โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ร่วมสนันสนุนและขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจทางกาย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี27 พฤษภาคม 2565
27
พฤษภาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

บันทึกข้อตกลงจัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 โดยมี สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น 21 แห่ง เขตอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ให้การสนับสนุนและร่วมดำเนินการขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่หมายถึง การขับเคลื่อนให้ร่างกายทั้งหมดชีวิตประจำวันในอิรียาบถต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดการใช้และเผาผลาญพลังงาน โดยกล้ามเนื้ออันคลอบคลุมการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมดในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเดินทางและกิจกรรมนันทนาการ โดยมีแนวโน้มทางการดำเนินงานและข้อตกลงร่วมกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมเวทีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ร่วมสนับสนุนและขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจทางกาย
- กองทุนสุขภาพตำบลฯ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 21 แห่ง - กองทุนสุขภาพตำบลฯ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 14 แห่ง - กองทุนสุขภาพตำบลฯ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 19 แห่ง

ได้ให้การสนับสนุนและร่วมดำเนินการขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่หมายถึง การขับเคลื่อนให้ร่างกายทั้งหมดชีวิตประจำวันในอิรียาบถต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดการใช้และเผาผลาญพลังงาน โดยกล้ามเนื้ออันคลอบคลุมการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมดในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเดินทางและกิจกรรมนันทนาการ โดยมีแนวโน้มทางการดำเนินงานและข้อตกลงร่วมกัน ดังนี้

  1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ร่วมกำหนดนโยบาย แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและตัวชี้วัดเพื่อให้ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรร่วมสนับสนุนและดำเนินงานขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานที่หรือระบบต่างๆ เช่น ระบบการศึกษา การทำงาน ชุมชน ผังเมือง คมนาคม การกีฬา และนันทนาการ สวนสาธารณะ สถานบริการสาธารณสุขหรือระบบสุขภาพ เป็นต้น
  2. สำนักงานสาธารณะสุขอำเภอและหน่วยงาน องค์กรสาธารณะสุข ให้การสนับสนุนด้านข้อมูลวิชาการ การจัดทำแผนงานและการพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย รวมถึงการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน เช่น สถานบริการสาธารณะสุขหรือระบบสุขภาพ เป็นต้น
  3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนและขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประชาชนกลุ่มต่างๆ ทุกช่วงวัยอย่างทั่วถึง ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนด้วยการทำประชาคม หรือการให้ประชาชนได้จัดการโครงการเพื่อของบประมาณ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลางในการระดมทรัพยากรของภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ เกิดความยั่งยืนและพึงพิงตนเองได้
  4. สนับสนุนให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญการทำกิจกรรมทางกาย และมีส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น หรือแหล่งทุนอื่นๆ เพื่อดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมทางกายอย่างทั่วถึงทุกกลุ่มวัย เช่น เด็กเล็ก เด็กวัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร รวมถึงองค์กรส่วนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมมีบทบาทในการบริหารจัดการกองทุนเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพการป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกในพื้นที่ โดยสนับสนุนองค์กรหรือกลุ่มประชาชนร่วมดำเนินกิจกรรมการจัดบริการสาธารณสุขในท้องถิ่น สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ