แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
“ โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ ”
หัวหน้าโครงการ
นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ
ที่อยู่ จังหวัด
รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 61-ข-012
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 12 มกราคม 2561 ถึง 31 มกราคม 2562
กิตติกรรมประกาศ
"โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ
บทคัดย่อ
โครงการ " โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ " ดำเนินการในพื้นที่ รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 12 มกราคม 2561 - 31 มกราคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 200,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้
การประเมินผล
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
เอกสารประกอบอื่นๆ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
จากการทบทวนข้อมูล รายงานการศึกษา วิจัย ด้านวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ พบว่า มีการศึกษา วิจัย และนำไปสู่การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารมาอย่างต่อเนื่อง เช่น “โครงการอนุรักษ์-ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น คาบสมุทรสทิงพระ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” “ครัวใบโหนด” “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก” และฐานการเรียนรู้การทำขนมพื้นบ้าน หรือน้ำตาลแว่น เป็นต้น เพื่อกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกคนในท้องถิ่นให้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ อันเป็นฐานทรัพยากรอาหารที่จะช่วยให้มีอาชีพที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้ และยังคงไว้ซึ่งองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาของชุมชนมิให้สูญหายไป ตามวิถี “โหนด-นา-เล”
อย่างไรก็ดี รูปธรรมของการพัฒนายังจับต้องได้ไม่ง่ายนัก จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาต่อยอดการศึกษาที่มีอยู่เดิมแบบบูรณาการระหว่างอาหาร วัตถุดิบ และถิ่นกำเนิดวัตถุดิบ/วัฒนธรรม เข้ากับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มักจะท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ พร้อมกับการเสาะแสวงหาอาหารรสชาติดี และบรรยากาศดี
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- 1) เพื่อพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ
- 2) เพื่อหนุนเสริมแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนคาบสมุทรสทิงพระ
- 3) เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและถิ่นกำเนิดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระผ่านกระบวนการพัฒนาอาหารแบบบูรณาการ
- 4) เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ ผลผลิต* ผลผลิตที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง
1. ประชุมคณะทำงานชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ
วันที่ 25 มกราคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
นักวิจัยและเครือข่ายมูลนิธิทักษิณคดีศึกษา นำโดยอาจารย์สิทธิศักดิ์ ตันมงคล และคณะ ประชุมร่วมกันกับตัวแทน สจรส.มอ. นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี โดยมีเนื้อหา
เกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ การจัดทำรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ผ่านระบบออนไลน์ website ระบบติดตามโครงการ ศวสต
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.คณะทำงานมีความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการ
2.มีข้อกังวลในการรายงานผ่านระบบออนไลน์ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งระบบมีข้อมูลที่ค่อนข้างซับซ้อนต้องใช้เวลาในการเรียนรู้
5
5
2. ประชุมคณะทำงาน
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เวลา 17.00 น. ประชุมคณะทางานที่ร้านครัวทองแดง ห้าแยกน้ำกระจาย ประกอบด้วย
นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล นายเทพรัตน์ จันทพันธ์ นายธีระ จันธิปะ และนางสุรีย์ ตันมงคล ความว่า
ประเด็นที่ 1.การมองความเชื่อมโยงจากวัตถุดิบ และภูมิปัญญา จากฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ พืชพรรณ สัตว์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงชาติพันธุ์ ความเชื่อ ศาสนา อาจจะดูเรื่องการ
ตั้งถิ่นฐานและ Time line ดูเรื่องอาหารพื้นบ้าน และพัฒนาการ ทำข้อมูลอาหาร (สูตร คุณค่า กรรมวิธี
ปรุง วัตถุดิบ) การพัฒนาอาหาร พัฒนาเศรษฐกิจ/การท่องเที่ยว ทาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว และดูเรื่อง
การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ได้จากเอกสาร 2 เล่ม คือ
(1) หนังสือ หรอยจังฮู้ (อร่อยที่สุดในโลก) โดยลุงพร สอนอาชีพ ร้านซีเอ็ด
(2) หนังสือ ผักแถวพื้น : แกงแถวบ้าน ผักพื้นบ้านและอาหารพื้นถิ่นจากคาบสมุทรสทิงพระ
(3) โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมท้องถิ่น คาบสมุทรสทิงพระ โดย
มูลนิธิชีววิถี
(4) ขอข้อมูลได้จากร้านครัวใบโหนด
ประเด็นที่2 กำหนดวันประชุมสัมมนาเปิดโครงการในวันที่ 10 มีนาคม 2561 โดยจะเชิญหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องดังนี้
1) สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
2) สานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา
3) ประธานสภาวัฒนธรรมทั้ง 4 อำเภอ
(1) อำเภอสิงหนคร อ.ภิรมย์ ศรีเมือง 086-2934527 อดีต ผอ. รร. สงขลาวิทยาคม
ที่ปรึกษานายก อบต. รำแดง
(2) อำเภอสทิงพระ นางเรณู เที่ยงแก้ว 087-2997433 ผญบ. ม. 4 ต.บ่อดาน
(3) อำเภอกระแสสินธุ์ นายภรณ์ ดวงจักร 089-9783936
(4) อำเภอระโนด นายถิรคุณ จันทรพงศ์ 061-6959866 สท. ทต. ระโนด
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.คณะทำงานมีความเข้าใจในการทำงานโครงการ
2.เกิดการวางแผนการทำงานร่วมกัน ในการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3.เกิดการประสานงานในการจัดประชุมชี้แจงโครงการ เพื่อให้เกิดการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
10
5
3. ประชุมคณะทำงาน ร่วมกับ สจรส.มอ
วันที่ 11 พฤษภาคม 2561 เวลา 10:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เวลา 10.00 น. หัวหน้าโครงการนายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล เข้าประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.มอ. ) เพื่อเรียนรู้การบันทึกรายงานใน
website ระบบติดตามโครงการ ศวสต.
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
หัวหน้าโครงการนายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล ได้เรียนรู้การบันทึกรายงานใน
website ระบบติดตามโครงการ ศวสต. เพื่อนำไปสู่การจัดทำรายงานได้อย่างถูกต้อง
2
0
4. ประชุมคณะทำงาน
วันที่ 21 พฤษภาคม 2561 เวลา 15:00 น.กิจกรรมที่ทำ
คณะทำงาน จำนวน 4คน ประกอบด้วย นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล นางพนัดดา เทพญา นายธีระ จันทิปะ และนางสุรีย์ ตันมงคล ร่วมประชุม ณ ร้านกาแฟ สถาบันทักษิณคดีศึกษา เพื่อปรับแผนการทำงานกันใหม่ เนื่องจากการดำเนินงานล่าช้ากว่าแผน ดังนี้
1) จัดทำข้อมูลอาหารพื้นบ้านของคาบสมุทรสทิงพระ ประกอบด้วยสูตรและคุณค่าทางโภชนาการ โดยให้หาคณะทำงานมาช่วยทางานเอกสารเพิ่มเติม และให้นางพนัดดา เทพญา นำหนังสือ (1) หนังสือ หรอยจังฮู้ (อร่อยที่สุดในโลก) โดยลุงพร สอนอาชีพ (2) หนังสือ ผักแถวพื้น : แกงแถวบ้าน โดยมูลนิธิชีววิถี ทำสำเนาเพื่อแบ่งกันไปศึกษาของทีมคณะทำงาน
2) ประสานงานข้อมูลกับร้านครัวใบโหนด กำหนดให้จัดทำข้อมูลอาหารพื้นบ้านเสร็จในวันที่ 15 มิ.ย. 2561
3) จัดทำข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวคาบสมุทรสทิงพระ ทำ Mapping เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่วัฒนธรรมอาหารกับพื้นที่การท่องเที่ยวของคาบสมุทรสทิงพระ และหากทาเป็น application บน
โทรศัพท์มือถือ
4) จัดประกวดอาหาร/ขนม หรือสำรับ จะจัดรวมทั้ง 4 อำเภอในครั้งเดียว เนื่องจากพิจารณาแล้วพบข้อจำกัดด้านงบประมาณ ไม่สามารถจัดตามแผนเดิมได้ โดยให้ นายธีระ จันทิปะ ประสานงานผ่านพัฒนาการอำเภอ แต่ละอำเภอ ผ่านนายอำเภอ เพื่อร่วมพิจารณา วัน เวลา สถานที่ กติกาทั้งนี้กำหนดแผนล่วงหน้า ดังนี้
-ก่อนวันที่ 15 มิ.ย. 2561 ร่างกติกา คัดเลือกรายการ ส่งหนังสือเชิญถึงทุกอำเภอ
-วันที่ 18 - 22 มิ.ย. 2561 ประชุมพัฒนาการอำเภอ 4 อำเภอ และ พัฒนาการจังหวัดสงขลา ที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา
-วันที่ 25 - 29 มิ.ย. 2561 สรุปเรื่องการประกวด เตรียมประชาสัมพันธ์ แจ้งหน่วยงานต่างๆ
-ไม่เกินวันที่ 15 ก.ค. 2561 จัดประกวด
อย่างไรก็ดี วันที่ 22 ก.ค. 2561 ทางวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน โดย อ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ จะจัด
ประกวดอาหาร ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (พัทลุง)
5) การจัดการท่องเที่ยว 8 ครั้ง ตามแผนเดิม จะหารือกันในโอกาสต่อไป
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.เกิดแผนในการวางโปรแกรมการท่องเที่ยว
2.คณะทำงานได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระ เพื่อนำไปสู่การจัดโปรแกรมท่องเทียว และการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นคาบสมุทรสทิงพระ
10
4
5. ลงพื้นที่ประสานงานอำเภอสิงหนคร
วันที่ 6 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ลงพื้นที่สัมภาษณ์ตัวแทนชุมชน ปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้เรื่องอาหารพื้นบ้าน ในการจัดเก็บเป็นข้อมูลในการนำไปต่อยอดเกี่ยววัฒนธรรมด้านอาหารของคนคาบสมุทรสทิงพระ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
มีข้อมูลตำรับอาหารเบื้องต้น เพื่อนำไปเรียบเรียงในลำดับต่อไป
5
5
6. ประชุมคณะทำงาน
วันที่ 26 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เวลา 14.00 น. คณะทำงาน ประกอบด้วย นายสิทธิศักดิ์ตันมงคล นางพนัดดา เทพญา นายธีระ จันทิปะ และนางสุรีย์ ตันมงคลประชุม ณ ร้าน Coffee Time ตำบลเกาะยอ มีรายละเอียดดังนี้
1) เมื่อวันที่ 6 - 7 มิถุนายน 2561 คณะทำงาน โดยนางพนัดดา เทพญา และนายธีระ จันทิปะ
ได้ลงไปประสานงานเบื้องต้นในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแส
สินธุ์ และอำเภอระโนด
2) นางพนัดดา เทพญา และนางสาวนงลักษณ์ ก้งเซ่ง ได้ลงพื้นที่สำรวจ รวบรวมรายชื่ออาหาร
พื้นบ้านของคาบสมุทรสทิงพระ โดยการสัมภาษณ์ร้านครัวใบโหนด พบว่า มีรายการอาหารที่กลุ่มครัวใบโหนดได้รวบรวมไว้ ดังนี้
(1) ยาลูกโหนด (ลูกโหนดหรือลูกตาลมีสรรพคุณช่วยลดความร้อนในร่างกาย บรรเทาอาการ
ไอ ละลายเสมหะ)
(2) ยาหัวโหนด (ปรุงรสด้วยน้าส้มโหนด โรยยอดหรือใบกะสัง)
(3) ลูกโหนดน้ากะทิ
(4) หมึกต้มหวาน
(5) ต้มกะทิไก่บ้านใส่มะยม
(6) ต้มกะทิยอดเลียบ (ยอดเลียบมีรสเปรี้ยวมัน ช่วยให้เจริญอาหาร และระบายท้อง)
(7) ต้มยากุ้งแม่น้า (ครบเครืองสมุนไพร ช่วยย่อยอาหาร แก้หวัด)
(8) แกงส้มกุ้งใส่ลูกเขาคัน (ลูกเขาคันมีรสเปรี้ยว ช่วยในการระบาย)
(9) แกงส้มตะลิงปลิง
(10) แกงคั่วหยวกไก่บ้าน (หยวกกล้วย ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย)
(11) แกงคั่วปูดาใส่สับปะรด
(12) แกงพุงปลา
(13) แกงหอยใส่ใบชะพลู
(14) แกงคั่วหัวโหนดไก่บ้าน
(15) ผัดเผ็ดปลามิหลังข่าอ่อน
(16) ผัดเผ็ดปลายอดสนใส่ใบยี่หร่า (หอมยี่หร่า รสร้อนแรง)
(17) น้าชุบแมงดา
3) กติกาการประกวดอาหาร/ขนม หรือสารับ จากมติการประชุมที่มอบให้ นายธีระ จันทิปะ
จัดทำ (ร่าง) กติกาการประกวด โดยประสานงาน กับ อ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ เพื่อรวบรวมข้อมูลกติกาการประกวด ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มิ.ย. 2561 ซึ่งนายธีระ จันทิปะ จะเร่งจัดทำ ร่าง กติกาให้แล้วเสร็จ เพื่อได้นาเสนอที่ประชุมในคราวต่อไป
4) กำหนดแผนการจัดประกวดอาหาร จะจัดในวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2561 ที่ตลาดสิงหนคร กิจกรรมการประกวดอาหาร ที่ประชุมได้เสนอให้มีการประกวดอาหารในรูปแบบของสำรับอาหาร โดยใน 1 สำหรับ ประกอบด้วย อาหาร 4 ประเภท ได้แก่
(1) อาหารที่มีรสเผ็ด
(2) อาหารที่มีรสไม่เผ็ด เช่น ต้ม ผัด หรือทอด
(3) อาหารที่เป็นของหวาน เช่น ขนม ต่างๆ
(4) อาหารประเภทเครื่องเคียง เช่น น้ำพริกต่างๆ + ผักสด
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.เกิดข้อมูลอาหารคาบสมุทรสทิงพระ จากร้านครัวในโหนด ที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ลูกโหนดมาประกอบอาหารทั้งคาว เช่น ยำลูกโหนด และหวาน เช่น ลูกโหนดน้ำกระทิ ตลอดจนสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วยปลามิหลัง ปลาหมึก กุ้งแม่น้ำ ฯ เพื่อมาทำเป็นกับข้าว(แกง) ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น (ชาวบก) ที่มีการผสมเครื่องเทศ สมุนไพรในท้องถิ่น เช่น ใบยี่หร่า ใบชะพลู สัปรด ลูกเถาคัน ใบกะสัง ฯลฯ เป็นส่วนผสมทำให้แกงมีรสชาดดี อร่อย และมีสรรพคุณทางยา สาารถช่วยลดอาการเจ็บป่วย เช่น โรคหวัด และลดความร้อนในร่างกาย เป็นต้น
10
4
7. ประชุมคณะทำงานร่วมกับสจรส.มอ.
วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เวลา 9.00 น. หัวหน้าโครงการเข้าประชุม เรื่องการจัดทำเอกสารและรายงานด้านบัญชี
และการเงิน ที่ สจรส.มอ.
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผู้รับผิดชอบโครงการได้รายงานการเงินให้เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. ถึงการดำเนินงานในการลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล
2
2
8. ประชุมคณะทำงาน
วันที่ 19 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1.เวลา 9.30 น. นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล และ นางพนัดดา เทพญา ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษาตั้งขึ้น ครั้งที่ 1
อาคารอาศรมศิลปกรรม สถาบันทักษิณคดีศึกษา เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการที่ทำร่วมกับ สจรส.มอ.
2.นายธีระ จันทิปะ คณะทำงาน นำเสนอรายละเอียดการประกวดอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระ ดังนี้
1.คุณสมบัติของผู้สมัคร
1.1 ทีมที่สมัครได้ผ่านการพิจารณาจากระดับอำเภอมาแล้ว
1.2 เอกสารการสมัคร ประกอบด้วย สำเนาบัตรประชาชน คนละ 1 ชุด
1.3 จำนวนผู้สมัคร สมัครเป็นทีมๆ ละ 4 คน แบ่งเป็นผู้ปรุงอาหาร 2 คน สามารถทากิจกรรมในการแข่งขันปรุงอาหารได้ทุกหน้าที่ ,ผู้ช่วย 2 คน ห้ามปรุงอาหาร ให้ทำเฉพาะส่วนบริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ปรุงอาหาร การจัดตกแต่ง ดูแลสถานที่ในพื้นที่ปรุงอาหารของทีม
2.กฎ กติกา การประกวด
2.1 ทีมสมัครจะต้องเตรียมสูตรอาหารที่จะปรุง จำนวน 1 ชุด ให้คณะทำงานในวันที่ลงทะเบียนเข้าประกวด
2.2 ให้ลงทะเบียน และรายงานตัวก่อนเริ่มประกวด 30 นาที
2.3 ผู้เข้าประกวดจะต้องเตรียมวัตถุดิบ เครื่องปรุง เครื่องมือปรุงอาหาร ภาชนะสาหรับปรุงและตกแต่งอาหารมาเอง
2.4 การปรุงอาหารต้องเสร็จภายในเวลา 3 ชั่วโมง
2.5 อาหารที่ส่งประกวดให้บรรจุลงในภาชนะ จัดเป็นสำรับรวมกัน และเสิร์ฟพร้อมกัน
2.6 กรณีปรุงไม่เสร็จทันตามเวลาที่
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เกิดแผนงานและรูปแบบในการจัดประเภทประกวดอาหาร และการจัดหาทีมเข้าร่วมแข่งขัน ตลอดจนกติกาของการแข่งขัน
10
10
9. ประชุมคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย4อำเภอ เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ
วันที่ 7 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
นายไพฑูรย์ ศิริรักษ์ แห่งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก กล่าวต้อนรับ และนายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล หัวหน้าโครงการ ชี้แจงรายละเอียดโครงการ
การพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน โดยจะจัดการท่องเที่ยวผ่าน Node ทั้ง 4 อำเภอ
1.ครัวใบโหนด จะเป็น Node แรก ที่อำเภอสิงหนคร ที่เป็นเหมือนประตูเข้าพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ หากเข้าพื้นที่ทางทิศใต้ของคาบสมุทรสทิงพระ ควรปรับปรุงสถานที่ และการจัดนิทรรศการต่างๆ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก ของนายไพฑูรย์ ศิริรักษ์ จะเป็น Node ที่ 2 ที่อำเภอสทิงพระ เป็นที่ที่มีผู้เข้ามาเรียนรู้สม่ำเสมอ มีความเห็นว่า นอกจากการพัฒนาต่อยอดตามโครงการแล้ว ควรมีการสืบสานวัฒนธรรมอาหารด้วย เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีปัญหาการสืบสานด้านวัฒนธรรมอาหาร
2.ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร เสนอแหล่งท่องเที่ยว ดังนี้
-ทุ่งปอเทือนรำแดง ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีพื้นที่นากว่า 300 ไร่ ซึ่งในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกๆ ปี จะมีการจัด “เทศกาลดอกปอเทืองบานที่บ้านรำแดง” ก่อนที่ดอกปอเทืองจะแปรสภาพเป็นปุ๋ยสดบำรุงดินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
-ตลาดพรีเมี่ยมรำแดง หมู่ที่ 7 บ้านป่าขวาง ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (เปิดทุกวันศุกร์ - เสาร์ เวลา 12.00 – 17.00 น. และ 08.00 – 17.00 น.) เป็นตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรวัฒนธรรม ที่ตั้งอยู่กลางทุ่งนาข้าว พร้อมวิวต้นตาลโตนด และเป็นตัวอย่างของชุมชนนำร่องในการพัฒนาให้เป็นชุมชนวิถีเกษตรกรรมไทยตามนโยบายไทยนิยมยั่งยืน พร้อมต่อยอดสินค้าเกษตรเกรดพรีเมี่ยมนำมาจำหน่ายในตลาดพรีเมี่ยมรำแดง
-OTOP นวัตวิถีบ้านรำแดง “โหนด–นา–ไผ่” อัตลักษณ์ของบ้านรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งทาง อบต.รำแดง มีการจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวีถีเกษตรชุมชน โดยมีการเน้นการทำกิจกรรมแบบฐานการเรียนรู้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส และเรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น
(1) ฐานการเรียนรู้ตาลโตนด
(2) ฐานการเรียนรู้บ้านต้นแบบ
(3) ฐานการเรียนรู้บ้านทักษิณาทาน
(4) ฐานการเรียนรู้วัดป่าขวาง
(5) ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
(6) ฐานการเรียนรู้ครัวรำแดง
ด้านอาหารพื้นบ้าน
(1) ยำหัวโหนด
(2) ไก่บ้านคั่วโหนด
(3) แกงเลียง (ผักพื้นบ้าน)
(4) ลูกตาลกะทิสด
(5) ปลากะตักทอด
(6) ชาปอเทือง
ด้านผลิตภัณฑ์ OTOP
(1) ไข่เค็ม
(2) กล้วยฉาบ
(3) ข้าวกล้อง (ข้าวสังข์หยด)
(4) พายลูกตาล
(5) น้ำตาลผง (ขนมขี้มอด)
(6) น้ำพริกสมุนไพร
(7) น้ำส้มสายชูตาลโหนด
(8) เครื่องจักสานจากใบตาล
3.อำเภอระโนด เสนอแหล่งท่องเที่ยว เน้นการท่องเที่ยววิถี “โหนด-นา-เล”ดังนี้
(1) วิถีโหนด ตำบล ระวะ มีการแปรรูปตาลโหนดให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
(2) วิถีนา ตำบล ตะเครียะ กำลังจัดสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีเกษตรกลางทุ่งนา
(3) วิถีเล ตำบล ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย มีการจัดแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชาวประมงในการออกเรือหาปลา
ด้านสถานที่ท่องเที่ยว
-ตลาดน้ำคลองแดน ตำบลแดนสงวน (เปิดทุกวันเสาร์ เวลา 15.30 – 21.00 น.) เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาชุมชน และสร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงชาวบ้าน อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัส เรียนรู้ รวมถึงเข้าใจธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนในคลองแดน
“สามคลอง สองเมือง” สโลแกนของตลาดน้ำคลองแดน ซึ่งมีที่มาจากลำคลองธรรมชาติ 3 ลำคลองที่มาบรรจบกัน คือ ลำคลองสายแรกไหลสู่ อ.หัวไทร และ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ลงไปทางใต้ ลำคลองสายที่สองเป็นลำคลองไหลสู่ อ.ระโนด จ.สงขลา และไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ส่วนลำคลองสายที่สามจากทางทิศตะวันตกไหลสู่ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
-ตลาดน้ำปากแตระ ตำบลปากแตระ (เปิดทุกวันเสาร์ เวลา 16.30 – 20.00 น.) เป็นตลาดน้ำที่ทางเทศบาลมีการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านได้ช่วยกันฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในตำบล และสร้างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน โดยจะมีการนำผลิตภัณฑ์การเกษตร พืชผลทางการเกษตรมาค้าขาย และมีกิจกรรมบันเทิงจากน้องๆ นักเรียนในพื้นที่มาร่วมกันแสดงดนตรี และสีสันให้กับตลาดน้ำปากแตระ
-ตลาดริมน้ำคลองระโนด อำเภอระโนด (เปิดทุกวันศุกร์ เวลา 16.00 – 20.30 น.) เสน่ห์สงขลาอีกแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม “ตลาดริมน้ำคลองระโนด” หรือ “ตลาดน้ำคลองระโนด” เป็นแหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ของชาวระโนด ที่มีการนำสินค้าต่างๆมากมายมาวางจัดจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวสายเฮลล์ตี้ ได้ลองชม ชิม ช็อป สินค้าพื้นเมือง ไม่ว่าจะเป็น ชมการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ ชิมอาหารรสเด็ด หรือช็อปปิ้งสินค้าแฮนเมค เป็นต้น
-ด้านแหล่งอาหารพื้นเมือง
(1) ตำบลบ่อตรุ ไข่ครอบ ไข่เค็มต้ม น้ำพริกเผา น้ำพริกปู กะหรี่ปั๊บ ปลาเส้น ปลาแห้ง
(2) ตำบลพังยาง ขนมลา (ลากรอบ) ขนมถาด ขนมเปียกปูน
(3) ตำบลระวะ แปรรูปลูกตาล ชนิด อบแห้ง ลอยแก้ว เชื่อม และวุ้นลูกตาลกรอบ
(4) ตำบลปากแตระ ไข่เป็ด ไข่เค็ม มันกุ้ง
(5) อำเภอระโนด ข้าวยำใบบัว ข้าวห่อใบบัว
(6) ตำบลบ้านขาว ปลาดุกร้า
(7) ตำบลท่าบอน น้ำพริกแม่ปลื้ม น้ำพริกสำเร็จรูป
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.กลุ่มเป้าหมายใน3อำเภอที่เข้าร่วมได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลของแต่ละพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การจัดการท่องเที่ยว
2.เกิดข้อมูลในแต่ละพื้นที่ ในด้านภูมิปัญญา เรื่องเล่าตำนาน วัฒนธรรมประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว
40
33
10. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอำเภอระโนด
วันที่ 7 กันยายน 2561 เวลา 14:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เวลา 14.00 น. หัวหน้าโครงการ นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคลและนางสุรีย์ ตันมงคล ลงสารวจข้อมูลที่คลองแดนอำเภอระโนด ไปพบพี่โย (นายอภิชาติ เหมือนทอง) และภรรยา (นางอุบล เหมือนทอง) ที่เรินพี่โย คลอง
แดน เพื่อพูดคุยข้อมูล
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ได้เรียนรู้ข้อมูลและเห็นว่าบ้านพี่โยมีความเหมาะสมที่จะเป็น Node ของอำเภอระโนด เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมอาหาร ตั้งแต่วัตถุดิบ เตรียม ปรุง และกิน และหากมาในวันเสาร์ จะมี
ตลาดน้ำในช่วงเย็น-ค่ำด้วย โดยสามารถพักแรมแบบโฮมสเตย์ได้
2
2
11. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอำเภอกระแสสินธุิ์
วันที่ 8 กันยายน 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
-หัวหน้าโครงการ นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล นางสุรีย์ ตันมงคล นางพนัดดา เทพญา นายอุดม ซุ้นสุวรรณ และ นางสาวอันดามัน เทพญา ลงพื้นที่เข้าร่วมดูกิจกรรมของกลุ่มบ้านเขาใน หมู่ที่ 1 ตำบลเชิงแส อำเภอ
กระแสสินธุ์ ภายใต้โครงการ OTOP นวัตวิถี จัดที่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านรัดปูน ตาบลเชิงแสซึ่งมีแนวคิดบางส่วนสอดคล้องกับโครงการ มีการนำเมนูอาหารที่คัดเลือกแล้วมาทำและทดลองชิมกัน
ภายใต้การนำของผู้ใหญ่บ้านเขาใน (นางสาวนทีธรรม หรือตาล ทองเนื้อแข็ง โทรศัพท์ 089-8695013) และพัฒนาการอำเภอกระแสสินธ์ (นางนงลักษณ์ ย้อยดา โทรศัพท์ 081-8227158)
-รายการอาหารที่ชุมชนบ้านเขาใน จัดทำขึ้นทดลอง ประกอบด้วย แกงคั่วหัวโหนด แกงส้มปลาช่อนเขาคัน ข้าวโพดบวด ข้าวยา ต้มยากุ้ง น้าพริก ปลาช่อนแห้งทอด ปลาส้มทอด ปลาส้มต้มกะทิ และ
ผักเหนาะ ซึ่งมีการจัดเป็นสำรับสวยงาม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เห็นความตั้งใจของคณะทำงานในพื้นที่ที่มีการนำเสนอรายการอาหารที่น่าสนใจ และสามารถสื่อถึงวิถีของคนแถบคาบสมุทรสทิงพระ
4
5
12. ประชุมคณะทำงานร่วมกับสจรส.มอ.
วันที่ 5 ตุลาคม 2561 เวลา 10:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เวลา 10.00 น. หัวหน้าโครงการ นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล เข้าประชุมรายงานความก้าวหน้า ที่ สจรส.มอ. ความว่าโครงการนี้มีความสอดคล้องกับนโยบาย และแนวคิดของ อ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งสถาบันทักษิณคดีศึกษา คือใช้ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมความก้าวหน้าที่ค่อนข้างจะแน่นอนคือการยินดีร่วมงานของ node ทั้ง 4 อำเภอ ที่มีทุนเดิมทำงานด้านวัฒนธรรมอาหารอยู่แล้ว จึงจะปรับปรุงแผนงานใหม่ ภายในกลางเดือนตุลาคมนี้ โดยจะใช้บุคลากรภายนอกเข้ามาช่วย ได้แก่ นายเกริกชัย ส่องเจริญกุล และกลุ่มอดีตเยาวชนต้นกล้า เครือข่ายรักษ์คลองอู่ตะเภา จะให้เป็นผู้ลงไปขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ประสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ โดยเชื่อมกับ node ที่มีในพื้นที่ทั้ง 4 อำเภอ ดังนี้
(1) อำเภอสิงหนคร ร้านครัวใบโหนด
(2) อำเภอสทิงพระ ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก
(3) อำเภอกระแสสินธุ์ บ้านเขาใน ต.เชิงแส อ.กระแสสินธุ์ และ ผู้ใหญ่บ้านเขาใน
(4) อำเภอระโนด เรินพี่โย คลองแดน
โดยจะจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ดังนี้
1) เดือนตุลาคม สำรวจเส้นทางท่องเที่ยว ทดลองเที่ยว เพื่อทำโปรแกรม ทั้ง 4 อำเภอ โดย
(1) ประชุม node ทั้ง 4 อาเภอ ที่ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก เพื่อจัดทำแผนการท่องเที่ยวเพื่อการสืบสานและต่อยอดวัฒนธรรมอาหาร
(2) จัดทำเกณฑ์ประเมินผล ทั้งผลลัพธ์ และผลกระทบ จากกิจกรรมที่จะดำเนินการ
(3) จัดทำแผนการท่องเที่ยว ประกอบด้วย กิจกรรมที่จะทา เส้นทาง โปรแกรม แผนที่ ปฏิทินเนื้อหาการท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหารแต่ละอำเภอ
(4) วางแผนการใช้สื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม
(5) วางแผนการทางานเอกสารคู่ขนานกับการทำกิจกรรม
(6) จัดทำแผนงบประมาณเบื้องต้น
2) เดือนพฤศจิกำยน จัดนาเที่ยวโดยนักท่องเที่ยวสมมุติ เพื่อรับฟัง Feed back (VOC : Voiceof Customer) โดย
(1) ทดลองท่องเที่ยวตามโปรแกรม ครั้งละอำเภอ รวม 4 ครั้ง 4 อำเภอ
(2) ประชุมเพื่อประเมินและปรับปรุง
3) เดือนธันวำคม จัดให้เกิดการท่องเที่ยวจริง โดย
(1) รับสมัครนักท่องเที่ยว เพื่อเที่ยวจริง ครั้งละอำเภอ รวม 4 ครั้ง 4 อำเภอ
(2) ประชุมเพื่อประเมินและปรับปรุง
4) เดือนมกรำคม จัดการท่องเที่ยว ประเมินผล และปรับปรุงโปรแกรม (PDCA : Plan – Do –Check - Action) โดย
(1) รับสมัครนักท่องเที่ยว เพื่อเที่ยวจริง ครั้งละอำเภอ รวม 4 ครั้ง 4 อำเภอ
(2) ประชุมเพื่อประเมินและปรับปรุง
(3) สรุปผลการดาเนินงาน และปิดโครงการ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.การดำเนินงานยังคงล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้
2.มีการประสานกับภาคี เครือข่ายอื่นในการทำงานร่วมกัน เพิ่มขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานมีความสำเร็จ
2
2
13. ประชุมวางแผนจัดการท่องเที่ยวคาบสมุทรสทิงพระ
วันที่ 15 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
วางแผนจัดการท่องเที่ยวร่วมกับนายเกริกชัย ส่องเจริญกุล ณ ห้าง Big C หาดใหญ่ ซึ่งนายเกริกชัยเสนอรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการลงพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ และโปรแกรมที่จะลงเที่ยวชม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เกิดการประสานงานในการจัดการท่องเที่ยว
4
2
14. ประชุมโปรแกรมท่องเที่ยวร่วมกับครัวใบโหนด
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เวลา 13.00 น. หัวหน้าโครงการ นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล เข้าพบกับนายสามารถ สะกวี และคณะ กลุ่มครัวใบโหนด เพื่อประสานงานในการดำเนินงานที่ร้านครัวใบโหนด และกำหนดวันท่องเที่ยวรอบทดลอง จำนวน 4
พื้นที่ คาบสมุทรสทิงพระ เพื่อนาไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนางาน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
มีแผนการจัดท่องเที่ยวทดลองร่วมกับกลุ่มเครือข่ายครัวใบโหนด
10
6
15. จัดโปรแกรมท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหารอำเภอสิงหนคร ครั้งที่1
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
โปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ อำเภอสิงหนคร
วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2561
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา
09.00 – 09.30 น. ออกเดินทางไปร้านครัวใบโหนด อำเภอสิงหนคร
09.30 – 09.35 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์
09.35 – 11.00 น. ทำขนมพื้นบ้าน ขนมเจาะหู ขนมโค (มีวิทยากรคุย เล่า ขั้นตอนทำ)
11.00 – 12.30 น. ลงพื้นที่ทำอาหาร ณ หมู่บ้านสว่างอารมณ์ ม.2 ต.ชะแล้ -เมนูอาหาร แกงคั่วหัวโหนดกุ้ง ผัดผักบุ้งนา ,-เมนูขนมหวาน ลูกโหนดกะทิสด
12.30 – 13.30 น. รับประทานอาหารเที่ยง พร้อมด้วยเมนูอาหารขันโต๊ะ (จากครัวใบโหนด) แกงส้มปลาหัวโหม่งกับลูกเขาคัน ,ต้มส้มปลาท่องเที่ยว ปลาทอดขมิ้น
น้ำพริก ผักสด (วิทยากรคุย เล่า เมนูอาหาร) ,น้ำสมุนไพร
13.30 – 14.30 น. ดูวิถีการทำนา การทำน้ำตาลโตนด
14.30 – 15.30 น. ดูวิถีการผัดน้ำผึ้ง
15.30 – 16.30 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการสืบสานและต่อยอดวัฒนธรรมอาหารสิงหนคร
-หัวหน้าโครงการกล่าวนาความเป็นมาของโครงการ คุณนพ หรือ ดลนภา สุวรรณรัตน์ แห่งครัวใบโหนด เริ่มด้วยการเล่าเรื่องของครัวใบโหนด การขับเคลื่อนงานความมั่นคงทางอาหาร เกษตรอินทรีย์ มี7 เครือข่าย“ครัวใบโหนด” เกิดจาการรวมกลุ่มของคนในชุมชนรวมตัวกันสร้างความเข้มแข็งให้สามารถช่วยเหลือตัวเอง พึ่งพาตนเองได้ในทุกด้าน โดยเฉพาะการเป็นแหล่งผลิตอาหารให้ชุมชนเพื่อความพร้อมรับสถานการณ์ในทุกด้าน โดยน้อมนำวิถีแห่งความพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานของกลุ่มจนประสบผลสาเร็จ อีกทั้งความเข้มแข็งด้านการรักษาสืบสานคุณค่าเดิมๆ ของท้องถิ่นที่บรรพชนสร้างเอาไว้ มาปรับใช้เพื่อการดำรงชีวิตทั้งการกินการอยู่ นาสู่วิถีสุขภาพกายใจได้อย่างเยี่ยมยอด จึงเปิด “ครัวใบโหนด” ขึ้นภายใต้แนวคิด “ครัวชุมชนเพื่อคนทั้งมวล” ครัวใบโหนดจึงเป็นศูนย์กลางการฟื้นฟูสูตรอาหารท้องถิ่น โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างอาหารพื้นบ้านกับถิ่นกำเนิด
จากนั้น เป็นการแนะนาตัว ทีมงานครัวใบโหนด เช่น ป้าแดง ป้าสาว ป้าพูน ป้าดวน ป้าดา พี่อ้น อร ลุงต่วน ฯ นศ.บี และแพง จากมหิดล และแนะนาตัวนักท่องเที่ยว
กิจกรรมท่องเที่ยวฐานที่ 1 เริ่มจากการทาขนม โดยป้าสาว เป็นผู้นาทาขนมเจาะหู ส่วนป้านา นา
ทำขนมโค ,ขนมเจาะหู , กิจกรรมก่อนเที่ยงที่ร่วมกันเตรียมอาหาร เริ่มตั้งแต่ไปปีนต้นโหนด เก็บลูกโหนด เก็บผักบุ้ง มาเตรียม ขูดมะพร้าว ทำเครื่องแกง เพื่อแกงคั่วหัวโหนดกับกุ้ง,แกงส้มกุ้งกับลูกเขาคัน,ต้มส้มปลาท่องเที่ยว และทำขนมหวานลูกโหนดน้ำเทะสด
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องอาหารและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ได้สัมผัสภูมิปัญญาการทำนาปลอดสารพิษ การขึ้นตาลโตนด การผัดน้ำผึ้งโหนด และการทำ
น้ำตาลโหนดผง
30
20
16. จัดโปรแกรมท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหารอำเภอกระแสสินธิ์ ครั้งที่2
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
โปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ อำเภอกระแสสินธิ์
08.15 – 08.45 น. ลงทะเบียน ชี้แจงวัตถุประสงค์ ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา
08.45 – 09.30 น. ออกเดินทางไปบ้านเขาใน ตาบลเชิงแส อาเภอกระแสสินธุ์
09.30 – 10.15 น. ชิมและเรียนรู้การทาขนมพื้นบ้าน
10.15 – 12.00 น. ลงพื้นที่ รวบรวมวัตถุดิบ และปรุงอาหารกลางวันร่วมกัน
12.00 – 13.00 น. อาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น. เรียนรู้การจัดสารับอาหารเด่นของกระแสสินธุ์
14.30 – 15.30 น. ชมวิถีชีวิตและแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน
15.30 – 16.30 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการสืบสานและต่อยอดวัฒนธรรมอาหารกระแสสินธุ์
16.30 – 17.15 น. เดินทางกลับสถาบันทักษิณคดีศึกษา
เมนูอาหารและเส้นทางท่องเที่ยว
ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีชุมชนเขาใน - รัดปูน ต.เชิงแส อ.กระแสสินธุ์
(1) ข้าวไรซ์เบอรี่
(2) แกงส้มปลาช่อนลูกเขาคัน
(3) ต้มยาแม่กุ้งน้าใส
(4) ปลาตรับ/ปลาช่อนแดดเดียวทอด
(5) ผัดผัก
(6) ขนมลูกตาลกะทิสด
(7) เครื่องดื่ม น้าสมุนไพร/น้ำมะพร้าว
(8) มีการสาธิตการทำขนมดูให้ชิมและขาย
(9) เส้นทางท่องเที่ยว 2 ที่ คือ
วัดรัดปูนชม 3 ทะเล ดูต้นตาลและบรรยากาศรอบๆ
นมัสการขอพรหลวงพ่อเดิมวัดเอก ชมโบสถ์ทราย
-นางสาวนทีธรรม ทองเนื้อแข็ง ผู้ใหญ่บ้านเขาใน บริการน้ำมะพร้าวสดเฉาะให้ดูต่อหน้า กล่าวต้อนรับ ออกตัวว่ายังไม่มีประสบการณ์ในการจัดการท่องเที่ยว คณะนี้เป็นคณะแรกที่มาเที่ยวภายหลังการเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ภายใต้การสนับสนุนของสานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา ,กิจกรรมแรก ไปกวนขนมดู ขูดมะพร้าว ไปจับปลา และเตรียมอาหารด้วยกันการเรียนรู้ส่วนใหญ่ดำเนินการที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านเขาใน ยังไม่มีฐานการเรียนรู้กระจายตัวในชุมชนเหมือบครัวใบโหนด สิงหนคร จึงเป็นการพูดคุยระหว่างการเตียมอาหารกลางวันมากกว่า ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ทำอาหารและขนมที่อุดมไปด้วยพลังงาน เช่น ขนมดู ซึ่งเป็นประเภทแป้งและน้ำตาล ให้พลังงานอย่างรวดเร็ว
เหมาะกับชุมชนเกษตรกรรมที่ต้องออกไปทำงาน นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ยังมีคุณโจ้ นายปิยะศักดิ์ สุขแก้ว เจ้าของเว็ปไซต์ กิมหยง ดอทคอม สะท้อนแนวคิดในการนาเสนอความน่าสนใจด้านวัฒนธรรม ซึ่งยอมรับว่า ผู้คนส่วนมากยังไม่ค่อยทราบถึงความสำคัญ และจะพยายามเปิดพื้นที่ด้านนี้เพิ่มขึ้น มีนายกิตธนา สุบรรพวงศ์ กรรมการของสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา ซึ่งมีประสบการณ์ชีวิตในคาบสมุทรสทิงพระมาก่อน ให้ข้อมูล ความรู้ในเรื่องวัตถุดิบและวิธีการปรุง แลกเปลี่ยนกันระหว่างการทำอาหาร มี อ.โต นายเทพรัตน์ จันทพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ผู้มีประสบการณ์เรื่องข้าวพื้นบ้าน ได้ให้ข้อคิดเห็นในการพัฒนาพันธุ์ข้าวของชุมชน มี อ.ธีระ จันทิปะนักวิชาการจากสถาบันทักษิณคดีศึกษา ให้ข้อมูลที่มาของขนมดู ว่าเป็นขนมโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่ทำขึ้นเพื่อบูชาพระพิฆเนศ ในสมัยที่ฮินดู และพราหมณ์ ครอบคลุมทั่วพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ
-นักท่องเที่ยวได้ฝึกทำเมนูอาหารร่วมกัน ประกอบด้วย ขนมดู ,ขนมลูกโหนดเท่ะสด,แกงคั่วไก่สาวเคล้าหัวโหนด (แกงคั่วไก่หัวโหนด),แกงส้มปลำช่อนผักลิ้น,แกงส้มปลำช่อนเขำคัน,
ปลาส้มทรงเครื่อง (ปลาชะโดส้ม),ภูมิปัญญาท้องถิ่นการถนอมอาหาร : การทำปลาส้ม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้อาหารท้องถิ่นและได้ร่มปฎิบัติการประกอบอาหารได้ด้วยตนเอง
15
20
17. จัดโปรแกรมท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหาร อำเภอสทิงพระ ครั้งที่3
วันที่ 1 ธันวาคม 2561 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
โปรแกรมท่องเที่ยวต่อยอดวัฒนธรรมอาหารเรียนรู้ วิถีโหนด-นา-เล เพื่อการท่องเที่ยวเชิงภูมินิเวศน์
08.45 น. นักศึกษาเดินทางมาถึงศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก ลงทะเบียนเพื่อการเรียนรู้
09.00 – 10.00 น. เรียนรู้ตำนานศูนย์ฯ/ตำนานชุมชนชาวบก และวิถีโหนด-นา-เล อันเป็นทุนทางธรรมชาติของชุมชน
10.00 – 10.20 น. พักรับประทานอาหารว่าง (น้าตาลสด-ขนมลูกตาล)
10.20 – 12.00 น. เรียนรู้การทำขนมคนที และการทำไข่ครอบ
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน (ข้าวมันแกงไก่+ผลไม้)
13.00 – 14.00 น. ลงพื้นที่เรียนรู้การเคี่ยวน้ำผึ้งโหนด กินตังเมตาลโตนดจากขอบกระทะ กินน้ำตาลสดจากต้น กินลูกตาลสดแบบบ้านบ้านโดยการแคว็กยุม (ใต้ต้นโหนดในนา)
14.30 – 15.00 น. สรุปสิ่งที่ได้รับ/ความประทับใจจากกิจกรรมการเรียนรู้
15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง ขนมลูกโหนดน้ำเท่ะ
เดินทางกลับด้วยความประทับใจ และถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ
-จัดการท่องเที่ยวพื้นที่ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก สทิงพระ เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวอาสาสมัครเพิ่มขึ้น จึงใช้รถตู้ 2 คัน นัดรถตู้รับสมาชิกบางราย เริ่มตั้งแต่
เวลา 07.15 น. ไปพบกันที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา
-นักท่องเที่ยวร่วมทำอาหารประจำถิ่น ประกอบด้วย ขนมคนที,ข้ำวมันแกงไก่,น้ำเผ็ด หรือพริกน้ำส้ม,น้ำชุบมะขาม หรือ น้ำชุบส้มขาม,กุ้งต้มน้ำผึ้ง หรือ กุ้งต้มหวาน,ปลามะลิ หรือ ปลาไส้ตัน ชาวสงขลาเรียกว่า “ปลาลูกเมละ",ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำไข่ครอบ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องอาหารและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ
2.นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้การทำลูกปัดมโนราห์
30
30
18. จัดโปรแกรมท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหาร อำเภอระโนด ครั้งที่ 4
วันที่ 2 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
โปรแกรมท่องเที่ยวต่อยอดวัฒนธรรมอาหาร พื้นที่อำเภอระโนด
07.30 - 08.00 น. รับประทานอาหารเช้า Homestay
08.00 – 09.30 น. เยี่ยมชมชุมชน
09.30 – 10.30 น. ฐานเรียนรู้ของเล่น หรือ ร้อยลูกปัดโนรา
10.30 – 11.30 น. ฐานเรียนรู้ขนมไทย
12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง (ข้าวยำ)
13.30 น. เรียนรู้สำรับอาหาร
สำรับที่ 1
(1) แกงส้ม (ปลา) เถาคัน
(2) ปลาทอด
(3) ผัดสายบัว + กุ้งสด (หรือ มันแกว + กุ้งสด)
(4) แป้งแดงทรงเครื่อง
สำรับที่ 2
(1) คั่วกลิ้ง (หมู หรือ ไก่)
(2) ยากุ้งหวานสมุนไพร
(3) หมูต้มสับปะรด
นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้การทำอาหารคาว หวาน และการร้อยลูกปัดมโนราห์
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้อาหารคาว หวาน ของพื้นที่ชุมชน และได้ฝึกการประกอบอาหาร
15
20
19. ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
วันที่ 7 ธันวาคม 2561 เวลา 13:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เวลา 13.00 น. ประชุมทีมงาน สรุปผลการดำเนินงานที่หอเอกสารท้องถิ่น สถาบันทักษิณคดีศึกษา
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
สรุปผลการดำเนินงาน
10
5
20. เรียบเรียงข้อมูล เมนูอาหารคาบสมุทรสทิงพระ และจัดทำรายงาน
วันที่ 25 มกราคม 2562 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เรียบเรียงข้อมูล จัดทำร่างเอกสาร ตำรับอาหารพื้นบ้านของคาบสมุทรสทิงพระ และจัดทำรายงานในระบบเว้ปไซต์
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เกิดข้อมูลร่างเอกสาร ตำรับอาหารพื้นบ้านของคาบสมุทรสทิงพระ และรายงานในระบบเว้ปไซต์ รายงานการเงิน
2
3
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ เป้าหมาย ผลผลิต อธิบาย
1
1) เพื่อพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ
ตัวชี้วัด : ข้อมูลด้านอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระได้รับการเผยแพร่และยกระดับขึ้นเป็นทุนทางวัฒนธรรมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระ
2
2) เพื่อหนุนเสริมแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนคาบสมุทรสทิงพระ
ตัวชี้วัด : วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระถูกยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญในการท่องเที่ยวโดยชุมชนกระทั่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจชุมชน
3
3) เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและถิ่นกำเนิดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระผ่านกระบวนการพัฒนาอาหารแบบบูรณาการ
ตัวชี้วัด : ผู้บริโภคที่ชื่นชอบวัฒนธรรมอาหารเดินทางไปท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมอาหารในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ
4
4) เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ
ตัวชี้วัด : เกิดการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระที่มีการจัดการโดยชุมชนเจ้าของวัฒนธรรม
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ จังหวัด
รหัสโครงการ
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
................................
( นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
“ โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ ”
หัวหน้าโครงการ
นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ
ที่อยู่ จังหวัด
รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 61-ข-012
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 12 มกราคม 2561 ถึง 31 มกราคม 2562
กิตติกรรมประกาศ
"โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ
บทคัดย่อ
โครงการ " โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ " ดำเนินการในพื้นที่ รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 12 มกราคม 2561 - 31 มกราคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 200,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ | |
บทคัดย่อ | |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล | |
วัตถุประสงค์โครงการ | |
กิจกรรม/การดำเนินงาน | |
กลุ่มเป้าหมาย | |
ผลลัพธ์ที่ได้ | |
การประเมินผล | |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
เอกสารประกอบอื่นๆ |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
จากการทบทวนข้อมูล รายงานการศึกษา วิจัย ด้านวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ พบว่า มีการศึกษา วิจัย และนำไปสู่การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารมาอย่างต่อเนื่อง เช่น “โครงการอนุรักษ์-ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น คาบสมุทรสทิงพระ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” “ครัวใบโหนด” “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก” และฐานการเรียนรู้การทำขนมพื้นบ้าน หรือน้ำตาลแว่น เป็นต้น เพื่อกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกคนในท้องถิ่นให้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ อันเป็นฐานทรัพยากรอาหารที่จะช่วยให้มีอาชีพที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้ และยังคงไว้ซึ่งองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาของชุมชนมิให้สูญหายไป ตามวิถี “โหนด-นา-เล” อย่างไรก็ดี รูปธรรมของการพัฒนายังจับต้องได้ไม่ง่ายนัก จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาต่อยอดการศึกษาที่มีอยู่เดิมแบบบูรณาการระหว่างอาหาร วัตถุดิบ และถิ่นกำเนิดวัตถุดิบ/วัฒนธรรม เข้ากับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มักจะท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ พร้อมกับการเสาะแสวงหาอาหารรสชาติดี และบรรยากาศดี
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- 1) เพื่อพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ
- 2) เพื่อหนุนเสริมแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนคาบสมุทรสทิงพระ
- 3) เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและถิ่นกำเนิดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระผ่านกระบวนการพัฒนาอาหารแบบบูรณาการ
- 4) เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้ |
---|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. ประชุมคณะทำงานชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ |
||
วันที่ 25 มกราคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำนักวิจัยและเครือข่ายมูลนิธิทักษิณคดีศึกษา นำโดยอาจารย์สิทธิศักดิ์ ตันมงคล และคณะ ประชุมร่วมกันกับตัวแทน สจรส.มอ. นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี โดยมีเนื้อหา เกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ การจัดทำรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ผ่านระบบออนไลน์ website ระบบติดตามโครงการ ศวสต ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.คณะทำงานมีความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการ
|
5 | 5 |
2. ประชุมคณะทำงาน |
||
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13:00 น.กิจกรรมที่ทำเวลา 17.00 น. ประชุมคณะทางานที่ร้านครัวทองแดง ห้าแยกน้ำกระจาย ประกอบด้วย นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล นายเทพรัตน์ จันทพันธ์ นายธีระ จันธิปะ และนางสุรีย์ ตันมงคล ความว่า ประเด็นที่ 1.การมองความเชื่อมโยงจากวัตถุดิบ และภูมิปัญญา จากฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พืชพรรณ สัตว์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงชาติพันธุ์ ความเชื่อ ศาสนา อาจจะดูเรื่องการ ตั้งถิ่นฐานและ Time line ดูเรื่องอาหารพื้นบ้าน และพัฒนาการ ทำข้อมูลอาหาร (สูตร คุณค่า กรรมวิธี ปรุง วัตถุดิบ) การพัฒนาอาหาร พัฒนาเศรษฐกิจ/การท่องเที่ยว ทาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว และดูเรื่อง การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ได้จากเอกสาร 2 เล่ม คือ (1) หนังสือ หรอยจังฮู้ (อร่อยที่สุดในโลก) โดยลุงพร สอนอาชีพ ร้านซีเอ็ด (2) หนังสือ ผักแถวพื้น : แกงแถวบ้าน ผักพื้นบ้านและอาหารพื้นถิ่นจากคาบสมุทรสทิงพระ (3) โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมท้องถิ่น คาบสมุทรสทิงพระ โดย
มูลนิธิชีววิถี (4) ขอข้อมูลได้จากร้านครัวใบโหนด ประเด็นที่2 กำหนดวันประชุมสัมมนาเปิดโครงการในวันที่ 10 มีนาคม 2561 โดยจะเชิญหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องดังนี้ 1) สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา 2) สานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา 3) ประธานสภาวัฒนธรรมทั้ง 4 อำเภอ (1) อำเภอสิงหนคร อ.ภิรมย์ ศรีเมือง 086-2934527 อดีต ผอ. รร. สงขลาวิทยาคม ที่ปรึกษานายก อบต. รำแดง (2) อำเภอสทิงพระ นางเรณู เที่ยงแก้ว 087-2997433 ผญบ. ม. 4 ต.บ่อดาน (3) อำเภอกระแสสินธุ์ นายภรณ์ ดวงจักร 089-9783936 (4) อำเภอระโนด นายถิรคุณ จันทรพงศ์ 061-6959866 สท. ทต. ระโนด ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.คณะทำงานมีความเข้าใจในการทำงานโครงการ 2.เกิดการวางแผนการทำงานร่วมกัน ในการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3.เกิดการประสานงานในการจัดประชุมชี้แจงโครงการ เพื่อให้เกิดการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
10 | 5 |
3. ประชุมคณะทำงาน ร่วมกับ สจรส.มอ |
||
วันที่ 11 พฤษภาคม 2561 เวลา 10:00 น.กิจกรรมที่ทำเวลา 10.00 น. หัวหน้าโครงการนายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล เข้าประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.มอ. ) เพื่อเรียนรู้การบันทึกรายงานใน website ระบบติดตามโครงการ ศวสต. ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหัวหน้าโครงการนายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล ได้เรียนรู้การบันทึกรายงานใน website ระบบติดตามโครงการ ศวสต. เพื่อนำไปสู่การจัดทำรายงานได้อย่างถูกต้อง
|
2 | 0 |
4. ประชุมคณะทำงาน |
||
วันที่ 21 พฤษภาคม 2561 เวลา 15:00 น.กิจกรรมที่ทำคณะทำงาน จำนวน 4คน ประกอบด้วย นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล นางพนัดดา เทพญา นายธีระ จันทิปะ และนางสุรีย์ ตันมงคล ร่วมประชุม ณ ร้านกาแฟ สถาบันทักษิณคดีศึกษา เพื่อปรับแผนการทำงานกันใหม่ เนื่องจากการดำเนินงานล่าช้ากว่าแผน ดังนี้ 1) จัดทำข้อมูลอาหารพื้นบ้านของคาบสมุทรสทิงพระ ประกอบด้วยสูตรและคุณค่าทางโภชนาการ โดยให้หาคณะทำงานมาช่วยทางานเอกสารเพิ่มเติม และให้นางพนัดดา เทพญา นำหนังสือ (1) หนังสือ หรอยจังฮู้ (อร่อยที่สุดในโลก) โดยลุงพร สอนอาชีพ (2) หนังสือ ผักแถวพื้น : แกงแถวบ้าน โดยมูลนิธิชีววิถี ทำสำเนาเพื่อแบ่งกันไปศึกษาของทีมคณะทำงาน 2) ประสานงานข้อมูลกับร้านครัวใบโหนด กำหนดให้จัดทำข้อมูลอาหารพื้นบ้านเสร็จในวันที่ 15 มิ.ย. 2561 3) จัดทำข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวคาบสมุทรสทิงพระ ทำ Mapping เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่วัฒนธรรมอาหารกับพื้นที่การท่องเที่ยวของคาบสมุทรสทิงพระ และหากทาเป็น application บน โทรศัพท์มือถือ 4) จัดประกวดอาหาร/ขนม หรือสำรับ จะจัดรวมทั้ง 4 อำเภอในครั้งเดียว เนื่องจากพิจารณาแล้วพบข้อจำกัดด้านงบประมาณ ไม่สามารถจัดตามแผนเดิมได้ โดยให้ นายธีระ จันทิปะ ประสานงานผ่านพัฒนาการอำเภอ แต่ละอำเภอ ผ่านนายอำเภอ เพื่อร่วมพิจารณา วัน เวลา สถานที่ กติกาทั้งนี้กำหนดแผนล่วงหน้า ดังนี้ -ก่อนวันที่ 15 มิ.ย. 2561 ร่างกติกา คัดเลือกรายการ ส่งหนังสือเชิญถึงทุกอำเภอ -วันที่ 18 - 22 มิ.ย. 2561 ประชุมพัฒนาการอำเภอ 4 อำเภอ และ พัฒนาการจังหวัดสงขลา ที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา -วันที่ 25 - 29 มิ.ย. 2561 สรุปเรื่องการประกวด เตรียมประชาสัมพันธ์ แจ้งหน่วยงานต่างๆ -ไม่เกินวันที่ 15 ก.ค. 2561 จัดประกวด อย่างไรก็ดี วันที่ 22 ก.ค. 2561 ทางวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน โดย อ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ จะจัด ประกวดอาหาร ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (พัทลุง) 5) การจัดการท่องเที่ยว 8 ครั้ง ตามแผนเดิม จะหารือกันในโอกาสต่อไป ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.เกิดแผนในการวางโปรแกรมการท่องเที่ยว 2.คณะทำงานได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระ เพื่อนำไปสู่การจัดโปรแกรมท่องเทียว และการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นคาบสมุทรสทิงพระ
|
10 | 4 |
5. ลงพื้นที่ประสานงานอำเภอสิงหนคร |
||
วันที่ 6 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำลงพื้นที่สัมภาษณ์ตัวแทนชุมชน ปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้เรื่องอาหารพื้นบ้าน ในการจัดเก็บเป็นข้อมูลในการนำไปต่อยอดเกี่ยววัฒนธรรมด้านอาหารของคนคาบสมุทรสทิงพระ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีข้อมูลตำรับอาหารเบื้องต้น เพื่อนำไปเรียบเรียงในลำดับต่อไป
|
5 | 5 |
6. ประชุมคณะทำงาน |
||
วันที่ 26 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำเวลา 14.00 น. คณะทำงาน ประกอบด้วย นายสิทธิศักดิ์ตันมงคล นางพนัดดา เทพญา นายธีระ จันทิปะ และนางสุรีย์ ตันมงคลประชุม ณ ร้าน Coffee Time ตำบลเกาะยอ มีรายละเอียดดังนี้ 1) เมื่อวันที่ 6 - 7 มิถุนายน 2561 คณะทำงาน โดยนางพนัดดา เทพญา และนายธีระ จันทิปะ
ได้ลงไปประสานงานเบื้องต้นในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแส
สินธุ์ และอำเภอระโนด 2) นางพนัดดา เทพญา และนางสาวนงลักษณ์ ก้งเซ่ง ได้ลงพื้นที่สำรวจ รวบรวมรายชื่ออาหาร พื้นบ้านของคาบสมุทรสทิงพระ โดยการสัมภาษณ์ร้านครัวใบโหนด พบว่า มีรายการอาหารที่กลุ่มครัวใบโหนดได้รวบรวมไว้ ดังนี้ (1) ยาลูกโหนด (ลูกโหนดหรือลูกตาลมีสรรพคุณช่วยลดความร้อนในร่างกาย บรรเทาอาการ ไอ ละลายเสมหะ) (2) ยาหัวโหนด (ปรุงรสด้วยน้าส้มโหนด โรยยอดหรือใบกะสัง) (3) ลูกโหนดน้ากะทิ (4) หมึกต้มหวาน (5) ต้มกะทิไก่บ้านใส่มะยม (6) ต้มกะทิยอดเลียบ (ยอดเลียบมีรสเปรี้ยวมัน ช่วยให้เจริญอาหาร และระบายท้อง) (7) ต้มยากุ้งแม่น้า (ครบเครืองสมุนไพร ช่วยย่อยอาหาร แก้หวัด) (8) แกงส้มกุ้งใส่ลูกเขาคัน (ลูกเขาคันมีรสเปรี้ยว ช่วยในการระบาย) (9) แกงส้มตะลิงปลิง (10) แกงคั่วหยวกไก่บ้าน (หยวกกล้วย ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย) (11) แกงคั่วปูดาใส่สับปะรด (12) แกงพุงปลา (13) แกงหอยใส่ใบชะพลู (14) แกงคั่วหัวโหนดไก่บ้าน (15) ผัดเผ็ดปลามิหลังข่าอ่อน (16) ผัดเผ็ดปลายอดสนใส่ใบยี่หร่า (หอมยี่หร่า รสร้อนแรง) (17) น้าชุบแมงดา 3) กติกาการประกวดอาหาร/ขนม หรือสารับ จากมติการประชุมที่มอบให้ นายธีระ จันทิปะ จัดทำ (ร่าง) กติกาการประกวด โดยประสานงาน กับ อ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ เพื่อรวบรวมข้อมูลกติกาการประกวด ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มิ.ย. 2561 ซึ่งนายธีระ จันทิปะ จะเร่งจัดทำ ร่าง กติกาให้แล้วเสร็จ เพื่อได้นาเสนอที่ประชุมในคราวต่อไป 4) กำหนดแผนการจัดประกวดอาหาร จะจัดในวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2561 ที่ตลาดสิงหนคร กิจกรรมการประกวดอาหาร ที่ประชุมได้เสนอให้มีการประกวดอาหารในรูปแบบของสำรับอาหาร โดยใน 1 สำหรับ ประกอบด้วย อาหาร 4 ประเภท ได้แก่ (1) อาหารที่มีรสเผ็ด (2) อาหารที่มีรสไม่เผ็ด เช่น ต้ม ผัด หรือทอด (3) อาหารที่เป็นของหวาน เช่น ขนม ต่างๆ (4) อาหารประเภทเครื่องเคียง เช่น น้ำพริกต่างๆ + ผักสด ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.เกิดข้อมูลอาหารคาบสมุทรสทิงพระ จากร้านครัวในโหนด ที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ลูกโหนดมาประกอบอาหารทั้งคาว เช่น ยำลูกโหนด และหวาน เช่น ลูกโหนดน้ำกระทิ ตลอดจนสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วยปลามิหลัง ปลาหมึก กุ้งแม่น้ำ ฯ เพื่อมาทำเป็นกับข้าว(แกง) ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น (ชาวบก) ที่มีการผสมเครื่องเทศ สมุนไพรในท้องถิ่น เช่น ใบยี่หร่า ใบชะพลู สัปรด ลูกเถาคัน ใบกะสัง ฯลฯ เป็นส่วนผสมทำให้แกงมีรสชาดดี อร่อย และมีสรรพคุณทางยา สาารถช่วยลดอาการเจ็บป่วย เช่น โรคหวัด และลดความร้อนในร่างกาย เป็นต้น
|
10 | 4 |
7. ประชุมคณะทำงานร่วมกับสจรส.มอ. |
||
วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำเวลา 9.00 น. หัวหน้าโครงการเข้าประชุม เรื่องการจัดทำเอกสารและรายงานด้านบัญชี และการเงิน ที่ สจรส.มอ. ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผู้รับผิดชอบโครงการได้รายงานการเงินให้เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. ถึงการดำเนินงานในการลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล
|
2 | 2 |
8. ประชุมคณะทำงาน |
||
วันที่ 19 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ1.เวลา 9.30 น. นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล และ นางพนัดดา เทพญา ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษาตั้งขึ้น ครั้งที่ 1 อาคารอาศรมศิลปกรรม สถาบันทักษิณคดีศึกษา เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการที่ทำร่วมกับ สจรส.มอ. 2.นายธีระ จันทิปะ คณะทำงาน นำเสนอรายละเอียดการประกวดอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระ ดังนี้ 1.คุณสมบัติของผู้สมัคร 1.1 ทีมที่สมัครได้ผ่านการพิจารณาจากระดับอำเภอมาแล้ว 1.2 เอกสารการสมัคร ประกอบด้วย สำเนาบัตรประชาชน คนละ 1 ชุด 1.3 จำนวนผู้สมัคร สมัครเป็นทีมๆ ละ 4 คน แบ่งเป็นผู้ปรุงอาหาร 2 คน สามารถทากิจกรรมในการแข่งขันปรุงอาหารได้ทุกหน้าที่ ,ผู้ช่วย 2 คน ห้ามปรุงอาหาร ให้ทำเฉพาะส่วนบริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ปรุงอาหาร การจัดตกแต่ง ดูแลสถานที่ในพื้นที่ปรุงอาหารของทีม 2.กฎ กติกา การประกวด 2.1 ทีมสมัครจะต้องเตรียมสูตรอาหารที่จะปรุง จำนวน 1 ชุด ให้คณะทำงานในวันที่ลงทะเบียนเข้าประกวด 2.2 ให้ลงทะเบียน และรายงานตัวก่อนเริ่มประกวด 30 นาที 2.3 ผู้เข้าประกวดจะต้องเตรียมวัตถุดิบ เครื่องปรุง เครื่องมือปรุงอาหาร ภาชนะสาหรับปรุงและตกแต่งอาหารมาเอง 2.4 การปรุงอาหารต้องเสร็จภายในเวลา 3 ชั่วโมง 2.5 อาหารที่ส่งประกวดให้บรรจุลงในภาชนะ จัดเป็นสำรับรวมกัน และเสิร์ฟพร้อมกัน 2.6 กรณีปรุงไม่เสร็จทันตามเวลาที่ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดแผนงานและรูปแบบในการจัดประเภทประกวดอาหาร และการจัดหาทีมเข้าร่วมแข่งขัน ตลอดจนกติกาของการแข่งขัน
|
10 | 10 |
9. ประชุมคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย4อำเภอ เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ |
||
วันที่ 7 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำนายไพฑูรย์ ศิริรักษ์ แห่งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก กล่าวต้อนรับ และนายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล หัวหน้าโครงการ ชี้แจงรายละเอียดโครงการ การพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน โดยจะจัดการท่องเที่ยวผ่าน Node ทั้ง 4 อำเภอ 1.ครัวใบโหนด จะเป็น Node แรก ที่อำเภอสิงหนคร ที่เป็นเหมือนประตูเข้าพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ หากเข้าพื้นที่ทางทิศใต้ของคาบสมุทรสทิงพระ ควรปรับปรุงสถานที่ และการจัดนิทรรศการต่างๆ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก ของนายไพฑูรย์ ศิริรักษ์ จะเป็น Node ที่ 2 ที่อำเภอสทิงพระ เป็นที่ที่มีผู้เข้ามาเรียนรู้สม่ำเสมอ มีความเห็นว่า นอกจากการพัฒนาต่อยอดตามโครงการแล้ว ควรมีการสืบสานวัฒนธรรมอาหารด้วย เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีปัญหาการสืบสานด้านวัฒนธรรมอาหาร 2.ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร เสนอแหล่งท่องเที่ยว ดังนี้ -ทุ่งปอเทือนรำแดง ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีพื้นที่นากว่า 300 ไร่ ซึ่งในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกๆ ปี จะมีการจัด “เทศกาลดอกปอเทืองบานที่บ้านรำแดง” ก่อนที่ดอกปอเทืองจะแปรสภาพเป็นปุ๋ยสดบำรุงดินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง -ตลาดพรีเมี่ยมรำแดง หมู่ที่ 7 บ้านป่าขวาง ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (เปิดทุกวันศุกร์ - เสาร์ เวลา 12.00 – 17.00 น. และ 08.00 – 17.00 น.) เป็นตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรวัฒนธรรม ที่ตั้งอยู่กลางทุ่งนาข้าว พร้อมวิวต้นตาลโตนด และเป็นตัวอย่างของชุมชนนำร่องในการพัฒนาให้เป็นชุมชนวิถีเกษตรกรรมไทยตามนโยบายไทยนิยมยั่งยืน พร้อมต่อยอดสินค้าเกษตรเกรดพรีเมี่ยมนำมาจำหน่ายในตลาดพรีเมี่ยมรำแดง -OTOP นวัตวิถีบ้านรำแดง “โหนด–นา–ไผ่” อัตลักษณ์ของบ้านรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งทาง อบต.รำแดง มีการจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวีถีเกษตรชุมชน โดยมีการเน้นการทำกิจกรรมแบบฐานการเรียนรู้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส และเรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น (1) ฐานการเรียนรู้ตาลโตนด (2) ฐานการเรียนรู้บ้านต้นแบบ (3) ฐานการเรียนรู้บ้านทักษิณาทาน (4) ฐานการเรียนรู้วัดป่าขวาง (5) ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (6) ฐานการเรียนรู้ครัวรำแดง ด้านอาหารพื้นบ้าน (1) ยำหัวโหนด (2) ไก่บ้านคั่วโหนด (3) แกงเลียง (ผักพื้นบ้าน) (4) ลูกตาลกะทิสด (5) ปลากะตักทอด (6) ชาปอเทือง ด้านผลิตภัณฑ์ OTOP (1) ไข่เค็ม (2) กล้วยฉาบ (3) ข้าวกล้อง (ข้าวสังข์หยด) (4) พายลูกตาล (5) น้ำตาลผง (ขนมขี้มอด) (6) น้ำพริกสมุนไพร (7) น้ำส้มสายชูตาลโหนด (8) เครื่องจักสานจากใบตาล 3.อำเภอระโนด เสนอแหล่งท่องเที่ยว เน้นการท่องเที่ยววิถี “โหนด-นา-เล”ดังนี้
(2) วิถีนา ตำบล ตะเครียะ กำลังจัดสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีเกษตรกลางทุ่งนา (3) วิถีเล ตำบล ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย มีการจัดแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชาวประมงในการออกเรือหาปลา
-ตลาดน้ำคลองแดน ตำบลแดนสงวน (เปิดทุกวันเสาร์ เวลา 15.30 – 21.00 น.) เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาชุมชน และสร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงชาวบ้าน อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัส เรียนรู้ รวมถึงเข้าใจธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนในคลองแดน “สามคลอง สองเมือง” สโลแกนของตลาดน้ำคลองแดน ซึ่งมีที่มาจากลำคลองธรรมชาติ 3 ลำคลองที่มาบรรจบกัน คือ ลำคลองสายแรกไหลสู่ อ.หัวไทร และ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ลงไปทางใต้ ลำคลองสายที่สองเป็นลำคลองไหลสู่ อ.ระโนด จ.สงขลา และไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ส่วนลำคลองสายที่สามจากทางทิศตะวันตกไหลสู่ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช -ตลาดน้ำปากแตระ ตำบลปากแตระ (เปิดทุกวันเสาร์ เวลา 16.30 – 20.00 น.) เป็นตลาดน้ำที่ทางเทศบาลมีการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านได้ช่วยกันฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในตำบล และสร้างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน โดยจะมีการนำผลิตภัณฑ์การเกษตร พืชผลทางการเกษตรมาค้าขาย และมีกิจกรรมบันเทิงจากน้องๆ นักเรียนในพื้นที่มาร่วมกันแสดงดนตรี และสีสันให้กับตลาดน้ำปากแตระ -ตลาดริมน้ำคลองระโนด อำเภอระโนด (เปิดทุกวันศุกร์ เวลา 16.00 – 20.30 น.) เสน่ห์สงขลาอีกแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม “ตลาดริมน้ำคลองระโนด” หรือ “ตลาดน้ำคลองระโนด” เป็นแหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ของชาวระโนด ที่มีการนำสินค้าต่างๆมากมายมาวางจัดจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวสายเฮลล์ตี้ ได้ลองชม ชิม ช็อป สินค้าพื้นเมือง ไม่ว่าจะเป็น ชมการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ ชิมอาหารรสเด็ด หรือช็อปปิ้งสินค้าแฮนเมค เป็นต้น -ด้านแหล่งอาหารพื้นเมือง (1) ตำบลบ่อตรุ ไข่ครอบ ไข่เค็มต้ม น้ำพริกเผา น้ำพริกปู กะหรี่ปั๊บ ปลาเส้น ปลาแห้ง (2) ตำบลพังยาง ขนมลา (ลากรอบ) ขนมถาด ขนมเปียกปูน (3) ตำบลระวะ แปรรูปลูกตาล ชนิด อบแห้ง ลอยแก้ว เชื่อม และวุ้นลูกตาลกรอบ (4) ตำบลปากแตระ ไข่เป็ด ไข่เค็ม มันกุ้ง (5) อำเภอระโนด ข้าวยำใบบัว ข้าวห่อใบบัว (6) ตำบลบ้านขาว ปลาดุกร้า (7) ตำบลท่าบอน น้ำพริกแม่ปลื้ม น้ำพริกสำเร็จรูป ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.กลุ่มเป้าหมายใน3อำเภอที่เข้าร่วมได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลของแต่ละพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การจัดการท่องเที่ยว 2.เกิดข้อมูลในแต่ละพื้นที่ ในด้านภูมิปัญญา เรื่องเล่าตำนาน วัฒนธรรมประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว
|
40 | 33 |
10. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอำเภอระโนด |
||
วันที่ 7 กันยายน 2561 เวลา 14:00 น.กิจกรรมที่ทำเวลา 14.00 น. หัวหน้าโครงการ นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคลและนางสุรีย์ ตันมงคล ลงสารวจข้อมูลที่คลองแดนอำเภอระโนด ไปพบพี่โย (นายอภิชาติ เหมือนทอง) และภรรยา (นางอุบล เหมือนทอง) ที่เรินพี่โย คลอง แดน เพื่อพูดคุยข้อมูล ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้เรียนรู้ข้อมูลและเห็นว่าบ้านพี่โยมีความเหมาะสมที่จะเป็น Node ของอำเภอระโนด เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมอาหาร ตั้งแต่วัตถุดิบ เตรียม ปรุง และกิน และหากมาในวันเสาร์ จะมี ตลาดน้ำในช่วงเย็น-ค่ำด้วย โดยสามารถพักแรมแบบโฮมสเตย์ได้
|
2 | 2 |
11. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอำเภอกระแสสินธุิ์ |
||
วันที่ 8 กันยายน 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ-หัวหน้าโครงการ นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล นางสุรีย์ ตันมงคล นางพนัดดา เทพญา นายอุดม ซุ้นสุวรรณ และ นางสาวอันดามัน เทพญา ลงพื้นที่เข้าร่วมดูกิจกรรมของกลุ่มบ้านเขาใน หมู่ที่ 1 ตำบลเชิงแส อำเภอ กระแสสินธุ์ ภายใต้โครงการ OTOP นวัตวิถี จัดที่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านรัดปูน ตาบลเชิงแสซึ่งมีแนวคิดบางส่วนสอดคล้องกับโครงการ มีการนำเมนูอาหารที่คัดเลือกแล้วมาทำและทดลองชิมกัน ภายใต้การนำของผู้ใหญ่บ้านเขาใน (นางสาวนทีธรรม หรือตาล ทองเนื้อแข็ง โทรศัพท์ 089-8695013) และพัฒนาการอำเภอกระแสสินธ์ (นางนงลักษณ์ ย้อยดา โทรศัพท์ 081-8227158) -รายการอาหารที่ชุมชนบ้านเขาใน จัดทำขึ้นทดลอง ประกอบด้วย แกงคั่วหัวโหนด แกงส้มปลาช่อนเขาคัน ข้าวโพดบวด ข้าวยา ต้มยากุ้ง น้าพริก ปลาช่อนแห้งทอด ปลาส้มทอด ปลาส้มต้มกะทิ และ ผักเหนาะ ซึ่งมีการจัดเป็นสำรับสวยงาม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเห็นความตั้งใจของคณะทำงานในพื้นที่ที่มีการนำเสนอรายการอาหารที่น่าสนใจ และสามารถสื่อถึงวิถีของคนแถบคาบสมุทรสทิงพระ
|
4 | 5 |
12. ประชุมคณะทำงานร่วมกับสจรส.มอ. |
||
วันที่ 5 ตุลาคม 2561 เวลา 10:00 น.กิจกรรมที่ทำเวลา 10.00 น. หัวหน้าโครงการ นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล เข้าประชุมรายงานความก้าวหน้า ที่ สจรส.มอ. ความว่าโครงการนี้มีความสอดคล้องกับนโยบาย และแนวคิดของ อ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งสถาบันทักษิณคดีศึกษา คือใช้ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมความก้าวหน้าที่ค่อนข้างจะแน่นอนคือการยินดีร่วมงานของ node ทั้ง 4 อำเภอ ที่มีทุนเดิมทำงานด้านวัฒนธรรมอาหารอยู่แล้ว จึงจะปรับปรุงแผนงานใหม่ ภายในกลางเดือนตุลาคมนี้ โดยจะใช้บุคลากรภายนอกเข้ามาช่วย ได้แก่ นายเกริกชัย ส่องเจริญกุล และกลุ่มอดีตเยาวชนต้นกล้า เครือข่ายรักษ์คลองอู่ตะเภา จะให้เป็นผู้ลงไปขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ประสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ โดยเชื่อมกับ node ที่มีในพื้นที่ทั้ง 4 อำเภอ ดังนี้ (1) อำเภอสิงหนคร ร้านครัวใบโหนด (2) อำเภอสทิงพระ ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก (3) อำเภอกระแสสินธุ์ บ้านเขาใน ต.เชิงแส อ.กระแสสินธุ์ และ ผู้ใหญ่บ้านเขาใน (4) อำเภอระโนด เรินพี่โย คลองแดน โดยจะจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ดังนี้ 1) เดือนตุลาคม สำรวจเส้นทางท่องเที่ยว ทดลองเที่ยว เพื่อทำโปรแกรม ทั้ง 4 อำเภอ โดย (1) ประชุม node ทั้ง 4 อาเภอ ที่ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก เพื่อจัดทำแผนการท่องเที่ยวเพื่อการสืบสานและต่อยอดวัฒนธรรมอาหาร (2) จัดทำเกณฑ์ประเมินผล ทั้งผลลัพธ์ และผลกระทบ จากกิจกรรมที่จะดำเนินการ (3) จัดทำแผนการท่องเที่ยว ประกอบด้วย กิจกรรมที่จะทา เส้นทาง โปรแกรม แผนที่ ปฏิทินเนื้อหาการท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหารแต่ละอำเภอ (4) วางแผนการใช้สื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม (5) วางแผนการทางานเอกสารคู่ขนานกับการทำกิจกรรม (6) จัดทำแผนงบประมาณเบื้องต้น 2) เดือนพฤศจิกำยน จัดนาเที่ยวโดยนักท่องเที่ยวสมมุติ เพื่อรับฟัง Feed back (VOC : Voiceof Customer) โดย (1) ทดลองท่องเที่ยวตามโปรแกรม ครั้งละอำเภอ รวม 4 ครั้ง 4 อำเภอ (2) ประชุมเพื่อประเมินและปรับปรุง 3) เดือนธันวำคม จัดให้เกิดการท่องเที่ยวจริง โดย (1) รับสมัครนักท่องเที่ยว เพื่อเที่ยวจริง ครั้งละอำเภอ รวม 4 ครั้ง 4 อำเภอ (2) ประชุมเพื่อประเมินและปรับปรุง 4) เดือนมกรำคม จัดการท่องเที่ยว ประเมินผล และปรับปรุงโปรแกรม (PDCA : Plan – Do –Check - Action) โดย (1) รับสมัครนักท่องเที่ยว เพื่อเที่ยวจริง ครั้งละอำเภอ รวม 4 ครั้ง 4 อำเภอ (2) ประชุมเพื่อประเมินและปรับปรุง (3) สรุปผลการดาเนินงาน และปิดโครงการ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.การดำเนินงานยังคงล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ 2.มีการประสานกับภาคี เครือข่ายอื่นในการทำงานร่วมกัน เพิ่มขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานมีความสำเร็จ
|
2 | 2 |
13. ประชุมวางแผนจัดการท่องเที่ยวคาบสมุทรสทิงพระ |
||
วันที่ 15 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำวางแผนจัดการท่องเที่ยวร่วมกับนายเกริกชัย ส่องเจริญกุล ณ ห้าง Big C หาดใหญ่ ซึ่งนายเกริกชัยเสนอรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการลงพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ และโปรแกรมที่จะลงเที่ยวชม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดการประสานงานในการจัดการท่องเที่ยว
|
4 | 2 |
14. ประชุมโปรแกรมท่องเที่ยวร่วมกับครัวใบโหนด |
||
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13:00 น.กิจกรรมที่ทำเวลา 13.00 น. หัวหน้าโครงการ นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล เข้าพบกับนายสามารถ สะกวี และคณะ กลุ่มครัวใบโหนด เพื่อประสานงานในการดำเนินงานที่ร้านครัวใบโหนด และกำหนดวันท่องเที่ยวรอบทดลอง จำนวน 4 พื้นที่ คาบสมุทรสทิงพระ เพื่อนาไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนางาน ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีแผนการจัดท่องเที่ยวทดลองร่วมกับกลุ่มเครือข่ายครัวใบโหนด
|
10 | 6 |
15. จัดโปรแกรมท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหารอำเภอสิงหนคร ครั้งที่1 |
||
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำโปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ อำเภอสิงหนคร วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2561 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา 09.00 – 09.30 น. ออกเดินทางไปร้านครัวใบโหนด อำเภอสิงหนคร 09.30 – 09.35 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ 09.35 – 11.00 น. ทำขนมพื้นบ้าน ขนมเจาะหู ขนมโค (มีวิทยากรคุย เล่า ขั้นตอนทำ) 11.00 – 12.30 น. ลงพื้นที่ทำอาหาร ณ หมู่บ้านสว่างอารมณ์ ม.2 ต.ชะแล้ -เมนูอาหาร แกงคั่วหัวโหนดกุ้ง ผัดผักบุ้งนา ,-เมนูขนมหวาน ลูกโหนดกะทิสด 12.30 – 13.30 น. รับประทานอาหารเที่ยง พร้อมด้วยเมนูอาหารขันโต๊ะ (จากครัวใบโหนด) แกงส้มปลาหัวโหม่งกับลูกเขาคัน ,ต้มส้มปลาท่องเที่ยว ปลาทอดขมิ้น น้ำพริก ผักสด (วิทยากรคุย เล่า เมนูอาหาร) ,น้ำสมุนไพร 13.30 – 14.30 น. ดูวิถีการทำนา การทำน้ำตาลโตนด 14.30 – 15.30 น. ดูวิถีการผัดน้ำผึ้ง 15.30 – 16.30 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการสืบสานและต่อยอดวัฒนธรรมอาหารสิงหนคร -หัวหน้าโครงการกล่าวนาความเป็นมาของโครงการ คุณนพ หรือ ดลนภา สุวรรณรัตน์ แห่งครัวใบโหนด เริ่มด้วยการเล่าเรื่องของครัวใบโหนด การขับเคลื่อนงานความมั่นคงทางอาหาร เกษตรอินทรีย์ มี7 เครือข่าย“ครัวใบโหนด” เกิดจาการรวมกลุ่มของคนในชุมชนรวมตัวกันสร้างความเข้มแข็งให้สามารถช่วยเหลือตัวเอง พึ่งพาตนเองได้ในทุกด้าน โดยเฉพาะการเป็นแหล่งผลิตอาหารให้ชุมชนเพื่อความพร้อมรับสถานการณ์ในทุกด้าน โดยน้อมนำวิถีแห่งความพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานของกลุ่มจนประสบผลสาเร็จ อีกทั้งความเข้มแข็งด้านการรักษาสืบสานคุณค่าเดิมๆ ของท้องถิ่นที่บรรพชนสร้างเอาไว้ มาปรับใช้เพื่อการดำรงชีวิตทั้งการกินการอยู่ นาสู่วิถีสุขภาพกายใจได้อย่างเยี่ยมยอด จึงเปิด “ครัวใบโหนด” ขึ้นภายใต้แนวคิด “ครัวชุมชนเพื่อคนทั้งมวล” ครัวใบโหนดจึงเป็นศูนย์กลางการฟื้นฟูสูตรอาหารท้องถิ่น โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างอาหารพื้นบ้านกับถิ่นกำเนิด จากนั้น เป็นการแนะนาตัว ทีมงานครัวใบโหนด เช่น ป้าแดง ป้าสาว ป้าพูน ป้าดวน ป้าดา พี่อ้น อร ลุงต่วน ฯ นศ.บี และแพง จากมหิดล และแนะนาตัวนักท่องเที่ยว กิจกรรมท่องเที่ยวฐานที่ 1 เริ่มจากการทาขนม โดยป้าสาว เป็นผู้นาทาขนมเจาะหู ส่วนป้านา นา ทำขนมโค ,ขนมเจาะหู , กิจกรรมก่อนเที่ยงที่ร่วมกันเตรียมอาหาร เริ่มตั้งแต่ไปปีนต้นโหนด เก็บลูกโหนด เก็บผักบุ้ง มาเตรียม ขูดมะพร้าว ทำเครื่องแกง เพื่อแกงคั่วหัวโหนดกับกุ้ง,แกงส้มกุ้งกับลูกเขาคัน,ต้มส้มปลาท่องเที่ยว และทำขนมหวานลูกโหนดน้ำเทะสด ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องอาหารและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ได้สัมผัสภูมิปัญญาการทำนาปลอดสารพิษ การขึ้นตาลโตนด การผัดน้ำผึ้งโหนด และการทำ น้ำตาลโหนดผง
|
30 | 20 |
16. จัดโปรแกรมท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหารอำเภอกระแสสินธิ์ ครั้งที่2 |
||
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำโปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ อำเภอกระแสสินธิ์ 08.15 – 08.45 น. ลงทะเบียน ชี้แจงวัตถุประสงค์ ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา 08.45 – 09.30 น. ออกเดินทางไปบ้านเขาใน ตาบลเชิงแส อาเภอกระแสสินธุ์ 09.30 – 10.15 น. ชิมและเรียนรู้การทาขนมพื้นบ้าน 10.15 – 12.00 น. ลงพื้นที่ รวบรวมวัตถุดิบ และปรุงอาหารกลางวันร่วมกัน 12.00 – 13.00 น. อาหารกลางวัน 13.00 – 14.30 น. เรียนรู้การจัดสารับอาหารเด่นของกระแสสินธุ์ 14.30 – 15.30 น. ชมวิถีชีวิตและแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน 15.30 – 16.30 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการสืบสานและต่อยอดวัฒนธรรมอาหารกระแสสินธุ์ 16.30 – 17.15 น. เดินทางกลับสถาบันทักษิณคดีศึกษา เมนูอาหารและเส้นทางท่องเที่ยว ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีชุมชนเขาใน - รัดปูน ต.เชิงแส อ.กระแสสินธุ์ (1) ข้าวไรซ์เบอรี่ (2) แกงส้มปลาช่อนลูกเขาคัน (3) ต้มยาแม่กุ้งน้าใส (4) ปลาตรับ/ปลาช่อนแดดเดียวทอด (5) ผัดผัก (6) ขนมลูกตาลกะทิสด (7) เครื่องดื่ม น้าสมุนไพร/น้ำมะพร้าว (8) มีการสาธิตการทำขนมดูให้ชิมและขาย (9) เส้นทางท่องเที่ยว 2 ที่ คือ
-นางสาวนทีธรรม ทองเนื้อแข็ง ผู้ใหญ่บ้านเขาใน บริการน้ำมะพร้าวสดเฉาะให้ดูต่อหน้า กล่าวต้อนรับ ออกตัวว่ายังไม่มีประสบการณ์ในการจัดการท่องเที่ยว คณะนี้เป็นคณะแรกที่มาเที่ยวภายหลังการเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ภายใต้การสนับสนุนของสานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา ,กิจกรรมแรก ไปกวนขนมดู ขูดมะพร้าว ไปจับปลา และเตรียมอาหารด้วยกันการเรียนรู้ส่วนใหญ่ดำเนินการที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านเขาใน ยังไม่มีฐานการเรียนรู้กระจายตัวในชุมชนเหมือบครัวใบโหนด สิงหนคร จึงเป็นการพูดคุยระหว่างการเตียมอาหารกลางวันมากกว่า ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ทำอาหารและขนมที่อุดมไปด้วยพลังงาน เช่น ขนมดู ซึ่งเป็นประเภทแป้งและน้ำตาล ให้พลังงานอย่างรวดเร็ว
เหมาะกับชุมชนเกษตรกรรมที่ต้องออกไปทำงาน นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ยังมีคุณโจ้ นายปิยะศักดิ์ สุขแก้ว เจ้าของเว็ปไซต์ กิมหยง ดอทคอม สะท้อนแนวคิดในการนาเสนอความน่าสนใจด้านวัฒนธรรม ซึ่งยอมรับว่า ผู้คนส่วนมากยังไม่ค่อยทราบถึงความสำคัญ และจะพยายามเปิดพื้นที่ด้านนี้เพิ่มขึ้น มีนายกิตธนา สุบรรพวงศ์ กรรมการของสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา ซึ่งมีประสบการณ์ชีวิตในคาบสมุทรสทิงพระมาก่อน ให้ข้อมูล ความรู้ในเรื่องวัตถุดิบและวิธีการปรุง แลกเปลี่ยนกันระหว่างการทำอาหาร มี อ.โต นายเทพรัตน์ จันทพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ผู้มีประสบการณ์เรื่องข้าวพื้นบ้าน ได้ให้ข้อคิดเห็นในการพัฒนาพันธุ์ข้าวของชุมชน มี อ.ธีระ จันทิปะนักวิชาการจากสถาบันทักษิณคดีศึกษา ให้ข้อมูลที่มาของขนมดู ว่าเป็นขนมโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่ทำขึ้นเพื่อบูชาพระพิฆเนศ ในสมัยที่ฮินดู และพราหมณ์ ครอบคลุมทั่วพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ -นักท่องเที่ยวได้ฝึกทำเมนูอาหารร่วมกัน ประกอบด้วย ขนมดู ,ขนมลูกโหนดเท่ะสด,แกงคั่วไก่สาวเคล้าหัวโหนด (แกงคั่วไก่หัวโหนด),แกงส้มปลำช่อนผักลิ้น,แกงส้มปลำช่อนเขำคัน, ปลาส้มทรงเครื่อง (ปลาชะโดส้ม),ภูมิปัญญาท้องถิ่นการถนอมอาหาร : การทำปลาส้ม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้อาหารท้องถิ่นและได้ร่มปฎิบัติการประกอบอาหารได้ด้วยตนเอง
|
15 | 20 |
17. จัดโปรแกรมท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหาร อำเภอสทิงพระ ครั้งที่3 |
||
วันที่ 1 ธันวาคม 2561 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำโปรแกรมท่องเที่ยวต่อยอดวัฒนธรรมอาหารเรียนรู้ วิถีโหนด-นา-เล เพื่อการท่องเที่ยวเชิงภูมินิเวศน์ 08.45 น. นักศึกษาเดินทางมาถึงศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก ลงทะเบียนเพื่อการเรียนรู้ 09.00 – 10.00 น. เรียนรู้ตำนานศูนย์ฯ/ตำนานชุมชนชาวบก และวิถีโหนด-นา-เล อันเป็นทุนทางธรรมชาติของชุมชน 10.00 – 10.20 น. พักรับประทานอาหารว่าง (น้าตาลสด-ขนมลูกตาล) 10.20 – 12.00 น. เรียนรู้การทำขนมคนที และการทำไข่ครอบ 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน (ข้าวมันแกงไก่+ผลไม้) 13.00 – 14.00 น. ลงพื้นที่เรียนรู้การเคี่ยวน้ำผึ้งโหนด กินตังเมตาลโตนดจากขอบกระทะ กินน้ำตาลสดจากต้น กินลูกตาลสดแบบบ้านบ้านโดยการแคว็กยุม (ใต้ต้นโหนดในนา) 14.30 – 15.00 น. สรุปสิ่งที่ได้รับ/ความประทับใจจากกิจกรรมการเรียนรู้ 15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง ขนมลูกโหนดน้ำเท่ะ เดินทางกลับด้วยความประทับใจ และถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ -จัดการท่องเที่ยวพื้นที่ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก สทิงพระ เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวอาสาสมัครเพิ่มขึ้น จึงใช้รถตู้ 2 คัน นัดรถตู้รับสมาชิกบางราย เริ่มตั้งแต่ เวลา 07.15 น. ไปพบกันที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา -นักท่องเที่ยวร่วมทำอาหารประจำถิ่น ประกอบด้วย ขนมคนที,ข้ำวมันแกงไก่,น้ำเผ็ด หรือพริกน้ำส้ม,น้ำชุบมะขาม หรือ น้ำชุบส้มขาม,กุ้งต้มน้ำผึ้ง หรือ กุ้งต้มหวาน,ปลามะลิ หรือ ปลาไส้ตัน ชาวสงขลาเรียกว่า “ปลาลูกเมละ",ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำไข่ครอบ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องอาหารและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ 2.นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้การทำลูกปัดมโนราห์
|
30 | 30 |
18. จัดโปรแกรมท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหาร อำเภอระโนด ครั้งที่ 4 |
||
วันที่ 2 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำโปรแกรมท่องเที่ยวต่อยอดวัฒนธรรมอาหาร พื้นที่อำเภอระโนด 07.30 - 08.00 น. รับประทานอาหารเช้า Homestay 08.00 – 09.30 น. เยี่ยมชมชุมชน 09.30 – 10.30 น. ฐานเรียนรู้ของเล่น หรือ ร้อยลูกปัดโนรา 10.30 – 11.30 น. ฐานเรียนรู้ขนมไทย 12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง (ข้าวยำ) 13.30 น. เรียนรู้สำรับอาหาร สำรับที่ 1 (1) แกงส้ม (ปลา) เถาคัน (2) ปลาทอด (3) ผัดสายบัว + กุ้งสด (หรือ มันแกว + กุ้งสด) (4) แป้งแดงทรงเครื่อง สำรับที่ 2 (1) คั่วกลิ้ง (หมู หรือ ไก่) (2) ยากุ้งหวานสมุนไพร (3) หมูต้มสับปะรด นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้การทำอาหารคาว หวาน และการร้อยลูกปัดมโนราห์ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้อาหารคาว หวาน ของพื้นที่ชุมชน และได้ฝึกการประกอบอาหาร
|
15 | 20 |
19. ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ |
||
วันที่ 7 ธันวาคม 2561 เวลา 13:00 น.กิจกรรมที่ทำเวลา 13.00 น. ประชุมทีมงาน สรุปผลการดำเนินงานที่หอเอกสารท้องถิ่น สถาบันทักษิณคดีศึกษา ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นสรุปผลการดำเนินงาน
|
10 | 5 |
20. เรียบเรียงข้อมูล เมนูอาหารคาบสมุทรสทิงพระ และจัดทำรายงาน |
||
วันที่ 25 มกราคม 2562 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำเรียบเรียงข้อมูล จัดทำร่างเอกสาร ตำรับอาหารพื้นบ้านของคาบสมุทรสทิงพระ และจัดทำรายงานในระบบเว้ปไซต์ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดข้อมูลร่างเอกสาร ตำรับอาหารพื้นบ้านของคาบสมุทรสทิงพระ และรายงานในระบบเว้ปไซต์ รายงานการเงิน
|
2 | 3 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย | |
---|---|---|---|---|---|
1 | 1) เพื่อพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ ตัวชี้วัด : ข้อมูลด้านอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระได้รับการเผยแพร่และยกระดับขึ้นเป็นทุนทางวัฒนธรรมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระ |
||||
2 | 2) เพื่อหนุนเสริมแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนคาบสมุทรสทิงพระ ตัวชี้วัด : วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระถูกยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญในการท่องเที่ยวโดยชุมชนกระทั่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจชุมชน |
||||
3 | 3) เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและถิ่นกำเนิดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระผ่านกระบวนการพัฒนาอาหารแบบบูรณาการ ตัวชี้วัด : ผู้บริโภคที่ชื่นชอบวัฒนธรรมอาหารเดินทางไปท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมอาหารในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ |
||||
4 | 4) เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ ตัวชี้วัด : เกิดการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระที่มีการจัดการโดยชุมชนเจ้าของวัฒนธรรม |
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค | สาเหตุ | ข้อเสนอแนะ |
---|---|---|
โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ จังหวัด
รหัสโครงการ
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
( นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......