โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีทักษะการทำแผน และการเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ครั้งที่ 1 ราชบุรี11 กรกฎาคม 2565
11
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีทักษะการทำแผน และการเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2565 เวลา เวลา 9.00-16.30 น. ณ หอประชุมศาลาประชารวมใจเทศบาลเมืองราชบุรี อ.เมือง จ.ราชบุรี
และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม ZOOM https://zoom.us/j/9019029104
เป้าหมายการประชุม
1. พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายฯให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายฯให้มีทักษะการทำแผน และการเขียนโครงการที่มีคุณภาพ อย่างน้อย 50 คน
3. ได้โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ จำนวนอย่างน้อย 25 โครงการ
กำหนดการ
09.00 – 09.30 น. - ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - ความร่วมมือคณะปฏิรูปประเทศด้านลานกีฬาสาธารณะ: การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย ผู้อำนวยการ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) จังหวัดราชบุรี
  ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 5 จังหวัดราชบุรี
  ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ (ผู้แทน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 09.30 – 10.30 น. - นำเสนอหลักการแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และแผนของเครือข่าย
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.30 – 12.00 น. - ปฏิบัติการจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย ภาคีเครือข่าย กกท. สปสช. สสส.
นำกระบวนการโดย 1. ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ
2. ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 – 14.30 น. - นำเสนอหลักการเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อขอทุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 14.30 – 16.00 น. - ปฏิบัติการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อขอทุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย ภาคีเครือข่าย กกท. สปสช. สสส.
นำกระบวนการโดย 1. ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ
2. ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 16.00 – 16.30 น. สรุป และชี้แจงแนวทางการดำเนินงานในระยะถัดไป หมายเหตุ : พักเบรกและยืดเหยียดร่างกาย เวลาประมาณ 10.30 น. และ 14.30 น.   โปรดนำคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คมาท่านละ 1 เครื่อง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีทักษะการทำแผน และการเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย  ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ครั้งที่ 1 จังหวัดราชบุรี” ณ ห้องประชุมศาลาประชารวมใจ เทศบาลเมืองราชบุรีนี้

กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยความร่วมมือกับ กับคณะปฏิรูปประเทศลานกีฬาสาธารณะ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพพื้นที่นำร่องของลานกีฬาในพื้นที่สาธารณะและสุขภาพ ให้มีทักษะการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

ซึ่งทางโครงการได้คัดเลือกจังหวัดราชบุรี เป็นพื้นที่นำร่อง
ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ชมรมเครือข่ายของการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดราชบุรี จำนวน 50 คน และกองทุนสุขภาพตำบลของ สปสช.จำนวน 112 กองทุน และภาคีเครือข่ายฯใสนจังหวัดราชบุรี ได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มีทักษะการทำแผน และการเขียนโครงการที่มีคุณภาพ อย่างน้อย 50 คน  และได้โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ จำนวนอย่างน้อย 25 โครงการ

การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอหรือให้ขยับตัวเคลื่อนไหวและมีการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ เช่น
- กิจกรรมทางกายในอาชีพ ขนของขึ้นลง เกี่ยวข้าว จับปลา
- การทำงานบ้าน/งานสวน/งานสนาม ในบริเวณบ้าน ทำงานบ้าน ทำครัว ล้างถ้วยชาม เช็ดถูกระจก ล้างขัดพื้น ถูบ้าน เก็บเกี่ยวดอกไม้/ผลไม้/ผัก ขุดดิน ตัดแต่งกิ่ง ดายหญ้า - การเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่เหนึ่ง เดินไปทำงาน ถีบจักรยานไปทำงาน เดินไปทำธุระ เดินขึ้นบันได
- กิจกรรมออกกำลังกาย เดินเล่น เดินทางไกล แอโรบิค ปีนเขา ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ ประโยชน์การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ทำให้คนมีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรค ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง

การเรียนรู้เนื้อหาและกิจกรรมของการประชุมในครั้งนี้ เพื่อได้นำกลับไปใช้ในการจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และแผนของเครือข่าย และสามารถจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อขอทุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้