โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี8 ธันวาคม 2564
8
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sulaiman
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ในวันพุธ ที่ 8 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ในวันพุธ ที่ 8 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

ปลัดอาวุโส อำเภอโคกโพธิ์ ปลัด อำเภอโคกโพธิ์ ดูแลงานพชอ. สาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ นวก.สาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ ผอ.รพ.สต.ป่าบอน นวก.พัฒนาชุมชนป่าบอน อสม.ต.ป่าบอน คณะทำงานโครงการ สถาบันโนบายสาธารณะ มหาวิทดยาลับสงขลานครินทร์​ วัตถุประสงค์

เพื่อหารือการดำเนินงานและชี้แจงรายละเอียดโครงการ พื้นที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน

ชายแดนใต้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเริ่มลดลง โดยมีสถิติลดน้อยลง (การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นช่วงอายุ 15-19 ปี) การวิเคราะห์บริบทพื้นที่นำร่องในการดำเนินงานตั้งครรภ์วัยรุ่น การดำเนินงาน สสอ. อปท. สาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย พม. ทีมภาคสนาม จัดทำแผน ขับเคลื่อน การลงพื้นที่ภาคสนาม ลงพื้นที่ประมาณ 4 ครั้ง ลงพื้นที่ เพื่อพัฒนาสรุปผลการดำเนินงานและการถอดบทเรียน ปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น คู่ครองเดิม ไม่ได้คุมกำเนิด/คุมแต่พลาด, ต้องการมีบุตร เปลี่ยนคู่ ไม่ได้คุมกำเนิด/คุมแต่พลาด, ต้องการมีบุตรกับคนใหม่ คนเดิม/คนใหม่ ไม่ได้คุมกำเนิด/คุมแต่พลาด, ไม่ต้องการบุตร ทางออกคืออะไร ปัจจัยกำหนดการตั้งครรภ์วัยรุ่นทั่วไป การดื่มแอลกอฮอล์ ช่วงวัย สื่อยั่วยุ การระมัดระวังป้องกัน สมรรถนะแห่งตน ค่านิยมรักนวลสงวนตัว ความเอาใจใส่ของครอบครัว สภาพแวดล้อมที่เอื้อ/ถูกละเมิดทางเพศ ทักษะชีวิต/การรู้เท่าทันตนเอง จัดทำ workshop team work ประเมินผล เฟส 2 โดยทีม พชอ. ทีม พชต. ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบในการเสริมสร้างสมรรถนะการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พชอ. ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ รูปแบบการดำเนินงานตั้งครรภ์วัยรุ่นของ พชอ. ใน 4 อำเภอนำร่อง จังหวัดชายแดนใต้ ระดับที่ 1 ป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดรายใหม่ ระดับที่ 2 การตั้งครรภ์คุณภาพ ระดับที่ 3 ไม่เกิดการตั้งครรภ์ซำ ภาพรวมของการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา การดำเนินงานของการพัฒนารูปแบบนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม area Activation (โมดูลเคลื่อนที่) wows ประกอบด้วย well-Being 2. Opportunity 3.  Wake up 4. Sustainability เวทีรับฟังการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเฟสที่ 2 ปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำ พบว่า 3 จังหวัดชายแดนใต้มีการตั้งครรภ์ซ้ำมากที่สุด พูดถึง พรบ.+กฎหมายทำแท้ง ปัญหาที่เกิดในพื้นที่มุสลิม คือ การแต่งงานเร็ว, เมื่อมีแฟนพ่อแม่จับนิกะห์ นิกะห์อายุ 17 ปีขึ้นไป ใช้พรบ.การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นหลัก ประเด็นพูดคุยพื้นที่ตำบลโคกโพธิ์

แผนยุทธศาสตร์ ปี 64 มีการบูรณาการร่วมกับแม่และเด็ก การได้รับความรู้เรื่องเพศศึกษา สรุปในพื้นที่นี้ ได้รับ 100% การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นศาสนาอิสลาม 90.32% และศาสนาพุทธ 12.90% ลักษณะการคลอด ในพื้นที่มีการคลอดปกติ /ไม่มีภาวะเสี่ยง 100% น้ำหนักเด็กแรกคลอด น้ำหนักตามเกณฑ์/ต่ำกว่าเกณฑ์ 80.64% 35% สถานการศึกษา นอกระบบการศึกษา 100% สถานะทางครอบครัว แต่งงาน/นิกะห์ตามประเพณี 100% มีภาวะซีด (ติดตามในคนๆ เดียวกัน) ติดตามโดยงานอนามัยแม่และเด็ก 31.25% การคุมกำเนิดก่อนตั้งครรภ์/หลังคลอด สรุปในพื้นที่นี้ ไม่ได้มีการคุมกำเนิด ไม่มีการยาฉีดหรือใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด สาเหตุการท้อง สรุปในพื้นที่นี้ คือ ต้องการมีบุตร เด็กคลอดซ้ำหรือหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สรุปในพื้นที่นี้ คือ ไม่ท้องซ้ำ ปัญหาของการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ เกิดจากการที่วัยรุ่นอยู่นอกระบบการศึกษา แต่งงานก่อนวัยอันควร แผนยุทธศาสตร์แม่และเด็ก รพ.สต.คืนข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ติดตามหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2564 มีศูนย์การพัฒนาชุมชน ตำบลป่าบอน ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการ โดยการเชิญแม่และเด็กหลังคลอด ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อน ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำแท้ง จัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครอบครัวที่มีหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีผู้นำศาสนาเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับทางด้านการมีคู่ครอง และความรู้เรื่องการใช้ชีวิตวัยรุ่นและวางตัวในช่วงระหว่างการคบหาดูใจ เชิญผู้ปกครอง มาให้ความรู้ในการเลี้ยงดูบุตรหลาน สอนเรื่องการใช้ชีวิต หรือปัญหาการท้องของเด็กก่อนวัยอันควร ทั้งนี้พื้นที่โคกโพธิ์ไม่ได้มีการลงงพื้นที่เชิงรุก แต่มีการติดตามผลจากเคสต่างๆ ที่ผ่านมา

อ.ซอฟียะห์ เสนอประเด็นเพิ่มเติม

กศน.มีการสร้างอาชีพ ส่งเสริมสมรรถนะแก่เด็ก ให้สามารถดูแลตัวเองได้ ควรดูแลวัยรุ่นทั้งชายและหญิง จะดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน สาธารณสุขอำเภอแลกเปลี่ยน

อยากจะดึงภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม แต่ก่อนเคยมีโครงการจัดการขยะ และชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ ส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสและคนพิการ ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นปัญหาของสาธารณสุขเป็นหลัก โคกโพธิ์ก็มีปัญหา (มีปัญหาแต่ก็ยังได้รับการดูแลจากครอบครัว) แต่ยังไม่เยอะเท่ายะหริ่งและแม่ลาน เพราะประชากรน้อย จึงทำให้ตัวหารเยอะ หาวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะกับวัยรุ่นและวัยรุ่นยอมรับ มองภาพปัญหาวัยรุ่น  (เลขา พชอ.)

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นน้อยกว่าพื้นที่ทุ่งยางแดง แต่คนที่ตั้งครรภ์ได้รับการยอมรับจากคนในครอบครัว การตั้งครรภ์โดยไม่คุมกำเนิด (มีการเว้นช่วงการมีบุตร ฉีดยา 1 เดือน หรือ 3 เดือน) ปลัดอาวุโสอำเภอโคกโพธิ์

เน้นภาคีเครือข่าย ต้องแก้ปัญหาผ่านจุดเล็กๆ ผ่านคณะกรรมการ พชอ. สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับเด็กกลุ่มนี้ ปลัด (ดูแลงานพชอ.)

มองภาพรวมความร่วมมือระหว่าง กศน. แต่ที่โคกโพธิ์เน้นคนที่เดินเข้ามาหา มาปรึกษา แต่ยังไม่มีภาพรวมของ กศน. เข้ามาร่วมด้วย
คุณอิลฟาน

อนาคตของชาติจะไม่มีคุณภาพ หากเราไม่ดูแลปัญหาหรือแก้ปัญหาให้ดี มีทีมพชอ.เข้ามาร่วมมือกับสาธารณสุขจึงเป็นข้อดี เป็นต้นทุนของพื้นที่โคกโพธิ์ เพราะเป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรม สื่อสามารถแนะนำให้คนรู้จักโคกโพธิ์มากยิ่งขึ้น พชอ.ในพื้นที่มีความเข้มแข็ง สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ทุนทางสังคมมีเยอะ เช่น ผู้นำศาสนา มีหน่วยงานเข้ามาขับเคลื่อน ร่วมคิด ร่วมทำให้เหมาะกับบริบทของโคกโพธิ์ มีการยกตัวอย่างพื้นที่บาเจาะ มีการร่วมมือกับผู้ใหญ่บ้านมาดูแลเด็กทั้งหญิงและชาย ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เด็กกลุ่มนี้ แม้จะอยู่ที่บ้านก็สามารถทำงานได้ ต่อยอดโคกโพธิ์ มองหาโอกาส เพิ่มจุดแข็ง ลดจุดด้อย จากเครื่องมือ SWOT analysis ประเด็นเสริมจาก อ. ซอฟียะห์

โคกโพธิ์มีแหล่งทุนในพื้นที่ เอามาสร้างจุดเด่น ยกตัวอย่างพื้นที่รามัน โกตาบารู มีย่านเศรษฐกิจ มองหาพื้นที่ตรงไหนลับตาคน หรือเป็นที่ล่อแหลมต่อการมีเพศสัมพันธ์ เข้าไปลดความเสี่ยงพื้นที่ตรงนั้น เชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือ จัดทำแผนร่วมกัน ผอ.รพ.สต.ป่าบอน

แนะนำทีมงาน และบูรณาการต่อยอดโครงการ พูดถึงการอนามัยแม่และเด็ก บริบทข้อมูลพื้นที่ตำบลป่าบอน ยกประเด็นเรื่อง แหล่งพบปะสังสรรค์ของเยาวชนตำบลป่าบอนของผู้นำในพื้นที่ร่วมกับประชาชน กำนันตำบลป่าบอน

มีการส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ รู้จักการป้องกันก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ประเด็นเพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วมประชุม

เน้นส่งเสริมความเข้าใจให้แก่เด็กวัยรุ่น เปลี่ยนทัศนคติ ทำความเข้าใจกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น ที่ผ่านมามีการทำกิจกรรม มีการค้นหาปัญหา แลกเปลี่ยนประเด็น คุยภาพรวม ฮูกุ่มบากัต เน้นทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์แก่ชุมชนเป็นหลัก ดูความเสี่ยงในพื้นที่ การเว้นระยะการตั้งครรภ์ มีกลุ่มคิด กลุ่มทำกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น ป่าบอน มีกลุ่มดีๆ และกลุ่มที่เราต้องการดูแล คือ กลุ่ม วัยรุ่น เราพยายามที่จะพัฒนาต่อไป สร้างความร่วมมือกับผู้นำศาสนา ร่วมมือกับสภาเด็กและเยาวชน ติดตามและดูแลวัยรุ่นอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ประเด็นการแลกเปลี่ยนโดยคุณอานัติ (ผู้ประสานงานภาคสนาม)

ท้องแล้วทำแท้งเท่าไหร่ นำมาศึกษา การคุมกำเนิดที่ดีควรทำอย่างไร เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ มีเครื่องมืออะไรบ้างที่ใช้ระบุ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ท้องแล้ว ทำอย่างไรให้มีคุณภาพ เช่น ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ ดึงเครือเข้ามาข่ายช่วยหนุนเสริม การวางแผนครอบครัว ต้นทุน/จุดแข็ง ดีมาก หาตำบลนำร่อง มีแผนยุทธศาสตร์ในอนาคตอย่างไร มีศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพ มีคู่มือ ทีมดูแลเด็ก ความท้าทาย ทางอำเภอสนใจที่จะทำประเด็นไหนต่อ จะใช้โอกาสจาก มหาวิทยาลัยอย่างไร จะนำร่องพื้นที่ไหน