โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

ประชุมหารือ สสอ.ยะรัง จ.ปัตตานี22 ธันวาคม 2564
22
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sulaiman
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีในวันพุธ ที่ 22 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุม รพ.สต.เมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีในวันพุธ ที่ 22 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุม รพ.สต.เมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

ผู้ปกครองนักเรียน ครู นักจิตวิทยา พยาบาลวิชาชีพ กำนัน อีหม่าม ตัวแทน อสม. นักวิชาการสาธารณสุข รองปลัดอบต. รองนายกอบต. สสอ.ยะรัง ผอ.รพ.สต.เมาะมาวี กล่าวเปิดการประชุม

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง 3 ประเด็นหลัก กล่าวโดยเลขาผอ.รพ.สตเมาะมาวี อนามัยแม่และเด็กเป็นประเด็นสำคัญและเป็นประเด็นหลักในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ยินดีที่ได้รับการขับเคลื่อนในหลายภาคีทุกภาคส่วน ตำบลเมาะมาวี เป็นพื้นที่ใหญ่ และมีเครือข่ายภาคีที่เข้มแข็ง เป็นชุมชนใหญ่และสามารถขับเคลื่อนได้ ข้อมูลของพื้นที่อำเภอยะรังและข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ (พอสังเขป) โดยพยาบาลสาธารณสุข

อำเภอยะรังมีปัญหาแม่และเด็กมาเป็นเวลานาน ปัญหาแม่ตาย (คลอดและเสียชีวิต) การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่ำกว่า 20 ปี หรือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ก็เป็นปัญหามาประมาณ 30 ปี ในปีที่ผ่านๆ มามีการตั้งครรภ์ ปีละ 1,000 คน ซึ่งในพื้นที่มีประชากรเกิน 10,000 คน มีการใช้ภาคีเครือข่ายในการพัฒนาขับเคลื่อนดูแลเยาวชน ในอนาคตจะเลือกพื้นที่เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาในทุกพื้นที่ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่อไป พื้นที่อำเภอยะรังคนฝากท้องส่วนใหญ่จะแต่งงานแล้ว ในปี 2561 ที่ผ่านมา พบวัยรุ่นตั้งครรภ์ จำนวน 11 ราย

ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ : ภาวะสุขภาพมารดาและภาวะสุขภาพลูก พื้นที่ตำบลยะรัง ให้ข้อมูลจากโรงพยาบาลเมาะมาวี

ในแต่ละปีพบว่ามีคนตั้งครรภ์เป็นจำนวนมาก ประมาณ 800-1,000 คน (รวมทุกช่วงอายุ) และในพื้นที่มีแม่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ไม่เยอะจนเป็นปัญหา แต่ปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำจะเยอะกว่า ส่วนเรื่องการวางแผนครอบครัวจะน้อยมาก ส่วนใหญ่แทบจะไม่มีการวางแผนครอบครัวเลย ทางโรงพยาบาลมีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมคนไข้ โดยการเยี่ยมแม่วัยรุนหลังคลอด พบว่าการตัดสินใจส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับผู้ปกครองมากกว่า เช่น การตัดสินใจเรื่องการเว้นช่วงหลังคลอด ตัววัยรุ่นเองไม่สามารถตัดสินใจเองได้ การตัดสินใจขึ้นอยูกับพ่อแม่และสามี ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมา ไม่มีการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น แต่ปี 2560, 2561, 2562 และ 2564 พบจำนวนวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำ สำหรับประเด็นการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่นไม่พึงประสงค์ จะเจอในพื้นที่เมาะมาวีด้วย

นักจิตวิทยา โรงพยาบาลยะรัง ยกตัวอย่างเคสการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น คนไข้กับแม่เข้ามาขอคำปรึกษาที่โรงพยาบาล เพราะตัวคนไข้เองไม่มาประจำเดือนเป็นเวลาหลายเดือน ได้มาขอคำปรึกษาและทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ จึงหาแนวทางในการทำแท้งต่อไป เพราะพ่อแม่รับไม่ได้และเห็นด้วยที่จะให้เอาเด็กออก

บางเคสหากมีแฟน จะแต่งงานตามหลักศาสนาและเลี้ยงลูก

ปี 2564 ผู้ที่เข้าไปขอคำปรึกษา มี 3 คน ที่โรงพยาบาลเมาะมาวี

ปี 2562 ผู้ที่เข้าไปขอคำปรึกษา มี 1 คน ที่โรงพยาบาลเมาะมาวี

ปัญหาหลักๆ ที่ส่งผลกระทบตามมา คือ กลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่พร้อมในการตั้งครรภ์และอยากเรียนต่อ

โรงเรียนไทยรัฐแลกเปลี่ยน ยกตัวอย่างเคส 1 ราย คือ เด็ก ป.6 ตั้งครรภ์ในวัยเรียน ณ ปัจจุบัน เด็กคลอดแล้ว ไปอยู่กับสามีที่อยู่จังหวัดนราธิวาส ระหว่างตั้งครรรภ์ให้หยุดพักการเรียนไม่กลับมาเรียนต่อ

โรงพยาบาลยะรัง เพิ่มเติมเคสข้างต้น ปัจจุบันเด็กได้หย่ากับสามีคนแรกแล้ว ปัจจุบันแต่งงานใหม่กับสามีคนใหม่ ทางโรงพยาบาลไม่สามารถควบคุมภาวการณ์มีบุตรได้ หรือเว้นช่วงการมีบุตร ให้เกิน 20 ปีได้ เพราะการตัดสินใจไม่มีผลต่อตัวเด็กจะขึ้นอยู่กับผู้ปกครองและสามีเป็นส่วนใหญ่

ก๊ะนี อสม. ม.2 ในพื้นเมาะมาวีที่มีจุดชมวิวสวยๆ เป็นสถานที่ที่เอื้อต่อการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น

อีหม่าม ม.2 บางครอบครัวมีสถาบันครอบครัวที่ไม่เข้มแข็ง พ่อแม่มีปัญหาในการดูแลลูก ซึ่งการเลี้ยงลูกส่วนใหญ่ไม่ได้ยึดตามหลักศาสนา เช่น เวลาประมาณ 5 โมง ถึง 7 โมง เป็นเวลาละหมาดมักริบ แต่เด็กไม่ได้ไปละหมาดกลับมั่วสุมอยู่กับการเพศตรงข้าม

ประธานกรรมการโรงเรียนไทยรัฐ ยกตัวอย่างเคส มีการตรวจ DNA ปรากฏว่าไม่ใช่ลูกของตัวเองเพราะเมื่อทำการแต่งงานกับฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ได้ประมาณ 5 เดือน จึงเกิดปัญหาจนต้องหย่าร้าง

สาเหตุหลัก มาจากสถาบันครอบครัวเป็นหลัก ทางแก้ไข คือ เน้นโต๊ะอีหม่าม ผู้นำศาสนาเป็นหลัก มีการแนะนำผ่านคุตบะห์เพื่อให้แนวทางให้ความรู้แก่เด็กวัยรุ่น ในเรื่องการแต่งงาน การดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์และหลังตั้งครรภ์

อาจารย์ ซอฟิยะห์ แลกเปลี่ยน พื้นที่ที่นี้เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นชุมชนมุสลิมเกือบ 100% ได้เห็นปัญหาเรื่องซีนา ปัญหาการตั้งครรภ์ ท้องไม่พร้อม ไม่ทราบว่าตัวเองตั้งท้อง และประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่กล้าไปขอคำปรึกษารพ.สต.หรือโรงพยาบาลเพราะไม่กล้า/อาย นวมทั้งถูกตีตราจากสังคม

สิ่งที่โครงการเข้ามาเน้น

ความปลอดภัยทั้งดุนยาและอาคีเราะฮ์ ป้องกันการผิดประเวณีก่อนการเกิดปัญหา พื้นที่ที่เป็นจุดเที่ยวจุดชมวิว อาจแก้ที่ทีม พชอ. ในหมู่บ้าน บริบทของพื้นที่ในปัจจุบัน เป็นพื้นที่มีการตั้งรับเยอะกว่า มี พรบ. ที่เอื้อให้แก่เด็กในปัจจุบัน อบต. เข้ามาช่วยผลักดันให้แก่เด็กวัยรุ่น ป้องกันตัวเองควบคู่กับหลักการอิสลาม เน้นให้เด็กมีทางเลือกควบคู่กับดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา ส่งเสริมให้แม่ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการตีตราของสังคม หรือตราบาปของสังคม ทำไมเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ในพื้นที่นี้ (เป็นปัญหาสังคม) ทำไมเด็ก ป.6 จึงท้องก่อนแต่ง ปัญหาของครอบครัว ชุมชนและอำเภอ เน้นการป้องกันก่อนการตั้งครรภ์ ไม่ใช่การแก้ปัญหาหลังคลอด การเรียนต่อค่อนข้างน้อย ทำให้อนาคตวูบดับ การตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพเริ่มน้อยลง ส่งผลต่อประเทศชาติในอนาคต (คนรุ่นเก่าแก่แล้วเสียชีวิตไป คนรุ่นใหม่จึงเข้ามาแทนที่) ประมาณ 30 ปีที่แล้ว ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาหนักมาก แต่ในปัจจุบันเริ่มลดลงมาแล้ว แต่หากเทียบในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วประเทศไทยยังเยอะอยู่ โครงการนี้ทำร่วมกับโครงการของนครศรีธรรมราช ซึ่งเน้นกลุ่มไทยพุทธ แต่ในส่วนของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเน้นบริบทของคนมุสลิม หัวใจหลักของโครงการ คือ พชอ. ร่วมขับเคลื่อนกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการและกศน.ซึ่งกศน.จะเป็นที่รองรับเด็กหลุดจากระบบเป็นจำนวนมาก เพราะเมื่อตั้งครรภ์แล้ว ไม่มาเรียนต่อในระบบ ต้องไปเรียนต่อที่กศน. ความหมายของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คือ การตั้งครรภ์ของแม่ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ซึ่งหลักการอิสลามไม่ส่งเสริมการคุมกำเนิดก่อนแต่งงาน (การคุมกำเนิด เช่น ยากิน, ยาฝัง, ยาฉีด, ใส่ห่วง ) ใช้หลักศาสนามาบูรณาการเพื่อหาทางออก สาเหตุที่เลือกพื้นที่สามจังหวัดชายภาคแดนใต้ เพราะพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการตั้งครรภ์มากที่สุดเมื่อเทียบกับเขตอื่นๆ ครอบครัวอาจไม่ใช่สถานที่มีความสุขที่สุดสำหรับคนบางคน เช่น ที่จะแนะเด็กมีการถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยพ่อของตัวเอง การตรียมการของพื้นที่

เชิญชวนในพื้นที่ขับเคลื่อนในการป้องกันร่วมกัน หากตั้งครรภ์มาแล้ว จะมีการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างไร มีการทำ MOU ประจำจังหวัด มีนโยบายสาธารณะออกมา จะมีการดูแลพื้นที่นี้ต่อยังไง องค์รวมของการจัดการปัญหา

ทีมถอดบทเรียน ทีมสื่อ ดูผลลัพธ์ด้วยความสำเร็จ จะมีการขับเคลื่อนต่อไปอย่างไร สรุป อยากให้ครอบครัว คือ พื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

ผอ รพ.สต. แลกเปลี่ยน

ขอบคุณอาจารย์และทีมงานที่มาแนะนำโครงการดีๆ มีประโยชน์กับภาคีเครือข่าย เป็นบทบาทหน้าที่ของเราโดยตรง เป็นอามานะฮ์ที่สำคัญในการดูแลกลุ่มวัยรุ่น ยึดหลักศาสนาเป็นทางนำในการแก้ปัญหา พร้อมจะร่วมมือกับทางม.อ.ต่อไป อาจารย์เลือกพื้นที่นี้ถูกแล้ว เพราะเป็นชุมชนเข้มแข็ง และเป็นทางนำในการขับเคลื่อนชุมชนให้เข้มแข็งต่อไปอีกด้วย คุณอิลฟาน แลกเปลี่ยนประเด็น

คุณลักษณะของงานมีคุณภาพ ต้องเน้นเด็กที่มีคุณภาพ เน้นการศึกษาในการบริหารจัดการคนในพื้นที่ เป็นภารกิจที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หน้าที่ด้านวิชาการ มีทีมอาจารย์เข้ามาช่วยสนับสนุน หน้าที่หลักๆ คือ เน้นทำสื่อ ทำข่าว นำเสนอแหล่งที่ดีๆ ต้นทุนทางสังคมให้แก่เยาวชนในพื้นที่ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่อไป ไม่ควรพูดถึงสิ่งที่ไม่ดี เน้นสิ่งที่ดีในการเผยแพร่ออกสู่ชุมชนและภายนอก มีเครื่องมือ ทีมวิทยากร สามารถขับเคลื่อนให้อย่างเหมาะสม ทาง ม.อ. มีการจัดสรรทุน แหล่งทุนให้ทางพื้นที่ ผ่านปลัด อบต. ในพื้นที่ อาจมีการขับเคลื่อนขยับงานต่อในอนาคต เป็นเฟสที่ 3 เพราะเฟส 1 เริ่มจาก 4 พื้นที่ แต่เฟส 2 ปรับเพิ่มเป็น 19 พื้นที่ คุณอานัติ พูดสรุปประเด็น สะท้อนปัญหา

สาเหตุ ความรู้ ความเข้าใจประเด็นท้องก่อนวัย ท้องในวัยรุ่น ผลกระทบ คือ ไม่ได้ศึกษาต่อ เกิดการตีตราจากสังคม เน้นการวางแผนครอบครัวเป็นหลัก ปัจจัยสาเหตุจากจุดชมวิว สถานที่ท่องเที่ยว หากมีช่องว่างจะทำให้เกิดปัญหาในแง่ลบได้ อีหม่ามสะท้อนสถาบันครอบครัว เช่น มิติด้านศาสนา เข้ามาช่วยแก้ปัญหา การตัดสินใจส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ปกครอง สามี ออกแบบร่วมกันว่าควรจะอยู่ตรงไหนให้มีความเหมาะสมกับทุกฝ่าย ระบบที่จะเอื้อ เช่น มีคลินิกให้คำปรึกษาหรือทีม อสม.และอีหม่ามจะมีคุตบะห์วันศุกร์ แต่ปัญหาคือเด็กจะรู้สึกอายเมื่อมาขอคำปรึกษา ทาพื้นที่มีทางออกในการแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไรและจะต้องจัดอะไรเข้ามาเพิ่มเติมหรือไม่ มีหน่วยงานส่วนไหนเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ เป็นการขยับต่อไปได้อย่างไร มูฮำหมัด สาและ รองปลัด อบต. แลกเปลี่ยน

มีสภาเยาวชนเมาะมาวี ขับเคลื่อนส่วนกิจกรรมเยาวชนในพื้นที่ ในปัจจุบันคือเน้นป้องกันโรคระบาด COVID -19 เคยมีกิจกรรมการจัดการขยะ ซึ่งโครงการแต่ละปีจะเข้ามาแตกต่างกัน ใน 1 ปี จะมีกิจกรรม ประมาณ 4-5 ครั้ง แต่ปีนี้จะมีแค่ 1 ครั้ง เน้นการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ ช่วง 2 ปีมานี้ หลายโครงการถูกยกเลิก งบประมาณส่วนใหญ่ถูกใช้ในการแก้ไขปัญหาในปัจจุบันมากกว่า เช่น มีการกักตัวยุคโควิด ดีใจที่ทาง ม.อ. เข้ามาร่วมกันสนับสนุนในพื้นที่ รอง ผอ. รพ.สต.

ทีมยะรังมีกระบวนการ Design Thinking เป็นปัญหาใต้ภูเขาน้ำแข็ง ที่ต้องนำมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน คนที่มีปัญญาต้องมีการร่วมมือกัน เช่น ตาดีกา ทีมที่นี้ได้รับการรับรอง จึงมาร่วมกันคิดออกแบบร่วมกัน ด้วยการปรับเปลี่ยน mindset ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ ในพื้นที่นี้ ไม่ใช่แค่ทีมเมาะมาวีอย่างเดียวที่เป็นปัญหา แต่เป็นปัญหาทั้งยะรังทั้งพื้นที่เลย

คุณอานัติ แลกเปลี่ยน

วันนี้ดีใจที่ได้แนวทางและหารือแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาในเบื้องต้น ทำให้ได้เห็นว่าบริบทของ

ครอบครัวในพื้นที่ต้องมีการดำเนินงานแบบไหน อย่างไร และทางด้านโรงเรียน กลุ่มเพื่อน รพ.สต.และโรงพยาบาล ต้องทำอะไรเพิ่มเติม อย่างไร

อาจารย์ ซอฟิยะห์ แลกเปลี่ยน

อาจารย์มีการยกเคสของตำบลตาแกะ มีการจัดการให้วัยรุ่นกลุ่มผู้ชาย คือ มีสภาเยาวชน การจัดการปัญหายาเสพติด การเล่นกีฬาร่วมกัน ทางด้านกลุ่มผู้หญิง มีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ทำให้เด็กมีรายได้เสริม และยกเคสของอำเภอบาเจาะ เกิดจากชมรมผู้ใหญ่บ้าน ดูแลเยาวชนในเรื่องยาเสพติด พื้นที่นี้มีทุนทางสังคมเยอะมาก

กะดา ทีมดูแลเด็ก

บางครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดี มีการฝากครรภ์ แต่บางครอบครัวไม่ทานยาตามคำแนะนำของหมอ เพราะมีความเชื่อผิดๆ เช่น เชื่อว่าหากกินยาเด็กจะโตในท้อง เมื่อครบกำหนด ไม่ไปคลอด รอจนปวดท้องถึงที่สุด ไม่ไปคลอดเพราะจะรอคลอดเองที่บ้าน และปัญหาเด็กตั้งครรภ์ก่อนการกำหนด เป็นเรื่องปกติของคนในพื้นที่และพื้นที่รับผิดชอบ

คุณอิลฟาน แลกเปลี่ยน

ต้องมีการปรับ Design Thinking ปรับการรับรู้ การแก้ปัญหาความเชื่อของคนในพื้นที่ เปิดใจ คุยเพื่อแลกเปลี่ยนประเด็น ปรับ mindset ให้มีความเข้าใจตรงกัน เช่น แต่งงานต้องให้มีคุณภาพ

พยาบาลวิชาชีพ แลกเปลี่ยน

ปัญหาความจำเป็นทางเศรษฐกิจ หากพื้นที่ไหนเศรษฐกิจไม่ดี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจะสูงขึ้นตามลำดับ

อาจารย์ ซอฟิยะห์ แลกเปลี่ยน

มีหลายพื้นที่ที่ไม่นิยมไปคลอดที่ รพ.สต.เพราะมีความเชื่อทางลบ ดังนั้นทางรพ.สต.จำเป็นต้องให้ความอบอุ่นและใช้ใจในการบริการ มีการพูดคุย ให้คำปรึกษาปัญหาด้วยความจริงใจ พร้อมทั้งผลักดันการทำงานและการให้บริการร่วมกัน ทำให้เขาเชื่อมั่นเชื่อถือและมีความไว้วางใจต่อการให้บริการ อาจดูจากพื้นที่อื่นๆ ที่เขามีความพร้อมมาเป็นแนวทาง

พยาบาลวิชาชีพ

ปัญหาการไม่ไปคลอดที่ รพ.สต. เพราะกลัวการผ่าตัดคลอด คนไข้เชื่อว่าหากอยู่บ้านจะมีคนในครอบครัวคอยดูแล แต่เมื่อไปอยู่โรงพยาบาลจะมีแค่ตัวคนเดียวไม่มีใครคอยดูแล ซึ่งเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญที่สั่งสมกันมารุ่นสู่รุ่นผ่านความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ

อาจารย์ ซอฟิยะห์ แลกเปลี่ยน

ทางพื้นที่จำเป็นต้องหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นมรดกให้แก่ลูกหลานในอนาคตต่อไป

คุณอานัติ แลกเปลี่ยน

จำเป็นต้องค้นหาปัญหาในเชิงลึก ความคิด ความเชื่อของคนในชุมชน ทำอย่างไรให้กลไกที่มีอยู่ค่อนข้างพร้อม เช่น มีรถรอรับอยู่หน้าบ้าน และเน้นประเด็นด้านศาสนาเข้ามาเชื่อม ให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างไร ภายใต้กลไกที่มีอยู่เดิม เราจะทำอะไรเพิ่มเติมได้เพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิมกว่าที่เป็นอยู่ เช่น ปัจจุบันมีการ  คุตบะห์วันศุกร์อยู่แล้วโดยผู้นำศาสนา ทางพื้นที่สามารถทำอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่ อย่างไร เช่น มีพื้นที่ชมวิวอยู่แล้ว เราจะพัฒนาต่ออย่างไร

อสม.หมู่ 2 แลกเปลี่ยน

ปัจจุบันทางหมู่ 2 จะมีชมรมโบมูดา คือ จะมีการสอนศาสนาเดือนละครั้ง จัดโดยกลุ่มวัยรุ่นอายุ 16-18 ปี ประมาณ 30-40 กว่าคน โดยกลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้จะเชิญผู้นำในหมู่บ้านหรือในชุมชนมาให้ความรู้ ให้คำปรึกษา คำแนะนำ เช่น เชิญโต๊ะอีหม่ามและผู้นำชุมชนมาบรรยายธรรม ทางกลุ่มจะมีการทำปฏิทินไปขายและทำส้มโอ ซึ่งเป็นผลไม้ขึ้นชื่อในพื้นที่ไปขาย โดยที่แต่ละเดือนทางหมู่บ้านจะทำข้าวยำเลี้ยงแจกจ่ายเพื่อหารายได้จากคนหมู่บ้าน สร้างรายได้ได้เดือนละประมาณ 15,000 บาท เพื่อนำเงินที่ได้มาเข้าชมรมและมีการของบจากชาวบ้านมาเป็นทุนต่อยอด

คุณอิลฟาน แลกเปลี่ยน

เน้นต่อยอดเครือข่ายเดิมที่มีอยู่แล้ว มาสร้างรูปแบบต่อยอดโดยบังอานัติต่อไป พื้นที่นี้มีเสน่ห์ เพราะมีDesign Thinking ทำให้คนในพื้นที่เข้าใจง่ายและอาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดร่วมกัน โดยมีนวัตกรรม เช่น การออกแบบแอพพลิเคชั่นให้มีความทันสมัย เช่น หากจะมีการคลอดสามารถจองรถมารับถึงหน้าบ้านผ่านแอพพลิเคชั่นได้เลย

รองนายก รพ.สต.

จุดเด่นอาจกลายเป็นจุดด้อยได้ ควรหาทางแก้ปัญหาทางกายภาพได้ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว แก้ปัญหาในการปรับ mindset ของคนในพื้นที่ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ยกตัวอย่างเคส เจอกับคนไข้ที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังท้อง เช่น คนไข้มาหาหมอที่โรงพยาบาลบอกว่าตัวเอง

ปวดท้อง เพราะไปกินขนมจีนมาซึ่งตัวเองไม่ได้ท้อง ผลสรุปพบว่าคนไข้กำลังท้อง ซึ่งทางพ่อแม่ผู้ปกครองยังไม่ทราบเรื่อง เมื่อทราบเรื่องทางพ่อแม่ผู้ปกครองทำใจยอมรับไม่ได้

งาน NCD ดูแลคนไข้ โรคเรื้อรัง

ประสบการณ์ที่ไม่อยากไปโรงพยาบาล เพราะมีความเชื่อผิดๆ ยกตัวอย่างเคสการท้องไม่พึงประสงค์

เช่น มาอนามัยบอกว่าลูกปวดท้อง และไม่อนุญาตให้พยาบาลคลำท้องอีกด้วย ซึ่งทางแม่และครอบครัวยังไม่ทราบและไม่ยอมรับ บอกว่าลูกของตนยังไม่ได้แต่งงานจะท้องได้อย่างไร แต่เมื่อส่งคนไข้ไปตรวจที่โรงพยาบาลปรากฏว่าคนไข้คลอดเด็กออกมา

คุณอานัติ แลกเปลี่ยน

ในพื้นที่นี้มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ เลือกโครงการที่มีประโยชน์มาพัฒนาให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เลือกประเด็นแต่ละพื้นที่ แล้วแต่ทางพื้นที่จะเลือกชูประเด็นอะไร เช่น ประเด็นความขัดแย้งต่างๆ นำมาแก้ไขร่วมกัน ทำให้เข้าใจคนอื่นมากยิ่งขึ้น สามารถช่วยเหลือกันและกันได้หากเกิดปัญหา คุณอิลฟาน แลกเปลี่ยน

ประเด็นการเลือกพื้นที่โครงการ จะเลือกพื้นทีไหนก็ได้แล้วแต่ทางพื้นที่ต้องการ เช่น ม.2 เด่นเรื่อง

อะไร เลือกมาได้เลย และควรเลือกผู้ที่ให้ข้อมูลให้ชัดเจนว่าผู้ที่เกี่ยวข้องมีใครบ้าง

อาจารย์ซอฟียะห์ แลกเปลี่ยน

เน้นความเชื่อใจระหว่างคนไข้และเจ้าหน้าที่ กล้าที่จะแลกเปลี่ยน พุดคุย ปรึกษาและขอคำแนะนำ จากทางรพ.สต.ให้มากขึ้น

ผอ.รพ.สต.

ขั้นตอนต่อไปควรเริ่มทำแต่หมู่บ้านก่อน เป็นการนำร่อง เช่น เริ่มตั้งแต่หมู่ 2 ข้อมูลเด่นจากที่ทาง อสม.และอีหม่ามหมู่ 2 มาแลกเปลี่ยนข้างต้น เพราะประเด็นมีความน่าสนใจและสามารถขับเคลื่อนได้ จากนั้นค่อยต่อยอดไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป จัดทำโมเดลร่วมกัน โดยรวมทางพื้นที่พร้อมสู้และขยับขับเคลื่อนต่อไป อาจารย์ซอฟียะห์ แลกเปลี่ยน

หลังจากนี้จะมีการทำ workshop โดยเลือกแกนนำหลักๆ คนสำคัญในพื้นที่มาเข้าร่วมต่อไป นำต้นทุนทางพื้นที่ที่มีอยู่นำไปพัฒนาต่อยอด คุณอานัติ แลกเปลี่ยน

ดำเนินการเพื่อกำหนดการลงพื้นที่ภาคสนามกับทางม.อ. หลังจากทำ workshop เสร็จแล้ว ประมาณเดือนกุมภาพันธ์จะร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนและตั้งเป้าหมาย เกี่ยวกับวัยรุ่น แล้วหาทางตั้งประเด็นต่อไป ผอ.รพ.สต

พร้อมร่วมมือกับทาง ม.อ. อย่างเต็มที่ ดุอาร์ปิดการประชุม