โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

ประชุมหารือเข้าพบนายอำเภอแว้ง จ.นราธิวาส29 ธันวาคม 2564
29
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sulaiman
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมหารือโครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ในวันพุธ ที่ 29 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุมสาธารณสุข อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อาจารย์ซอฟียะห์และคณะ เข้าพบปลัดอาวุโส อำเภอแว้ง กล่าวแนะนำโครงการเบื้องต้น

เปิดวาระการประชุมโดย สสอ.อ.แว้ง ยินดีต้อนรับทางคณะจาก สนส.ม.อ.

กล่าวแนะนำและเริ่มวาระการประชุม โดยงานอนามัยแม่และเด็ก รพ.สต.บางขุด กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ หญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมักจะมีความเครียด หากมีอาการจะมีการส่งต่อไปยังงานด้านสุขภาพจิตที่โรงพยาบาลแว้ง เพื่อเจอกับนักจิตวิทยาต่อไป ในพื้นที่ไม่พบผู้ติดเชื้อ HIV มีแนวทางคลินิกฝากครรภ์ และมีการติดตามคนไข้เป็นประจำทุกๆ 4 สัปดาห์ มีคลินิกวางแผนครอบครัว มีการอบรมความรู้ทางด้านเพศศึกษา และมีการพบปะและบอกวิธีการวางแผนครอบครัว มีคลินิกป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อติดตามและดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง ปัญหาที่พบบ่อยในพื้นที่ คือ คนไข้ไม่มาตามนัด ทางรพ.สต. จึงโทรตามให้มาในอาทิตย์ถัดไป หากคนไข้มีปัญหาให้ติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง กิจกรรมที่ดำเนินการในพื้นที่ เช่น หลังคลอดมีการวางแผนการคุมกำเนิดแบบไหน มีการลงพื้นที่เยี่ยมหลังคลอด แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ช่วงโควิดระบาด จะให้คำปรึกษาและแนะนำโครงการผ่านทางโทรศัพท์ ในพื้นที่นี้พ่อแม่มีความพร้อมที่จะดูแลหลานในอนาคต กรณีเด็กไม่พร้อมทั้งด้านการตั้งครรภ์ที่รพ.สต.จะมีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแว้ง

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความเสี่ยง เด็กที่เกิดมามีภาวะซีดและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ครรภ์ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่เกิดกับพื้นที่ที่มีมุสลิม จึงเชื่อมโยงไปยังการซีนา เด็กไม่ได้รับการศึกษา สังคมแวดล้อมที่ตามมา คือ ผู้ปกครองไม่สามารถเลี้ยงลูกลุกที่เกิดมาได้อย่างมีคุณภาพ ส่วนใหญ่จะฝากเด็กไว้กับยาย จึงเกิดปัญหาสังคมตามมา กลายเป็นวงจรที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ในพื้นที่นี้มีเด็กแต่งงานช่วงอายุ 15-19 ปี และไม่ได้กลับไปเรียนต่อ โดยโครงการนี้พยายามผลักดันให้เด็กวัยรุ่นกลุ่มนี้ได้มีโอกาสกลับมาเรียนต่อ ทำให้สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ และมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ Productivity และจีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross Domestic Products : GDP) เพิ่มขึ้น และโครงการพยายามตัดวงจรที่หมุนเวียนจากแม่ไปสู่ลูกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น การแต่งงานมีลูกแล้วไม่ได้กลับไปเรียนต่อและอยากเข้ามาปรับ mindset ของคนในพื้นที่ให้มีความก้าวหน้าตามสถานการณ์ปัจจุบัน

ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอแว้ง บริบทของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้จะมีลักษณะใกล้เคียงกัน การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรม เช่น ขนบธรรมเนียม วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ การแต่งงาน ดูแลลูก ขบวนการขับคลื่อน ของ พชอ.ทำงานร่วมกับหลายเครือข่าย โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ขอบคุณทีมวิจัยที่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นโครงการที่ดี เน้นความสำคัญและแก้ปัญหาของพื้นที่

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. ยินดีกับ อ.แว้ง ที่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ เพราะการเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ดีและไม่ควรละเลยเพื่อจะตัดวงจรเหล่านี้ให้หมดไป และอ. แว้งยังคงตระหนักถึงปัญหาในเรื่องนี้ ซึ่งบางพื้นที่ มองว่าปัญหานี้ยังเป็นปัญหายิบย่อยไม่ค่อยมีความสำคัญ เพราะเด็กในพื้นที่มีไอคิวและอีคิวต่ำ ซึ่งโครงการนี้ต่อยอดมาจากเฟสที่ 1 และได้รับการสนับสนุนจากสสอ. ต่อเป็นเฟสที่ 2 โดยหลังจากเข้าร่วมโครงการจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและร่วมกันขับเคลื่อนต่อไป สุดท้ายแล้วจะมีการทำ MOU ร่วมกันในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดมาเป็นประธานในการจัดงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

แลกเปลี่ยนประเด็นจากโรงพยาบาลแว้ง กล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จากข้อมูลพบว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ตั้งเป้าน้อยกว่า 10% แต่ทางโรงพยาบาลทำได้ที่ระดับ 8.95% ซึ่งต่ำกว่าเป้าทีตั้งไว้ ด้านการแท้ง วางแผนไว้ว่าต้องน้อยกว่า 10% แต่ทางโรงพยาบาลทำได้ที่ระดับ 20% ซึ่งบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้โรงพยาบาลแว้งมีการทำ RSA (การยุติการตั้งครรภ์) การจัดทำทุกช่วงวัย โดยเป็นศูนย์ของจังหวัดนราธิวาสซึ่งมีเพียง 1 ที่ ที่รับ RSA โดยจะให้บริการแก่ประชาชนที่เข้ามารับบริการในจังหวัดนราธิวาสและพื้นที่ใกล้เคียง สำหรับปัญหาการตั้งครรภ์ในปี 2564 เน้นให้ประชาชนเข้าถึงและเข้ามารับบริการกันมากขึ้น มีการจัดทำเพจเฟสบุ๊คแลกเปลี่ยนพูดคุยระหว่างพยาบาลและคนไข้ มีคลินิกสำหรับให้บริการและมีการลงพื้นที่เชิงรุก ประเด็นการตั้งครรภ์ซ้ำ มีความประสงค์ในการตั้งครรภ์ แม้จะมีอายุต่ำกว่า 19 ปี

ปี 2564 มีการตั้งครรภ์ซ้ำในเด็กอายุ 14 ปี จำนวน 1 ราย ของตำบลโล๊ะจูด ประเด็นการตัดสินใจทำแท้ง หลายรายที่สามีต้องการและหลายรายที่ไม่ต้องการ มีการนำพรบ.การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมาปรับใช้อย่างเหมาะสมในแต่ละเคส

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. โครงการของพื้นที่นี้ คือ เน้นวัยรุ่นมีทางเลือก ส่งเสริมอนาคตให้เด็กกลุ่มนี้มีการศึกษา สามารถเลี้ยงดูเด็กที่จะเกิดมาให้มีชีวิตที่ดีและมีคุณภาพ มีหน้าที่การงานและอาชีพที่มั่นคง จะสามารถเพิ่ม GDP ให้กับพื้นที่และประเทศได้ ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้ไม่ยากหากทุกฝ่ายร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างแท้จริง

คุณมะยุนัน มามะ ผู้ประสานงานภาคสนาม ประเด็นเหล่านี้สำคัญมาก เราทุกฝ่ายต้องช่วยกันเพื่อลดปัญหาเหล่านี้ เช่น บางพื้นที่ไม่มีเคส แต่ไม่สามารถแสดงได้ว่าพื้นที่นั้นไม่เป็นปัญหา ซึ่งปัญหาที่แท้จริงอาจตกผลึกอยู่ในแต่ละพื้นที่ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พื้นที่นี้มีกลุ่มเยาวชนที่มีความเข้มแข็ง กลุ่มเยาวชนที่สามารถขับเคลื่อนในพื้นที่ได้ร่วมกับทีมภาคสนาม เช่น กศน. เป็นต้น

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. แนะนำผู้รับผิดชอบโครงการ เช่น หมอสุวัตน์ เน้นกลไกการทำงานร่วมกันทั้ง พชอ.และ พชต.

ลักษณะการทำงานโดยใช้กลไกเชื่อม พชอ.+พชต. อาจมีการสนับสนุนส่งเสริมหน่วยงานเหล่านี้ เช่น กศน. เน้นให้การศึกษา สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สามารถดูแลตัวเองและครอบครัวได้ต่อไป ซึ่งอำเภอแว้งเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มแข็ง 30 ปีที่แล้วประเด็นปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่สามจังหวัดเยอะมาก แต่ในปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำสูงกว่าในอดีตเล็กน้อย โครงการเน้นลดการตั้งครรภ์ซ้ำ ให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสกลับไปเรีนต่อทั้งในระบบหรือนอกระบบ (กศน.) แต่ส่วนใหญ่เมื่อมีการตั้งครรภ์ซ้ำแล้วจะไม่กลับไปเรียนต่อ ทำให้เด็กหลุดออกจากระบบเยอะมาก กล่าวถึง timeline หรือกระบวนการทำงานของ โครงการจะมีกำหนดการการลงพื้นที่ภาคสนาม มาชวนคิด ชวนคุยแลกเปลี่ยนกับพื้นที่เพื่อให้เห็นต้นทุนของพื้นที่รวมทั้งมีการประเมินเพื่อให้ได้กรอบแนวคิดร่วมกัน โดยสิ่งที่พื้นที่ต้องมี คือ ข้อมูลด้านสถานการณ์ของพื้นที่ การดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ เพื่อนำไปสู่โมเดล Wows การมองเพศแม่เป็นอนาคตของชาติ

คุณวิทยา สสอ.อ.แว้ง ยินดีที่ทาง ม.อ. เข้ามาช่วยเหลือและขับเคลื่อนโครงการนี้ อำเภอแว้งจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พื้นที่เจาะไอร้องและสุไหงโก-ลก เคยทำโครงการลักษณะเหล่านี้ แต่ช่วงหลังๆ ขาดช่วงไป สสอ. มองว่าประเด็นแม่และเด็กเป็นประเด็นที่สำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันและผลักดัน เวลาที่จัดทำโครงการทั้งหมดประมาณ 18 เดือน จะลองวิเคราะห์ภูเขาน้ำแข็งเพื่อให้เห็นถึงปัญหาที่ฝังอยู่ มีการใช้เครื่องมือมาเสริมพลังร่วมกัน โดยการร่วมคิด ร่วมทำ เน้นเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง เช่น เรื่องการศึกษาต่อ เน้นให้โอกาสเด็กที่หมดหวัง หมดอนาคตและพลาดพลั้งไป อาจเกิดกระบวนการเรียนรู้จากพื้นที่อื่นๆ ที่มีลักษณะและบริบทใหกล้เคียงมาปรับใช้กับพื้นที่ดู เพื่อเน้นความยั่งยืน จากนั้นจะร่วมแลกเปลี่ยนจุดยืนระหว่างกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งประเด็นเน้นการศึกษาของเด็กอาจเชิญชวนครูที่มีความสนใจในเรื่องนี้ อาจจัดทำข้อสอบให้เด็กสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ ให้เด็กสามารถคิดเอง ใช้ชีวิตอย่างถูกต้องและมีคุณภาพ แต่เมื่อหลังจากอายุเกิน 20 ปี ไปแล้ว เด็กจะไปทำอะไรก็เป็นเรื่องของเด็ก ควรให้ความสำคัญกับทุกสิ่งทุกอย่างอย่างเข้มแข็ง

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. พูดถึงอำเภอตากใบ ว่ามีการเลือกพื้นที่นำร่องทุกรพ.สต ทั้ง 11 รพ.สต.ให้อำเภอแว้งได้เลือกพื้นที่นำร่อง ซึ่งอำเภอแว้งได้เลือกพื้นที่ ดังนี้ 1. เลือกตำบลแว้ง 2. เลือกตำบลคอแนะ 3. รพ.สต. บางขุด 4. รพ.สต แม่ดง ยกตัวอย่างเคสอำเภอบาเจาะว่าที่นั่นมีประเด็นการหย่าร้างเยอะมาก บางพื้นที่มีประเด็นการตั้งครรภ์ซ้ำ เช่น เปลี่ยนคู่นอน เปลี่ยนคู่สมรสแล้วแต่งงานใหม่ ซึ่งโครงการพยายามลดปัญหาตรงนี้ จังหวัดนราธิวาสไปร้องเรียนที่ศูนย์ไกล่เกลี่ย กรณีที่สามีไม่เลี้ยงดู ซึ่งกรณีนี้กลายเป็นปัญหาที่เจอมากในจังหวัดนราธิวาส ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาชีพส่วนใหญ่ของคนที่นี้ คือ รับจ้างกรีดยางที่แถบชายแดนและประเทศใกล้เคียง คือ มาเลเซีย เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพในประเทศไม่เพียงพอ การที่ไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ ตามมา เช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาเลี้ยงดูลูก เกิดปัญหาเด็กไม่ได้เรียนหนังสือ/เด็กขาดการศึกษา เพราะเด็กต้องเคลื่อนย้ายตัวเองไปมาตามพ่อแม่ และบางกรณีจะปล่อยให้เด็กอยู่บ้านกับปู่ ย่า, ตา ยาย จะเกิดปัญหาเด็กไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนอย่างทั่วถึง และความแตกต่างระหว่างวัยในครอบครัวก็เกิดปัญหาความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน และในอำเภอแว้งมีประชากรย้ายถิ่นเข้ามา จึงไม่สามารถระบุประชากรได้อย่างชัดเจน แนะนำให้ทางพื้นที่เน้นการแก้ปัญหา ice brung model และปรับ Mindset เรื่องการคุมกำเนิดโดยไม่มีความพร้อมในพื้นที่ ซึ่งยังไม่มีการยอมรับ แต่หากลองมองย้อนดูถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้จะเป็นบาปมากกว่าการคุมกำเนิด หากเด็กที่เกิดมาแล้วปล่อยให้อดอยากและไม่เลี้ยงดู ปล่อยให้ลูกเพ่นพ่านกลายเป็นปัญหาของสังคมจะบาปมากมากกว่า ยกเคสของอำเภอตาแกะ ที่มีการนัดหมายนอกสถานที่ ที่ไม่ใช่คลินิก เพื่อลดความอึดอัดใจของคนไข้และจะได้พุดคุยกันอย่างสบายใจเป็นกันเองมากขึ้น และสามารถลดการตีตราจากสังคมได้

แลกเปลี่ยนประเด็นจากโรงพยาบาลแว้ง ทางโรงพยาบาลมีแกนนำ มีแอดมินตอบกลับทางเพจตลอด 24 ช.ม.มีการนัดหมายการพูดหลังไมค์ โดยไม่ต้อง work in เข้ามาที่โรงพยาบาล ซึ่งเป็นแนวทางการรับคนไข้ของศูนย์บริการที่นี้และโรงพยาบาลแว้งยังมีคลินิกวัยรุ่นอีกด้วย

คุณอิลฟาน ตอแลมา ผู้จัดการสมาคม จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำโมดูลสื่อให้น่าสนใจอ่านง่าย มีการสแกนเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางเพจและไลน์ ซึ่งเป็นกลุ่มเฉพาะชองพชอ. หากท่านจะพัฒนาอะไรสามารถพูดคุยผ่านกระทู้นี้ได้

คุณนาตือเราะห์ รายะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ พบหญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี และปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำก็เยอะมาก และพบหญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 14 ปี 1 ราย ยกตัวอย่างเคสการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โดยคนไข้เข้ามาหาโดยตรง เข้ามาหาก๊ะเราะห์ ได้มีการให้ข้อมูลแกคนไข้ คุยกับคนไข้โดยตรง เด็กส่วนใหญ่จะมากับแม่ มีการสอบถามความรู้สึกระหว่างแม่และเด็ก อีกเคสหนึ่ง คือ เด็กที่เข้ามามีอายุต่ำกว่า 19 ปี ซึ่งทางรพ.สต.มีการให้ทำแบบประเมินทุกราย 2Q หากทำแบบประเมินได้มากกว่า 20 คะแนน จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแว้ง มีหลายเคสเด็กยอมรับการตั้งครรภ์ แต่จะมีการซักถามประเด็นการดูแลลูกในอนาคตว่าเมื่อคลอดลูกมาแล้วสามารถดูแลลูกได้ไหม ครอบครัวเต็มใจและยอมรับที่เลี้ยงดูต่อไปหรือไม่ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากนี้ คือ ครอบครัวไม่ได้ดูแลเด็กอย่างเต็มที่

40 วันหลังคลอด หากไม่มีการฝังเข็ม จะรีบฉีดยาคุมกำเนิดให้แก่เด็กเลย

อาจารย์ ซอฟิยะห์ สนส.ม.อ. โครงการนี้มุ่งเน้นส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ทำเรื่องดีๆ ให้เกิดขึ้น มุ่งผลลัพธ์ที่อยากให้เกิดขึ้นและเน้นทำประโยชน์ให้แก่คนรอบข้างชุมชน ไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง

คุณมะยูนัน มามะ ผู้ประสานงานภาคสนาม มองเห็นภาพทุกมิติ มีการดึงมิติเด็ก เห็นการดึงข้อกฎหมายมาปรับใช้ เน้นการขับเคลื่อนร่วมกัน

โดยให้ สสอ.มาขับเคลื่อนร่วมกัน

คุณสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ ผู้ประสานงาน จะทำการประสานงานกับพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนต่อไป

ปิดวาระการประชุมโดย สสอ.