โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ ครั้งที่ 115 ธันวาคม 2564
15
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sulaiman
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แนะนำคณะทำงานในระยะที่ 2
  • เแนะนำและชี้แจงรายละเอียดโครงการในระยะที่ 2
  • สรุปภาพรวมการดำเนินโครงการของระยะที่ 1
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศครั้งที่ 1 มีผู้ร่วมประชุมที่อยู่ในที่ประชุม จำนวน 3 คน และผู้ร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จำนวน 26 คน โดยมีประเด็นพูดคุย ดังนี้ - การชี้แจ้งรายละเอียดโครงการในระยะที่ 2
- แนะนำคณะทำงาน มีคณะทีมงาน ทีมวิชาการ ทีมพี่เลี้ยง
- สรุปภาพรวมการดำเนินการโครงการในระยะที่ 1 โดยอาจารย์ซอฟียะห์ - ผลการการนำโมดูลไปใช้งานในระยะที่ 1
- การนำเสนอผลลัพธ์ที่ได้จากส่วนเฟสที่ 1 ของแต่ละพื้นที่ - แนะนำกลไกการทำงานของพชอ. พชต. โดยนพ.สุวัฒน์ - แนะนำแนวทางการดำเนินงานร่วมกับกองทุนสุขภาพตำบล โดยสมชาย (สปสช เขต 12) - ร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะจากทีมวิชาการ

รายชื่อผู้เข่าร่วมประชุม 1. ดร.ซอฟียะห์ นิมะ       สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2. นางสาวฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3. นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4. นายยุสรี สะปาวี สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) 5. นางสาวมุทริกา จินากุล ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา 6. นายพัสสน หนูบวช ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ 7. ผศ.ดร.วรางคณา ชัชเวช คณะพยาบาลศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ 8. นายอิสมาแอล สิเดะ ผู้ประสานงานภาคสนาม 9. นางสาวจิราพร อาวะภาค มูลนิธิภาคใต้สีเขียว 10. นายอิลฟาน ตอแลมา สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข
11. นางสาวมีรา แมดิงแว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบาเจาะ 12. นางอังสุมาลิณ ประดิษฐ์สุวรรณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 13. นายสมชาย ละอองพันธุ์ สปสช.เขต 12 สงขลา 14. นางเสาวนีย์ ปาวัล รพ.สต.บ้านบือเระ ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จ.นราธิวาส 15. นางนูรีดา เจ๊ะย๊ะ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบาเจาะ 16. นางธนิษฐา ดิษสุวรรณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 17. นายมะยูนัน มามะ ผู้ประสานงานภาคสนาม 18. ผศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา คณะแพทยศาสตร์ มอ. 19. วัลภา ฐาน์กาญจน์ ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. 20. ไซนับ อาลี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล 21. นายรอซีดี เลิศอริยะพงศ์กุล สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย 22. นายยะห์ยา บานีอัลมาฮ์มูดี รพ.สต.บ้านสาวอ 23. นายวรานนท์ แอหนิ สมาคมจันทร์เสี้ยวและสมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม(สนท.) 24. นางสาวกาญจน์สุนภัส บาลทิพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 25. นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ผอ.โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชนินีนาถ ณ อำเภอนาทวี 26. นางเพียงกานต์ เด่นดารา โรงพยาบาลจะแนะ จ.นราธิวาส

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. ดร.ซอฟียะห์ นิมะ ชี้แจ้งวัตถุประสงค์การจัดประชุม โครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภIในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ: กรณีจังหวัดชายแดนใต้ ระยะที่ 2

วาระการประชุมครั้งที่ 1
ผลการดำเนินงานการนำโมดูลไปใช้งานในระยะที่ 1 โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ - อำเภอเมืองยะหริ่ง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี, อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
การดำเนินโครงการในระยะที่ 2  โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ - การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ: กรณีจังหวัดชายแดนใต้ ระยะที่ 2 - การคัดเลือกพื้นที่ 19 อำเภอ 20 ตำบล

การดำเนินงานการนำโมดูลไปใช้งานในระยะที่ 1 โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ การดำเนินการในระยะที่ 1 ได้มีการทำในส่วนของ Work Shop และมีการผลิตโมดูลขึ้นมาและกระจายโมดูลให้กับอำเภอนำร่องทั้งหมด 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอยะหริ่ง อำเภอบาเจาะ และอำเภอรามัน และได้มีผู้ทรงคุณวุฒิจากสสส.ได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนในเรื่องของการตั้งครรภ์ในจังหวัดชายแดนใต้ของกลุ่มวัยรุ่นในครั้งนี้ด้วย ซึ่งวันนี้จะเป็นการหารือในเฟสถัดไปว่าจะมีการทำในลักษณะใดบ้าง  วันนี้จะเล่าในส่วนของกิจกรรมในเฟส 1 ที่ผ่านมาที่ได้มีการผลิตโมดูลและได้มีการทดลองนำร่องใน 4 อำเภอ 5 ตำบลของจังหวัดชายแดนใต้เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นการเล่าในเฟสที่ 1 ก่อนแล้วจะมีการหารือกันในส่วนของเฟสที่ 2 ว่าต้องการมีอะไรเพิ่มหรือมีข้อเสนอตรงไหนบ้าง เรามากำหนดทิศทางกันว่าในหน่วยงานที่เชิญมาวันนี้จะมีส่วนร่วมในงานขั้นตอนไหนได้บ้าง แล้วนำมาสรุปไทม์ไลน์
ในส่วนของทีมงานที่ได้รับผิดชอบกิจกรรม ได้แก่
1. ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ เป็นที่ปรึกษา
2. นายแพทย์ สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ
3. ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย 4. คุณซอฟียะห์ นิมะ ส่วนทีมงานสำนักงาน ได้แก่
1. คุณสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ เป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
2. คุณฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
3.คุณจิราพร อาวะภาค
4.คุณฐนัชตา นันทดุสิต

ทีมงานภาคสนาม ได้แก่
1.คุณอานัติ หวังกุหลำ

ในด้านพี่เลี้ยงเพิ่มเติมในเฟสแรก ได้แก่
1. คุณย๊ะห์ยา บานีอัลมาฮ์มูดี พี่เลี้ยงดูแลของอำเภอรามัญ
2. คุณธีรพจน์ บัวสุวรรณ พี่ เลี้ยงดูแลอำเภอยะหริ่ง 3. คุณวรรณาพร บัวสุวรรณ พี่เลี้ยงดูแลอำเภอยะหริ่ง
4. ทพญ.โนรีด้า แวยูโซ๊ พี่เลี้ยงดุแลอำเภอบาเจาะ
5. คุณอุษา เบ็ญจลักษณ์ สาธารณสุขอำเภอปัตตานี

ทีมวิชาการและโมดูล 1. คุณบุษยา สังขชาติ 2. คุณวัลภา ฐานกาญจน์ 3. ดร.มุทริกา จินากุล 4. ดร.ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์ 5. คุณรอซีดี เลิศอริยพงษ์กุล 6. คุณอิลฟาน ตอแลมา

เฟสแรกที่ผ่านมาได้มีทีมงานวัยรุ่นและเยาวชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนในครั้งนี้ด้วยซึ่งผู้รับผิดชอบหลัก ได้แก่ คุณยุสรี ร่วมงานคู่ขนานกับโครงการนี้ไปด้วย จะทำหน้าที่ดำเนินงานโครงการเยาวชนให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยให้กับเยาวชนกลุ่มข้างต้น สำหรับส่วนตัวเล่มของโมดูลที่ผ่านมาได้มีการปรับเปลี่ยนหลายเวอร์ชั่น ในเวอร์ชั่นแรกที่ใช้เป็นในส่วนของการจัด Workshop หลังจากที่ขับเคลื่อนในพื้นที่และท่านผู้ทรงคุณวุฒิจากสสส.ได้ลงเยี่ยมพื้นที่ได้ร่วมอ่านโมดูลแล้ว ได้มีข้อเสนอแนะในการปรับเนื้อหา ประกอบไปด้วยทั้งหมด 5 หน่วยเรียนรู้ คือ หน่วยที่ 1 เพิ่มสมรรถนะให้กับพชอ.ด้านความรู้และด้านการจัดความรู้ต่อประเด็นการตั้งครรภ์วัยรุ่น หน่วยที่ 2 เน้นในส่วนที่พชอ.สามารถดำเนินงานเป็นทีมนำทางด้านการจัดการสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้ หน่วยที่ 3 ให้พชอ.สามารถทำแผนทำโครงการและประสานพลังในเครือข่ายได้ ทั้งหมดนี้จำไปสู่การรณรงค์นโยบายได้
หน่วยที่ 4 เน้นของการติดตามประมวลผล และการติดตามความก้าวหน้า หน่วยที่ 5 เรื่องทักษะปฏิบัติการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน  ได้มีการเชิญทีมพชอ.และก็พชต.ลงพื้นที่ร่วมกันประมาณ 40 ครั้ง ที่จะไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่ ว่ามีปัญหาตรงไหน ด้านใดบ้างแล้วก็มีการจัดทำแผนโครงการและนำเสนอขอทุนจากกองทุนตำบลได้อย่างไร ตรงนี้ก็ได้มีการหารือและลงมือทำในเฟสที่แล้ว ในระหว่างที่ลงพื้นที่ ได้มีการคุยในเรื่องของสถานการณ์ปัญหาที่ผ่านมาในทุกวันนี้ไม่ว่าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งทุกคนเองก็จะเห็นปัญหาที่พ้นเหนือน้ำมาแล้วเราแก้กันแบบเฉพาะหน้า และในเรื่องของกรอบวิธีคิดของพื้นที่ต่อการตั้งครรภ์ไม่เคยได้ค้นพบตรงนี้เราพยายามชวนพื้นที่เข้าไปดูในเรื่องนี้ ถึงที่มาที่ไปของการตั้งครรภ์วัยรุ่นในพื้นที่เกิดจากอะไร ดูถึงเรื่องของปัจจัยสุขภาพที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่ได้มีการใช้ Iceberg Model มาพูดคุยกัน

ในส่วนของการสรุปเฟสที่ 1 นั้นที่ได้มีการพัฒนาโมดูลมาทั้ง 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้มาสู่การปฏิบัติในพื้นที่ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยของจังหวัดปัตตานี จะด้วยกัน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลรูสะมิแล ตำบลบางปู และตำบลตาแกะ  อำเภอรามัน ได้แก่ ตำบลโกตาบารู ซึ่งได้มีตำบลบาโงยเข้ามาในช่วงแรก ช่วงหลังได้ออกไป  และอำเภอบาเจาะ ได้แก่ ตำบลบาเระใต้ ตอนนั้นระยะเวลา 18 เดือนแต่อาจจะมีติดช่วงโควิดไปด้วย เลยมีการเลื่อนหลังจากกันยายน 2563 เริ่มขยับในส่วนของ Workshop ในเรื่องของการปฏิบัติงานในพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ได้จากส่วนเฟสที่ 1
- ตำบลรูสะมิแล ได้มีหน่วยให้คำปรึกษาวัยรุ่นที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนแล้วก็ใน ชุมชน ก็คือ เด็กอยู่ที่ไหนมีหน่วยให้คำปรึกษาไปที่นั้น และรวมทั้งมีหน่วยเฝ้าระวังลาดตระเวนจุดเสี่ยงพื้นที่เสี่ยงที่เด็กจะไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน แบบ 2 ต่อ 2 และมีมาตรการหอพักเข้ามาร่วมให้มาตรการต่างๆ ในการแยก ชายหญิง หรือคอยดูแลสอดส่องอย่างใกล้ชิดแบบญาติ ไม่ให้บุตรหลานที่อยู่ในหอพัก ในอพาทเมนต์ อยู่บ้านเช่าในตำบลรูสะมิแล เพราะเป็นพื้นที่ของการศึกษา หอพักก็จะเข้ามามีส่วนร่วมที่จะดูแลตรงนี้ให้ - ตำบลตาแกะ ก็จะมีหน่วยให้คำปรึกษาด้านอนามัยเจริญพันธ์ในวัยรุ่น ไม่ได้ทำอยู่ในเฉพาะคลีนิคเท่านั้น แต่จะเป็นการออกเชิงรุก ออกนอกพื้นที่มีการโทรศัพท์พูดคุย นัดแนะกันเพื่อที่จะมีการรับคำปรึกษาที่ไหน และมีการปิดข้อมูลอย่างเป็นความลับ แล้วแต่วัยรุ่นด้วยว่าจะนัดเจ้าหน้าที่ ที่ไหนตรงนี้ค่อยข้างที่จะสะดวกเพื่อเอื้อทั้ง 2 ฝ่าย มีการติดต่อในเวลานอกอีกด้วยเพื่อให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น - ตำบลบางปู เป็นเขตที่ค่อนข้างสังคมซ้ำซ้อนขึ้นมา ตำบลบางปูเยาวชนจะมีความเข้มแข็งในเรื่องศาสนาเป็นหลัก ทางพื้นที่จะมีการป้องกันในเรื่องของการตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่นและในเรื่องการสร้างรายได้ มีในเรื่องของการนำเที่ยวชุมชนเพื่อสร้างรายได้ ทำให้เด็กสามารถหารายได้เป็นกอบเป็นกำเอาเวลาส่วนนี้ไปดูแลครอบครัว แทนที่จะใช้เวลาไปหมกมุ่นเรื่องอื่น - ตำบลโกตาบารู ได้มีการเริ่มต้นด้วยจากสภาเด็ก มีการฝึกงานฝึกอาชีพที่เป็นแหล่งพื้นที่ ที่มีอาชีพอยู่ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวเป็นแหล่งที่เรียนรู้และสร้างรายได้ให้กับเด็ก ตำบลโกตาบารูจะเน้นในเรื่องของชมรมเยาวชนที่ค่อนข้างเข้มแข็ง พี่ดูแลน้อง ดูแลทั้งหมด เช่น ศาสนา ความสัมพันธ์ เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาอย่างใกล้ชิด - ตำบลบาเระใต้ มีนิกะห์ไกด์ไลน์หรือว่าเรื่องของการจะแต่งงาน เพราะต่อยอดจากโครงการเดิมที่คัดกรองเด็กที่คลอดออกมาแล้วมีภาวะพิการ ก็จะมีการคัดกรองก่อน ถ้าอายุต่ำกว่าเกณฑ์ จะมี 3 ฝ่ายที่ไปร่วม ได้แก่ ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายผู้นำศาสนา ไปร่วมด้วยเพื่อที่จะดูแล

โดยที่ผ่านมาทั้ง 4-5 พื้นที่นี้ ประเด็นการตั้งครรภ์วัยรุ่นไม่เคยเป็นประเด็นหลักของอำเภอมาก่อน การที่พื้นที่เหล่านี้เข้าร่วมโครงการกับเราก็จะสามารถเป็นประเด็นใน ปี 64 ได้ ทั้งอำเภอเมืองปัตตานี อำเภอรามัญ อำเภอบาเจาะ ยกเว้นอำเภอยะหริ่งจะบรรจุอยู่ในแผนของพชต.  ใน ปี 64 ทั้งหมดนี้ได้ดำเนินงานมาลักษณะเดียวกันตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ คือ เน้นตั้งแต่การป้องกันและแก้ไข ช่วงกลางน้ำ คือ มีแล้วจะดูแลกันยังไงให้เกิดการตั้งครรภ์คุณภาพ สุขภาพแม่ และสุขภาพทารก ปลายน้ำ คือ ถ้าเคยตั้งครรภ์แล้วต้องรู้จักป้องกันที่จะไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ซ้ำ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการจัดการตนเองได้ ภาพรวมทั้งหมดในเฟสที่ 1 ของแต่ละพื้นที่พยายามดำเนินการ ในเฟสที่ 1 ที่ผ่านมามีการเลือกพื้นที่นำร่องขึ้น เหตุผลที่ได้เลือกพื้นที่น้ำร่องตำบลต่างๆขึ้นมา คือ แต่ละพื้นที่มีลักษณะเด่น ที่ได้เลือกอำเภอเมืองปัตตานี ท่านสาธารณสุขอาสาในที่ประชุมว่าอยากเข้าร่วม เพราะว่าทางอำเภอเมืองปัตตานี มีเยาวชนเข้ามาอยู่กันมาก เพราะเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเด็กก็มาจากต่างพื้นที่มาอาศัยรวมกันในหอพัก ในบ้านเช่า และเมืองปัตตานีมักเกิดปัญหาหลายๆอย่าง เช่น ปัญหาสุขภาวะวัยทารกเลยนำมาสู่ในเฟสที่1 นี้ ในส่วนของอำเภอยะหริ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ชายทะเลจะมีที่พักรีสอร์ทค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้เด็กอาจจะเข้าไปอยู่เลยได้มีการเชิญเจ้าของรีสอร์ทมาพูดคุยให้ความรู้เรื่องนี้ด้วย อำเภอรามันจะมีงานประเพณี งานเทศกาลค่อนข้างเยอะ มีที่ท่องเที่ยว มีเด็กแว๊น สก๊อย เลยได้มาตรการในการควบคุมขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา ได้มีการจัดตั้งจุดตรวจ จุดคัดกรอง จุดลาดตระเวน เป็นต้น อำเภอบาเจาะจะมีอัตรการหย่าร้างค่อนข้างสูงและแป็นแหล่งระบาดของยาเสพติด มีเด็กแว๊น เด็กสก๊อยค่อนข้างเยอะ ที่นี้จะพบเคสทารกคลอดออกมาแล้วพิการตั้งแต่กำเนิดด้วย ได้มีฟุรุกรโมเดลพยายามจะต่อยอดจากงานเดิมที่ทำอยู่ ทั้งหมดนี้ได้มีการวิเคราะห์ถึงพื้นที่ต่างๆได้มีการทำอะไรขึ้นมาบ้าง ซึ่งได้เห็นถึงความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ปัจเจกชนทุกคนร่วมมือช่วยกันอยู่ เพราะส่วนใหญ่ได้ทำตามบทบาทหน้าที่ตนเอง ต่างคนต่างทำและได้มีการทำที่แยกส่วนอยู่ ในเฟสที่ 1 ที่ผ่านมานั้นน จะเป็นในส่วนของการผลิตโมดูลขึ้นมา 1 โมดูล ที่มี 5 หน่วยการเรียนรู้ย่อยแล้วได้มีการนำมาทดลองใช้กับพื้นที่นำร่อง 4 อำเภอ 5 ตำบล ได้ผลลัพธ์ที่สรุปไว้ตามข้างต้นที่ได้กล่าวมา พอมาถึงเฟสที่ 2 ในส่วนของโมดูลที่ผลิตมาแล้วนั้น อยากจะมีการปรับให้มีความสนิท ใกล้ชิดมากขึ้น มีการเรียนรู้ง่ายสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายขึ้น เพราะที่ผ่านมาเนื้อหาค่อนข้างเยอะ การมีเนื้อหาเยอะอาจะเป็นอุปสรรคต่อบางคนที่ไม่อยากอ่านเยอะ อยากได้อะไรมีการโฟกัสตรงจุดมากกว่า เห็นถึงขั้นตอน เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้ เป็นต้น  ในนเฟสที่ 2 เลยมีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งเพื่อให้ง่ายขึ้น ในเฟสที่ 2 ที่จะปรับโมดูลขึ้นมาใหม่นี้เราก็ไม่ทำใน 4 อำเภอ 5 ตำบล แต่มีการเพิ่มพื้นที่ขึ้นมา ในเฟสที่ 2 นี้จะมีทั้งหมด 19 อำเภอ 20 ตำบล  ทั้งพื้นที่เก่าและพื้นที่ใหม่จะมีการมาเรียนรู้ร่วมกันอีกครั้ง ได้มีการทบทวน ทำความเข้าใจเห็นภาพด้วยกัน ในการใช้โมดูลเพื่อเกิดการป้องกันแก้ไขปัญหาในวัยรุ่นในพื้นที่อย่างไร ซึ่งเดิมผู้รับผิดชอบและผลิตโมดูลจะเป็นทีมวิชาการ ซึ่งจะมีกาพูดคุยกับทีมวิชาการถึงการดูแลเฟสที่ 2 จะมีการปรึกษาหารือการวางแผนงานในเฟสที่2 กันด้วย และในเฟสที่ 2 นี้จะเน้นการหารือการสร้างความเข็มแข็งต่อในเรื่องของการพัฒนาจุดคัดกรองระดับพื้นที่ ในเฟสที่ผ่านนมานั้นจุดแข็งที่พบ คือ ทีมพี่เลี้ยงช่วยพชต.ช่วยพชอ.ได้เยอะในเรื่องของการเอาโมดูลไปขยายต่อ ไปอธิบาย Workshop ในระยะเวลา 1-2 วัน ไม่พอเลยให้ทีมดังกล่าวไปขยายเวลา อธิบายเพิ่ม และไปติดตาม เฟสนี้จะเน้นในเรื่องความเข้มแข็งจะให้มีทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล พร้อมกับทีมประเมิน ในด้านของทีมประเมินจะมีการทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานของพชต.และ พชอ.ในระดับอำเภอหรือระดับตำบล ในการที่จะจัดอบรมพี่เลี้ยงแต่ละครั้งจะมีการพัฒนาคู่มือขึ้นมาก่อนเสมอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี ซึ่งจะมีการทำคู่มือขึ้นมาเป็นจำนวน 2 เล่ม เมื่อผลิตโมดูลแล้วจะมีพี่เลี้ยงสามารถคอยดูแลแต่ละพื้นที่อยู่ในส่วนนั้น และจะมีทีมประเมินไปประเมินอยู่ในแต่ละพื้นที่ด้วยเพื่อดูถึงผลลัพธ์ที่ได้ตามมา เลยนำมาสู่การมี Road map ของระดับจังหวัดและมีแผนงานระดับอำเภอหรือตำบล มี MOU ซึ่ง MOU  นี้คาดว่าจะให้ลำดับสุดท้าย เพราะอยากให้ 19 อำเภอ 20 ตำบลนี้เห็นภาพตัวเองก่อนและสุดท้ายได้นำมาสู่การทำ MOU ในการผลิตสื่อนี้จะเน้นให้เยาวชนหรือประชาชนทั่วไปได้เข้าถึง เข้าใจกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ สุดท้ายจะมีเวทีแลกเปลี่ยนขึ้น เพื่อถอดบทเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้น  ถอดตั้งแต่ก่อนดำเนินงาน การดำเนินงาน และหลังดำเนินงาน ด้วย หลักที่สามารถเห็นได้ชัดถึงงานได้แก่ การทำโมดูล Revised การพัฒนาคู่มือ Workshop อบรมพื้นที่เก่าพื้นที่ใหม่ อบรมทีมพี่เลี้ยง อบรมทีมประเมิน ทีมสื่อทีมทำสกู๊ป และเรื่องของการถอดบทเรียน การทำ Fiedwork นี้จากพื้นที่ 19 อำเภอ 20 ตำบล ได้เรียนรู้โมดูลและก็มีทีมพี่เลี้ยง ทีมประเมินได้ผ่านการเทรนนิ่งมา ได้นำไปช่วยให้พชต. และ พชอ.ทำแผนทำโครงการต่อในเรื่องของการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ในสุดท้ายนี้งานจะจบอยู่ที่งานประเมินผล มีการประเมินโมดูล Revised ประเมินพี่เลี้ยง ประเมินทีมประเมินอีกด้วย และนำมีการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้ง 19 อำเภอ 20 ตำบล

นพ.สุวัฒน์: กลไกการทำงานพชอ.หรือพชต.เป็นกลไกลที่ผสานพลังในแนวราบ จะเป็นซอฟพาวเวอร์ มากกว่า ฮาร์ดพาวเวอร์ ซึ่งฮาร์ดพาวเวอร์ได้พบเยอะแล้ว แต่การทำงานชีวิตต้องใช้การทำงานด้วยหัวใจ เอาทรัพยากรแต่ละส่วน เช่น ราชการ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคม เอาหัวใจมาทำงานร่วมกัน การกำหนดประเด็นของการขับเคลื่อนเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง เพราะว่าเราไม่ได้ยัดเยียดเอาประเด็นเหล่านี้ไปให้ แต่ต้องเป็นประเด็นที่ชาวบ้านรู้สึกเป็นเจ้าของ ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ถึงความยั่งยืน เมื่อเริ่มต้นแล้วสามารถทำต่อได้เอง โดยไม่ต้องมีอะไรสนับสนุน ชุมชนเขาเห็น เขาสามารถร่วมและรู้สึกได้ เขาก็จะสามารถไปต่อได้เองและจะเป็นตัวละคนตัวหนึ่งที่จะสามารถขับเคลื่อนการทำงานที่จะทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดถึงการต่อยอด การขยายผลในหลายอำเภอ หลายตำบลได้  สืบเนื่องจากปีที่แล้วซึ่งได้ดูแลสำนักศูนย์สุขภาพปฐมภูมิได้ทำงานร่วมกับ สวรส.และอาจารย์จากม.จุฬา ได้จัดทำเรื่องหนึ่งขึ้นมา คือ การวิเคราะห์เพื่อให้เห็นถึงกลไกที่เกิดผลต่อสังคมอย่างไร (SROI) ได้มีการไปดู 4 อำเภอทั้งประเทศไทย ได้ไปดูประเด็นที่พชอ.หนึ่งขับเคลื่อนอุบัติเหตุ ซึ่งอุบัติเหตุจะเห็นได้ชัดเจน Social Refund จะกลับมาภายในเวลาพอดี ถ้าหากลงแรงกับเรื่องอุบัติเหตุ ภายในครึ่งปีหากได้ลงแรงไปจะกลับมาเห็นผล ขณะที่บางเรื่องลงทุนแล้วอาจจะต้องใช้เวลา เช่น ผู้สูงอายุ เป็นต้น เลยได้มีการคิดขึ้นมาได้ว่ามีการชวน สวรส.เข้ามาทำประเด็นที่ได้คุยกันอยู่ ปัญหาในวัยรุ่นนี้ Social Refund จะกลับมาอย่างไร ซึ่งการที่จะไปสื่อสารกับภาคีเครือข่ายเอาข้อมูลต่างๆเหล่านี้ไปคุยทุกคนให้ความสนใจดีมาก และอีกประเด็นหนึ่งคือ ทุกคนอยู่ในสถานการณ์โควิด โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนใต้ อาจจะต้องหยิบยกเรื่องราวเรื่องที่ทุกคนมีความสนใจ ตระหนัก มาเชื่อมโยงสิ่งที่ทำ เช่น การเสียชีวิต แม่และเด็กที่เสียชีวิตมากในประเทศไทยในสถานการณ์โควิท โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ โดยที่จะใช้โอกาสเหล่านี้ที่จะทำให้สังคม ชุมชน เกิดความเข้าใจ ช่วยกันหยิบประเด็นเหล่านี้มาเชื่อมกับงานที่ทำ มันจะทำให้ภาคีเครือข่ายเขาสามารถที่จะหยิบยกสิ่งที่เป็นปัญหามาผนวกกับสิ่งที่กำลังขับเคลื่อนไป

ตัวแทนอำเภอเมืองปัตตานี: ในตำบลรูสะมิแลนั้นในการขับเคลื่อนจะใช้โรงเรียนและชุมชนที่เป็นต้นแบบ ซึ่งได้เลือก โรงเรียนรัฐประชานุเคราะห์ในการขับเคลื่อนของวัยรุ่น เพราะโรงเรียนรัฐประชานุเคราะห์นั้นเป็นโรงเรียนที่รับเด็กต่างถิ่นและเด็กที่ค่อนข้างมีปัญหามาเป็นโรงเรียนต้นแบบ ขับเคลื่อนโดยใช้กลุ่มชมรม TO BE NUMBER ONE ในการขับเคลื่อนของวัยรุ่น และได้เลือกชุมชนบางปลาหมอที่เป็นชุมชนค่อนข้างมีปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น โดยขับเคลื่อนจากกลุ่มอาสาจากน้องๆที่มีจิตอาสา ในส่วนตำบลรูสะมิแลต่อไปจะมีการขับเคลื่อนจากกลุ่มสภาเด็กซึ่งได้มีการหารือกับเทศบาลรูสะมิแลถึงการขับเคลื่อนครั้งต่อไป และในส่วนของชมรม TO BE NUMBER ONE จะเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนให้คนในชุมชนต่อไป

ตัวแทนอำเภอบาเจาะ: สำหรับแนวทางในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นซึ่งได้เลือกตำบลบาเระใต้ ช่วงการดำเนินงานจะใช้เครือข่ายของผู้นำชมชน ผู้นำศาสนา อบต. โรงเรียน ตลอดจนเครือข่ายทั้งหมดเข้ามาแก้ปัญหาในครั้งนี้ ได้มีการมอบนโยบายของวัยรุ่นคุณภาพ โดยใช้หลักการนิก้ะห์โมเดล จะมีนายอำเภอให้ความรู้กับอิหมามในเรื่องของการจัดพื้นที่แต่งงาน และอสม.จะมีการแจ้งให้ทราบถึงการแต่งงานในพื้นที่ว่าจำนวนเท่าไร จำนวนกี่คู่ หลังจากนั้นก่อนเป็นวัยรุ่นจะมีโรงเรียนที่ให้องค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพ จะพัฒนาในด้านของทักษะเป็นหลัก ก่อนที่จะเข้าสู่วัยรุ่น กระบวณการของการลด ละ เสี่ยง ของยาเสพติดในรูปแบบของการเข้าค่ายของยาเสพติด และให้ความรู้กับวัยรุ่นในพื้นที่ เพื่อให้มีคุณภาพที่ดี และมีการจัดตั้งโรงเรียนพ่อ แม่ ในชุมชน ซึ่งโรงเรียนพ่อแม่ในชุมชนนั้นจะมีการประเมินความพร้อมของครอบครัว เรื่องจิตวิญญาณของวัยรุ่น และมีการคัดกรองเรื่องความพิการในพื้นที่ด้วย

ตัวแทนอำเภอรามัน: อำเภอรามัญได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2563  โดยมีการใช้แนวทางของพชอ.ในการขับเคลื่อนในพื้นที่
1. การใช้ยุทธศาตร์ของเครือข่าย ในการจับประเด็น เพื่อที่จะให้เป็นตัวแม่บท โดยมีการนำปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นมาแนะนำในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นนโยบายของอำเภอเอง 2. มีการสรุปปัญหาทางยุทธศาตร์ ในประเด็นต่างๆที่ได้มีการเชื่อมโยงกับปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น และมีการสรุปสถิติให้กับภาคีเครือข่ายได้รู้ถึงเรื่องที่สำคัญ บทบาทของพชอ. ต่อการแก้ไขการตั้งครรภ์คุณภาพในวัยรุ่น 1. กำหนดเป็นวาระ ขับเคลื่อนระดับอำเภอ 2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการของพชอ. ขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์คุณภาพในวัยรุ่น 3. กำหนดพื้นที่นำร่อง 4. ค้นหาปัญหา กำหนดกิจกรรมในพื้นที่ ในแนวทางของพชอ.จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เชิงรุก และเชิงรับ - เชิงรุกคือ ภาคีระดับพื้นที่สามารถทำเองได้ ซึ่งสภาเด็กเป็นหน่วยงานที่สำคัญ คิดค้นเพื่อแสดงศักยภาพของตนเอง เปิดโอกาสให้แสดงศักยภาพได้เต็มที่ - เชิงรับ คือ คลีนิคการตั้งครรภ์จะจัดตั้งที่โรงพยาบาล หรือรพ.สต. การตั้งการรับนั้น ต้องมีการวางแผน ระยะเวลา เพื่อให้เกิดความสำเร็จในช่วงสั้นๆ ในกิจกรรมต่างๆจะใช้คำสั่งจากอำเภอเป็นหลัก จะเป็นเครือข่ายที่ใช้เยาวนเป็นแกนนำหลักในการขับเคลื่อนครั้งนี้ ตำบลโกตาบารูจะเป็นพื้นที่รอยต่อทางผ่านของหลายจังหวัดและหลายอำเภอซึ่งส่วนนี้เป็นจุดที่ทำให้เยาวชนมารวมตัวนี้ เลยให้ชุดชรบ.ได้เข้ามาดูแลในส่วนนี้ เพื่อที่จะลดการมั่วสุ่ม

อาจารย์ซอฟียะห์: งานภาคสนาม ถือเป็นจุดสำคัญเนื่องจากจะให้พชต.และพชอ.ทำแผนโครงการเพื่อที่จะขอใช้งบสนับสนุนหลักจากกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น

สมชาย (สปสช เขต 12): ประเด็นการพูดคุยมี 2 เรื่อง 1. ส่วนของกองทุนท้องถิ่น บทบาทพี่เลี้ยง ในการที่จะทำงานกองทุนท้องถิ่น พชอ.และหน่วยงานควรทำงานกันอย่าไงบ้าง
พชอ. อาจจะป็นกลไกที่อยู่ตรงกลางระดับอำเภอ ถ้าหากจะมีการทำงานเรื่องนี้ขึ้น ต้องมีกลไกระดับพื้นที่ ซึ่งในต้องท้องถิ่นนั้นจะมีกองทุนตำบล กองทุนตำบลนี้เกิดขึ้นมาประมาณ 15 ปีนี้ เป็นการถ่ายโอนเงินสุขภาพไปยังท้องถิ่น ทุกท้องถิ่นในเขตของชายแดนภาคใต้นี้จะมีกองทุนท้องถิ่น 100% ดังนั้นทุกตำบลจะมีกองทุนอยู่แล้ว อาจจะมีงบมากบ้างน้อยแล้วแต่ตำบล ที่ผ่านมาเกิด พชอ.กลไกใหม่ขึ้นมาซึ่งอาจจะเป็นกลไลทางปกครองมีกฎหมายบ้าง มีการรวมตัวกันแบบหลวมๆ ลักษณะการทำงานจะพบปัญหาเรื่องการที่กองทุนท้องถิ่นมีเงินสะสมค้างอยู่เยอะ ซึ่งปีนี้ลดลงเพราะเนื่องจากบางส่วนใช้เงินส่วนนี้ทำโควิดเยอะ และปีนี้ก็จะมีเงินเข้าไปสนับสนุนด้วย ที่ผ่านมากองทุนท้องถิ่นมีการสะสมเงินเยอะ แต่ไม่กล้าใช้เงิน และที่สำคัญบางที่ทำงานแล้ว แต่ไม่มีแผนสุขภาพ โครงการที่ทำไม่ได้คุณภาพและไม่ได้ตอบโจทย์ของพื้นที่ ส่วนนี้ก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ทางสปสช.ก็ได้มีการขับเคลื่อนโดยสร้างกลไกขึ้นมา คือกลไกพี่เลี้ยงกองทุนและมีการเทรนนิ่งขึ้น ซึ่งพี่เลี้ยงจะทำลักษณะของปีต่อปี พี่เลี้ยงจะมีการเทรนนิ่งในเรื่องของการที่จะให้ไปพัฒนากระบวนการทำแผน โดยเน้นประเด็นสุขภาพ แนะนำในส่วนของไกด์ไลน์การทำงานของพี่เลี้ยง โดยพี่เลี้ยงลงไปฝึกการเขียนโครงการ ที่ผ่านมานั้น ใน 3 จังหวัดจะมีการรู้จักกองทุนน้อย โครงการอาจจะไม่ได้คุณภาพรวมถึงการบริหารโครงการด้วย โดยจะให้พี่เลี้ยงเข้าไปดูแลจุดนี้ ในการทำงานกองทุนจะยึดตามปัจจัยกองทุนสุขภาพที่เป็นปัญหาการตายของคนใน 3 จังหวัด จะเอาประเด็นสุขภาพเป็นตัวตั้งแล้วมาขอเงินไปทำโครงการ
กองทุนเปรียบเสมือนกับสสส.ดังนั้นต้องยอมรับว่าพชต.ไม่ได้มีเงินแต่เงินจะอยู่ในตำบล ดังนั้นการทำงานที่จะทำให้พชอ.เชื่อมกับกองทุนต้องให้เครือข่ายไปขอทุนจากกองทุนตำบล ดังนั้นเราจะบอกกับกองทุนถึงการนำเงินไปทำปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ ในส่วนพี่เลี้ยงจะมีเงินสนับสนุนให้ ในปี 2565 นี้ระบบพี่เลี้ยงไม่ได้มีขึ้นแล้ว แต่จะมีร่องรอยของพี่เลี้ยงเดิมอยู่ เพราะว่าหน่วยงานรัฐ รวมถึงสปสช. เงินที่ทำตรงนี้มีน้อยมาก  ทุกปีจะให้พี่เลี้ยงไปพบกองทุน ทำแผน พัฒนาโครงการ  แต่ปีนี้เงินประมาณ 3 แสน ดูแล 600 กว่าทุน ซึ่งคิดไม่ออกว่าจะทำตรงไหนบ้าง ดังนั้นหากจะตกลงกับพี่เลี้ยงสำหรับที่จะทำเรื่องหญิงตั้งครรภ์ก็จะต้องดูการใช้กลไกพี่เลี้ยงในการลงไปทำ สิ่งที่พี่เลี้ยงจะลงไปทำคือพี่เลี้ยงต้องลงไปทำการทำแผน ในการทำแผนนี้ซึ่งเว็บกองทุนที่สร้างขึ้นมา สามารถที่จะทำแผนสุขภาพได้ ในแผนที่กองทุนทำหากมีการที่จะทำกับกองทุนลักษณะแต่ละตำบล พี่เลี้ยงที่ทำงานด้วยอาจจะมีกลไกให้ตัวพี่เลี้ยงไปทำเรื่องแผนเด็กเยาวชนและครอบครัว ซึ่งสิ่งนี้จะมีประเด็นการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นอยู่ ถ้าหากทุกตำบลที่พี่เลี้ยงลงไปทำ เมื่อทำแผนแล้วก็ให้มีโครงการ มีหน่วยงานที่ไปขอโครงการ เวลาทำงานกอทุนนั้นจะมีการเน้นให้เขียนโครงการ เจ้าของโครงการนั้นสามารถที่จะเขียนออนไลน์ได้ ที่สำคัญเมื่อเขียนโครงการออนไลน์แล้วจะมีประเด็นเด็กขึ้นมา เมื่อกองทุนให้เงินสนับสนุนตัวระบบของคนที่ได้ทุนก็จะมีการรายงานผ่านเว็บ ที่สำคัญหากแต่ละตำบลมีการชักนำเรื่องของเด็ก เรื่องของการตั้งครรภ์ได้ต้องมีการกรอกข้อมูลของสถานการณ์เด็กและเยาวชน ตัวนี้สามารถไปนำเสนอข้อมูลของตำบลได้ ที่ผ่านมาการทำแผนนั้นจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ ด้านบนสั่งให้ทำ และต้องเอาข้อมูลจากพื้นที่เข้ามาข้อคิดเห็นร่วมกันว่าน่าจะมีแผน ซึ่งเงินมี เครือข่ายมี ระบบการจัดการมี ตัวพชอ.เองอาจจะถูกดันขึ้นมา

อาจารย์ซอฟียะห์: ถึงแม้ว่าในเฟสถัดไปอาจจะไม่มีงบมาสนับสนุนแต่สามารถที่จะมีพี่เลี้ยงเดิมมาคู่กับพี่เลี้ยงที่สร้างใหม่ เพื่อที่จะไปตกลงกับกองทุนตำบลได้ ในเฟสที่แล้วนั้นอำเภอยะหริ่งได้มีการสนับสนุนให้กับตำบลตาแกะ โดยใช้งบของกองทุนตำบลหมดเลยในการจัดการการดำเนินงานการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ที่ผ่านมาได้มีการเลือกพื้นที่อาสาสมัครเข้ามาร่วมในเฟสที่แล้ว เมื่อดูอุบัติการ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ จะเป็นข้อมูลของปี 62 ในส่วนของจังหวัดยะลาที่ได้เลือกพื้นที่นำร่องจะเป็นอำเภอรามัน จังหวัดปัตตานีจะเลือกยะหริ่ง กับเมืองปัตตานี นราธิวาสจะเลือกอำเภอบาเจาะ สำหรับในเฟสนี้ยังคงยึดถึงปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คงต้องมีการเสนอใช้อำเภอใกล้เคียง ครั้งนี้จะมีทางศบ.สต.ที่มีการเข้าร่วมในครั้งนี้ ในเฟสนี้อยากจะชวนทุกท่านเข้ามาทำงาน ในด้านของการปรับเปลี่ยนโมดูลและการทำสื่อนั้นสมาคมจันทร์เสี้ยวเคยทำหน้าที่ในเรื่องของการผลิตโมดูล

คุณอิลฟาน: การต่อยอดของงานปีที่แล้ว รวมทั้งสถานการณ์ที่ไม่สามารถร่วมตัวได้จำเป็นต้องใส่สื่อมีเดียในการขับเคลื่อน เมื่อดูกลุ่มเยาวชนเป้าหมายในโครงการนี้ ส่วนใหญ่จะมีช่องทางในการเสพสื่อมาก จะมีวิถีชีวิตอยู่กับสิ่งนี้หมดเลย ดังนั้นเลยทำช่องทางที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เช่น มีเพจ ทำคลิปสั้นๆ ทำกราฟฟิคที่น่าสนใจ  และที่มีการจัดทำแล้วแต่ยังไม่มีการใช้ จะเป็น อินสตราแกรม และ Tiktok เพราะส่วนใหญ่กลุ่มเยาวชนจะมีการใช้ติ๊กต็อกจำนวนมาก ได้มีการนำสมาคมจันทร์เสี้ยวเข้ามานั่งพูดคุยและออกแบบให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

คุณวัลภา: ส่วนของโมดูลที่ทำ จะต้องดูถึงภารกิจหลักของเฟส 2 ที่จะใช้โมดูลให้เป็นประโยชน์ เป็นประเด็นหลักที่โมดูลที่จะปรับนั้นตอบโจทย์หรือไม่ และจะมีเกณฑ์การเลือก 19 อำเภออย่างไรบ้าง และระบบติดตามจะอยู่ในรูปแบบเหมือนเดิม หรือมีการปรับเปลี่ยนขึ้นไหม  ในงานที่ผ่านมานั้นที่สังเกตเห็นเป็นเรื่องที่ดี เป็นผลสำเร็จด้านบวกที่คนจะสืบต่อ โดยได้มีฐานโรงเรียน และฐานชุมชน แต่ยังไม่มีฐานครอบครัว เข้ามาส่วนร่วม และการมีสภาเยาวชนเข้ามาส่วนร่วมเป็นสิ่งที่ดี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก แต่ที่ยังไม่เห็นคือ ความคิดเห็นของเยาวชนสมัยนี้ ทัศนะคติ มุมมองในเรื่องการมีเพษสัมพันธ์เป็นอย่างไร เพราะสิ่งนี้คือ?