โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอแม่ลาน จ.ปัตตานี16 ธันวาคม 2564
16
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sulaiman
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานีในวันพฤหัสบดี ที่ 16 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมองอค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานีในวันพฤหัสบดี ที่ 16 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมองอค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

นายสมศักดิ์ ทิพธ์มณี  นายอำเภอแม่ลาน น.ส.อุสนี สาแลมะ  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.แม่ลาน นางออรัญญา ฤทธิเดช  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.แม่ลาน น.ส.อาอีเสาะ สาแล๊ะมะ  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.แม่ลาน นายชานนท์ มณีศรี  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสจ.ปัตตานี น.ส.รอฮานา ยามา  ผอ.กศน.อำเภอแม่ลาน น.ส.อารียา อำมาตย์  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.แม่ลาน น.ส.ซูนีตา มะเซ็ง  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.สต.แม่ลาน นายสมรัฐ คงเขียว  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รักษาการ สสอ.แม่ลาน น.ส.จิราภรณ์ บุญไชยสุริยา  ครูกศน.อำเภอแม่ลาน นางนิภารัตน์ แก้วยอดจันทร์  นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ อบต.แม่ลาน น.ส.สุนทรี โตบุรี  หัวหน้าสำนักปลัด อบอต.แม่ลาน น.ส.จิราพร สุวรรณ์  ผช.สาธารณสุข อบต.แม่ลาน น.ส.สุนิสา กาญจนจันทร์  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สสอ.แม่ลาน ดร.ซอฟียะห์ นิมะ  สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ  สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายอิลฟาน ตอแลมา  สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข นายอานัติ หวังกุหลำ  สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา ม.อ. น.ส.เกตุกนก พงษ์นุรักษ์  ผู้ช่วยโครงการ น.ส.เกตุสุดา พงษ์นุรักษ์  ผู้ช่วยโครงการ วัตถุประสงค์

เพื่อหารือการดำเนินงานและชี้แจงรายละเอียดโครงการ พื้นที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี สรุปสาระสำคัญ

นายอำเภอ ให้การต้อนรับแล้วกล่าวเปิดงาน

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเกิดขึ้นกับเด็กที่ไม่มีความพร้อม จึงส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและผู้ปกครองในอนาคต เมื่อเด็กทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีเหตุผล ผลที่ตามมา จึงเกิดปัญหาการหย่าร้างและการตั้งครรภ์ไม่มีคุณภาพเพราะเด็กอายุน้อย

ปัญหาหลักๆ ที่อาจเกิดขึ้น คือ เป็นภาระของครอบครัว

แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ มีทีมพชอ.ทุกอำเภอ เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาให้ประชาชนทุกประเด็น และมี สสอ. กศน. เข้ามาร่วมแก้ปัญหานั้นด้วย เน้นส่งเสริมให้เด็กมีความพร้อมในการใช้ชีวิตคู่ ซึ่งกศน. เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องแก้ไข

ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ อาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ พูดคุยในประเด็นดังนี้

เรื่องการตั้งครรภ์มีผลลัพธ์อะไรบ้าง เรื่องระดับการศึกษาของเด็กมีผลต่อการตั้งครรภ์ในวัยวุ่นหรือไม่ ให้วัยรุ่นเป็นศูนย์กลาง มีสถานบริการร่วมป้องกัน การสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ ส่งเสริมงานวัยรุ่นในตำบลแม่ลานให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีศูนย์อนามัยที่ 12 มาร่วมในการขับเคลื่อน คุณสุนิสา แลกเปลี่ยนประเด็น

เข้ามาขับเคลื่อนได้วางแผนในอนาคตต่อไป สามารถนำและขับเคลื่อนงานตรงนี้ได้ ช่วยให้แม่ลานพัฒนาขึ้นดียิ่งขึ้น พร้อมจะสู้ไปด้วยกัน ยินดีเข้าร่วมโครงการต่อไป นับเป็นโอกาสที่ดี สิ่งที่ดีในการพัฒนาขับเคลื่อน ดีใจที่ อ.ซอฟิยะห์ เข้ามาช่วยสนับสนุนโครงการให้แก่คนในพื้นที่ คุณอิลฟาน ตอแลมา แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

มีการพัฒนาโครงการและจะเข้าไปขับเคลื่อนต่อไป มีทีมพชอ.เข้าไปขับเคลื่อนหรือไม่ พี่สุนิสาแลกเปลี่ยนประเด็นนี้

ประเด็นอาจไม่อยู่ในพชอ. ณ ตอนนี้อยากรอคนที่มีอำนาจมากกว่าเข้ามาเติมเต็ม มาขับเคลื่อน เช่น สสอ. หรือ คนขับเคลื่อนที่มีความชัดเจน คุณอิลฟาน ตอแลมา แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

ยึดเครือข่ายและมีการดำเนินงานเลย ให้ทางเครือข่ายหรือพชอ.ในพื้นที่ จัดกระบวนการร่วมกัน จะจัดให้มีการจัดอบรมร่วมกันอีกครั้ง ประกอบด้วย ความรู้, นโยบาย, พรบ., การจัดทำแผนและการประเมินผล โดยจัดทำทุกประเด็น ให้ได้เข้าใจกระบวนการที่เราทำ ไม่ได้แค่ประเด็นของเราอย่างเดียว แต่ยังมีประเด็นอื่นที่น่าสนใจและมีความเกี่ยวข้องมาร่วมกันปรึกษาหารือด้วย คุณอานัติ หวังกุหลำ แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

มีการลงพื้นที่ ปฏิบัติการ ชวนคุย ตั้งเป้าหมาย มีการดำเนินงานตามแผนต่อไปอย่างไรบ้าง ดูแหล่งทุนในพื้นที่ ที่สามารถขยับขับเคลื่อนงานของเราได้ หลังจากนั้นจะมีการลงพื้นที่ ประมาณ 3-4 ครั้ง สุนิสาแลกเปลี่ยนประเด็นนี้

จำเป็นต้องมีแกนนำหลักหรือไม่ เช่น กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน การรักษาความมั่นคงในพื้นที่ กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่ได้เข้ามีบทบาทเท่าไหร่ ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

เอาตัวเลือกที่มีบริบทในพื้นที่นั้นๆ ได้เลย เช่น คนที่ทำงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็ได้ (อาจเลือกคนอื่นๆ ได้เข้ามาได้โดยไม่จำกัดเฉพาะคนที่มีตำแหน่งทางสังคมเท่านั้น) แต่การลงพื้นที่อาจต้องมีการแจ้งต่อผู้ที่มีตำแหน่งหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ทราบก่อนการจะลงพื้นที่จริง สุนิสาแลกเปลี่ยนประเด็นนี้

เลือกพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย สะดวก และเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาจริงๆ เพราะพื้นที่นี้มีประชากรเยอะ มีคนนอกพื้นที่เข้ามาด้วยอยู่ในพื้นที่นี้ด้วย ทำให้มีประชากรแฝง เช่น ตั้งครรภ์มาจากที่อื่น แล้วมาคลอดในพื้นที่นี้ ข้อมูลที่ได้อาจมีเฉพาะจำนวนประชากรจากทะเบียนราฏร์เท่านั้น เลือกพื้นที่ป่าไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจ เป็นพื้นที่ที่มีปัญหา แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ บริบทของพื้นที่ เช่น เครือข่ายเข้าไม่ถึง มีประเด็นที่ท้าทาย แต่ก็ไม่จัดเป็นอุปสรรค พื้นที่ป่าไร่ เป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอแม่ลาน เพราะมีประชากรเยอะ มีข้อมูลและการได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง มีประชากรเยอะ มี 2 รพ.สต. รพ.สต ที่ 1 เข้าถึงง่ายและรพ.สต.ที่ 2 เข้าถึงค่อนข้างยาก เพราะมีประชากรเยอะ และมีพื้นที่เยอะกว่า แต่มีความร่วมมือจะดีมาก ยอมรับหากทีม ม.อ. เข้ามาช่วยขับเคลื่อนโครงการ เพราะมีทีมวิชาการที่ดี มีหลังการทำงาน ทำให้งานที่ออกมาจะเป็นงานใหม่ๆ ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม แต่งานของสาธารณสุข เน้นการทำงานแบบเดิมๆ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มาอาจจะได้ก็คล้ายๆ แบบเดิม พื้นที่ป่าไร่ มีทีมแกนหลัก คือ ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนที่มีความร่วมมือและมีความพร้อม ชาวบ้านในพื้นที่ ต้องการพัฒนาพื้นที่ของป่าไร่ แต่ไม่แน่ใจว่าควรเริ่มยังไง ต้องเข้าไปให้ความรู้ ให้คำแนะนำ พูดคุย แลกเปลี่ยนแก่ชาวบ้านในพื้นที่ให้มีความเข้าใจเรื่องเดียวกันไปในทิศทางเดียวกัน จึงมองว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ค่อนข้างท้าทาย เป็นโอกาสของคนในพื้นที่ เพราะได้มีหลักวิชาการเข้ามาแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น สรุป เลือกพื้นที่ป่าไร่ ดร.ซอฟิยะห์ นิมะ แลกเปลี่ยนประเด็นนี้

วางแผนเลือกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวในการขับเคลื่อนโครงการ ผู้เข้าร่วม workshop ได้แก่ แกนนำเยาวชน, ผู้ใหญ่บ้าน, กศน.เขตป่าไร่, ปอเนาะ เช่น ผู้จัดการโรงเรียน, อบต.ป่าไร่, ปลัดตำบลและสภาเยาวชนอาจมีการประชุมทั้งในรูปแบบ online ให้แก่กลุ่มข้าราชการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ Zoom ได้ และจัดกิจกรรมในรูปแบบ onsite ให้แก่ กลุ่มชาวบ้าน ข้อมูลจากเสริมจากแม่ลาน

คำขวัญประจำอำเภอ พืชผักผลไม้ดี ดิเกฮูลูดัง มโนราห์กลองยาวเด่น ถิ่นวิปัสสนา

อาณาเขต ทิศเหนือจรด เขตอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ทิศใต้จรด เขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ทิศตะวันออกจรด เขตอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ทิศตะวันตกจรด เขตอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี การปกครอง ประกอบด้วย 3 ตำบล 22 หมู่บ้าน 3,365 หลังคาเรือน ประชากร 16,493 คน แบ่งเป็น เพศชาย 8,349 คน เพศหญิง 8,144 คน

ภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศ: เป็นที่ราบลุ่ม การคมนาคมมีถนนสาย 418 ตัดผ่านถนนในชุมชน หมู่บ้านหลายสายเป็นถนนลาดยาง และคอนกรีต

ลักษณะภูมิอากาศ มี 2 ฤดู ในฤดูร้อนอากาศจะร้อนชื้น ในฤดูฝนมีฝนตกบ่อยและมีน้ำหลากประกอบกับมีคลองชลประทานล้อมรอบทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบางแห่ง

ประชากร / การปกครอง นับถือศาสนาพุทธ 61% และนับถือศาสนาอิสลาม 39%

อาชีพและสภาพเศรษฐกิจ อาชีพหลัก : เกษตรกรรม สวนยางพารา และทำนา

อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว แพะ แกะ และประมงน้ำจืด

การศึกษา

ไม่ได้ศึกษา ร้อยละ 11.20 (1,596 คน) ประถมศึกษา ร้อยละ 36.49 (5,199 คน) มัธยมศึกษา ร้อยละ 39.77 (4,242 คน) อนุปริญญา/ปริญญาตรี ร้อยละ 10.87 (1,549 คน) สูงกว่าระดับปริญญา ร้อยละ 3.57 (509 คน) ไม่ได้ระบุ ร้อยละ 8.08 (1,152 คน) บริบทในพื้นที่

สังคมชนบท สองวิถี ครอบครัวแบบขยาย ฐานะปานกลาง ประชากรได้รับการศึกษาบางส่วน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ติดสังคม ออกกำลังกายไม่ต่อเนื่อง รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม ใช้สื่อสังคมออนไลน์ หน่วยบริการสาธารณสุขในเครือข่ายแม่ลาน

รพ.สต.ตำบล ป่าไร่ โรงพยาบาลแม่ลาน รพ.สต.ม่วงเตี้ย รพ.สต.แม่ลาน รพ.สต.บ้านต้นโตนด รพ.สต.บ้านคลองทราย เครือข่ายชุมชน

อบต. 3 แห่ง วัด 4 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง มัสยิด 16 แห่ง มัธยมฯ 1 แห่ง ประถมฯ ขยายโอกาส 2 แห่ง ประถมฯ 2 แห่ง กศน. 1 แห่ง ศพด. 7 แห่ง สถานศึกษาปอเนาะฯ 9 แห่ง วิสัยทัศน์

อนามัยการเจริญพันธุ์เข้มแข็ง บูรณาการเสริมสร้างโดยภาคีเครือข่ายในชุมชน

พันธกิจ

บูรณาการและเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการดำเนินงานเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์สุขภาพกาย สุขภาพจิตและการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นและเยาวชน พัฒนาองค์ความรู้เรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ ในระดับอำเภอและชุมชนอย่างต่อเนื่อง พัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น บุหรี่ สุรา สารเสพติด ความรุนแรงของวัยรุ่นและเยาวชน ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่อายุ 15-19 ปี (ที่มา : รานงานอนามัยแม่และเด็ก 30 เม.ย. 62)

ปี 2561 ร้อยละ 20 2562 ร้อยละ 40 2563 ร้อยละ 60 2564 ร้อยละ 100

ร้อยละของการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี

ปี 2561 ร้อยละ 15 2562 ร้อยละ 20 2563 ร้อยละ 40 2564 ร้อยละ 60 แผนการดำเนินงานด้านอนามัยเจริญพันธุ์โครงดารพัฒนาระบบบริการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

อบรมฟื้นฟูศักยภาพในการดูแลช่วยเหลือการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่เจ้าหน้าที่ รพ./PCU/เวชศาสตร์ อัตราของวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ที่ได้รับบริการคุมกำเนิดหลังคลอด > 80%รายงานกิจกรรมในชุมชน

การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนศูนย์ปฏิบัติการอำเภอแม่ลาน (ศปก.) ทุก 1 เดือน ประชุมคณะทำงานร่วมกันกับ MCH Bord และประชุม คปสอ.เดือนละ 1 ครั้ง ฐานข้อมูลด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ปี 2563

อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี มี15% อัตราเด็กและเยาวชนอายุ 15-24 ปี ใช้ถุงยางเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด 2.38% อัตราของการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า20 ปี มี 33.3% ร้อยละของหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่ได้รับบริการคุมกำเนิดด้วยวิธีสมัยใหม่ (Modern Methods) หลังคลอดหรือหลังแท้ง มี 5% กิจกรรมในพื้นที่ ปีงบประมาณ 2561 จัดโครงการอบรมวัยเรียน วัยใส เข้าใจเรื่องเพศ โดย อบต.แม่ลาน ปีงบประมาณ 2562 จัดโครงการโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ รู้ทันรู้จักเลี่ยง ไม่เสี่ยงเอดส์ โดย อบต.แม่ลาน ปีงบประมาณ 2562 จัดโครงการอบรมให้ความรู้การคุมกำเนิด โดย อบต.ป่าไร่ ปีงบประมาณ 2562 จัดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดย อบต.แม่ลาน ปีงบประมาณ 2562 จัดโครงการค่ายอบรมจริยธรรมฤดูร้อน โดย อบต.ม่วงเตี้ย ปีงบประมาณ 2563 อบต. แม่ลาน ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ในฐานะท้องถิ่นที่ขับเคลื่อนงานสุขภาวะเยาวชน ในงาน “คนใต้ หยัดได้ ครั้งที่ 2” ปีงบประมาณ 2561 มีการจัดโครงการกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา /เอดส์ / อนามัยการเจริญพันธุ์และสุขภาพ ในวิชาสุขศึกษา ม.1 – ม.6 ให้แก่นักเรียนโรงเรียนแม่ลานวิทยา ปีงบประมาณ 2562 มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา เอดส์ และกิจกรรมป้องกันพฤติกรรมด้านสุขภาพ ได้แก่ สุรา ยาเสพติด บุหรี่ ให้แก่นักเรียนโรงเรียนแม่ลานวิทยา ปีงบประมาณ 2563 มีการจัดโครงการเพศศึกษาพัฒนาทักษะชีวิต ให้แก่ กศน. ในพื้นที
ชนิดยาคุมกำเนิด


จำนวน 2561 2562 ยากิน - - ยาฉีด 1 1 ถุงยาง 4 4

อัตราของวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ที่ได้รับบริการคุมกำเนิดหลังคลอด > 80%


ชนิดยาคุมกำเนิด


จำนวน 2561 2562 ยาฝังคุมกำเนิด 0 4 ห่วงอนามัย 0 0 การบริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรอายุต่ำกว่า 20 ปี


ชนิดยาคุมกำเนิด


จำนวน 2561 2562 ยาฝังคุมกำเนิด 0 3 ห่วงอนามัย 0 0

การพัฒนาคลินิกวัยรุ่นและการขยายเครือข่าย

พัฒนาคลินิกวัยรุ่นเชิงรับ-เชิงรุก

1.พัฒนาศักยภาพในการดูแลช่วยเหลือการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่เจ้าหน้าที่ รพ./เจ้าหน้าที่ รพสต./PCU/เวชศาสตร์

2.ให้คำปรึกษาและการบริการวางแผนครอบครัวแก่มารดาวัยรุ่นหลังคลอดก่อน D/C ทุกราย

3.ประชาสัมพันธ์การให้บริการคลินิกวัยรุ่นและการป้องกันการคุมกำเนิดทั้งในโรงเรียนและในชุมชน

4.การบริการฝั่งยาคุมกำเนิดแก่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี

สิ่งที่จะพัฒนาต่อ

ประชุมติดตามการดำเนินงานอนามัยเจริญพันธุ์กลุ่มวัยรุ่นระดับอำเภอ เดือนละ 1 ครั้ง คณะกรรมการอำเภออนามัยเจริญพันธุ์ พร้อมภาคีเครือข่ายอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จัดกิจกรรมเชิงรุกในชุมชนทุกตำบล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ขยายกิจกรรม/โครงการอนามัยเจริญพันธุ์ ตำบลป่าไร่และตำบลม่วงเตี้ย เพิ่มการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมอนามัยเจริญพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกตำบลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ขยายแผนการสอนอนามัยเจริญพันธุ์ ในโรงเรียนประถม, โรงเรียนขยายโอกาส, ปอเนาะ ฯลฯ