diversity_2

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564

stars
1. รายละเอียดชุดโครงการ
ชื่อชุดโครงการ โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564
ภายใต้แผนงาน/ชุดโครงการ แผนงาน สนส.
รหัสชุดโครงการ 64-00867
ปีงบประมาณ 2564 (เฉพาะแอดมิน)
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 เมษายน 2564 - 31 พฤษภาคม 2565
งบประมาณ 10,000,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร
พื้นที่ดำเนินการ เขต 1 จ.แพร่ พะเยา น่าน , เขต 4 จ.นนทบุรี , เขต 10 จ.ยโยธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี, เขต 12 จ.สงขลา ปัตตานี สตูล พัทลุง ยะลา นราธิวาส และกรุงเทพฯ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 700,000.00
2 1 ต.ค. 2564 30 เม.ย. 2565 9,050,000.00
3 1 พ.ค. 2565 31 พ.ค. 2565 250,000.00
รวมงบประมาณ 10,000,000.00
stars
3. สถานการณ์/ปัญหา
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพมีบทบาทในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมกิจกรรมทางกายทั้งในระดับชาติ และระดับสากลในระดับชาติได้พัฒนาแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2561– 2573) ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรชุมชน อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาปนิกผังเมือง และชุมชนต่าง ๆ เพื่อเป็นกลไกผลักดันพื้นที่สุขภาวะในระดับนโยบายสาธารณะ นำสู่การปฏิบัติ และขยายผล โดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะ “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” จนมีมติรับรองในสมัชชาชาติครั้งที่ 10 วันที่ 20 ธันวาคม 2560 ในระดับสากล สสส.ร่วมลงนามในกฎบัตรโตรอนโตปีพ.ศ.2553 และได้รับเลือกจาก International Society for Physical Activity and Public Health (ISPAH) ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติด้านการมีกิจกรรมทางกาย “ISPAH 2016”ผลจากการประชุมทำให้ได้ข้อตกลงร่วมกันของนานาชาติประกาศเป็น Bangkok Declaration on Physical Activity ในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยข้อเสนอกิจกรรมทางกายจะถูกผลักดันเข้าสู่เวทีสมัชชาสุขภาพระดับโลก(World Health Assembly)ครั้งที่ 70 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 เพื่อยกระดับของกิจกรรมทางกายให้เป็นวาระหลักในระดับองค์การอนามัยโลกต่อไป

ผลจากการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์กิจกรรมทางกายระดับประเทศที่ผ่านมาโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ สสส. และกระทรวงสาธารณสุข แสดงให้เห็นว่าในภาพรวมระดับประเทศทิศทางการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยมีแนวโน้มโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นคือจากร้อยละ 66.30 ในปี 2555 (ปีฐานของการสำรวจ) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.60 ในปัจจุบัน (พ.ศ.2562) เมื่อพิจารณาตามกลุ่มช่วงวัยพบว่าในภาพรวมมีการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกทุกกลุ่มอายุยกเว้นกลุ่มวัยทำงานที่มีการลดลงของระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและด้วยสัดส่วนของประชากรวัยทำงานที่เป็นกลุ่มส่วนใหญ่จึงทำให้อัตราการเพิ่มของระดับการมีกิจกรรมทางกายในภาพรวมไม่เปลี่ยนแปลงมากนักแม้จะพบว่ากลุ่มประชากรอีก 3 กลุ่มที่เหลือคือวัยเด็กวัยรุ่นและวัยสูงอายุจะมีการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 4 โดยกลุ่มประชากรวัยเด็กเป็นกลุ่มประชากรที่มีการเพิ่มขึ้นของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้กิจกรรมทางกายจะเพิ่มขึ้นในเชิงบวก แต่ด้วยสถานการณ์มลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในช่วงปลายปี 2562 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตทำให้สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยลดลงไปประมาณร้อยละ 11.6 ทำให้ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยในปี 2563 ประมาณร้อยละ 55.5 (แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส., 2564)

แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.ม.อ.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ชื่อเดิม: สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ) ดำเนินโครงการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560-2561 มีโครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทยดำเนินงานสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2)การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและพัฒนาคุณภาพโครงการโดยร่วมพัฒนายุทธศาสตร์และแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับกลุ่มเครือข่าย สสส. และกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่3)การวางระบบการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผล ผลการดำเนินงาน มีดังนี้

  1. ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เข้าสู่การพิจารณาในสมัชชาชาติครั้งที่ 10 ด้วยวาระ “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น”
  2. เกิดการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย สสส. และพี่เลี้ยงกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
  3. สสส.ได้แผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ปี และ 1 ปี
  4. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย จำนวน 509 แผนงานและ 558 โครงการ ใน 509 กองทุน (ข้อมูล ณ วันที่ 23พฤษภาคม 2561)
  5. เกิดระบบการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลสำหรับโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (https://localfund.happynetwork.org) และโครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (ประเภทเปิดรับทั่วไป) (https://www.pathailand.com)

    ปี 2562-2563 มีการดำเนินงานที่สำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่ายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.และขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 2) ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติผลการดำเนินงาน มีดังนี้

  6. เกิดการพัฒนาคุณภาพของโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่ายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.และขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยเป็นโครงการ (1) สร้างความรู้ความเข้าใจ จัดการความรู้ จำนวน 92 โครงการ (2) พัฒนาขีดความสามารถเครือข่าย จำนวน 99 โครงการ (3) สร้างพื้นที่สุขภาวะจำนวน 33 โครงการ (4) ขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่จำนวน 13 โครงการ (5) สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กรหน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 35 โครงการ
  7. เกิดการสื่อสารเรื่องกิจกรรมทางกายนำไปสู่การรับรู้ เข้าใจ ตระหนัก และทักษะในกลุ่มต่างๆ ดังนี้
    1) พี่เลี้ยงโครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (ประเภทเปิดรับทั่วไป) จำนวน 22 คน และครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 616 คน รวมทั้งหมด 638 คน
    2) พี่เลี้ยง 12 เขตทั่วประเทศจำนวน 140 คน พี่เลี้ยงพื้นที่จำนวน 480 คนและคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ปี 2562 จำนวน 1,084 คนปี 2563 จำนวน 1,328 คน) รวมทั้งหมด จำนวน 3,032 คน
    3) กลุ่มเป้าหมาย (target group) ของโครงการที่ได้รับทุนให้มีการดำเนินการในพื้นที่ ปี 2562 กลุ่มเป้าหมายจากกองทุนสุขภาพตำบลฯ จำนวน 172,925 คน และโครงการเปิดรับทั่วไปของ สสส. จำนวน 2,792 คน รวมทั้งสิ้น 175,717 คนซึ่งนำไปสู่การสนับสนุนงบประมาณ กองทุนสุขภาพตำบลฯ จำนวน 45.93 ล้านบาท และโครงการเปิดรับทั่วไปของ สสส. จำนวน 1.64 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 47.57 ล้านบาท ปี 2563กองทุนสุขภาพตำบลฯ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 135,375 คน กองทุนสุขภาพตำบลฯ นำไปสู่การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 43.32 ล้านบาท
  8. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ สสส. มีความรอบรู้มีขีดความสามารถด้านสุขภาพประเด็นกิจกรรมทางกาย (Health Literacy - PA) สามารถเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่สอดคล้องแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายได้ดังนี้ 1) ได้ข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็ก จำนวน 308 โครงการ และได้รับการสนับสนุนทุน จำนวน 60 โครงการ
    2) ได้แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายพัฒนาโครงการและติดตามโครงการในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดย ปี 2562 มีแผนงาน PA จำนวน 519 แผนงานโครงการที่พัฒนาจำนวน 542 โครงการโครงการที่ได้รับทุน จำนวน 1,121 โครงการ ปี 2563 มีแผนงาน PA 519 แผนงานโครงการที่พัฒนาจำนวน 664 โครงการโครงการที่ได้รับทุนจำนวน 824 โครงการ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563)
  9. เกิดการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติส่งผลให้ 1) มีคณะกรรมการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพและกลไกพี่เลี้ยงขับเคลื่อนเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายทั่วประเทศ (12 เขต) จำนวน 140 คนที่เป็นกลไกของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (สปสช.) กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายนักวิชาการมหาวิทยาลัย และเครือข่ายภาคประชาสังคม
    2) เกิดการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายกับเครือข่ายสุขภาพดังนี้  เครือข่ายสมัชชาจังหวัดภาคอีสาน มหกรรมสานพลังสร้างสุขโฮมสุขอีสานเวทีสร้างความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายกับเครือข่ายสมัชชาจังหวัดภาคอีสาน มหกรรมสานพลังสร้างสุขจำนวนคนเข้าร่วม 80 คน  เครือข่ายสร้างสุขภาคใต้ในงานสร้างสุขภาคใต้ จำนวนคนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนพื้นที่กิจกรรมกาย จำนวน 90 คน และเป็นตัวอย่างให้ทางชุมชนดำเนินโครงการกิจกรรมทางกายในพื้นที่ต่อไปและเครือข่ายสื่อภาคใต้จัดเผยแพร่กิจกรรมทางกายในเวทีสร้างสุขภาคใต้ 3) เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบกิจกรรมทางกายและอาหารในพื้นที่ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

    การดำเนินงานที่ผ่านมา พบปัญหาคุณภาพโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ยังเน้นการออกกำลังกาย ไม่เน้นให้มีนโยบาย แผน และการติดตามประเมินผล ส่งผลต่อความต่อเนื่องของการมีกิจกรรมทางกาย ภายหลังสิ้นสุดโครงการ
    การดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนที่มีประสิทธิภาพมาจากการสานพลังการทำงานร่วมกันในพื้นที่ การส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยด้วยการบูรณาการงานผ่านกลไกที่มีอยู่ภายใต้เป้าหมายร่วมกันในการสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้องค์ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายจาก สสส.การสนับสนุนงบประมาณในกิจกรรมของประชาชนในพื้นที่จากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือท้องถิ่น รวมทั้งใช้กลไกการขับเคลื่อนงานจากทั้งคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือท้องถิ่น จะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนไทยตามเป้าหมายของแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายได้ นอกจากนี้จากข้อค้นพบในการศึกษาของโครงการในปี 2562 พบว่า การดำเนินงานส่งเสริมทางกายที่มีประสิทธิภาพ ที่ทำให้เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายได้อย่างต่อเนื่อง มาจากโครงการที่มีองค์ประกอบเรื่องนโยบาย (Policy) การให้ความรู้ (Knowledge) การเสริมสร้างทักษะ (Skill) การติดตามผล (Monitor) และการสร้างสภาพแวดล้อม (ดร.ธนเทพ วณิชยากร, 2563) ขณะที่แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส. ปี 2564 มีจุดเน้นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตลอดช่วงวัย (Life-Course Approach) ด้วยการพัฒนางานวิจัย/องค์ความรู้ นวัตกรรม การจัดการความรู้และข้อมูลข่าวสาร การรณรงค์สื่อสาร และเครื่องมือวัดผล รวมถึงการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในทุกกลุ่มวัย ด้วยการสนับสนุนให้เกิดการเคลื่อนไหวระหว่างวันในรูปแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มวัยและอาชีพ

ดังนั้นปี 2564 นี้ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ร่วมกับ สนส.ม.อ. จึงเสนอ “โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่” เพื่อนำไปสู่การเพิ่มกิจกรรมทางกายที่พอเพียงของคนไทย โดยเน้นเป้าหมายหลัก 3 ประเด็น คือ
1. เพื่อยกระดับคุณภาพโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่ายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.
2. เพื่อขยายและยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
3. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

stars
4. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อยกระดับคุณภาพโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่ายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.

1) ผู้เสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.อย่างน้อย 100 คน มีทักษะทำแผน การเขียนข้อเสนอโครงการ ใช้ระบบติดตามและประเมินผล
2) ได้ข้อมูล Mapping ของเครือข่าย สสส.อย่างน้อย 4 ชุด 3) ได้ข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ สอดคล้องแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและเป็นโครงการที่มีคุณภาพ จำนวน 50 โครงการ
4) ได้ระบบสารสนเทศ online ที่ใช้ในพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผล จำนวน 1 ระบบ

0.00
2 เพื่อขยายและยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

1) พี่เลี้ยง 200 คน มีทักษะการทำแผน พัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2) ผู้เสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีทักษะการทำแผน เขียนข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ และมีทักษะในการใช้ระบบติดตามและประเมินผล อย่างน้อยจำนวน 1,500 คน
3) ร้อยละ 90 ของกองทุนฯ ในอำเภอที่มีศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีการดำเนินการทำแผน เขียนข้อเสนอ โครงการกิจกรรมทางกาย
4) เกิดสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย กับกลุ่มเป้าหมายของโครงการที่ได้รับทุน อย่างน้อย 50,000 คน
5) ได้กองทุนฯ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้การดำเนินการจัดทำแผนโครงการระดับอำเภอ จำนวน 120 กองทุน
6) ได้คู่มือการพัฒนาโครงการจำนวน 1 ชุด
7) คู่มือการติดตามประเมินผลโครงการจำนวน 1 ชุด
8) ได้ระบบสารสนเทศ online ที่ใช้ในพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผล จำนวน 1 ระบบ 9) ได้ข้อมูลองค์ความรู้ถอดบทเรียนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจำนวน 10 กรณีศึกษา
10) ได้สื่อวิดีโอ บทความวิชาการ เอกสารชุดความรู้เพื่อเผยแพร่การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยรวมกัน 5 ชุด

0.00
3 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

1) ได้ข้อมูลการออกแบบและการใช้พื้นที่เส้นทางการสัญจรทั้งในเมืองและชุมชน และพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย จำนวน 1 ชุด
2) นโยบาย มาตรการหรือข้อตกลงในการใช้พื้นที่สาธารณะ 3) เกิดองค์กรต้นแบบด้านกิจกรรมทางกายในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 8 แห่ง 4) นโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคส่วนกลาง 5) เกิดการสื่อสารให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผลักดันให้เกิดนโยบายและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อ กับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้ ภาคีเครือข่าย สสส. และกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 10,000 คน
6) ชุดความรู้ (1) การผลักดันนโยบายสาธารณะ จากพื้นที่ต้นแบบสู่นโยบายสาธารณะ (2) การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

0.00
stars
5. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ตัวชี้วัด 1.1) ผู้เสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.อย่างน้อย 100 คน มีทักษะทำแผน การเขียนข้อเสนอโครงการ ใช้ระบบติดตามและประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 3 0.00 7 0.00
28 มิ.ย. 64 (แผนงานกีฬามวลชน) ประชุมเชิงปฏิบัติการทำแผนความปลอดภัยการจัดกีฬามวลชน 0 0.00 0.00
11 พ.ย. 64 วางแผนคลินิกพัฒนาโครงการพื้นที่สุขภาวะ จ.ขอนแก่น ภูเก็ต เชียงใหม่ 3 0.00 0.00
9 มี.ค. 65 ประชุมกับ สน.5 เตรียมแผน WS เครือข่าย PA 0 0.00 0.00
17 มี.ค. 65 ประชุมวางแผนงานการพัฒนาข้อเสนอโครงการคุณภาพ ส่งเสริม PA กับสภาพัฒน์ 0 0.00 -
27 เม.ย. 65 วันที่ 27 เมษายน 2565 ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 0 0.00 0.00
30 พ.ค. 65 การประชุมหารือความร่วมมือพัฒนาศักยภาพพื้นที่นำร่องของลานกีฬาในพื้นที่สาธารณะและสุขภาพ ให้มีทักษะพัฒนาข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 0 0.00 0.00
31 พ.ค. 65 ประชุม big data pa สสส. 0 0.00 0.00
9 ก.ค. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงแผนและข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จ.ตรัง(ลานกีฬาสาธารณะ) 0 0.00 0.00
2 ตัวชี้วัด 1.2) ได้ข้อมูล Mapping ของเครือข่าย สสส.อย่างน้อย 4 ชุด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 20 3,500.00
28 เม.ย. 64 (แผนงานกีฬามวลชน)ประชุมพัฒนาระบบความปลอดภัยและความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินสำหรับนักวิ่ง กับ สสส. 0 0.00 0.00
29 เม.ย. 64 (แผนงานกีฬามวลชน) ประชุมพัฒนาแผนแผนการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน 0 0.00 0.00
14 พ.ค. 64 (แผนงานกีฬามวลชน) ประชุมวางแผนการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน 0 0.00 0.00
20 พ.ค. 64 (แผนงานกีฬามวลชน) ประชุมวางแผนการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน กับ สสส. 0 0.00 0.00
25 - 27 มิ.ย. 64 (แผนงานกีฬามวลชน) ประชุมเตรียมนำเสนอ แผนการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน 0 0.00 0.00
29 - 30 มิ.ย. 64 (แผนงานกีฬามวลชน) เข้าร่วมประชุมงานที่กี่ยวข้องกับการจัดการกีฬามวลชนกับ สคร.และกองกิจกรรมทางกาย กรมอนามัย 0 0.00 0.00
22 ก.ค. 64 (แผนงานกีฬามวลชน) สรุปประชุมกีฬามวลชนและวางแผนงาน PA 0 0.00 0.00
29 ก.ค. 64 (แผนงานกีฬามวลชน) ประชุมพัฒนาร่างโครงการกีฬามวลชนฯ 0 0.00 0.00
10 ส.ค. 64 ประชุมชุมชนจัดการตนเองช่วงโควิด /และการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน 0 0.00 0.00
18 ต.ค. 64 ประชุมแผนงานเดิน-วิ่ง กับ สสส. 0 0.00 0.00
26 ต.ค. 64 ประชุมวางแผนงาน PA ทั้งหมด 0 0.00 0.00
13 พ.ย. 64 (แผนงานกีฬามวลชน) ประชุมปรับปรุงโตรงการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน 0 0.00 0.00
16 พ.ย. 64 การประชุมการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและการแพทย์ในงานวิ่งของประเทศไทย 0 0.00 0.00
18 พ.ย. 64 ประชุมคลินิกพัฒนาโครงการพื้นที่สุขภาวะภูเก็ต 0 0.00 0.00
24 ม.ค. 65 วางแผนเก็บข้อมูล Mapping ของเครือข่าย สสส. 0 0.00 3,500.00
4 ก.พ. 65 ประชุมวางแผน mapping เครือข่าย PA 0 0.00 0.00
21 ก.พ. 65 วางแผนงานทำข้อมูล PA สสส 0 0.00 0.00
22 ก.พ. 65 คุยงาน PA mapping 0 0.00 0.00
3 พ.ค. 65 ประชุมให้ข้อมูล big data pa 0 0.00 0.00
8 พ.ค. 65 ประชุมโครงการ big data สสส.กับฐานข้อมูลกองทุนสุขภาพตำบลฯ 0 0.00 0.00
3 ตัวชี้วัด 1.3) ได้ข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ สอดคล้องแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและเป็นโครงการที่มีคุณภาพ จำนวน 50 โครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 9 0.00
17 ธ.ค. 64 คลีนิกพัฒนาโครงการความปลอดภัยกีฬามวลชนกับ สสส. 0 0.00 0.00
26 ม.ค. 65 ประชุมโครงการกีฬามวลชนฯ 0 0.00 0.00
26 ม.ค. 65 ประชุมโครงการบูรณาการกลไกฯ 0 0.00 0.00
6 มิ.ย. 65 ประชุมหารือความร่วมมือพัฒนาศักยภาพพื้นที่นำร่องของลานกีฬาในพื้นที่สาธารณะและสุขภาพนำร่องจังหวัดตรัง 0 0.00 0.00
29 มิ.ย. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีทักษะการทำแผน และการเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ครั้งที่ 1 0 0.00 0.00
11 ก.ค. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีทักษะการทำแผน และการเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ครั้งที่ 1 ราชบุรี 0 0.00 0.00
14 - 16 ก.ค. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 0 0.00 0.00
20 ก.ค. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีทักษะการทำแผน และการเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ครั้งที่ 2 ตรัง (ลานกีฬาสาธารณะ) 0 0.00 0.00
22 ก.ค. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีทักษะการทำแผน และการเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ครั้งที่ 2 ราชบุรี 0 0.00 0.00
4 ตัวชี้วัด 1.4) ได้ระบบสารสนเทศ online ที่ใช้ในพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผล จำนวน 1 ระบบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 4 0.00
21 ก.ย. 64 ประชุมปรับปรุงระบบการพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการเพื่อยกระดับกองทุนสุขภาพตำบลให้เป็นศูนย์เรียนรู้กิจกรรมทางกาย 0 0.00 0.00
16 ก.พ. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯ และยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 0 0.00 0.00
22 พ.ค. 65 ประชุมเตรียมเว็บกองทุนสุขภาพตำบลฯนำร่องความร่วมมือคณะปฏิรูปลานกีฬาสาธารณะ / zoom4 0 0.00 -
20 มิ.ย. 65 ประชุมเตรียมเว็บกองทุนสุขภาพตำบลฯนำร่องความร่วมมือคณะปฏิรูปลานกีฬาสาธารณะ 0 0.00 0.00
24 มิ.ย. 65 ประชุมเตรียมเว็บกองทุนสุขภาพตำบลฯนำร่องความร่วมมือคณะปฏิรูปลานกีฬาสาธารณะ / zoom4 0 0.00 0.00
5 ตัวชี้วัด 2.1) พี่เลี้ยง 200 คน มีทักษะการทำแผน พัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 57 0.00 17 471,307.00
24 ก.ย. 64 ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลฯ สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย 0 0.00 56,986.00
29 ต.ค. 64 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย เขต 10 0 0.00 0.00
3 พ.ย. 64 ประชุมคณะทำงาน Meeting PA ประจำสัปดาห์ 0 0.00 0.00
8 พ.ย. 64 วางแผนลงพื้นที่พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง 0 0.00 0.00
22 พ.ย. 64 ประชุมวางแผนการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯ 0 0.00 0.00
4 ธ.ค. 64 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย เขต 4 ที่ จ. นนทบุรี 37 0.00 58,709.00
6 ธ.ค. 64 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย เขต 1 ที่ จ.แพร่ 20 0.00 81,893.00
18 - 19 ธ.ค. 64 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย เขต 12 ที่ จ.สงขลา 0 0.00 171,161.00
21 ธ.ค. 64 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย เขต 10 ที่ จ.อุบลราชธานี 0 0.00 99,058.00
24 ธ.ค. 64 ประชุมออกแบบการประเมินศักยภาพ PA และวางแผนลงพื้นที่เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้ PA 0 0.00 0.00
25 ม.ค. 65 วางแผนลงพื้นที่พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง 4 เขต 0 0.00 3,500.00
2 ก.พ. 65 ประขุมเตรียมคำถามสัมภาษณ์พี่เลี้ยง 0 0.00 0.00
13 ก.พ. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 0 0.00 0.00
14 ก.พ. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 0 0.00 0.00
19 - 20 ก.พ. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางกายใน กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 0 0.00 0.00
31 มี.ค. 65 ประชุมเตรียมงานวันที่ 7-9 เมษายน 0 0.00 0.00
29 เม.ย. 65 ประชุมคณะทำงานพี่เลี้ยง 0 0.00 0.00
6 ตัวชี้วัด 2.4) ได้กองทุนฯ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้การดำเนินการจัดทำแผนโครงการระดับอำเภอ จำนวน 120 กองทุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 17 6,950.00
5 ส.ค. 64 วางแผนกองทุนสุขภาพตำบลต้นแบบกิจกรรมทางกาย (กองทุนต้นแบบ PA) 0 0.00 0.00
30 ส.ค. 64 วางแผนงานกองทุนฯ PA 0 0.00 0.00
8 ก.ย. 64 ประชุมวางแผนงานยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 0 0.00 0.00
16 ก.ย. 64 ประชุมวางแผนงานกองทุนสุขภาพตำบลฯ PA 0 0.00 0.00
26 ม.ค. 65 ประชุม meeting pa วางแผนงานกับผู้ประสานเขต 0 0.00 6,950.00
10 ก.พ. 65 ประชุมติดตามความก้าวหน้าการยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 0 0.00 0.00
22 มี.ค. 65 การประชุมคณะทำงานวางแผนการยกระดับกองทุนฯให้เป็นศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 0.00 0.00
24 มี.ค. 65 เขต 12 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงและกองทุนสุขภาพตำบลฯ ในการทำแผน ข้อเสนอโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 0 0.00 0.00
25 มี.ค. 65 เขต 4 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงและกองทุนสุขภาพตำบลฯ ในการทำแผน ข้อเสนอโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 0 0.00 0.00
26 มี.ค. 65 เขต 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงและกองทุนสุขภาพตำบลฯ ในการทำแผน ข้อเสนอโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 0 0.00 0.00
27 มี.ค. 65 เขต 10 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงและกองทุนสุขภาพตำบลฯ ในการทำแผน ข้อเสนอโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 0 0.00 0.00
19 เม.ย. 65 ติดตามรายชื่อกองทุนต้นแบบ pa จำนวน 120 แห่ง 0 0.00 0.00
19 เม.ย. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯ และยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อ.สูงเม่น จ.แพร่ 0 0.00 0.00
25 พ.ค. 65 พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 0 0.00 0.00
26 พ.ค. 65 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ร่วมสนันสนุนและขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจทางกาย อำเภอเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 0 0.00 0.00
27 พ.ค. 65 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ร่วมสนันสนุนและขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจทางกาย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 0 0.00 0.00
5 - 6 ก.ค. 65 ประชุม zoom สรุปข้อมูล PA กับพี่เลี้ยง 4 เขต 0 0.00 0.00
7 ตัวชี้วัด 2.5) ได้คู่มือการพัฒนาโครงการจำนวน 1 ชุด และ ตัวชี้วัด 2.6) คู่มือการติดตามประเมินผลโครงการจำนวน 1 ชุด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
15 ก.ค. 64 ออกแบบร่างคู่มือพัฒนาโครงการ และติดตามโครงการพื้นที่ต้นแบบ Pa 0 0.00 -
8 ตัวชี้วัด 2.7) ได้ระบบสารสนเทศ online ที่ใช้ในพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผล จำนวน 1 ระบบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 3 0.00
19 ก.ค. 64 พัฒนาเว็บกองทุนสุขภาพตำบลฯเพื่อสร้างพื้นที่ต้นแบบ Pa 0 0.00 -
11 พ.ย. 64 ประชุมปรับปรุงระบบการพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการเพื่อยกระดับกองทุนสุขภาพตำบลให้เป็นศูนย์เรียนรู้กิจกรรมทางกาย 0 0.00 0.00
9 มี.ค. 65 ประชุมทดสอบระบบเว็บ PAthailand 0 0.00 0.00
21 เม.ย. 65 ประชุมการจัดทำข้อมูล big data pa ประชุมผ่านระบบ zoom 0 0.00 0.00
9 ตัวชี้วัด 2.8) ได้ข้อมูลองค์ความรู้ถอดบทเรียนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจำนวน 10 กรณีศึกษา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
8 มี.ค. 65 ประชุมเลือกพื้นที่ถอดบทเรียนต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 0.00 0.00
10 ตัวชี้วัด 3.1) ได้ข้อมูลการออกแบบและการใช้พื้นที่เส้นทางการสัญจรทั้งในเมืองและชุมชน และพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย จำนวน 1 ชุด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 6 0.00
2 มี.ค. 65 ประชุมการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายฯ ในเรื่องการจัดทำคู่มือหลักเกณฑ์หรือปรับปรุงระเบียบในการออกแบบและการใช้พื้นที่ เส้นทางการสัญจรทั้งในเมืองและชุมชน และพื้นที่สาธารณะ ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย 0 0.00 0.00
14 เม.ย. 65 ประชุมติดตามความก้าวหน้าสถาปนิกขับเคลื่อน อปท. 0 0.00 0.00
18 พ.ค. 65 ประชุมพิจารณาร่างคู่มือการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในท้องถิ่น 0 0.00 0.00
31 พ.ค. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ขับเคลื่อนมติ 3 การออกแบบการใช้พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายฯ 0 0.00 0.00
16 มิ.ย. 65 การประชุมและสัมมนาทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณะสุข ครั้งที่1 /2565 0 0.00 0.00
26 ก.ค. 65 การประชุม คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ แนวทางการขับเคลื่อนมติ ๑๐.๑ การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรม ทางกายเพิ่มขึ้น 0 0.00 0.00
11 บริหารจัดการเขต 4 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 79,100.00
28 ม.ค. 65 จัดการเอกสารเขต 4 ครั้งที่ 1 0 0.00 79,100.00
12 บริหารจัดการเขต 10 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 315,766.00
28 ม.ค. 65 จัดการเอกสารเขต 10 ครั้งที่ 1 0 0.00 315,766.00
13 ตัวชี้วัด เกิดสื่อสารเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับเป้าหมายของโครงการที่ได้รับทุนให้มีการดำเนินการในพื้นที่ อย่างน้อย 50,000 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 6 0.00
25 ก.พ. 65 นัดคุยทีมสื่อ (สมัชชาฯ PA) 0 0.00 0.00
2 มี.ค. 65 ประชุมวางแผนการสื่อสารสาธารณะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (physical activity) 0 0.00 0.00
4 มี.ค. 65 ประชุมวางแผนงานกับทีมสื่อ PA 0 0.00 0.00
21 พ.ค. 65 ประชุมวางแผนการจัดกิจกรรมมหกรรมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพจังหวัดสงขลา " Physical Activity for Songkhla Healthy Life" 0 0.00 0.00
30 พ.ค. 65 ประชุมทีมสื่อเตรียมเวทีสาธารณะ(งาน 2 มิย.) 0 0.00 0.00
2 มิ.ย. 65 กิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ มหกรรมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพจังหวัดสงขลา " Physical Activity for Songkhla Healthy Life " 0 0.00 0.00
14 13 รวมไฟล์รายงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
27 ม.ค. 65 รายงานความก้าวหน้าประจำเดือนให้กับ สสส. 0 0.00 0.00
21 มี.ค. 65 รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดไตรมาส 2/2565 ของแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 0 0.00 -
15 วางแผนงาน PA กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 2 0.00
18 มี.ค. 65 วางแผนจัดประชุมติดตามเว็บไซต์กองทุนฯ 0 0.00 0.00
31 มี.ค. 65 วางแผนงาน 31 มี.ค.65 0 0.00 0.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 3,400,000.00 1 0.00
5 ก.ค. 64 ตัวชี้วัด 2.2) ผู้เสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีทักษะการทำแผน เขียนข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ และมีทักษะในการใช้ระบบติดตามและประเมินผล อย่างน้อยจำนวน 1,500 คน 0 0.00 -
5 ก.ค. 64 ตัวชี้วัด 2.3) ร้อยละ 90 ของกองทุนฯ ในอำเภอที่มีศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีการดำเนินการทำแผน เขียนข้อเสนอ โครงการกิจกรรมทางกาย 0 0.00 -
5 ก.ค. 64 ตัวชี้วัด 2.9) ได้สื่อวิดีโอ บทความวิชาการ เอกสารชุดความรู้เพื่อเผยแพร่การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยรวมกัน 5 ชุด 0 0.00 -
5 ก.ค. 64 ตัวชี้วัด 3.2) นโยบาย มาตรการหรือข้อตกลงในการใช้พื้นที่สาธารณะ 0 0.00 -
5 ก.ค. 64 ตัวชี้วัด 3.3) เกิดองค์กรต้นแบบด้านกิจกรรมทางกายในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 8 แห่ง 0 0.00 -
5 ก.ค. 64 ตัวชี้วัด 3.4) ชุดความรู้ (1) การผลักดันนโยบายสาธารณะ จากพื้นที่ต้นแบบสู่นโยบายสาธารณะ (2) การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 0 0.00 -
27 ม.ค. 65 บริหารจัดการ เขต 1 0 1,200,000.00 -
27 ม.ค. 65 บริหารจัดการเขต 12 0 2,200,000.00 -
31 พ.ค. 65 ประชุมอัพเดทความก้าวหน้างานPA ภูเก็ต ครั้งที่ 2 0 0.00 0.00

 

stars
6. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 13:39 น.