สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ
ภายใต้โครงการ แผนงานโซนใต้กลาง
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มกราคม 2561 - 31 มกราคม 2562
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 200,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ วรรณา สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด 7.4561805300172,100.43012551397place
stars
2. พื้นที่เป้าหมาย
จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
ภาคใต้ place directions
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 ม.ค. 2561 30 เม.ย. 2561 25 ม.ค. 2561 31 ม.ค. 2562 80,000.00
2 1 พ.ค. 2561 30 พ.ย. 2561 110,000.00
3 1 ธ.ค. 2561 30 ม.ค. 2562 10,000.00
รวมงบประมาณ 200,000.00
stars
4. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการทบทวนข้อมูล รายงานการศึกษา วิจัย ด้านวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ พบว่า มีการศึกษา วิจัย และนำไปสู่การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารมาอย่างต่อเนื่อง เช่น “โครงการอนุรักษ์-ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น คาบสมุทรสทิงพระ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” “ครัวใบโหนด” “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก” และฐานการเรียนรู้การทำขนมพื้นบ้าน หรือน้ำตาลแว่น เป็นต้น เพื่อกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกคนในท้องถิ่นให้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ อันเป็นฐานทรัพยากรอาหารที่จะช่วยให้มีอาชีพที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้ และยังคงไว้ซึ่งองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาของชุมชนมิให้สูญหายไป ตามวิถี “โหนด-นา-เล” อย่างไรก็ดี รูปธรรมของการพัฒนายังจับต้องได้ไม่ง่ายนัก จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาต่อยอดการศึกษาที่มีอยู่เดิมแบบบูรณาการระหว่างอาหาร วัตถุดิบ และถิ่นกำเนิดวัตถุดิบ/วัฒนธรรม เข้ากับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มักจะท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ พร้อมกับการเสาะแสวงหาอาหารรสชาติดี และบรรยากาศดี

stars
6. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การพัฒนาต่อยอดการศึกษาด้านวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ เป็นการบูรณาการระหว่างเรื่องอาหาร วัตถุดิบ และถิ่นกำเนิดวัตถุดิบ/วัฒนธรรม เข้ากับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มักจะท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ พร้อมกับการเสาะแสวงหาอาหารรสชาติดี และบรรยากาศดี บนแนวคิด “การสื่อสาร” “การสัมผัส” และ “การกลับสู่ถิ่นกำเนิด”

โดยจะจัดให้มีการรวมรวบข้อมูลอาหารพื้นบ้านของคาบสมุทรสทิงพระ ที่มีองค์ประกอบทั้งสูตรอาหารและคุณค่าทางโภชนาการ จากนั้นนำข้อมูลอาหารที่รวบรวมได้มาทำ Mapping ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่วัฒนธรรมอาหารกับพื้นที่การท่องเที่ยวของคาบสมุทรสทิงพระ การประกวดอาหารพื้นบ้านระดับอำเภอในพื้นที่อำเภอทั้ง 4 ของคาบสมุทรสทิงพระ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวลงไปในระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้านเป็นลำดับแรก ทั้งอาหารประเภทเผ็ด ประเภทต้ม เครื่องจิ้ม ขนมหวาน และข้าวพื้นเมือง เดือนละ 1 อำเภอ จากนั้น คัดเลือกตัวแทนจาก 4 อำเภอไปประกวดอีกครั้งในเดือนที่ 5 ที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา การจัดประกวดใน 5 เดือนแรกนี้นอกจากเป็นการกระตุ้นดังที่กล่าวแล้ว ยังเป็นผลให้เกิดการรวบรวมข้อมูลชื่อผู้ทำอาหาร สูตรอาหาร กรรมวิธีการทำ แหล่งวัตถุดิบ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการนำมาสู่การพัฒนาแบบบูรณาการในขั้นตอนต่อไป

การดำเนินโครงการในเดือนที่ 5 ถึงเดือนที่ 12 จะจัดกิจกรรมทุกวันเสาร์แรกของเดือน โดยในภาคเช้า จะเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว ให้ได้เดินทางไปสัมผัสถึงแหล่งวัฒนธรรมอาหาร ให้ได้สัมผัสกับถิ่นกำเนิดวัตถุดิบ ซึ่งมีวัตถุดิบประเภทที่มีทั้งปีและมีเป็นฤดูกาล ได้เห็นตั้งแต่ขั้นต้นของกระบวนการก่อนจะนำมาสู่การเก็บ รวบรวม เตรียมการ การปรุง กระทั่งพร้อมให้ได้รับประทาน ได้สัมผัส ได้เรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการทำอาหารกับเจ้าของภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระโดยตรง ก่อนที่จะกลับเข้าสู่สถาบันทักษิณคดีศึกษาในช่วงเย็น ที่ลานดาดฟ้าอาคารอาศรมศิลปกรรมทักษิณและเวทีกลางแจ้ง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม บรรยากาศดี ในกิจกรรมลานวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ จะเป็นเวทีการประกวดอาหาร การออกแบบอาหารใหม่ๆ สู่สากลบนฐานวัฒนธรรมเดิมแบบ Chef’s Table โดยเชฟรับเชิญ การลองชิมอาหาร การเรียนรู้ในการคัดเลือกวัตถุดิบและการปรุงอาหาร เคล้าการแสดงทางวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระ

ในการดำเนินโครงการจะบันทึกภาพนิ่งและวีดิทัศน์เพื่อจัดทำสื่อดิจิตัลผ่าน Facebook และ YouTube เป็นการสื่อสารกับสังคม และเป็นข้อมูลให้ผู้สนใจเข้าถึงได้ตลอดเวลา

stars
7. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ

ข้อมูลด้านอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระได้รับการเผยแพร่และยกระดับขึ้นเป็นทุนทางวัฒนธรรมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระ

2 2) เพื่อหนุนเสริมแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนคาบสมุทรสทิงพระ

วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระถูกยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญในการท่องเที่ยวโดยชุมชนกระทั่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจชุมชน

3 3) เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและถิ่นกำเนิดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระผ่านกระบวนการพัฒนาอาหารแบบบูรณาการ

ผู้บริโภคที่ชื่นชอบวัฒนธรรมอาหารเดินทางไปท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมอาหารในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ

4 4) เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ

เกิดการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านคาบสมุทรสทิงพระในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระที่มีการจัดการโดยชุมชนเจ้าของวัฒนธรรม

stars
8. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
9. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
11. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2560 17:23 น.