directions_run

โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้
ภายใต้โครงการ แผนงาน สนส.
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ 64-00-1060
วันที่อนุมัติ 15 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 ตุลาคม 2564 - 14 พฤษภาคม 2566
งบประมาณ 3,484,772.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.ซอฟียะห์ นิมะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ต.ค. 2564 14 เม.ย. 2565 1,148,360.00
2 15 เม.ย. 2565 14 ต.ค. 2565 1,219,752.00
3 15 ต.ค. 2565 15 มี.ค. 2566 1,084,510.00
รวมงบประมาณ 3,452,622.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (3,452,622.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (3,484,772.00 บาท)

stars
3. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สามจังหวัดชายแดนใต้ เป็นพื้นที่มีอาณาเขตติดชายแดนประเทศมาเลเซียประกอบด้วยจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส มีการปกครองส่วนภูมิภาคประกอบด้วย 33 อำเภอ 250 ตำบล และ 2,120 หมู่บ้าน ส่วนการปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย 3 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 49 เทศบาล และ 215 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม พุทธ และคริสต์ เป็นสัดส่วนตามลำดับ จัดเป็นพื้นที่พิเศษที่ดำรงอยู่ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบ (unrest situation) อันเป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่มีพื้นฐานมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ระหว่างรัฐไทยและชาติพันธุ์มลายูในอดีตและก่อเกิดการปะทะขึ้นใหม่อีกครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน[1] ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาสถานการณ์ความไม่สงบได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน คุณภาพชีวิต ความซบเซาทางเศรษฐกิจ และวิถีสังคมโดยรวม ทำให้ประชากรประมาณ 1 ใน 3 เป็นคนจนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศถึง 3.8 เท่า โดยสัดส่วนคนจนเฉลี่ยทั่วประเทศ ร้อยละ 8.6 ถือเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงถึงร้อยละ 32.8 ของประชากรทั้งหมดในภาคใต้และมีความยากจนสูงที่สุดในประเทศไทย[2] ล่าสุด ผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2562 พบว่า ภูมิภาคที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดยังคงเป็นภาคใต้ (ร้อยละ 11.27) ในขณะที่ภาพรวมของประเทศ ปัญหาความยากจนได้ลดลงเกือบทุกจังหวัด แต่ยังมีอีกหลายจังหวัดที่มีสัดส่วนคนยากจนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานียังคงเป็นจังหวัดที่ยากจนเรื้อรังและยากจนยาวนานที่สุดในประเทศไทย คือมีสัดส่วนคนจนเท่ากับร้อยละ 29.72 รองลงมาได้แก่ จังหวัดนราธิวาสที่มีสัดส่วนคนจนร้อยละ 25.53 ในปี 2562 [3] และเมื่อย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วในปี พ.ศ. 2554 จังหวัดปัตตานีมีเส้นความยากจนต่ำที่สุดใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ คือ 1,455 (บาท/คน/เดือน) [4] ส่วนจังหวัดยะลาเคยเป็นจังหวัดที่มีความยากจนลำดับที่ 5 ของประเทศในปี พ.ศ. 2558 ที่มีสัดส่วนคนจนร้อยละ 21.34 ปัจจุบันจังหวัดยะลาเป็นเพียงจังหวัดเดียวในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ไม่ถูกจัดเป็นกลุ่มยากจนเรื้อรัง ทั้งนี้ จากความรุนแรงของภาวะยากจนเรื้อรังเหล่านี้นำไปสู่ความยากจนในมิติอื่น ๆ ในเด็กด้วยเสมอ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เติบโตมาจากภูมิลำเนาในสามจังหวัดจะมีความยากจนทั้งในมิติการศึกษา มิติสุขภาพ มิติมาตรฐานความเป็นอยู่ และมิติสวัสดิภาพของเด็กในพื้นที่ [5] โดยเด็กที่อยู่ในชนบทมีสัดส่วนคนจนและความรุนแรงของปัญหาความยากจนสูงกว่าในเขตเมืองในทุกมิติ เช่น มิติทางการศึกษา (educational dimension) ที่พบว่า ปัญหาของความยากจนทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษากลางคัน ด้วยเหตุที่ต้องหาเลี้ยงครอบครัว มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และอัตราการศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นจะต่ำลงเรื่อย ๆ รองลงมาเป็นปัญหาการปรับตัวของเด็ก ปัญหาในครอบครัว และการสมรส หรือการตั้งครรภ์ รวมทั้งตัวชี้วัด มิติอื่น ๆ ก็ลดต่ำลงด้วย ได้แก่ ด้านโภชนาการ ที่เด็กมีภาวะขาดสารอาหารและพัฒนาการไม่สมวัยในมิติด้านสุขภาพ (health dimension) การคุ้มครองและความเป็นอยู่ในมิติด้านสวัสดิภาพเด็ก (living conditions) และสภาพที่อยู่อาศัยในมิติมาตรฐานความเป็นอยู่ [5] สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนท่ามกลางการคุ้มเข้มของกำลังทหารภายใต้การบังคับใช้กฎหมายทั้งหมด 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 กลายเป็นเครื่องมือที่ถูกใช้เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่ในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งโดยเฉพาะการควบคุมประชาชนในพื้นที่ โดยรัฐบาลมีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทั้งสามจังหวัดในทุก ๆ 3 เดือนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนั้น กลับพบปัญหาการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพต่อการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ด้าน [6] การสร้างความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหา [7] และกระทบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนในการออกไปประกอบอาชีพในยามวิกาล เช่น การกรีดยางและการประมงชายฝั่ง ในขณะเดียวกัน กลับพบสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ใบกระท่อม รองลงมา คือ ยาบ้า เข้ามาในชุมชนอย่างล้นหลาม โดยขบวนการค้ายาเสพติดในพื้นที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีอิทธิพลอื่น เช่น ค้าของหนีภาษี การพนัน และค้ามนุษย์ [8] ทำให้มีวัยรุ่นชายส่วนหนึ่งจึงกลายเป็นทั้งผู้เสพและผู้ค้า ที่พบสถิติการจับกุมดำเนินคดีส่งไปยังสถานพินิจและสถานบำบัดยาเสพติด ส่วนวัยรุ่นหญิงหลายครอบครัวต้องมีชีวิตอย่างยากลำบาก เมื่อผู้นำครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หลายคนถูกจับกุม ดำเนินดคี และถูกคุมขัง หรือบางรายอาจเสียชีวิต ทำให้วัยรุ่นอยู่ในสภาวะความพลัดพรากและความสูญเสียมีมากถึง 5,289 คน [9] บางคนไม่ได้เรียนหนังสือต่อและออกจากบ้านไปทำงาน โดยจะต้องทำทุกอย่างเพื่อมีชีวิตรอดแม้กระทั่งการขายประเวณี หรือ บางส่วนมีการแต่งงานท่ามกลางความไม่พร้อมเนื่องจากการบังคับของครอบครัว [9] ดังนั้นปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (social determinant of health) ต่อปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้นั้น มีลักษณะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่เกิดจากความสลับซับซ้อน (complexity) ของปัญหาทางสังคมด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองระดับประเทศและความสัมพันธ์ที่มีความขัดแย้งในระดับพื้นที่ โครงสร้างสังคมแบบทุนนิยม ที่นำมาซึ่งช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาความยากจน การกระจายรายได้และความเจริญที่ไม่เท่าเทียมทั่วถึง ผลกระทบต่อสุขภาวะเด็กมากมาย จากการไม่ได้รับการคุ้มครองต่อ (1) สิทธิในการอยู่รอด (2) สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (3) สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และ (4) สิทธิในการมีส่วนร่วม สิทธิเหล่านี้ บางครั้งไม่ได้ปรากฏในรายงานของรัฐและทำให้เด็กที่ได้รับผลกระทบไม่ได้รับการดูแลและเยียวยาอย่างเหมาะสม

stars
4. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก
  1. ปัจจัยนำเข้า (Input) 1.1) กลไกดำเนินงานในแต่ละระดับ ประกอบด้วย 1) คณะทำงานระดับพื้นที่จาก 5 กระทรวงหลัก 2) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) 3) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) 1.2) เครือข่ายดำเนินงานร่วม ประกอบด้วย 1) องค์กรภาครัฐ/เอกชน/สื่อท้องถิ่น 2) ภาคประชาสังคม 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) สมาคม กลุ่ม ชมรมในพื้นที่ 1.3) ทรัพยากร ทุนทางสังคม และงบประมาณของพื้นที่ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และ กองทุนหมู่บ้าน

  2. การจัดกระบวนการทำงาน (Process) ยึดโยงกันด้วยหลัก 4Cs คือ 2.1) การเชื่อมประสานระหว่างเครือข่าย (Co-ordination) ได้แก่ การประชุมหารือ ประสานแผนและข้อมูล มีข้อตกลงร่วมกัน (MOU) 2.2) การร่วมมือในการปฏิบัติงาน (Co-operation) ได้แก่ การระดมพลัง (power storming) คือ การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บนพื้นฐานขอบเขตและความรับผิดชอบของหน่วยงานตนเอง 2.3) การสานพลังทุกภาคส่วน (Collaboration) การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรในลักษณะของพันธมิตรหรือหุ้นส่วนดำเนินงาน (partners) แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ จัดทำข้อตกลง แบ่งสรรทรัพยากร (บุคคล งบประมาณ) และออกนโยบาย 2.4) การสร้างสรรค์วัตกรรมการทำงานร่วมกัน (Co-Creation)

  3. ด้านผลผลิตและผลลัพธ์การดำเนินงาน (Outcomes) คือ

1) ได้รูปแบบการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือแบบเครือข่าย: พื้นที่มีแผนงานและโครงการรองรับการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น เช่น ด้านการให้ข้อมูลเพื่อเข้าถึงสิทธิ ด้านบริการอนามัยเจริญพันธุ์ ด้านจัดระบบการส่งต่อ และด้านการติดตามคุณภาพชีวิต

2) ได้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในแต่ละระดับ (3As) คือ การกำหนดเป็นวาระเพื่อการขับเคลื่อน (Public Agenda) การสื่อสารสาธารณะ (Media Advocacy) และ การขับเคลื่อนโยบาย (Policy Advocacy)

stars
5. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแบบเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพในจังหวัดชายแดนใต้

 

0.00
2 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นภายใต้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมและวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนใต้

 

0.00
stars
6. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 318 250,500.00 16 172,462.00
15 ต.ค. 64 ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 1 5 2,500.00 0.00
15 ต.ค. 64 ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 2 6 2,500.00 0.00
22 ต.ค. 64 ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 3 6 2,500.00 0.00
29 ต.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ ครั้งที่ 1 20 20,000.00 11,911.00
29 ต.ค. 64 ประชุมทีมงานครั้งที่ 4 6 0.00 0.00
3 พ.ย. 64 ประชุมทีมพี่เลี้ยงโครงการเดิม 10 5,000.00 7,132.00
11 พ.ย. 64 ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 1 30 15,000.00 10,300.00
18 พ.ย. 64 ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 2 30 15,000.00 10,337.00
25 พ.ย. 64 ประชุมเสวนาแลกเปลี่ยน กลุ่มสสอ.และสสจ.ในประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ รอบที่ 3 25 15,000.00 7,400.00
3 ธ.ค. 64 ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอธารโต จ.ยะลา 30 30,000.00 22,635.00
8 ธ.ค. 64 ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี 25 30,000.00 17,158.00
13 ธ.ค. 64 ประชุมหารือเข้าพบสสอ.ตากใบ จ.นราธิวาส 25 30,000.00 15,426.00
16 ธ.ค. 64 ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอแม่ลาน จ.ปัตตานี 25 20,000.00 10,444.00
22 ธ.ค. 64 ประชุมหารือ สสอ.ยะรัง จ.ปัตตานี 25 3,000.00 20,557.00
29 ธ.ค. 64 ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอแว้ง จ.นราธิวาส 25 30,000.00 24,135.00
30 ธ.ค. 64 ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอกาบัง จ.ยะลา 25 30,000.00 15,027.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ได้รูปแบบการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือแบบเครือข่าย: พื้นที่มีแผนงานและโครงการรองรับการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น เช่น ด้านการให้ข้อมูลเพื่อเข้าถึงสิทธิ ด้านบริการอนามัยเจริญพันธุ์ ด้านจัดระบบการส่งต่อ และด้านการติดตามคุณภาพชีวิต

2) ได้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในแต่ละระดับ (3As) คือ การกำหนดเป็นวาระเพื่อการขับเคลื่อน (Public Agenda) การสื่อสารสาธารณะ (Media Advocacy) และ การขับเคลื่อนโยบาย (Policy Advocacy)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2564 16:28 น.