเข้าข้อมูลอุบัติเหตุช่วงเทศกาลที่ผ่านมา
  4. วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นการจัดการการอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล
    สถานการณ์  ปัญหาข้อเสนอแนะ
  5. เปิดรับฟังความคิดเห็นและตอบข้อซักถามผ่านสื่อออนไลน์
  6. ผู้ว่าราชการจังหวัดรับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็น  และข้อเสนอ จากเวที  โดยให้ข้อคิดเห็นและปิดการเสวนา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปประเด็นถอดบทเรียน เวทีสานเสวนาสาธารณะ ร้อยใจคนชุมพร ร่วมสร้างเมืองปลอดภัย กรณีศึกษา
“อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล” ณ ห้องประชุมเกาะเต่า โรงแรมโนโวเทล ชุมพรบีช รีสอร์ต จ.ชุมพร
จากการรวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตราย ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2560 -3 มกราคม 2561 ของสานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดชุมพร พบว่า การเกิดอุบัติเหตุมีจานวนทั้งสิ้น 30 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บจานวนทั้งสิ้น 35 คน และมีผู้เสียชีวิตจานวน 5 ราย ซึ่งจากสถิติที่รายงานมีจานวนการเกิดอุบัติลดลงจากปีที่แล้ว โดยสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ การขับรถโดยประมาท การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาเดิมทั้งสิ้น จังหวัดชุมพรจึงมีแนวทางในการลดอุบัติเหตุ เพื่อลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จากการเสวนาในครั้งนี้จึงพบประเด็นปัญหาหลักของการเกิดอุบัติด้วยกันหลากหลายประการ การดาเนินการในการลดอุบัติเหตุทางถนนจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันในการวางแนวทางเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่จังหวัดชุมพร ซึ่งจากการเสวนาในครั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจากการเสวนาพบว่า ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่จังหวัดชุมพรเกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้
1. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกฎหมายกำหนด ส่งผลต่อสติสัมปชัญญะในการควบคุม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากในช่วงเทศกาลประชาชนมักดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อสังสรรค์ในครอบครัว หรือในกลุ่มสมาชิก โดยบริโภคในจานวนมากซึ่งส่งผลต่อการควบคุมสติ เช่น กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นโดยพบว่ามีหญิงชาวไทยขับจักรยานยนต์ชนรถสิบล้อ เนื่องจากดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นต้น
2. การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทาให้ผู้ขับขี่พาหนะไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ส่งผลกระทบต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การไม่สวมใส่หมวกกันน็อก การฝ่าฝืนกฎจราจร เป็นต้น ซึ่งจากข้อสังเกตพบว่า ประชาชนในจังหวัดชุมพรมีอัตราการสวมหมวกกันน็อกอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะมีผลกระทบที่รุนแรงทั้งผู้ขับขี่และผู้ที่ซ้อนท้าย
3. สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออานวยในการขับขี่ เช่น ไม่มีป้ายสัญญาณบอกทิศทาง ไม่มีสัญญาณไฟ แสงสว่างไม่ทั่วถึง และปัญหาต้นไม้ที่อยู่บริเวณริมถนน ซึ่งส่งผลให้ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเส้นทางได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเกิดการกระแทกกับต้นไม้ที่ปลูกไว้บริเวณเกาะกลาง หรือพื้นที่ข้างถนน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น
4. การตั้งจุดตรวจในพื้นที่ที่เสี่ยงต่ำ ส่งผลให้ผู้ที่ขับขี่ไม่ถูกตรวจสอบ
จากการเสวนาในครั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจึงร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันเพื่อลดอุบัติเหตุโดยมีแนวทางดังนี้ 2
1. การบังคับใช้กฎหมายที่เข็มแข็งมากขึ้น โดยเฉพาะฝ่ายตำรวจและทหารที่มีส่วนช่วยในการตรวจและจับผู้ที่ทำผิดกฎจราจร โดยเน้นการประสานงานกับท้องถิ่นและชุมชนในการช่วยเหลือ หรือตักเตือนสมาชิกในหมู่บ้านให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ถูกต้อง
2. การงดดื่มในช่วงเทศกาล ซึ่งจะต้องดาเนินการในภาพรวมตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายห้ามขาย แต่เนื่องจากบริบทของการบังคับใช้กฎหมายอาจมีความซับซ้อนและต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน หลายหน่วยงานจึงมีข้อเสนอแนะให้ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มปฏิบัติดังนี้
2.1 การงดขับรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ถ้ามีการดื่ม แต่ให้มีบริการรถจัดส่งผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปยังที่อยู่ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ ซึ่งนับว่าเป็นข้อเสนอแนะหนึ่งในการปฏิบัติ
2.2 งดการขายเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล เป็นต้น
3. ปรับปรุงสภาพถนนพร้อมทั้งเพิ่มป้ายและสัญญาณไฟจราจรในพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้ผู้ขับขี่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงการงดปลูกต้นไม้บริเวณพื้นที่เกาะกลางถนนหรือพื้นที่เสี่ยงเพื่อลดความรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
4. การเพิ่มจุดตรวจหรือจุดบริการประชาชนเพิ่มเติมในพื้นที่ชั้นในและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อให้เกิดการตรวจตราอย่างถี่ถ้วน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและลดการฝ่าฝืนกฎจราจร
5. การรณรงค์ร่วมกันในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อเพิ่มความตระหนักและเพิ่มการรับรู้ของประชาชนให้เกิดจิตสานึกในการขับขี่บนท้องถนน และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ในระดับหมู่บ้าน ตาบล ท้องถิ่น และในหน่วยงานการศึกษาเนื่องจากมีกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น เพื่อลดการเกิดการสูญเสียในกลุ่มเด็กและเยาวชน
6. การประชาสัมพันธ์ของสื่อ โดยเน้นการใช้สื่อที่สั้น กระชับ ตรงประเด็น และเข้าใจง่าย และควรสื่อสารในกลุ่มเป้าหมายหลักเพื่อให้เกิดความตระหนักและความเข้าใจ โดยจะต้องมีการประสานงานทั้งระหว่างสื่อท้องถิ่นและสื่อในระดับจังหวัดอย่างบูรณาการ ซึ่งจะทาให้ผู้ใช้รถบนท้องถนนเกิดความตระหนักมากขึ้น

ภายหลังการเสวนา นายนายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้กล่าวโดยสรุปพร้อมมอบแนวทางการลดการเกิดอุบัติเหตุให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนาไปใช้เป็นนโยบายต่อไป โดยเน้นการป้องกันในภาพรวมตลอดทุกวัน ไม่เพียงเฉพาะในเทศกาลสำคัญเท่านั้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนโดยมีรูปแบบดังนี้
1. ด้านพฤติกรรม (Behavior) ทุกภาคส่วนต้องทาให้ประชาชนทุกคนรับรู้ เข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การใส่หมวกนิรภัย การปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร การข้ามถนนตรงทางม้าลาย เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันรณรงค์เพื่อสร้างความภัย
2. ด้านกฎหมาย (Law) ผู้มีส่วนรับผิดชอบด้านกฎหมายต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด รวมถึงผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายต้องได้รับการลงโทษตามข้อบังคับนั้นๆ ซึ่งปัจจุบันพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ขณะเดียวกันผู้บังคับใช้กฎหมายยังไม่เข้มงวดมากนัก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกภาคส่วน
3. ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยมุ่งเน้นการจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยทั้งด้านกายภาพและชีวภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการลดการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การกาจัดสิ่งกีดขวางต่างๆบนถนน การติดป้ายสัญญาณจราจรที่ชัดเจน การสร้างสัญญาณไฟจราจร ณ บริเวณแยกที่มีความเสี่ยงสูง และการขยายพื้นที่ถนนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ปัจจุบันหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ร่วมมือในการสำรวจพื้นที่เสี่ยงที่ไม่มีป้ายสัญญาณจราจร ถนนที่ชารุด เพื่อเร่งแก้ไขให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด
4. ด้านความร่วมมือ (Cooperative) โดยเน้นการทาอย่างบูรณาการในทุกๆภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐต้องมีการร่วมมือกับท้องถิ่นเพื่อนาข้อมูลมาร่วมวางแผนและพัฒนาเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
5. ด้านการวิเคราะห์และการตรวจสอบ (Analysis and Audit) ควรมีระบบการวิเคราะห์ข้อมูลถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นถึงสาเหตุการเกิดเพื่อหาแนวทางการป้องกัน ขณะเดียวกันควรจะมีหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบเป็นระยะๆ เพื่อวางแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ซึ่งจากการเสวนาครั้งนี้ยังพบประเด็นที่น่าสนใจในหลายๆประเด็น เช่น ปัญหาของชาวต่างชาติที่เข้ามาพักอาศัยในจังหวัดชุมพรซึ่งไม่เข้าใจภาษาไทย ทาให้ไม่สามารถสื่อสารและเข้าใจกฎหมายหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ ปัญหาพื้นที่เสี่ยงที่มีทางแยกซึ่งไม่ใช่ทางแยกตามกฎหมายกำหนด ปัญหาการละเมิดสิทธิผู้ป่วยและการนาเสนอข่าวผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เป็นต้น ผู้เข้าร่วมเสวนาจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ควรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สาหรับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวพม่าซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชุมพรมากที่สุด โดยประสานงานกับนายจ้างในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัย
2. ควรจัดตั้งศูนย์ประสานงานชาวต่างชาติเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้การดาเนินการและการประงานเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
3. ควรจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนาแบบอย่างการปฏิบัติของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการรณรงค์การลดอุบัติเหตุเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ได้เรียนรู้และเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติ
4. ควรจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าเยี่ยมสำรวจพื้นที่เสี่ยง เพื่อร่วมวางแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ

ดังนั้นการลดการเกิดอุบัติเหตุอย่างยั่งยืนในพื้นที่จัดหวัดชุมพรจาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเน้นการสร้างจิตสานึกให้ประชาชนเกิดการเกรงกลัวต่ออุบัติเหตุ ไม่ขับขี่เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ ขณะเดียวกันต้องสร้างให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมที่ดีในการเคารพกฎหมายและกฎจราจร ซึ่งจะต้องเน้นการประชาสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างจริงใจเพื่อให้เกิดความยั่งยืนกับชาวชุมพรสืบไป

 

50 56

13. สนับสนุนประเด็นสุขภาวะทางสังคม ประเด็นการจัดการปัจจัยเสี่ยงจังหวัดกระบี่ งวดที่ 1

วันที่ 9 มกราคม 2561 เวลา 09:00 - 16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เวทีสร้างแกนนำสื่อเยาวชนพลเมือง ฅนสร้างสุขปลอดปัจจัยเสี่ยง จ.กระบี่”
2.ประชุมทีมเตรียมการจัดงาน“เวทีสร้างแกนนำสื่อเยาวชนพลเมือง ฅนสร้างสุขปลอดปัจจัยเสี่ยง จ.กระบี่” ครั้งที่ 1 3.ร่วมเวทีเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ปี 2561  ห้องย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโซนอันดามัน 4.ประชุมคณะทำงานหลักและภาคีร่วมงาน 5.ประชุมคณะทำงานหลักเตรียมงาน ครั้งที่ 2 6.เวทีอบรมทบทวน เพิ่มคุณภาพเครือข่ายเยาวชนพลเมือง แกนนำฅนทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีกลุ่มคนทุกรุ่นแต่ละระดับอายุ ปรับจูนทำความเข้าใจร่วมกันในกลุ่มอายุต่างๆ แต่ยังมีความสนใจจากผู้เข้าร่วมเรื่องการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยใช้สื่อใกล้ตัวร่วมกัน พร้อมทั้งเกิดช่องการสื่อสารและการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ร่วมกันทำงานแบบบูรณาการการทำงานร่วมกันกับระหว่างเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ หน่วยงาน สื่อมวลชน ในการใช้สื่อขยับสังคมสร้างสรรค์
2.การรับการ ณ ปัจจุบันของผู้เข้าร่วมอบรมเป็นไปอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะสื่อออนไลน์จะได้รัความยินยอมที่สุด  อนึ่ง ผู้เข้าร่วมอบรมมีความสนใจในการเปลี่ยนแปลงในการสื่อสารของยุคต่างเพราะเป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องศึกษานอกห้องเรียนต่อไปในอนาคต ซึ่งปัจจุบันในโรงเรียนยังไม่มีการบรรจุเรื่องนี้ลงหลักสูตรแผนการเรียนการสอนปกตินั้นเอง 3.การได้สัมผัสเครื่องมือสำนักงานจากหน่วยงานภาครัฐซึ่งปัจจุบันบางหน่วยงานนั้นยังไม่ได้เปิดโอกาสให้คนทั่วไป เด็กและเยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากนัก ซึ่งในโอกาสที่ผู้เข้าอบรมให้ความสนใจ และทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดกระบี่ ได้เปิดโอกาสเปิดโลกกระทัศใหม่ๆ ให้ผู้เข้าร่วมได้สัมผัสเครื่องมือที่ไม่ได้เจอกันแบบง่ายๆ ในห้องส่งจริงจริง 4.ผู้อบรมได้ความรู้ที่ใกล้ตัวใหม่ๆ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดการสื่อสารของตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคปัจจุบัน ซึ่งการได้อบรมครั้งผู้อบรมสนใจเป็นอย่างมาก เพราะสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือที่อยู่ใกล้ตัวของทุกคน

 

200 198

14. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี งวดที่ 1

วันที่ 10 มกราคม 2561 เวลา 09:00-10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เวทีทำความเข้าใจแผนงานโครงการ 2.จัดรายการถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุคไลฟ์ประเด็นการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1 สื่อสารกระบวนการการจัดการขยะจากต้นทางภายใต้ความร่วมมือของชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง 2. นำเนื้อหาจากการพูดคุยนำเสนอในรายการวิทยุ กินกิ่มนอนอุ่น บนแผ่นดินใต้ 3. คณะทำงานโครงการ และผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความเข้าใจตระหนักถึงปัญหาการจัดการขยะ

 

100 100

15. เวทีถกเถียงสาธารณะ ร้อยใจคนชุมพร ร่วมสร้างเมืองปลอดภัย กรณีศึกษา “อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล”

วันที่ 16 มกราคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดเวทีเสวนาโดยเชิญ องค์กร หน่วยงาน ภาคี ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม  นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย 2.  อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตชุมพร เป็นผู้ดำเนินรายการ ตั้งคำถาม จากผู้เข้าร่วม ตามภากิจแการบรณรการในเชงละบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอุบัติเหตบนท้องถนน 3. ถ่ายทอดสด การเสวนาผ่านเฟสบุคไลฟ์ ช่องสมาคมสื่อชุมชนชนภาคใต้นครศรีธรรมราช และให้ผู้ชมทางบ้านร่วมแสดงความเห้น ข้อเสนอ และข้อซักถามผ่านรายการ 4  นักวิชาการ สรุปประเด็นปัญหา ที่มา และสาเหตของการเกิดปัญหา  การบรณาการในเชิงปฏิบ้ตการเพื่อลดอุบัติเหตบนท้องถนน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.....1 ข้อมูล การเกิดอุบัติเหตุ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการอะไรไปบ้าง เพื่อนำมาเป็นข้อมุลสำคัญในการวิเคราห์และแก้ปัญหาร่วมกัน     2. การสื่อสารโดยตรงจากเวทีถึง ผู้ชมในพื้นที่และมีการแสดงความเห็นกันภายใต้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงและการายงานผลกระทบที่เกิดขึ้น มีความครอบคลุม และกระจาย     3.  ข้อสรุปในเชิปฏิบัติการ่วม ที่ผู้เข้าร่วมจากหลายฝ่ายมีความเห็นร่วมกัน     4.  การแกปัญหาเพื่อลดอุบัติเหต ภายใต้ข้อมูลที่มีความหลากหลาย และมีความชัดเจนน่าเชื่อถือของข้อมูลนำไปสู่การแก้ปัญหาที่มีประสืิทธิภาพ

 

50 0

16. สานเสวนา ทางเลือก ทางรอด ของเยาวชนคนคอน ภายใต้ปัจจัยเลี่ยงต่อสุขภาพที่รุมเร้า

วันที่ 17 มกราคม 2561 เวลา 09:00-15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.การแสดงสัญลักษณ์ สถานการณ์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยกลุ่มเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2.ล้อมวงคุยโดยมีผู้ดำเนินรายการนำคุุยเกี่ยวกับ
-สถานการณ์ปัญหาแนวโน้ม ความรุนแรงของเด็กและ
เยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช -บทบาทหน้าที่ของระบบสุขภาพในพื้นที่ 4 ระบบได้แก่
1. ระบบสุขภาพระดับจังหวัด เช่น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตระดับจังหวัดนครศรีธรรมราช
2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล 4. ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ -แนวทางการจัดการปัญหาด้านเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน 3.มีการสรุปเป็นผังภาพและสรุปข้อเสนอจากทุกภาคส่วน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำสานเสวนาโดย คุณอรอุมาเรืองสังข์เครือข่ายสื่อมวลชน สถานการณ์ปัญหาของเยาวชนปัญหาของเยาวชนในทุกวันนี้มีให้เห็นอยู่ทุกวัน ทุกรูปแบบไมว่าจะเป็นเรื่องของเยาวชนติดเกมส์ ติดยา เด็กแว๊นท์ ท้องก่อนวัยอันควรเกิดขึ้นเพราะเราไม่กล้ายอมรับความจริง กลัวเสียชื่อเสียง ปัญหาและความเป็นไปของเยาวชนในปัจจุบัน ผู้เข้าร่วม ทำอย่างไรให้เยาวชนหลุดพ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และทำไมต้องทำ ? ตัวแทนสาธารณะสุข ทำอย่างไรให้เยาวชนหลุดพ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และทำไมต้องทำเกิดอะไรขึ้นกับสังคมทุกวันนี้มองว่า สังคมมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติของวัยรุ่นหรือเยาวชนที่กระทำกันหรือเกิดขึ้นบ่อยจนเป็นเรื่องธรรมดา ปลัดอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชนโยบายของภาคใต้ทีเราต้องนำมาปรับใช้ การแก้ไขปัญหายาเสพติดต้องนำปัญหาจากข้างล่างขึ้นสู่ข้างบนเข้าใจต่อเด็กวัยรุ่นอาจเกิดจากความพลาดพลั้งการแก้ปัญหายาเสพติดแนวโน้มอาจมีพื้นที่ให้ปลูกกระท่อม ปลูกกัญชาได้ ผอ.โรงเรียนท่านครญาณโรภาส(ครูมองเห็นปัญหาและสถานการที่เกิดขึ้นอย่างไร)การสร้างโอกาส การให้โอกาสเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับคนที่ก้าวพลาด สังคมจะดึงเขากลับมาได้อย่างไรการทำโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุขเป็นทางหนึ่งที่จะดึงเขากลับมา นักเรียนโรงเรียนท่านครญาณโรภาส(กล้ามั๊ยที่จะออกมาจากปัญหา) การพาเพื่อนออกมาจากปัญหาเป็นเรื่องยาก เด็กไม่สามารถสะท้อนปัญหาให้รับรู้ได้ แต่สามารถทำได้โดยใช้ความเป็นเพื่อนเนื่องจากเด็กวัยนี้รักเพื่อมักจะฟังเพื่อนมากว่าคนอื่นๆเช่น ชวนกันเล่นกีฬา เป็นต้น สสอ.เมืองนครศรีธรรมราชการลด ละ เลิก เป็นนโยบายของทางสาธารณะสุขซึ่งต้องทำไปตามนโยบายอยู่แล้ว ปลัดอบต.ไชยมนตรีปรับขบวนการการทำงานให้ง่าย กว้าง ครอบคลุมเป้าหมาย ทำอย่างไรต้องมีการพูดคุยกับนายอำเภอในฐานะที่เป็นองค์กรระดับอำเภอและจะเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นๆได้หรือไม่อย่างไร การเอาตัวตัวรอดจะรอดได้อย่างไรสิ่งเร้าทุกเรื่องที่เข้ามาประเด็นที่ขับเคลื่อนจะต้องไปเคลื่อนระดับตำบล สปสช.เขต 11 สุราษฎร์ปัญหาที่เหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆที่ตามมามากมายการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้หน่วยงานทุกภาคส่วน เริ่มแต่พ่อแม่ ต้องเข้ามาพูดคุยกันงบประมาณส่วนของเขต11 อยู่ที่ 40 ล้าน อยู่ที่อบต.สามารถขอมาใช้ได้ รองปลัดอบต.นาไม้ไผ่มองเห็นปัญหาอย่างไรที่จะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาร่วมกับทุกภาคส่วนเนื่องจากท้องถิ่นเป็นชุมชนมีเด็กหลายบริบทในชุมชน ปัญหาที่เกิดระดับต้นๆมาจากครัว ความไม่เข้าใจจากผู้ใหญ่การที่เราจะทำงานให้เกิดความสำเร็จได้เราต้องรู้จักพื้นที่การทำงานต้องทำด้วยหัวใจการเป็นพี่น้องใช้รากเหง้าในชุมชนมาดูแลกันเปิดโอกาสให้เขามีพื้นที่เรากำหนดเด็กได้ 0-9 ปีเท่านั้น เกินจากนั้นเรากำหนดยากมากนาไม้ไผ่ใช้โครงการขยะเป็นตัวเชื่อมกับผู้ใหญ่ให้เด็กคิดกระบวนการเองผู้ใหญ่ให้การหนุนเสริมเท่านั้น ให้เด็กเขามีพื้นที่ได้คิดเอง อย่าวางระบบให้เด็กคิดเด็กหลังห้องมักเป็นเด็กที่มีกกระบวนการคิดดีมากถ้าเราได้ส่งเสริมใช้ศาสตร์พระราชาเข้ามาประกอบให้เด็กได้ทำและใช้กระบวนการที่เขาได้คิดขึ้นมาเอง (เข้าใจเข้าถึงการพัฒนา) เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนบนปัจจัยแวดล้อมต้องประกอบทั้ง 2 ส่วน คือภายในและภายนอกภายในจุดเริ่มต้นมาจากครอบครัว การเริ่มกินเหล้าครั้งแรกของเด็กส่วนใหญ่มาจากที่บ้าน เช่น งานวันเกิด งานปีใหม่ในส่วนงานที่ขับเคลื่อนอยู่เราทำได้เรามีเครือข่ายหลายๆภาคส่วน ผู้กำกับสภ.เมืองนครศรีธรรมราชกระบวนสุดท้ายคือกฎหมายเริ่มจากการป้องกันก่อนถ้าป้องกันไม่ไหวจึงจะถึงกระบวนการปราบปรามเช่น เรื่องแอลกอฮอร์เริ่มที่บ้าน ครอบครัว การป้องกันในสถานศึกษามีการจำกัดระยะของสถานบันเทิงบุหรี่มีการบังคับใช้ของใหม่ปี 60นครเป็นจังหวัดที่ใหญ่ปัญหาจึงมีมากและ นักหนากว่าจังหวัดอื่นคู่ๆกับจังหวัดสุราษฎร์ธานียาเสพติดเป็นปัญหาที่หนักกว่าเรื่องอื่นๆโดยเฉพาะน้ำกระท่อม สื่อฯเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากสาเหตุที่ทำให้คนตายเป็นอันดับหนึ่งมาจากอุบัติเหตุการทำงานแบบนี้ต้องมีจิตอาสาเป็นอันดับแรก พื้นที่การศึกษาเขต12เห็นอะไรในกระบวนการและมีแนวคิดอย่างไรบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้นๆของเด็กวัยมัธยมต้นประเด็นแรก ครอบครัวเป็นการตั้งต้นที่จะช่วยเสริมสร้างความรักความอบอุ่นโรงเรียน เป็นครอบครัวที่ 2 ที่สามารถช่วยฉุดรั้งหรือป้องกันไม่ให้เด็กเข้าถึงสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้นได้หรือถ้าเกิดขึ้นแล้วต้องมีวิธีที่จะช่วยพยุงเด็กให้เดินต่อไปได้อย่างมีกำลังใจ มีทางเลือก ปลอดภัย นักวิชาการศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช/พัทลุงดูแลเด็ก 90 โรงเรียน แนวทางในการดูแลเด็ก/เยาวชน (สถิติ ความร่วมมือ) การจัดอันดับ 1. สารเสพติด ประมาณ 70 % 2. ความรุนแรง 3. ท้องก่อนวัย 4. อุบัติเหตุ 5. พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

แนวทาง 3 ส. 1. สร้างโอกาส 2. สร้างศักยภาพ 3. สร้างคุณภาพ คือ ผลการเรียน สร้างให้นักเรียนมีมาตรฐานที่สูงขึ้น จุดแตกหักของปัญหาอยู่ที่หมู่บ้าน ชุมชนเราทำอยู่ในทางหน้าที่ได้ในระดับหนึ่งต้องทำทางอื่นด้วยปัญหาที่เกิดทำอย่างไรให้พื้นที่ปลอดภัยลดพื้นที่เสี่ยงเพิ่มพื้นที่ดีประสานหลายๆส่วนมาช่วยดูแล มีพื้นที่นำร่อง คนทำงานทำอย่างไรให้มีหัวใจเดียวกันงบประมาณต้องดูแลอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกวัย ผู้กำกับสภ.เมืองนครศรีธรรมราชการทะเลาะวิวาทเดี๋ยวนี้เกิดน้อยลงเนื่องจาก การเสียค่าปรับที่แพงขึ้นอุบัติเหตุทางท้องถนนช่วงปีใหม่61 มี 2 ราย ซึ่งเพิ่มจากปี 60 1 ราย สาเหตุเนื่องจากคนขับรถไม่มีวินัย ประมาทสื่อฯต้องปรับทัศนคติในเรื่องการนำเสนอเรื่องราวที่ต้องนำเรื่องดีๆมานำเสนอมากกว่านำเสนอเรื่องราวในทางลบ ผอ.กองอำนวยการการดูแลเยาวชน2 ส่วน 1. ในสถานศึกษา 2. นอกสถานศึกษาอยู่ในเขตชุมชนจำนวน 63 ชุมชนปัญหาจากการสำรวจข้อมูลเรื่องสารเสพติดมาอันดับหนึ่งการดึงเด็กออกมาจากภาวะปัญหาครอบครัวเป็นสถาบันที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญที่สุด ถ้าครอบครัวเข้มแข็งโอกาสที่เด็กจะก้าวล่วงไปในทางที่ผิดพลาดย่อมเกิดได้ยากชุมชน หมู่บ้านให้มองเด็กๆเป็นเสมือนลูกหลานของตนเอง
เครือข่ายเด็กมัธยมจะมีอยู่ในทุกที่ มีกิจกรรมที่ซ่อมเสริมให้กับเด็ก
สถาบันการเรียนรู้ฯ (นายทวีสร้อยศิริสุนทร)สถาบันฯทำเรื่องสร้างคน พัฒนาคนบูรณากรทุกภาคส่วนโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งข้อมูลล่าสุดของสารเสพติดแพร่ไปถึงระดับต้องทำกับครอบครัวซึ่งเป็นสังคมย่อยที่ดีที่สุดวันนี้ครอบครัวเรากล้าที่จะทำเป็นต้นแบบแล้วหรือยังในชุมชนมีกิจกรรมร่วมกันมากน้อยแค่ไหน วันนี้เรามีทักษะพอแล้วหรือยังที่เมื่อเพื่อนส่งให้แล้วเรากล้าปฏิเสธวันนี้เราบอกว่ากลไกมี งบประมาณมี กฎหมายเอื้อไปจนถึงธรรมนูญหมู่บ้าน แต่สิ่งที่ขาดคือ การจัดการเด็กในโรงเรียนขยายโอกาสมีโอกาส และได้รับการเข้าถึงอย่างจริงจังหรือไม่ย่างไรมีกิจกรรมเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ได้อย่างไร รูปธรรมการบูรณาการที่ผ่านมาเห็นเพียงรูปแบบ ไม่ใช่การสร้างการรับรู้ได้อย่างเท่าเทียม เห็นนโยบายแล้วหรือยัง ม.วลัยลักษณ์ 1. ตัวอย่างความไม่สำเร็จ 2. ตัวอย่างความสำเร็จต้องมีการสรุปบทเรียนเพื่อนำไปปรับใช้ 3. ความสำเร็จ ผู้ปกครอง หน่วยงาน ข้อมูลทางวิชาการมาช่วย นักการเมือง(นโยบาย) มาตรการ กิจกรรม ข้อมูลเชิงวิจัย ถ้าจะเดินต่อเป้าหมายที่จะเดินร่วมกันคืออะไร

การสื่อสารและช่องทาง รูปแบบการใช้ร่วมกัน ผอ.ท่านครโรงเรียนแห่งการมีความสุขเราต้องเปิดหูฟังเด็กให้มากที่สุดช่องทางสื่อในหลายๆช่องทางมีความแตกต่างกันเด็กที่สร้างนวัตกรรมให้กับโรงเรียนคือกลุ่มเด็กหลังห้อง สิ่งที่สังคมจะต้องให้การสนับสนุนนักเรียนกลุ่มที่บกพร่องต่อการเรียนรู้ที่ถูกละเลยโดยระบบ(ท้อง แท้ง ทิ้ง) ถ้าเราสร้างโอกาสเด็กเหล่านี้จะกลับมาเรียนตามศักยภาพของเขาได้ - สร้างระบบผู้นำ โรงเรียนทุกโรงจะต้องมีสภาผู้นำ - แบบอย่างของสังคมเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่ต้องใส่ใจ - สร้างหลักสูตรอบรมผู้ปกครองสร้างความรู้ ความเข้าใจให้ตรงกัน - การสร้างเครือข่าย บูรณาการหรือการเชื่อมโยงให้เข้าไปสู่วิถีชีวิตของเด็กให้ได้มากที่สุด ผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาเมื่อเด็กเผชิญความเสี่ยงไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราเก็บเรื่องราวเหล่านี้เพื่อให้เกิดรูปธรรมการบูรณาการ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ (นายอานนท์มีศรี) รูปแบบการสื่อสาร ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการภาคใต้แห่งความสุขเรื่องสุขภาวะของสังคมเป็นเรื่องสำคัญมีทั้งหมด 8 ประเด็นงานภายใต้ต้นทุน 1. ต้นทุนงานเป็นการต่อยอดไม่ใช่เริ่มใหม่มีการเปิดเวทีพูดคุยอย่างต่อเนื่อง 2. ต้นทุนของงบประมาณ 3. ต้นทุนเครือข่าย/คน กระบวนการ - กระบวนการสื่อสารที่ผ่านมา สิ่งที่เราขาดคือ จริยธรรมเอาความถูกใจเป็นที่ตั้ง - การรายงานผลรูปธรรมความสำเร็จ - การสร้างและขยายเครือข่ายทางสังคม - ขับเคลื่อนต่อ สรุปภาพรวม (เจกะพันธ์) 1. สถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงของเด็กคอนคือ เหล้า บุหรี่ ยาบ้า ยาไอซ์ ท้องก่อนวัยอันควร 2. บทบาทของสื่อ - กระบวนการสื่อสาร - จริยธรรม/จรรยาบรรณในการสื่อสาร - เปิดเวทีพูดคุย/ต่อยอด 3. โอกาสหรือทางออก
- มีกลไกที่ชัดขึ้น - มีเครือข่ายเพิ่มขึ้น
- งบประมาณในการขับเคลื่อน - พื้นที่เสี่ยงลดลง - กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้มข้น
- นโยบายปลอดเหล้าบุหรี่ครอบคลุมมากขึ้น 4. บทบาทของหน่วยงาน - เปิดพื้นที่เรียนรู้ให้กับเด็ก - สนับสนุนงบประมาณ - เชื่อมระหว่างหน่วยงานตำบล อำเภอ จังหวัด ในการแก้ปัญหา

 

40 60

17. เวทีเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ปี 2561 ห้องย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโซนอันดามัน

วันที่ 19 มกราคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 19 มกราคม 2560 1.เกริ่นนำ – ความเป็นมางานสร้างสุขภาคใต้ และที่มาห้องย่อย      การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ 2.การนำเสนอแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนมติการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ งานสร้างสุขภาคใต้ พ.ศ. 2559 การแลกเปลี่ยนสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอใหม่เพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จาก • ผู้แทนภาครัฐ  สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด /สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
• ผู้แทนกลุ่มเครือข่ายสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดโซนอันดามัน • ผู้แทนภาคองค์กรสนับสนุน อาทิ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) , สสส. • ผู้แทนภาควิชาการ วันที่ 20 มกราคม 2560 1.Check –in /ทบทวนประเด็นการพูดคุย 2.เวทีสาธารณะ “การท่องเที่ยวโดยชุมชนอันดามัน จะสร้างความมั่นคง ยั่งยืนได้อย่างไร” • นางศิรวี วาเล๊าะ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต กรรมการและเลขานุการเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน • นายสมพร สาระการ ประธานเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดฝั่งอันดามัน • ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และเครือข่ายสายใยนักวิชาการ • ดำเนินการเสวนาโดย คุณบัญชร วิเชียรศรี 3.รับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) เกณฑ์มาตรฐานท่องเที่ยวโดยชุมชน ภาคใต้ โดย สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ 4.พูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดงานสร้างสุขภาคใต้  โดยเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ความเป็นมางานสร้างสุขภาพใต้ มีจุดเริ่มมาจากงานสร้างสุขภาคใต้ตั้งแต่ปี 2549 โดยดูความความพร้อมของหน่วยงานที่มาหนุนเสริม เรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญที่นำมาซึ่งความสุข มี 3 ระดับ ปี 2549 ปี2559การเป็นเจ้าของห้องย่อยมาจากฐานงานวิจัย ทำไปช่วงหนึ่งพบว่าพลังในการขับเคลื่อนยังมีไม่มากพอ เจ้าของประเด็นห้องย่อยที่แท้จริงต้องมาเป็นแกนนำ วิชาการเพียงหนุนเสริมเท่านั้น มาปี 2561 ในส่วนของห้องย่อยชุมชนควรขยับอย่างไร เวทีระดับโซน ตั้งแต่อันดามัน ใต้บน ใต้ล่าง โดยมีสมาคมมานร่วมขับอย่างจริงจัง กระบวนการพูดคุยผู้เล่นสำคัญโดยสมาคมท่องเที่ยวชุมชนที่ขยับมาตั้งแต่ปี 58 มีผลสัมฤทธิ์ไปถึงไหนแล้ว การขับเคลื่อนงาน ต้องเริ่มมาจากความเข้มแข็งของชุมนก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องพึ่ง 3 ส่วน ประกอบด้วย 1. พึ่งตนเอง เพื่อให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย 2. พึ่งงานวิจัย ยุทธศาสตร์ 60-64 มี4 ยุทธศาสตร์หลัก ยึดโยงแผนงานเหมือนหน่วยงานราชการทั่วไป
- พัฒนาองค์กร สทยต. เชื่อมโยงระดับองค์กรในการขับเคลื่อนเครือข่าย
- การพัฒนาโครงข่ายเส้นทางการท่องเที่ยว - การตลาดและประชาสัมพันธ์ สสส. สจรส.
- การจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกัน 3. พึ่งหน่วยงาน เช่น มหาวิทยาลัย พอช. สกว.ฝ่ายท้องถิ่น เครือข่ายสื่อมวลชน
กระบวนการทั้งหมดเป็นปนิธานของสมาคมที่จะขับเคลื่อนงานท่องเที่ยวชุมชน เจตนาเพื่อการพัฒนาโครงข่ายให้เป็นมาตรฐานของการท่องเที่ยวภาคใต้ และมีการรับรองมากขึ้น คัดกรองเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามตัวชี้วัด เพื่อตอบโจทย์ของ สจรส. และหน่วยงานอื่นๆ กระบวนการท่องเที่ยวชุมชนแต่ละจังหวัด สถานการณ์ปัญหา จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดเล็กแต่มีความยาวของพื้นที่ มีอุทยานแห่งชาติแหลมสนเป็นข้อได้เปรียบ มีการท่องเที่ยวแบบ “1 วันอัศจรรย์ป่าชายเลน” การเชื่อมโยงเครือข่าย ชายแดนชุมพร คืออำเภอกระบุรี มี 14 เครือข่าย การสร้างเครือข่ายถูกเมินจากภาครัฐ สร้างความเข้มแข็งมาโดยตัวของชุมชนเอง มีการแก้ปัญหาประมงชายฝั่ง อาชีพของกลุ่มต่างๆ ทำอย่างไรให้แต่ละกลุ่มดำเนินการไปได้อย่างมีผลกำไร เลี้ยงชีพ เลี้ยงคนเองได้อย่างพอเพียง การร้อยเรียงเชื่อมโยงตั้งแต่เหนือสุดถึงล่างสุด มีการหารือพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาของแต่ละพื้นที่ ให้สมาคมช่วยเหลือในเรื่องใดบ้าง การทำท่องเที่ยวชุมชนโดยอาศัยทรัพยากรในพื้นที่ส่วนใหญ่จะกระทบกับนโยบายรัฐ แต่ยังขับเคลื่อนไปได้เพราะเรารวมตัวกัน ระนองมีการวางแผนการดำเนินกาในเรื่องธุรกิจนำเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามฤดูกาล การท่องเที่ยวตามชุมชนต่างๆ จังหวัดสตูล  มี 23 ชุมชนที่ร่วมกันขับเคลื่อน โดยแบ่งเป็นโซน  แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นรูปแบบวิสาหกิจ เช่น ปากบารา อนาคต อ.ละงู เป็นที่เดี่ยวที่ชาวบ้านเก็บค่าเข้าชมมาบริหารจัดการกันเอง ไม่ใช่เก็บให้กับอุทยาน มีการสร้างมัคคุเทศก์ท้องถิ่นจำนวน 170 กว่าคน มีภาคีร่วม อุทยาน หน่วยกู้ชีพ อบต. อบจ. สนับสนุนในเรื่องงบประมาณ องค์ความรู้ ไม่เป็นปฏิปักษ์กับหน่วยงานไหน ร่วมกันขับเคลื่อนไปด้วยกัน พลิกทุกปัญหาให้เป็นโอกาส
จังหวัดกระบี่ มี 15 ชุมชนการท่องเที่ยว และ1 สมาคม มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน มีการพัฒนาขีดความสามารถของแต่ละชุมชนให้มีการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยชุมชนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการจัดกระบวนการทางความคิดของคน/ชุมชน มีการเชื่อมโยงเป็นโซนอันดามัน ผลักดันให้มีการดูแลในมิติของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หัวใจหลักชุมชนต้องทำใน 3 ปัจจัยหลักนี้ก่อนจึงจะประสพความสำเร็จ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากกระบวนการเรียนรู้เป็นโอกาสส่งเสริมให้กับชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการชุมชนตนเองได้ จังหวัดตรัง แบ่งเป็น 2 นิเวศน์ คือเขาและทะเล เน้นเรื่องวิถี ความเป็นอยู่ของชุมชนเป็นจุดขาย ภาพรวมการท่องเที่ยวชุมชนถูกยกระดับไปอีกระดับหนึ่งแล้ว เช่น นาหมื่นสี ลำขนุน เป็นต้น ถือเป็นจุดขายและปัจจัยที่เป็นโอกาส แผนการพัฒนาจังหวัดที่ผู้ว่าฯดูและมีเวทีประชาคม ทำให้ชุมชนหลายชุมชนได้รับโอกาสได้รับการสนับสนุนในการท่องเที่ยว ปัญหาที่พบคือ การท่องเที่ยวยังอ่อนในเรื่องกระบวนการคิด ทำอย่างไรให้ไปถึงคำขวัญท่องเที่ยวที่ว่า “คนอยู่ได้ทรัพยากรอยู่ดี” ภาพรวมโซนจังหวัดอันดามัน
แนวทางการขับเคลื่อนมีทั้งแบบวิถีชุมชน และแบบธุรกิจท่องเที่ยว แต่ทั้ง 2 แบบมีการบริหารจัดการโดยชุมชน โดยอาศัยโอกาสจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ หรือเรียกว่าธรรมชาติที่เอื้อให้กับชุมชน
ข้อเสนอ 1. มีทีมจัดการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวชุมชนเป็นเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน 2. จัดให้มีมหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชน
3. เครือข่ายการท่องเที่ยวต้องมีตัวแทนเข้าไปนั่งในระดับจังหวัด(นโยบายเศรษฐกิจฐานราก) 4. มีการทำMOUกับหน่วยงานเพื่อเชื่อมโยงทางการตลาด 5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการสนับสนุนเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และPagketing ให้เป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยว 6. หน่วยงานวิชาการด้านวิจัย ต้องมีชุดองค์ความรู้ให้ไว้กับชุมชน 7. ให้มหาวิทยาลัยมีและพัฒนาหลักสูตรท่องเที่ยวโดยชุมชน 8. ให้ทีมวิจัยมีการติดตามประเมินผลชุมชน เช่น รายได้ ทรัพยากร ความสุข เปรียบเทียบกับก่อนที่จะมีการขับเคลื่อนเรื่องท่องเที่ยวชุมชน แง่คิดเพื่อการปรับปรุง 1. ชุมชนเองตอบสนองนักท่องเที่ยวกลุ่มใดกันแน่ ? 2. สื่อต้องเป็นตัวขยายเรื่องราวให้ข้างนอกได้รับรู้ กระตุ้นการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยใช้สื่อเป็นตัวเชื่อม เช่น จัดประกวดหนังสั้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยว 3. ด้านพื้นที่ชุมชนเรื่องของยานพาหนะในการขนส่งต้องพร้อม 4. การจูงใจ เช่น ยกระดับเป็นการท่องเที่ยวเป็น The best plectist 5. รายได้ต้องเป็นแรงจูงใจให้กับชุมชน 6. ชุมชนต้องมีการเชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่น 7. ต้องมีแบบสอบถามให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อการปรับปรุงที่ตอบสนองนักท่องเที่ยวภายใต้บริบทและอัตลักษณ์ของชุมชน เช่น มีการสอนทำอาหารพื้นบ้านให้กับนักท่องเที่ยว 8. มองให้ออก “ท่องเที่ยวโดยชุมชน” และ “ท่องเที่ยวเพื่อชุมชน” ต่างกันอย่างไร 9. พื้นที่ต้องมีจุดยืน แต่ขณะเดียวกันต้องพร้อมยอมรับการบูรณาการ ที่ไปทิศทางที่ดีขึ้น 10. ชุมชนต้องศึกษากฏหมายที่เกี่ยวข้อง เสวนา “การท่องเที่ยวโดยชุมชนอันดามัน จะสร้างความมั่นคงยั่งยืนได้อย่างไร” ผู้ร่วมเวที ประกอบด้วย 1. คุณศิรวี วาเล๊าะ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต 2. คุณสมพร สาระการ ประธานเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดฝั่งอันดามัน 3. ผศ.อำนาจ รักษาพล ม.แม่โจ้-ชุมพร และเครือข่ายสายใยนักวิชาการ ดำเนินเวทีเสวนาโดย คุณบัญชร วิเชียรศรี มุมมองด้านนโยบายเกี่ยวกับด้านท่องเที่ยวชุมชน คุณศิรวี วาเล๊าะ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นวาระแห่งชาติ ทางรัฐบาลเน้นเรื่องที่จะทำอย่างไรให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร พรบ.การขับเคลื่อนเขตพัฒนาการท่องเที่ยวมี 8 เขต ทางอันดามันจะได้เปรียบเรื่องต้นทุนด้านทรัพยากร วิถีชีวิตของชุมชน ที่สืบทอดมาจากศรีวิชัย ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวไทยมุสลิมที่มาจากมลายู มีการหลอมรวมเรื่องอาหารหารกินและวัฒนธรรมต่างๆ และมีกลุ่มชาติพันธุ์ วิถีของชาวเลที่แตกต่างออกไป ซึ่งนโยบายรัฐบาลกำลังเชื่อมเรื่องการท่องเที่ยว การดำเนินงานที่มีการจัดการที่สมดุล
ผศ.อำนาจ รักษาพล ม.แม่โจ้-ชุมพร และเครือข่ายสายใยนักวิชาการ เป็นวิธีการหนึ่งที่ชุมชนนำมาเป็นเครื่องมือ ที่มาจากฐานราก สามารถเชื่อมโยงคน พัฒนาชุมชน แต่ทั้งนี้ชุมชนเองต้องเห็นฐานของทรัพยากรสำคัญในการท่องเที่ยว วิธีการ เช่น น้ำตก ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวมองน้ำตกมากกว่าเป็นสถานที่มาเที่ยว มาเล่น ให้มองเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นอยู่ คน ต้องมีความสุขในพื้นที่ และต้องทำให้คนที่มาเที่ยวมีความสุขด้วย
งานวิจัยของจังหวัดโดยชุมพร ได้พัฒนาหลักสูตรท่องเที่ยวโดยชุมชน จะเป็นการสร้างมูลค่าใหม่ให้กับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้ชุมชนได้มีโอกาสเรียนรู้กับห้องเรียนที่เป็นธรรมชาติ คุณชาญวิทย์ เพิ่มทรัพย์ นายกสมาคมท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่ ต้องการทำให้เป็นเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ เมื่อถึงเวลาต้องมีการยกระดับ 15 ชุมชน และ 1 เครือข่ายย่อย เป็นการรวมตัวกันภายใต้การขับเคลื่อนไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน มีกระบวนการพัฒนา ช่วยขับเคลื่อนในระดับชุมชน การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้องมีการเชื่อมโยงกันได้จริง สังคมไม่แตกแยก วัฒนธรรมคงอยู่ มีกฎกติกาของการอยู่ร่วม หรือเข้ามาในพื้นที่ สิ่งแวดล้อมคงอยู่อย่างสมบูรณ์ ยั่งยืน การท่องเที่ยวชุมชนถึงจะยั่งยืนไปด้วย
อุปนายกการท่องเที่ยว การบูรณาการในการเข้าใจไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการพูดคุยกันให้ตกผลึก เช่น เรื่องมาตรฐานของการท่องเที่ยว มีหลักสูตรท่องเที่ยวโดยชุมชน นโยบายการท่องเที่ยวภาคใต้จะเป็นอันดับหนึ่ง

วันที่ 20 มกราคม 2561(สะท้อนวันวาน) เป็นเวทีของการเรียนรู้สถานการณ์ท่องเที่ยวชุมชนของแต่ละจังหวัด สถานที่ท่องเที่ยวที่จัดโดยชุมชน การเชื่อมโยงหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ความร่วมมือของหน่วยงาน การรับรู้/การเรียนรู้วิถี วัฒนธรรมท่องเที่ยวชุมชนแต่ละจังหวัด เพื่อนำไปปรับใช้ในชุมชนของตนเอง อานนท์ มีศรี กองบก.สื่อสร้างสุข การทำงานร่วมของสื่อสร้างสุขภาคใต้ กระบวนการขับเคลื่อนภาคประชาชนสื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขยายผล เป็นช่องทางสื่อสารเรื่องราวให้สังคมรับรู้ ที่ผ่านมา ประกอบด้วย7 จังหวัด 4 ประเด็น ความมั่นคงทางด้านอาหาร การแพทย์พหุวัฒนธรรม ปัจจัยเสี่ยง  ลองพัฒนาศักยภาพสื่อโดยการสร้างเครือข่ายสื่อเพื่อการสื่อสร้างสุขภาคใต้ ที่ผ่านมามีรายการกินอิ่มนอนอุ่นที่ภาคใต้ นำเสนอเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เช่น เรื่องข้าวไร่ และตลาดใต้โหนดที่พัทลุง  การขับเคลื่อนสื่อเพื่อสร้างสุขภาคใต้ เป็นการคลายข้อกังวลในข้อประเด็นปัญหา คนทำงานประเด็นกับทำงานสื่อไม่เคยได้เจอกัน คุยเรื่องดีกัน มีการสรุปบทเรียนร่วมกัน คุยเรื่องเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดส่งผลกระทบด้านใดบ้าง ใช้กระบวนการแบบ ออนแอร์ ออนไลน์ ออนกราวน์ เวทีวันนี้ถือเป็นเวทีออนกราวน์(ล้อมวงคุย)
งานในปี 61 เป็นรูปแบบของงานวิจัยทำ 2 เรื่อง คือ จริยธรรมของสื่อ และรูปแบบของการสื่อสาร การเชื่อมโยงเครือข่ายและประเด็นงานต้องมีการแจ้งผ่านกองบก.สื่อเพื่อการเข้าร่วม
1. 18 ก.พ. 61 ลำขนุน และตลาดต้นน้ำ เวทีการท่องเที่ยวชุมชน 2. 28-30 มี.ค. 61 งานสื่อสร้างสุขภาคใต้ต้องมีเครือข่ายเพิ่มขึ้นสื่อต้องทำงานให้เร็วขึ้น ขยายวงการทำสื่อให้กว้างขึ้น
3. 23-26 งานแข่งขันวิ่งว่าวที่สตูล 4. 24-28 เม.ย.61 งานท่องเที่ยวโดยชุมชนอันดามัน ทำMOUการท่องเที่ยวชุมชนระดับประเทศ

ประชุมส่วนกองบก. 3 เครือข่ายประเด็น 1. การจัดการน้ำโดยฝายมีชีวิต 2. ความมั่นคงด้านอาหาร 3. ปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย 6 จังหวัด นคร พัทลุง สงขลา พังงา กระบี่ ชุมพร งบประมาณ โอนลงจังหวัดแล้ว การทำงานร่วมเครือข่าย เชิงประเด็น ได้รูปแบบของการสื่อสาร - แผนงาน - การสื่อสารก่อน-หลัง - การทำงานร่วมกัน

เป้าหมาย ยกระดับการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง สะท้อนกระบวนการเวทีของโซนอันดามัน
- ประเด็นพูดคุย - กระบวนการแบบออนกราวน์ สามารถสะท้อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง - กองบก.นำการสื่อสารมาใช้ในวงได้ สามารถให้ความรู้ เป็นการชวนคุยความรู้พื้นฐานในวงพูดคุยได้ - สื่อเป็นส่วนช่วยในการขยายผล - ดึงให้เห็นความสำคัญของสื่อ - พรบ.การท่องเที่ยวชุมชน เป็นเรื่องที่พื้นที่ต้องการ สื่อสามารถผลักดันได้ - การจับคู่ท่องเที่ยวชุมชนถือเป็น cast statsdy สิ่งที่สจรส.ต้องการคือ งานวิชาการ สิ่งที่นำไปปรับใช้ในงานสื่อสร้างสุขภาคใต้ - ความเป็นมา รูปแบบ กรอบเนื้อหา ทิศทาง สร้างการเปลี่ยนแปลง - กลุ่มเป้าหมายต้องเป็นกลุ่มคนที่มาคุยเรื่องรูปแบบ - จริยธรรมสื่อที่นำมาใช้มีอะไรบ้าง - ดึงให้เห็นรูปแบบการสื่อสารกระบวนการ 6 จังหวัด 3 ประเด็น - วาง Time line การขับเคลื่อน - ใช้ผังกลางในการส่งงานให้กับจังหวัด - การเปลี่ยนแปลงเน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ - ส่งรูปแบบเป็นเรื่องเล่า ส่งไม่เกินวันที่ 5 มีนาคม 60 - แผน 3 ส่วน ประกอบด้วย แผนออนไลน์ ออนแอร์ ออนกราวน์ 8 ประเด็นงานสร้างสุข 1. ความมั่นคงทางด้านอาหาร 2. ปัจจัยเสี่ยง 3. การจัดการน้ำโดยฝายมีชีวิต 4. ชุมชนน่าอยู่ 5.  ภัยพิบัตื 6.  จริยธรรมสื่อเพื่อสุขภาวะทางสังคม 7.  ความมั่นคงทางสุขภาพและเขตสุขภาพ 8.  เกษตรกรรมเพื่อสุขภาพ

 

50 32

18. สนับสนุนเครือข่ายกขป.เขต 11 สุราษฎร์ธานี

วันที่ 22 มกราคม 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

“ เรียนรู้รากเหง้าประวัติศาสตร์ศรีวิชัย...สู่การสร้างพลังทางสังคม ”
เป็นการพบเจอกันของคน  3 วัย 3 รุ่น ร่วมเรียนรู้ learn how to learn and learn how to coach  หัวข้อที่เราจะร่วมสนทนา คือ ทำไมการศึกษาประวัติศาสตร์และคุณค่าความหมายของสังคม การเมือง วัฒนธรรมศรีวิชัย จึงมีความหมายในการสร้างขบวนการนักรบพลเมืองในภาคใต้  เราจะร่วมสนทนากันด้วยบรรยากาศแห่งเพื่อนมิตร  ครู ศิษย์  ผ่อนคลาย สบาย ๆ แต่ได้พลังสาระความรู้สู่การนำไปใช้ขับเคลื่อนงานทางสังคม  เริ่มต้นเปิดวงคุยโดยการให้ อาจารย์สมเจตนา  มุนีโมไนย  ช่วยเล่าประวัติศาสตร์ศรีวิชัย  นักรบไพร่วัด  สมัยพระเจ้าทรงธรรม  ต่อจากนั้นอาจารย์บุญธรรม  เทอดเกียรติชาติ  อาจารย์พิชัย ศรีใส  พี่ทวีศักดิ์  สุขรัตน์  รวมถึงพี่ ๆ ช่วยเสริมเติมเต็ม  โดยมีอาจารย์ชัยวัฒน์  ถิระพันธุ์  จะช่วยตั้งคำถามชวนให้พวกเรามองเห็นสิ่งที่มองข้ามไปเพื่อตั้งหลักอย่างมีสติก่อนจะเคลื่อนต่ออย่างมีพลังและร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 22  มกราคม 2560

ทำไมเราต้องมาพุดคุยกันเรื่องอาณาจักรศรีวิชัย สิ่งนี้มีความสำคัญกับเราอย่างไร และสำคัญกับอนาคตของเราภาคใต้อย่างไร?  โดยอาจารย์ชัยวัฒน์  ถิระพันธ์
พวกเราที่มีความตั้งใจอยากจะทำอะไรดี ๆเพื่อปักษ์ใต้บ้านเรา  การทำงานต่อสู้และการเคลื่อนไหวของเราในพื้นที่ภาคใต้หลายครั้งที่ผ่านมาเรามีการคิด ออกแบบ เขียนแผนยุทธศาสตร์  เป็นเรื่องที่ดีแต่มีบางอย่างที่เรามองข้ามไปแล้วทำให้การทำงานของเรามีข้อจำกัด  การทำงานของเราต้องกลับมาทบทวนใหม่  ต้องมาดูว่าเรื่องอะไรที่เราหลงลืมไป  เช่น รากเหง้า ภูมิปัญญา วัฒนธรรม  ความศักดิ์สิทธิ์หรือความคิดของบรรพบุรุษ  หากเราจะดูแลรักษาแผ่นดินและพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เราต้องหันกลับมาทบทวนใหม่  เป็นเรื่องคุณค่า ความหมาย และพลังของบรรพบุรุษที่ส่งผลมาถึงเรา ครั้งนี้เราจะชวนกับพูดคุยเรื่องศรีวิชัยและความเป็นนักรบศรีวิชัย  เมื่อพูดถึงเรื่องนี้แล้วเรารู้สึกอย่างไร  เรามีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง
เมื่อพูดถึงเรื่องนักรบศรีวิชัย  หลาคนมองว่า - ศรีวิชัย  เป็นเรื่องอดีตที่น่าค้นหา  ทั้งประวัติศาสตร์  คุณค่า  ความศักดิ์สิทธิ์
- การที่เราหันกลับมาศึกษาเรื่องศรีวิชัย  ทำให้เราเห็นขุมพลังที่ทำให้เราฮึกเหิม
- การศึกษาเรื่องศรีวิชัย  เราจะเห็นบทเรียนในอดีตที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานกับปัจจุบันได้  สามารถรับมือกับอนาคตได้ - การศึกษาเรื่องราวของศรีวิชัยช่วยทำให้เราทรนง  ภาคภูมิใจ  มีศักดิ์ศรี - การทำให้เราหันย้อนกลับมามองตนเอง    บ้านของเรา  สังคมของเรา  ทำให้เราเห็นตัวเราเองมากขึ้น  รู้สึกภาคภูมิใจ”เราคือคนที่ถูกเลือก” - การคุยเรื่องประวัติศาสตร์ทำให้เราเห็นร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตซึ่งเป็นสิ่งที่บอกให้เรารู้และมั่นใจได้ว่าสังคมอุดมคติที่เราอยากเห็น การเอื้อเฟื้อ  แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน  ในอดีตเคยเกิดขึ้นแล้ว

ต้อนรับ ขับบทกลอนปลุกพลังคาถาคุณธรรมพระโพธิสัตว์และเส้นทางนักรบศรีวิชัย
โดยอาจารย์บุญธรรม  เทิดเกียรติชาติ  ปราชญ์ ศิลปินภาคใต้ ความแตกต่างระหว่างประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม  คือ  ประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งมีความเป็นมาชัด คุณค่าชัด  และวัฒนธรรมคือคุณค่าชัดแต่ความเป็นมายังไม่ชัด
พระโพธิสัตว์ปัตมะปานิ  เป็นรูปพระโพธิสัตว์ถือดอกบัว  ในอดีตพบที่เมืองเวียงสระซึ่งหายไปนานแล้ว แต่ปรากฎอยู่ในตัวหนังตะลุง
บทกลอนคาถาคุณธรรมพระโพธิสัตว์ปลุกใจนักรบศรีวิชัย
ออ ออ  ออ  ออ  ออ...... กล่าวคาถามาปลุกใจชาวศรีวิชัยทุก ๆ คน ปัจจานัง สิระสัง จะ ตัง อดทน นะกาโร  อ่อนน้อมถ่อมตน  สู่มรรคผลมีโชคชัย นัตถิ  สัมพะโว  ให้ชีวิตมีพลัง นารา นาจิตตัง  ให้ชีวิตมีพลังอันยิ่งใหญ่ เอวัง นะตะระ  เทโว หิ  สัมฤทธิชัย ทินจัง  นะรานัง  ให้พลังกาย จิตใจยั้งยืนยง
ตั้งสติและสัมมาสมาธิดังประสบ สุขตัง นังตันหะ  ดังพระโพธิสัตว์ประทับทรง แล นะจง ศรีวิชัย  ชนะให้ไปตามที่คอย ด้วยคุณธรรรมพระโพธิสัตว์ โบราณยังคงไว้  อันตรายก็จะไม่ท้อถอย ความสำเร็จเสร็จเมื่อไหร่ตั้งใจคอย ไม่ใจน้อยหรือใจร้อนทุกตอนไป ทำความดีไม่หวังผลตอบแทน  ไม่โลภ โกรธ หลง หวั่นไหว การคบคนไม่หวังผลประโยชน์ใด ไม่ทำตามเอาใจใครแต่ทำไปตามวิจารณญาณ ใครมีความปรารถนาจะร่วมหุ้น กับทรงคุณพระโพธิสัตว์  อันนี้เป็นบรรทัดฐาน นักรบศรีวิชัยครั้งสมัยโบราณ  ขอทุก ๆ ท่านจงกล้าหาญ  เอย แบบศรีวิชัย แล้ว .... ขอทุก ๆ ท่านจงกล้าหาญ ออ แบบศรีวิชัย....

สนทนาว่าด้วยเรื่อง “การศึกษาประวัติศาสตร์และคุณค่าความหมายของสังคมการเมือง วัฒนธรรมศรีวิชัย สู่การสร้างขบวนการนักรบพลเมืองในภาคใต้” อาจารย์ชัยวัฒน์  ถิระพันธ์
เมื่อนึกถึงเรื่องศรีวิชัยแล้วมามองการทำงานของเราที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นบางอย่างที่ขาดหายไปที่ทำให้พลังการต่อสู้ยังไม่มีพลังที่ยิ่งใหญ่พอ  การทำงานบางอย่างมีความท้าทายมากขึ้น  หลายเรื่องอาจจะต้องปรับปรุงให้เป็นคุณภาพใหม่  โดยเฉพาะการกำหนดยุทธศาสตร์และทำแผนทำอย่างไรให้มีคุณภาพ มีพลังและสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้ การเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ศรีวิชัย  เราจะชวนการค้นหาบางสิ่งบางอย่างที่มีพลังในอดีต งดงาม  สังคมแงอุดมคติ แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง  ชุมชนแห่งสันติภาพ  สงบ สุข เราเคยมีชุมชนแบบนี้เกิดขึ้นแล้วในอดีต  ครั้งนี้เป็นการชวนคุยและชวนมองด้วยใจ ย้อยมองไปสู่อดีตศรีวิชัยเชื่อมโยงกับปัจจุบัน

      อาจารย์ปรีชา  อูยตระกูล  เสริมเรื่องเทพปกรณัม เทพปกรณัม  ในอดีตมีความเชื่อว่าเทพปกรณัมคือเทพที่คอยช่วยปกป้องรักษา หรือดลบันดาลให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น มีเรื่องราวและตำนานต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่นพระอิศวร    หรือแม้กระทั่งเจ้าป่าเจ้าเขาในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งคนในพื้นที่นั้น ๆ จะให้ความเคารพมาก  บางครั้งต้องทำพิธีเพื่อทำความเคารพ  เป็นเรื่องวิถีชีวิตและการดำรงอยู่เอความสุขและให้กำลังใจ

วันที่ 23  มกราคม 2560 เกริ่นนำโดยอาจารย์ชัยวัฒน์  ถิระพันธ์ การทำงานเพื่อสังคมเราต้องใช้พลังพลังความกล้าหาญ  พลังทางปัญญา  ความเมตตา  ไม่ใช่เพียงการไปประชุมในเวทีต่าง ๆ ตามสิ่งที่เขาเชิญเท่านั้น  พวกเราจำนวนมากทิ้งเวลาไปกับการประชุมแบบเดิม ๆ แต่ขาดการยกระดับเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีความล้ำค่า  เราจะทำอย่างไรให้มีความล้ำค่า เมื่อเราเจอสถานการณ์ที่มีความยาก เราจะทำตัวอย่างไร คือความท้าทาย  เราจะมีปัญญาการปฏิบัติการ  เพราะเมื่อถึงเวลาเราจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ทัน ดังนั้นเราจำเป็นต้องฝึกให้เป็นนิสัย  รู้จักการครุ่นคิด  มีสติ  เราจึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการตั้งสติ ใคร่ครวญ เราร่วมกันนั่งสมาธิภาวนานำภาวนา โดยคุณทวีศักดิ์    สุขรัตน์ การภาวนา....เริ่มจากการตั้งจิตของราให้มีความสงบ  ใช้มือขวาทับมือซ้าย  ใครถนัดสมาธิแบบลืมตาก็สามารถลืมตาได้ แต่หากใครถนัดหลับตาก็หลับตา  สำหรับผมเองใช้วิธีการหลับตา เพราะรู้สึกสงบ  จากนั้นหายใจเข้า ออก  ให้รู้สึกตัวว่าเราหายใจเข้า ออก  แล้วตามลมหายใจ เข้า  ออก  ยาว  สั้น  จากนั้นขอให้เราทุกคนร่วมปฏิบัติสมาธิภาวนา  ประมาณ 5 นาที

คุณทวีศักดิ์  สุขรัตน์  การเคลื่อนด้วยสติ สมาธิ ถือเป็นปัญญาญาณ ทำให้จิตมีพลัง อาจารย์ณัฐพงศ์  จิตนิรัตน์  ได้มีโอกาสดูบรรยากาศยามเช้า สวยงามมาก แต่เมื่อลองเปิดประตูด้านหลังกลับพบว่าด้านหลังมีคลองมีต้นไม้  มีธรรมชาติที่สวยงามมาก  ทำให้เกิดความรู้สึกว่าบางครั้งการที่เรามุ่งไปข้างหน้าแต่เรามักจะลืมดูข้างหลังที่สวยงาม  ดังนั้น  เราต้องหันกลับมาดูข้างหลังด้วยก่อนการก้าวต่อไปข้างหน้า คุณซิกส์  ได้ทบทวนตัวเองและพยายามตีโจทย์การเรียนรู้ตั้งแต่เมื่อวานว่าเรากำลังมาทำอะไร ?เรามาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องศรีวิชัยซึ่งไม่ค่อยได้มีโอกาสเรียนรู้  ถือเป็นเรื่องที่มีความแปลกใหม่  แต่รู้สึกว่าการเรียนรู้ครั้งนี้เป็นการเรียนรู้เพื่อให้เราดึงคุณค่าที่มีอยู่เพื่อให้เราดึงเอาพลังคุณค่านั้นไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของเรา  การปฏิบัติภาวนาทำให้เกิดความสงบ มีสติ สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น หมอสุภัทร์  ฮาสุวรรณกิจ  ได้ทบทวนตัวเองว่าในช่วงที่ผ่านมาเราจะไม่ค่อยได้ฟังใครมาก เพราะส่วนใหญ่จะถูกเชิญไปให้พูด  ไปเป็นวิทยาการ  ไปร่วมนำกระบวนการเสียส่วนใหญ่  จึงไม่ค่อยได้ฟังมากนัก  ครั้งนี้ได้มานั่งฟังจริง ๆ  เมื่อตั้งใจฟังจริง ๆ ที่ไม่ได้รับรู้พียงเรื่องเล่า  รู้สึกว่าตัวเองได้อะไรเพิ่มขึ้น อาจารย์บุญธรรม  เทอดเกียรติชาติ  โดยส่วนใหญ่ความเป็นมนุษย์มีสามความรู้สึกหลักคือ  ฮึกเหิม  เฉย ๆ และเศร้าซึม  ในยุคนี้หากเราประคับประคองตนเอง  สติ  ให้มีความมั่นคง สงบ  จิตก็จะมีพลัง  ยกสิ่งที่ได้เรียนรู้ได้พบเห็นขึ้นมาเป็นความรู้ใหม่ซึ่งจะเป็นความรู้ที่มีปัญญา คุณทวีวัตร  เครือสาย  ในการทำงานเราต้องตั้งสติให้ดีเพราะจะมีสิ่งที่เราไม่ได้คาดคิดเข้ามาทำให้การทำงานไม่ราบรื่น  ซึ่งในการทำงานจริงนั้นเราต้องพบเจอกับสิ่งที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้เสมอ  ครั้งนี้ดีใจที่ได้เจอมิตรที่ดีที่เราห่างหายกันไปนาน  ถือเป็นโอกาสที่ดีในการทำงานต่อไป  ช่วงหลังมานี้ไม่ได้มีโอกาสไปร่วมงานกับใครมากนัก  จะไปเท่าที่จำเป็นเพราะอยากจะทำงานอยู่ในพื้นที่ในท้องถิ่น  มาครั้งนี้อยากจะมาร่วมฟังเรื่องราวความรู้จากทุกท่าน เพื่อได้มีโอกาสสั่งสมความรู้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อาจารย์ดำรง  โยธารักษ์ ได้ทบทวนว่าการทำงานที่ผ่านมาเรามีความเร่าร้อน เร่งรีบ กระวนกระวาย  เพราะเราใช้ความรู้ความชำนาญที่มีเป็นปรีชาญาณ ซึ่งสิ่งนี้เป็นขั้นแรก  การก้าวเดินของเราต้องมีศรัทธาหากเรามีศรัทธาเชื่อมั่นว่าเราจะก้าวเดินต่อไปได้อย่างมีพลัง คุณอานนท์  มีศรี  ช่วงที่มีการนั่งภาวนาตนเองลืมปิดโทรศัพท์  ในขณะที่นั่งภาวนาจึงมีความรู้สึกกังวลว่าจะมีสายโทรศัพท์เข้ามาแล้วจะทำให้ผู้อื่นเสียสมาธิและกลัวว่าอาจารย์จะดุทำให้ตนเองจดจ่อเพียงว่าเมื่อไหร่จะหมดเวลาเสียทีจะได้รีบปิดโทรศัพท์    หลังจากช่วงเวลาในการภาวนาจบลงรีบมาปิดโทรศัพท์และคลายความกังวลไปมาก  ก่อนมาเข้าร่วมครั้งนี้กังวลว่าตนเองจะได้มาหรือไม่เพราะมีภารกิจมากและโดยส่วนตัวรู้ตัวเองดีว่าขาดวินัยในเรื่องเวลาแต่พยายามปรับปรุง  ครั้งนี้จึงจะลองปิดโทรศัพท์ในระหว่างการประชุมแต่ยังมีความกังวลอยู่บ้างว่าอาจจะมีใครโทรประสานงานไม่ได้  แต่ก็จะทดลองปิดดู คุณปิยนาถ  ประยูร  ช่วงเช้าได้ทบทวนเรื่องวัฒนธรรม  ซึ่งมองว่าเรื่องวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สร้างได้  ที่ผ่านมาได้ทำงานและฝึกฝนตนเองจากการติดตามสังเกตการทำงานของอาจารย์  พบว่าการสนทนาบางครั้งมีคลื่นพลังที่ดี  แต่บางครั้งคลื่นพลังมีน้อย  ความน่าสนใจคือเราจะพบพลังบางอย่างที่เรามองไม่เห็นแต่เราสัมผัสได้ว่ามีพลังเรารู้สึกได้  ในการทำกระบวนการเราจะช่วยกันสร้างสนามพลังร่วมให้เกิดขึ้นได้อย่างไรในวงใหญ่  ซึ่งทุกคนในวงสนทนาจะสามารถร่วมกันสร้างคลื่นพลังนั้นให้เกิดขึ้นได้    อีกประเด็นคือเรื่องการสร้างวัฒนธรรมในการประชุม การอยู่ร่วมกัน  ตั้งแต่การเข้าร่วมสนทนา เราเป็นอย่างไร เพื่อนเป็นอย่างไร  เราจะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมในการสนทนาที่เรามีท่าทีที่เหมาะสม  เพื่อนก็สามารถสัมผัสได้  แม้ว่าผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมกระบวนการของอาจารย์ช่วงหลังก็จะเห็นว่าเขาสามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมในการสนทนาได้เร็วและดีมากขึ้น  ซึ่งคนที่เข้ามาใหม่จะสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมการสนทนาของกลุ่มได้  เขาจะรู้ว่าหากเป็นกลุ่มนี้เขาต้องปฏิบัติตัวในลักษณะนี้วิธีการสนทนาเป็นไปในลักษณะนี้  ซึ่งเราจะสัมผัสได้ คุณหนูพียร  แสนอินทร์    นึกถึงเรื่องเทพปกรณัม    เพราะอาจารย์พูดถึงเรื่องนี้บ่อย  มีความสนใจในเรื่องนี้ซึ่งจะได้มีโอกาสศึกษาต่อ อาจารย์ปรีชา  อูยตระกูล  เราเป็นผู้รับพลังจักรวาลมาสู่ตน  หลายครั้งมีกลุ่มคนที่คอยทำพิธีการต่าง ๆ เพื่อติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ  เช่น เฒ่าจ้ำ  ซึ่งเป็นคนทำพิธีกรรมติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของทางภาคอีสาน  เขาก็จะมีความเชื่อบางอย่างในการทำให้เกิดพลังความศักดิ์สิทธิให้เกิดขึ้น  และกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาของคนในชุมชน  ซึ่งพลังแห่งอดีตนั้นมีอยู่แล้วเราเป็นผู้รับพลังจักรวาลมาสู่ตนเพื่อกระทำการบางอย่างต่อไป
อาจารย์นิวัตร์  โอ้เต้กิ้ม  เชื่อมั่นว่าความศักดิ์สิทธิมีอยู่จริง  พื้นที่ศรีวิชัยเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิที่มีความสำคัญเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ทางวัฒนธรรม  ครั้งนี้เราจะได้มีโอกาสลงพื้นที่เพื่อสัมผัสพลังความศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่  ตนเองมีความสนใจว่าเราจะนำเอาความศักดิ์สิทธิ์มาปกป้องบ้านเราอย่างไร  ซึ่งจะต้องคิดหาหนทางกันต่อไป

อาจารย์ชัยวัฒน์  ถิระพันธ์  ชวนคิดชวนคุยต่อ เมื่อวานเราสัมผัสได้ว่าเรื่องที่เรากำหนดไว้ไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้  พลังกระจัดกระจาย มีแต่ความกังวล  ไม่สมหวังไม่ได้ดังใจ  แต่เราพยายามจูลคลื่นพลังขึ้นมาใหม่  ปรับใหม่ เพื่อสร้างพลังขึ้นมาใหม่  ช่วงที่อาจารย์บุญธรรมได้กล่าวบทคาถาปลุกใจและบทพระโพธิสัตว์  เราจะเห็นได้ว่าพลังเริ่มก่อตัวขึ้นมา  จากความสับสน  หดหู่  สิ้นหวัง  เราค่อย ๆ ฟอร์มพลัง ความรู้สึก สภาวะ ขึ้นมาใหม่  จัดคลื่นพลังใหม่  จัดระเบียบคลื่นพลัง  วันนี้การสนทนาของเราก็เริ่มมีพลังมากขึ้น เราทุกคนรู้สึกได้ อาจารย์ปรีชาพูดถึงเรื่องเฒ่าจ้ำ  ซึ่งมีความน่าสนใจ  เราเป็นเพียงคนส่วนน้อย  แต่หวังว่าคนส่วนน้อยที่มีพลังจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้เป็น  Power of action ที่สามารถผูกโยงความหวัง กำลังใจ ความตั้งใจของผู้คนเข้ามา  โดยส่วนตัวรู้สึกว่าคนจำนวนไม่น้อยกำลังสิ้นหวังและกำลังรอคอยความหวัง  แต่คนไทยมีความเฉพาะที่น่าสนใจคือในท่ามกลางความสิ้นหวังคนไทยยังสามารถยิ้มได้หัวเราะได้  ไม่ถึงขั้นล้ม  แม้ไม่มีความหวังแต่ก็ยังไม่ทั้งสิ่งที่หวังไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ แต่ความฮึกเหิมมีน้อยลง  สมาธิจิตความมุ่งมั่นมีน้อยลง  คนจำนวนมากกำลังรอความหวังซึ่งความหวังนั้นไม่ได้มาจากนักการเมืองหรือใครอื่น  แต่ความหวังเหล่านั้นมาจากคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ไม่ค่อยมั่นใจในความหวังของตนมากนัก ถึงเวลาแล้วหรือเปล่าที่เราต้องร่วมกันสร้างความหวังความมั่นใจให้คนเล็ก ๆ  จำนวนหนึ่งให้เขาได้มีความมั่นใจในสิ่งที่ตนเองทำและยกระดับต่อทำให้ดี มีพลังขึ้นกว่าเดิม  หากจิตบอกว่าเราคงทำได้ประมาณนี้ ทำให้รอด ๆ ไป  เราก็คงจะสามารถทำได้เพียงเท่านี้  แต่หากจิตคิดใหญ่กว่านั้นเราจะสามารถทำได้ใหญ่กว่านั้น  เรามีบรรพบุรุษช่วยหนุนเสริมเป็นลมใต้ปีกที่คอยช่วยโอบอุ้มเรา  เหตุการณ์หนึ่งที่น่าสนใจคือทหารอเมริกันมีอาวุธยุทธโทรปกรณ์เหลือคณานัปซึ่งไม่เคยมีใครคิดว่าทหารเวียดกง เวียดนามจะสู้เขาได้แต่เขาก็สู้ได้จากกองกำลังเล็ก ๆ มีปืน  ดาบ ปืนพก  ซึ่งมีอาวุธจำนวนน้อยเป็นกองกำลังเล็ก ๆ แต่ก็เติบโตขึ้นจนสามารถตั้งกองกำลังต่อสู้กับเอมริกาได้  ทำไมเขาจึงสู้ได้  หรือแม้กระทั่งทหารไทยเองก็มักจะมีของขลังเพื่อสร้างความฮึกเหิม  มนุษย์เรานั้นมีความมหัศจรรย์ภายในบางอย่างที่สามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้
คนใต้นั้น ไม่ใช่เพียงไม่รบนายไม่หายจน  การสู้รบครั้งใหม่ไม่ใช่การสู้รบด้วยอาวุธแต่การสู้รบครั้งใหม่เราต้องใช้ปัญญา  ความรัก ความเมตตา  ความกล้าหาญ  อาจจะถึงเวลาที่เราต้องเลือกทางเดินที่ไม่มีคนเดินเมื่อเราเดินไปก็จะเริ่มมีทางแล้วสักวันจะมีผู้เดินตามมา  ทางนี้อาจจะไม่มีคนเดินแต่เราจะต้องเดิน  เราอาจจะได้รับการฝึกฝนในการทำงานด้วยหลักการ ทฤษฎีและเทคนิคต่าง ๆ ทั้งเรื่องการสนทนา การสร้างสนามพลัง  หรืออื่น ๆ อีกมากมายแต่สิ่งเหล่านี้มันไม่ได้ผสานเชื่อมร้อยเข้าด้วยกัน
เมื่อเราไม่สามารถฝากความหวังไว้กับนักการเมืองได้แล้วเราจะอยู่อย่างไร  อยู่เพียงให้มีชีวิตรอดไปวัน ๆ เท่านั้นหรือ  หรือเราจะใช้ชีวิตอย่างสง่างาม  เกิดมาชาตินี้เราจะเต็มที่  เมื่อวานมีคนพูดว่า เราคือผู้ที่ถูกเลือกเพื่อให้เรามาทำภารกิจบางอย่าง  ทำให้เรามีความฮึกเหิม การทำให้คนรุ่นใหม่รู้ตัวตน  เข้าใจสังคม และมีพลังฮึกเหิมจะทำให้เขาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะต่อไปจะเป็นยุคของพวกเขาซึ่งมีภารกิจบางอย่างที่จะสานต่อในสิ่งที่คนรุ่นก่อนยังทำไม่จบ  แต่สำหรับอาจารย์เองจะรบเดินเคียงข้างจนนาทีสุดท้าย  และเมื่อต้องรบเคียงข้างกันแล้วเราก็จะเดินไปด้วยกันเพราะเราถูกเลือกแล้ว
การต่อสู้ เราจะรู้ว่าตัวเองแน่หรือไม่เราต้องเจอกับคู่ต่อสู้ที่สมศักดิ์ศรี  เราจึงจะภูมิใจในการชนะที่ข้ามผ่านมา  ในสนามรบเราอาจจะไม่สามารถควบคุมอะไรได้แต่เราต้องมีสติเพื่อการก้าวผ่านพ้นไปอย่างมีสติ  มองอย่างรอบด้านเห็นเหตุการณ์ สถานการณ์ ตรงหน้าแล้วพลิกให้เป็นพลัง  นำไปสู่การแก้ปัญหาและก้าวต่อให้เป็นพลัง  ไม่หวั่นไหว มีความหวัง กล้าหาญ  เราอย่ารอปาฏิหาริย์แต่เราต้องเป็นผู้สร้างปาฏิหาริย์  มีพลังแห่งการครุ่นคิด ใคร่ครวญ การสนทนาของเราแต่ละครั้ง แต่ละเวที  เราต้องจัดท่าทีใหม่ จัดคลื่นพลังใหม่  เกิดประโยชน์สร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริงไม่ใช่เพียงการสร้างภาพไปเวทีแล้วถ่ายภาพส่งถึงกันเท่านั้น  สิ่งที่อยากชวนคิดต่อคือเราจะทำอย่างไรให้การสนทนาหรือการพบเจอกันของเราแต่ละครั้งให้เกิดเป็นสภาวะแห่งปัญญาเป็นคลื่นพลังที่มีคุณภาพ

ช่วงแบ่งกลุ่มย่อย แลกเปลี่ยนสิ่งที่ฉุกคิดใหม่ กระบวนการแบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่มแล้วแต่ละกลุ่มร่วมสนทนาการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วแบ่งปันให้เพื่อนในกลุ่มได้รับทราบ สรุปแบ่งปันการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น - ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่มีความศักดิ์สิทธิ์  สามารถปลุกให้เราลุกขึ้นสู้ด้วยความฮึกเหิมได้ - ความเชื่อ ศรัทธา จะนำมาสู่ความรัก หวงแหนแผ่นดินเกิด  เคารพในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ - การสร้างประวิติศาสตร์สามัญชนจะสามารถสร้างความรักความภูมิใจในแผ่นดิน  เราต้องใส่ใจกับประวัติศาสตร์สามัญชนแล้วนำมาเป็นพลังเพื่อร้อยคนเข้าร่วมปกป้องแผ่นดินเกิด - การจัดคลื่นพลังที่หลากหลายให้สามารถนำมาเคลื่อนร่วมกันได้เป็นศิลปะการทำงาน  เราต้องใช้คลื่นพลังที่ต่าง กระจัดกระจายมาจัดคลื่นพลังร่วมเพื่อทำงานร่วมกัน - การหันกลับมาทำงานเล็ก ๆ ในชุมชนมากขึ้น  แล้วนำเอาบทเรียนที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้จริงเพื่อสร้างรูปธรรมในพื้นที่เป็นเรื่องที่สามารถสร้างการยอมรับในการทำงาน
- การทำงานต้องมีการเรียนรู้สิ่งซึ่งมีบทเรียนสำคัญแล้วน้ำมาออกแบบสร้างสิ่งใหม่จากฐานทุนเดิมในชุมชน  สร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นแล้วรอจังหวะเวลาบ่มเพาะเพื่อให้การทำงานสามารถสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง - การเรียนรู้ประวัติศาสตร์  จะสามารถนำมาสู่การฟื้นพลังของตัวเราเอง ความคิด ความเชื่อศักดิ์ศรี การส่งทอดพลังของบรรพบุรุษมาสู่เราได้ - หลังจากพูดคุยรู้สึกว่าเสียดายเวลาที่เราอยู่ใกล้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แต่เราไม่ได้นำความศักดิ์สิทธ์นั้นมาใช้ให้เกิดพลังหรือสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพมากนัก - ได้มีโอกาสไปสถานที่เขาศรีวิชัยหลายครั้งและสัมผัสได้ถึงพลังความศักดิ์สิทธิ์ของที่นั่นทุกครั้ง - คนสมัยก่อนการได้ไปสัมผัสกับพื้นที่พบพลังความศักดิ์สิทธิ์เขาจะบอกว่าได้แรงอก  แต่ไม่รู้ว่าคนรุ่นเราจะได้แรงอกไหมหลังจากที่ได้ไปดูพื้นที่แล้ว - ปัจจุบันเป็นอย่างไรถ้าเราจะกำหนดอนาคตเราต้องย้อนมองอดีตด้วย
- ดีใจที่ได้เข้าร่วมสัมผัสกับอารยธรรมของบรรพบุรุษ - การลงพื้นที่ทำให้เราเห็นแล้วทำให้คิดว่า เรายังทำอะไรได้อีกมาก - ดีใจที่เราทุกคนมีความสุข

อาจารย์ชัยวัฒน์  ตั้งคำถามชวนคุยเพิ่มเติม การภาวนาไม่ใช่เพียงการนั่งนิ่งแล้วบริกรรมยุบหนอ  พองหนอ เท่านั้น  การภาวนาที่ง่ายจะ เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราใส่ใจ  มีสติ  ตระหนักรู้กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นข้างหน้าและเกิดขึ้นกับเรา  เชื่อว่าวันนี้เรามีความสุข  ทำไมเราถึงมีความสุข  บางคนอาจจะบอกว่าเราได้กลิ่นของอดีต  แต่เราเคยถามตัวเองบ้างหรือไม่ว่าทำไมเราถึงมีความสุขแล้วความสุขนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
วันนี้ทำไมเราจึงมีความสุข - เราได้พบเจอ เรียนรู้ร่วมกันกับกลุ่มเพื่อนพี่น้องที่มีความคิด ความไว้ใจและผูกพันระหว่างกัน
- เราไปเดินในพื้นที่ที่เคยรุ่งเรือง มีอารยะมีพลัง ช่วยส่งพลังมาถึงเราด้วย
- ความสุข  เป็นเรื่องที่เราได้ปลดปล่อยเป็นอิสระออกจากความกังวล
- การได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนพี่น้องที่ต่างอาชีพ แต่ถูกคอ ถูกใจ  คุยกันรู้เรื่องคุยในสิ่งที่เราอยากคุย รู้สึกปลอดภัย เหมือนมีเพื่อนร่วมสุข ทุกข์
- การได้ลงไปเยี่ยมพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์  รู้สึกผิดที่เราไม่ได้ดูแล  ละทิ้งอารยะที่เราเคยมี  จิตใจของหลายคนเราลืมเรื่องเหล่านี้ไป เราควรต้องฟื้นสิ่งนี้ขึ้นมาเพื่อสร้างความรักชาติรักแผ่นดิน  ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเชื่อมสะพานระหว่างปัจจุบันและอดีตเพื่อตามหารากของเรา - เกิดการหยั่งรู้  นึกถึงคนในอดีตว่าเขาคงมีความสุขในการอยู่ร่วมกันในยุคนั้น  คนเรามีพลังงานและพลังเล่น  ซึ่งเราต้องผสานทั้งพลังงานและพลังเล่นเพื่อให้เกิดพลังที่สร้างสรรค์
- การได้ร่วมสนทนาในกลุ่มวงเพื่อนพ้องน้องพี่เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข  เป็นการเติมพลังและเป็นกำลังใจในการทำงานร่วมกันอย่างมีชีวิตชีวา

อาจารย์ชัยวัฒน์  ชวนมองเพิ่มเติม การร่วมสนทนาของเราถือเป็นการสานพลัง แต่เป็นการสานพลังที่เราไม่ต้องพูดว่าสานพลัง
เมื่อเราต้องทำกระบวนการเรื่องสานพลังต้องระมัดระวังให้มาก  ความลี้ลับและกุญแจอยู่ตรงไหนหาให้เจอ ทั้งความทุกข์ ความสุข เป็นพลัง แต่ความทุกข์เป็นพลังแห่งความโกรธ เกลียด  เป็นพลังแห่งการทำลาย  เราต้องร่วมกันสร้างพลังทางบวกที่ต้องใช้ความรัก ความเมตตา  พลังที่สร้างสรรค์  เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ กระบวนการเหล่านี้เราต้องใส่ใจ
วันนี้หากเราบอกว่าทำไมเราถึงมีพลังและมีความสุข  กุญแจสำคัญคือการที่เราได้เป็นอิสระ  มีอิสระจากความทุกข์ ความกลัว  หากอิสระขั้นสูงก็จะถึงขั้นหลุดพ้น  แต่เราคงพูดถึงความอิสระในระดับโลก ๆ การที่เราได้หัวเราะ สนุกแต่ไม่ใช่สนุกขำแบบตลกคาเฟ่  เราได้ปลดปล่อย  มีสติตระหนัก รู้  จริงใจ เป็นการภาวนาอย่างง่าย  เมื่อเราต้องอยู่ในหมู่มวลมิตร หากเรามีมวลมิตรมากทำให้เรามีพลัง  ไม่อ่อนแอ  แต่เรารู้สึกได้ว่าเรามีเพื่อนร่วมเดินทาง  เราล้วนเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยสภาวะต่าง ๆ  ทำให้เรามีพลัง  ทำไมบางครั้งการที่เรายืนมองทะเลหรือยืนบนยอดเขาแล้วเรามีความสุข เพราะจักรวาลนี้ยิ่งใหญ่และมีพลัง  เรารับพลังแห่งจักรวาลนั้นเข้ามาใส่ตัวทำให้เรามีพลังมากขึ้น  เปิดเข้าหาเพื่อนพี่ น้อง เพื่อนมนุษย์ จักรวาล ท้องฟ้า ทะเล  พลังของเราจะถูกส่งถึงกันไม่มีวันหมด  และในวันนี้เราสืบสายไปถึงพลังของบรรพบุรุษทำให้เรามีพลังเรารู้ว่าเราเป็นใคร เรามาจากไหน  เมื่อเรารู้รากที่หยั่งลึกเราจะมีความภูมิใจ  เป็นสภาวะที่เรามีความสามารถ มีพลัง  การพูดคุยเรื่องสานพลังต้องทำให้ลึกซึ้งและทำให้เห็นมิติต่าง ๆ
การมาเรียนรู้ครั้งนี้ เรากำลังท่องเข้าไปสู่การสนทนาบางอย่าง  บางเรื่องอธิบายในวันนี้อาจจะไม่มีประโยชน์  แต่เป็นพลังที่หลายคนสัมผัสได้  เราต้องไม่ลืมว่าการชวนคนไปหาปลา เราอย่าเพียงชวนเขาไปตัดไม้เพื่อต่อเรือแต่เราต้องชวนเขาเหล่านั้นให้ค้นหาความลี้ลับให้พบ  เพื่อให้เกิดพลังและเกิดประโยชน์สูงสุด

ช่วงค่ำ  วงสนทนาหลังรับประทานอาหารค่ำ ปลุกหัวใจคนด้วยพลังจิตวิญญาณบรรพบุรุษ    การค้นหาความลี้ลับมหัศจรรย์เราจับที่ใจของเรา  การกลับมาหาพลังของบรรพบุรุษคือความสุขและมีพลัง  การก้าวเดินแต่ละครั้งขอให้เรามีศักดิ์ศรีแล้วจะกลายเป็นความศักดิ์สิทธิ์  ไม่หวาดหวั่น  ไม่หวั่นไหว ขอพียงเราเคารพนอบน้อมกตัญญูต่อบรรพบุรุษแล้วจะมีพลังบางอย่างจากบรรพบุรุษที่โอบอุ้มเราเป็นพลังให้เรารักษาแผ่นดินต่อไป การร่วมสร้างชุมชนแห่งสำนึกอย่ารีบร้อน  เราต้องมีสติสร้างความร่วมมือกับกลุ่มคน  ชวนให้ชุมชนเห็นพลังของความลี้ลับมหัศจรรย์ นำพลังของบรรพบุรุษมาช่วยหนุนเสริมโอบอุ้มในการก้าวเดินของเรา  ขอเพียงเราหากุญแจความลี้ลับมหัศจรรย์ให้พบแล้วเราจะสามารถเชื่อมร้อยกลุ่มคนในสังคมเพื่อร่วมสร้างชุมชนแห่งสำนึกได้  สังคมใหม่อยู่ที่เราบ่มเพาะปัจจุบันดังนั้นเราต้องสร้างคนคุณภาพ มีปัญญาในวันนี้เพื่อสร้างสังคมที่มีคุณภาพ การสู้รบที่มีพลังต้องใช้ปัญญา ความรัก ความเมตตา  เพราะศึกครั้งหน้าใหญ่หลวงนัก  การสู้รบครั้งหน้าอาจจะเป็นการสู้รบครั้งสุดท้ายสำหรับบางคน  แต่การต่อสู้ครั้งหน้าจะไม่เหมือนเดิม การต่อสู้เราจะเห็นวิธีการที่แปลกใหม่มากขึ้น ไม่ใช่การเดินออกมาประท้วงแต่อาจจะมีการใช้สื่อมากขึ้น  ตัวละครที่จะเล่นก็มีมากขึ้น  พวกเราเป็นเพียงตัวละครหนึ่งในสนามรบเท่านั้น สิ่งที่เราน่าจะทำได้คือชวนเพื่อนมิตรหาแนวร่วมเพื่อร่วมรบ  เห็นศัตรูร่วมเราจึงจับมือกันรบ แต่การรบต้องสร้างสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ  ซึ่งต้องใช้ทั้งฐานข้อมูล ความรู้  ปัญญา  และใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารและสร้างเครือข่ายที่มีพลัง
จัดระเบียบพลังที่กระจัดกระจายให้เป็นพลังร่วม สำหรับกลุ่มคนที่มีความตั้งใจดีหรือกลุ่มที่เรา กำลังเชื่อมสัมพันธ์อยู่นั้นต้องร่วมกันคิด ตั้งหลัก จัดระเบียบพลังที่กระจัดกระจายให้เป็นพลังร่วม  มุ่งพลังไปที่พลังของเรา  มีเวลาครุ่นคิด ใคร่ครวญ  สนทนากับตนเอง  ตั้งคำถามใหม่ ๆ ให้กับตนเอง  ซึ่งเราต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ตัวเราเองทำงานไปก็ต้องเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่และสั่งสมความรู้  พลัง  เพื่อนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น รับมือกับสถานการณ์ที่ผกผันของโลกอนาคตได้ การตั้งคำถามง่าย ๆ  ช่วยให้เรากลับมามีสติอยู่กับตนเอง  “อะไรคือความสุข ทำไมเราถึงมีความสุข? การชวนคุยเรื่องความสุขเป็นการชวนพวกเราทุกคนให้หันกลับมาดูตนเอง ทบทวนตนเอง  มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ใคร่ครวญกับสิ่งที่เราพบเจอ  และให้เราได้เห็นว่าสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรานั้นล้วนมีพลัง  พลังต่าง ๆ อยู่รายรอบตัวเรา ความสุขอยู่ใกล้ตัวเรา  เพียงเราตั้งใจเปิดรับพลังที่อยู่รายรอบจะช่วยโอบอุ้มเรา  ความรัก ความอบอุ่นมีอยู่ทุกที่เพียงเราเปิดรับสิ่งต่าง ๆ ขอเพียงเราหาเวลาในการใคร่ครวญตนเองอยู่เสมอ เป็นความท้าทายที่ช่วยให้เราได้ตรวจสอบความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับเราและให้เรารู้ตัวรู้ตนเข้าใจตนเองมากขึ้น ฟังเสียงตนเอง ฟังเสียงเพื่อน ทำให้เกิดปัญญาและเกิดความรู้ใหม่ การได้มีโอกาสตั้งใจฟังคำถามที่อาจารย์ได้ชวนคิดใคร่ครวญ  ทำให้เราแต่ละคนได้มีโอกาสฟังความคิดของผู้อื่นซึ่งแต่ละคนได้ตอบตามความรู้สึกที่เกิดขึ้น  เมื่อฟังคำตอบจากผู้อื่นแล้วกลับช่วยให้เราได้สัมผัสกับคำตอบของเราด้วยความรู้สึกของเราเองด้วย  การตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง  ฟังเพื่อเข้าใจ  ใส่ใจ ทำให้เราได้ฟังเสียงตนเองขณะที่เราสนทนาซึ่งต้องมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ การสนทนาต้องนำไปสู่การสร้างคุณภาพใหม่    ทำให้เกิดปัญญาและเกิดความรู้ใหม่ ๆ  เราเป็นศิษย์และเป็นครูไปด้วยกัน การทำงานท่ามกลางความไม่สมบูรณ์  การทำงานของพวกเราที่ผ่านมาหลาย ๆ ครั้งเราจะพบกับความไม่สมบูรณ์แบบ  แม้ว่าบางเรื่องจะมีการเตรียมการเป็นอย่างดีแต่ก็มีปัญหาอุปสรรคเข้ามาขวาง  ดังนั้นการทำงานของเราต้องมีสติ  รู้จักพลิกแพลง  ยืดหยุ่น เราต้องอยู่ได้ท่ามกลางความไม่สมบูรณ์  อย่าปล่อยให้ความไม่สมบูรณ์ทำร้ายเรา  เราต้องเล่นกับสถานการณ์ที่เป็นจริง  อะไรจะเกิดเราห้ามไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้เกิด  แต่จงมีสติ ตั้งหลักให้ได้อย่าหวั่นไหวฝ่าข้ามไปให้ได้ท่ามกลางความไม่สมบูรณ์

วันที่ 24  มกราคม 2560 สมาธิภาวนา...สร้างสนามพลังแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน เช็คอิน  สนทนายามเช้า (กระบวนการ  ผู้เข้าร่วมที่อยากจะแบ่งปันการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  บอกเล่าแบ่งปันให้เพื่อนได้รับทราบด้วยบรรยากาศสบาย ๆ ) คุณปรีชา  อูยตระกูล  ฉุกคิดเรื่องการรบครั้งหน้า จะเป็นการรบครั้งสุดท้าย  ในฐานะนักรบที่อยากจะเห็นสิ่งดี ๆ เรารบอย่างต่อเนื่องเพื่อการเปลี่ยนแปลง  การรบของเรา...ไม่มีครั้งสุดท้าย คุณทวีศักดิ์  สุขรัตน์  สังเกตเห็นว่าการพุดคุยของพวกเราใช้ภาที่มีพลัง ปลุกเร้า ให้กำลังใจ  การรบครั้งสุดท้ายบอกให้เรารู้ว่าเราไม่มีเวลาอีกแล้ว  พลังทางจิตวิญญาณเป็นพลังแห่งกายที่สัมผัสได้จากสิ่งรอบข้าง  เราจะชนะ  ใจเราและสิ่งรอบข้างที่ดำลังเข้ามา คุณรัตนา  ชูแสง  ฉุกคิดเรื่องการรบครั้งสุดท้าย  มองว่าการรบครั้งสุดท้ายไม่ใช่การรบเพียงเพื่อเราอยู่รอดแต่การรบครั้งสุดท้ายเป็นการรบเพื่อปกป้องแผ่นดินทีมีเถ้าถ่านของบรรพบุรุษ คุณนิวัตร์  โฮ้เต้กิ้ม  เรื่องอะไรที่เราไม่รู้แต่มีสัญญาณบางอย่าง    การยังคงอยู่ของภูมินิเวศน์อันศักดิสิทธิ์  การสร้างเครือข่ายเล็ก ๆ ให้เติบโต  มีพลัง  มีความศักดิ์สิทธิ์ คุณบุญธรรม  เทอดเกียรติชาติ  เรื่องพิธีกรรมไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่เดี่ยว ๆ แต่มีความเชื่อมโยงกับจารีต  ปัจจุบันเห็นได้ว่าเรากำลังเลี้ยงลูกแบบนกกาเหว่า  ไข่ให้แม่กาฟัก  เราเองก็ส่งลูกไปให้โรงเรียนดูแลตั้งแต่เด็ก  อยากชวนมองเรื่

 

30 20

19. เวทีเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศรีวิชัยสู่การสร้างพลังทางสังคม

วันที่ 22 มกราคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในหัวข้อ "ทำไมการศึกษาประวัติศาสตร์และคุณค่าความหมายของสังคม การเมือง วัฒนธรรมศรีวิชัย"  และลงพื้นที่เขาศรีวิชัย บันทึกเทป รายการล้อมวงคุย 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เวทีเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศรีวิชัยสู่การสร้างพลังทางสังคม  มีเป้าหมายเพื่อเชิญชวนกลุ่มคนที่ทำงานทางสังคมมาร่วมเรียนรู้รากเหง้าประวัติศาสตร์ศรีวิชัยซึ่งเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความรุ่งเรืองในอดีตที่มีพลัง คุณค่า ความหมาย มาปรับใช้ในการสร้างพลังทางสังคมและการขับเคลื่อนงานทางสังคมต่อไป หัวข้อที่เราร่วมสนทนา คือ ทำไมการศึกษาประวัติศาสตร์และคุณค่าความหมายของสังคม การเมือง วัฒนธรรมศรีวิชัย จึงมีความหมายในการสร้างขบวนการนักรบพลเมืองในภาคใต้  การสนทนาครั้งนี้เป็นการพบเจอกันของคน  3 วัย 3 รุ่น ร่วมเรียนรู้ learn how to learn and learn how to coach  ร่วมสนทนากันด้วยบรรยากาศแห่งเพื่อนมิตร  ครู ศิษย์  ผ่อนคลาย สบาย ๆ แต่ได้พลังสาระความรู้สู่การนำไปใช้ขับเคลื่อนงานทางสังคม  เริ่มต้นเปิดวงคุยโดยการเชิญอาจารย์บุญธรรม  เทิดเกียรติชาติ  ขับบทกลอนปลุกพลังคาถาพระโพธิสัตว์และเส้นทางนักรบศรีวิชัย  จากนั้นคณะผู้เข้าร่วมช่วยเล่าเรื่องราวศรีวิชัยในอดีตและการเชื่อมโยงกับปัจจุบัน    ตลอดช่วงระหว่างการสนทนาอาจารย์ชัยวัฒน์  ถิระพันธุ์  ได้ช่วยตั้งคำถามชวนให้ผู้เข้าร่วมได้มองเห็นสิ่งดี มีพลัง คุณค่า ความหมายในอดีตที่แต่ละคนมองข้ามไป  เพื่อตั้งหลักอย่างมีสตินำบทเรียนที่มีค่าในอดีตมาปรับใช้กับปัจจุบัน ก่อนจะเคลื่อนต่ออย่างมีพลังเพื่อร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้ง เกิดวงคุยผ่านรายการ “กินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้”

 

50 1

20. เวทีเสวนา สมุยโมเดล “เตรียมวางแผนกิจกรรมเดินรอบเกาะ”

วันที่ 23 มกราคม 2561 เวลา 08:00-17:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่เพื่อทำคลิป รณรงค์ ประเด็นการจัดการขยะ ถ่ายทอดสดและบันทึกเทป เพื่อมาออกรายการ กินอิ่ม  นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต (Output) ในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสื่อชุมชนท้องถิ่น

ผลลัพธ์ (Outcome) คนในพื้นที่ได้มีโอกาสได้สื่อสารและได้แลกเปลี่ยนผ่านช่องทางสื่อสารของชุมชนตนเอง

 

30 2

21. เวทีถกเถียงสาธารณะ ”เสวนาการจัดการน้ำเมืองคอน ทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม “

วันที่ 26 มกราคม 2561 เวลา 09:00 - 16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.พระมหาบุญธรรม เจ้าอาวาสวัดท้าวโคะอ.พรหมคีรี เล่าความเป็นมาเมืองนครศรีธรรมราช 2. เวทีถกเถียงสาธารณะ  "การจัดการน้ำเมืองคอน ทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม" ผู้เข้าร่วมเสวนา     1. ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน จังหวัดนครศรีธรรมราช     2. อาจารย์สุธีระทองขาวอารจารย์จากมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช     3. ตัวแทนต้นน้ำ คุณศิริภัคนาคบาศว์     4. ตัวแทนกลางน้ำ โดยณัฐวีร์ภูมี     5. ตัวแทนปลายน้ำ โดย อาจารย์นิเวศน์วนคุณากร นำสานเสวนาโดย ดร.มัลลิกาสุบงกฎ อาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำประเด็นธรรมมะกับ พระมหาบุญธรรม เจ้าอาวาสวัดท้าวโคะอ.พรหมคีรีความเป็นมาเมืองนครศรีธรรมราช ในอดีตมีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ ที่ตะวันตกนิยมเรียกกันมาจนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต ทรงมีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่" สืบทอดมาจาก ลังกาวง และเป็นแม่บทให้กับสุโขทัยในแบบธรรมศาสตร์ เวียง วัง คลัง นา
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการแก้ไขการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ใหม่ นครศรีธรรมราชได้เปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2439จนกระทั่งได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงได้ยุบมณฑล นครศรีธรรมราชลงเป็นจังหวัดหนึ่งของราชอาณาจักรไทย และดํารงฐานะดังกล่าวเรื่อยมา จนปัจจุบัน นครศรีธรรมราชมีพื้นที่เป็นเนินทราย เช่น โมคลาน หาดทรายแก้ว การะเกด ตอนกลางนคร ท่าเรือไปการะเกด ท่าแพไปโมคลานตะวันตกเป็นภูเขาสูง เขา ป่า นา เล มีเรือเหนือ เรือใต้ ล่องจากปากพนังขึ้นไปกำโลน ได้มีการเอาปลาแห้ง กะปิ ไปแลกข้าว แลกผลไม้มีคลอง 4 สาย ผ่านตัวเมืองนครคูพาย ป่าเหล้าหน้าเมือง ท่ามอญ ไปออกอ่าวปากนคร ฤดูน้ำพ่าน้ำในคลองทุกสายจะเชื่อมต่อถึงกันทั้งหมด

เสวนาถกเถียงสาธารณะ“การจัดการน้ำเมืองคอน ทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม” ผู้เข้าร่วมเสวนา 1. ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2. อาจารย์สุธีระทองขาวอารจารย์จากมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช 3. ตัวแทนต้นน้ำ คุณศิริภัคนาคบาศว์ 4. ตัวแทนกลางน้ำ โดยณัฐวีร์ภูมี 5. ตัวแทนปลายน้ำ โดย อาจารย์นิเวศน์วนคุณากร นำสานเสวนาโดย ดร.มัลลิกาสุบงกฎ อาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

• สถานการณ์น้ำของเมืองนครเป็นอย่างไร ผอ.ชลประทาน จังหวัดนครศรีธรรมราชมีการใช้น้ำในส่วนของการเกษตร การประปา ปัจจุบันสถานการณ์น้ำในจังหวัด ได้มีการพัฒนา พื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มี 23 อำเภอ มีพื้นที่ 6 ล้านไร่เศษ มีพื้นที่ที่ทำการเกษตรได้ 3 ล้านไร่เศษ และเป็นพื้นที่ที่ใช้น้ำจำนวนมากในช่วงฤดูแล้งในบางปีจะมีปัญหามากมายจะขาดแคลนน้ำ พื้นที่ชลประทานมีประมาณ 8 แสนไร่เศษ ปัญหา 1. การพัฒนาแหล่งน้ำดำเนินการช้าเมื่อเทียบกับที่อื่น 2. การบริหารจัดการน้ำยังไม่คลอบคลุม/หลายหน่วยงานไม่มีการร่วมมือกัน รวมถึงภาคเอกชน การพัฒนาพื้นที่ชลประทานในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชมีแหล่งน้ำหลักๆคือ 1. อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำไส อ.ชะอวด เก็บน้ำได้ 8 ล้าน ลบ.ม. 2. อ่างเก็บน้ำอ.พิปูนสามารถเก็บน้ำได้จำนวนมาก มีประโยชน์ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน 3. อ่างเก็บน้ำคลองดินแดงอ.พิปูน เกิดขึ้นเนื่องจากการเกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงในปี 2531 ปัจจุบันหน้าแล้งเก็บน้ำได้ 60 ล้านลูกบาทเมตร ไปใช้ในพื้นที่รอบๆอ่างเก็บน้ำ 4. อ่างเก็บน้ำเสม็ด อ.ทุ่งใหญ่ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ใช้สำหรับอุปโภค บริโภค แผนงานของชลประทานในปี 61 อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน โครงการของชลประทานต้องชะลอไว้ก่อนพื้นที่เกษตรจำนวน 3 ล้านไร่ ต้องมีการใช้น้ำจำนวนมหาศาล แต่ละหน่วยงานแบ่งกันทำ ทำให้เกิดความล่าช้าในการบริหารจัดการน้ำ

สถานการณ์น้ำในปัจจุบันของพื้นที่ต้นน้ำ โดย นางศิริภัคนาคบาศ พื้นที่ต้นน้ำคีรีวง มีสภาพสมบูรณ์มากในอดีต มีปัญญาเรื่องน้ำหลากซึ่งเป็นปัญหาที่น่ากลัวมาก ตั้งแต่ปี 35 จนถึงปัจจุบัน มีเพียงปี 2554 มีเหตุการณ์น้ำท่วมหนักมากใน จ.นครศรีธรรมราช ท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ ปลายปี 59 มีน้ำท่วมมากเช่นกัน ท่วมเป็นเวลานาน 4 วัน ปลายปี 60 เจอเหตุการณ์น้ำท่วมในวันที่ 6 มกราคม มีปริมาณน้ำฝนมาก ปริมาณน้ำฝนรวมของปี 54 และ 60 จะเห็นว่าปี 60 มีปริมาณน้ำมากกว่าปี 54 แต่ในปี 60 น้ำไม่ท่วมในเขตตัวเมืองด้านใน

สถานการณ์น้ำในปัจจุบันของพื้นที่กลางน้ำ โดยนายณัฐวีร์ภูมี พื้นที่กลางน้ำรับน้ำมาจากต้นน้ำคือคีรีวง เป็นพื้นที่น้ำท่วมหลาก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติ มีพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลแค่ 20-30 เมตรเป็นพื้นที่ราบลุ่มปัจจุบันปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังเกิดจากการสร้างถนน สมัยก่อนมีการเตรียมตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์น้ำท่วมปัญหาอีกเรื่องคือหลักจากฤดูน้ำหลากผ่านไป เพียงแค่ 1 เดือนก็เกิดปัญหาน้ำแล้งขาดน้ำปัจจุบันมีการสร้างนบ เพื่อกักเก็บน้ำรวมถึงการสร้างฝายขึ้นมาเพื่อคงความสมบูรณ์ของพื้นที่ มีการแก้ปัญหาในระบบนิเวศน์ โดยการใช้คลองธรรมชาติในการกักเก็บน้ำ ปัจจุบันน้ำในบ่อดินที่หายไป ได้มีการฟื้นตัวมีน้ำจากบ่อดินใช้ในการดำเนินชีวิต
แนวทางรับมือกับเหตุการณ์น้ำท่วมและน้ำแล้ง ต้องมีการคิดถึงการแก้ไข เมื่อมีน้ำท่วมให้คิดถึงการแก้ไขในช่วงน้ำแล้ง เมื่อน้ำแล้งให้คิดถึงการแก้ไขในเวลาน้ำท่วม

สถานการณ์น้ำในปัจจุบันของพื้นที่ปลายน้ำ (อ.นิเวศน์) ปัจจุบันหาคนที่จะมาพัฒนาบ้านเมืองได้น้อยลงต้องมีการชักจูงลูกหลานคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจกับเหตุการณ์บ้านเมืองให้มากขึ้นเพื่อร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
การจัดการต้องให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันของโลก ปัญหาคือกรมชลประทานคิดจะผันน้ำไม่ให้ท่วมเมืองนครแต่เป็นการผันน้ำไปลงในบริเวณก้นอ่าวเมืองปากพนัง มีการใช้งบประมาณจำนวนเป็นหมื่นล้าน มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับชาวปากพนัง เมื่อเกิดน้ำทะเลหนุนสูง เกิดมรสุมน้ำทะเลจะอัดเข้าไปในเมืองปากพนัง ชุมชนรอบอ่าวปากพนังน้ำทะเลหนุนสูงอัดเข้าท่วมเมืองปากพนังการผันน้ำจะทำให้น้ำท่วมถนนจากเมืองนครไปปากพนัง เส้นทางจะถูกตัดขาด การจราจรจะมีปัญหามาก ทำให้คลองต่างมีน้ำท่วมขังมากมาย ภาครัฐและประชาชนไม่ให้ความสนใจ /ไม่ใส่ใจ
แนวทางแก้ไข 1. หน่วยงานรัฐต้องมีการทำข้อมูลของพื้นที่นั้นๆ ในการจะพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. พื้นที่ปลายน้ำ ภาครัฐเป็นคนถืองบประมาณและกำหนดแนวทางในการพัฒนา เมื่อมีการเชิญชาวบ้านให้แสดงความคิดเห็น ก็ไม่นำความคิดเห็นของชาวบ้านมาเป็นข้อคิดเห็นในการดำเนินโครงการในระบบนิเวศน์ของธรรมชาติคิดทำแค่เรื่องเดียวจะกระทบไปทั้งหมด วิธีแก้น้ำท่วมเมืองนคร

ปัญหาสำคัญในการบริหารจัดการน้ำคือการมีส่วนร่วมในการจัดการ ปัจจุบันในตัวเมืองนครมีการบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างไร การบริหารจัดการน้ำสิ่งที่สำคัญคือนครจะเดินไปในทิศทางไหน ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี มีแนวทางที่ชัดเจนโดยเฉพาะในตัวเรื่องของผังเมืองเป็นสิ่งที่สำคัญมากแต่เมืองนครยังไม่มีการประกาศใช้ผังเมืองอย่างเป็นรูปแบบที่ชัดเจนรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ต้องมีการปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับการเปลี่ยนแปลง ต้องมีวิถีชีวิตของคนในอดีตควบคู่ไปกับปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่โดยไม่สนในและใส่ใจว่าสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ต้องตระหนักว่าปัจจุบันเรามีการดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้ปัจจัยความเสี่ยงมากมายพื้นที่ต้นน้ำ/กลางน้ำ/ปลายน้ำ ต้องมีการเอื้ออาทรกัน ภาคใต้มีลักษณะเป็นลุ่มน้ำย่อยๆ และทีทางน้ำระยะสั้น มีเทือกเขาหลวงเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้มีทางน้ำที่ชันสูงมาก เราต้องมีความเข้าใจในบริบทของน้ำ ต้องมีการพิจารณาว่าสิ่งไหนที่เสี่ยงและเราสามารถที่จะเรียนรู้และอยู่กับมันได้หรือไม่ ปัจจุบันการสร้างบ้านครัวเรือน ทุกคนจะไม่สนใจในเรื่องของการกักเก็บน้ำ เน้นแต่การใช้น้ำประปา ทำให้เกิดปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง

ข้อเสนอแนะจากทางบ้าน 1.ต้องมีการรวมตัวกันของคนในพื้นที่
2.ต้องสำรวจหาพื้นที่เพื่อขุดคลองสายใหม่ให้น้ำไหลลงสู่ทะเล 3.แก้ปัญหาที่เป็นปัจจุบัน ข้อนำเสนอจากผู้เข้าร่วม เมืองนครศรีธรรมราช มี 3 เทือกเขา 1. เทือกเขาปู่เขาย่า จะไหลลงสู่ห้วยน้ำใส และตัวเมืองชะอวด 2. เทือกเขาหลวงไหลลงสู่อ.ท่าศาลา และอ.เมือง 3. เทือกเขานัน จะไหลลงสู่คลองเสาธง ร่อนพิบูลย์
เมื่อช่วงฤดูน้ำหลาก ให้มีการเปิดเขื่อนให้หมด ในการแก้ไขต้องมีการสร้างคลองลัด
4. ต้องมองถึงระบบของการจัดการน้ำเป็นอย่างไรในแต่ละภูมินิเวศน์
5. เรียกร้องให้มีการสำรวจใหม่ ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการออกแบบ ต้องมีการคิดเห็นจากชาวบ้านก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการ ชาวนครฯจะมีส่วนร่วมและร่วมมือกันอย่างไรในการบริหารจัดการน้ำอย่างไรอย่างยั่งยืน
1. พื้นที่ปากพนัง(ปลายน้ำ)เป็นพื้นที่เพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ เกิดจากการไปแย่งพื้นที่แก้มลิง เสนอให้ขุดคลองเพิ่มเพื่อส่งน้ำไปสู่แปลงเกษตร 2. พื้นที่กลางน้ำน้ำมีความจำเป็นในการทำการเกษตร การอุปโภคบริโภค พื้นที่กลางน้ำมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะคลองท่าดีแก้ปัญหาโดยการสร้างฝายในคลองท่าดีที่ต.ไชยมนตรีเสนอให้พื้นที่ของ ต.ไชยมนตรีมีฝายตลอดลำคลองท่าดี เพื่อเป็นการชะลอน้ำและกักเก็บน้ำ 3. พื้นที่ต้นน้ำเสนอให้มีการกักเก็บน้ำไว้ด้านบนต้องมีการวิจัยในเรื่องของการไหลของน้ำพื้นที่ต้นน้ำมีฝาย 6 ตัว แต่ตอนนี้ไม่มีเหลือเนื่องจากพังจากโดนน้ำท่วมครั้งล่าสุด ต้องสร้างฝายในพื้นที่ต้นน้ำให้มากที่สุด กรณีโครงการบรรเทาอุทกภัยของจังหวัดนครศรีธรรมราช 9,000 ล้าน สิ่งที่ชาวบ้านต้องการ 1. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นใหม่ 2. ต้องมีแผนฟื้นฟูระบบนิเวศน์ 3. ต้องมีการประเมินศักยภาพของโครงการ 4. ปรับปรุงโครงการให้มีความสอดคล้องและละผลกระทบให้มากที่สุด 5. วิธีการแก้ปัญหาที่ดีต้องมีความเข้าใจในบริบทของพื้นที่ การแก้ปัญหาของชลประทาน 1. เจรจา พูดคุย พบปะชาวบ้าน ใช้เวลาในการสำรวจความเสี่ยงต่างๆ หรืออาจใช้กฎหมายบังคับ 2. ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม สอบถามข้อมูล 3. เมื่อสร้างเสร็จต้องเข้าไปติดตาม ดูแล 4. จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ 5. ใช้หลัก 4 ประสาน ผู้นำท้องที่/ท้องถิ่นชลประทานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สมาชิกผู้ใช้น้ำ ในมุมองของนักวิชาการสามารถมีการบูรณาการนำมุมมองต่างๆมาประยุกต์ร่วมแก้ไข 1.ต้องเรียนรู้ว่าระบบนิเวศน์ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำดินสามารถใช้เป็นที่กักเก็บน้ำได้ด้วย รวมถึงพืชในบางชนิด ต้องมีการปลูกป่าและต้นไม้ การบริหารจัดการน้ำไม่ใช่เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งต้องมีการร่วมมือและบูรณาการร่วมกัน

บทวิเคราะห์สรุปสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ พบว่าพื้นที่ต้นน้ำ ปริมาณน้ำมีมากแต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำตลอดทั้งปี ไม่มีระบบกักเก็บน้ำ ชะลอ, รักษาที่มีคุณภาพและไม่เข้าใจระบบนิเวศน์ ขาดกฎเกณฑ์การใช้น้ำ มีการแก้ปัญหาน้ำแบบไม่มีส่วนร่วม ป่าต้นน้ำลดปริมาณลงการปลูกพืชเปลี่ยนสภาพเป็นการปลูกพื้นเชิงเดี่ยว การกัดเซาะตลิ่งทรายจากตลิ่งที่พังทำให้ลำน้ำตื้นเขิน พื้นที่กลางน้ำ ทรายกอง คลองแคบ ต้นเลารุกคลอง น้ำเปลี่ยนทิศทาง ลักลอบขายทรายแบบแยบยล “ขุดบ่อล่อทราย”ถนนขวางทางน้ำคลองหายไปจากเดิม ขยะในลำคลอง น้ำไม่พอใช้ในการอุปโภค และพื้นที่ปลายน้ำน้ำเค็มรุกน้ำจืด น้ำไม่เพียงพอในการอุปโภค ขาดเจ้าภาพในการจัดการ น้ำเสียจากชุมชนเมือง ทะเลงอกผิดทางน้ำ ความต้องการแก้ปัญหา 1. การสร้างนบ เพื่อกักเก็บน้ำรวมถึงการสร้างฝายขึ้นมาเพื่อคงความสมบูรณ์ของพื้นที่ 2. การใช้คลองธรรมชาติในการกักเก็บน้ำ 3. สร้างความเข้าใจในเรื่องของการกักเก็บน้ำให้กับชาวบ้านในพื้นที่ 4. หน่วยงานรัฐต้องมีการทำข้อมูลของพื้นที่นั้นๆ ในการจะพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5. ให้มีการประกาศใช้ผังเมืองอย่างเป็นรูปแบบที่ชัดเจนผ่านการทำประชาคมอย่างแท้จริง 6. มีการปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับการเปลี่ยนแปลง ต้องมีวิถีชีวิตของคนในอดีตควบคู่ไปกับปัจจุบัน 7. มีความเข้าใจในบริบทของน้ำ

 

200 200

22. เวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่

วันที่ 28 มกราคม 2561 เวลา 08:00-17:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

        เป็นเวทีแลกปลี่ยนความคิดเห็น  เสนอแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจ โดยในเวทีดังกล่าวได้มีประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping หรือ ค.1) โครงการโรงไฟฟ้า พลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) ตามขั้นตอนกฎหมาย เปิดให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมแสดงความเห็นอย่างเปิดกว้าง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในขั้นตอนการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพ (EHIA) ครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวลเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างแท้จริง 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

        ชาวกระบี่ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังและนำเสนอความคิดเห็นหลากหลายมุมมองในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ค.1 โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) กว่า 2,500 คน ซึ่งข้อคิดเห็นทั้งหมด บริษัท แอร์เซฟ จำกัด จะนำไปกำหนดขอบเขต และหามาตรการป้องกันและแก้ไขตามที่ประชาชนห่วงกังวล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งต่อไป       วันนี้ (28 มกราคม 2561) นางมีนา พิทยโสภณกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอร์เซฟ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ขอขอบคุณชาวกระบี่ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง แสดงความคิดเห็นและข้อวิตกกังวล รวมทั้งสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ ในเวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping หรือ ค.1) ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตั้งแต่เวลา 13.00 - 17.00 น. ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีชาวกระบี่และผู้สนใจทุกภาคส่วนเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น จำนวน 2,630 คน โดยมีผู้แจ้งแสดงความคิดเห็นด้วยวาจา จำนวน 57 คน สำหรับประชาชนที่ร่วมนำเสนอความคิดเห็นบนเวที ส่วนใหญ่เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อห่วงกังวลต่อการขยายเขตของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านจิตใจและวิถีชีวิตของชุมชน และด้านการสื่อสารข้อมูลโครงการควรบอกทั้งข้อดีและข้อด้อยไปพร้อมกัน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลรอบด้านในการตัดสินใจ เป็นต้น โดยข้อคิดเห็นของประชาชนทั้งหมด บริษัท แอร์เซฟ จำกัด จะนำไปกำหนดขอบเขตและหามาตรการเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมข้อห่วงกังวลของประชาชนในพื้นที่ทั้ง 4 ตำบล ได้แก่ ต.คลองขนาน ต.ปกาสัย ต.คลองท่อมใต้ และ ต.โคกยาง และหลังจากนี้จะเป็นการทำ ค.2 (Public Screening) โดยการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์และพูดคุยกับกลุ่มประชาชนในพื้นที่ศึกษาอย่างใกล้ชิด หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการทบทวนและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรายงาน EHIA หรือ ค.3 (Public Review) ต่อไป         ด้านว่าที่ พ.ต. อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ขอขอบคุณชาวกระบี่ที่ให้ความสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรายงาน EHIA ตั้งแต่ต้น ที่มารับฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างเนืองแน่น ซึ่งข้อคิดเห็นของท่านจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โดย กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษาจะนำไปกำหนดกรอบการจัดทำแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในการจัดทำ ค.2 และ ค.3 เพื่อให้การจัดทำรายงานมีความถูกต้องครบถ้วน และเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวลอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า กฟผ. มุ่งมั่นในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและชุมชนเป็นสำคัญ เพื่อให้โรงไฟฟ้าสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่าง เป็นมิตรอย่างแท้จริง ชุมชนโดยรอบพื้นที่โรงไฟฟ้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

2,500 3

23. เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการพลังการสื่อสาร เผยเเพร่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสู่การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะ

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09:00:16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.สื่อสารอย่างไร  ให้เข้าถึงหัวใจผู้คนและสร้างพลังขับเคลื่อน โดย  ดร.บุญธรรม  เทอดเกียรติชาติ  ศิลปินพื้นบ้านหนังตะลุง มหาวิทยาลัยชุมชนศิลปินพื้นบ้านศรีวิชัย 2.บรรยายเกี่ยวกับ ระบบสุขภาพไทยสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ    โดยนายแพทย์อนุสรณ์  ศิริโชติ  ผู้อำนวยการ สปสช. เขต 11  สุราษฎร์ธานี 3.เรียนรู้หัวใจสำคัญเพื่อการสื่อสาร โดยแบ่งกลุ่มย่อย เป้น 2 กลุ่ม         กลุ่มที่ 1  การเข้าถึงและใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ         กลุ่มที่ 2  กองทุนสุขภาพท้องถิ่น  พลิกฟื้นสุขภาวะชุมชน 4.การใช้เทคโนโลยี  สมาร์ทโฟน  เพือการสื่อสาร  สังคม  (ชวนคุยและการปฏิบัติการ)  โดย คุณอานนท์  มีศรี นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช/บก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ 5.แลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนและปฏิบัติเทคนิคการสื่อสารต่อสังคม 4 รูปแบบ       -    การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์       -    การผลิตภาพเคลื่อนไหว/เทคนิค ถ่ายทำตัดต่อ MOJO       -    การใช้สื่อสมาร์ทโฟน       -    การใช้สื่อโซเซียลมีเดีย 6.สรุปบทเรียนสำคัญในการสื่อสารเผยแพร่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสู่การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะ 7.ภารกิจสื่อสารเวที  กองทุนสุขภาพท้องถิ่น พลิกฟื้นสุขภาวะชุมชน 8.กลุ่มย่อยและประชุมกองบก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ ในการจัดทำแผนปฏิบัติการสื่อสารเผยแพร่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
9.สรุปผลการจัดเวทีและนัดหมายภารกิจในครั้งต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.สะท้อนปัญหาการดำเนินงานภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ ที่ยังไม่สามารถสร้างความเข้าใจ และเกิดการนำไปใช้ประโยชน์ตามสิทธิของประชาชนที่ควรจะได้ และการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญที่สามารถสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และการเข้าถึงสิทธิ์ ของประชาชน
2. การนำเทคปฏิบ้ติการสื่อสารในรูปแบบต่างให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้มีทางเลือก และวิธีคิดในการสร้างเนื้อหาการสื่อสาร ให้กับกลุ่มเป้าหมายตรงตามความต้องการ
3. ผู้บริหารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพให้ความสนใจกับการสื่อสารในรูปแบบใหม่ใช้เป็นเครื่องมือที่สามารถให้ทุกคนรับรู้ข่าวสาร
4. การสะท้อนปัญหาและมุมมองจากกลุ่มย่อย นำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสาร ที่ใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมาย และสร้างการเข้าถึงสิทธิได้มากขึ้น ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากกองทุนหลักประกันสุขภาพได้มากขึ้น

 

15 15

24. เวทีเชื่อมโยงเครือข่ายสื่อจังหวัดตรัง

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09:00 - 16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.นำเสนอ ภาพรวมสถานการณ์ สื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะภาคใต้ 2.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สื่อ ภายใต้สถานการณ์ ใคร ทำอะไร  ที่ไหน  อย่างไร 3.วางแผนการทำงานร่วมกันในระยะที่ 2และลงพื้นที่ปฏิบัติการ เรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ fb live

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เครือข่ายสื่อจังหวัดตรัง ที่มีแกนนำหลักคือคุณชัยพร จันทร์หอม ได้นำเครือข่ายสื่อชุมชนในพื้นที่จังหวัดตรัง เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การสื่อสารท่แต่ละคนทำอยู่ เช่นนักจัดรายการวิทยุ คุณครูในโรงเรียนของชุมชน รวมถึงนักเรียนที่ต้องการเห็นและให้การสื่อสารเอื้อประโยชน์ต่อพวกเขาอย่างไร
  2. จัดรายการล้อมวงคุย สื่อสารผ่านช่องทาง เฟสบุคไลฟ์ เพจสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ และให้สมาชิกที่เข้าร่วมกดไลค์กดแชร์ โดยใช้เรื่องราว การจัดการท่องเที่ยวของชุมชน ต.เขาหลัก อ.นาโยง จังหวัดตรัง ที่มีจุดเด่นเรื่องความสวยงามของสถานที่ และมีประวัติศาสตร์ที่คนในพื้นที่ให้ความสำคัญร่วมและเป็นจุดที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีโรงเรียนคณะครู เป็นสถาบันท่ให้การส่งเสริม ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์
  3. เกิดเครือข่ายสื่อสร้างสุขเพิ่มขึ้นในจังหวัดตรัง และมีการทำข้อตกลงเพื่อสนับสนุน และกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนร่วมกัน

 

20 18

25. เวทีประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09:00:16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จังหวัดชุมพร ร่วมกับเครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดชุมพร ประสานกับกองบก.สื่อ ส่วนกลาง เพื่อสนับสนุนการดำเนินการสื่อสาร ในเวทีถอดบทเรียนประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
2.ประสานเครือข่ายสื่อส่วนกลาง กำหนดวัน เวลา สถานที่ และวางแผนการดำเนินงาน  เพื่อจัดทีมสื่อในการลงพื้นที่ถ่ายทำและถ่ายทอดสดในระบบทีวีออนไลน์ ผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผลของการจัดเวทีและเนื้อหาจากการสรุปจากการจัดเวที       ส่วนหนุนเสริม เติมเต็ม (ระดับจังหวัด) • เกิดนโยบายด้านการลดปัจจัยเสี่ยงระดับจังหวัดชุมพร และมีการบูรณาการงานด้านอุบัติเหตุ ความรุนแรง เป็นต้น • เกิดข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ต่อแผนพัฒนาจังหวัดชุมพร ด้านสุขภาพ • หน่วยงานราชการบรรจุเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในยุทธศาสตร์และมีแผนปฏิบัติการโครงการ

ส่วนสนับสนุน (ระดับอำเภอ) • เกิดการบรรจุในวาระหลักของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และมีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม • เกิดยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ • เกิดแผนปฏิบัติการโครงการของหน่วนงานที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ ส่วนปฏิบัติการ (ระดับชุมชน) • เกิดคณะทำงานชุมชน/กลุ่ม/ชมรม ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนในชุมชน • เกิดฐานข้อมูลสุขภาพของชุมชน • เกิดกฎ กติกา ชุมชน • เกิดระบบช่วยเลิกโดยชุมชน • เกิดการต่อยอดด้านอาชีพ เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

2.  การสื่อสารผ่านช่องทาง online onair ในขณะจัดเวทีผ่านเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ สร้างการรับรู้ให้กับผู้ชมในแต่ละจังหวัด

 

3 3

26. เวทีประเด็นอุบัติเหตุกับแผนพัฒนาจังหวัดระนอง

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09:00:16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดระนอง ประสานกับกองบก.สื่อ ส่วนกลาง เพื่อสนับสนุนการดำเนินการสื่อสาร ในเวทีถอดบทเรียนประเด็นปัจจัยเสี่ยงกับแผนพัฒนาจังหวัดระนอง 2.ประสานเครือข่ายสื่อส่วนกลาง กำหนดวัน  เวลา  สถานที่ และวางแผนการดำเนินงาน  เพื่อจัดทีมสื่อในการลงพื้นที่ถ่ายทำและถ่ายทอดสดในระบบทีวีออนไลน์  ผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช


ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผลลัพธ์ที่ได้ในเชิงคุณค่าที่เกิดขึ้นของโครงการ • ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งซึ่งกันและกัน • เกิดกลไกขับเคลื่อนที่มีการดำเนินงานทั้งด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น การบังคับใช้กฎหมาย งานบุญประเพณีปลอกเหล้า งานชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง งานสกัดนักดื่มหน้าใหม่ • เกิดการสร้างกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ลัพฒนาเป็นแผนพัฒนาจังหวัด และบรรจุในยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สสจ./ปภ./พมจ. • ภาคประชาสังคมสามารถลดปัญหาและอุปสรรค์ด้านการขาดงบประมาณในการดำเนินงาน เพราะสามารถบูรณาการด้านงบประมาณกับหน่วยงานรัฐได้ • หน่วยงานราชการสามารถลดปัญหาเรื่องความไม่คล่องตัวในการปฏิบัติงาน เนื่องจากข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากร เวลาปฏิบัติงาน เพราะภาคประชาสังคมจะมีความคล่องตัวสูงไม่ติดระเบียบราชการ

  2. การสื่อสารในรูปแบบ online onair onground นำมาใช้สื่อสารเรื่องในเวทีสู่สาธารณะผ่ายเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง

 

3 3

27. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดกระบี่ งวดที่ 2

วันที่ 12 มีนาคม 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดรายการ Facebook live
          -  บ้านนาตีน  งานตลาดสีเขียวท่องเที่ยวชุมชุมบ้านนาตีน,           -  บ้านนาตีน งานตลาดสีเขียวชุมชน “เวทีเสวนาอนาคตท่องเที่ยวโดยชุมชน”           -  ปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มผู้สูงวัย “ผู้สูงวัยรู้ทันสื่อ” อ.ปลายพระยา จังหวัดกระบี่           -  งานสร้างสุขภาคใต้           -  ปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มผู้สูงวัย “ผู้สูงวัยรู้ทันสื่อ” อ.เมือง จ.กระบี่           -  ปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มผู้สูงวัย “ผู้สูงวัยรู้ทันสื่อ” อ.เหนือคลอง จ.กระบี่           -  รายการพิเศษ กระบี่เซฟตี้ เรดิโอ ครั้งที่ 19 อนาคตการท่องเที่ยวกระบี่           -  ปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มผู้สูงวัย “ผู้สูงวัยรู้ทันสื่อ”           -  งาน GenZ Krabi Fun Ran สร้างสังคมปลอดบุหรี่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่
2.ดำเนินรายการ กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้ประเด็นท่องเที่ยวโดยชุมชน ปัจจัยเสี่ยง และ ประชาสัมพันธ์ งานสร้างสุขภาคใต้ 3.ผลิตสปอตจิงเกิ้ลรายการ กินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้
4.ผลิต voice over เปิดตัวพิธีกร งานสร้างสุขภาคใต้
5.ร่วมจัดเวทีแลกเปลี่ยน และข้อเสนอห้องย่อย ประเด็นจริยธรรมสื่อในงานสร้างสุขภาคใต้ 6.ร่วมกิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก 7.ร่วมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสุขภาวะ  แหล่องท่องเที่ยวปลอดบุหรี่ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 8.สนับสนุนการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ รายการกินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้ออกกาศทางสถานีวิทยุ FM 96 Mhz.Unity Radio

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต (Output): พัฒนารูปแบบการใช้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีวิธีการนำเสนอ การเผยแพร่ข่าวสารเชิงประเด็น ที่เป็นรูปแบบโดยการผสมผสานสื่อวิทยุท้องถิ่น และเชื่อมโยงกับสื่อใหม่คือ การเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย และการใช้เทคโนโลยี เชื่อมสัญญาณการออกอากาศเป็นเครือข่ายสื่อวิทยุของภาคใต้

ผลลัพธ์ (Outcome):
    1. เกิดองค์ความรู้จากประเด็นปัญหาในแต่ละพื้นที่  จากประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่งแวดล้อม โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ คือ องค์ความรู้จากชุมชนท่องเที่ยว/ จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง/ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจากนักวิชาการ     2. การเกิดความร่วมมือ ในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาในการดำเนินการด้านท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีการยกระดับ มาตรฐาน สู่การท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มีเป้าหมายสู่สังคมสุขภาวะ โดยเป็นผลจากการรับรู้ข้อมูล เป็นแรงกระตุ้นจากการสื่อสารสาธารณะ
    3. การเกิดความร่วมมือ ในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาในการให้ความรู้ในกลุ่มผู้สูงวัย ให้เกิดสุขภาวะที่ดีในกลุ่มผู้สูงวัย เป็นผลจากการรับรู้ข้อมูล เป็นแรงกระตุ้นจากการสื่อสารสาธารณะ
    4. เกิดองค์ความรู้จากประเด็นปัญหาในแต่ละพื้นที่ การรู้ทันสื่อของกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ จากประเด็นปัจจัยเสียง โดยผ่านกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับความรู้ ตระหนักถึงการใช้สื่อ รู้ทันสื่อ โดยเฉพาะสื่อใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน  เกิดองค์ความรู้/ จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง/ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจากวิทยากร     5. เกิดองค์ความรู้จากประเด็นปัญหาในแต่ละพื้นที่  จากประเด็นจริยธรรมสื่อ     6. เกิดองค์ความรู้จากประเด็นปัญหาในแต่ละพื้นที่ จากประเด็นปัจจัยเสียงนำไปสู่การพัฒนา เครือข่ายองค์ความรู้จากเครือข่ายปัจจัยเสี่งในพื้นที่/ จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง/ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจากนักวิชาการ     7. การเกิดความร่วมมือ ในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาในการดำเนินการด้านการควบคุมยาสูบ มีการยกระดับ มาตรฐาน สู่สังคมปลอดบุหรี่ ที่มีเป้าหมายสู่สังคมสุขภาวะ โดยเป็นผลจากการรับรู้ข้อมูล เป็นแรงกระตุ้นจากการสื่อสารสาธารณะ


 

5,000 5,000

28. ค่าธรรมเนียมการโอนและค่าธรรมเนียมเช็ค

วันที่ 15 มีนาคม 2561 เวลา 09:00:10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าธรรมเนียมการโอนและค่าธรรมเนียมเช็ค

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

29. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดตรัง งวดที่ 1

วันที่ 19 มีนาคม 2561 เวลา 09:00:16.00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นการจัดเวทีสาธารณะ "คนเมืองตรัง บ้านโคกออก ร่วมจัดการ ชุมชนอยู่ดีมีสุข"

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. กลุ่มแกนนำ มีการพัฒนาความรู้เรื่องการทำสื่อประชาสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น ในด้านการนำเสนอข้อมูลและเนื้อหาที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้คนลงมาท่องเที่ยวในพื้นที่ 2. แกนนำ มีการเชื่อมโยงกลุ่มเครือข่ายอื่นๆ เช่น กลุ่มเด็ก และเยาวชนให้ลงมาทำกิจกรรมในพื้นที่  ปลูกป่าชายเลน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ อนุรักษ์ธรรมชาติ

ผลลัพธ์ 1. ทางกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกออกได้มีการจัดการวางแผนงานด้านการท่องเที่ยว และพัฒนาผู้รับผิดชอบงานในกลุ่มชัดเจนขึ้น
2. พฤติกรรมทางกลุ่มรวมตัวกันเข้มแข็งมากขึ้น มีกลุ่มชุมชนองค์กร เดินทางมาท่องเที่ยวและศึกษาดูงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำรายได้มาสู่กลุ่มมากกว่าเดิม
3. สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังหน่วยงานท้องถิ่นได้เข้ามาสนับสนุน ความรู้และงบประมาณที่จะอำนวยความสะดวกให้พื้นทีท่องเที่ยวมีความสะอาดปลอดภัย 4. ทางกลุ่มได้ขยายพื้นที่ของขนาดแพ การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง ในชุมชน 5. ทางกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว มาดูงานและทำกิจกรรมในพื้นที่ เช่น อสม./  กลุ่มผู้นำจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / นักศึกษาและเยาวชนเดินทางมาทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลน

 

50 50

30. เวทีสาธารณะ“คนเมืองตรังบ้านโคกออกร่วมจัดการชุมชนอยู่ดีมีสุข”

วันที่ 19 มีนาคม 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประสานเครือข่ายสื่อสร้างสุขจังหวัดตรังเพื่อติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในประเด็นการขับเคลื่อนวิถีชมชนบ้านโคกออก
  2. เตรียมศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเนิ้อหาทีะจะชวนคุยแลกเปลี่ยนเพื่อให้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนงานวิถีชีวิตทีสำคัญที่ทำให้ชุมชนโคกออกอยากจะเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาเทียวในพื้นที่
  3. จัดเตรียมทีมงานและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในกระบวนการสื่อสาร
  4. เดินทางลงพื้นที่ จัดรายการ ในลักษณะเวทีสาธารณะเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วนได้ถกเถียง แสดงความเห็น เพื่อนำไปสู่การรับรู้ และการจัดการพัฒนาพื้นที่ต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.จุดเด่นของชุมชนบ้านโคกออกคือความรักสามัคคีในชุมชนเนื่องจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเครือญาติ 2. เป็นพื้นที่ที่ถือว่าระบบนิเวศน์ป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์ทะเลยังมีความสะอาดและความเป็นธรรมชาติทั้งเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชน 3. รายได้หลักของชุมชนมาจากอาชีพเกษตรและประมงชายฝั่ง สร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยในครอบครัวส่วนใหญ่สามีทำอาชีพประมง 4. ได้รับการช่วยเหลือจากพัฒนาชุมชน และ ฝ่ายนโยบายและแผนของอบต.หาดสำราญ ให้การสนับสนุนเชื่อมโยงโครงการ และการขับเคลื่อนนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน 5.ผู้นำชุมชนมีความรู้และสามารถดึงศักยภาพของคนและสภาพแวดล้อมต่างๆของชุมชนมาสร้างและพัฒนาให้เป็นชุมชนน่าอยู่และรักษาอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์ สร้างเป็นจุดขายให้กับนักท่องเที่ยวในอนาคตได้ 6. การใช้วิธีการสื่อสารโดยการนำผู้เกี่ยวข้องมาชวนคิดชวนคุยแลกเปลี่ยน ให้ผู้รับชมได้เห็นถึงกระบวนการสร้างชุมชนของชาวบ้านชุมชนโคกออกในขณะเดียวกัน เกิดความสนใจกับนักท่องเที่ยวที่นิยมธรรมชาติ ได้มีตัวเลือกและเข้ามาเยี่ยมชม 7 ชุมชนให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ธรรมชาติป่าชายเลน โดยการกำหนดกติกาการอยู่ร่วมกัน ไม่ทำลายป่าชายเลนและช่วยกันสอดส่องปกป้องป่าจากกลุ่มคนที่เข้ามาทำลายป่าชายเลนเพื่อเอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น

 

50 31

31. ประชุม กองบก. สื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 2

วันที่ 20 มีนาคม 2561 เวลา 08:00- 15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ทบทวนการเคลื่อนงานในพื้นที่ 2.นำเสนอข้อมูลงานสร้างสุขภาคใต้(งานวิชาการห้องย่อย) 3.เตรียมงานสร้างสุข  วางบทบาทหน้าที่(ห้องย่อยสื่อ)  รูปแบบห้อง  กิจกรรมในห้องย่อย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทบทวนการเคลื่อนงานในพื้นที่ โครงการ สวสต.เป็นการสนับสนนุนของสสส. ทำงานเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่ภาคใต้สื่อภาคประชาชนหรือสื่อชุมชนที่ทำหน้าที่เป็นนักสื่อสารที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งรู้ถึงสถานการณ์เกาะติดปัญหาและมีพื้นที่ ช่องทางการสื่อที่หลากหลายทั้ง onair , online , ongrawn และยังมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายสื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะและได้จัดกลไกเป็นกองบรรณาธิการสื่อสร้างสุขภาคใต้ ได้มีปฏิบัติการสื่อสารภายใต้ “สื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคมสู่การเปลี่ยนแปลง”ซึ่งจากการที่ได้ศึกษารูปแบบวิธีการและการสร้างความเชื่อมั่นกับข้อมูลและเนื้อหาการสื่อสารด้านสุขภาวะก็มีความสำคัญและจำเป็นต่อผู้รับสาร นั่นคือแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาวะทางสังคม ที่เป็นมาตรฐานชี้วัดความน่าเชื่อถือและเป็นกรอบกฏกติกาของการสื่อสารซึ่งจะเน้นที่สื่อชุมชนหรือสื่อภาคประชาชนเพราะจากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยด้าน แนวปฏิบัติเพื่อการกำหนดจริยธรรมการสื่อสารด้านสุขภาวะยังไม่มีปรากฏและเผยแพร่แต่อย่างได
ดังนั้นจากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาการกำกับดูแลกันเอง การสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้รับข้อมูลข่าวสารรวมถึงมาตรฐานที่แสดงถึงอัตลักษณ์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาวะที่จะเป็นการสร้างต้นแบบที่เป็นนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ที่มีความทัดเทียมกับกลุ่มสื่อมวลชนหลักในระดับชาติ จึงได้มีการกำหนดหัวข้อวิจัยในหัวข้อ แนวปฏิบัติเพื่อกำหนดจริยธรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาวะ กรณีศึกษานโยบายสาธารณะพื้นที่ภาคใต้ ที่มาเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ปี พ.ศ.2560  ภายใต้โครงการศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาวะภาคใต้(ศวสต.)ที่รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ สจรส. เป็นหน่วยประสานงาน แผนงานการพัฒนาเครือขายสื่อสาธารณะ เป็นแผนงานที่จะพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อ โดยที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของคนทำสื่อชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ ที่มาจาก คนทำสื่อวิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น  สื่ออนไลน์  สื่อโซเชียล(สื่อใหม่) ซึ่งตามภารกิจร่วมกันจะมุ่งเน้น“สื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคม สู่การเปลี่ยนแปลง” จึงเกิดเป็น “เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้” โดยมี กอง บก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ เป็นกลไกการออกแบบการทำงานสื่อสารสาธารณะประเด็นสุขภาวะทางสังคม ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ 4 ประเด็น ใต้ล่าง 3 ยะลา ปัตตานี การแพทย์พหุวัฒนธรรม ใต้กลาง สงขลา , พัทลุง , นครศรีธรรมราช ความมั่นคงทางด้านอาหาร ใต้บน ชุมพร , สุราษฏร์ธานี ความมั่นคงของมนุษย์ ใต้อันดามัน กระบี่ , ตรัง การท่องเที่ยวโดยชุมชน เกิดรายการวิทยุ “กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้” ออกอากาศวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00น. – 10.00น. และการใช้สื่อ ออนไลน์ เช่น เวปไซต์  เฟสบุ๊ค ไลน์กลุ่ม หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ในการสื่อสารประเด็นด้านสุขภาวะ
เป้าหมาย ปี 2561
• ขยายเครือข่ายสื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะภาคใต้ 14 จังหวัด • เกิดแนวทางปฏิบัติเพื่อกำหนดกรอบจริยธรรมสื่อสารเพื่อสังคมสุขภาวะ • รูปแบบการสื่อสารเพื่อสุขภาวะในชุมชนภาคใต้ • ยกระดับเป็นนักสื่อสารสุขภาวะมืออาชีพ • เชื่อมโยงภาคีเครือข่าย สุขภาวะ เพื่อเป็นเครื่องมือกลางและเปิดพื้นที่และช่องทางการสื่อสารเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการสื่อสาร หลังจากที่ได้นำเสนอประเด็นหรือเรื่องที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างไร • ผู้ชมทางสื่อออนไลน์(Live สด)ให้ความสนใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่นำเสนอ • รูปธรรมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการสื่อสาร  ใช้ตัวอย่างกรณีพื้นที่ Best plactist รายพื้นที่ นำเสนอผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้จากกระบวนการที่เกิดขึ้นจริง  เพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้พื้นที่อื่นๆเกิดการเอาอย่าง
• พัทลุง เรื่องพลังงาน การสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงระดับบุคคล ชุมชน ให้ตระหนักถึงการประหยัดพลังงานมากขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันมากขึ้น
• ประเด็นอื่นๆที่สังคมให้ความสนใจ • ผู้ฟังผ่านรายการวิทยุให้ความสนใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่นำเสนอ • มีผู้ติดตามรับชมย้อนหลังและมีการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ข้อเสนอต่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
• หนุนเสริม/พัฒนาศักยภาพและต่อยอดการทำงาน • สนับสนุนโมเดลการขับเคลื่อนตามแนวทางกองบก.สื่อสร้างสุข
• เผยแพร่การทำงานโดยการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ไปยังภูมิภาคอื่นๆ

ข้อเสนอต่อ สำนักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) • ให้ศูนย์ภาคของสช. /สำนักสมัชชา ร่วมกับเครือข่ายสื่อ(สื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ) ผลักดันให้เกิดประเด็นจริยธรรมสื่อ เป็นนโยบายสาธารณะระดับชาติ โดยผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หรือสมัชชาเชิงประเด็น • ขอให้สช.สนับสนุนสื่อสร้างสุขเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการสื่อสารนโยบายสาธารณะ ทั้งระดับภาคและระดับพื้นที่ • ขอให้สช.พัฒนาและสนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับ................เพื่อเป็นเครื่องมือให้กับนักสื่อสารสร้างสุขภาคใต้ • ให้แผนงานสื่อฯเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนของสช.

ข้อเสนอต่อ สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต้องการสื่อสารให้ทุกคนเข้าถึงสิทธิ์ ทำอย่างไรให้กองทุนตำบลเข้าถึงงบอย่างทั่วถึง
• สนับสนุนกระบวนการสื่อสารเพื่อการเข้าถึงสิทธิ์ที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของภาคใต้ • ให้ สปสช.เขต11 เขต12 ตั้งกลไกเพื่อการสื่อสารในระดับเขตเพื่อการพัฒนากองทุนตำบล ข้อเสนอต่อ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การมหาชน (พอช.) ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการทำงาน โดยมีสภาองค์กรชุมชนเป็นพื้นที่กลาง ภายใต้ประเด็นงาน  การสื่อสารต้องให้เขาเข้าใจบทบาท ข้อเสนอต่อ กระทรวงสาธารณะสุข(สธ.)
•      เสนอให้เพิ่มภาคีเครือข่ายสื่อในโครงสร้างคณะกรรมการ

ข้อมูลสร้างสุขภาคใต้(งานวิชาการห้องย่อย)ตามแบบฟอร์มที่ส่งไป รูปแบบ การก่อตัวของเครือข่ายสื่อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง  รูปธรรมที่เกิด  แนวปฏิบัติที่เป็นจริยธรรมเพื่อการสื่อสาร
- เนื้อหาวิชาการ  ที่มา วัตถุประสงค์ ที่มาเครือข่ายสื่อสร้างสุข

เตรียมงานสร้างสุข วางบทบาทหน้าที่ - MC พี่สาวชุมพร - บันทึก ทีมเลขานคร - ห้องพัก กชมน โพธิ์ถาวร
- การเงิน วิลาสลักษณ์  แก้วบุญเรือง
- วันที่ 27 ต้องทีมงานบางส่วนเข้าไปเตรียมงาน - ห้องย่อยสื่อ  อ.พิภพ มาให้ความรู้ - ประชาสัมพันธ์ด้านหน้า - Line add ผู้เข้าร่วมต้องมีการสแกนคิวอาร์โค๊ด - นำเสนอห้องย่อย/รูปแบบการนำเสนอ ผู้เข้าร่วมรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
1. ภาพเล่าเรื่อง
2. วงเสวนาการพัฒนาสื่อเพื่อสุขภาวะทางสังคม แบ่งเป็น 2 ช่วง นำเข้าข้อมูล วงเสวนา         -  อาจารย์จาก มอ.ปัตตานี         -  คุณแวว วงเสวนา • จริยธรรมสื่อที่พึงประสงค์ • รูปแบบการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง คืออะไร • รูปแบบสื่อเป็นแบบไหนที่สามารถนำไปสู่ข้อเสนอได้


 

30 34

32. สนับสนุนพื้นที่ ประเด็นสุขภาวะทางสังคมการจัดการปัจจัยเสี่ยงจังหวัดชุมพร งวดที่ 2

วันที่ 21 มีนาคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เวทีถอดบทเรียนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสวี จ.ชุมพร         -  ติดต่อประสานงานกับสาธารณะสุขอำเภอสวี เพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน กำหนด กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง  กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้         -  ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น  นายอำเภอสวี  วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน  สถานที่  ทีมสื่อ  และเชิญผู้เข้าร่วม         -  ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม         -  กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเวทีถอดบทเรียน         -  วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ ระบบสุขภาพที่เกี่ยวข้อง กระบวนการทำงาน ผลลัพธ์ ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพประเด็น กลไก/โครงสร้างที่ขับเคลื่อน ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ปัจจัยที่เอื้อ/อุปสรรครวมทั้งบทเรียน/ข้อค้นพบที่น่าสนใจข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานและสื่อ

2.เวทีถอดบทเรียนการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยการบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาสังคม จ.ระนอง         -  ติดต่อประสานงานกับประชาคมงดเหล้าจังหวัดระนอง เพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน กำหนด กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง  กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้         -  ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ทั้งหน่วยงานและ  วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ         -  ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน  สถานที่  ทีมสื่อ  และเชิญผู้เข้าร่วม         -  ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม         -  กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเวทีถอดบทเรียน         -  วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ ระบบสุขภาพที่เกี่ยวข้อง กระบวนการทำงาน ผลลัพธ์ ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพประเด็น กลไก/โครงสร้างที่ขับเคลื่อน ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ปัจจัยที่เอื้อ/อุปสรรครวมทั้งบทเรียน/ข้อค้นพบที่น่าสนใจข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานและสื่อ

3.ถอดบทเรียนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.ตรัง       -  ติดต่อประสานงานคณะทำงานสมัชชาสุขภาพ จังหวัดตรังเพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน  กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง  กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้       -  ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน  สถานที่  ทีมสื่อ  และเชิญผู้เข้าร่วม       -  ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม       -  กล่าวทักทายผู้เขข้าร่วมและนำเข้าข้อมูลอุบัติเหตุช่วงเทศกาลที่ผ่านมา       -  วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นตรัง ประเด็นบุหรี่กับระบบสุขภาพสมัชชาสุขภาพจังหวัดสถานการณ์  ปัญหาข้อเสนอแนะ
      -  เปิดรับฟังความคิดเห็นและตอบข้อซักถามผ่านสื่อออนไลน์

4.เวทีสาธารณะการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยระบบสุขภาพ ภาคใต้ จ.สงขลา         -  ติดต่อประสานงานกับประชาคมงดเหล้าจังหวัดสงขลา เพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน กำหนด กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง  กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้         -  ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ทั้งหน่วยงานและ  วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน  สถานที่  ทีมสื่อ  และเชิญผู้เข้าร่วม         -  ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม         -  กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเวทีถอดบทเรียน
        -  วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ ระบบสุขภาพที่เกี่ยวข้อง กระบวนการทำงาน ผลลัพธ์ ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพประเด็น กลไก/โครงสร้างที่ขับเคลื่อน ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ปัจจัยที่เอื้อ/อุปสรรครวมทั้งบทเรียน/ข้อค้นพบที่น่าสนใจข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานและสื่อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เวทีถอดบทเรียนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสวี จ.ชุมพร     ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาการดื่มเหล้าของประชาชนในพื้นที่ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร โดยการรายงานของนายอำเภอสวี พบว่า อำเภอสวีเป็นอำเภอหนึ่งซึ่งมีทั้งหมด 11 ตำบล มีจำนวนประชากรประมาณ 70,000 คน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน ทำให้ผู้ที่ดื่มเหล้าส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงานแต่มีจำนวนไม่มากเท่าใด โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ดื่มเหล้าจะเกิดผลกระทบทางด้านสุขภาพซึ่งเป็นปัญหาหลัก ซึ่งส่งผลกระทบอื่นๆตามมาอีกมากมาย เบื้องต้นสาธารณสุขอำเภอได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัญหาสาธารณสุขที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่ คือ วัณโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง จมน้ำ และปัญหาติดสุรา โดยพบว่าแนวโน้มของผู้ที่ติดสุราเป็นกลุ่มแนวโน้มของวัยรุ่นซึ่งอยู่ในกลุ่มของนักเรียนและนักศึกษา ส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านสุขภาพ เช่น ขาดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ สมองเสื่อม สติฟั่นเฟือน เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว รวมถึงส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านศีลธรรมมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการในการรณรงค์และจัดกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดจำนวนของผู้ดื่มเหล้า โดยกระบวนการรณรงค์และกิจกรรมต่างๆ ในการลดการดื่มเหล้าของอำเภอสวีจึงเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินการเพื่อจัดกิจกรรมในการลดเหล้าให้กับประชาชน โดยใช้รูปแบบชุมพร Model (3 ส 5 ช) ประกอบด้วย ซึ่งความร่วมมือของทุกภาคส่วนถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละภาคส่วนจะมีบทบาทที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 1. ส่วนหนุนเสริมเติมเต็ม(Moniter) ประกอบด้วยผวจ.ส่วนราชการจังหวัด/วิชาการ/ปชค./ภาคีเครือข่ายสุขภาพ มีบทบาทหน้าที่ พัฒนาศักยภาพระบบสุขภาพ/เชื่อมประสาน ผลักดันระดับจังหวัด เพื่อสร้างนโยบายที่เอื้อต่อการดำเนินงาน/สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้/สื่อสารสาธารณะ/สร้างแรงบันดาลใจ/สนับสนุน สื่อ งบประมาณ/เชิดชูเกียรติ์ 2. ส่วนสนับสนุน (Supporter) ประกอบด้วยนอภ./สสอ./รพ.ช./อปท./กำนัน/เอกชน/สื่อ/รพ.สต. มีบทบาทหน้าที่ เชื่อมประสานทั้งแนวดิ่ง แนวราบ เชิงนโยบาย/บังคับใช้กฎหมาย/พัฒนาศักยภาพชุมชน/สร้างความยั่งยืน เช่น คำสั่งแต่งตั้ง บรรจุในระเบียบ กติกา บทบัญญัติ/วิเคราะห์ความเสี่ยง ผู้มีส่วนได้เสีย/ถ่ายทอดจากนโยบายเป็นปฏิบัติ/ขยายผลทั้งนโยบาย พื้นที่ เวลา กลุ่มเป้าหมาย/บรรจุประเด็นปัจจัยเสี่ยงในกลไกสุขภาพในพื้นที่/ติดตาม ประเมินผล สรุป รายงาน 3. ส่วนปฏิบัติการ(Actor) ประกอบด้วยครู/พระ/อสม./ผญบ./สมาชิกคนหัวใจเพชร/หิน/เยาวชน มีบทบาทหน้าที่ สำรวจ วิเคราะห์ ทำฐานข้อมูลในชุมชน/ตั้งคณะทำงาน/สร้างการมีส่วนร่วม(วางเป้าหมาย แผนงาน ปฏิบัติ สรุป พัฒนา) สร้างสภาพแวดล้อมปลอดเหล้า/สร้างข้อตกลง/กติกา/เฝ้าระวัง ส่งเสริม ด้านกฎหมาย/สร้างและพัฒนาทักษะแกนนำ/เข้าถึงระบบสุขภาพชุมชน เช่น กองทุนฯ และหัวใจหลักของระบบการทำงานนั้น ประกอบด้วย คนทั้ง 5 ช. คือ
1. คนชง เป็นคนที่พบเจอปัญหา
2. คนชู คือ ผู้เป็นประธานการทำงานนั้น
3. คนช่วย คือ ผู้ที่สามารถให้ความร่วมมือช่วยเหลือ
4. คนเชียร์ คือ คนที่เป็นแรงสนับสนุน กำลังใจ
5. คนชิม คือ คนที่ได้รับผลประโยชน์หรือชาวบ้าน/ชุมชน ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบการผสมผสานการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม โดยเน้นกิจกรรมต่างๆที่จะส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงโทษของการดื่มเหล้า เช่น การจัดกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา ซึ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักดื่มให้หยุดดื่มเหล้าในช่วงเวลา 3 เดือน โดยใช้กิจกรรมการให้กำลังใจของครอบครัว และชุมชน เป็นแรงสนับสนุน ขณะเดียวกันส่งเสริมให้คนที่ทำความดีที่สามารถเลิกดื่มเหล้าได้ครบตามกำหนดเป็นต้นแบบในการรณรงค์ ลด ละ เลิก ตามสโลแกนที่กำหนด พร้อมทั้งเชิดชูชุมชนที่เป็นต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ชุมชนประชาเสรี หมู่ 11 ตำบล เขาค่าย อำเภอสวี จังหวัด ชุมพร ซึ่งเน้นการลด ละ เลิก เหล้าโดยมีต้นแบบจากผู้นำชุมชน ส่งผลให้เกิดพลังใจในการร่วมมือและร่วมใจระหว่างประชาชนในชุมชน เป็นต้น ขณะเดียวกันการรณรงค์กิจกรรมในโครงการลดนักดื่มหน้าใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชนและนักเรียน นักศึกษา ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ล้วนเป็นอนาคตและกำลังในการพัฒนาประเทศ หน่วยงานต่างๆจึงต้องเน้นการเฝ้าระวังโดยร่วมมือกับคนในชุมชน สถานศึกษา และร้านค้าในการวางมาตรฐานในการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเน้นการให้ความรู้ตั้งแต่ระดับโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน รวมถึงการประเมินและตรวจสอบสถานศึกษาจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดระบบการติดตามอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนผู้ป่วยที่มีการติดเหล้าจะได้รับการดูแลรักษา และบำบัด จากโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด โดยเน้นกระบวนการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจ เชื่อมั่น และไว้วางใจในตนเองและผู้รักษา ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีการติดเหล้าสามารถเลิกได้อย่างเด็ดขาดมากขึ้น พร้อมทั้งให้คำแนะนำด้านสุขภาพโดยเน้นหลัก 3อ ได้แก่ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเน้นอารมณ์ที่สดชื่นและแจ่มใส เพื่อส่งผลต่อกำลังใจในการเลิกเหล้า ขณะเดียวกันชุมชนต้องมีส่วนร่วมและสนับสนุนให้คนในชุมชนได้ร่วมกันปฏิบัติความดีเพื่อเป็นมรดกสำหรับชุมชน เช่น ส่งเสริมการทำพินัยกรรมความดี โดยเน้นการไม่เลี้ยงเหล้าในงานต่างๆ หรือแม้แต่การจัดทำธรรมนูญหมู่บ้านในการเป็นหมู่บ้านปลอดเหล้า และส่งเสริมชุมชนต้นแบบให้เกิดขึ้นในพื้นที่ทั่วทั้งอำเภอ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการบูรณาการกระบวนการและกิจกรรมจากทุกภาคส่วนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างความตระหนัก ความคิด และความรู้ ให้เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม
บันไดแห่งความสำเร็จ ในกระบวนการสำคัญในการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพจึงจำเป็นต้องมีองค์กรประกอบหลายประการ ได้แก่ การกำหนดกลยุทธ์หลักของพื้นที่ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชนสังคม หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยมีกระบวนการที่สำคัญ 7 ขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหาที่ 2. การระบุประเด็นปัญหา 3. การวางแผนและนโยบาย 4. การลงมือปฏิบัติ 5. การติดตามและประเมินผล 6. การพัฒนาและปรับปรุง 7. การยกย่องและเชิดชู ซึ่งกระบวนการทั้ง 7 ขั้นตอนนี้ คือส่วนสำคัญสำหรับการดำเนินโครงการให้สบความสำเร็จ โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นตามบริบทของพื้นที่ หลังจากนั้นจะต้องมีการระบุประเด็นปัญหาอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดแนวทางในการแก้ไขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยวางแผนและนโยบายจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนอย่างเป็นระบบและชัดเจน พร้อมทั้งนำแผนลงสู่การปฏิบัติในทุกๆพื้นที่โดยเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน โดยเน้นในกลุ่มคนหรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงซึ่งจะต้องมีการติดตามและประเมินผลของการดำเนินการเป็นระยะๆเพื่อลดความผิดพลาดของกระบวนการทำงาน ขณะเดียวกันต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และประการสุดท้ายจะต้องช่วยกันส่งเสริม สนับสนุน และยกย่องเชิดชูบุคคลหรือชุมชนที่เป็นแบบอย่างให้เกิดการเผยแพร่กิจกรรมให้ครอบคลุมพื้นที่อื่นๆมากยิ่งขึ้น กระบวนการเหล่านี้สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆในการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่าย การสร้างความรู้ การบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้และส่งเสริมพฤติกรรมของประชาชนและชุมชมให้เกิดความตระหนักต่อไปในอนาคต เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืน ต่อไป

2.เวทีถอดบทเรียนการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยการบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาสังคม จ.ระนอง ผลผลิต 1. ตั้งกลุ่ม/องค์กร/ชมรม (รู้เรา) : ภาคประชาสังคมต้องมีการตั้งกลุ่มที่เข้มแข็งและเป็นรูปธรรม เช่น องค์กรสาธารณะประโยชน์ สมาคม มูลนิธิ ฯลฯ โดยสำคัญคือต้องมีเป้าหมายองค์กรที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ การศึกษา การบำบัด หรืออื่นๆ และกำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินให้สอดคล้องกันกับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาในพื้นที่นั้นๆ ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และพัฒนาโครงการหรือแผนปฏิบัติการณ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตัวชี้วัดของหน่วยงานราชการ เพื่อบูรณาการด้านงบประมาณ 2. ศึกษายุทธศาสตร์หน่วยงานภาครัฐ (รู้เขา) : หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานจะมีการจัดทำยุทธ์ศาสตร์ ตัวชี้วัดไว้อย่างชัดเจน โดยสามารถหาข้อมูลได้จากเวปไซค์ของหน่วยงานนั้นๆ หรือขอรับเป็นเอกสาร เพื่อการออกแบบโครงการหรือแผนปฏิบัติการจะได้สอดคล้องกัน หรือพื้นที่ในการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วย โดยขั้นตอนนี้ต้องอาศัยการพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจในกรอบการปฏิบัติ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ชัดเจน ทั้งขั้นตอนการปฏิบัติ การใช้จ่ายงบประมาณและการจัดการด้านหลักฐานการเงิน
3. หนุนเสริม เติมเต็ม/สร้างความสัมพันธ์ : ขั้นตอนนี้เน้นหนักมากคือ การหนุนเสริมซึ่งกันและกัน เช่น การสนับสนุนด้านการประสานงาน การจัดกิจกรรม การแชร์ความรู้ สื่อรณรงค์ และผลัดกันให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคม เช่น การออกบูธกิจกรรม การเข้าร่วมขบวนรณรงค์ การประชาสัมพันธ์ โดยยึดหลัก แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง
4. สร้างการทำงานแบบมีส่วนร่วม : โดยมีกระบวนการทำงาน ดังนี้   พื้นทีี่เป็นเจ้าของปัญหา----------ศึกษาบริบทของพื้นที่เข้าร่วม-------------กำหนดแนวทางแก้ไขร่วมกัน-----------------ตัดสินใจและปฏิบัติร่วมกัน----------------ติดตาม ประเมินผล สรุป พัฒนาร่วมกัน 5. สร้างความยั่งยืน/สร้างนโยบายสาธารณะ : เป็นขั้นตอนที่ต้องสรุปบทเรียน/ข้อค้นพบ จากการดำเนินร่วมกัน แล้วพัฒนาเป็นองค์ความรู้ เพื่อยกระดับจากยุทธ์ศาสตร์ระดับกลุ่ม/องค์กร/หน่วยงาน สู่นโยบายสาธารณะระดับจังหวัด และอาศัยต้นทุนหรือจุดแข็งของภาครัฐและภาคประชาสังคม ผลักดันให้เป็นยุทธ์ศาสตร์หลักด้านการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของจังหวัดต่อไป ผลลัพธ์ 1. ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งซึ่งกันและกัน 2. เกิดกลไกขับเคลื่อนที่มีการดำเนินงานทั้งด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น การบังคับใช้กฎหมาย งานบุญประเพณีปลอกเหล้า งานชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง งานสกัดนักดื่มหน้าใหม่ 3. เกิดการสร้างกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ลัพฒนาเป็นแผนพัฒนาจังหวัด และบรรจุในยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สสจ./ปภ./พมจ. 4. ภาคประชาสังคมสามารถลดปัญหาและอุปสรรค์ด้านการขาดงบประมาณในการดำเนินงาน เพราะสามารถบูรณาการด้านงบประมาณกับหน่วยงานรัฐได้ 5. หน่วยงานราชการสามารถลดปัญหาเรื่องความไม่คล่องตัวในการปฏิบัติงาน เนื่องจากข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากร เวลาปฏิบัติงาน เพราะภาคประชาสังคมจะมีความคล่องตัวสูงไม่ติดระเบียบราชการ

3.ถอดบทเรียนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.ตรัง ผลผลิต 1. มีกลไกจัดการแบบพหุภาคี (๓ ภาคส่วน): คือ 1.) ภาคท้องถิ่นและราชการ2.) ภาควิชาการและวิชาชีพ3.) ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและประชาสังคม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตรังแต่งตั้งคณะทำงานขึ้น 3 ชุด คือ คณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรังคณะทำงานฝ่ายเลขานุการคณะทำงานสมัชชาสุขภาพเชิงประเด็นซึ่งถือเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ และการทำงานก็มีความสอดคล้องทั้งเชิงยุทธศาสตร์ พื้นที่ กิจกรรม 2. มีการจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบ : คือ 1.) ร่างข้อเสนอสมัชชาสุขภาพตรังเชิงประเด็น2.) ให้ความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอสมัชชาสุขภาพตรังเชิงประเด็นพื้นที่10 อำเภอ 3.)ร่างมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง 4.) สมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง 5.)มติสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง 6.) กระบวนการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง 7.)การติดตามการแปรมติสมัชชาสุขภาพสู่แผนปฏิบัติการระดับพื้นที่จังหวัด 3. มีการทำงานบนฐานความรู้ (ใช้ปัญญา) ผสมผสานเข้ากับฐานด้านจิตใจ (ด้วยความรักสมัครสมาน) 4. ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีโอกาสเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ (ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม) 5. มีประเด็นชัดเจนและพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่ดี สอดคล้องกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 6. มีการผลักดันไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในหลายช่องทาง ผลลัพธ์ 1.  เกิดกลไกที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะอย่างเป็นระบบ ทั้งระดับนโยบาย ระดับสนับสนุนการปฏิบัติงาน ระดับปฏิบัติการ ในการควบคุมการเข้าถึง การตรวจสอบ/ร้องเรียน การบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ 2. การบังคับใช้กฎหมายควบคุมยาสูบ/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสร้างระบบการช่วยเลิกบุหรี่ 3. เกิดเจ้าภาพที่รับผิดชอบที่ชัดเจนในประเด็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบและมีการดำเนินการภายใต้องค์กรหรือหน่วยงานในสังกัด 4. เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันและการรู้เท่าทันโดยเฉพาะในกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันการเกิดนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ 5. เกิดกระบวนการสื่อสารสาธารณะผ่านสื่อหลักและสื่อท้องถิ่น ในประเด็นการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อร้ายแรง(NCD) 6. เกิดการบูรณาการเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ทั้งส่วนราชการ วิชาการ และประชาสังคม 7. บรรจุเรื่องการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพในยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และบรรจุในแผนปฏิบัติการโครงการของหน่วยงานราชการในจังหวัด 8. เกิดวัฒนธรรมในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งการลดปัจจัยเสี่ยง เสริมปัจจัยสร้างครอบคลุมในทุกกลุ่มวัย

4.เวทีสาธารณะการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยระบบสุขภาพ ภาคใต้ จ.สงขลา ผลผลิต 1.  เยาวชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติ ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับปัญหาท้องไม่พร้อมและป้องกันตัวเองจากปัญหาท้องไม่พร้อมและปัญหาทางเพศได้ 2.  เยาวชน มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาท้องในวัยเรียน สามารถให้ความช่วยเหลือ แนะนำได้ในเบื้องต้น 3.  เยาวชนให้ความไว้วางใจกับแกนนำชุมชนมากขึ้น/ โดยการเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กล้าเล่าเรื่องราวและปัญหาของตนเอง/ตระหนักรู้และร่วมระดมกันแก้ไขปัญหา ผลลัพธ์ 1.  เกิดเครือข่ายในพื้นที่ ได้รับการสนับสนุน บูรณาการ ของหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาลอำเภอรัตภูมิ / สาธารณสุขอำเภอ / โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม / องค์กรบริหารส่วนตำบลคูหาใต้ / ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น รวมไปถึงประชาชนพื้นที่ใกล้เคียง ที่ให้ความสำคัญในประเด็นดังกล่าว
2.  เกิดกลไกการขับเคลื่อนโดย สาธารณสุขอำเภอ สนับสนุนให้กลุ่มแกนนำสตรีเข้าร่วมกิจกรรมระดับเขตเพื่อการเข้าถึงแหล่งงบประมาณต่อไป 3.  เกิดการไว้วางใจ ในเยาวชนและประชาชนในพื้นที่มากขึ้น รวมไปถึงการไว้วางใจจากแหล่งทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคูหาใต้  ที่ได้เห็นการทำงานของแกนนำสตรีอย่างจริงจังและทุ่มเท คุ้มค่ากับงบประมาณที่อนุมัติ 4.  เกิดการเห็นคนทำงานมีใจสู้งานเกินร้อย ตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาของชุมชน สร้างความปีติให้กับองค์กร หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เกิดความเข้าใจในกรอบ หลักการ กฏเกณฑ์การเข้าถึงงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ มากขึ้น จากนี้จึงไม่เป็นเรื่องยากที่จะ นำเสนอโครงการต่างๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชุมชนได้ต่อไป

 

70 70

33. ประชุมวิชาการ ประจำปี 2561 "สร้างคน สร้างงาน สร้างสุข สานพลังที่ก้าวข้ามขีดกำจัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน

วันที่ 28 มีนาคม 2561 เวลา 08:00-17:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. กล่าวต้อนรับและกล่าววัตถุประสงค์ ของเวทีห้องย่อยจริยธรรมสื่อเพื่อสุขภาวะทางสังคม
  2. เวทีเสวนา “จริยธรรมสำคัญและจำเป็นต่อการสื่อสารอย่างไร โดยเฉพาะการสื่อสารด้านสุขภาวะโดยสื่อชุมชนท้องถิ่น”
    ผู้ร่วมเสวนา
  3. ผศ.จารียาอรรถอนุชิต อาจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสาร
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
  4. น.ส. ยะห์อาลีสื่อโซเชียล ประชาสังคมสื่อชายแดนใต้
  5. นายทวีศักดิ์ปิยะวิสุทธิกุลผู้ประกอบการวิทยุชุมชน จ.พังงา
  6. นายชัยพรจันทร์หอม ปราชญ์ชาวบ้านผู้ใช้ประโยชน์จากสื่อ
    ดำเนินการเสวนา โดย นายเจริญถิ่นเกาะแก้ว
  7. แบ่งกลุ่มย่อย world café method 4 กลุ่ม

    1. จริยธรรมสื่อที่พึงประสงค์
    2. (คุณลักษณะ)รูปแบบการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง
    3. เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ควรมีกลไกการสื่ออย่างไร
    4. รูปธรรมของการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสาร
  8. แลกเปลี่ยนเพื่อหาฉันทามติร่วมเพื่อกำหนดเป็นข้อเสนอ(จากเอกสารร่างประกอบ)เพื่อเป็นข้อเสนอต่อหน่วยงานภาคี สสส. สปสช. สช. สธ. พอช.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สื่อที่ขาดจริยธรรมมักส่งผลต่อสุขภาวะทางสังคมอย่างเห็นได้ชัด นักสื่อสารทุกวันนี้เห็นการสื่อสารเป็นเรื่องที่ฉาบฉวย สื่อจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้คนในสังคมได้รับความเท่าเทียมกันทางการรับสื่อจากทุกรูปแบบ รวมทั้งความเท่าเทียมต่อระบบสุขภาพ สื่อต้องให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างมีคุณภาพ

ยุคการเปลี่ยนแปลงและการรับมือ

  1. โลกแห่งความสุดโต่ง
  2. โลกแห่งความเข้มแข็ง
  3. โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน

สังคมไทยที่จะเปลี่ยนไป

  1. เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
  2. การขาดแคลนแรงงาน
  3. การสร้างความมั่นคงในชีวิตผู้สูงอายุ
  4. กาสร้างทัศนคติที่ดีแก่ผู้สูงวัย
  5. การเพิ่มผลิตภาพผู้สูงอายุ

สิ่งที่ต้องปรับ

  1. ปรับวัฒนาธรรมการเรียนรู้
  2. ปรับวัฒนธรรมการดำรงชีวิตขิงมนุษย์
  3. ปรับวัฒนธรรมของการทำงาน

  ดังนั้นสิ่งที่ภาคใต้ต้องทำคือ ต้องรวมพลรวมตัวตนคนทำสื่อที่พร้อมนำเสนอเรื่องราวดีๆที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นการสื่อสารทางบวก ผ่านการทำงานในประเด็นต่างๆ เครือข่ายสื่อเป็นโครงสร้างที่มีหลากหลายกลไก ภายใต้ประเด็นการขับเคลื่อน โดยไม่มุ่งเน้นเฉพาะเรื่องของสื่อใหม่แต่เพียงอย่างเดียว จัดระบบการสื่อสารให้เกิดความเท่าเทียม
ปีนี้เราเริ่มต้นโดยการขยายฐานจากวิทยุ เช่น สื่อวิทยุที่ภูเก็ต และที่อื่นๆขยายไปทั่วทั้ง 14 จังหวัด ข้อเสนอปี 2559 ผ่านหลายหน่วยงาน รูปธรรมที่เกิดขึ้นผ่านเรื่องราวต่างๆ เช่น การท่องเที่ยวโดยชุมชน สื่อสารให้รับรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงจนเกดการขยายฐาน เป็นโมเดลที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง

  ปี พ.ศ.2560 ภายใต้โครงการศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาวะภาคใต้(ศวสต.)ที่รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ สจรส. เป็นหน่วยประสานงาน แผนงานการพัฒนาเครือขายสื่อสาธารณะ เป็นแผนงานที่จะพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อ โดยที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของคนทำสื่อชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ ที่มาจาก คนทำสื่อวิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น สื่อออนไลน์ สื่อโซเชียล(สื่อใหม่) ซึ่งตามภารกิจร่วมกันจะมุ่งเน้น“สื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคม สู่การเปลี่ยนแปลง” จึงเกิดเป็น “เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้” โดยมี กอง บก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ เป็นกลไกการออกแบบการทำงานสื่อสารสาธารณะประเด็นสุขภาวะทางสังคม ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ 4 ประเด็น ใต้ล่าง 3 ยะลา ปัตตานี การแพทย์พหุวัฒนธรรม ใต้กลาง สงขลา , พัทลุง , นครศรีธรรมราช ความมั่นคงทางด้านอาหาร ใต้บน ชุมพร , สุราษฏร์ธานี ความมั่นคงของมนุษย์ ใต้อันดามัน กระบี่ , ตรัง การท่องเที่ยวโดยชุมชน เกิดรายการวิทยุ “กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้” ออกอากาศวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00น. – 10.00น. และการใช้สื่อ ออนไลน์ เช่น เวปไซต์ เฟสบุ๊ค ไลน์กลุ่ม หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ในการสื่อสารประเด็นด้านสุขภาวะ

เป้าหมายปี2560

  1. ขยายเครือข่ายสื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะภาคใต้ 14 จังหวัด
  2. เกิดแนวทางปฏิบัติเพื่อกำหนดกรอบจริยธรรมสื่อสารเพื่อสังคมสุขภาวะ
  3. รูปแบบการสื่อสารเพื่อสุขภาวะในชุมชนภาคใต้
  4. ยกระดับเป็นนักสื่อสารสุขภาวะมืออาชีพ

คุณลักษณะในการสื่อสารสุขภาวะใช้ลักษณะการสื่อสารประเด็นต่างๆ ดังนี้

  1. ศิลปวัฒนธรรม การละเล่น พิธีกรรม ดนตรี สื่อพื้นบ้าน
  2. สื่อพื้นบ้าน ได้แก่ ดนตรี มโนราห์ หนังตะลุง เพลงบอก
  3. รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ สารคดี สปอร์ตวิทยุ คลิปรณรงค์
  4. สิ่งพิมพ์/สิ่งพิมพ์ออนไลน์
  5. โซเชียลมิเดียร์ เช่น Facebook, ไลน์, ทวิตเตอร์, Youtube
  6. วงคุย เวที

กล่าววัตถุประสงค์ โดย นายวรวิชญ์ กฐินหอม นักวิจัย

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อต้องการศึกษาและกำหนดแนวทางการจัดทำจริยธรรมสื่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะทางสังคม 2. เพื่อต้องการให้เกิดนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ของการสื่อสารสุขภาวะ 3. เพื่อการนำผลวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือต่อสาธารณชน

ปัจจุบันสื่อเป็นตัวสำคัญที่สามารถสร้างและเป็นตัวแปรสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นในสังคม การสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้รับข้อมูลข่าวสารรวมถึงมาตรฐานที่แสดงถึงอัตลักษณ์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาวะที่จะเป็นการสร้างต้นแบบที่เป็นนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ที่มีความทัดเทียมกับกลุ่มสื่อมวลชนหลักในระดับชาติ จึงได้มีการกำหนดหัวข้อวิจัยในหัวข้อ แนวปฏิบัติเพื่อกำหนดจริยธรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาวะ

เวทีเสวนา “จริยธรรมสำคัญและจำเป็นต่อการสื่อสารอย่างไร โดยเฉพาะการ สื่อสารด้านสุขภาวะ โดยสื่อชุมชนท้องถิ่น”

ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย

  1. ผศ.จารียา อรรถอนุชิต อาจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
  2. น.ส. ย๊ะห์ อาลี สื่อโซเชียล ประชาสังคมสื่อชายแดนใต้
  3. นางฐิติชญา บุญโสม ผู้ประกอบการวิทยุชุมชน จ.กระบี่
  4. นายชัยพร จันทร์หอม ปราชญ์ชาวบ้านผู้ใช้ประโยชน์จากสื่อ

ดำเนินการเสวนา โดย นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว

ที่ผ่านมาสื่อมักจะกลายเป็นจำเลยของสังคม สื่อมีอยู่หลายประเภท บางคนนำเสนอโดยไม่มีการกรองข่าว
ความหมายของนักสื่อสารชุมชน?

  ผศ.จารียา อรรถอนุชิต ทุกคนที่ทำหน้าที่ที่จะบอกกล่าวกับใครต่อใครที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลและสังคม นักสื่อสารจะทำตัวอย่างไรให้มีจริยธรรม คุณค่าของความเป็นสื่อมีเหตุผลเดียว คือความรับผิดอบ ต่อตนเอง ต่อสังคม คนที่ทำสื่อจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมีความรับผิดชอบ นักสื่อสารที่ดีจึงมีไม่กี่คนที่จะเป็นได้
เราเป็นนักสื่อสารชุมชนแล้วหรือยัง? ต้องทบทวนตัวเอง สิ่งที่เราสื่อสารกันมีคุณค่ามีประโยชน์ต่อชุมชนแล้วหรือยัง เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแค่ไหน และสิ่งที่เราทำให้ประโยชน์ต่อชุมชน ต่อสาธารณะแล้วหรือยัง สิ่งต่างๆเหล่านี้อยู่ที่เนื้อหา การอ้างแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้มีมากน้อยแค่ไหน

สุขภาวะ คือ ภาวะที่เป็นสุข คนทำสื่อเองก็ต้องมีความสุข ทำในสิ่งที่ถูก สร้างความตื่นตระหนักในสิ่งดีๆ คุณค่าของการได้มีชีวิตที่เป็นสุข และเรานำมันอกมาเผยแพร่ มาแบ่งปันให้กับคนอื่นๆในสังคมได้รับรู้ และสุดท้ายสิ่งเหล่านั้นก็จะส่งผลให้คนทำสื่อเองได้มีความสุข คุณธรรม ทำในสิ่งที่มีคุณ

ประเด็นคำถาม

  1. เรื่องอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ สามารถทำให้คนเชื่อถือได้
  2. บทบาทสำหรับนักสื่อสารชุมชน
  3. ภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปคืออะไร

  นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว จรรยาบรรณของนักสื่อสาร เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่จะทำให้สื่อชุมชนนำไปสู่วิชาชีพสื่อที่ดีได้อย่างไร วิทยุ เป็นสื่อที่ต้องอธิบายเป็นภาษาพูดการโฆษณาส่งผลต่อการสื่อสารอย่างไร

  นายทวีศักดิ์ ปิยะวิสทธิกุล ในส่วนของผู้ประกอบการวิทยุมีปัญหาอย่างมาก เช่น เรื่องของผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถทำยอดขายได้เหมือนเดิม หรือการโฆษณาที่เกินจริง ซึ่งน่าจะเกิดจากการหวังผลประโยชน์ที่เกินไปของผู้ประกอบการ การอธิบายของดีเจที่เกินจริงที่อ้างอิงนักวิชาการต่างๆ การโฆษณาจึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาข้อกฎหมายด้วย เมื่อมีกิจกกรมดีๆเราต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทางทั้ง ออนแอร์ ออนไลน์ และออนกราวน์ เพื่อให้สังคมได้รับเรื่องราวดีๆและเป็นตัวอย่างที่ดี สื่อชุมชนต้องเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ดี

  นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว หลายๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายคนโทษสื่อ สื่อสารมวลชน(ดีเจ) กับ พ่อค้าที่มาอาศัยสื่อขายของ เป็นเรื่องที่สับสน คนไม่สามารถแยกแยะได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังเข้าใจผิดระหว่างสื่อโซเชียลมีเดีย และสื่อชุมชน ปัญหาจุดอ่อนที่เกิดขึ้นกับสื่อชุมชน

  น.ส.ย๊ะห์ อาลี (สื่อโซเชียล ประชาสังคมสื่อชายแดนใต้) วิทยุชุมชนเป็นเรื่องที่ต้องปรับตัวเองมาก ผู้จัดต้องมีการหาความรู้ให้กับตัวเอง ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด นักสื่อสารชุมชนเป็นการสื่อสารเชิงพลังบวก โมโจเป็นเครื่องมือที่สำคัญสามารถช่วยเรื่องกรรสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว การเป็นนักสื่อสารที่ดีต้องเป็นคนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นอย่างมาก สามารถแยกแยะวิเคราะห์ข้อมูลก่อนที่จะสื่อสารออกไปได้

  1. ข้อจำกัดด้านเวลา
  2. เนื้อหาการนำเสนอ
  3. ทักษะ
  4. รูปแบบข่าวเดิม

จริยธรรมของสื่อชุมชนที่ควรจะเป็นควรเป็นอย่างไร

สื่อจังหวัดชายแดนใต้ เป็น มีระเบิด 1 ครั้ง ต้องทำเรื่องราวดีๆนำเสนอถึง 8 ครั้ง เพื่อกลับข่าวเหล่านนั้น การทำเรื่องการสื่อสารพลังบวก การนำเสนอเรื่องการท่องเที่ยวที่ดี ซึ่งส่งผลให้ตอนนี้การท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดชายแดนสามารถสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว สังคมเมื่อได้รับการสื่อสารที่ดี สังคมก็จะถูกกล่อมเกลาออกมาดี สถานการสื่อเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านจริยธรรมสื่ออย่างไร

นายชัยพร จันทร์หอม ปราชญ์ชาวบ้านผู้ใช้ประโยชน์จากสื่อ เวทีพูดคุยปรึกษาหารือในชุมชน

  1. สื่อโฆษณา เช่น รถเร่ ของหน่วยงานราชการ มวลชน หนังสือ วิทยุ ทีวี สื่อพลังบวกเป็นสื่อที่ดี สื่อโฆษณาเป็นเรื่องของการสื่อสารทางการค้า
  2. รัฐ เป็นการโฆษณาแบบชวนเชื่อ

สิ่งเหล่านี้ควรยึดโยงกับ ความดีงาม ความจริง ความถูกต้อง ชาวบ้านต้องการสื่อที่สะท้อนสามารถบอก ปกป้อง คุ้มครอง เห็นการพัฒนาสื่อที่สามารถเติมเต็ม ปัจจุบันสื่อเชิงพัฒนามีหลากหลาย มีลักษณะเป็นหัวใจสาธารณะที่มีหน้าที่เปิดพื้นที่ทางสังคม

สื่อสร้างสุขเป็นเรื่องของการแบ่งปัน มีการเติมเต็ม มีการพัฒนาทีสร้างสรรค์ พัฒนาเป็นพลังบวกไปด้วยกัน คนทำสื่อ สถาบันสื่อเราไม้ได้นำไปทำเอง แต่เรามีหน้าที่นำเสนอสิ่งที่ดีที่มีอยู่แล้วในชุมชนหรือสังคมออกสู่สาธารณะ
สถานการณ์โดยรวมเป็นสถานที่ปั่นป่วน สับสน สุขภาวะที่ดีต้องมีหลักคิดที่ชัดเจน สื่อที่ดีต้องมีคุณธรรม การอยู่ร่วมกันในสังคมต้อง และต้องมีกระบวนการทางสังคมที่ดี ต้องมีปัญญาสุขภาวะ การล้อมวงคุยเป็นทางออกหนึ่งที่สามารถเป็นทางออกลดความขัดแย้ง สร้างรอยยิ้ม สร้างความสมานฉันท์ กาก้าวข้ามข้อจำกัดไปสู่สุขภาวะต้องมีเป้าหมายร่วม เพื่อสร้างความดีงามให้เกิดในสังคม

ความคิดเห็นผู้เข้าร่วม การใช้พลังสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง

  1. ให้ช่วยสื่อกับประชาชนที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง(ความดัน เบาหวาน...เป็นต้น) เมื่อไปหาหมอทุกครั้งให้นำยาที่เหลือไปด้วย ลดการกินยาซ้ำซ้อนของคนไข้
  2. ให้ช่วยสื่อให้คนไข้ถ่ายรูปยาที่ตัวเองกินมาด้วย เพื่อลดการจ่ายยาและรักษาซ้ำ
  3. สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง หรือ สื่อเชิงบวก อยากให้มองถึงประโยชน์จากการเกิดน้ำท่วม น้ำหลาก ไม่ใช่นำเสนอแต่ทางลบ หรือความเสียหาย เช่น ปลา
  4. ช่วยให้เผยแพร่ด้านเทคนิคสื่อ
  5. ด้านจริยธรรมและคุณธรรมของสื่อด้านการเผยแพร่ข่าวสาร
  6. รูปแบบของสื่อ ด้านคุณค่า ความดี ส่งผลให้กับสังคมได้อย่างไร

จริยธรรมสื่อที่พึงประสงค์

  • พูดถึงความสุข สื่อในรูปแบบที่ถนัด มีคุณธรรม และรูปธรรม
  • (คุณลักษณะ)รูปแบบการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง

แบ่งได้ 2 ส่วน

  • เครื่องมือที่ใช้
  • ทักษะของเนื้อหาข่าว มีคุณสมบัติ คือ คนทำสื่อที่อยู่เหตุการณ์หรือพื้นที่การนำเสนอต้องตรงไปตรงมา เป็นกลาง และเมื่อได้รับข่าวจากที่อื่นจำเป็นต้องมีโครงสร้างเพื่อประกอบเหตุผลให้กับคนที่รับข่าว
  • ไม่นำเสนอแต่ปรากฏการณ์ เนื้อหาข่าวต้องเกิดคุณค่าต่อการรับรู้หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร
  • ใช้พื้นที่กลางผนวกกับกิจกรรม
  • ข้อมูลต้องชัดเจน รับผิดชอบในสิ่งที่นำเสนอ
  • เป้าหมายที่เราจะนำเสนอ นำเสนอใคร เรื่องอะไร เพื่ออะไร มีวิธีการอย่างไร

แลกเปลี่ยนเพื่อหาฉันทามติร่วมเพื่อกำหนดเป็นข้อเสนอ(จากเอกสารร่างประกอบ)เพื่อเป็นข้อเสนอต่อหน่วยงานภาคี สสส. สปสช. สช. สธ. พอช.

เพื่อให้เกิดการสนับสนุนและให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการเชื่อมร้อยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับกลุ่มคนที่ได้ใช้ประโยชน์กับเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ในทุกระดับกลุ่มคน จึงมีข้อเสนอดังนี้

ข้อเสนอต่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

  1. เสนอให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)หนุนเสริมการพัฒนาศักยภาพกองบก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ โดยให้เครือข่ายสื่อเป็นกลไกการสื่อสารของการสร้างเสริมสุขภาพพื้นที่ภาคใต้
  2. ใช้โมเดลสื่อสร้างสุขภาคใต้ เพื่อการสื่อสารของสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภูมิภาค เพื่อการขยายเครือข่ายการทำงานสื่อ
    4.

ข้อเสนอต่อศูนย์ภาคใต้ฯ สำนักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

  1. เสนอให้ ศูนย์พัฒนานโยบายสาธารณะและเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมภาคใต้ (สช.) ร่วมกับเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ โดยกอง บก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ ผลักดันประเด็นจริยธรรมสื่อชุมชนเป็นนโยบายสาธารณะในระดับชาติผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หรือสมัชชาเชิงประเด็น
  2. เสนอให้ สช.ปรับเพิ่มกลไกการสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ในระดับภาคจากเดิมทีมีเพียงกลไก 4 PW จังหวัด และกลไกวิชาการภาค โดยเพิ่มกลไกการสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนนโยบาย เป็นอีกหนึ่งกลไกเพื่อสื่อสารการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายทั้งในระดับภาคและระดับพื้นที่
  3. เสนอให้ สช. ใช้กลไกการทำงานของสื่อสร้างสุขภาคใต้กับการขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะในพื้นที่ภาคใต้ อย่างต่อเนื่อง

ขอเสนอต่อ สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

  1. เสนอให้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)สนับสนุนให้เกิดกระบวนการสื่อสารเพื่อการเข้าถึงสิทธิที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมภาคใต้โดยผ่านเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
  2. เสนอให้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) เขต 11 และ เขต 12 จัดตั้งกลไกการสื่อสารเพื่อการพัฒนากองทุนในระดับเขต

ข้อเสนอต่อ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การมหาชน (พอช.)

ยังไม่มีข้อเสนอแต่คณะทำงานเครือข่ายสื่อต้องศึกษาข้อมูลความสอดคล้องและการนำสื่อไปใช้ประโยชน์กับกระบวนการทำงานของ พอช.ต่อไป

ข้อเสนอต่อ กระทรวงสาธารณะสุข ( สธ.)

  1. เสนอให้เพิ่มภาคีเครือข่ายสื่อในโครงสร้างคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
  2. เสนอให้มีการนำผลงานวิจัยที่มีการยอมรับในเรื่องของระบบสุขภาพมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

ข้อเสนอจากเครือข่ายภาคีสร้างสุขภาคใต้

  1. ขอให้สมาชิกเครือข่ายสื่อเป็นสื่ออาสาสร้างสุขภาคใต้
  2. เพิ่มช่องทางการสื่อสารโดยใช้เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้เป็นช่องทางหลัก
  3. ใช้การล้อมวงคุยในการถอดประเด็นการขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ของสื่อสาร

 

60 78

34. เวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2561

วันที่ 30 มีนาคม 2561 เวลา 09:00:17:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ด้านการเชิญผู้เข้ารวมงานเข้าห้องประชุมใหญ่เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิด
  2. ร่วมออกแบบ เวทีใหญ่ อุปกรณ์ประกอบฉาก กิจกรรมบนเวทีในช่วงพิธีเปิด และกิจกรรมบนเวทีทั้งหมดในห้องประชุมใหญ่จนถึงวันปิดงาน
  3. งานหน้าเวทีใหญ่ ระบบแสง สี เสียง ความพร้อมขั้นตอนลำดับกิจกรรม และประสานงานกับทีมสจรส.เพื่อควบคุมรายการบนเวที รวมทั้งพิธีของงาน
  4. กิจกรรมลานสร้างสุข และพิธีกรภาคสนามเพื่อทำการสื่อสาร การของร่วมกิจกรรมของแต่ละเครือข่าย
  5. กิจกรรมห้องย่อย ในหารอำนวยความสะดวกเรื่องระบบเสียงการบันทึกภาพ และเสียงของกระบวนการห้องย่อย และจัดทีมเข้าทำกระบวนการห้องย่อยของเครอข่ายสื่อสรางสุขภาคใต้เพื่อจัดทำข้อเสนอกับหน่วยงานองค์กรต่างๆ
  6. บันทึก ภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว สำหรับจัดทำ VTR นำเสนอในช่วงพิธีปิด
  7. รวบรวมบันทึกภาพกิจกรรมของทุกกิจกรรมในงาน ทั้งเป็นภาพเคลื่อนไหว(วิดีโอ) ภาพนิ่ง ตัดต่อสมบูรณ์ เพื่อนำส่ง สจรส.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้าร่วมงานจากกลุ่มเป้าหมายที่มาจากเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานในภาคใต้ เข้าร่วมประมาณร้อยละ 90 ของที่ตั้งเป้าไว้
  2. การรับผิดชอบงานตามหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละฝ่าย สามารถบรรลุเป้าหมายเป็นที่น่าพอใจ งานทุกขั้นตอนขับเคลื่อนไปอย่างราบรื่นตามกำหนดการ แม้มีอุปสรรคบ้างก็เป็นเรื่องที่คาดการณ์วาอาจจะเกิด และสามารถแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมของทุกๆเครือข่าย ได้เรียนรู้ประสบการณ์การทำงานร่วมกันและการจัดการในเชิงวิชาการผสมผสานกับวิถีการทำงานแบบกลุ่มเครือข่าย ในการที่จะนำองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนทั้งบนเวทีเสวนา กลุ่มห้องย่อย บู๊ธวิชาการหรือแม้กระทั้งการพุดแลกเปลี่ยนแบบตัวต่่อตัว
  4. การเรียนรู้ของนักสื่อสารในรูปแบบการสร้างเครือข่าย ที่ส่งผลต่อการกระจายข่าวข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ทั้งภายในงานและ ภายนอก
  5. การใช้สื่อในการบันทึกกิจกรรมทั้งภาพนิ่งและการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางแบบ online onair onground สามารถสร้างการรับรู้ให้กับผู้เข้าร่วม และผู้ที่พลาดโอกาศบางช่วงบางตอนสามารถเข้าไปชมย้อนหลังได้และสามารถเข้าไปชมเพื่อการอ้างอิงทางลิ้งค์ที่กำหนดให้
  6. ข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ทั้งในห้องประชุมใหญ่ พิธีเปิด พิธีปิด เวทีเสวนา กิจกรรมบันเทิงสร้างสรรค์ต่าง รายงานวิชาการห้องย่อยแตละเครือข่าย ถูกบันทึกเก็บไว้และ ลำดับภาพที่สมบูรณ์นำส่ง สจรส. และสำหรับเป็นข้อมูลเพื่อการศึกษาของผู้สนใจ
  7. เครือข่ายสื่อสร้างสุขได้เรียนรู้การขับเคลื่อนงานและเป้าหมายของประเด็นต่างๆ เพื่อเป้นข้อมูลในการคิดเนื้อหาและวิธีการสื่อสารให้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนงานของแต่ละประเด็นรวมทั้งมีโอกาศในการจัดทำข้อเสนอกับองค์กรและหน่วยงานถึงความต้องการและการใช้ประโยชน์ของการสื่อสารที่นำไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
  8. ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่างๆ เห็นความสำคัญและการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสื่อสร้างสุข และให้โอกาสกับสื่อชุมชน และเปิดพื้นที่การสื่อสารเพื่อการรับรู้เรื่องราวของชุมชนเพิ่มขึ้น

 

2,000 2,000

35. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช งวดที่ 2

วันที่ 11 เมษายน 2561 เวลา 09:00:10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดรายการลิกอร์ล้อมวงคุย ทาง Facebook Live ประเด็น
    • บุญเดือน 5 สงกานต์แตแรกเมืองนคร
    • เส้นทางสู่สมัชชาประชาชนภาคใต้ ตอนฝายชะลอน้ำบ้านควนขี้ลม
    • เส้นทางสู่ สมัชชาประชาชนภาคใต้ โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีฯ
  2. รายการ “ กินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ ” ประเด็น
    • ประเด็นกองทุนหลักประกันสุขภาพแก่ ผู้ป่วย ผู้ประสบภัย ผู้สูงอายุ
    • ประเด็นคนสร้างป่า ป่าสร้างน้ำ
    • ประเด็นการจัดการน้ำ โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีฯ”
  3. จัดเวทีสาธารณะ “ย้อนรอย 470 วัน น้ำท่วมใหญ่ : การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต

  1. สื่อสารกระบวนการทำงานของแต่ละประเด็นงานและเครือข่ายต่างๆในจังหวัด โดยเฉพาะประเด็นที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. สจรส.มอ.
  2. การร่วมกันผลิตเนื้อหา การสื่อสารของแต่ละพื้นที่ เพื่อทำการสื่อสารในช่องทางต่างๆ ร่วมกันโดยการจัดการร่วมของกองบรรณาธิการสื่อสร้างสุขภาคใต้
  3. เนื้อหาประเด็นการขับเคลื่อนจะรวบรวมเป็นข้อมูลทางวิชาการในการรับฟังความเห็นในห้องย่อย การสื่อสารสร้างสุขภาคใต้ ในงานสร้างสุขภาคใต้ปี  60
  4. ใช้เป็นข้อมูลงานวิจัยเรื่องรูปแบบการสื่อสาร และ เรื่องแนวปฏิบัติจริยธรรมการสื่อสาร

ผลลัพธ์

  1. เป็นส่วนหนึ่งในการให้เกิดเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาพใต้ ทั้ง 14 จังหวัด
  2. การทำงานร่วมในรูปแบบกองบรรณาธิการสื่อสร้างสุขภาคใต้ โดยมีการร่วมการผลิตเนื้อหาการสื่อสารในประเด็นสุขภาวะของแต่ละพื้นนำมาสื่อสารในช่องทาง การสื่อสารของแต่ละจังหวัด โดยมีตารางการนำเสนอสลับสับเปลี่ยนกันในแต่ละจังหวัด ในการนำเสนอเนื้อหา
  3. การวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการสื่อสารที่ได้ทำการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาคุณภาพสื่อ และรูปแบบวิธีการที่เหมาะสม

 

500 500

36. ค่าตรวจบัญชีโครงการ

วันที่ 9 พฤษภาคม 2561 เวลา 09:00:10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ตรวจบัญชีโครงการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารสาธารณะ สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมสุขภาวะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงานผลการตรวจบัญชีประจำงวดจากผู้ตรวจสอบบัญชี นำส่ง สจรส.เพื่อประกอบการเบิกจ่ายงบประมาณงวดถัดไป

 

50 0

37. โครงการคืนปูสู่ทะเล เพิ่มความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ครั้งที่2

วันที่ 2 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00-15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. บันทึกภาพวิดิโอ บรรยากาศของงาน สถานที่และสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนมีนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบบรรยากาศแบบชุมชน และมีความเป็นธรรมชาติ จัดรายการลิกอร์ล้อมวงคุยโดยเชิญผู้เกี่ยวข้องเช่น ตัวแทนสมาคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนครศรีธรรมราช สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ฯ เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูบ้านหัวเขา
    ตัวแทนธุรกิจโรงแรมมเมืองลิกอร์และบ้านแหลมโฮมสเตย์  สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช  ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 นครศรีธรรมราช  NBT นครศรีธรรมราช  เครือข่ายเยาวชน  นักเรียน  นักศึกษา
  2. จัดรายการสนทนา เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยน ถึงความสำคัญของการร่วมกันอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมทางทะเล และการรักษาสภาพธรรมชาติที่คงไว้ซึ่งความมั่นคงทางอาหารของพื้นที่โดยรอบ การบริหารจัดการร่วมภายใต้ภารกิจของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง     จุดเด่นหรือจุดขายของพื้นที่ ที่จะทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับชุมชน ทำอย่างไรให้ชุมชนอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ นักท่องเที่ยวช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. การสื่อสาร ผ่านช่องทางต่างๆ  ในรูปแบบ ออนไลน์ ส่งผลให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง เกิดการสื่อสารระหว่างการจัดรายการ การแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเพื่อการนำไปปรับปรุงพัฒนา
  2. การสื่อสารในรูปแบบ onground ส่งผลต่อชุมชนโดยตรง เกิดการแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านที่อยู่ในชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบปัญหา สถานการณ์ และสามารถร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้

 

100 10

38. เวทีเสวนา ทิศทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน ภาคใต้

วันที่ 8 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00-15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประมวลภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ชุมชนภาคใต้กลุ่มจังหวัดอ่าวไทย 2.บรรยายพิเศษ "นโยบายการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้" โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3.เสวนา "ทิศทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้" ดำเนินการเสวนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตศักดิ์ พุฒิจร  มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศ จังหวัดเพชรบุรี  มีผู้ร่วมเสวนา     -  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา     -  นายกสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้     -  ประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนฝั่งอันดามัน     -  ประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้     -  ตัวแทนระดับพื้นที่ 4.มีการถ่ายทอดสดในระบบทีวีออนไลน์ ผ่านทาง เฟสบุ๊คเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ชุมชนและผู้นำชุมชน องค์กรการศึกษาในชุมชน ให้ความสนใจ แลกเปลี่ยนมุมมองการสื่อสารและรูปแบบการสื่อสารที่ใช้อยู่และแนวคิดใหม่ กับเครื่องมือสมัยใหม่ในการสื่อสารชุมชน 2.แนะนำเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน 14 จังหวัดภาคใต้
3.เชื่อมโยงโครงข่ายการท่องเที่ยวชุมชนไปสู่แหล่งการท่องเที่ยวหลักและมีการจัดกิจกรรมที่มีความสอดคล้อง สัมพันธ์กันเพื่อให้นักท่องเที่ยวนั้นสามารถประกอบกิจกรรมได้หลากหลายมากขึ้น 4.สร้างกลุ่มตลาดใหม่ที่มีคุณภาพและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนไปสู่ตลาดสากล รวมถึงมุ่งสู่อุตสาหกรรม MICE หรือการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่  ในลักษณะการจัดประชุมบริษัทข้ามชาติ การท่องเที่ยวจากรางวัลที่ได้รับ การเข้าประชุมงานนานาชาติ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า หรือนิทรรศการนานาชาติ

 

1,000 11

39. เวทีสาธารณะ การท่องเที่ยวโดยชุมชนเข้ม มุ่งสู่ความเป็นเลิศ

วันที่ 9 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00-15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นเวทีสาธารณะ ว่าด้วยเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนเข้ม  มุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นใน หัวข้อ ทำไมต้องเข้มมุ่งความเป็นเลิศ และพรบ.การท่องเที่ยวเป็นตัวท้าทายอย่างไร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำไมต้องเข้มมุ่งความเป็นเลิศ และพรบ.การท่องเที่ยวเป็นตัวท้าทายอย่างไร           คุณบัญชา  แขวงหลี พรบ.การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ทางสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ ซึ่งนายกสมาคมการท่องเที่ยวได้พูดคุยกันไม่ตำกว่า 2 ปีโดยเหตุผลที่ว่า กระแสของท่องเที่ยวโดยชุมชนหรือท่องเที่ยวชุมชนโดยรัฐบาล  มุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว เพราะฉะนั้น กรอบหรือแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจึงไม่มีกรอบที่ชัดเจน  การพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้นและตอบโจทย์การท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยแท้จริงเป็นอย่างไร ไม่สามารถที่จะเดินต่อไปได้ เพราะฉะนั้นทางสมาคมการท่องเที่ยวจึงต้องร่วมคิด  ร่วมทำเพื่อให้มีกรอบ กติกาของสมาคม  ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นที่รับรู้กันว่า มาตรฐานของโฮมสเตย์ จะมีกรมการท่องเที่ยวเป็นผู้รับรอง  มาตรฐานของโรงแรมก็จะมี ททท.เป็นผู้รับรอง  ทั้งหมดเหล่านี้ มีหน่วยงานที่ดูแลอยู่  เพราะฉะนั้นมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนหรือพรบ.การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ได้กำหนดหรือร่างขึ้นมานั้นเพื่อต้องการให้มีแนวทางที่ถูกต้องและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
ถ้ามี พรบ.เกิดขึ้น สามารถสร้างบรรทัดฐานเหนือจากที่หน่วยงานที่รับรองได้อย่างไร           คุณบัญชา  แขวงหลี  ถ้าจะถามว่าเหนือกว่าไหม นั้นคือเป็นกรอบแนวคิดที่ต้องการให้เกิด ให้ชุมชนการท่องเที่ยวทุกพื้นที่ได้มีกรอบแนวคิดเป็นของตัวเอง และเป็นเครื่องมือป้องกันที่จะไม่ให้ชุมชนสูญเสียอัตลักษณ์ วัฒนธรรมของชุมชนเอง ก็เลยต้องมีกรอบขึ้นมา พรบ.ที่จะร่างขึ้นมีรายละเอียดและองค์ประกอบอย่างไร           คุณบัญชา  แขวงหลี  มีองค์ประกอบในหลายๆด้าน แต่เบื้องต้นได้มีการยกร่างในหลายเวทีมาแล้ว ซึ่งอยู่ในระดับร่างสุดท้ายที่จะไปสู่กระบวนการพิจารณาของกรรมการของสมาคม  แต่ถ้ามีระเบียบ ข้อบังคับอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมี พรบ. แต่ทางสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ก็มีคำตอบที่จะยื่นต่อไป           คุณอำพล  ธานีครุฑ  ชุมชนน่าจะเป็นผู้เขียน พรบ. ด้วยตนเอง เพราะจะได้รู้เรื่องและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เมื่อร่าง พรบ.เสร็จแร้ว รับรู้กันทั้งหมด มีการเชื่อมโยงกันทั้ง 4 ภาค พรบ. ฉบับนี้ต้องมีทั้ง 4 ภาค และน่าจะขึ้นเป็นสมาคมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
        ทำไมเราต้องมี พรบ. เป็นของตัวเอง เกิดจากตัวเราเองเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป้าหมายการท่องเที่ยวโดยชุมชน อาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวกระแสหลักหรือการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ แต่เรามีเป้าหมายเดียวกันหมด กฎหมายที่ร่างออกมาแล้วมาบังคับใช้กับการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้น ไม่สอดคล้อง ไม่ตรงกับความต้องการ ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น พรบ.ธุรกิจนำเที่ยว  ไม่ใช่กฎหมายการส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นแค่กฎหมายนายทะเบียน กฎหมายที่ควบคุมมัคคุเทศน์  ควบคุมบริษัททัวร์ ไม่มีมาตราไหนที่พูดถึงชุมชนการท่องเที่ยวเรยไม่สามารถเอามาปฏิบัติได้ ส่วนมากจะมีแค่การพัฒนาท้องที่ แต่ต้องทำตามกฎหมายนั้น ดังนั้น พรบ.การท่องเที่ยวโดยชุมชนต้องร่างขึ้นมาเอง
        คุณสมพร สาระการ  ความต่างของท่องเที่ยวชุมชนกับท่องเที่ยวกระแสหลัก ต่างกันอย่างไร ความต่างที่ชัดเจนที่สุดคือ การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการสร้างคุณค่า สร้างอาชีพให้กับชุมชน  แต่การท่องเที่ยวกระแสหลักเป็นการมองที่ตัวเลขการท่องเที่ยวเป็นหลัก  ส่วนใหญ่จะใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการจัดการชุมชน ในการสร้างรายได้  ในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ นั้นคือเข้มมุ่งของการท่องเที่ยวโดยชุมชน

การสร้างอัตลักษณ์ตัวเราไม่ใช่เฉพาะกลุ่มหนึ่ง กลุ่มใด แต่ต้องเป็นองค์กรระดับชาติ  และองค์กรระดับชาติเป็นสภาการท่องเที่ยว ที่จะเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโดยชุมชมหรือเชื่อมโยงกับสมาคมได้อย่างไร และมีหลักคิดและแนวคิดอย่างไร           ในเรื่องของ พรบ. ถ้ามี พรบ.ขึ้นก็เป็นเครื่องมืออีกเหมือนกัน และถ้าจะมีพรบ.ท่องเที่ยวชุมชน ก็ต้องมีสภาการท่องเที่ยวเพื่อเป็นตัวหนุนเสริม ในการขับเคลื่อน ผลักดัน สะท้อนปัญหา มองเป็น  2มิติ ถ้ามีสภาก็สามารถผลักดันการท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรมได้ เพราะสภามีองคฺ์กร มีคณะทำงานที่ชัดเจน มีตัวแทนแต่ละจังหวัด มีการรับรู้กันทุกภาคส่วนและสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐได้
          คุณปาทิดา  โมราศิลป์ ในมุมของนักวิชาการ คือ มีบทบาทในการทำคู่กันมาตลอดทางด้านข้อมูลด้านวิชาการ มาตรฐาน ศึกษาข้อมูล หลายๆ ข้อมูลที่จะประมวลและเป็นภาพของมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้  ซึ่งในข้อมูลชุดนั้นจะผ่านการคัดกรองมาหลายวิธีด้วยกัน และจากมาตรฐานก็ขึ้นมาเป็น พรบ.  และเมื่อสภาที่กำลังจะเกิดขึ้นในระดับภาค นักวิชาการก็เช่นเดียวกันก็จะต้องยึดโยงในระดับภาคด้วย
          ชุมชนกลุ่มเล็กที่กำลังขับเคลื่อนในพื้นที่อยู่นั้น เขาทำเพื่อปกป้องตัวเองหรือบางทีอาจจะมีการกดดันจากกระแสการท่องที่ยวกระแสหลัก  ท่องที่ยวกระแสหลักมาจากทุนภายนอก เพราะฉะนั้นฐานความตั้งใจที่จะปกป้องทรัพยากรหรือฐานตัวเองนั้น การท่อเงที่ยวโดยชุมชนถือเป็นเครื่องมือในการปกป้องผืนแผ่นดินตัวเอง จากกลุ่มเล็กๆในพื้นที่ 10เสียงอาจจะไม่พอในระดับจังหวัด เครือข่ายระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ เพราะฉะนั้นแล้วทำให้เกิด 10 เสียงขึ้นมาจะต้องมีขบวนเคลื่อนจากกลุ่มเล็กๆ รวมตัวกันเป็นเครือข่ายระดับกลุ่มจังหวัดหรือระดับภาค และตัวจะมาปกป้อง คุ้มครอง เอื้อ ก็คือ พรบ.
          คุณจรัญญา ศรีรักษฺ์  ตลาดน้ำบ้านบางใบไม้ ทำท่องเที่ยวชุมชนตั้งแต่ ปี 2549 เริ่มจากผู้นำเและชาวบ้านรวมตัวกัน โดยการใช้ทุนจากธรรมชาติ จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน  ได้เป็นโอท็อป 5 ดาว ในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชาวบ้าน จนกลายมาเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการกระจายรายได้และชาวบ้านมีความพร้อมที่จะร่วมมือกันทำ  นโยบายรัฐมีความขัดแย้งกับท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นอย่างมากแต่โชคดีที่บางใบไมใม้ไม่ได้ใช้งบประมาณจากภาครัฐ สร้างความเข้มแข็งให้กับชาวบ้าน และมีภูมิคุ้มกันไม่ตกเป็นเครื่องมือ แต่จะหยิบฉวยผลประโยชน์ที่จะได้มา เป็นมิตรกับทุกหน่วยงานแต่จะดึงเอาส่วนที่มาเติมเต็มให้กับการท่องเที่ยวของเราเอง
        คุณเชภาดร  จันทร์หอม  ส่วนของประเด็นการท่องเที่ยวในงานสร้างสุขเป็นทั้งข้อท้าทาย เป็นทั้งเครื่องมือ เป็นเรื่องที่ระดับภาคได้พูดถึง  ปี 2559 ทำให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นประเด็นของงานสร้างสุขภาคใต้ และทำให้เห็นถึง ต้นทุน ขบวน และร่วมกันคิดว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนจะขับเคลื่อนไปในรูปแแบบไหน  ข้อเสนอที่มาจาก 14 จังหวัดภาคใต้ในงานสร้างสุข มีประเด็นสำคัญ คือ เรื่อง พรบ. เป็นเรื่องที่สำคัญและจะขับเคลื่อนต่อในการพัฒนาตัวร่างให้ชัดเจนขึ้น และจะเป็นหุ้นส่วนในการจัดเวทีให้กลุ่มเครือข่ายระดับพื้นที่มีส่วนร่วมมากที่สุด
        ส่วนของสนับสนุนโดย สสส.ดูแลเรื่องความปลอดภัยในการท่องเที่ยวซึ่งได้มาร่วมขับเคลื่อนประเด็นต่างๆกับ ชุมชน เมื่อ ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ในระดับจังหวัด ระดับพื้นที่ ระดับภาค รวมไปถึงนโยบายที่จะร่วมเข้าพบรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ โดยใช้ประเด็นความปลอดภัยเป็นตัวนำ กฎเกณฑ์ มาตรฐานของชุมชน เราจะสนับสนุนในส่วนตรงนั้น แต่กฎ กติกาต่างๆต้องมาจากชุมชนในรูปแบบภาคหนุนเสริม ใน 3 ส่วนที่พูดกันมาไม่ว่าจะเป็นในส่วนของสภา พรบ. มุ่งสู่ความเป็นเลิศ  3ส่วนนี้ จะหนุนเสริมกันตั้งแต่ต้น ทั้งงบประมาณ ทั้งแรงกาย แรงใจ

การท่องเที่ยว การรักษาทรัพยากรธรรมชาติเป็นเป้าหมายหลัก  สิ่งเหล่านี้เป็นของท้าทายหรือมีเข้มมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ด้วยหรือไหม         คุณบัญชา  แขวงหลี  สำหรับการที่จะให้มี พรบ.การท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับโลก นั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะในเรื่องของการส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ปกป้องทรัพยากรในส่วนของตัวเอง  ใช้ท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ UN เป็นหน่วยงานที่ดูแล เข้ามามีบทบาท คววามปลอดภัยของชุมชน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม สอดรับกับเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเห็นด้วยและจะเดินไปในทิศทางและตอบโจทย์เดียวกัน และให้ลงลึกในส่วนของวิชาการ แต่จะไม่เอาในส่วนที่ไม่สอดรับกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน หน่วยงานระดับโลกถูกยอมรับอยู่แร้ว
          เครือข่ายชุมชนเล็กๆ ที่ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองนั้น จะมีเครือข่ายชุมชนใหญ่ จะค่อยช่วยเหลือในการขับเคลื่อน เป็นที่ปรึกษา แต่อย่าลืมว่ารัฐ เรื่องนโยบายจะต้องเกิดขึ้นต้องทำกัยอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่คำพูด งบประมาณเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการที่จะนำไปสู่ขอท้าทาย 3 เรื่อง สภา พรบ. มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ในหน่วยงานที่สนับสนุน โดยเฉพาะภาครัฐ หรือทุกภาคส่วน ต้องยอมรับว่า จะมีการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน บุคคลในพื้นที่ ที่ไม่เข้าใจในเรื่องของการท่องเที่ยวโดยชุมชน จะต้องพยายามศึกษา และในส่วนของการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีประสบการณ์มาก่อน มองเห็นว่า อันตราย หรือกับดัก คือตัวเงินที่รัฐบาลสนับสนุนการท่องที่ยวโดยชุมชน เป็นส่วนที่สำคัญ ถ้าไม่เข้าใจจะทำให้ชุมชนแตกแยกและเมื่อชุมชนแตกแยกก็จะทำให้ชุมชนอ่อนแอ แล้วทุกอย่างก็จะพังลง เพราะฉะนั้นในส่วนนี้เป็นส่วนที่จะสำคัญที่สุด และส่วนที่น่าเป็นห่วงคือชุมชนน้องใหม่ เพราะพอมีงบเข้ามาสนับสนุนก็จะรับไว้เรยโดยไม่คำนึงถึงอันตรายอื่นๆที่จะตามมา ในขณะเดียวกัน พร้อมหรือไม่พร้อม รัฐก็จะสนับสนุนให้ ตรงนี้เป็นส่วนที่น่าห่วง ณ วันนี้การท่องเที่ยวโดยชุมชน จะต้องประเมินว่าเราอยู่ในระดับไหน ถ้ายังไม่พร้อมในส่วนของโครงสร้างในระดับชุมชน นั้น ถือว่าเป็นส่วนที่อันตรายมาก เพราะฉะนั้นในส่วนตรงนี้ การท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเป็นตัวแทนของสมาคมยังต้องตระหนักว่าในส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญ จะต้องพูดคุยกับชุมชนที่จะเริ่มเข้ามาในเส้นทางท่องเที่ยโดยชุมชนว่า ต้องระวังอย่างไร ต้องมีกรอบ กติกาอย่างไร ให้สามารถเดินต่อไปได้ 

 

30 11

40. หักภาษีดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร

วันที่ 15 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ไม่มี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่มี

 

0 0

41. เบิกจ่ายเงินสนับสนุนการปิบัติงานวิชาการ พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะภาคใต้ งวดที่3

วันที่ 19 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

1 1

42. เบิกจ่ายเงินสนับสนุนการปฎิบัติงานวิชาการ พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะภาคใต้ งวดที่2

วันที่ 19 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

1 1

43. งานวิชาการเพื่อการวิจัยกิจกรรมศึกษาและเก็บข้อมูลการสื่อสาร สำหรับการวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสาร/แนวทางกำหนดจริยธรรมสื่อ (การจัดการระบบอาหาร)

วันที่ 20 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ติดต่อประสานพื้นที่  เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการระบบอาหาร 2.ลงพื้นที่ ถ่ายทำ สัมภาษณ์ เก็บข้อมูล เก็บภาพ และรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดการระบบอาหาร 3.ตัดต่อภาพที่ได้เพื่อทำวีดิโอ เผยแพร่ทางสื่อ YouTube ลิกอร์ Live และทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

          พื้นที่ผลิตอาหารในจังหวัดสงขลาลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการการเปลี่ยนวิธีการผลิตแบบเชิงเดี่ยว  การถูกคุกคามจากโครงการต่างๆ ทำให้ประชาชนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้  สำหรับความปลอดภัยของอาหารยังพบว่ามีการปนเปื้อนจากสารเคมี  สิ่งแปลกปลอมส่งผลต่อมาตรฐาน  คุณภาพและความปลอกภัยของผู้บริโภค ด้านโภชนาการเกิดปัญหาขาดสารอาหาร เด็กเตี้ย ผอม และซีด  ส่งผลทำให้เด็กไอคิวต่ำและปะญหาโรคอ้วน  โรคเรื้อรัง  สาเหตุจากการได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ซึ่งได้มีโครงการบูรณาการระบบอาหารแลโภชนาการสมวัยจังหวัดสงขลา ได้เข้ามาขับเคลื่อนกการทำงานโดยใช้ตำบลควนรู อ.รัตภูมิเป็นกรณีศึกษาการทำงานที่เชื่อมโยงกันในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร  อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย ด้วยเล็งเห็นว่าควนรูมีศักยภาพของชุมชนมากพอ         ตำบลควนรู ใช้ต้นทุนเรื่องธนาคารอาหารชุมชน ขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดตั้งศุนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว  พันธ์ุผักพื้นบ้าน  การจัดทำธนาคารน้ำเพื่อใช้การทำการเกษตรและแหล่งอาหารที่ปลอดภัย เป็นหลักประกันความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชน เกิดเป็ครัวเรือนต้นแบบ40  ครัวเรือนที่เน้นการผลิตผัก ผลไม้ที่ปลอดภัยเหลือกินจึงจำหน่ายและสร้างรายได้ให้ประชาชนในตำบลควนรู

 

20 5

44. เวทีเสวนาสาธารณะจัดการภัยพิบัติ โจทย์ท้าทายของการมีส่วนร่วมให้ถึงฝันได้อย่างไร

วันที่ 21 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00-15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นเวทีเสวนาสาธารณะแลกเปลี่ยนระหว่าง ปภ. กับ ท้องที่/ท้องถิ่น กับ พื้นที่ (เสวนาผ่านสื่อ)ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย 1. นายสมเดช  คงเกื้อ เครือข่ายฝายมีชีวิต 2. ผู้แทนปภ.จังหวัด 3. ตัวแทนโครงการอาสาประชารัฐ 4. ตัวแทนพื้นที่ ต.ถ้ำพรรณรา นายวรรณะ  สังข์กรด 5. ตัวแทนพื้นที่ ต.ชะอวด นายบุญโชค นิ่มหนู 6. รต.สุภาพร  ปราบราย  ตัวแทนเครือข่าย นำเสวนาโดยนายอานนท์  มีศรีและมีการถ่ายทอดสดในระบบทีวีออนไลน์ ผ่านทาง เฟสบุ๊คเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การจัดการภัยพิบัติโดยการมีส่วนร่วม ไปให้ถึงฝันได้อย่างไร รต.สุภาพร  ปราบราย  ตัวแทนเครือข่าย เป็นทั้งผู้ประสบภัยและได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งในและนอกสถานที่  มีแนวคิดว่า  ถ้าเราไม่ต้องการที่ให้มีเหลือบ ริ้น ไร คอยเกาะกินภัยพิบัติ ชุมชนต้องลุกขึ้นมาจัดการตนเอง  เราต้องเป็นหู เป็นตา ให้กับหน่วยงานที่จะคอยชี้เบาะแสชี้เป้าให้กับหน่วยงานรับทราบเพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงจุด  มีการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ  เปรียบเสมือนเป็น “หมาเฝ้าบ้าน” ของเราเอง  เพื่อให้พี่น้องเราได้อยู่อย่างปลอดภัยและได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นชุมชนต้อง นายบุญโชค  นิ่มหนู พื้นที่ชะอวดน้ำจะท่วมทุกปีเนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำ  เมื่อปี 25560 นับว่าเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับชาวชะอวด  การคิดว่า คาดว่า ไม่น่าเกิด แต่ก็เกิดขึ้นกับชาวชะอวด ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่น้องเนื่องจากเส้นทางเข้าไปลำบาก รถไม่สามารถวิ่งได้  เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงทำให้ขาดการเตรียมการ ขาดการเตรียมพร้อม  การหวังพึ่งภายนอกจึงเป็นเรื่องยาก  จำเป็นต้องตั้งศูนย์จัดการภัยพิบัติของตนเองขึ้น วรรณะ  สังข์กรด พื้นที่อ.ถ้ำพรรณราเป็นพื้นที่ปลายน้ำที่ รับน้ำมาจาก อ.ฉาง และอ.พิปูน เกิดน้ำท่วมหนักปี 2554 ทำความเสียหายอย่างหนักให้กับชีวิตและทรัพย์สิน  หลังจากนั้นชาวบ้านมีการตื่นตัว  จึงการการจัดตั้งศูนย์รับมือภัยพิบัติขึ้น มีการอบรมอาสาช่วยเหลือภัยพิบัติ มีการซื้อและจัดเตรียมอุปกรณ์ จนสามารถช่วยเหลือเพื่อนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ได้ ปภ.จังหวัดนครศรีธรรมราช แนวทางการจัดการภัยพิบัติ ถ้าชุมชนมีการเตรียมความพร้อมที่ดีพอ มีการเฝ้าระวัง มีการแจ้งเตือนภัยกันเองในพื้นที่  เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับทางจังหวัดที่คิดมาจากความแตกต่างของพื้นที่ 1 ตำบล 1 ศูนย์จัดการภัยพิบัติ ทั้ง 3 หน่วย คือ รัฐ ประชาชน เอกชน  ต้องเดินไปแนวทางที่สอดคล้องกัน รูปแบบการจัดการตนเอง เป็นการจัดการขั้นพื้นฐานที่ชุมชนต้องเรียนรู้ มีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย  ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วหน่วยงานต่างๆก็ต้องมีการเตรียมพร้อมไปกับชุมชนด้วย นายศิลเรืองศักดิ์  สุขใส หัวหน้ากลุ่มจังหวัด การเตรียมความพร้อมในการรับภัยพิบัติ  ทำอย่างไรให้ชุมชนท้องถิ่นมีความพร้อมในการรับมือ  ที่ผ่านมาเราใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นแกนกลางในการเชื่อมประสานกับหน่วยงาน หรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  การทำเป็นชุดความรู้จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อการเตรียมความพร้อมให้กับพื้นที่ สภาองค์กรชุมชนเป็นที่ปรึกษาหารือของคนในชุมชน หรือเป็นพื้นที่กลางให้คนในชุมชนได้ปรึกษาหารือปัญหาต่างๆรวมทั้งปัญหาด้านภัยพิบัติด้วย  เป็นช่องทางให้ชุมชนสามารถเข้าถึงหน่วยงานและงบประมาณ  พอช.ไม่ได้เป็นเจ้าของสภาฯเป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนเท่านั้น สภาฯต้องเป็นตัวของตนเองสร้างพื้นที่ของตนเอง  ในช่วง3-4 ปีที่ผ่านมาพอช.มีการสนับสนุนด้านงบประมาณให้กับสภาฯเพื่อการขับเคลื่อนเรื่องของการจัดการภัยพิบัติ นายสมเดช  คงเกื้อ เครือข่ายฝายมีชีวิต การมีส่วนร่วม ระหว่างน้ำท่วมและภัยแล้ง  เรารมองว่าภัยแล้งเป็นเรื่องที่รุนแรงกว่า น่ากลัวกว่า  ปรากฏการณ์ที่เราเจอ คือ น้ำท่วมในหน้าฝน น้ำแห้งในหน้าแล้ง  เมื่อพูดถึงภัยพิบัติชุมชนก็เกิดอาการขนลุกเนื่องจากความรุนแรงและเร็วของภัยพิบัติ  ด้วยเมื่อเทียบปัจจุบันกับสมัยก่อนการดำรงชีวิตของชุมชนได้เปลี่ยนวิถีไปแล้วอย่างมาก  เช่น การปลูกบ้าน  ภูมิปัญญาปัจจุบันที่เรานำมาใช้ คือ ฝายมีชีวิต  ที่ถูกพัฒนามาจาก นบ เขื่อน  รวมถึงกระบวนการประชาเข้าใจ  เป็นการระเบิดจากข้างใน  คือ ต้องให้ประชาเข้าใจก่อนถึงจะลงมือทำ  ตอนนี้ทั้งประเทศได้ดำเนินการทำฝายไปแล้วทั่วประเทศประมาณ 1000 กว่าฝาย  พบปัญหาบ้างแต่ก็ปรับแก้อย่างต่อเนื่อง  สิ่งที่เกิดขึ้น พื้นที่ฝายไม่พบปัญหาพืชผลยืนต้นตาย
น้ำพ่า กับ น้ำท่วม ไม่เหมือนกัน  น้ำพ่าชาวบ้านถือเป็นเรื่องธรรมดาเป็นการนำเอาความอุดมสมบูรณ์มาให้กับดิน  น้ำท่วมเป็นเรื่องของภัยพิบัติที่ชาวบ้านประสบความเสียหายทั้งชีวิตละทรัพย์สินแต่ไม่นาน7วัน 1เดือน  ถ้าเกิดภัยพิบัติจากภัยแล้งเราต้องประสบปัญหากันเป็นระยะเวลานาน นายวรวิชญ์  กฐินหอม หน่วยสนับสนุนจากภาคี รูปแบบวิธีการสนับสนุนการจัดการภัยพิบัติ  การสนับสนุนทักทอเครือข่ายจิตอาสาเพื่อสังคม ด้านการจัดการภัยพิบัติ สนับสนุนด้านข้อมูลภูมิศาสตร์สารสนเทศ กลุ่มคนจิตอาสาด้านภัยพิบัติเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ การจัดตั้งพื้นที่ตัวอย่างการจัดการภัยพิบัติเป็นที่พอช.ทำอยู่  เรื่องภัยพิบัติไม่มีใครสามารรถคาดเดาได้ ปภ.จังหวัดนครศรีรธรรมราช มีการสนับสนุน 6 พื้นที่ ตำบลท่างิ้ว ตำบลนาเขลียง  เป็นการสนับสนุนด้านสร้างเครื่องมือให้กับตำบลเพื่อให้ตำบลสามารถดำรงอยู่ได้ยามเกิดภัย  เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน ลดงบประมาณในการฟื้นฟูให้กับชุมชน  การร้องขอในเรื่องต่างๆลดลง ปลายปี 60 จาก 100 เรื่องเหลือประมาณ 30 เรื่องเป็นต้น รต.สุภาพร  ปราบราย
การเชื่อมโยงกับกลุ่มเครือข่ายและหน่วยงานเป็นเรื่องที่ชุมชนสามารถทำได้  แต่ต้องมีการเตรียมความพร้อมของพื้นที่ตนเองก่อน  เพราะงบประมาณไม่ว่าจะมาจากไหนถ้าเราไม่พร้อมเขาก็ไม่ให้
วรรณะ  สังข์กรด ข้อจำกัดของงบประมาณ  ถ้าพื้นที่มีความพร้อม ชาวบ้านตื่นตัวเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม งบประมาณจะมีมาหรือไม่ไม่เป็นปัญหา บุญโชค  นิ่มหนู มีการตั้งกองทุน เช่น กองทุนสวัสดิการ กองทุนการจัดการภัยพิบัติบ้านท่าสะท้อน สมเดช  คงเกื้อ
ครัวอาหารโลก เป็นเรื่องน่ายินดี  แต่ถ้าบ้านเราขาดน้ำ น้ำไม่อุดมสมบูรณ์อาหารบ้านเราคงไม่มีคุณภาพ  เราใช้น้ำ 115 ล้าน ลบม. แต่น้ำที่เราทิ้งมีมากกว่า การเก็บน้ำเอาไว้จะสามารถทำให้ยางพาราสามารถกรีดได้ทั้งปี  ผลได้มีทั้งในและนอกตามฤดูกาล นายวรวิชญ์  กฐินหอม กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม  ภัยพิบัติเกี่ยวกับทุกเรื่องในชีวิต  ทั้ง ด้านการให้ความรู้ ทักษะ การบูรณาการร่วม การเชื่อมโยงเครือข่าย

 

50 10

45. สนับสนุนผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ ประเด็นสุขภาวะ งานสร้างสุขภาคใต้(ประเด็นเกษตรกรรมเพื่อสุขภาพ)

วันที่ 21 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดทำสื่อเกี่ยวกับสื่อเพื่อการเรียนรู้ ประเด็นสุขภาวะ งานสร้างสุขภาคใต้ในประเด็นเกษตรกรรมเพื่อสุขภาพ 2.ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผ่านช่องทางเพจสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และทางรายการ กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้ ทั้งก่อนงาน และระหว่างงาน
3.นำเสนอวีดีโอประเด็นเกษตรกรรมเพื่อสุขภาพในห้องประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการรับรู้ในรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นเกษตรกรรมเพื่อสุขภาพไม่ว่าจะเป็น สวนยาง  พืชร่วมยาง ข้าว  ธนาคารต้นไม้  ตำบลบูรณาการ  และความมั่นคงทางด้านอาหาร จากสื่อที่นำมาเสนอได้มากขึ้น

 

1,500 1,500

46. สนับสนุนผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ ประเด็นสุขภาวะ งานสร้างสุขภาคใต้(ประเด็นปัจจัยเสี่ยง)

วันที่ 21 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดทำสื่อเกี่ยวกับสื่อเพื่อการเรียนรู้ ประเด็นสุขภาวะ งานสร้างสุขภาคใต้ในประเด็นปัจจัยเสี่ยง 2.ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผ่านช่องทางเพจสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และทางรายการ กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้ ทั้งก่อนงาน และระหว่างงาน
3.นำเสนอวีดีโอประเด็นปัจจัยเสี่ยงในห้องประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการรับรู้ในรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ สารเสพติดจากสื่อที่นำเสนอได้มากขึ้น 

 

1,500 1,500

47. สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 21 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดรายการ “ กินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ ” ในประเด็น           - ประเด็นกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น/พื้นที่ 2.จัดรายการลิกอร์ล้อมวงคุย ทาง Facebook Live ในประเด็น           - เล่าเรื่อง ประวัติของวัดธาราวดี ต.บางจาก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช           - กรณีอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทะเลของชุมชน (การทำธนาคารปู)           - ภัยพิบัติ รู้ทัน รับมือได้ ตื่นตัว แต่ไม่แตกตื่น           - โครงการก้าวหนึ่ง ลด ละ โฟม พลาสติก           - สมัชชาฝายมีชีวิต เสวนาเครือข่ายฝายมีชีวิต           - แก้ไขปัญหาการจัดการน้ำที่ยังยืน ฝายมีชีวิต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1.สื่อสารกระบวนการทำงานของแต่ละประเด็นงานและเครือข่ายต่างๆในจังหวัด โดยเฉพาะประเด็นที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. สจรส.มอ. 2.การร่วมกันผลิตเนื้อหา การสื่อสารของแต่ละพื้นที่ เพื่อทำการสื่อสารในช่องทางต่างๆ ร่วมกันโดยการจัดการร่วมของกองบรรณาธิการสื่อสร้างสุขภาคใต้ 3.ใช้เป็นข้อมูลงานวิจัยเรื่องรูปแบบการสื่อสาร และ เรื่องแนวปฏิบัติจริยธรรมการสื่อสาร

ผลลัพธ์ 1.เป็นส่วนหนึ่งในการให้เกิดเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาพใต้ ทั้ง 14 จังหวัด 2.การทำงานร่วมในรูปแบบกองบรรณาธิการสื่อสร้างสุขภาคใต้ โดยมีการร่วมการผลิตเนื้อหาการสื่อสารในประเด็นสุขภาวะของแต่ละพื้นนำมาสื่อสารในช่องทาง การสื่อสารของแต่ละจังหวัด โดยมีตารางการนำเสนอสลับสับเปลี่ยนกันในแต่ละจังหวัด ในการนำเสนอเนื้อหา 3.การวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการสื่อสารที่ได้ทำการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาคุณภาพสื่อ และรูปแบบวิธีการที่เหมาะสม

 

500 500

48. เวทีเสวนาสื่อสารสาธารณะ “หลักสูตรพัฒนาศักยภาพกับการนำไปใช้ประโยชน์ เห็นผลต่อการเปลี่ยนแปลง” อย่างไร

วันที่ 25 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นเวทีเสวนา สื่อสารสาธารณะ “หลักสูตรพัฒนาศักยภาพกับการนำไปใช้ประโยชน์ เห็นผลต่อการเปลี่ยนแปลง” อย่างไร ซึ่งมีผู้ร่วมเวทีดังนี้     -  นายนันทพงค์  นาคฤทธิ์  เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่
    -  นายเจกะพันธ์  พรหมมงคล  เครือข่ายปัจจัยเสี่ยง     -  ผศ.ณชพงศ  จันจุฬา  ภาควิชาสังคมศาสตร์  คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี     -  น.ส.ฐิตารัตน์  แก้วศรี  เครือข่ายเยาวชนนกนางนวล     -  นายวรวิชญ์  กฐินหอม  เครือข่ายสื่อ ดำเนินรายการโดย นายอานนท์  มีศรี  นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช  มีการถ่ายทอดสดและบันทึกเทป รายการ  ลิกอร์ล้อมวงคุย  เพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-หลักสูตรพัฒนาศักยภาพและการนำไปใช้ประโยชน์ของภาคีเครือข่ายสุขภาพภาคใต้ของ สสส. สสส. หลักสูตรพัฒนาฯ มีทั้งหมด7 หลักสูตรหลักๆคือ
1 การสร้างเสริมสุขภาพ 2 การบริหารโครงการ 3 การบริหารเครือข่าย 4 การจัดการความรู้ 5 การสื่อสาร 6 ภาวะผู้นำ 7 การบริหารเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนของเครือข่าย ทั้ง7 หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ใช้นำร่องและขับเคลื่อนของแต่ละเครือข่าย เพื่อสะท้อนและตอบโจทย์ออกมาว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ ซึ่งทาง สสส. เองนั้นถือว่าเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก เพราะทั้ง7 หลักสูตรนี้สามารถทำให้เครือข่ายประสบความสำเร็จได้ร้อยละ 85 เลยทีเดียว ซึ่งมี อ.เพ็ญ สุขมาก และ อ.พงค์เทพ  สุุธีรวุฒิ จากทาง สจรส. ที่ท่านเข้าใจในหลักสูตรเป็นอย่างดี คอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือตลอดการทำงานในเครือข่ายนี้ จะเปิดเวทีเปิดแหล่งเรียนรู้นี้ให้กับภาคีเครือข่ายต่างๆ ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน อ. เพ็ญ สุขมาก– หน่วยงานวิชาการของ สจรส. กลุ่มภาคีที่เข้าร่วมจะต้องเข้าร่วมทั้ง 7 หลักสูตร และปรับหลักสูตรให้เข้ากับพื้นที่ของภาคใต้ และออกแบบสูตรร่วมกับ หลายหน่วยงาน ซึ่งปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่ มีทั้ง 4เรื่องหลักด้วยกัน ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ หลักสูตรทั้ง7 หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างให้หน่วยงานของภาคีให้มีศักยภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น หากภาคีไม่ให้ความร่วมมือกันก็ไม่สามารถทำให้หน่วยงานในภาคีบริหารให้ยั่งยืนได้ หลักสูตรนี้มีการอบรมมา2รุ่นแล้ว รุ่นละ 50 คน สุดท้ายนี้อยากให้หลักสูตรนั้นสามารถพัฒนาสุขภาวะในคนได้จริง และเห็นความสามัคคีกันร่วมมือกันของคนในเครือข่าย และพยายามปรับเนื้อหาให้เข้ากับหลักสูตรต่อไป

คุณแสงนภา  หลีรัตนะ เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดชุมพร – ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการหลักสูตร การเข้าร่วมโครงการนั้นมีเงื่อนไขเยอะในการเข้าร่วมโครงการ ส่วนตัวไม่กังวลตัวเองแต่กังวลบุคลากรในหน่วยงานของตนเอง และ หลักสูตรนี้ตอบโจทย์กับสิ่งที่หน่วยงานกำลังปฏิบัติอยู่ ซึ่งหลักสูตรที่จัดอบรมนั้นมีความยากอยู่ในระดับหนึ่งเลย แต่มีเอกสารประกอบจึงทำให้การอบรมชัดเจนขึ้นมาหน่อย พอเรียนไปเรื่อยๆ เราก็มีมิติมุมมองว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะพัฒนาได้อย่างยั่งยืนอย่างสมบูรณ์แบบ

คุณเจกะพันธ์  พรหมมงคล ผู้ประสานงานด้านปัจจัยเสี่ยงของภาคใต้ – ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการหลักสูตร จุดอ่อนเลยคือเรียนไม่ค่อยเข้าใจ ซึ่งเป็นวิชาการมากเกินไป ซึ่งเรื่องราวแรกๆคล้ายๆกับพี่สาวชุมพร ภายหลังจึงได้รู้ว่าหลักสูตรที่เรียนนั้นสอดคล้องกับการทำงานของหน่วยงานที่ทำอยู่

ปัตตานี – จับประเด็นขับเคลื่อนประเด็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ รณรงค์ปลอดบุหรี่ภายในพื้นที่ ได้ใช้หลักสูตรในการพัฒนาและปรับปรุงอย่างได้ผลภายในเครือข่าย  ฝึกโดยการนำประเด็นจริงมาตอบโจทย์และมีอาจารย์จาก
สจรส.มาช่วยแนะนำอยู่ตลอด จึงทำให้เกิดความสำเร็จมากมายมาจนทุกวันนี้

ผศ.ณชพงศ  จันจุฬา  ภาควิชาสังคมศาสตร์  คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี – เป็นหลักสูตรที่ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย เป็นหลักสูตรที่น่าสนใจในการพัฒนาสุขภาวะในตัวคน และวิธีคิดต่างๆที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

คุณวรวิชญ์  กฐินหอม– เครือข่ายสื่อ เนื่องจากสื่อนั้นเป็นเยาวชนส่วนมากทำงานอยู่ จึงส่งเยาวชนเข้ามาอบรมเพื่อให้เยาวชนซึมซับและเรียนรู้การจัดวางระบบภายในตัว ซึ่งยังมีจุดอ่อนอยู่เหมือนกันทางด้านการสื่อสาร

คุณนันทพงค์  นาคฤทธิ์  เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่  – ทำเรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ใช้หลักพัฒนาศักยภาพนี้มาประยุกต์ใช้กับเรื่องหารและการที่พักให้สะอาดและปลอดภัย ซึ่งธุรกิจท่องเที่ยวนี้เกี่ยวข้องกับธุรกิจMICE หลังจากที่ได้อบรมมาซึ่งเป็นโครงการที่ทำมาแล้วแต่เพิ่งมารู้จัก ซึ่งการเข้าอบรมครั้งนี้ก็เกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกับธุรกิจนี้เช่นกัน จัดให้เป็นระบบมากขึ้น จนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

อาจารย์จากสสส. – การขับเคลื่อนที่มีจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าหากว่าขาดกลุ่มภาคีเครือข่ายต่างๆในการร่วมมือ เพื่อสนับสนุนสสส.ให้ดำเนินงานต่อไป โดยมีหลักพัฒนาศักยภาพนี้ให้เป็นหลักพัฒนาและปรับปรุงเครือข่ายภายในภาคใต้ และต่อยอดไปเรื่อยๆจนเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น


 

30 31

49. งานวิชาการเพื่อวิจัยกิจกรรมศึกษาและเก็บข้อมูลการสื่อสาร สำหรับการวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสาร/แนวทางกำหนดจริยธรรมสื่อ (กองการแพทย์เทศบาลนครภูเก็ตใช้กองทุนหลักประกันสุขภาพ)

วันที่ 28 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ติดต่อประสานพื้นที่  เทศบาลนครภูเก็ต  เจ้าหน้าที่และจิตอาสากองการแพทย์เทศบาลภูเก็ตที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2.ลงพื้นที่ ถ่ายทำ สัมภาษณ์ เก็บข้อมูล เก็บภาพ และรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ
3.ตัดต่อภาพที่ได้เพื่อทำวีดิโอ เผยแพร่ทางสื่อ YouTube ลิกอร์ Live และทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.กองทุนจะเน้นในการส่งเสริมป้องกัน ไม่ได้เน้นในการรักษาซึ่งจะสอดคล้องและการทำงานของกองการแพทย์  ในส่วนนี้จะเน้นในเชิงรุกไม่ได้เน้นในเชิงรับ
2.การดูแลการป้องกันด้านสุขภาพเป็นเป้าหมายสำคัญ ไม่ใช่เป็นเพียงการรักษา การพัฒนาระบบตลอดไปจนกระบวนการทำงาน ทั้งหน้าที่และจิตอาสาเป็นสิ่งจำเป็นต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ ทั้งหมดนี้เป็นการรวมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวบ้านที่มีจิตอาสาโดยมีงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นและพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์และนวัตกรรมใหม่ในยุค 4.0 ที่ช่วยให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลเชื่อมต่อถึงกันมากขึ้น

 

20 7

50. งานวิชาการเพื่อการวิจัยกิจกรรมศึกษาและเก็บข้อมูลการสื่อสาร สำหรับการวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสาร/แนวทางกำหนดจริยธรรมสื่อ (ธรรมนูญสุขภาวะ กองทุนหลักประกันสุขภาพ กับการสร้างเสริมสุขภาพ ทำงานแบบมีส่วนร่วมทุกคนในตำบลเข้าถึงกองทุนฯ )

วันที่ 4 กรกฎาคม 2561 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ติดต่อประสานพื้นที่  คณะทำงาน แกนนำ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในระดับตำบลที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาวะ กองทุนหลักประกันสุขภาพกับการสร้างเสริมสุขภาพการทำงานแบบมีส่วนร่วม ทุกคนในตำบลเข้าถึงกองทุนฯ 2.ลงพื้นที่ ถ่ายทำ สัมภาษณ์ เก็บข้อมูล เก็บภาพ และรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวกับธรรมนูญสุขภาวะ
3.ตัดต่อภาพที่ได้เพื่อทำวีดิโอ เผยแพร่ทางสื่อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ประชาชนตำบลช่องไม้แก้วมีภาวะที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงทางวิถีชีวิตและสังคมของตำบลก่อให้เกิดปัญหาทั้งยาเสพติด การลักขโมย      การลุกล้ำพื้นที่สาธารณะ ทำให้ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น  แกนนำประชาชนหลายคนและเจ้าหน้าที่ราชการได้ปรึกษาหารือจัดการแก้ไขทุกขภาวะ  ทำให้เกิดมีแนวคิดในการสร้างกติการ่วมกันของตำบลโดยนำข้อปฏิบัติของชุมชนท้องถิ่นมีมาแต่เดิมและข้อเสนอใหม่จากเวทีเรียนรู้ระดับหมู่บ้านและตำบลมากำหนดเป็นธรรมนูญสุขภาวะชุมชนตำบลช่องไม้แก้วหรือนโยบายสาธารณะของทุกภาคส่วน 2.ประชาชนในตำบลมีความร่วมมือร่วมใจสามัคคีกัน และภาคีเครือข่ายส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สมาชิกสภาและคณะผู้บริหารได้ผลักดันให้เกิดธรรมนูญสุขภาวะชุมชนตำบลช่องไม้แก้ว  และโครงการกิจกรรมต่างๆ ผ่านเวทีประชาคมระดับหมู่บ้าน จึงเป็นโครงการที่ตรงกับความต้องการของชุมชนจริงๆ และจะขยายผลการเรียนรู้และปฏิบัติการสู่เยาวชนและคนรุ่นใหม่  รวมทั้งการติดตามประเมินผลทบทวนการปฏิบัติใช้ธรรมนูญสุขภาวะให้เกิดการยกระดับการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนท้องถิ่น 3.การนำธรรมนูญสุขภาวะตำบลช่องไม้แก้ว  เกิดจุดมุ่งหมายร่วมกันที่จะน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นวิถีดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาชุมชนสู่ตำบลสุขภาพ  จึงได้มีกระบวนการนำธรรมนูญสู่การปฏิบัติเป็นแผนสุขภาพระดับหมู่บ้านระดับตำบล    มีปฏิบัติการตามโครงการสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลช่องไม้แก้วกว่า 80 %  ซึ่งเป็นการยกระดับขีดความสามารถของประชาชนในการดูแลสุขภาพ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง
4.กระบวนการจัดทำการใช้ธรรมนูญสุขภาวะ นั้นทำให้ผู้นำและแกนนำชุมชนท้องถิ่น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์สุขภาวะพื้นที่ ตระหนักต่อการการจัดการดูแลสุขภาพตนเอง สู่จัดการระบบสุขภาวะชุมชนท้องถิ่น

 

20 17

51. งานวิชการเพื่อการวิจัยกิจกรรมศึกษาและเก็บข้อมูลการสื่อสาร สำหรับการวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสาร/แนวทางกำหนดจริยธรรมสื่อ (การสร้างเสริมสุขภาพและการจัดการสิ่งแวดล้อม)

วันที่ 6 กรกฎาคม 2561 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ติดต่อประสานพื้นที่  เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2.ลงพื้นที่ ถ่ายทำ สัมภาษณ์ เก็บข้อมูล เก็บภาพ และรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ
3.ตัดต่อภาพที่ได้เพื่อทำวีดิโอ เผยแพร่ทางสื่อ YouTube ลิกอร์ Live และทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน เรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพและการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยการเชื่อมโยงเรื่องของการจัดการขยะต้นทาง ที่บ้านบางมะขาม จนเกิดเป็นบางมะชามโมเดล การนำขยะเปียกจากร้านค้าที่ร่วมโครงการเพื่อมาทำเป็นปุ๋ยหมัก เป็นการสร้างรายได้และขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ บนเกาะสมุย
2.ทางกลุ่มแกนนำได้มีความเห็นรวมกันว่า อย่างน้อยขยะบนเกาะสมุยจะต้องไม่เพิ่มจำนวนขึ้นจากเดิม  นอกจากนั้นได้เชื่อมโยงกิจกรรมอื่นๆและให้กลุ่มผู้สูงอายุได้ทำน้ำหมักและรณรงค์ให้ปลูกผัก ปลอดสารพิษ  โดยใช้น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร 3.ทางกลุ่มยังมีกิจกรรมภายใต้โครงการอื่นๆที่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครเกาะสมุย ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มเครือข่ายได้เสนอโครงการ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงสิทธิในการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ


 

20 3

52. เวทีสาธารณะ“การจัดการน้ำทั้งระบบ เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ”

วันที่ 12 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00-15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ติดต่อประสานพื้นที่และตัวแทนฝายมีชีวิตที่จะเข้าร่วมพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่วางไว้ 2.ลงพื้นที่เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน เสนอความคิดเห็นในประเด็น การจัดการน้ำทั้งระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ
3.ถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

          ปัจจุบันได้เกิดภัยพิบัติเพิ่มมากขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง เหตุภัยพิบัติสึนามิ ดินโคลนถล่ม ไฟไหม้ป่า น้ำท่วมจากเหตุฝนตกมาก น้ำล้นเขื่อน น้ำป่าไหลหลาก พายุพัดถล่มบ้านเรือน รวมทั้งภัยพิบัติจากเหตุความรุนแรงทางการเมืองและสังคม เป็นต้น ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้ และ ภัยพิบัติจึงมิใช่เรื่องไกลตัวสำหรับคนไทย         ในขณะที่การจัดการภัยพิบัติที่มาจากศูนย์กลาง ไม่สามารถตอบสนองต่อการแก้ปัญหาและความต้องการของชุมชนได้ทั้งหมด รวมทั้งอาจละเลยศักยภาพทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่แล้วในชุมชน ดังนั้น การจัดการความเสี่ยงโดยชุมชนเอง จึงเป็นทางเลือกหลักในการเติมช่องว่าง ดังกล่าว หลักการที่สำคัญ คือ การบรรเทาทุกข์และสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูวิถีชีวิตโดยชุมชนผู้ประสบภัยเป็นแกนหลัก ลุกขึ้นมารวมกลุ่มแก้ปัญหาด้วยตนเองตั้งแต่ต้น และ สนับสนุนให้เครือข่ายชุมชน หรือ ผู้ที่มีจิตสาธารณะอื่นๆได้เข้าไปหนุนช่วยอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของชุมชนและเครือข่ายได้อย่างยั่งยืนจากการสูญเสีย มนเมื่อเรารู้จักที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเองแล้วนั้น เราไม่จำเป็นจะต้องไปปะทะกับคนที่เห็นต่างจากเราหรือหน่วยงานนราชการต่างๆ แต่ต้องสร้างความเข้าใจ ความสำคัญ วิธีการแก้ไขปัญหาที่จะเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ และที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือ การบริหารการจัดการน้ำดยใช้ฝายมีชีวิต สามารถที่จะใช้ประโยชน์ได้จริงๆทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

20 10

53. เวทีสาธารณะ การจัดการขยะอยู่ที่มือของเรา

วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00-15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นกิจกรรมการเสวนาการบริหารจัดการขยะทะเลโดยชุมชน  และกิจกรรมเก็บขยะบนพื้นที่ชายฝั่งทะเล ตลอดปลายแหลมตะลุมพุก ขยะที่จัดเก็บได้ ส่วนใหญ่เป็นถุงพลาสติก ขวดแก้ว โฟม จัดแยกประเภท ชั่งน้ำหนัก พร้อมทั้งถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การจัดการขยะอยู่ที่มือของเรา ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่บุคคลทั้งโลกให้สนใจคือ ขยะมูลฝอย ขยะในทะเล และขยะในทุกพื้นที่ มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีการกระบวนจัดการในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงไฟฟ้าการสร้างเตาเผาขยะ หรือวิธีการจัดการขยะด้วยต้นทาง การจัดการขยะด้วยมือของเราเอง แต่ขยะเหล่านั้นก็ไม่ได้ลด น้อย ลงไป

ทำไม จึงเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะ ? คุณสมจินต์  รักฉิม อุปนายกสมาคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช : ซึ่งเป็นประเด็นที่มองข้ามไม่ได้และเป็นเรื่องที่สำคัญ ในเรื่องของการจัดการขยะ ทั้งหมดเหล่านี้เกิดขึ้นจากมนุษย์ เป็นผู้ทำลายธรรมชาติส่งผลมาสู่มนุษย์และสิ่งแวดล้อม  จึงต้องช่วยกันแก้ปัญหาห่วงโซ่อาหารที่กำลังหมดไป

คุณสมเดช เกื้อกูล : การอนุรักษ์ คือ การอนุรักษ์แบบ ชาญฉลาด ไม่ใช่ ใช้แล้ว หมดไป
ในเมื่อมีโครงการปล่อยปูลงสู่ทะเล 5 ล้านตัว เพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในทะเล จึงร่วมกันด้วยจิตอาสา ช่วยกันรักษาระบบนิเวศ จัดเก็บขยะที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ก่อนลงสู่ทะเลไปด้วย  หลังจากนั้นก็ได้เริ่มทำกิจกรรมเก็บขยะทะเลเกิดขึ้น  แต่สุดท้ายคนที่จะเริ่มได้ คือชุมชน โดยใช้โจทย์ที่ว่า บทบาทชุมชนกับการจัดการขยะทะเลควรเป็นอย่างไร  และร่วมกันทำวิจัยเรื่องขยะ โดยมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทั้งหมดเหล่านี้จึงเป็นจุดประกายในการจัดเก็บขยะทะเลของสมาคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช เล็ก โลมา : สถิติปริมาณขยะของประเทศไทย ติดเป็นลำดับที่ 6 ของโลก ทางรัฐบาลจึงมองเห็นความสำคัญในด้านนี้ จึงมอบให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อนและจัดการขยะในทะเล  โดยการจัดอบรมอาสาสมัครและก่อตั้งชมรมพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การผลักดันเรื่องภารกิจการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้ โลมา เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญ จากการที่เราไปคลุกคลี่กับปลาโลมา เมื่อโลมาเสียชีวิต ทรัพยากรชายฝั่งทางทะเล ไม่ใช้มีเฉพาะปลาโลมา ยังมีเตาทะเล  ปรากฏว่า ซากสัตว์ที่เกยตื้นมา ได้นำมาผ่าพิสูจน์ แล้วเจอขยะในท้องโลมา เพราะฉะนั้นต้องแก้ไขปัญหาในภาพรวม ทำอย่างไรให้ โลมาอยู่ในขนอมให้ได้
    1.เรื่องแหล่งของอาหาร ระบบนิเวศอาหาร ทำอย่างไรให้มีอาหารเพียงพอในอ่าวขนอม     2.ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้ต้องทำควบคู่กันไป เริ่มแรกในการจัดการขยะคือ การจัดโครงการเก็บขยะ โดยการย้ายขยะไปไว้อีกที่หนึ่ง  และจะต้องเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส สร้างคุณค่าให้เค้าเห็น จึงทำโครงการสายใยรัก หาดขนอมโดยให้เยาวชนและชาวบ้านที่ทำเกี่ยวกับกิจกรรมจัดเก็บขยะโดยการเข้าไปเรียนรู้กับทรัพยากรชายฝั่งทางทะเล  มีกรมทรัพยากรชายฝั่งทางทะเลเข้ามาร่วมด้วย  ถ้าสังคมมองว่าไม่ใช่ปัญหาของสังคม  ชุมชนมองว่าไม่ใช่ปัญหาของชุมชน แน่นอนว่า ปัญหาเหล่านี้จะท่วมสังคม และท่วมชุมชน มีการเปลี่ยนแปลงโดยเห็นความสำเร็จออกมาเป็นรูปธรรมในระดับ พรบ. ระดับนโยบาย

อาจารย์ ภูสิต  ห่อเพชร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : ขยะส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นกัน ส่วนมากจะเป็นขยะที่มาจากพื้นที่ในชุมชน กิจกรรมที่ทำในวันนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดี โดยมีกลุ่มนักศึกษาชมรมพิทักษ์ทะเลที่กำลังเก็บขยะแล้วนำมาคัดแยก ในชื่อกลุ่ม ทะเลสุข คนสุข ซึ่งจะเห็นว่าขยะที่เก็บมา มาจากแหล่งไหน จากเดิมที่ไม่เคยรู้ ส่วนหนึ่งจะจัดทำข้อมูลในเชิงวิชาการว่าที่มาของขยะ มาจากที่ไหน และมีกระบวนการในการจัดการขยะ โดยรวบรวมและจดบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม ICC เป็นที่มาของการขับเคลื่อนในวันเก็บขยะหรือทำความสะอาดชายฝั่งสากล

คุณประหยัด  เสนา หัวหน้าสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช :ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชจะต้องทำคือจัดการและดูแลตั้งแต่ ป่าต้นไม้ ชายฝั่งทะเล ในทะเล คือเรื่องการวางปะการังเทียมในทะเล รวมถึงขยะ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับผิดชอบในส่วนของขยะอันตราย โดยมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลในเรื่องของการคัดแยกขยะ ขยะที่เป็นอันตรายออกจากองขยะ ส่งต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อกำจัดขยะและ  เป็นที่นำร่องในเรื่องของการจัดการขยะ และคัดแยกขยะ

คุณธนิศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมีอยู่มากมาย อย่ามองแค่ว่า ดิน น้ำ ป่า การที่จะมารวมตัวกันให้เป็นระบบนิเวศ ต้องมีการหนุนเสริม ในภาควิชาการ ชุมชน ชาวบ้านด้วยการถักทอ การเชื่อมร้อย การเชื่อมโยง เครือข่ายให้คนที่มีจิตใจเหมือนกัน มาทำเรื่องเดียวกันเป็นที่สิ่งที่ดีๆ เป็นสิ่งสำคัญ

คุณสินธุ : ประสบการณ์ และบทเรียนที่จะนำมาใช้จัดการกับชาวบ้านคือ 1) ความสำคัญ ความใส่ใจของบ้านเมือง ชุมชนท้องถิ่น  2) ความสำคัญของขยะ และความสำคัญทะเล สำคัญอย่างไร 3)วิธีคิดในเรื่องขยะ เป็นเรื่องที่สำคัญ และสามารถทำให้ชาวบ้านทำวิจัยในเรื่องของการจัดการขยะได้ และจะต้องมองให้เห็นทั้งระบบ แหล่งที่มาของขยะ ชุมชนจัดการขยะได้อย่างไร มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยแก้ไขในเรื่องนี้ได้บ้าง

เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการดำเนินการจัดการปัญหาขยะทะเลให้เกิดประสิทธิภาพ เชื่อมโยง และสร้างความต่อเนื่องร่วมกับหลายภาคส่วนในทุกระดับ ทั้งนี้จะได้มีการนำแนวทางเพื่อการรณรงค์ลดปริมาณขยะให้เป็นศูนย์และการลดการใช้ถุงพลาสติก

 

200 6

54. เวทีสาธารณะ ท่าซอมโมเดลกับจุลินทรีย์สมุนไพร

วันที่ 25 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00-15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ติดต่อประสานพื้นที่และตัวแทนกลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชน ต.ท่าซอม ที่จะเข้าร่วมพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่วางไว้ 2.ลงพื้นที่เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน เสนอความคิดเห็นในประเด็น "ท่าซอมโมเดลกับจุลินทรีย์สมุนไพร"
3.ถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

"ท่าซอมโมเดลกับจุลินทรีย์สมุนไพร" ทำไมถึงได้มาเป็นท่าซอมโมเดล
คุณวิชิต จงไกรจักร ผู้ใหญ่บ้าน ต.ท่าซอม จ.นครศรีธรรมราช: จากที่จำความได้ประมาณปี 2558 เริ่มต้นจากชาวบ้านเห็นความสำคัญ และคัดเลือกให้ไปทำหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งได้มองเห็นความลำบาก ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ที่ค่อนข้างขัดสน รายได้น้อย อาชีพของชาวบ้านในตอนนั้น ทำนา เลี้ยงกุ้ง  ซึ่งเป็นพื้นที่ ราบลุ่ม ซึ่งต่อมา การเลี้ยงกุ้งเป็นที่นิยมของชาวบ้านในพื้นที่และมีการทำนากุ้งกันเยอะขึ้น ทำให้ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้น  ซึ่งทำให้นาข้าวเป็นพื้นที่รกร้าง แต่ก็ยังมีนาข้าวให้เห็นอยู่บ้าง  ในขณะที่นากุ้งกำลังเป็นที่นิยม กลับทำให้มีปัญหาในเรื่องของน้ำเสีย มีโรคระบาด ซึ่งทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ขาดทุน กลายเป็นพื้นที่นาร้างทั้งหมด เศรษฐิจตอนนั้นก็ย่ำแย่  คุณวิชิต จงไกรจักร ซึ่งตอนนั้นเป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้มีหน่วยงานราชการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ลงพื้นที่เพื่อแนะนำและศึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยทำให้เศรษฐกิจของชาวบ้านดีขึ้น หลังจากนั้นได้เขียนโครงการเพื่อของบประมาณในการปรับนากุ้ง นาข้าว ที่รกร้าง ให้ทำเป็นพื้นที่ปลูกข้าวในการทำนาใหม่

"รอยต่อระหว่างช่วง อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้มาสานงานต่อจากผู้ใหญ่บ้าน ต.ท่าซอม" คุณทวี ขาวเรือง  ประธานสภาองค์กรชุมชน ต.ท่าซอม จ.นครศรีธรรมราช : ได้สำรวจและเห็นบ่อร้างเยอะจึงคิดจะเอาทุนที่มีอยู่ มาปรับเปลี่ยนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ชาวบ้านได้มีรายได้ในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้มีการปรึกษาหารือภายในกลุ่มสมาชิก เปลี่ยนจากการเลี้ยงกุ้ง มาเป็นการเลี้ยงปลานิล ซึ่งการทำนากุ้งจะมีค่าใช้จ่ายเยอะแต่ในการเลี้ยงปลานิลจะเป็นการเลี้ยงปลานิลอินทรีย์ โดยการใช้อาหารที่ไม่ได้ซื้ออาหารมาจากนายทุน แต่จะใช้ความรู้ของสมาชิกในกลุ่มในการเลี้ยงปลานิล เริ่มจาการทำบ่อสาธิต เพื่อทดลอง โดยใช้พื้นที่นาร้างเป็นพื้นที่ในการเลี้ยงปลาและติดตามผล ซึ่งอาหารที่จะใช้มาเลี้ยงปลาอินทรีย์  ประกอบไปด้วย จอกแหน กากมะพร้าวรำข้าว ในการเลี้ยงปลานิลอินทรีย์จะมีระยะเวลาการให้อาหาร ถ้าให้ตอนเช้า ก็จะเป็นตอนเช้าตลอด หลังจากนั้นคณะกรรมการได้ลงพื้นที่ไปติดตามผลในการเลี้ยงปลานิลอินทรีย์ ว่าในการให้อาหารจากสิ่งที่ชาวบ้านทำขึ้นเองได้ผลจริงหรือไม่

"แล้วจุลินทรีย์สมุนไพรมาเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาอย่างไร" คุณทวี ขาวเรือง  ประธานสภาองค์กรชุมชน ต.ท่าซอม จ.นครศรีธรรมราช : ในส่วนของอาหารไม่มีปัญหาอะไรแต่จะมีปัญหาในส่วนของน้ำ ซึ่งปลาอินทรีย์ที่จะนำไปขายต้องไม่มีกลิ่น จึงคิดที่จะทำน้ำหมักเพื่อจะไปบำบัดน้ำในบ่อเพื่อไม่ให้น้ำในบ่อมีกลิ่น ส่วนผสมในการทำน้ำหมักได้แก่ วัตุดิบที่เป็นที่ทำให้เกิดเชื้อจุลินทรีย์ เช่น หน่อกล้วย กล้วย มะละกอ สับปะรด  ทั้งหมดเหล่านี้ทำให้เกิดกลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชน ต.ท่าซอมขึ้น และได้จัดทำน้ำหมักโดยการรวมกลุ่มจากชาวบ้านลงขันกันเพื่อเป็นต้นทุนในการทำน้ำหมัก และได้รับงบประมาณจากสภาองค์กรชุมชน ต.ท่าซอม เพื่อนำออกจำหน่ายทำให้ชาวบ้านมีรายได้ขึ้น  หลังจากนั้นได้ขยายต้นทุนมากขึ้นเพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นและรองรับกับความต้องการของตลาด หลังจากเกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้นจึงได้ขยายเครือข่ายเปิดให้ตำบลในพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้ามาเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับการทำน้ำหมักจุลินทรีย์เพื่อนำไปใช้ในตำบลของตัวเอง

คุณปฐมพงษ์  อริยกุลนิมิต สภาเทศบาลตำบลหัวไทร : หลังจากที่ได้พูดคุยเกี่ยวกับน้ำหมักจุนลินทรีย์กับคุณทวี ขาวเรือง  เทศบาลตำบลหัวไทรจึงมีแนวทางที่จะลงมาพัฒนาท้องถิ่น โดยเร่งเห็นว่าในอนาคตสินค้าจาก
ทางกลุ่มต.ท่าซอม จะมีผลที่จะทำให้เกิดเกษตรอินทรีย์ได้ขึ้นจริง ซึ่งจะเป็นทางเลือกอีกอย่างหนึ่งของเกษตรกร

คุณธนินทร์  ด้วงสุข อบต.หัวไทร : เริ่มต้นจากที่บ้านมีอาชีพทำการเกษตร ใช้สารเคมี ทำให้สุขภาพคนที่บ้านและกลุ่มคนที่ใช้สารเคมีทรุดโทรมลง ตนจึงความคิดที่จะเปลี่ยนชุมชนที่ตัวเองอยู่ให้เป็นเกษตรอินทรีย์ เปลี่ยนให้ชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษ เริ่มแรกที่จะใช้แนวคิดนี้มาใช้กับชุมชนคือการมองถึงอนาคตของชุมชน ซึ่งถ้าทำได้ทั้งหมดนี้จะทำให้ชุมชนน่าอยู่ รวมไปถึงเศรษฐกิจและรายได้ของชุมชนจะดีขึ้น

คุณอานนท์ มีศรี นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช : ทั้งหมดเหล่านี้อาจจะเป็นเรื่องแปลกใหม่ของสังคมไทยและเป็นเรื่องที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง แต่กลายเป็นสิ่งท้าทายที่เราจะต้องต่อสู่กับสิ่งที่ถูกต้องซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้สุขภาพ ทำให้บ้านเมืองไปสู่สิ่งที่เราต้องการได้แต่กลายเป็นเรื่องแปลกคือการที่ได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยน ไขข้อสงสัยกัลกลุ่มคนรุ่นใหม่ สุดท้ายแล้วประเทศไทยโดยเฉพาะภาคใต้ของเราจึงหนีไม่พ้นในเรื่องเกษตรซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับ

การที่จะเปลี่ยนชุมชนให้มาเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ในอนาคต มันเป็นเรื่องที่ท้าทายและยากมาก ทางกลุ่มจึงร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรกับชุมชนและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ จึงได้เดินทางไปศึกษาเรียนรู้ ไปดูงานที่อ.จะนะ ดูการทำเกษตรแบบประยุกต์ เพื่อไปตอบโจทย์ในชุมชน แล้วนำกลับมาทดลองและแก้ปัญหากับชุมชนของตัวเองรวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงหรือกลุ่มเกษตรกรที่สนใจในการ"จุลินทรีสมุนไพร" โดยมีเป้าหมายร่วม  คือ ร่วมคิด แยกทำ เป้าหมายเดียวกัน


 

20 10

55. เวทีสาธารณะ บทเรียนจากภัยพิบัติ ทำอย่างไรให้อยู่รอด

วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00-15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ติดต่อประสานพื้นที่และตัวแทนฝายมีชีวิตที่จะเข้าร่วมพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่วางไว้ 2.ลงพื้นที่เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน เสนอความคิดเห็นในประเด็นบทเรียนจากภัยพิบัติ ทำอย่างไรให้อยู่รอด 3.ถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

          บทเรียนจากภัยพิบัติ เราจะรับมือเพื่อให้เราอยู่รอด ปลอดภัยได้มากที่สุดได้อย่างไร : จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจำต้องนำมาถอดบทเรียนเกี่ยวกับภัยพิบัติ  ประชาชนส่วนมากจะตกใจมากเกินไป จึงทำให้เป็นการสร้างภาพในแง่ที่น่ากลัว สร้างภาพจำ  นอกจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นแล้วยังมีอย่างอื่นที่ตามมาคือ ในแง่ของงบประมาณ มีภัยพิบัติ งบประมาณก็ตามมา การอยู่รอด ปลอดภัยในการับมือภัยพิบัติจะส่งผลบวกหรือลบ หรือได้ประโยชน์กับใคร ใครเป็นคนทำให้เกิดภัยพิบัติ  จากเหตุการณ์ย้อนหลังที่ผ่านมา เริ่มจากประเทศไทยหมูป่าติดถ้ำ 13 คน ใช้เวลาในการช่วยเหลือเกือบ 1เดือน แต่รอดมาได้  สิ่งที่เราเห็นคือความทุกข์ ทรมาน หลังจากนั้นประเทศญี่ปุ่น คลื่นความร้อน 41องศาเซลเซียล  ประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ถัดมาประเทศลาว เขื่อนแตก ประเทศพม่า เหมืองหยกถล่ม ทั้งหมดเหล่านี้คือบทเรียนภัยพิบัติ
          จากการพูดคุยได้มุมมองใน 2 แง่ คือ นิเวศคือบ้านของน้ำ  การผสมผสานจากสิ่งที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เริ่มตั้งแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ประชาชนสามารถจัดการตนเองได้  ทั้งหมดเหล่านี้จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ผ่านมา สามารถทำให้คนตื่นรู้ ตื่นตัว และะรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างปลอดภัย กรณีที่ประเทศลาว เขื่อนแตกนั้น ทำให้ประเทศของเราได้สร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส ถ้าเราไม่สร้างเขื่อนแต่เราได้ใช้น้ำจากระบบนิเวศด้วยการสร้างฝายมีชีวิต ก็จะทำให้เราได้มีน้ำใช้กันตลอด และลดการเกิดภัยพิบัติได้

 

20 10

56. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการด้านสุขภาพ ประเด็นปัจจัยเสี่ยง, แรงงานนอกระบบ

วันที่ 30 กรกฎาคม 2561 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการด้านสุขภาพ ประเด็นปัจจัยเสี่ยง, แรงงานนอกระบบ รูปแบบการจัดการหมู่บ้านให้ปลอดเหล้าช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เทคนิคการชวนคนติดเหล้าร่วมกิจกรรม และถ่ายทอดสดบันทึกเทปผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการระบบสุขภาพให้สำเร็จได้  ซึ่งประกอบไปด้วย 1.การมองหาปัญหาในพื้นที่ ว่าพื้นที่ในชุมชนหล่าวนั้นเกิดปัญหาอะไรบ้าง 2.ความเชื่อ  ที่จะต้องนำเอาความเชื่อมาผสมผสานกับการที่จะให้ทุกคนลงมือกระทำแล้วสามารถเกิดเป็นรูปแบบเพื่อจะได้ต่อยอดอย่างยั่งยืน 3.การผสมผสานหรือการสร้างความร่วมมือ ความหลากหลาย สาขาวิชาชีพ  ร่วมถึงการบูรณาการจากหน่วยงานต่างๆให้ก่อเกิดประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรม 4.ภาวะผูนำ  เป็นส่วนสำคัญที่จะเสริมสร้างให้คนในชุมชนได้ก่อเกิดกิจกรรมได้อย่างเข้มแข็ง  ร่วมถึงผุู้นำชุมชนที่จะต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้กับชุมชนของตัวเอง 5.การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะทำให้เป็นแรงในการลงทุนในแง่ของทรัพยากรต่างๆให้กับชุมชนได้นำมาใช้ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด

 

200 4

57. การประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ เพื่อการรายงานความคืบหน้าของโครงการในระยะที่ 2

วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประธานแจ้งเพื่อทราบในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการ ศวสต.เพิ่มเติม 2.รายงานการประชุมคณะกรรมการ ฯครั้งที่ 2(วันที่ 1 มินาคม 2561) 3.สรุปผลการประเมินงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 10 ปี 2561 4.การนำเสนอผลการศึกษาดูงานประเด็นความมั่นคงทางด้านมนุษย์  มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานโครงการ ศวสต. 5.รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ ศวสต. งวดที่ 2 6.นำเสนอแผนการดำเนินงานงวดที่ 3
7.แนวทางการดำเนินงานสร้างสุข ปี 2562 8.เสนอรายชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการ ศวสต.เพิ่มเติม
    -  ภาคเอกชน     -  ภาคประชาชน และนัดหมายในการประชุมครั้งต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ เพื่อการรายงานความคืบหน้าของโครงการในระยะที่ 2 และได้แผนการดำเนินงานงวดที่ 3
2.ได้สรุปผลการประเมินงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 10 ปี 2561 และได้แนวทางการดำเนินงานสร้างสุข ปี 2562 3.ได้ผลการศึกษาดูงานประเด็นความมั่นคงทางด้านมนุษย์  มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานโครงการ ศวสต. 4.ได้รายชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการ ศวสต.เพิ่มเติม
    -  ภาคเอกชน     -  ภาคประชาชน

 

50 4

58. เวทีเสวนา ฝายมีชีวิต

วันที่ 12 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00-15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นเวทีเสวนาเกี่ยวกับฝายมีชีวิต ที่มาของฝายมีชีวิตและฝายมีชีวิตคืออะไรและถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ที่มาของฝายมีชีวิตและฝายมีชีวิตคืออะไร คุณณัธนัน  มีแก้วหรือครูท้วม ไม้หลา ตัวแทนฝายมีชีวิต ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช : เมื่อปี พ.ศ. 2556 ซึ่งในขณะนั้นได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลหินตก ได้มีการสนับสนุนให้มีการขุดลอกคลอง        พุดหงส์ ในปี พ.ศ.2556 และในปีต่อมา พ.ศ. 2557 ชาวบ้าน 2 ฝั่งคลองพุดหงส์ ได้เกิดภาวะน้ำในคลองแห้งและแล้งเร็ว ผิดปกติ น้ำในบ่อน้ำตื้นไม่พอใช้ น้ำในบ่อบาดาลต้องเพิ่มความลึกของบ่อ ซึ่งต่อมาต้นปี พ.ศ. 2557 ได้ฟังวิทยุจาก ดร.ดำรง  โยธารักษ์ ว่ามีพื้นที่อยู่พื้นที่หนึ่ง น้ำไม่แห้ง มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ซึ่งพื้นที่นั้นคือ คลองไชยมนตรี จึงได้ติดต่อประสานงานกับ ดร.ดำรง  โยธารักษ์ลงไปศึกษาแล้วกลับมาสร้างฝายมีชีวิต ที่ คลองพุดหงส์ ต.หินตก  อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ขณะที่ทำไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งได้มีนายทหารท่านหนึ่ง มาติดต่อ พูดคุยกันว่า ผู้บังคับบัญชาของท่านอยากจะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับฝายมีชีวิต และตกลงอนุมัติให้ทหารมาช่วยสร้างฝายมีชีวิต คลองพุดหงส์ ต.หินตก  อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช นายทหารท่านนั้นคือ พ.อ.ภัทรชัย  แทนขำ หรือผู้พันฝายมีชีวิต  ได้ให้การสนับสนุนภายใต้ความเห็นชอบของแม่ทัพกองทัพภาคที่ 4 และผู้บังคับบัญชาในทุกระดับ จนกระทั่ง ฝายมีชีวิตที่เริ่มจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ขยายเครือข่ายไปทั่วประเทศ กว่า 1,000 ฝาย เกือบ 50จังหวัด เพราะฝายเป็นสถานที่เก็บน้ำได้ และทุกพื้นที่ของฝายมีชีวิตได้รับรองจากแม่ทัพกองทัพภาคที่ 4 ซึ่งผู้พันจะเป็นผู้ประสานงาน ว่าทุกพื้นที่ของฝายมีชีวิตเป็นเขตปลอดภัยแล้งอย่างถาวร

คุณโชคดี สุทธิพันธ์ ผู้ใหญ่บ้าน ต.จันพอ ต.ดอนตะโก อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช : ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาที่ยั่งยืน ในฐานะผู้นำ จะต้องเรียนรู้และศึกษาบทบาทหน้าที่ นโยบายรัฐบาล ซึ่งนโยบายรัฐบาลชุดนี้ มีวิสัยทัศน์ที่จะต้องไปสู่จุดหมายร่วมกัน คือ มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และเป็นกลไกหลักที่จะนำไปสู่ ยุค 4.0 ยุคนี้รัฐบาลสร้างกรอบไว้และกำหนดกรอบไว้ 6 ด้าน คือ - การสร้างความมั่งคง ในเรื่องของความมั่งคงทางด้านอาหาร ความเป็นอยู่ - เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง
- การพัฒนาทุนมนุษย์ - ความเสมอภาค - การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม - การบริหารจัดการภาครัฐ
ซึ่งจุดเด่นของการทำสร้างฝายมีชีวิตในตำบลจันพอคือ จากเมื่อก่อนที่ไม่มีน้ำเลยได้สร้างฝายมีชีวิตจากที่นาร้าง มาเป็น 10ปี จนได้ขยายผล มีน้ำในการทำนาได้ ถึง 5,000 ไร่ อย่างมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

คุณสัญญา ชัยวรรณ ตัวแทนฝายมีชีวิต ต.กำแพงเซา: เริ่มจากการก้าวกระโดดในพื้นที่ ที่ไม่มีน้ำ ความสำคัญแรกที่ถูกลืม  คือ ที่ว่า ทหารเป็นรั้วของชาติ  ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ  ขณะที่ทหารของชาติได้ทำหน้าที่แต่ชาวนากระดูกสันหลังของชาติไม่มีการพัฒนาอย่างจริงจังในกระบวนการ  ไม่ได้ทำหน้าที่  คือชาวนาหยุดการทำนาหลังจากฝนแล้ง เพราะการปลูกยางพาราและปาล์มในพื้นที่นา พื้นที่อาหารที่เคยอยู่กินถูกทดแทนด้วย พืชเศรษฐกิจ จนพื้นที่ในนา พื้นที่ที่ต่ำที่สุด ที่ถูกเก็บน้ำในพื้นที่ชุมชนถูกไล่ลงห้วย ลงคลอง ลงทะเล หมดภายใน 15 นาที เพราะฉะนั้นแล้วชาวบ้านที่เลี้ยงวัว ทำไร่ ไม่มีน้ำที่จะนำมาใช้กับอาชีพเกษตร พื้นที่สวน พื้นที่ภูเขา ถูกดึงน้ำลงมาให้แห้งเร็วขึ้น ภาพการก้าวกระโดดในยุด 4.0 แผนพัฒนาชาติ แต่ชาวบ้านกับมองว่าการพัฒนาที่ก้าวไปไกลเกินขีดความสามารถ ทำให้ชาวบ้านหันมาจัดการตนเองในทรัพยากรข้างบ้าน กระบวนการของฝายมีชีวิตไม่ได้ทำให้น้ำอยู่ในห้วยอย่างเดียวแต่เป็นการกระบวนการศึกษา ความรู้ในครอบครัว บรรพบุรุษ ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด แล้วนำไปสู่การพัฒนาภายใต้ข้อมูล กระบวนการ ยั่งยืน มั่งคง ได้ตามนโยบายของชาติ

พ.อ.ภัทรชัย  แทนขำ หน.ฝ่าย ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์ กอ.รมน.ภาค 4 ผู้พันฝายมีชีวิต : ฝายมีชีวิตเป็นการตอบโจทย์ในเรื่องของการจัดการน้ำ  ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำไม่แล้ง น้ำไม่ท่วมตลอดจนให้ชุมชนรู้จักการจัดการตนเอง ชุมชนเข้มแข็ง ทางศูนย์เพียงแค่เป็นผู้ประสานหลักในการต่อยอดเพื่อให้ชุมชนได้ก้าวต่อโดยไม่ต้องรองบประมาณของภาครัฐ  เพราะพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่ ที่มีฝายมีชีวิตแสดงว่าชุนชนนั้นสามารถลุกขึ้นมาจัดการตนเองได้แล้ว  เพียงแค่มีช่องทางสามารถให้เค้าได้เดินต่อ  แต่ในการที่ทหารเข้าไปช่วยไม่ได้ช่วยทั้ง 100 % แต่จะมีข้อตกลงระหว่างกัน คือการให้ชุมชนทำโครงสร้างผ่านหลักการฝายมีชีวิต โดยการทำเวทีประชาเข้าใจ แรงบันดาลใจในการทำเกี่ยวกับฝายมีชีวิตคือ การใช้ใจเดินกับประชาชน

คุณณัธนัน  มีแก้วหรือครูท้วม ไม้หลา ตัวแทนฝายมีชีวิต ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช : ฝากบทกลอนไว้ 1 บทกลอน ไม่มีป่า ไม่มีน้ำ ตามพ่อว่า                 องค์แม่ฟ้า ช่วยปลูกป่า เข้ามาเสริม                 ฝายมีชีวิต ช่วยต่อติด เข้ามาเติม                 ช่วยสร้างเสริม ดิน น้ำ ป่า ตามพระองค์                 คลองจะสวย น้ำจะใส ไหลทั้งชาติ                 สัตว์หลายหลาก พืชก็งาม ตามประสงค์                 สามัคคี แก้วิกฤต ในสังคม                 ความมั่นคง  เศรษฐกิจ ทั่วทิศไทย

คุณโชคดี สุทธิพันธ์ ผู้ใหญ่บ้าน ต.จันพอ ต.ดอนตะโก อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช :  แค่ชาวบ้านในชุมชนลุกขึ้นมาร่วมมือ ร่วมแรงกัน ไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม รวมทั้งเรื่องฝายมีชีวิต ก็จะสามารถจัดการหรือดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากภาครัฐหรือหน่วยงานอื่นๆ

คุณสัญญา ชัยวรรณ ตัวแทนฝายมีชีวิต ต.กำแพงเซา: เปรียบเทียบในมุมมอง 2 แบบ แบบแรก คือ ถ้าเปลี่ยนเป็นถนนสายหลัก การบริหารการจัดการน้ำคือหน่วยงานภาครัฐ ถนนสายย่อย เป็นถนน ซอย หรือตรอกที่เข้าหมู่บ้าน ยังมีความขาดแคลนในการใช้น้ำ ถ้าชาวบ้านลุกขึ้นมาจัดการในแบบที่ ผู้พันฝายมีชีวิตว่า ก็จะทำให้ชาวบ้านมีน้ำใช้กันตลอด สุดท้ายแล้วเราอย่าลืมสังคมทั้ง 3สังคมนี้คือ สังคมพืช สังคมสัตว์ และสังคมมนุษย์

พ.อ.ภัทรชัย  แทนขำ หน.ฝ่าย ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์ กอ.รมน.ภาค 4 ผู้พันฝายมีชีวิต : อย่าให้พี่น้องทุกคน อยู่ดี กินดี มีความสุข เพียงทุกคนเดินตามพระองค์ท่าน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็ทำให้พวกเรามีความสุข รักกัน สามัคคี กันตลอดไป

              ดินและน้ำ ลมและฟ้า ป่าและเขา               รวมกันเข้า คือ ทรัพย์สินแผ่นดินแม่               ฝากลูกไทย ร่วมใจภักดิ์รักดูแล   ิ            เพื่อมอบแก่หลานเหลนไทยไปชั่วกาล

 

100 10

59. เวทีสื่อสารสุขภาวะทางสังคม ประเด็นอาหารปลอดภัยและวิถีฅนสายน้ำปากพนังสร้างสุข สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

วันที่ 17 สิงหาคม 2561 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เวทีเสวนา เหลียวหลัง แลหน้า วิถีฅนสายน้ำปากพนังสร้างสุข สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้ร่วมเสวนา 1.ร.ต.สุภาพร ปราบราย ประธานขบวนสภาองค์กรชุมชนภาคใต้ 2.นายเดโช พลายชุม ตัวแทนภาคประชาสังคมสายน้ำปากพนัง 3.นายอุดม ไชยภักดี ผู้แทนชมรมผู้บริหารท้องถิ่นอำเภอชะอวด 4.นายชินวัฒน์ สุวรรณเลิศ นายกสมาคมเครือข่ายรักษ์สายน้ำปากพนัง 5.นายประทีป หนูนุ้ย เกษตรอำเภอชะอวด 6.นายวิชัย ณสุวรรโณ ผอ.พอช. (องค์การมหาชน) ภาคใต้ 7. ผู้แทนกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 8.นางจินตนา สังข์แก้ว ผอ.กศน.อำเภอชะอวด 9.นายวิรชัช เจ๊เหล็ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้านหัวไทร 10.นายพยุงศักดิ์ วรรโณทัย ผู้แทนเครือข่ายรักษ์ป่าต้นน้ำสายน้ำปากพนัง นายอานนท์ มีศรี นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  ผู้ดำเนินการเสวนา 2. กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ เช่น การออกร้านแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารสาธิต สวัสดิการและการเงินกองทุนชุมชน สื่อชุมชนท้องถิ่น ฯลฯ 3. นิทรรศการผลการดำเนินงานของแต่ละเครือข่าย และหน่วยงานภาคี 4. กิจกรรมทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิลและการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล 5. การแสดงดนตรีพื้นบ้านและดนตรีสากล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เครือข่ายเห็นบทเรียน และพัฒนาการ ความสำคัญ ปัญหา ผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและวิถีคนลุ่มน้ำปากพนังในภาพรวมร่วมกัน 2.ได้แนวทางการประสานงาน รูปแบบและแนวทางการดำเนินกิจกรรม ตลอดจนเห็นภาคีความร่วมมือในการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง 3.เครือข่ายและภาคีความร่วมมือได้นำเสนอและบอกเล่าเรื่องราวดีๆที่ผ่านมาให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ 4.เกิดการสร้างการมีส่วนร่วมโดยใช้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของวิถีฅนสายน้ำ ตั้งแต่ กลางน้ำ ต้นน้ำ ปลายน้ำ ที่ใช้ประโยชน์ทรัพยากรร่วมกัน 5.สภาพปัญหา และความรู้เรื่องโภชนาการอาหารและวิกฤตของคนไทยที่บริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยส่งผลกระทบต่อการเกิดโรค 6.ความตระหนักต่อ สถานการณ์ อาหารที่ไม่ปลอดภัยในลักษณะต่างที่มีผลกระทบต่อคนทุกช่วงวัย


 

200 200

60. ประชุม กองบก. สื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 3

วันที่ 4 กันยายน 2561 เวลา 16:00-18:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.กล่าววัตถุประสงค์และสรุปการดำเนินงานที่ผ่านมา     -  การขับเคลื่อนงานกับ กขป.     -  การเชื่อมโยใต้แผนงานสื่อสารสาธารณะกับ สช. สปสช. สสส.  เครือข่ายสุขภาวะ 2.การดำเนินโครงการศูนย์วิชาการการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้  ศวสต.ภายใต้แผนงาน พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธาณะภาคใต้ 3.การประเมินโครงการโดย ดร.ดุริยางค์  วาสนา 4.การดำเนินกิจกรรม  งวดที 3-5 ภายใต้แผนงาน พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธาณะภาคใต้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การดำเนินโครงการสื่อมีทั้งหมด 4 ระยะ ขณะนี้ผ่านการดำเนินงานมาแล้ว 2 ระยะหรือ 2 งวด เหลืออีก 2 งวด คือ งวดที่ 3 และ 4 จะดำเนินการต่อ
      จังหวัดที่มีการดำเนินงานสื่อ ประกอบด้วย พัทลุง พังงา ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตรัง สตูล สงขลา ยังขาดจังหวัดระนองที่ขณะนี้ยังไม่มีการดำเนินงานแต่อยู่ในช่วงการตั้งต้น การดำเนินงานจะมีในเรื่องของจริยธรรมสื่อ การจัดรายการ เช่น รายการกินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ เป็นรายการตัวอย่างของนครศรีฯ มีการใช้หลัก 4PW ในการดำเนินงาน การดำเนินงานในภาพรวม จะเน้นรายการวิทยุซึ่งทำแล้วมีความต่อเนื่อง มีกลุ่มผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม มีการถ่ายทอดผ่าน Facebook Live นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชน เครือข่ายนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วย การดำเนินงานงวดที่ 3-4 จะเน้นหนักเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งจะเป็นการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับจริยธรรมสื่อด้วย จังหวัดพังงา จังหวัดพังงา มีสถานีวิทยุในนามเครือข่ายสมาคมสื่อวิทยุอันดามัน
มีหน้าที่หลักในการนำความรู้และประเด็นต่างๆ ที่ทราบ ไปประชาสัมพันธ์สื่อสารถึงกลุ่มประชาชนในพื้นที่
มีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอตะกั่วทุ่ง ทำให้มีการกระจายสัญญาณครอบคลุมบริเวณนั้น รวมถึงบางส่วนของจังหวัดภูเก็ตด้วย
มีกองบก. ส่งข้อมูลวิชาการข้อมูลข่าวสารผ่านทางไลน์หรือทาง email ให้กับสถานีเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อ
มีการไลฟ์สดทาง Facebook ผ่านหน้าเพจของสถานี สมาคมสื่ออันดามันมีการลงพื้นที่เพื่อจัดเวทีเสวนาในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นการท่องเที่ยวชุมชน เช่น นากลาง Smart Farm สามช่อง แหล่งท่องเที่ยวชุมชนธารมรกต ณวัฒน์วิถีบ้านบางซอย ทุ่งรัก และมีการจัดรายการ “กินอิ่มเที่ยวสนุก@พังงา” ด้วย จากชิ้นงานในการออกอากาศ มีการแชร์เพื่อการสื่อสารทางเพจสมาคม และเพจส่วนตัวกันมากมาย ซึ่งการช่วยกันแชร์จะทำให้สามารถสื่อสารออกไปได้ในวงกว้างมากขึ้น มีการดำเนินงานประชาสัมพันธ์แบบ on Ground
มีกองบกช่วยสนับสนุนเสริมในเรื่องของความรู้ เครื่องมือ เครื่องอุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินงานสื่อสาร ผลปรากฏว่า ได้รับการตอบรับจากชุมชนค่อนข้างเยอะ เช่น การรณรงค์ No Foam 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแต่ก่อนไม่ค่อยได้ผลสักเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันปลอดโฟม 100%
การดำเนินงานมีการนำเทคโนโลยีไลฟ์สดไปใช้ ทำให้มีการสื่อสารถึงชุมชนได้ง่ายขึ้น มีผู้คนเข้ามาช่วย Comment ให้กำลังใจ ซึ่งถือเป็นการเสริมแรงให้กับคนทำงานได้ทำงานต่อ นอกจากนี้ มีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นคุระบุรี ช่วยเขียนโครงการของบเพื่อสนับสนุนและขยายงานไปสู่ชมรมผู้ประกอบการอาหารพังงา ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ได้ร่วมกันในการขับเคลื่อนเพื่อรณรงค์ No Foam สู่การจัดตั้งสมาคมอาหารปลอดภัยจังหวัดพังงา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา มีส่วนช่วยในการสนับสนุนงบประมาณ อุปกรณ์ และบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนงานอาหารปลอดภัย
การดำเนินงานในนามของกอง บก. สื่อสร้างสุขภาคใต้ ทำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงาเห็นถึงความสำคัญ โดยเฉพาะการไลฟ์สดทำให้สามารถถ่ายทอดผลงานไปสู่หน่วยงานต่างๆ ในเครือข่าย ตลอดจนสามารถส่งงานได้ถึงหัวหน้างาน และที่สำคัญที่สุดประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
ผลจากการดำเนินงานเกิดการก่อตั้งสมาคม เกิดการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของสมาคม นอกจากนี้ ตัวเจ้าหน้าที่ในสมาคมสื่อยังสามารถเป็นวิทยากรให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงาในการขับเคลื่อนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

จังหวัดชุมพร จังหวัดชุมพรมีการแบ่งสื่อออกเป็น 3 ประเภท 1. สถานีวิทยุ ตั้งอยู่ที่อำเภอละแม 2. สื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ตั้งอยู่ที่อำเภอปะทิว และ 3. สื่อออนไลน์ มีการไลฟ์สดและทำวีดีโอเผยแพร่ทางออนไลน์ มีผู้ประสานงานร่วมกับเครือข่ายปะทิวในการทำสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ไม่สามารถดำเนินการได้ดีนัก เนื่องจาก เป็นพื้นที่ห่างไกล มีพื้นที่กว้าง มีประเด็นปัญหาที่แตกต่างกันจนไม่สามารถดำเนินการคู่ขนานไปกับสื่อทั้ง 3 ชนิดได้ ผู้รับผิดชอบงานมีการลงพื้นที่เสริมสร้างและฝึกทักษะการใช้โปรแกรมซึ่งมีอยู่ในระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ให้กับประชาชน ชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มชุมชนที่ทำตลาดใต้เคี่ยมหรือการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อให้เขาสามารถประชาสัมพันธ์งานหรือการท่องเที่ยวชุมชนของตนเองได้ ตัวอย่าง ตลาดใต้เคี่ยมมีการคัดเลือกประเด็นขึ้นมาและใช้สื่อในการเผยแพร่มีการให้ความรู้และมีการพัฒนาศักยภาพ โดยมีทีมสื่อเป็นพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนและให้การช่วยเหลือ ส่วนประเด็นอื่นที่ทางชุมพรได้ดำเนินการ มีอาหารปลอดภัย สิทธิที่ประชาชนควรจะได้รับ พ.ร.บ.การยา เกษตรปลอดภัย ซึ่งมีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook สื่อสารออกไปให้กับประชาชน มีการถ่ายทอดสดทำเทปเกี่ยวกับการอยู่รอดของชาวสวนยาง การเอาตัวรอดในสถานการณ์คับขัน มีการถ่ายทอดสดในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ ปัจจัยเสี่ยง และอาหารปลอดภัย มีการจัดเวทีเพื่อนำทีมสื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการหนุนเสริมการดำเนินงาน โดยเฉพาะการไลฟ์สดขณะดำเนินงาน เช่น กรณีอุบัติเหตุ เครือข่ายภัยพิบัติ และเครือข่ายนักวิชาการต่างๆ ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นบริเวณลุ่มน้ำ โดยเฉพาะลุ่มน้ำหลังสวน ซึ่งเกิดจากการที่มีปริมาณน้ำมาก การก่อสร้างที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม การประกอบธุรกิจ ซึ่งการดำเนินงานเพื่อแก้ไขภัยพิบัติจะต้องมีการให้เครือข่ายทั้ง 3 ลุ่มน้ำของชุมพร มาร่วมมือกันโดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารหรือเชื่อมประสาน กิจกรรมที่สนับสนุนการสร้างเครือข่ายจากการไลฟ์สด เช่น ไลฟ์สดทาง Facebook ทำให้รู้ว่า เรื่องภัยพิบัติจะต้องติดต่อใคร พูดคุยกับใคร หาความรู้ได้จากใคร เรื่องเกษตรปลอดภัย ชุมพรจะเน้นหนักและมีผู้คนสนใจมากอาจเป็นเพราะมีตลาดใต้เคี่ยมอยู่ ส่วนเรื่องอุบัติเหตุมีการไลฟ์สดเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ในการดำเนินงานด้วย

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับงบประมาณเพียงแค่ 1 ปี คือ ปี 2560 ส่วนปี 2561 มีการดำเนินงานโดยใช้งบจาก ศอบต. มีการดำเนินงานสื่อโดยใช้ชื่อว่า “เสียงสุขภาวะชายแดนใต้” โดยมี “ดีเจประกายดาว” เป็นผู้ดำเนินการหลัก ประกอบด้วย อัตตัร Radio วิทยุ มอ.ปัตตานี บางปูลิสซิ่ง ฮิจเราะห์ยะลา ประเด็นที่มีการดำเนินงาน ประกอบด้วย ประเด็นเยาวชนติดยาเสพติด โดยการเอาเด็กที่ติดยาเสพติดแล้วบำบัดได้สำเร็จมาคุยในรายการประชาชนได้ฟังว่าเขาทำอย่างไรจึงสำเร็จ ปัญหาที่พบจากการดำเนินงานที่สำเร็จ ส่งผลให้มีปัญหากับคนขายยาในหมู่บ้าน เพราะเมื่อเด็กเลิกได้ก็จะมีการซื้อยาน้อยลง ทำให้เกิดเป็นความเสี่ยง หลังจากหมดงบประมาณ มีการดำเนินงานต่อโดยชุมชนได้รวบรวมเงินเพื่อสร้างบ้านไออุ่น สำหรับเป็นที่ให้ความรู้และบำบัดยาเสพติดกันเอง ต่อจากนั้นทางรายการก็ได้นำเด็กที่บำบัดยาเสพติดสำเร็จจากบ้านไออุ่นมาออกรายการร่วมด้วย ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการเลิกยาเสพติดได้ต่อเนื่อง ประเด็นที่ 2 คือ ประเด็นพหุวัฒนธรรม มีการพูดถึงหมอตำแย มีการไลฟ์สดเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันในรูปของเวทีเสวนาเรื่องต่างๆ เช่น การรับมือภัยพิบัติน้ำท่วม มีการทำสารคดีสั้น “มัสยิดต้นแบบ” ซึ่งมีห้องน้ำสะอาด มีการจัดการขยะที่ถูกต้อง มีที่ออกกำลังกายสำหรับประชาชน เผยแพร่ออกไปทำให้มีคนมาดูงานเยอะมาก เพราะได้ออกสื่อทาง Facebook และ YouTube
ในปี 2561 มีการของบจาก ศอบต. มาดำเนินกิจกรรมต่อ ประเด็นการท่องเที่ยวชุมชน มีการสอนชาวบ้านและให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนที่บางปู ทำให้คนขับเรือสามารถเป็นไกด์แนะนำ และให้ความรู้ให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวได้ นอกจากนี้ รายการวิทยุก็มีการจัดรายการที่ชื่อว่า “บางปู Amazing แหล่งท่องเที่ยว” โดยมีการไลฟ์สดผ่านยูทูปและวิทยุ การดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น โดยใช้สื่อให้ความรู้ในประเด็นการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ประเด็นต่อไปเป็นประเด็นเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ ในเด็กอายุ 12 ถึง 15 ปี เพื่อให้ได้มาเรียนรู้ มีการสื่อสารเชิงบวกระหว่างแม่กับลูก โดยทำอย่างไรให้มีการเข้าใจซึ่งกันและกัน มีการนำแม่และลูกไปดูงานเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก มีการขอสนับสนุนรถจากทหารโดยที่ไม่ต้องใช้เงินในการลงทุน ใช้การสอนทางด้านศาสนามามีส่วนช่วยเกี่ยวกับบาป บุญ ซึ่งทำให้ประมาณ 30 ครอบครัวเกิดการเข้าใจกันมากขึ้น ลูกฟังแม่และแม่ก็ฟังลูกมากขึ้น
สาเหตุหลักๆ ในการดำเนินงานเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ อาจเกิดมาจากความเสี่ยงมีมาก เพราะบริเวณพื้นที่ตำบลบานา เป็นที่อยู่ของแรงงานต่างด้าวค่อนข้างเยอะ และมีโรงแรมราคาถูกที่เด็กสามารถเข้าไปใช้บริการได้ง่าย ประเด็นต่อไปเกี่ยวกับ สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย คือ แม่เพราะแม่ต้องรู้เท่าทันลูก ว่าลูกมีการเสพสื่ออย่างไรบ้าง ต้องรู้เท่าทันโฆษณา ชัวร์ก่อนแชร์
ส่วนของเยาวชน มีการสอนให้ทำคลิปสั้น รู้เท่าทันสื่อ นอกจากนี้ มีการผลักดันเข้าสู่หลักสูตรของโรงเรียนด้วย ประเด็นต่อไปเป็นประเด็น การอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม มีการเชิญผู้นำศาสนาและผู้แทนจากศาสนาต่างๆ มาพูดคุยกัน มีการไลฟ์สด ผ่าน Facebook มีผู้ติดตามประมาณ 6,000 คนในขณะนั้น ส่วนตอนนี้มีผู้ติดตามประมาณ 10,000 คน

จังหวัดตรัง จังหวัดตรังเป็นจังหวัดที่เน้นเรื่องการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยเฉพาะการท่องเที่ยวชุมชน มีการสื่อสารผ่านทางวิทยุ YouTube เพจ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ซึ่งสามารถสื่อสารออกข้างนอก และมีการติดตามจากประชาชนมากมาย มีการสนับสนุนให้ทำสกู๊ปพิเศษจากทีมสื่อ
สื่อช่วยให้ชุมชนสามารถรักษาสภาพเดิมของชุมชนเอาไว้ได้ ไม่พัฒนาตามทุนนิยม โดยใช้สื่อคุยกับชุมชน รณรงค์ให้เกิดความหวงแหน ในความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมตามวิถีชีวิตดั้งเดิม นอกจากนี้ มีการทำสื่อเพื่อสุขภาพในกลุ่มผู้ยากไร้และผู้พิการ ผลจากการดำเนินงานมีการทำงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

จังหวัดพัทลุง การดำเนินงานสื่อจะต้องนำข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนไปสู่พี่น้องประชาชน สำหรับจังหวัดพัทลุงมีประเด็นเกี่ยวกับ ความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะปัญหาสารเคมี มีการรณรงค์ให้ทำนาข้าวอินทรีย์
การดำเนินงานด้านความปลอดภัยของอาหาร ให้ย้อนกลับไปดูอดีตสมัยก่อนว่ามีการเป็นอยู่อย่างไรจึงทำให้อาหารปลอดภัย ประเด็นรู้รักษ์พลังงานมีการรณรงค์ให้ใช้พลังงานชีวมวล มูลสัตว์ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อลดต้นทุนในการใช้จ่ายของครอบครัว ประเด็นสิทธิด้านสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิบัตรทอง สิทธิบัตรทองมีอะไรบ้าง ความเป็นธรรมในการรับการรักษาแต่ละกองทุนมีความเท่าเทียมกันหรือไม่ โดยการสนับสนุนจาก สปสช. มีการประชาสัมพันธ์สายด่วน สปสช. 1330
นอกจากนี้ ยังมีการใช้สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ ประกาศ ให้ความรู้เปิดบูธ หรือแม้แต่การใช้ระบบเสียงตามสาย ในสถานที่ต่างๆ เพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือประชาชนที่มาท่องเที่ยว เช่น นาโปแก เป็นต้น

จังหวัดสงขลา จังหวัดสงขลามีรูปแบบการดำเนินงานต่างจากจังหวัดอื่น โดยไม่มีสถานีวิทยุ ไม่มีการทำสื่อโดยผู้รับผิดชอบ แต่จะเน้นในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพและผลักดันให้เครือข่ายสามารถดำเนินงานร่วมกันได้ โดยใช้วิธีการขายประเด็นหรือขายไอเดียไปยังสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้เข้ามาร่วมกันดำเนินงาน ประเด็นที่ใช้ในการดำเนินงาน ประกอบด้วย การจัดการปัจจัยเสี่ยง การท่องเที่ยวชุมชน อาสาสมัคร อาหารปลอดภัย
ซึ่งการดำเนินงานจะเป็นการเดินสายพูดคุยกับสื่อมวลชนที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นที่สนใจ ช่วยกันขับเคลื่อนกับภาคีเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว มีกิจกรรมไลฟ์สดต่างๆ เช่น กิจกรรมฟินมาร์เก็ต จนสามารถดำเนินงานได้เองโดยประชาชนในตลาด มีการไลฟ์สดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนได้เข้าถึง
อนาคตจะเพิ่มการเผยแพร่งานวิจัยออกทางสื่อ โดยเฉพาะวิจัยของศูนย์วิจัยสุรา ซึ่งมีมากกว่า 60 เรื่อง แต่ยังไม่ได้รับการเผยแพร่ กลยุทธ์หลักในการดำเนินงานของจังหวัดสงขลา คือ การเสริมและพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายสื่อที่มีอยู่แล้วให้สามารถดำเนินงานขับเคลื่อนร่วมกันได้ มีการจัดเวทีนโยบายสาธารณะแล้วไลฟ์สดออกทางสื่อต่างๆ มีการจัดทำจดหมายข่าวออนไลน์ ซึ่งทุกคนสามารถเข้ามาดูได้ ภาคีเครือข่ายสามารถเอาเรื่องมาลงได้ นำลิงค์ไปเผยแพร่ได้ นำเนื้อหาไปลงในเพจ เว็บไซต์ ไวนิล หรือสื่อต่างๆ ได้ มีลิงค์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย

จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นศูนย์กลางในการจัดทำสื่อ เพื่อสนับสนุนให้กับทุกโครงการย่อย มีการติดตามการนำเสนอชิ้นงานของโครงการย่อย และมีการนำชิ้นงานของโครงการย่อยที่เด่นๆ มาออกรายการ “กินอิ่ม นอนอุ่น บนแผ่นดินใต้” โดยการไลฟ์สดทาง facebook ประเด็นที่มีการขับเคลื่อน ประกอบด้วย การจัดการน้ำทั้งระบบ การจัดการอาหารปลอดภัย ซึ่งมีการติดตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ มีการพัฒนาศักยภาพการใช้สื่อให้กับเครือข่ายผ่านทางสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค นครศรีธรรมราชจะสนับสนุนการผลิตสื่อ สนับสนุนงบประมาณ ให้กับโครงการย่อย มีการลงทำกิจกรรม on Ground กับประเด็นย่อยๆ ต่างๆ ในพื้นที่ รวมไปถึงประเด็นโครงการย่อยของจังหวัดต่างๆ ด้วย
มีการนำข้อมูลที่ได้มาผลิตเป็นรายการพิเศษ คือ “เส้นทางสู่สมัชชาประชาชนภาคใต้” ทีมข่าว ผู้ประสานงานแต่ละจังหวัด หรือกอง บก. สามารถเข้ามาแชร์ชิ้นงานจากทีมนครศรีธรรมราชได้ เพื่อนำไปช่วยกันแชร์ ช่วยกันส่งต่อ ช่วยกัน comment ชิ้นงาน
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาศักยภาพของคนทำสื่อ โดยมีคุณอานนท์  มีศรีเป็นวิทยากร

 

30 31

61. ประชุม กอง บก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่4/2561

วันที่ 4 กันยายน 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

26 26

62. การผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้(สื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส สารคดีเชิงข่าว : ความมั่นคงทางอาหาร กับการสร้างฝายมีชีวิต)

วันที่ 17 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ร่วมเวทีประชาเข้าใจเนื้อหา กระบวนการ ผลิตชิ้นงานประกอบ รูปแบบสารคดีเชิงข่าว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ความมั่นคงทางอาหารกับการสร้างฝายมีชีวิต
    มีกลุ่มชาวบ้าน น้อมนำแนวคิดเรื่องการบริหารการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ของในหลวง ร.9 มาปรับใช้ โดยมีการสร้างฝายเก็บน้ำผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และได้มีกลุ่มนักศึกษาร่วมกันซ่อมแซม ฝายมีชีวิตในบริเวณคลองบ้านตาล เป็นการสืบทอดแนวคิดนี้     คลองบ้านตาล เป็นจุดเรียนรู้ที่ช่วยเติมเต็มในระบบการความคิดของการลุกขึ้นมาจัดการตนเอง ไม่ว่าจะเป็นสาขา วิชา อาชีพใดๆ ก็ใช้หลักคิดของฝายมีชีวิตภายใต้ปรัชญาพอเพียง ของในหลวง ร.9 ได้     เป็นกิจกรรมการเรียนรู้สู่ห้องเรียนชุมชนและการพัฒนา ซ่อมแซมฝายมีชีวิตของชุมชนคลองบ้านตาล โดยผู้เข้าร่วมได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเรื่องของกระแสพระราชดำริตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งกลุ่มชาวบ้านได้น้อมนำกระแสพระราชดำรัสการจัดการน้ำอย่างเป็นอย่างระบบ โดยการมีส่วนร่วมในชุมชน

ผลผลิต :มีผลงานสื่อสารในรูปแบบของ สารคดีเชิงข่าว
ผลลัพธ์ :มีการสื่อสารผ่านช่องทางสื่อสาธารณะและเป็นผลงานเพื่อการใช้ในการนำเสนอให้กับพื้นที่อื่นๆ       :ชุดความรู้การจัดการน้ำโดยฝายมีชีวิต ที่เกี่ยวโยงกับความมั่นคงด้านอาหาร และระบบนิเวศน์ที่สร้างความยั่งยืนต่อระบบอาหาร

 

60 4

63. เวทีเสวนา “การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ภายใต้การจัดการตนเอง ผ่านเครือข่ายฝายมีชีวิต”

วันที่ 18 ตุลาคม 2561 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เปิดเวทีสาธารณะ โดยมีผู้เข้าร่วมจากพื้นที่ 20 พื้นที่ และมีผู้แทนเข้าร่วม จากภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ โดยให้มีการตั้งคำถามในการเสวนาและให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและใช้การสื่อสารสาธารณะเพื่อให้คนที่ติดตามได้เห็นผ่านช่องทางการสื่อสาร  และ มีการลงพื้นที่ให้เห็นความสำเร็จในการสร้างฝายและการใช้ประโยชน์การการสร้างฝายมีชีวิตในพื้นที่ตำบลวังอ่าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ความร่วมมือจากภาคี
2.ได้เห็นประโยชน์จากการจัดการน้ำโดยการสร้างฝายมีชีวิต 3.การพัฒนาให้เป็นนโยบายสาธารณะ 4.เกิดการรับรู้ในวงกว้างของผู้ชมรายการทั้งรายการสดและชมย้อนหลังโดยดูจากสถิติผู้เข้าชมรายการ  ผ่านช่องทางออนไลน์ เรื่องการจัดการน้ำโดยชุมชนเพื่อแก้ปัญหาภัยพิบัติและน้ำใช้เพื่อการเกษตร 5.เป็นส่วนหนึ่งในการตั้งคำถามให้เกิดการแสดงความคิดเห็น ทำให้ทราบปัญหาและความที่ต้องการจากชุมชน

 

100 85

64. เวทีธรรมนูญฝาย(คลอง) พัฒนาเป็นกติกาชุมชนในการรักษาสายน้ำโดยการจัดทำธรรมนูญคลอง

วันที่ 20 ตุลาคม 2561 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นเวทีธรรมนูญฝาย(คลอง) การทำเวทีประชาเข้าใจที่ชุมชนท้องถิ่นมีการประกาศเจตนารมณ์ และกติกาของชุมชน  ในการรักษาสายน้ำโดยการจัดทำธรรมนูญคลอง  โดยมีความมุ่งหมายที่ชัดเจนว่า ให้ชุมชนได้มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ และมีระบบสุขภาวะที่ดี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต         เป็นการจัดทำเวทีประชาเข้าใจ โดยใช้พื้นที่ฝายมีชีวิต บ้านห้วยน้ำคลุ้ง ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคีรี  จ.นครศรีธรรมราช เพื่อที่จะให้เกิดธรรมนูญสุขภาพ หรือ ธรรมนูญฝาย  เป็นเครื่องมือหนึ่งของสมัชชาสุขภาพ ที่ดำเนินจากขาเคลื่อนในรูปแบบปฏิบัติการและให้ยกระดับเป็นธรรมนูญ เป็นการกำหนดกฏิการ่วมกันของคนในชุมชน เรื่องการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม ผลลัพธ์ 1.ความร่วมมือจากภาคี
2.ได้เห็นประโยชน์จากการจัดการน้ำโดยการสร้างฝายมีชีวิต 3.การพัฒนาให้เป็นธรรมนูญสุขภาพ ตามเครื่องมือของสมัชชาสุขภาพ

 

40 8

65. การผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้(สื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส สารคดีเชิงข่าว : ข้าวไร่ งานเสริมชาวสวนยาง จ.นครศรีธรรมราช)

วันที่ 29 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่เพื่อผลิตชิ้นงานในรูปแบบสารคดีเชิงข่าว และสื่อสารทางช่องทีวี สาธารณะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

          ข้าวไร่ งานเสริมชาวสวนยาง จ.นครศรีธรรมราช  เป็นการลดรายจ่ายของครอบครัว และทำให้ สมาชิกได้รับประทานอาหารปลอดภัย ในช่วงที่รายได้จากการกรีดยางราคาตกต่ำ  การปลูกข้าวไร่ในพื้นที่ที่มีการโค่นสวนยางจึงกลายเป็นงานเสริมเติมอิ่มของชาวบ้น จ.จันดี จ.นครศรีธรรมราช
        ปัจจุบันชาวบ้านใน ต.จันดี จ.นครศรีธรรมราช มีอาชีพกรีดยางเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากเศรษฐกิจที่ไม่สู่ดีนัก  ชาวบ้านจึงได้หาทางออก จนเกิดเป็นอาชีพเสริมที่ไม่กระทบต่ออาชีพหลัก ข้าวไร่จึงเป็นอาชีพเสริมที่จะทำให้เกษตรกรประหยัดรายจ่าย  มีข้าวกักเก็บเพื่อเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นอู่ข้าวของชุมชน เป็นวิถีการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างจากอาชีพหลัก และชาวบ้านมีการช่วยกันลงแขกในการทำข้าวไร่  และยังมีการสืบทอดในการทำข้าวไร่กันต่อไป
     

 

500 4

66. ลงพื้นที่ในการผลิตสื่อ เพื่อเป็นข้อมูลกำหนดรูปแบบและจริยธรรมสื่อ (พื้นที่ 3 จังหวัด กับกลุ่มจิตอาสา “ญาลันนันบารู” )

วันที่ 31 ตุลาคม 2561 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ในการผลิตสารคดี พื้นที่ 3 จังหวัด กับกลุ่มจิตอาสา “ญาลันนันบารู”  ทำการสื่อสารการรวมตัวกลุ่มจิตอาสาเพื่อร่วมกันแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่เป็นเยาวชนโดยเฉพาะปัญหายาเสพติด การรวมตัวของคนในชุมชนที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มจิตอาสา“ญาลันนันบารู”โดยที่มีการสนับสนุนให้ความรู้ จากทุกภาคส่วนเช่น ฝ่ายความมั่นคง สาธารณสุข สถาบันการศึกษา ทีมจิตอาสาเหล่านี้ลุกขึ้นมาปกป้องเด็กและเยาวชนด้วยการเปิดพื้นที่ให้คนในครอบครัวครัวมีเวลาอยู่ร่วมกันมากขึ้นมีกิจกรรมร่วมกันโดยเน้นการดูแลสุขภาพของคนในครอบครับ นอกจากนั้นยังได้รับการอบรมเพื่อการจัดเก็บข้อมูลทางด้านสุขภาพ และการเขียนโครงการเพื่อการเชื่อมร้อยกับแหล่งงบประมาณในพื้นที่ เช่น กองทุนตำบล 2.เกิดกลไกการแก้ปัญหาในครัวเรือน 3.เกิดจิตอาสาที่ไม่หวังผลตอบแทน 4.ความร่วมมือระหว่างภาครัฐแลชุมชนโดยการสื่อสารจากชุมชน 5.ความรู้และทักษะการจัดการเชิงระบบ  เชื่อมโยงหน่วยงานองค์ในการช่วยเหลือได้ตรงเป้าหมายมากขึ้น

 

3 3

67. เวทีสาธารณะ ร่วมสร้าง : วัดสร้างสุข (วัดสร้างคน คนสร้างวัด)

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08:30-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นเวทีสาธารณะเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต : เกิดเวทีสาธารณะที่เป็นวงคุยแลกเปลี่ยนและต้นทุนของแต่ละฝ่าย
ผลลัพธ์ : ใช้การสื่อสารเพื่อภายนอกจะได้รับรู้และเป็นแนวทางเพื่อการดำเนินงานในพื้นที่อื่นๆ

 

8 8

68. เวทีเสวนา การสร้างความเข้าใจ ใช้อย่างถูกต้องกับการเท่าทัน E SPORT

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08:30-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม 2.บรรยายพิเศษ การสร้างความเข้าใจ ใช้อย่างถูกต้องกับการเท่าทัน
E - SPORT 3.เสวนาหัวข้อ “สานสร้างความเข้าใจ กีฬาใหม่ (E-sport) ในสถานการณ์ปัจจุบัน 4.ชี้แจงกระบวนการห้องย่อย โดยแบ่งเป็น 4กลุ่มกับโจทย์“E-sport ในสถานการณ์ปัจจุบัน สู่อนาคต     - กลุ่มที่ 1 ผู้ที่เคยเล่นหรือผ่านการใช้ประโยชน์จาก E-sport
    - กลุ่มที่ 2 ผู้ปกครองและครูอาจารย์ กับมุมมองที่มีต่อ E-sport
    - กลุ่มที่ 3 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการลดปัญหาจาก E-sport
    - กลุ่มที่ 4 สื่อและภาคพลเมืองกับการใช้พื้นที่สาธารณะและช่องทาง
                  ต่อ E- sport

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้เข้าร่วมทุกคนจะสามารถนำความรู้กระจายต่อไปยังผู้อื่นๆได้ 2.โครงการจะสามารถนำความเห็นสรุปวิเคราะห์ให้เกิดเป็นข้อเสนอต่อสมัชชาชาติได้ 3.จะได้ผลลัพธ์จากวงเสวนาเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขหรือลดปัญหาในพื้นที่ได้

 

100 84

69. การผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้(สื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส รายงานสถานการณ์ น้ำท่วม)

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 เวลา 07:00-18:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูลเพื่อผลิตชิ้นงานในรูปแบบสารคดีเชิงข่าว และสื่อสารทางช่องทีวี สาธารณะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
1.  การนำเสนอผ่านช่องทางการสื่อสาร 2.  ได้สื่อสารจากสถานการณ์จริงจากพื้นที่รับผลกระทบ 3.  ชิ้นงานการสื่อสาร ช่องทีวี สาธารณะ 4.  มีการรายงานสถานการณ์ และเกิดการเตรียมความพร้อมในการรับมือ
ผลลัพธ์ :
1.  พื้นที่อื่นได้รับรู้ถึงผลกระทบจากภัยพิบัติและการเยียวยาช่วยเหลือ 2.  ได้รับความช่วยเหลือและการส่งต่องานสื่อสารสู่สาธารณะ 3.  รายงานสถานการณ์ปัจจุบัน ออกสื่อสาธารณะช่องไบรทีวี 4.  ความเดือดร้อนของประชาชน กับภัยธรรมชาติเกิดความเสียหายในวงกว้าง 5.  เพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือผู้ประสบภัย 6.  ลดการสูญเสียและเกิดการเตรียมความพร้อมในการรับมือ

 

500 4

70. เวทีเสวนาและแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08:30-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ชี้แจงวัตถุประสงค์ ของกิจกรรม 2.นำเสนอบทสรุปและบทเรียนแห่งปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยระดับตำบล 3.เวทีเสวนาและแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย แนวทางแก้ไขและการจัดการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต การสื่อสาร ปัญหาชุมชนผ่านช่องทาง onground และ online
ผลลัพธ์ ใช้รูปแบบการสื่อสารเป็นส่วนหนึ่งของการพูดคุยร่วมกันเพื่อหาทางออกกับปัญหาที่ดินชุมชน

 

300 8

71. เบิกจ่ายเงินสนับสนุนการปฎิบัติงานวิชาการพัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะภาคใต้ งวดที่3

วันที่ 6 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

1 1

72. เวทีเสวนา การท่องเที่ยวโดยชุมชนกับความยั่งยืนที่ทำงานเชื่อมโยงที่เกิดรูปธรรม

วันที่ 18 ธันวาคม 2561 เวลา 08:30-15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นเวทีเสวนา การท่องเที่ยวโดยชุมชนกับความยั่งยืนที่ทำงานเชื่อมโยงที่เกิดรูปธรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต การสื่อสารวงเสวนา เพื่อรณรงค์การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อดูแลผืนป่า ผลลัพธ์ 1. เกิดการรับรู้ของสาธารณะต่อการเปิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีการจัดการ่วมกันของหลายภาคส่วน 2. กระบวนการสื่อสารทำให้เกิดการรับรู้และเข้าใจเจตนาของทุกฝ่ายทั้งฝ่ายผู้ที่ดำเนินการและฝ่ายผู้ใช้บริการรวมถึงชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่

 

100 108

73. หักภาษีดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร

วันที่ 21 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ไม่มี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่มี

 

50 0

74. การผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้(สื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส สารคดีเชิงข่าว : รู้เท่าทัน E PORT)

วันที่ 25 ธันวาคม 2561 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เพื่อผลิตงานในการสื่อสารสาธาณะผ่านช่องทาง ไทยพีบีเอส

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
1.  เป็นเวทีแลกเปลี่ยน และการให้ความรู้ และผลิตสื่อ
2.  วงแลกเปลี่ยนได้มีข้อมูลและรับรู้เกี่ยวกับกีฬาชนิดนี้

ผลลัพธ์
1.  มีชิ้นงานสื่อและสื่อสารผ่านช่องทางสื่อสาธารณะ 2.  มีการผลิตชิ้นงานสื่อประกอบสำหรับสื่อสารสาธารณะผ่านไทยพีบีเอส

 

500 3

75. การผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้(สื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส รายงานสถานการณ์พายุ ปาบึก)

วันที่ 4 มกราคม 2562 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่และรายงานสถานการณ์ภัยพิบัติผ่านช่องทางการสื่อสารทางเพจสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช และรายงานผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
1.  การนำเสนอผ่านช่องทางการสื่อสาร 2.  ได้สื่อสารจากสถานการณ์จริงจากพื้นที่รับผลกระทบ 3.  ชิ้นงานการสื่อสาร ช่องทีวี สาธารณะ

ผลลัพธ์ :
1.  พื้นที่อื่นได้รับรู้ถึงผลกระทบจากภัยพิบัติและการเยียวยาช่วยเหลือ 2.  ได้รับความช่วยเหลือและการส่งต่องานสื่อสารสู่สาธารณะ 3.  รายงานสถานการณ์ปัจจุบัน ออกสื่อสาธารณะช่องทางไทยพีบีเอส 4.  ความเดือดร้อนของประชาชน กับภัยธรรมชาติเกิดความเสียหายในวงกว้าง 5.  เพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

 

500 4

76. การผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้(สื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ ไบรทีวี รายงานสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ )

วันที่ 5 มกราคม 2562 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่และรายงานสถานการณ์ภัยพิบัติผ่านช่องทางการสื่อสารทางเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช  สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และสถานีโทรทัศน์ ไบรทีวี 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
1.  การนำเสนอผ่านช่องทางการสื่อสาร 2.  ได้สื่อสารจากสถานการณ์จริงจากพื้นที่รับผลกระทบ 3.  ชิ้นงานการสื่อสาร ช่องทีวี สาธารณะ

ผลลัพธ์ :
1.  พื้นที่อื่นได้รับรู้ถึงผลกระทบจากภัยพิบัติและการเยียวยาช่วยเหลือ 2.  ได้รับความช่วยเหลือและการส่งต่องานสื่อสารสู่สาธารณะ 3.  รายงานสถานการณ์ปัจจุบัน ออกสื่อสาธารณะช่องไบรทีวี 4.  ความเดือดร้อนของประชาชน กับภัยธรรมชาติเกิดความเสียหายในวงกว้าง 5.  เพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

 

500 4

77. เวทีเสวนา “มาปกป้องคลองท่าดี @ไชยมนตรี สายน้ำหล่อเลี้ยงชีวิต คนเมืองนครศรีฯ”

วันที่ 13 มกราคม 2562 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นเวทีเสวนาเกี่ยวกับฝายมีชีวิต ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม  น้ำแล้ง เมืองนครศรีฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต การสื่อสารแบบวงคุยผ่านช่องทาง online
ผลลัพธ์ 1. รับทราบและเข้าใจแนวคิดของผู้ที่อาสาปกป้อง คลองสายน้ำ และธรรมชาติ ให้อยู่กับชุมชน แบบยั่งยืน 2. วิธีการหรือแนวทางในการปกป้องสายน้ำ และระบบนิเวศน์ระหว่างสัตว์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และมนุษย์

 

50 7

78. ค่าตรวจบัญชี

วันที่ 16 มกราคม 2562 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ตรวจบัญชีโครงการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารสาธารณะ สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมสุขภาวะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงานผลการตรวจบัญชีประจำงวดจากผู้ตรวจสอบบัญชี นำส่ง สจรส.เพื่อประกอบการเบิกจ่ายงบประมาณงวดถัดไป

 

50 0

79. เวทีระดมความคิดเพื่อกำหนดกรอบหลักสูตรการใช้สมาร์ทโฟนในการตัดต่อคลิปวีดีโอ

วันที่ 19 มกราคม 2562 เวลา 09:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เพื่อระดมความคิดและกำหนดกรอบหลักสูตรการใช้สมาร์ทโฟนในการตัดต่อคลิปวีดีโอ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อ.กรกฎ  จำเนียร การใช้สมาร์ทโฟน(โมโจ) รวมถึงกระบวนการผลิตต่างๆ  การอบรมเราใช้ทฤษฎีไม่ได้ต้องใช้การปฏิบัติเป็น... ต้นทุน ทักษะ ความสนใจ อาศัยการกระตุ้นของผู้สอนหรือผู้อบรม อ.กรกฎ จำเนียร เป็นแบบเวิร์คช๊อป  มีการทดลองทำกับชุมชนสามารถทำได้ในระดับหนึ่ง ครึ่งวันเช้า ให้ความรู้เรื่องสื่อ การรู้เท่าทันสื่อ ช่วงบ่ายเรียนรู้การผลิตด้วยสมาร์ทโฟน เรียนรู้กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ด้วยมือถือ สอนตัดต่อด้วยโปรแกรม กลางคืนให้การบ้าน ช่วงเช้าอีกวันเราจะได้ชิ้นงานของเด็ก คุณสมันญา  รายการที่ผลิตจะเน้นเป็นคลิปสั้นๆ  เพราะคนเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีสมาธิในการดูรายการที่ยาวๆ รายการจะต้องเป็นแบบเร้าใจ เนื้อเรื่องสั้นกระชับ เป้าหมาย 1. รู้เท่าทันสื่อ 2. ผลิตสื่อที่ปลอดภัย 3. สามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานศึกษาและชีวิตประจำวัน รูปแบบของคลิป 1. คลิปมีความยาว 3-5 นาที หลักสูตร 1. “พัฒนาการสร้างสรรค์สื่อโดยใช้สมาร์ทโฟน”

1.  คุณธรรม จริยธรรม 1.1  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา (ให้ตรงกับ มคอ.2)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ -  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2  วิธีการสอน
- มีการบรรยายเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการโทรทัศน์ -  การมอบหมายงานให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติและร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม - ให้นักศึกษานำเสนอผลงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาภายหลังจากฝึกปฏิบัติ 1.3  วิธีการประเมินผล -  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา -  ประเมินพฤติกรรมในการฝึกปฏิบัติและการทำงานร่วมกันของนักศึกษา -  ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย 2.  ความรู้ (ตรงกับในมคอ.2) 2.1  ความรู้ที่ต้องได้รับ
  มีความรู้ ความเข้าใจสาระสำคัญของหลักการและทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานชีวิตในเนื้อหาวิชาเฉพาะด้านเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่สำคัญทางด้านนิเทศศาสตร์ มีความเป็นเลิศทางวิชาการและมีความเป็นมืออาชีพด้านนิเทศศาสตร์
2.2  วิธีการสอน - บรรยายแนวคิด หลักการ และเนื้อหาสาระความรู้เกี่ยวกับการผลิตรายการโทรทัศน์
-  มอบหมายให้นักศึกษาปฏิบัติและการทำงานกลุ่ม
-  นักศึกษานำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
2.3  วิธีการประเมินผล -  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี -  การทดสอบปฏิบัติ และการนำเสนอผลงานของนักศึกษา 3.  ทักษะทางปัญญา 3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา สามารถคิดอย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง 3.2 วิธีการสอน -  การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษ และนำเสนอผลการศึกษา -  อภิปรายกลุ่ม -  วิเคราะห์กรณีศึกษา
3.3  วิธีการประเมินผล -  สอบกลางภาค -  สอบปลายภาค
-  ประเมินผลงานของนักศึกษา ปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาภายหลังจากฝึกปฏิบัติ 4.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ 4.2 วิธีการสอน -  มอบหมายงานให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติรายกลุ่ม และรายบุคคล
  -  การนำเสนอรายงาน 4.3 วิธีการประเมินผล -  ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด -  รายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม -  รายงานการศึกษาด้วยตนเอง


 

10 10

80. ลงพื้นที่ในการผลิตสื่อ เพื่อเป็นข้อมูลกำหนดรูปแบบและจริยธรรมสื่อ (โครงการทำเล่นๆให้เป็นงาน)

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ในการผลิตสารคดี  เกี่ยวกับโครงการทำเล่นๆให้เป็นงาน โดยวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ตรัง ได้จัดระบบการศึกษาที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการเรียนของนักศึกษา เน้นจบออกมา ต้องสามารถรับใช้สังคมได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

          วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ตรัง ได้จัดระบบการศึกษาที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการเรียนของนักศึกษา เน้นจบออกมา ต้องสามารถรับใช้สังคมได้           ปัญหาทางสังคมด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบให้สุขภาพของคนประสบกับโรคภัยไข้เจ็บเป็นจำนวนมาก  ซึ่งทางวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ตรัง ได้เห็นการดำเนินกิจกรรมเสริมนอกเวลาเรียน เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ  โครงการทำเล่นๆให้เป็นงาน  โดยให้นักศึกษา  เลี้ยงไก่พันธ์ไข่  ไก่พื้นเมือง เป็ดไล่ทุ่ง ปลาดุก ปลูกผักปลอกสารพิษ  ซึ่งเป็นกิจกรรมของสโมสรนักศึกษา           กิจกรรมนี้เป็นการสร้างวินัย  ความรับผิดชอบ การฝึกทักษะชีวิต  หลังจากจบการศึกษาออกไป  สิ่งที่เกิดตามมาคือ  รายได้ที่เกิดจาการขายผลผลิต  นอกจากนั้นยังได้นำสาขาภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย  มาเป็นส่วนหนึ่งในสถานศึกษา  การใช้สมุนไพรการบำบัดรักษา นวดแผนไทย  และเชื่อมโยงไปถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม  เป็นการพัฒนาผู้เรียนและการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนที่นอกเหนือจากการเข้าเรียนในห้องเรียน

 

5 5

81. เวทีอบรมหลักสูตรการใช้สมาร์ทโฟน เพื่อการผลิตสื่อปลอดภัย ในกลุ่มเสี่ยง เด็กและเยาวชน

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08:30-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ชี้แจง วัตถุประสงค์ของโครงการ สื่อออนไลน์กับทิศทางการขับเคลื่อนโครงการ 2.รู้จักการวางแผน/ประเด็น/การเขียนโครงเรื่อง 3.รู้จักการถ่ายวีดีโอด้วยสมาร์ทโฟน     - แบ่งกลุ่ม ทำสคริป  วางแผนเตรียมพร้อมในการลงพื้นที่ ตัดต่อวีดี จากการลงพื้นที่ 4.ทบทวนเนื้อหา และเปิด VTR วันวาน 5.นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่มและวิพาษ์ วิจารณ์คลิปวีดีโอ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สื่อในยุคปัจจุบันกับเทคโนโลยีกาสื่อสารที่ทันสมัย รวดเร็ว เข้าถึงง่าย ทุกคนสามารถเป็นสื่อได้จนวงการสื่อได้ขนานนามว่า “สื่อใหม่” ซึ่งมีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือเด็กเยาวชนทั้งในระบบและนอกระบบ  การรับสื่อก่อให้เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบทั้งในทางบวกและทางลบนำไปสู่การสร้างเครือข่ายทางสังคมที่กว้างขวาง รวดเร็ว ทั้งนี้ข้อดีของการเปลี่ยนแปลงคือการกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้รับข่างสารได้โดยง่าย  ทำให้เกิดการขาดความรู้สึกร่วมถึงปัญหานั้นๆอย่างแท้จริง  นอกจากนั้นการรวมตัวที่ง่ายทำให้บุคคลทีสามหรือผู้บริโภคขาดความเชื่อถือของเนื้อหาหรือรูปแบบของการสื่อสาร  การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยลำดับต้นๆที่จะเพิ่มความขัดแย้งหรือการชี้นำสังคมไปในทางที่ผิดถ้าขาดการวิเคราะห์แยกแยะหรือการไม่รู้เท่าทัน
จากการขับเคลื่อนงานสื่อฯพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้สื่อทุกวันนี้มีมากขึ้น โดยเฉพาะด้านจริยธรรม ศีลธรรม  หลักสูตร เยาวชนรู้เท่าทันสื่อ โดยการใช้สมาร์ทโฟน เพื่อการผลิตสื่อที่ปลอดภัย ในกลุ่มเสี่ยง เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ที่มุ่งเน้นการรู้เท่าทันสื่อในรูปแบบของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  วิเคราะห์ร่วมกัน โดยทำการศึกษาเป็นกลุ่ม  ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางเป็นผู้สร้างความรู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

นำเข้าข้อมูล การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชน         “รู้เท่าทันสื่อ” คือ ทักษะ หรือความสามารถในการ “ใช้สื่ออย่างรู้ตัว” และ “ใช้สื่ออย่างตื่นตัว”   “การรู้เท่าทันสื่อ” คือความสามารถป้องกันตนเองจากการถูกจูงใจจากเนื้อหาของสื่อ ไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์ สงสัย และรู้จักตั้งค่าถามว่า จริงหรือไม่จริง ใครเป็นคนให้ข้อมูล เขาต้องการ สื่อสารอะไร มีจุดมุ่งหมายแอบแฝงหรือไม่ ต้องการสื่อสารให้ใคร และใครได้ประโยชน์ โดยการรับมือจากสื่อออนไลน์นั้นเราสามารถวิเคราะห์และพิจารณาเองได้ รวมถึงการรับมือกับข่าวลือในสื่อสังคมออนไลน์ โดยข่าวในสื่ออาจจะเป็นข่าวสารที่เป็นข่าวลือหรือสื่อเกินจริง พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเป็นฉบับ (ฉบับที่  ๒) พ.ศ.  ๒๕๖๐หรือที่คุ้นหูในชื่อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กฎหมายดังกล่าวเป็นการแก้ไขกฎหมายเดิมอย่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปี 2550 โดยหนึ่งในประเด็นที่มีการแก้ไขใหม่ คือ การแก้ไขมาตรา 14 เพื่อป้องกันการนำมาใช้ฟ้องหมิ่นประมาท เนื่องจากในอดีต มาตราดังกล่าวนำมาสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีเอาผิดกับ "เนื้อหา" บนโลกออนไลน์ ทั้งที่เจตนารมณ์ของกฎหมายมีขึ้นเพื่อการเอาผิดการกระทำต่อ "ระบบ" คอมพิวเตอร์

ชี้แจงเทคนิคการเตรียมอุปกรณ์สมาร์ทโฟนแต่ละรุ่นเพื่อความพร้อมในการเข้าฝึกอบรม โดย นายพงษ์พัฒน์  ด่านอุดม เทคนิคการใช้สมาร์ทโฟนผลิตคลิปวีดีโอ
เป็นแอปพลิเคชั่นตัดต่อวิดีโอชั้นยอดที่สามารถตัดต่อทั้งภาพ เสียง ไตเติ้ล แคปชั่น  และโลโก้ได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ยัง import ฟอนต์ตัวอักษร และแปลงไฟล์เป็นระบบ NTSC หรือ PAL ได้เช่นกัน ๑. การเขียนสคริปต์  สร้างสคริปต์ โดยการใช้หลักเขียนเรื่องจากภาพ  ดูว่าคลิปภาพส่วนไหนที่มีพลังและเร้าอารมณ์ที่สุด  แล้วค่อยจึงนำคลิปเหล่านั้นมาตัดต่อเพื่อเล่าเรื่องให้มีพลังมากที่สุดระหว่างการเขียนสคริปต์  ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อของผู้ให้สัมภาษณ์เพราะมันจะปรากฏเป็นตัวอักษรบนหน้าจออยู่แล้วสิ่งที่ควรอยู่ในสคริปต์ คือข้อมูลและการสัมภาษณ์ที่เร้าอารมณ์และทำให้เกิดความสนใจใคร่รู้ ๒. การตัดต่อวิดีโอ โดยการใช้โปรแกรม KineMaster  บันทึกเป็นเสียงบรรยายให้เรียบร้อยผ่าน แอปพลิเคชั่น จากนั้นก็ import เสียงนั้นเข้าไปในแอปพลิเคชั่นตัดต่อเพื่อแยกชิ้นส่วนเสียงเข้ากับวิดีโอในแต่ละช่วง สุดท้ายนำเสียงธรรมชาติ เติมลงไปในช่วงที่ไมมีเสียงบรรยายหรือเสียงสัมภาษณ์

ลงพื้นที่ถ่ายภาพ และถ่ายคลิปสั้นๆด้วยสมาร์ทโฟน

ผลที่ได้ - เกิดการทดลองหลักสูตร พบทั้งข้อดีและข้อบกพร่อง ความไม่สมบูรณ์บางส่วนของหลักสูตร เพื่อการปรับปรุงและแก้ไข - เกิดทีมพี่เลี้ยงจากการอบรมและพัฒนาศักยภาพเพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการอบรมจริงทั้ง ๓ จังหวัด - ผู้เข้าอบรมสามารถผลิตคลิปเพื่อการสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์

 

30 27

82. เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบการสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์ไว้ซึ่งภูมิปัญญา 9 ด้าน กับแนวการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08:30-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.บรรยายในหัวข้อ  “ภูมิปัญญา กับสังคมสุขภาวะ สู่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” 2.สานเสวนา "การสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ปราชญ์ 9 ด้านเพื่อรักษาซึ่งภูมิปัญญากับแนวการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ร่วมกันได้อย่างไร 3.ข้อมูลนำเข้า ภูมิปัญญาปราชญ์ 9 ด้านกับการออกแบบการสื่อสารเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
4.แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น  หัวข้อ"สื่อมวลชนจะนำองค์ความรู้  ปราชญ์ 9 ด้าน เชื่อมโยงสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีอย่างไร  โดยใช้ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ -  คน , สภาพแวดล้อม , กลไก จากปัญหาจะนำมาดำเนินการอย่างไร -  วิธีการ  รูปแบบ ช่องทาง  เนื้อหา  จังหวะก้าว 5.นำเสนอกลุ่มย่อยและสรุปรวมเวที โดยทีมวิชาการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.สื่อสารการ ประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์ภูมิปัญญา ทางภาคใต้ ที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 2.เกิดความรู้ และตระหนักต่อภูมิปัญญา จากปราชญ์แต่ละสาขา เช่น ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ภาษา สมุนไพร
3.เรียนรู้ยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน

 

100 100

83. เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบการสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์ไว้ซึ่งภูมิปัญญา 9 ด้าน กับแนวการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ครั้งที่ 2

วันที่ 1 มีนาคม 2562 เวลา 08:00-16:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์  ใช้ภูมิปัญญาปราชญ์ 9 ด้าน เบิกทางเชื่อมยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี  และแลกเปลี่ยนโดยใช้ข้อมูลที่ให้ยุทธศาสตร์ชาติัทั้ง 9 ด้านมาเป็นข้อมูลนำเข้าโดยให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแตะละปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน คือ ปัญหาจากคน สภาพแวดล้อม กลไก ว่าแต่ละปัจจัยนั้นมีปัญหามาจากอะไร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

          กอ.รมน.ภาค 4 สร้างสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์  ใช้ภูมิปัญญาปราชญ์ 9 ด้าน เบิกทางเชื่อมยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี           พลตรี ทรงพล สุมนาวดี  ผอ.ศปม.กอ.รมน. ภาค 4 เป็นประธานเปิดโครงการสื่อมวลชนสัมพันธ์ ครั้งที่ 2 ของศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป  กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เพื่อสร้างความเข้าใจให้สื่อมวลชนทุกแขนง  กลุ่มแกนนำในชุมชนและกลุ่มเยาวชน ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารซึ่งจำทำให้การบิดเบือนข่าวสารที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง ลดน้อยลงได้  และจะก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติในด้านความมั่งคงของชาติและนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 20 ปี ที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน         พันเอกภัทรชัย  แทนขำ  หัวหน้าแผนฯ ศปป.กอ. รมน. ภาค 4 ประชุมในครั้งนี้สร้างความเข้าใจให้ถูกต้องตามสัญญาประชาคมความเห็นร่วมไปสู่การสร้างความสามัคคีปรองดองและการช่วยกันขับเคลื่อนไปสู่ยุทธศาสตร์ 20 ปี  สร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในการเฝ้าระวัง  และแจ้งเตือนเพื่อต่อต้านการแสข่าวลือ  โดยการนำเสนอข่าวสารคดีที่ดี ที่เกิดขึ้นในชุมชน  และเพื่อให้สื่อมวลชน หรือกลุ่มบุคคล หรือบุคคลที่ทำหน้าที่สื่อสารมวลชนเป็นส่วนในการลดปัญกาความขัดแย้งที่เกิดจากการบิดเบือนข่าวสาร  พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนโดยใช้ข้อมูลที่ให้ยุทธศาสตร์ชาติัทั้ง 9 ด้านมาเป็นข้อมูลนำเข้าโดยให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแตะละปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน คือ ปัญหาจากคน สภาพแวดล้อม กลไก ว่าแต่ละปัจจัยนั้นมีปัญหามาจากอะไร

 

150 8

84. เวทีเสวนา ฝายมีชีวิตบ้านคลองดิน ตอนที่ 1

วันที่ 4 มิถุนายน 2562 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1วงเสวนาให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แลกเปลี่ยนกระบวนการทำงาน การมืส่วนร่วม และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยมี คุณอานนท์ มีศรี จากสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช และเครือข่ายสื่อสร้างสุข เป็นผู้ดำเนินรายการ 2.สื่อสารผ่านช่องทาง Facebook live  และบันทึกรายการ อัพลง ยูทูป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กระบวนการการจัดการน้ำโดยการสร้างฝายมีชีวิต สามารถพลิกฟื้นระบบนิเวศน์ และวิถีชีวิต ให้กับชาวบ้าน รอบฝายรัศมีประมาณ 2  กม. ได้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตและมีการจัดการด้านอาหารที่ปลอดภัยมากขึ้น 2  การสื่อสาร มีความสำคัญต่อการเผยแพร่ ชุดความรู้ให้กับชุมชนต่างๆ ได้เดินทางเข้ามาเรียนู้และนำไปขยายผลประยุกต์ใช้ในพื้นที่ตัวเอง
  2. ผุ้เกี่ยวข้องในระดับนโยบาย สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์กับสังคมมากขึ้น

 

8 0

85. เบิกจ่ายเงินสนับสนุนการปฎิบัติงานวิชาการ พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะภาคใต้ งวดที่4

วันที่ 28 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เบิกจ่ายเงินสนับสนุนการปฎิบัติงานวิชาการ พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะภาคใต้ งวดที่4

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เบิกจ่ายเงินสนับสนุนการปฎิบัติงานวิชาการ พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะภาคใต้ งวดที่4

 

1 1

86. หักภาษีดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร

วันที่ 28 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ไม่มี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่มี

 

50 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.ขยายเครือข่ายการสื่อสารสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม 14 จังหวัดภาคใต้
ตัวชี้วัด : เกิดเครือข่าย การสื่อสารสาธารณะ เพิ่มจากเดิม 7 จังหวัด เป็น 14 จังหวัด

 

2 2.สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย
ตัวชี้วัด : เครือข่ายสื่อที่เข้าร่วมโครงการ มีการผลิตสื่อ ในพื้นที่ของจังหวัดที่รับผิดชอบในประเด็นสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ทำการสื่อสารผ่านช่่องทาง ต่างๆ และทำการศึกษาวิเคราะห์ให้เห็นว่า รูปแบบของเนื้อหา รูปแบบของสื่อและวิธีการสื่อสาร อย่างไร ที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนได้ และเปลี่ยนแปลงอย่างไร

 

3 3.ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและจริยธรรมเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะและขับเคลื่อนประเด็นต่างๆในมิติสุขภาวะทางปัญญา และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
ตัวชี้วัด : สามารถ วิเคราะห์ กระบวนการสื่อสาร ให้เห็นถึงรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมและมีคุณภาพได้ และกำหนดแนวปฏบัติของนักสื่อสารชุมชน ที่มีจริยธรรมของนักสื่อสารเพื่อการสร้างสังคมสุขภาวะ

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.ขยายเครือข่ายการสื่อสารสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม 14 จังหวัดภาคใต้ (2) 2.สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย (3) 3.ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและจริยธรรมเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะและขับเคลื่อนประเด็นต่างๆในมิติสุขภาวะทางปัญญา และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงาน  กองบก.  เครือข่าย " สื่อสร้างสุขภาคใต้" ครั้งที่ 1 (2) เวทีงานสมัชชาเพื่อนสื่อสาธารณะ ภาคใต้ ปี 2560  กับการสื่อสารประเด็นการขับเคลื่อนทางสังคม (3) เวทีสมัชชา  "ขับเคลื่อนเมืองนคร  สู่นครศรีฯ อยู่ดีมีสุข" (4) หักภาษีดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร (5) ประชุม กองบก.สื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 1 (6) สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช งวดที่ 1 (7) สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดพังงา งวดที่ 1 (8) สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดกระบี่ งวดที่ 1 (9) สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดชุมพร งวดที่ 1 (10) สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดพัทลุง งวดที่ 1 (11) สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดสงขลา งวดที่ 1 (12) เวทีถกเถียงสาธารณะ  ร้อยใจคนชุมพร ร่วมสร้างเมืองปลอดภัย  กรณีศึกษา “อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล” (13) สานเสวนา ทางเลือก ทางรอด ของเยาวชนคนคอน ภายใต้ปัจจัยเลี่ยงต่อสุขภาพที่รุมเร้า (14) เวทีเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ปี 2561  ห้องย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโซนอันดามัน (15) เวทีเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศรีวิชัยสู่การสร้างพลังทางสังคม (16) สนับสนุนเครือข่ายกขป.เขต 11 สุราษฎร์ธานี (17) เวทีเสวนา สมุยโมเดล “เตรียมวางแผนกิจกรรมเดินรอบเกาะ” (18) เวทีถกเถียงสาธารณะ ”เสวนาการจัดการน้ำเมืองคอน ทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม “ (19) เวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (20) เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการพลังการสื่อสาร เผยเเพร่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสู่การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะ (21) เวทีเชื่อมโยงเครือข่ายสื่อจังหวัดตรัง (22) เวทีประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (23) เวทีประเด็นอุบัติเหตุกับแผนพัฒนาจังหวัดระนอง (24) สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดกระบี่ งวดที่ 2 (25) ค่าธรรมเนียมการโอนและค่าธรรมเนียมเช็ค (26) เวทีสาธารณะ“คนเมืองตรังบ้านโคกออกร่วมจัดการชุมชนอยู่ดีมีสุข” (27) สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดตรัง งวดที่ 1 (28) ประชุม กองบก. สื่อสร้างสุขภาคใต้  ครั้งที่ 2 (29) สนับสนุนพื้นที่ ประเด็นสุขภาวะทางสังคมการจัดการปัจจัยเสี่ยงจังหวัดชุมพร งวดที่ 2 (30) ประชุมวิชาการ ประจำปี 2561 "สร้างคน  สร้างงาน สร้างสุข สานพลังที่ก้าวข้ามขีดกำจัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน (31) เวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2561 (32) สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ จังหวัดตรังงวดที่ 1 (33) สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส งวดที่ 1 (34) สนับสนุนประเด็นสุขภาวะทางสังคม ประเด็นระบบอาหาร (35) สนับสนุนประเด็นสุขภาวะทางสังคม ประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (36) จัดประชุมร่างแนวปฏิบัติเพื่อกำหนดจริยธรรมสื่อในกระบวนการนโยบายสาธารณะ (37) จัดประชุมรูปแบบการสื่อสาร นโยบายสาธารณะ (38) สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช งวดที่ 2 (39) ค่าตรวจบัญชีโครงการ (40) ค่าตรวจบันชี (41) ผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ ประเด็นสุขภาวะ สนับสนุนงานสร้างสุขภาคใต้ (42) พัฒนาศักยภาพเพื่อการเรียนรู้การสื่อสารเพื่อสุขภาวะ 2 พื้นที่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ จังหวัด

รหัสโครงการ -

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( อานนท์ มีศรี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด