โครงการการพัฒนารูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้

ประชุมคณะทีมงาน ครั้งที่ 322 ตุลาคม 2564
22
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sulaiman
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วางแผนการทำงานร่วมกันและจัดเตรียมงานประชุมกำกับทิศ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เตรียมความพร้อม ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ วันที่ 29 ต.ค. เวลา 10.00-12.00 น. 1.1 ได้เชิญและติดต่อประสานแล้ว โดยรวม 23 คน ประกอบด้วย

- ผอ.รพ.นาทวี นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ - หมอท็อป ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้
- รอตัวแทนจากพื้นที่ ยืนยัน โดยมีเชิญ สสอ. /พี่เลี้ยง และแจ้งให้เตรียมนำเสนอผลการดำเนินงาน เฟซ 1 - เชิญ 4 อำเภอเข้าร่วม พี่เลี้ยงเดิม และพื้นที่ - ผู้ทรงฯ วิชาการ: อ.นาง/ อ.แคท /อ.โอ /พี่ปุ๊ก สคร.12/พี่แอ๊ด/ศบ.สต - เชิญตัวแทนทีมสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) (เชิญแล้ว) 1.2 ทีมเยาวชน (ฝาก อานัติ หาทีมเยาวชนมาเพิ่มได้) เชิญมาอยู่ในกลุ่มได้ เพื่อร่วมออกแบบและให้ความเห็น (สุขภาวะทางเพศของกลุ่มเด็กวัยรุ่น) มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการ วางแผน ทำโครงการ ต่อยอดงาน

  1. วาระการประชุม

- นำเสนอโครงการเฟส 2 • เล่าโมดูล และการปรับโมดูลและคู่มือ • การปรับโมดูลและการทำสื่อ ได้ทาบทามทีมงานสมาคมจันทร์เสี้ยว ฯ แล้ว • การทำสื่อ - สร้างเพจ บอกเล่าว่ามีกิจกรรม และวัตถุประสงค์ ผลเป็นอย่างไร พร้อมภาพประกอบ เพื่อหวังให้คนอื่นเอาไปใช้ต่อได้ ใช้ประโยชน์ได้ - บอกเล่าผลการดำเนินงานเฟซ 1 ว่าทำอะไรมาแล้วบ้าง - ร่างคำสั่งแต่งตั้ง ให้ดู wording ส่งลิงค์มาเป็น one drive - หารือในประเด็นต่างๆ
- ในวันนั้นจะทาบทามผู้รับผิดชอบ รับดำเนินงานตามแผนงานที่โครงการกำหนดไว้ ด้วย

  1. ใบลงทะเบียน ให้กรอก google เพื่อแจ้งรายชื่อและเลขบัญชี เพื่อจ่ายค่าตอบแทน และยืมเงินสถาบันก่อน

  2. ประเด็นการคัดเลือกพื้นที่ใหม่

- ดูข้อมูลสถานการณ์การตั้งครรภ์ในเยาวชน ในแต่ละอำเภอ - เน้นพื้นที่ใกล้เคียง เป็น baseline
- ตั้งเกณฑ์เบื้องต้นไว้ก่อน และให้ คกก.กำกับทิศ ช่วยดู การเสริมสมรรถนะของหน่วยงาน - ทีมวิชาการ จะไหวหรือไม่

  1. งานภาคสนาม

- การทำแผนและโครงการของพื้นที่และขอสนับสนุนงบจากกองทุนตำบล - อยากได้ความเห็นจาก สปสช. ภก.สมชาย ละอองพันธุ์ (พี่เปิ้ล) - Roadmap และ MOU - ประเด็นการหาพี่เลี้ยง • เอาตัวแทนตำบล/อำเภอ
• พี่เลี้ยง กับ ทีมประเมิน แยกกัน เพื่อให้ทีมประเมิน มาประเมินพี่เลี้ยง (งบค่าตอบแทนคนละก้อน) ให้พี่เลี้ยงนำเสนอทีม • ทีมประเมินจะมาจากส่วนไหน (1-2 คน ต่ออำเภอ แต่ปรับได้ เพื่อให้การดำเนินงานคล่อง) เพื่อโครงการจะอบรมให้กับพี่เลี้ยงในพื้นที่ • ไม่มีค่าตอบแทนให้พี่เลี้ยง (การทำงาน) แต่ จะสนับสนุนการประชุม/การทำงานของทีมพี่เลี้ยง เน้นเอื้ออำนวยในการประชุม (อาหาร ค่าตอบแทนผู้เข้าประชุม วิทยากร) จัดประชุมในพื้นที่ - กระตุ้นทีมพี่เลี้ยงอย่างไรให้ทำแผน ทำโครงการ - เรื่องการขอทุนจากกองทุนตำบล ต้องมีตัวแทนจากกองทุนฯ นี้ • ต้องรู้จักคนที่ขับเคลื่อนงานในลักษณะนี้ เพื่อทาบทามเข้าร่วมในโครงการ - ปัตตานี: คนทำงานร่วมด้วย 1 คน อานัติทาบทามแล้ว (อิสมาแอ) ให้ทำงานคู่กับอานัติ - นราธิวาส : .... อย่างไรก็ตามประเด็นพี่เลี้ยง รอหารือเรื่องพี่เลี้ยง ในวันที่ 29 ต.ค. นี้

  1. การติดตามประเมินผล

- การสร้างแบบฟอร์มการประเมิน - ทั้งนี้ จะเอาข้อมูลมา matching กัน
- จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยน

  1. เสนอการจ่ายค่าตอบแทนส่วนภาคสนาม

- ทำ TOR 1 คน สำหรับ อานัติ แล้วไป sub contact กับทีม - หรือแบ่งจ่ายตามจังหวัด 3 จังหวัด 3 คน โดยประเด็นนี้ให้หารือ อ.กุล ต่อไป

ผู้เข้าร่วมประชุม o ดร.ซอฟียะห์ นิมะ o นางสาวฮามิด๊ะ หวันนุรัตน์ o นางฐนัชตา นันทดุสิต (พี่แอน) o นายอานัติ หวังกุหลำ o นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ