โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอกาบัง จ.ยะลา30 ธันวาคม 2564
30
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sulaiman
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ในวันพฤหัสบดี ที่ 30 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แลกเปลี่ยนข้อมูล จากผู้รับผิดชอบ สสอ.กาบัง

กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของอำเภอกาบัง คำว่า “ กาบัง ” หรือ กาแบ เป็นภาษามลายูพื้นเมืองของปักษ์ใต้ เป็นคำเรียกพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง เป็นต้นไม้ตระกูลเดียวกันกับเงาะ อำเภอกาบัง ได้จัดตั้งขึ้นตามพรก. เดิมอยู่ในเขตของอำเภอยะหา แยกออกมาเป็นกิ่งอำเภอกาบัง วันที่ 1 เมษายน 2534 จัดตั้งเป็นอำเภอ ในปี พ.ศ. 2540

คำขวัญของอำเภอ คือ แหล่งต้นน้ำใหญ่ ชื่นใจธรรมชาติ ไม้กวาดดอกหญ้า จำปาดะพันธุ์ดี

อำเภอกาบัง ระยะทางห่างจากจังหวัดยะลา 40 กม. ติดต่อกับตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลาและอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ติดต่อกับรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ติดต่อกับตำบลบาโร๊ะ ตำบลปะแต

ลักษณะภูมิประเทศ อำเภอกาบังมีภูมิประเทศ

เป็นป่าเนินเขาสูง มีภูเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบเพียงส่วนน้อยอยู่บริเวณตอนเหนือ ทิศใต้มีลักษณะเป็นภูเขาสูงเป็นพื้นที่ลักษณะป่าดิบชื้น แนวชายแดนไทย – มาเลเซีย มีลำคลองและลำธารไหลผ่านหลายสาย ข้อมูลพื้นฐานประชากร รวม 22,769  คน แบ่งเป็น ชาย 11,865 คน หญิง 10,904 คน

0-14 ปี  =  29 % 15-59 ปี  =  15  % 60 ปี ขึ้นไป  =  55  % ศาสนา

อิสลาม 88 % พุทธ 12 % การปกครอง

2 ตำบล 19  หมู่บ้าน ทรัพยากรสาธารณสุข

รพช 1 แห่ง สสอ. 1  แห่ง  รพสต. 4 แห่ง ศสมช. 10 แห่ง ศพด 5  แห่ง สถานบริการสาธารณสุขในเครือข่ายอำเภอกาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

รพ.สต.ลูโบ๊ะปันยัง

สาธารณสุขอำเภอกาบัง

รพ.สต.คลองน้ำใส

รพ.สต.บาละ

รพ.สต.บันนังดามา

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพ.ศ. 2559 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 31 มีนาคม 2559 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2559

สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อ.กาบัง จ.ยะลา

ประชากรวัยรุ่น 10 – 19 ปี อำเภอกาบัง ปี 2564

วัยรุ่นหญิง 2,218 คน (9.4 %)

วัยรุ่นชาย 2,269 คน (9.6 %)

วัยรุ่น อายุ 10 – 19 ปี 4,487 คน (19.0 %)

การคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 – 14 ปี

ปี 2564 ต.กาบัง คลอดมีชีพ 2 คน

การคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 – 19 ปี

2564 : คลอดมีชีพ 31 คน ต.กาบัง19 คน และต.บาละ 12 คน

การตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี

2564 : ท้องซ้ำ 5 คน ท้องซ้ำทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ ต.กาบัง

การวางแผนครอบครัวในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่เคยตั้งครรภ์

2564 : มีวางแผนครอบครัว 2 คน (เป้าหมาย 34 คน) ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ ต.กาบัง

ข้อมูลผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (HIV) ปีงบประมาณ 2558 – 2565

ปี 2561 มีจำนวน 24 คน

ปี 2562 มีจำนวน 20 คน

ปี 2563 มีจำนวน 23 คน

ปี 2564  มีจำนวน 22 คน

ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน

มีคลินิกวัยรุ่นในรพ.กาบัง มีช่องทางรับบริการภายนอก เช่น call center 1663 มีการรณรงค์เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่อเนื่อง คำสั่งคณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับอำเภอ (คำสั่งจังหวัดยะลา 1926/2562 ลว 24 เม.ย. 2562) อบต.บาละ เป็นแหล่งเรียนรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ตั้งแต่ปี 2563 การใช้บริการสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์ (การฝากครรภ์)

เปิดให้บริการคลินิกฝากครรภ์รายใหม่ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์ รายเก่าทุกวันอังคารของสัปดาห์ เน้นย้ำการมาฝากครรภ์ตามนัด/ ลงติดตามเยี่ยมบ้านโดยนสค.อสม. ดูแลประจำหมู่บ้าน ในกรณีคนไข้ไม่มาตามนัด จะมีการโทรตามให้มาฝากครรภ์ในสัปดาห์ถัดไป มีการให้เบอร์โทรศัพท์เจ้าหน้าที่ให้กับคนไข้เพื่อสะดวกในการประสานงาน การใช้บริการสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์ (การเว้นระยะการตั้งครรภ์)

เปิดให้บริการคลินิกวางแผนครอบครัวทุกวันพฤหัสของสัปดาห์ ในกรณีคนไข้ไม่มาตามนัด จะมีการโทรตามให้มาฝากครรภ์ในสัปดาห์ถัดไป มีการให้เบอร์โทรศัพท์เจ้าหน้าที่ให้กับคนไข้เพื่อสะดวกในการประสานงาน การให้บริการคลินิก มีมุมเฉพาะ การให้บริการเป็นการส่วนตัวสำหรับให้คำปรึกษาแก่คนไข้โดยเฉพาะ ในปี 2563 จังหวัดยะลา อันดับที่ 1 ของประเทศ ติดเชื้อมาลาเรีย และปี 2563 เป็นอันดับที่ 4 นายอำเภอ

อำเภอกาบังมี 2 ตำบล และในพื้นที่มีปัญหา จะเป็นเรื่องรายได้ มีหลายส่วนขาดรายได้ มีปัญหา

เกี่ยวกับโควิด มีปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. ประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นปัญหาของเด็กในช่วงอายุ 10-14 ปี และ 15-19 ปี การดำเนินงานควรให้ความช่วยเหลือ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ

ผู้รับผิดชอบคลินิกวัยรุ่น เปิดบริการในทุกวันพุธ กรณีเร่งด่วนสามารถมาได้ทุกวัน

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. ยกตัวอย่างเคส การให้บริการของพื้นที่อื่น เช่น นัดมาปรึกษานอกสถานที่ เช่น ร้านกาแฟ เพื่อความสบายใจของตัวเด็กและลดการตีตราจากสังคม

เคสตัวอย่าง อำเภอแว้ง คนไข้ใช้วิธีปรึกษากับอสม.ในพื้นที่ และกรณีเด็กมาที่ รพ.สต. จะให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำ พื้นที่อำเภอกาบังนี้มีหลายโครงการที่ดีและน่าสนใจ เช่น โครงการเยี่ยมบ้าน การเว้นระยะการตั้งครรภ์ หากมองเรื่องหลักศาสนา ให้มีการเว้นระยะการตั้งครรภ์ ทำให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพ จะอาศัยผู้นำศาสนารวมถึงปราชญ์ชาวบ้านและมีทีมชรบ. เข้ามาร่วมด้วยกับคนในพื้นที่ด้วย

ยกตัวอย่างเคสของพื้นที่ตากใบ มีการตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เด็กขาดโอกาสในการศึกษาต่อ เนื่องจากสภาพโรงเรียนไม่รองรับ ทำให้วงจรชีวิตด้านการศึกษาหายไป โดยโครงการของเราที่จะเข้ามาขับเคลื่อนและส่งเสริมรวมทั้งสร้างโอกาสในการใช้ชีวิตของเด็กให้มากขึ้น ให้เด็กมีทางเลือกในการศึกษา เช่น กศน. และจะใช้หลักการศาสนาเข้ามาส่งเสริม เช่น ให้เห็นโทษการทำซีนา การผิดประเวณี การดำเนินงานของโครงการต้องควบคู่หลักจริยธรรมมุ่งเน้นศาสนามาเป็นทางนำในการดำเนินชีวิต และเน้น ice brung model

ผู้รับผิดชอบคลินิกวัยรุ่น เด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กจากโรงเรียนกาบังพิทยาคม ซึ่งเด็กอิสลามส่วนใหญ่จะท้องมากกว่าเด็กไทยพุทธ เพราะเด็กไทยพุทธมีความกล้าที่จะป้องกัน ทำให้เด็กไทยพุทธไม่มีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแต่จะมีกับเด็กอิสลามมากกว่า ส่วนตำบลบาละ ไม่มีเด็กนอก ในขณะที่ตำบลกาบัง มีเด็กจากพื้นที่อื่นเข้ามา เช่น จากอำเภอยะหา

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. แนะนำให้เห็นถึงปัญหา มีผู้นำศาสนาเข้ามาป้องกันการซีนา แนะนำวิธีการแก้ปัญหาให้แก่บุตรหลาน โดยการชวนคิด ชวนคุย หาวิธีการในการแก้ปัญหาร่วมกัน ทำให้เห็นข้อมูลเพื่อป้องกันการซีนาในพื้นที่อย่างตรงจุด มองว่าการทำงานตรงนี้เป็นอามานะฮให้แก่คนในตำบลและอำเภอรวมถึงระดับประเทศต่อไป โดยส่วนใหญ่สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นหลักๆก็คือ เด็กเข้าถึงมือถือได้ง่าย ในขณะที่พ่อแม่ต้องทำมาหากิน และเด็กเสพสื่ออย่างขาดวิจารณญาณ

นายอำเภอ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในกลุ่มชุมชนหมู่บ้านที่เป็นมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ บางเคส เช่น โรงเรียนปอเนาะ เด็กที่แต่งงานแล้วก็สามารถกลับไปเรียนต่อได้ จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นร่วมกันข้างต้นทำให้เห็นถึงปัญหาและหากระบวนการในการแก้ไขปัญหา  โดยใช้ผู้นำศาสนา เช่น โต๊ะอีหม่าม หรือจะต้องหาพื้นที่ที่มีสภาพเดียวกัน เพื่อหาแนวร่วมแลกเปลี่ยนต่อไป ต้องให้โอกาสแก่เด็กที่ผิดพลาด คือ เมื่อคลอดเสร็จ ก็สามารถที่จะกลับไปเรียนต่อได้ ซึ่งในปัจจุบันโอกาสที่จะตัวเด็กเองจะเรียนต่อค่อนข้างน้อย

สสอ.กาบัง ให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาแนวทาง หาช่องว่างที่มีปัญหา จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หาใครบ้างมาร่วมแลกเปลี่ยน อาจใช้หลักการศาสนาเข้ามาร่วมดูแลให้วัยรุ่น ชุมชนให้ทราบให้เห็นถึงโทษของการซีนา เช่น ให้บาบอมาให้ความรู้แก่กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มที่เกี่ยวข้องร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา เช่น การเว้นช่วงการตั้งครรภ์ การซีนาหรือการผิดประเวณี ซึ่งพื้นที่อำเภอกาบังจะมีมุสลิมประมาณ 80% และพุทธ 20%

ผอ. กศน. สถานศึกษาในปัจจุบัน มีกฎหมายมารองรับสำหรับนักเรียนที่ท้องแล้วให้สามารถกลับมาเรียนได้

ยกตัวอย่างเคส นักเรียนกำลังตั้งครรภ์และกำลังเรียนไปด้วย มีปัญหาการตีตราจากสังคม นักเรียนก็จะหยุดพักการเรียนไปเอง

บางเคส อายุไม่ถึง 15 ปี เด็กมาสมัครเรียนก็ต้องรับ

กศน มีเด็กออกจากระบบเยอะมาก เพาะเด็กที่ตั้งครรรภ์ไม่พึงประสงค์ในปัจจุบันมีเยอะมาก

ในอดีตกศน เป็นการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ ในปัจจุบันมีสื่อสังคมมออนไลน์เข้ามามีบทบาทต่อกลุ่มเหล่านี้ออย่างมาก ราต้องหาแนวทางออกร่วมกับหลายฝ่าย

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. ในปัจจุบันที่ผ่านมาโครงการเน้นผู้ใหญ่ทำงานเพื่อเด็ก และไม่ได้ถามว่าเด็กต้องการอะไร แต่บางพื้นที่มีเครือข่ายเด็กด้วยกันมาร่วมกัน เช่น เครือข่ายฐานครอบครัว เศรษฐกิจ และมีเครือข่ายจิตอาสา

ยกตัวอย่างเคส รพ.สต. ตาแกะ มีผู้นำศาสนา เข้ามาดูแลเด็ก ในการช่วยเหลือบำบัดแก่เด็กผู้ชายและ

กลุ่มเด็กผู้หญิง จะมีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง สามารถสร้างรายได้ให้แก่ตัวเองและครอบครัวได้

ยกตัวอย่างเคส โกตาบารู มีเด็กแว้นและสก๊อย ใช้กลไกชรบ. +ชรต. ให้ช่วยกันตักเตือนและร่วมกันหา      สาเหตุของปัญหา เพื่อมาช่วยกันแก้ไขปัญหาโดยให้ผู้ปกครองช่วยกันดูแลเด็กและดูแลลูกหลานบ้าน      ใกล้เคียง

เคส ยะหริ่ง เป็นย่านรีสอร์ท การแก้ปัญหา ให้เจ้าของรีสอร์ทออกมาตรการร่วมหากไม่ใช่คู่สามีภรรยาจะไม่อนุญาตให้เข้าพัก

เคส เมืองปัตตานี มีสถานที่เที่ยวและห้องพัก เป็นย่านเมือง จะมีชรบ.เข้าดูแลเด็กและวัยรุ่นกลุ่มนี้

เคส บาเจาะ นราธิวาส อยากแก้ปัญหาเนื่องจากมีปัญหาการหย่าร้างสูง นายอำเภออยากแก้ปัญหาจึงจัดทำโครงการนิกะฮ์โมเดล โดยจุฬาราชมนตรีอนุมัติการนิกะฮ์เด็กต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี ทำให้อิหม่ามหลายพื้นที่ มีการพูดคุยกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ว่าต้องมีช่วงการนิกะฮ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักศาสนาอิสลาม ควรระมัดระวังเรื่องการจับแต่งงาน เช่น เด็กแค่เป็นแฟนกัน พ่อแม่กลัวเลยเถิด จึงจำเป็นต้องจับเด็กแต่งงาน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการ ซึ่งบางครั้งอาจไม่ใช้เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องเสมอไป โดยหลักการแก้ปัญหาอีกทางหนึ่ง คือ ให้อีหม่ามเข้ามานาซีฮัต ตักเตือนร่วมกันทั้งสองฝ่ายร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง สำหรับระยะเวลาในการขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 18 เดือน มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน โดยใช้เครือข่าย พชอ. เข้ามาขับเคลื่อนทางพื้นที่ว่าหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วผลลัพธ์จะดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร

กำนัน ต.กาบัง ยกตัวอย่างเคส ชุมชนรามัน หญิงรักหญิง เพศทางเลือก (LGBT) มาร่วมกันแลกเปลี่ยนและหาร่วมกัน      ในวงประชุมเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา เช่น มีการเชิญโต๊ะอีหม่าม โดยการให้ความรู้หรือคุบตะห์ในทุก  ละหมาดวันศุกร์

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. แลกเปลี่ยนประเด็นนี้ กลุ่ม LGBT เคสกรณีเคยเจอ แต่มีวิธีการแก้ปัญหามีกลุ่มลูกเหรียงเข้ามาดูแลกรณีเคสนี้ หน้าที่คือ ให้      กลับไปสู่หลักศาสนา ใช้หลักศาสนาเป็นทางนำ เช่น ให้ความรู้ว่าเพศหญิงแท้คืออะไร ให้เด็กมีเวลาคิด        ทบทวน ปรับตัว และหาทางออกให้กับชีวิตต่อไป

การแก้ปัญหาควรแก้จากทุกภาคส่วน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทิ้งไม่ทอดทิ้งเด็กหรือวัยรุ่นกลุ่มนี้ ซึ่งการ    แก้ไขปัญหาควรขับเคลื่อนหลายๆ ฝ่ายไปพร้อมๆ กัน

นายอำเภอ ส่งเสริมการทำฮาลาเกาะฮฺระหว่างกลุ่มผู้ชายกับผู้ชาย และกลุ่มผู้หญิงกับผู้หญิง อาจมีการจัดทำ แคมป์หรือค่ายพักแรมให้กลุ่มเยาวชน 1 ตำบลจะมี 1 กลุ่มหรือ 2 กลุ่มที่เป็นกลุ่มพหุวัฒนธรรม        มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน หากเป็นอิสลามจะเน้นผู้นำศาสนามาให้ความรู้ จัดการกับนัฟซู      หรืออารมณ์ใฝ่ต่ำในตัว

และปัญหาการสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันเร็วมาก เช่น เด็กเจนแอลฟาต่อไปจะเรียนรู้ได้เร็วมาก เป็น      ปัญหาและจะส่งผลกระทบต่อเด็กในอนาคต หากเด็กเหล่านี้ขาดทักษะการใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน อาจตก      เป็นเครื่องมือของการใช้สื่อออนไลน์ได้โดยง่าย

อสม. และสภาเด็ก ที่ผ่านมามีการจัดกิจกรรมให้แก่เด็ก ซึ่งมองว่าทางกลุ่มเป็นกลุ่มที่สำคัญในการขับเคลื่อนโดยที่มี  เครือข่ายสภาเด็กเข้ามาร่วมด้วย เช่น นักเรียนจากโรงเรียนกาบังพิทยาคม เด็กกลุ่มนี้สามารถเข้ามา ช่วยขับเคลื่อนได้ และได้เห็นแนวทางจากที่อาจารย์ซอฟียะห์แนะนำ

พยาบาล รพ.สต. จาการลงพื้นที่ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเจอปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาเกิดจากเด็กจากพื้นที่      อื่นเข้ามาในพื้นที่ พ่อแม่ไม่ได้อบรมสั่งสอนเด็กได้อย่างทั่วถึง เพราะพ่อแม่ต้องไปกีดยางตั้งแต่ย่ำรุ่หรือ        เช้ามืดและกลับมาตอนบ่ายโมงหรือบ่ายสองโมง และปัญหาที่ตามมาเมื่อเด็กตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์          ก็คือ เด็กไม่ได้เรียนต่อ ปัญหาส่วนใหญ่ก็จะตกไปอยู่ที่สาธารณสุข

อาจารย์ซอฟียะห์ แนะนำการแก้ปัญหาเคสนี้ เช่นให้พ่อแม่หรือครอบครัวบริเวณใกล้เคียงมีการสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนการดูแลเด็กๆ ในแต่ละ          หลังคาเรือน เมื่อตอนที่ตัวเองไปกรีดยาง เด็กต้องอยู่บ้านคนเดียว เพื่อนบ้านอาจจะช่วยสอดส่องดูแล เป็นหูเป็นตาให้แก่กันและกัน วิธีนี้อาจเป็นฐานในการแก้ไขปัญหา สิ่งแรกที่จะได้หากมีการป้องกันการ      ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ด้วยวิธีนี้ คือ ให้ความเข้มแข็ง มีทักษะในการใช้ชีวิต เช่น ทักษะการป้องกันตัว รู้จักหรือกล้าที่จะปฏิเสธ มีครอบครัวระบบครัวเรือนเข้ามาผลัดกันดูแลเด็ก จะได้เห็นถึงปัญหาของ        เด็กแต่ละคน จากนั้นจึงร่วมกันหาทางในการแก้ไขปัญหา ได้ทราบระบบสาธารณสุข ได้เห็นปัญหา          และหาทางแก้ไขปัญหาในเชิงรุกต่อไป จากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยจึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ควรมีมาตรการชุมชน เช่น บทบาทของผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นโจทย์ให้คิด            ต่อไปว่าจะร่วมคิด ร่วมทำในหารแก้ปัญหาได้อย่างไร ซึ่งรากเหง้าของปัญหาก็คือ ปากท้อง แล้วจะ  เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น มีการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น เพราะปัญหาหลักๆ ล้วนมาจากด้าน        เศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี เด็กไม่ได้ศึกษาต่อ เป็นวงจรที่วนเวียนไปมา

คุณอิลฟาน ตอแลมา แลกเปลี่ยนประเด็นนี้ จากการแลกเปลี่ยนประเด็นจากหลายฝ่ายข้างต้น พบว่าข้อมูลของกาบังเป็นที่น่าสนใจ มีกระบวนการของโครงการ ทางทีมจะเข้ามาช่วยสนับสนุนหนุนเสริมทีมร่วมกับพชอ. ในการแก้ปัญหาในพื้นที่ มีกระบวนการและเครือข่ายพร้อมข้อมูลในการจัดการ คือ โมดูล ดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน โดยขั้นแรกจะมีการอบรมให้ข้อมูลแก่ตัวแทน อบต.ในพื้นที่และบุคคลทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และจะนำข้อมูลที่ได้ไปแก้ปัญหาให้กับชุมชนเพื่อหาแนวทาง เช่น สมาคมจันทร์เสี้ยวเข้ามาร่วมด้วย ทางทีมจะเข้าช่วยในการปรับ mindset ใหม่ มีการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยี มาเป็นตัวผลักดัน มีการจัดทำสื่อหรือสกู๊บข่าว เพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจของพื้นที่กาบังให้คนภายนอกได้รับทราบ ซึ่งทีมแกนหลักที่สำคัญของพื้นที่จังหวัดยะลา คือ คุณอิสมาแอล สิเดะ

คุณอานัติ หวังกุหลำ มีการสรุปประเด็นและขั้นตอนการดำเนินงานหลังจากนี้ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้สามารถนำมาเป็น แนวทาง กลไกและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

นายอำเภอ จะใช้ทีมพชอ.ในการขับเคลื่นงาน โดยการเตรียมตัว เตรียมคน ชุมชน การบริหาร เครื่องมือ โดยใช้          หลักกา 4 Ms และเลือกพื้นที่และแนวทางในการจัดกระบวนการว่าควรใช้แนวทางไหน เช่น เยาวชนที่    พร้อม กาบัง ลิบงบ เพราะมีประชากรเยอะ พื้นที่ก็จะมีปัญหาเยอะตามา อาจมีทีมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน        เข้ามาร่วมด้วยโดยตรง ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพื่อให้ได้ output หรือ outcome เป็นตัวชี้วัดที่          จับต้องได้ ให้มีผลสัมฤทธิ์และสถิติลดลง โดยใช้องค์ความรู้เรื่องการซีนา โดยการนัดบรรยายธรรม      ให้แก่เด็กหรือเยาวชนกลุ่มนี้ สอนวัยรุ่นให้ทำอากีเกาะฮ ทั้งเรื่องการสอนศาสนา การออกกำลังกาย        เรื่องเพศและเรื่องอื่นๆ มีแนวทางที่จับต้องได้เข้ามาตอบโจทย์ให้แก่คนในพื้นที่ โดยการวางระบบ    ระเบียบและจัดกระบวนการต่อไป

สสอ.กาบัง ต้องขอบคุณทางทีมทุกท่านที่เข้ามาร่วมขับเคลื่อน เพราะกาบังคือครอบครัว กาบังมีคนน้อย สามารถ      เข้าถึงทุกพื้นที่ และทุกครอบครัว วันนี้ได้เห็นถึงปัญหาและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

สสอ.จะร่วมขับเคลื่อนต่อไป โดยใช้จุดแข็งของนายอำเภอที่มีการวางบริการของสสอ. ไว้แล้ว มี  เครือข่ายอะไรบ้าง เช่น กลุ่มเยาวชนหรือสภาเด็ก แล้วนำมาขยายต่อยอด ร่วมกันหาแนวทางต่อไป

หลังจากนี้จะเริ่มขับเคลื่อนอย่างไร ไปในทิศทางไหน ร่วมกันหาแนวทางป้องกัน จัดการความรู้ต่อไป        ร่วมกับผู้ปกครอง ตัวเด็กเองและบุคคลรอบข้าง เป้าหมายเพื่อให้ใช้ชีวิตอย่างต้องการ มีการจัดการ    ชีวิตโดยดึงเยาวชนเข้ามาขับเคลื่อนร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อหากระบวนการทำงานใหม่ร่วมกับ    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้มีทิศทางในการดำเนินงานต่ออย่างชัดเจน ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายที่ทุกฝ่าย    ต้องการ คือ ไม่มีการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์เลยในพื้นที่ เมื่อมีทิศทางการเดินต่อไปแล้ว คนอำเภอกาบังก็มีทิศทางและจะนำร่องพร้อมกันทั้ง 2 ตำบล

คุณอิสมาแอล สิเดะ ได้ทราบปัญหาของพื้นที่ว่ามีกิจกรรม เพื่อติดตามประสานงานและจะเป็นข้อมูลให้แก่ทีมภาคสนาม          ต่อไป

ปิดประชุมโดยนายอำเภอ หาปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกันในการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น แนะนำให้เลือกพื้นที่ทาง          เทศบาลเข้ามาร่วมด้วยเพราะเป็นสังคมเมืองมากกว่า จะมีความยุ่งยากมากกว่านี้ มีการปรับ mind    set ให้กับคนในพื้นที่ โดยใช้หลักการ think problem local แปลงยุทธศาสตร์ให้ทำงานง่ายขึ้นและมี    การคิดแบบบ้านๆ การกำหนดพื้นที่ ติดตามผลต่อไป ค่อยมาเรียนรู้ร่วมกันในปีหน้าและขอบคุณคณะ  ทีมงานและจะขับเคลื่อนต่อไปในอนาคต