โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

ประชุมหารือเข้าพบสสอ.ตากใบ จ.นราธิวาส13 ธันวาคม 2564
13
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sulaiman
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในวันจันทร์ ที่ 13 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วัตถุประสงค์

เพื่อหารือการดำเนินงานและชี้แจงรายละเอียดโครงการ พื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน

เปิดการประชุม โดย คุณวีระโชติ รัตนกุล ตำแหน่ง สาธารณสุขอำเภอตากใบ ได้กล่าวถึงประวัติอำเภอตากใบ คำว่า “ตากใบ” ตามประวัติกล่าวว่า มีคนชื่อ ตาบา มาตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่เป็นคนแรก ต่อมามีคนมาอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น กลายเป็นหมู่บ้านซึ่งเรียกกันว่า “บ้านตาบา” อยู่ในตำบลเจ๊ะเห และได้เรียกเพี้ยนมาเป็น “ตากใบ” ต่อมาเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2452 (ร.ศ.128) ได้ประกาศกฤษฎีกายกฐานะตำบลเจ๊ะเห ตั้งเป็นอำเภอเรียกว่า “อำเภอตากใบ” ที่ตั้งและอาณาเขต

สภาพพื้นที่โดยทั่วไป : มีพื้นที่ประมาณ 253.457 ตารางกิโลเมตร หรือ 158,125 ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดนราธิวาส ห่างจากตัวจังหวัดนราธิวาสประมาณ 33 กิโลเมตร ห่างจากรุงเทพมหานคร  ประมาณ 1,500 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ จดอ่าวไทย ทิศใต้ จดอำเภอสุไหงโกลก และอำเภอสุไหงปาดี ทิศตะวันออก จดอำเภอตุมปัส รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตก จดอำเภอเมือง และอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส อาชีพหลัก : เลี้ยงโค, ค้าขาย

รายได้เฉลี่ย/คน/ปี : ประมาณ 50,000 บาท

ประชากรและหลังคาเรือน : จำนวนประชากรและลังคาเรือนเปรียบเทียบทะเบียนราษฎร์และการสำรวจแยกรายตำบล อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ปี 2565

ตำบลเจ๊ะเห มีประชากรรวมทั้งหมด 21,228 คน          มี 5,537 หลังคาเรือน ตำบลไพรวัน มีประชากรรวมทั้งหมด 9,358 คน            มี 2,026 หลังคาเรือน ตำบลพร่อน มีประชากรรวมทั้งหมด 4,484 คน            มี 1,453 หลังคาเรือน ตำบลศาลาใหม่ มีประชากรรวมทั้งหมด 10,485 คน          มี 1,913 หลังคาเรือน ตำบลบางขุนทอง มีประชากรรวมทั้งหมด 5,645 คน          มี 1,169 หลังคาเรือน ตำบลเกาะสะท้อน มีประชากรรวมทั้งหมด 10,532 คน มี 1,708 หลังคาเรือน ตำบลนานาค มีประชากรรวมทั้งหมด 4,880 คน            มี 975 หลังคาเรือน ตำบลโฆษิต ประชากรรวมทั้งหมด 7,177 คน              มี 1,373 หลังคาเรือน ชุดข้อมูล ปี 2564 ปี 2565 (ไตรมาสแรก) รพ.สต. ประชากรอายุ 15-19 ปี หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด หญิงตั้งครรภ์ 15-19 ปี ร้อยละ ประชากรอายุ 15-19 ปี หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด หญิงตั้งครรภ์ 15-19 ปี ร้อยละ 1 รพ.สต.ศาลาใหม่ 768 4 776 85 0
2 รพ.สต.โคกมือบา 307 2 316 29 2
3 รพ.สต.ตะเหลี่ยง 416 0 408 31 0
4 รพ.สต.กูบู 523 1 502 35 2
5 รพ.สต.ทรายขาว 200 1 187 8 0
6 รพ.สต.โคกยาง 269 1 255 33 0
7 รพ.สต.นานาค 362 1 355 24 0
8 รพ.สต.เกาะสะท้อน 489 2 470 32 2
9 รพ.สต.พร่อน 178 1 172 5 0
10 รพ.สต.บางขุนทอง 48 0 52 0 0
11 รพ.สต. โคกงู 388 1 360 24 1
รวม 3,948 303 14 4.62 3,853 306 7 2.28 จากตารางแสดงให้เห็นว่ารพ.สต.ศาลาใหม่  มีปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในปี 2564 มากที่สุด จำนวน 4 ราย

·    หน่วยงานในสังกัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะท้อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโคกยาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโคกงู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง สถิติข้อมูลแม่วัยรุ่น อำเภอตากใบ ปี 2564

ไม่มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์/แม่วัยรุ่น อายุ 0-14 ปี มีหญิงตั้งครรภ์ อายุ 15-19 ปี จำนวน 14 ราย ไม่มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่มีหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV ปี 2565 ไตรมาสแรก

มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์/แม่วัยรุ่น อายุ 0-14 ปี จำนวน 1 ราย มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ อายุ 15-19 ปี จำนวน 7 ราย มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 1 ราย มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV จำนวน 1 ราย อายุ 29 ปี เครือข่ายบริการด้านสุขภาพอำเภอตากใบ เน้นการให้บริการด้านอนามัยเจริญพันธ์ เช่น การฝากครรภ์/การเว้นระยะการตั้งครรภ์ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ อาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.หาดใหญ่ กล่าวแนะนำโครงการ การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

วาระการประชุมเพื่อปรึกษาหารือ

การขออนุญาตเข้าพบนายอำเภอเพื่อชี้แจงกรดำเนินงานในพื้นที่ ภาพรวมและเป้าหมายการดำเนินงานของโครงการ การนำเสนอสถานการณ์วัยรุ่นในพื้นที่ และกิจกรรมการดำเนินงานที่ผ่านมา การออกแบบการดำเนินงานเพื่อต่อยอดในพื้นที่ การนัดหมายการลงพื้นที่ในครั้งที่ 2 นำเสนอให้เห็นอำเภอนำร่องในเฟสที่ 2 อำเภอที่ยืนยันการสมัครเข้าร่วม

จังหวัดยะลา ได้แก่ กาบัง รามัน ธารโต

จังหวัดปัตตานี ได้แก่ แม่ลาน สายบุรี โคกโพธิ์ ยะหริ่ง เมือง

จังหวัดนราธิวาส ได้แก่ ยี่งอ รือเสาะ แม่ลาน บาเจาะ ตากใบ ระแงะ แว้ง

อำเภอที่รอยืนยันการสมัคร

จังหวัดยะลา ได้แก่ กรงปีนัง บันนังสตา

ปัตตานี ได้แก่ ยะรัง

นราธิวาส ได้แก่ จะแนะ

แนะนำผู้รับผิดชอบโครงการ

ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดี ฝ่ายแผนและนโยบายสาธารณะ นายแพทย์สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ประธานคณะทำงานพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพอำเภอ กระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา และประธานมูลนิธิสุขภาพภาคใต้ ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย เลขาธิการมูลนิธิสุขภาพภาคใต้ และอาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ อาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ และได้กล่าวถึงกลไกการทำงานพชอ.หรือพชต.ว่ากลไกพชอ.เป็นคณะทำงานที่มีประสิทธิภาพเนื่องจากเข้าใจและเข้าถึงปัญหาของพื้นที่

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ ได้อธิบายความหมายของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นคือ ตั้งครรภ์ < 20 ปี, มีการแต่งงานถูกต้อง /ไม่มีการแต่งงาน ,มีการคุมกำเนิด หรือไม่มีการคุมกำเนิด ต้องการบุตรและไม่ต้องการบุตร, คู่สมรสเดียว/ เปลี่ยนคู่ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตหรือการเรียนต่อ จากสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญและเป็นประเด็นหลักในการปรึกษาหารือร่วมกัน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันปัญหานี้เริ่มลดบทบาทลงเริ่มลดลง แต่หากมองด้านสถานการณ์ระดับประเทศถือว่ายังสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ จะหลุดจากระบบการศึกษา หรือบางรายอาจตั้งครรภ์แล้วกลับมาเรียนต่อ

สำหรับระดับการศึกษาสูงสุดของกลุ่มแม่วัยรุ่น

ได้แก่ มัธยม 38.8% ประถมปลาย 34.5% มัธยมปลาย 21.4% อาชีวศึกษา 2.0% ปริญญาตรีขึ้นไป 3.3% ซึ่งมีการกำหนดพรบ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นการให้สิทธิแก่วัยรุ่น อยากให้วัยรุ่นมีทางเลือกเกี่ยวกับการตัดสินใจ เช่น การตันสินใจมีแฟน มีพรบ.ให้สิทธิแก่วัยรุ่นมากมาย ในการกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง โดยมีหลายกระทรวงเข้ามารับผิดชอบ-ดูแล ให้วัยรุ่นเหล่านั้นให้ได้เข้าถึงสิทธิ ข้อมูลต่างๆ มีกฎหมายการตั้งครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ สามารถทำแท้งได้ พรบ.ตั้งครรภ์วัยรุ่น 2559 มีมาตราที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

มาตร 6 สถานศึกษา-วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง

มาตรา 7 สถานบริการ-มีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้

มาตรา 8 สถานประกอบกิจการ-ได้รับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์

มาตรา 9 สวัสดิการสังคม-ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว

มาตรา 10 อปท.-ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาค


มีการสรุปประเด็นการดำเนินงานตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของพชอ.ใน 4 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้และการวิเคราะห์พื้นที่นำร่อง เช่น พื้นที่ยะหริ่ง มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย (รีสอร์ท) วิธีการแก้ปัญหา คือ ให้กลุ่มผู้ดูแลเกี่ยวกับธุรกิจรีสอร์ทเข้ามาช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้ พื้นที่รามัน มีปัญหาของเด็กสก๊อย วิธีการแก้ปัญหา คือ มีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน รวมทั้งมีทีมชรบ.ประจำหมู่บ้านเข้ามาช่วยดูแลสอดส่องแต่ละพื้นที่มีการเตรียมการเพื่อพัฒนาให้เกิด wows คือ ให้ความสำคัญกับเพศหญิงเป็นหลัก มีพชอ.เป็นเจ้าภาพกลาง เชื่อมต่อไปยังกรมแรงงาน พม. และส่งต่อไปยังกระทรวงศึกษาธิการ

ช่วงที่ 2 สถานการณ์ในพื้นที่ องค์ประกอบของการดำเนินงานเพื่อการขับเคลื่อนในแต่ละอำเภอ ในพื้นที่มีแหล่งทุนบ้างหรือไม่ การจัดบริการที่จำเป็น เน้นเชิงรุก โดยการส่งต่อข้อมูลโดยการเก็บเป็นความลับ มีการช่วยเหลือ การดำเนินงานเชิงระบบแบบมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน โดยเน้นวัยรุ่นเป็นศูนย์กลาง เน้นพื้นฐานครอบครัวเป็นประเด็นหลัก เป็นที่พักพิงและที่พึ่งให้แก่เด็ก แลกเปลี่ยนประเด็นในแต่ละรพ.สต. รพ. สต. บ้านโคกมือบา (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พยาบาลวิชาชีพ พูดถึงเคส จำนวน 2 เคส ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ คือ เด็กจบ ป.6 และเด็กจบ ม.3 หลังคลอดเด็กไม่อยากเรียนต่อ ซึ่งจากการที่ทำงานมาพบเด็กที่มีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นเด็กที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่ง 2 เคสนี้มีฐานะทางบ้าน ระดับปานกลาง ซึ่งตัวเด็กเองมองว่าเรื่องฐานะทางบ้านไม่มีปัญหา

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนกรณีเคสนี้

เน้นการศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ควรปรับวิธีคิด หรือ Mindset เกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษาให้แก่เด็ก รพ. สต. บ้านโคกยาง (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เคสนี้มีการตั้งครรภ์ซ้ำ มีการฉีดยาคุมกำเนิด ซึ่งทางรพ.สต.ได้ทำการนัดอีก 3 เดือน นัดให้คนไข้มาฉีดยาคุมกำเนิดอีกครั้ง แต่หลังจากนั้นคนไข้ก็ไม่มาขอคำปรึกษาที่รพ.สต.อีกเลย จนกระทั่งตอนอายุ 18 ปี คนไข้ได้เข้ามาขอคำปรึกษาที่ รพ.สต.อีกครั้ง สาเหตุคือ มีการตั้งครรภ์ซ้ำและอยากให้คลอด ซึ่งทาง รพ.สต.จึงมองว่าเคสนี้ไม่เป็นปัญหา เพราะเป็นความต้องการของตัวคนไข้เอง

รพ. สต. บ้านทรายขาว (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พูดถึงเคสเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา มีจำนวน 1 เคส เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการแต่งงานอย่างถูกต้องตามหลักศาสนา แต่เป็นปัญหาตรงที่ แม่ของคนไข้ไม่อยากมีหลานเพิ่ม ซึ่งแสดงว่าตัวเองต้องรับภาระเพิ่ม จาการที่ตัวเองก็ต้องดูแลลูกสาวที่มีพิการตั้งแต่กำเนิด (เป็นพี่สาวของคนไข้รายนี้) ทำให้แม่ของคนไข้มีความกังวลว่าถ้าหลานที่เกิดมา อาจจะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ตัวเองในอนาคต เพราะฐานะทางบ้านค่อนข้างยากจน และมีปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่พร้อมสำหรับการมีหลาน

โดยทาง รพ.สต.ได้มีการลงไปเยี่ยมบ้าน และฉีดยาคุมกำเนิดให้แก่คนไข้รายนี้ รวมทั้งมีการอธิบายให้คนไข้ทราบถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต มีการฝึกเรื่องการวางแผนในชีวิต และแนะนำวิธีการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งคนไข้เป็นเด็กที่นับถือศาสนาอิสลามในพื้นที่

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนกรณีเคสนี้

พยาบาลเน้นการตั้งครรภ์ของเด็กให้มีคุณภาพ รพ.สต.นานาค (นางสาวนูรีซัน แวจิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พูดถึงเคส ปี 2564 จำนวน 1 ราย เป็นคนไข้อายุ 14 ปี ที่มีการแต่งงานอย่างถูกต้องตามหลักศาสนา ซึ่งคู่สามี-ภรรยา ต้องการที่จะมีลูกด้วยกัน ทางรพ.สต.ร่วมกับอสม.ในพื้นที่ได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะพูดคุยกับผู้ปกครองของคนไข้ โดยให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนการดูแลหลานในอนาคต

ปัญหาของผู้ปกครองในเคสนี้ คือ ตัวเองก็กำลังตั้งครรภ์อยู่ด้วย

แต่ด้านคนไข้เองกลับมีพร้อมในการตั้งครรภ์ ฝั่งสามีก็มีความพร้อมสำหรับการมีลูก

รพ. สต.โคกงู (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พูดถึงเคสที่เจอเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา เป็นคนไข้อายุ 14 ปี แต่งงานถูกต้องตามหลักศาสนา คนไข้และสามีของคนไข้ต้องการมีลูก คนไข้เป็นเด็กที่ครอบครัวมีปัญหา แม่ติดคุกทำให้ต้องอยู่บ้านคนเดียว

คุณวีระโชติ สสอ.แลกเปลี่ยนกรณีเคสนี้

สถานการณ์ส่วนใหญ่ในพื้นที่ เด็กมีความพร้อมทั้ง 2 ฝ่ายทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง คลอดแล้วต้องรู้จักวางแผนครอบครัวต่อไป พรบ.มีตัวชี้วัด เป็นประเด็นปัญหาพร้อมท้องและพร้อมแต่งงาน ในพื้นที่สามจังหวัด เป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรม มีการแต่งงานถูกต้องตามบริบทของพื้นที่ จึงมองเหมือนไม่เป็นปัญหา เพราะเป็นเรื่องทั่วไป แต่ก็ควรมีการวางแผนให้แก่เด็กซึ่งจะเป็นการดี ด้านกระทรวงสาธารณสุขเองก็เข้าใจสภาพพื้นที่ ผู้ชายในพื้นที่อำเภอตากใบ ส่วนใหญ่จะไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย เพราะต้องการมีงานทำ ถึงแม้อายุยังน้อย ก็สามารถทำงานได้ และมาเลเซียก็มีชายแดนติดกัน การเดินทางจึงสะดวก ทำให้คู่สามีภรรยาไม่ค่อยมีเวลาอยู่ด้วยกัน เป็นเหตุให้บางรายสามารถเว้นระยะการตั้งครรภ์ได้ จังหวัดที่มีความยากจนซ้ำซาก เช่น จังหวัดนราธิวาส จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยปัญหาหลักๆ ของความยากจนซ้ำซาก คือ ส่วนใหญ่ไม่มีการศึกษา ท้องก่อนวัยอันควรและไม่ฉีดวัคซีน หากต้องการที่จะแก้ปัญหาความยากจน ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ได้ก่อน เพราะเป็นปัญหาสำคัญของความยากจนซ้ำซาก


รพ. สต. บ้านตะเหลี่ยง (นางตัชนีม กะสูเมาะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พูดถึงเคสคนไข้ ป.6 ซึ่งคนไข้มีเพศสัมพันธ์กันในห้องน้ำ พ่อแม่พร้อมสนับสนุนการตั้งครรภ์ คนไข้มีการแต่งงานถูกต้องตามหลักศาสนาในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ได้ 5 เดือน ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคนไข้ คือ ไม่ได้เรียนหนังสือต่อ เด็กไม่มีการศึกษาและไม่มีงานทำ

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนกรณีเคสนี้

ยกตัวอย่างพื้นที่บาเจาะ ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาเด็กหย่าร้างมากที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ทำให้มีจำนวนแม่เลี้ยงเดี่ยวมากขึ้นตามลำดับ แนวทางแก้ปัญหา คือ มีท่านนายอำเภอที่เข้มแข็งเข้ามาช่วยส่งเสริมการสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง ให้เด็กมีความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในอนาคต

รพ. สต. เกาะสะท้อน (นางสุนิฑา อาแว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) คนในพื้นที่นี้ยึดหลักศาสนา ที่ว่าทุกอย่างพระเจ้ากำหนดมาแล้ว ให้อยู่หรือตาย ทำให้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กไม่ต้องการฉีดวัคซีนอะไรทั้งสิ้น เคสที่เจอเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เป็นคนไข้ ป.6 แต่เรียนต่อจนจบ ม.3 จากโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม หรือ ปอเนาะ หลังจากนั้นก็ไม่ได้เรียนหนังสือต่อ เมื่อรพ.สต.มีการลงพื้นที่พร้อมกับ อสม. ได้สอบถามคนไข้ พบว่า คนไข้พอใจในสิ่งที่เขามีอยู่ พอใจในการใช้ชีวิต จึงมองว่าปัญหาที่เขาเจอ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต

รพ. สต. บ้านกูบู (นางอุทัยพร นาวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พูดถึงเคสคนไข้อายุ 14 ปี และสามีของคนไข้ อายุ 19 ปี มาขอคำปรึกษาปัญหาที่รพ.สต. ซึ่งทางรพ.สต.เองก็ให้คำแนะนำเรื่องการฉีดยาคุมกำเนิด แนะนำให้คนไข้ไปเรียนต่อ โดยทางรพ.สต.และอบต.ในปีที่ผ่านมามีการปรึกษาหารือร่วมกันโดยการจัดกิจกรรม ให้ความรู้เด็กนักเรียนทุกโรงเรียน ให้ความรู้เรื่องยาคุมกำเนิด ให้ความรู้ถึงผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ในวัยเรียน

รพ. สต.บางขุนทอง (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) พูดถึงกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ เว้นช่วงการมีบุตร ปัญหาการไม่พร้อมท้อง อาจเกิดจากปัญหาด้านเศรษฐกิจหรือปัจจัยอื่นๆ

รพ. สต.ศาลาใหม่ (นางสาวนูรมา แวฮาม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) เคสของเด็กผู้ชายซึ่งเป็นสามี เป็นคนศาลาใหม่ และเด็กผู้หญิง คือ คนไข้ มีอายุ 14 ปี เป็นคนพื้นที่อื่น เข้ามาฝากครรภ์กับทางรพ.สต.ศาลาใหม่ ไม่มีการศึกษาต่อ หลังจากนั้นก็ได้ย้ายตัวเองไปอยู่กับสามี ทางรพ.สต.จึงแนะนำให้เด็กฉีดยาคุมกำนิด และวางแผนครอบครัวในอนาคต

โดยทางรพ.สต.เคยมีการจัดกิจกรรม การวางแผนครอบครัวให้แก่เด็ก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ปี 2563 ที่ผ่านมา มีการสอนการวางแผนครอบครัว และกิจกรรมมากมายให้แก่วัยรุ่นในพื้นที่

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนกรณีเคสนี้

3 จังหวัดชายแดนใต้มีปัญหาความดันมากที่สุด และเป็นปัญหาระยะยาว

คุณอิลฟาน ตอแลมา แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

กลไกกระบวนการแม่วัยรุ่น มีอสม.หรืออส.เข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ ยังไม่เห็นการเข้าร่วมของ พชอ. จากการฟังประเด็นจากผู้ร่วมประชุม พบว่า รพ.สต.ส่วนใหญ่เน้นการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นหลัก อยากทราบกระบวนการอื่นๆ มีบ้างหรือไม่ เช่น มีทีมดูแลเด็ก, พชอ., การดูแลแม่วัยรุ่นที่มีภาวะเสี่ยง, พม. โรงเรียนหรือกศน. เข้ามาร่วมกระบวนการหรือเข้ามาช่วยผลักดันหรือไม่ อยากจะทราบความหมายของคำว่าพร้อม (ความพร้อมของใคร เช่น ตัวเด็กเองหรือความพร้อมของผู้ปกครอง) ความหมาย ความพร้อมของเขาคืออะไร เช่น ฐานะการศึกษา, รายได้, การประกอบอาชีพ เช่น อายุน้อยไม่ค่อยมีการจ้างงาน โอกาสในอนาคต พ่อแม่ผู้ปกครองคิดยังไง ความคิดตรงกับคำพูดของตัวเองยังไง อยากเป็นกระบอกเสียงอย่างเป็นรูปธรรม ให้ ม.อ. เข้ามาช่วย ถ่ายทอดสารคดียังไง มีการจัดทำสื่อเกี่ยวกับแนวคิดการแต่งงานที่มีอายุน้อย เด็กมีความพร้อมหรือไม่ พร้อมยังไง มาดูแนวคิดกันอีกที คุณวีระโชติ รัตนกุล ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็น

สำหรับประเด็นหลักในพื้นที่ที่มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง คือ

ดูแลผู้ด้อยโอกาส เป็นประเด็นเด่น ประเด็นหลัก การดูแลผู้พิการ การจัดการเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ดูแลศาสนสถาน ปี 2564 มีการเน้นลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะจังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดที่มีอุบัติเหตุสูงสุ สำหรับประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่นำมาร่วมพูดคุยกันในวันนี้ เป็นประเด็นที่ดี และเป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะพื้นที่ตากใบมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง น่าจะขับเคลื่อนได้ไม่ยาก คุณมยุนัน ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็น

มีเครือข่ายเด็กและเยาวชน ประเด็นที่ร่วมหารือกัน ยังไม่เห็นภาพของผู้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในเขตเทศบาล ได้เห็นถึงปัญหาของอำเภอตากใบ เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่อายุไม่ถึง 18 ปี คลอดเด็กออกแล้วมีการตั้งครรภ์ใหม่ เหมือนเป็นการประชดชีวิต ซึ่งผู้ที่ได้รับภาระมากที่สุด คือ ปู่ย่า ตายาย ของเด็กในอนาคต ซึ่งมองว่าเป็นการผลักภาระให้แก่ผู้อื่น ประเด็นที่ต้องหาทางออกร่วมกัน คือ ให้พื้นหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาดูแลสอดส่อง ซึ่งมีวิธีการอะไรบ้าง มีเครื่องมือเข้ามาสนับสนุนให้มีทิศทางสู่ทางที่ดีขึ้นอย่างไรบ้าง คุณอิลฟาน ตอแลมา แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

เสนอนวัตกรรมใหม่ ทำตามบริบท เปิดโอกาสให้เด็กวัยรุ่นได้เรียนต่อ ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่เด็กกลุ่มนี้ เน้นการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ เช่น เน้นส่งเสริมความอบอุ่นในครอบครัว ลดภาวะเสี่ยง สามารถตอบตัวชี้วัดของกระทรวงได้ คุณอานัติ หวังกุหลำ แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

ให้มองประเด็นเชิงบวกที่มีอยู่ในพื้นที่มากกว่า เช่น การวางแผนครอบครัว ควรจัดเป็นรูปแบบอย่างไรต่อไปให้เป็นปัจจัยวัยรุ่นเป็นครอบครัวที่มีคุณภาพ คุณอิลฟาน ตอแลมา เสริมประเด็นนี้

ทีมจะมีการพัฒนา หากได้เข้าร่วมโครงการ มีการอบรม โดยการให้ความรู้ เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับความพร้อมในการตั้งครรภ์ รวมทั้งการทำแผนต่างๆ ต่อไป สรุปวาระการประชุม check-out รพ.สต.ทั้งหมด ต้องการที่จะลุยต่อ สู้ต่อไปเพื่อพัฒนาพื้นที่ของตนเองให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

รพ.สต. โคกงู

มีทีมภาคีที่เข้มแข็ง มีอบต.ที่เข้มแข็ง คิดในกรอบ รพ.สต.กูบู

การประชุมวันนี้ ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน และได้เห็นบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ รพ.สต.พร่อน

มีการปรึกษาร่วมกับทีมงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นกับทางโรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี รพ.สต.ศาลาใหม่

มีความพร้อมในการร่วมมือต่อไป รพ.สต.บางขุนทอง

ไม่มีปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อยากทำงานแนวนี้มานานแล้ว เป็นเรื่องที่ดีน่าสนใจ ในการช่วยเหลือแก้ปัญหาต่อไปในอนาคต รพ.สต.เกาะสะท้อน

เน้นความร่วมมือที่เข้มแข็ง ร่วมคิด ร่วมทำและสู้ต่อไป รพ. สต. บ้านนานาค

การประชุมวันนี้ ได้ร่วมรับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พร้อมที่จะทำต่อไป เพื่อลดปัญหาต่อไปในอนาคต งานอนามัยแม่และเด็ก สสอ.

พร้อมเดิน พร้อมสู้ต่อ ได้รับการประสานงานกับสจรส. ม.อ. รพ.สต.มีการขับเคลื่อนงานร่วมกับพชอ.อยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสในการพัฒนาต่อไป งานวิชาการ งานวัยรุ่น ทำด้วยกันรวมกับการขับเคลื่อน เพื่อเติมเต็มงานวิจัยร่วมกับม.อ.ต่อไป ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนประเด็นก่อนปิดการประชุม ได้เห็นถึง mindset ของผุ้เข้าร่วมประชุมในพื้นที่ คนที่นับถือศาสนาอิสลามได้รับผลบุญ ในการเติมเต็ม ผลักดันคุณภาพชีวิตต่อไป ส่งเสริมแม่ที่มีความรู้ เพราะแม่ที่มีความรู้กับแม่ที่ไม่มีความรู้ จะเลี้ยงลูกออกมาคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน ปิดประชุม โดยคุณวีระโชติ รัตนกุล สาธารณสุขอำเภอตากใบ เวลา19 น. ขอบคุณที่ให้โอกาสชาวตากใบ ขอบคุณอาจารย์ ทีมงาน และผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ทุกคน อยากเข้าร่วมกิจกรรมดีๆ แบบนี้ต่อไป มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนต่อไป แม้ว่าจะเป็นเรื่องเก่าแต่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญซึ่งต้องนำมาจัดการใหม่ ม.อ.+สสอ.ตากใบ พร้อมขับเคลื่อนร่วมกัน+ภาคีภาคสนาม จะประสานงานและร่วมมือช่วยกันสนับสนุนการขับเคลื่อน ร่วมแลกเปลี่ยนประชุมกันอีกครั้ง ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยด้วยครับ หวังว่าจะมีโอกาสดีๆ เช่นนี้ต่อไปในอนาคต (ขอบคุณครับ)